การประกันคุณภาพงาน (Quality Assurance)

แนวคิดการพัฒนาและประกันคุณภาพงานการเรียนการสอนและการบริการรักษาพยาบาลของคณะแพทยศาสตร์ ได้เริ่มขึ้นจากการสัมมนากรรมการประจำคณะ เรื่อง "การปรับทิศทางการบริการของโรงพยาบาล" เมื่อเดือนพฤษภาคม 2536 ภายหลังการสัมมนาภาควิชาต่างๆ เห็นชอบ ให้แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาและประกันคุณภาพงานของภาควิชาและของคณะ มีวาระ 2 ปี เพื่อ ปฏิบัติหน้าที่ดังนี้

หน้าที่กรรมการพัฒนาและประกันคุณภาพงานของคณะฯ

  1. ประสานงาน สนับสนุนให้เกิดระบบพัฒนาคุณภาพขึ้นในคณะ ภาควิชา และหน่วยงาน
  2. จัดทำและวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งเป็นส่วนกลาง
  3. ทบทวน รายงานจากฝ่ายต่าง ๆ และภาควิชา
  4. วางนโยบายในการจัดความสำคัญของปัญหาที่ต้องปรับปรุง
  5. ถ้ามีปัญหาสามารถเข้าไปหาข้อมูลหรือตั้งคณะทำงานเพื่อให้ข้อเสนอแนะในการ ดำเนินงาน
  6. ติดตามว่าปัญหาดังกล่าวได้รับการแก้ไขอย่างเหมาะสม
  7. รายงานผลและเสนอแนะต่อกรรมการคณะ
  8. มีส่วนร่วมในการประเมินผลการพัฒนาคุณภาพของแต่ละภาควิชา, หน่วยงานประจำปี
  9. มีการประชุมและบันทึกรายงานทุก 3 เดือน

หน้าที่กรรมการพัฒนาและประกันคุณภาพงานของภาควิชา

  1. จัดให้มีการรวบรวมข้อมูลซึ่งแสดงถึงโครงสร้างกระบวนการทำงานในภารกิจหลัก และผลของการปฏิบัติภารกิจหลัก (การเรียนการสอน, การบริการ, การบริหาร และการวิจัย หรือสร้างงานวิชาการ)
  2. จัดทำข้อตกลงร่วมกันเพื่อตั้งมาตรฐานการปฏิบัติงานของอาจารย์ ซึ่งแสดงว่าได้ปฏิบัติ งานเต็มความสามารถเต็มศักยภาพและเต็มเวลา โดยจะเน้นคุณภาพของงานเป็นหลัก โดยหวังผลเพื่อรักษาและปรับปรุงคุณภาพของงาน
  3. ประเมินและวิเคราะห์ข้อมูล โดย peer groups และจัดลำดับความสำคัญของปัญหา
  4. เอาผลที่วิเคราะห์และเป็นปัญหาเบี่ยงเบนไปจากมาตรฐานมาให้กลุ่มประเมินการปฎิบัติ ติดตาม ในกรณีที่ต้องมีการแนะนำ แก้ไข ปรับปรุง ให้หัวหน้าภาควิชาเป็นผู้ดำเนินการโดยอาศัย ข้อมูลดังกล่าว
  5. ถ้าปัญหาเกินกว่าที่แก้ไขได้ ส่งให้คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพงานของคณะจัดการแก้ไข ปรับปรุง ตามความเหมาะสมต่อไป
  6. วิเคราะห์และประเมินภาพรวมของภาควิชาเป็นระยะ ๆ รายงานให้ประธาน คณะกรรมการกลางทราบ
  7. ให้มีการประชุมและบันทึกรายงาน ทุก 3 เดือน

ในปี 2538 คณะกรรมการพัฒนาและประกันคุณภาพงานของคณะ ได้ประกาศนโยบาย การพัฒนาและประกันคุณภาพงานของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ไว้ดังนี้

ด้านการเรียนการสอน : นักศึกษาแพทย์มีการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์, มีการพัฒนาอาจารย์อย่าง ต่อเนื่องทั้งด้านความเป็นครูและวิชาชีพ, พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้ทันสมัยและเหมาะสม, มีการประเมินผลนักศึกษาแพทย์ที่น่าเชื่อถือได้

ด้านการวิจัย : พัฒนาการทำงานวิจัยเป็นทีมและประกันคุณภาพทีมวิจัยอย่างเป็นระบบ, สร้าง มาตรฐานของการรักษาพยาบาลและระบบข้อมูลเพื่อนำไปสู่การวิจัยที่มีคุณภาพ, มีการดูแลงานวิจัยให้มีคุณภาพและถูกต้องตามหลักจริยธรรม

ด้านการบริการรักษาพยาบาล :

