นักศึกษาแพทย์
ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา
ได้ปรับปรุงขบวนการเรียนการสอน สำหรับนักศึกษาแพทย์ ชั้นปีที่ 5
ให้เกิดความรู้และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันมากขึ้นโดยแบ่งเป็น
1.
ภาคทฤษฎี
1.1 การเรียนเป็น case study
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้และศึกษาเนื้อหาจากผู้ป่วยจริง
ทราบถึงขึ้นตอนในการวินิจฉัย
และจุดสำคัญที่นักศึกษาต้องทราบในการดูแลผู้ป่วยที่ยกมาเป็นกรณีศึกษา
(รายละเอียดในคู่มือนักศึกษา)
1.2
การศึกษาด้วยตนเองจากแบบเรียนสำเร็จรูป
1.2.1 โรค และ/หรืออาการทางหู
คอ จมูก ที่น่ารู้สำหรับเวชปฏิบัติทั่วไป (คู่มือ อ่านด้วยตนเอง)
1.2.2
CAI ได้สร้างแบบเรียนด้วยตนเองคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจำนวน 3 เรื่อง ให้
นักศึกษาแพทย์ศึกษาด้วยตนเอง
1.2.3
สไลด์ประกอบเสียง ภาควิชามีสไลด์ประกอบเสียงเพื่อให้นักศึกษาแพทย์ได้ศึกษา
ด้วยตนเอง จำนวน 3 เรื่อง
1.2.4 วิดีทัศน์
ภาควิชาโสตฯ
มีวิดีทัศน์ในโรคที่พบบ่อย และวิดีทัศน์ที่ได้จาก การจัดประชุมต่างๆ
เพื่อให้นักศึกษาแพทย์ได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองได้จำนวน 24
เรื่อง
1.2.5 ฝึกหัดหัตถการที่สำคัญทางหู คอ
จมูกในหุ่นทดลอง ได้เตรียมหุ่นทดลองกายวิภาคต่าง ๆ
เพื่อให้นักศึกษาแพทย์เรียนรู้จำนวน 11หุ่น
2. ภาคปฏิบัติ
2.1
หัตถการจำเป็นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาแพทย์มีทักษะที่จำเป็นด้านหู คอ
จมูก สามารถค้นคว้าหาความรู้ได้ด้วยตนเอง
และให้เกิดการร่วมแรงร่วมใจในการหาความรู้ต่างๆ
นักศึกษาแพทย์ได้รับมอบหมายให้ศึกษาค้นคว้าเรื่องที่จะทำหัตถการตามหัวข้อที่ได้รับมอบหมาย
โดยศึกษาจากสื่อการสอนจากห้องสมุดภาควิชา ภายในระยะเวลาที่กำหนด
จากนั้นอาจารย์จะสอนและสาธิต โดยวิธีปฏิบัติการในหุ่น ,ผู้ป่วยจริง , นักศึกษาแพทย์
(เป็นหุ่นจำลองเสมือนจริง)
หัตถการที่จำเป็น คือ
1. การเจาะคอ
2. การดูดชิ้นเนื้อเพื่อตรวจ
3. การห้ามเลือดกำเดา
4. การล้างหู
5. การเจาะฝีรอบต่อมทอนซิล
6.
การนำสิ่งแปลกปลอมออกจากช่องจมูก
2.2 การสอนข้างเตียง
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาแพทย์เรียนรู้และวินิจฉัย
จากผู้ป่วยจริงในหอผู้ป่วยร่วมกับอาจารย์แพทย์ และมีโอกาสแสดงความคิดเห็น
ถามปัญหาที่สงสัย โดยแพทย์ใช้ทุน และอาจารย์เป็นผู้พิจารณาเลือกผู้ป่วยที่น่าสนใจ
เพื่อสอนข้างเตียง นักศึกษาแพทย์จะนำเสนอประวัติ การตรวจร่างกายต่างๆ
อาจารย์แพทย์จะเป็นผู้ชี้นำเสนอปัญหาที่สำคัญ เพื่อให้นักศึกษาอภิปราย หรือตอบคำถาม
(รายละเอียดในคู่มือนักศึกษา)
2.3
การปฏิบัติงานที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอก นักศึกษาแพทย์รับผู้ป่วยโดยซักประวัติร่างกาย
อย่างสมบูรณ์
1 ราย/วัน สัปดาห์ละ 4 วัน และดูผู้ป่วยของเพื่อนร่วมกลุ่มอีก 2-3 ราย/วัน
โดยจัดให้ตรวจเฉพาะผู้ป่วยที่เข้ามาใหม่เท่านั้น
ซึ่งมีชนิดผู้ป่วยพบบ่อยในโรคต่อไปนี้
1. Allergic rhinitis
2.
