\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\ \ เลิกบุหรี่ - Quit Smoking Web - ผลต่อสุขภาพหลังหยุดสูบบุหรี่
\
\
หน้าแรก
บทความเกี่ยวกับบุหรี่
เอกสารเผยแพร่
Blog
Links
ค้นหา
ติดต่อเรา
\
Administrator
Statistics
\ผู้เยี่ยมชม: 255601
 
   
\หน้าแรก arrow Blog arrow ผลต่อสุขภาพหลังหยุดสูบบุหรี่
\\\\\\\\\\\
ผลต่อสุขภาพหลังหยุดสูบบุหรี่ PDF พิมพ์ ส่งเมล
เขียนโดย Administrator   
พฤหัสบดี, 03 พฤษภาคม 2007

          ผลต่อสุขภาพหลังหยุดสูบบุหรี่

 
            มีประโยชน์ทั้งผลระยะสั้นและระยะยาว
   ในระยะยาว ลดอัตราเสี่ยงในการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรเมื่อหยุดได้นาน 10-15 ปี
   ที่สำคัญถ้าสามารถหยุดสูบบุหรีได้ก่อนอายุ 35 ปี จะมีอายุเท่ากับผู้ที่ไม่สูบบุหรี่


            ในกรณีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง

             จะลดอัตราเสี่ยงของมะเร็งปอดลงถึงร้อยละ 30-50 เมื่อหยุดนานได้ 10 ปี แต่อย่างไรก็ตาม
ยังคงความมีปัจจัยเสี่ยงเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ไม่สูบแม้เลิกได้นาน 20 ปี และจะลดอัตราเสี่ยง
ต่อการเป็นมะเร็งปอดถึงร้อยละ 90 ถ้าสามารถหยุดได้ก่อนอายุ30 ปี  จะลดอัตราเสี่ยงของมะเร็ง
ในช่องปาก และมะเร็งหลอดอาหาร ลงครึ่งหนึ่งเมื่อหยุดได้นาน 5 ปี

              ในกรณีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด

              จะลดลงได้เร็วกว่ามากโดยจะลดอัตราเสียชีวิตลงครึ่งหนึ่งเมื่อหยุดได้ 1 ปีและจะค่อยๆ
ลดลงจนเท่าผู้ไม่สูบบุหรี่เมื่อหยุดสูบได้นาน 15 ปี ที่น่าสนใจมากคืออัตราเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจาก
การศึกษา meta-analysis ลดลงครึ่งหนึ่ง เมื่อเลิกสูบในกลุ่มที่มีกล้ามเนื้อหัวใจตาย ทั้งนี้
ลดลงมากกว่าในกลุ่มที่ใช้ยารักษามาตรฐานทั่วไปซึ่งรวมถึงการใช้กลุ่มยาละลายลิ่มเลือด, แอสไพริน,
กลุ่มเบต้า บล็อกเกอร์ และสตาติน   นอกจากนี้ยังลดอัตราเสี่ยงของการเสียชีวิตจาก หลอดเลือดในสมองตีบตัน

               ในกรณีผลต่อสมรรถภาพปอดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง  (COPD)

               ลดอัตราความเสื่อมของสมรรถภาพปอดที่เป็นผลจากการสูบบุหรี่   ทำให้ชะลอการเกิดโรค COPD ซึ่งเป็นโรคของหลอดลมและปอดที่มีผลต่อการลดลงของสมรรถภาพปอดเป็นหลักโดยแสดงออกเป็นมีภาวะอุดกั้นที่ไม่กลับคืนสู่ปกติทั้งหมดหลังการให้ยาขยายหลอดลม 

               ลดอัตราเสียชีวิตและอาการจับหืดในผู้ป่วยCOPDเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ยังไม่เลิกสูบ   ประโยชน์ของการเลิกสูบต่อสมรรถภาพปอดมีทุกระยะของโรค  นอกจากนี้ยังลดอัตราเสี่ยงของการเสียชีวิตจากปอดอักเสบ และไข้หวัดใหญ่  ลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปอด และโรคหัวใจ ร่วมด้วยซึ่งในกลุ่ม COPD ที่สูบบุหรี่ต่อเนื่องจะมีอัตราเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปอดถึง 5-6 เท่าและโรคหัวใจ 3-4 เท่าร่วมด้วย

               กลุ่มสตรีที่เป็น COPD จะมีสมรรถภาพปอดดีขึ้นกว่าเพศชายถึง 2 เท่าถ้าหยุดสูบ  ขณะเดียวกันกลับมีความเสื่อมของสมรรถภาพปอดมากกว่าเพศชายถ้ายังยืนหยัดสูบบุหรี่ต่อเนื่อง

              ในกรณีหญิงมีครรภ์สูบบุหรี่

              จะป้องกันการลดลงของน้ำหนักเด็กแรกคลอดที่เกิดจากการสูบบุหรี่ได้ถ้าสามารถหยุด
ได้ในช่วง 3-4   เดือนแรกของการมีครรภ์

             ในกรณีหยุดสูบก่อนการผ่าตัด
             จะลดอัตราเสียชีวิตและอัตราการเกิดอาการแทรกซ้อนหลังผ่าตัดได้ 

             โดยภาพรวม
             ถ้าสามารถลดผู้สูบบุหรี่ลดครึ่งหนึ่งได้จะสามารถป้องกันการเสียชีวิตก่อนวัยอันสมควร
ได้ทั่วโลกถึง 20-30 ล้านคนในต้นศตวรรษนี้ และ 150 ล้านคนในกลางศตวรรษ
 ทั้งนี้จะยิ่งเห็นผลชัดเจนถ้าป้องกันวัยหนุ่มสาวไม่ให้ใช้ยาสูบด้วย


เรียบเรียงโดย พญ.วิไลวรรณ วิริยะไชโย
คัดจากบทความการควบคุมยาสูบ (Tobacco Control) ของ พญ.วิไลวรรณ วิริยะไชโย
จากตำราโรคระบบการหายใจ โดยสมาคมอุรเวชช์ แห่งประเทศไทย -- กรุงเทพฯ : สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย 2550และค้นคว้าเพิ่มเติมจากบทความวิชาการทางการแพทย์อื่น ๆ

แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( พุธ, 28 พฤษภาคม 2008 )
 

Mambo Open Source is Free Software released under the GNU/GPL License.