  1. เพิ่มประสิทธิภาพการบริการผู้ป่วยนอก โดยลดเวลารอตรวจ, ลดจำนวนผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการตรวจ หรือตรวจไม่เสร็จภายใน 1 ครั้ง ที่มาตรวจ, ดูแลการให้บริการให้ถูกต้องตามหลักวิชาการและเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ
  2. เพิ่มประสิทธิภาพการบริการผู้ป่วยใน โดยลดจำนวนวันที่อยู่ในโรงพยาบาล, มีการ ตรวจวินิจฉัยโรคโดยเร็ว, ลดเวลาและขั้นตอนในการปรึกษาภายในและระหว่างภาควิชา, ลด จำนวนวันรอคิวและการเลื่อนตรวจวินิจฉัยและการผ่าตัด, ลดอัตราการติดเชื้อในโรงพยาบาล, ใช้เตียงอย่างมีประสิทธิภาพและดูแลการส่งต่อผู้ป่วยอย่างเหมาะสม, ขยายเวลาการใช้ผู้เชี่ยวชาญและครุภัณฑ์ราคาแพงออกจากกรอบของเวลาราชการ, ปรับปรุงหน่วยสนับสนุนการบริการผู้ป่วยเพื่อเอื้อต่อการปฏิบัติงานของภาควิชา, ให้การช่วยเหลือคนไข้สังคมสงเคราะห์ที่ควรสงเคราะห์โดยคำนึงถึงหลักวิชาการและสภาพเศรษฐกิจ สังคม จรรยาบรรณ และคุณภาพชีวิตผู้ป่วย, ดูแลการใช้ยาและเทคโนโลยีอย่างเหมาะสม
  3. เพิ่มประสิทธิภาพการบริการผู้ป่วยฉุกเฉิน โดยจัดบุคลากรปฏิบัติงานที่ห้องฉุกเฉินอย่างเหมาะสม ให้มีจิตสำนึกของการให้บริการที่มีประสิทธิภาพ, จัดระบบการปรึกษาที่รวดเร็ว ถูกต้อง ให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาทันท่วงที

ในส่วนของการประกันคุณภาพงานการเรียนการสอน คณะอนุกรรมการวิชาการได้ดำเนินการสัมมนาคณาจารย์ที่รับผิดชอบงานด้านวิชาการจากภาควิชาต่าง ๆ เพื่อกำหนดแนวทางและเกณฑ์การปฏิบัติในการประกันคุณภาพการเรียนการสอนให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน พร้อมกำหนดแนวทางในการนำเกณฑ์ไปใช้ให้เกิดผลในทางปฏิบัติต่อไป

ในด้านการบริการรักษาพยาบาล คณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลได้มีการประชุมและกำหนดแนวทางการปฏิบัติต่อผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยฉุกเฉินเพื่อให้ภาควิชา/หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการรักษาพยาบาลใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติ

นอกจากนี้ ยังได้แต่งตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพการให้บริการนอกเวลาราชการขึ้น มีหน้าที่กำหนดแนวทางและติดตามผลการประกันคุณภาพและค่าใช้จ่ายของผู้ป่วย

และในปี 2540 นี้ได้แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาและประกันคุณภาพงานการบริการของโรงพยาบาลเพื่อช่วยกำหนดนโยบาย แนวทาง และวิธีการสนับสนุนพัฒนาและประกันคุณภาพ บริการของหน่วยงานต่าง ๆ ของโรงพยาบาล จัดให้มีระบบติดตามประเมินคุณภาพการให้บริการ เพื่อการตรวจสอบรับรองคุณภาพงานบริการจากหน่วยงานภายนอก

ภาควิชาและหน่วยงานได้นำเสนอกิจกรรมพัฒนาและประกันคุณภาพงานต่อที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาและประกันคุณภาพงานมาเป็นระยะในหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้ การเรียนการสอน, การบริการรักษาพยาบาล, ภาพรวมของภาควิชา และงานบริหารของทีมบริหาร, งานบริการ ฝ่ายเภสัชกรรม/ฝ่ายบริการพยาบาล, เวชระเบียน, การพัฒนาอาจารย์และพัฒนาวิชาการ, การเรียน การสอนแพทย์ใช้ทุน/แพทย์ประจำบ้าน, การตรวจทางห้องปฏฺบัติการ, การบริการของบุคลากร สาย ข

KA Best QA Presentation

รายงานการพัฒนาและประกันคุณภาพงานของภาควิชา


  รายงานประจำปีการประเมินคุณภาพ (SAR) ปีการศึกษา 2544
  รายงานประจำปีการประเมินคุณภาพ (SAR) ปีการศึกษา 2545
  รายงานประจำปีการประเมินคุณภาพ (SAR) ปีการศึกษา 2546
  รายงานประจำปีการประเมินคุณภาพ (SAR) ปีการศึกษา 2547

                                          - รายงานผลการประเมินคุณภาพภายในปีการศึกษา2547

  รายงานประจำปีการประเมินคุณภาพ (SAR) ปีการศึกษา 2548
  รายงานประจำปีการประเมินคุณภาพ (SAR) ปีการศึกษา 2549

                                          - รายงานผลการประเมินคุณภาพภายในปีการศึกษา 2549

  รายงานประจำปีการประเมินคุณภาพ (SAR) ปีการศึกษา 2550

                                          - Power Point ผลการดำเนินงาน SAR ปีการศึกษา 2550
                                          ( รศ.นพ.โสภณ ชีวะธนรักษ์ )

                                          - Power Point ผลการประเมินคุณภาพภายในโดยคณะกรรมการประเมินคุณภาพภายใน
                                          ( ผศ.กรัสไนย หวังรังสิมากุล ประธานคณะกรรมการฯ )
                                          
                                         - รายงานผลการประเมินคุณภาพภายในปีการศึกษา 2550

ต้องการข้อมูลรายละเอียดกิจกรรมประกันคุณภาพงานของคณะแพทยศาสตร์ โปรดติดต่อ

นางวิไลพรรณ ลีลามานิตย์ หน่วยประกันคุณภาพงาน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โทรศัพท์ 074-451158 โทรสาร 074-212900, 212903
email address :
wilaiphun.l@psu.ac.th