Acute rhinopharygitis
3. Otitis externa and otitis media
4.
Acute and chronic sinusitis
5. Hoarseness
6. Neck
mass
7. Oral lesion
8. Myofacial pain
9.Cough
10. Sore mouth and sore throat
2.4
การปฏิบัติงานที่ห้องผ่าตัด นักศึกษาแพทย์ได้ถูกมอบหมายให้เข้าสังเกตผู้ป่วย
ช่วยผ่าตัด สัปดาห์ละ 1 วัน
เพื่อเพิ่มและเรียนรู้ด้านหัตถการทางศัลยกรรมภายใต้การควบคุมดูแลของแพทย์ใช้ทุน
และควบคุมการสอนโดยอาจารย์ประจำห้องผ่าตัด
2.5
การปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยใน นักศึกษาแพทย์รับผู้ป่วยจำนวน 2 ราย/สัปดาห์
เพื่อเขียนรายงานส่งอาจารย์
แต่จะมีผู้ป่วยในความดูแลร่วมกับแพทย์ใช้ทุนเฉลี่ยประมาณ 3-4 ราย/วัน ตลอดระยะเวลา
3 สัปดาห์ โรคที่พบบ่อยบนหอผู้ป่วยและนักศึกษาแพทย์รับไว้ในการดูแลมีดังนี้
- มะเร็งของหู คอ จมูก เช่น มะเร็งกล่องเสียง ลำคอ ธัยรอยด์ โพรงหลังจมูก
- โรคติดเชื้อในหู เช่น otitis media
- โรคติดเชื้อในช่องคอที่ต้องรับการผ่าตัด เช่น ทอนซิลและอดินอย์อักเสบเรื้อรัง
ฝีหนองบริเวณลำคอและทอนซิล
การฝึกอบรมแพทย์หลังปริญญา
ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา ได้จัดให้มีการฝึกอบรมแพทย์หลังปริญญา
เพื่อเป็นผู้เชี่ยวชาญ ที่มีวุฒิบัตรด้านโสต ศอ นาสิกวิทยา โดยแบ่งการฝึกอบรมเป็น 2
หลักสูตร คือ
- หลักสูตรวุฒิบัตร สาขาโสต ศอ นาสิกวิทยา สำหรับแพทย์ประจำบ้าน
โดยรับสมัครผู้ที่จบแพทยศาสตร์บัณฑิต และผ่านการปฏิบัติงานในหน้าที่แพทย์มาแล้ว 3
ปี ตามเงื่อนไขของแพทยสภา การฝึกอบรมหลักสูตรนี้ ใช้เวลาฝึกอบรม 3 ปี
โดยรับแพทย์ผู้เข้ารับการฝึกอบรมไม่เกิน 3 คนต่อปี
- หลักสูตรอนุมัติบัตร สาขาโสต ศอ นาสิกวิทยา สำหรับแพทย์ใช้ทุน
โดยรับจากแพทย์ที่จบแพทยศาสตร์บัณฑิตแล้ว
สมัครและได้ผ่านการคัดเลือกจากภาควิชาให้ปฏิบัติหน้าที่แพทย์ใช้ทุน
ภาควิชาโสต
นาสิกฯ มีนโยบายรับแพทย์ใช้ทุน
เพื่อปฏิบัติหน้าที่ภายใต้การควบคุมดูแลของอาจารย์แพทย์
ในขณะเดียวกันได้จัดการเรียนการสอน การฝึกอบรมด้านต่าง ๆ
เพื่อให้แพทย์ใช้ทุนมีขีดความสามารถในระดับสูงทางวิชาการด้านหู คอ จมูก
มีทักษะในการผ่าตัด ตลอดจนความรู้ด้านอื่น ๆ
ที่เกี่ยวข้องเพียงพอต่อการสอบอนุมัติบัตร หลังการฝึกอบรม 5
ปี
การฝึกอบรมแพทย์ใช้ทุนนี้ ใช้หลักสูตรเดียวกับการอบรมแพทย์ประจำบ้าน
โดยจัดลำดับการเรียนการสอน และความสามารถด้านต่าง ๆ ตามลำดับความสามารถ