\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\ \ เลิกบุหรี่ - Quit Smoking Web - มรรคแปดกับการงดบุหรี่
\
\
หน้าแรก
บทความเกี่ยวกับบุหรี่
เอกสารเผยแพร่
Blog
Links
ค้นหา
ติดต่อเรา
\
Administrator
Statistics
\ผู้เยี่ยมชม: 255624
 
   
\หน้าแรก arrow บทความเกี่ยวกับบุหรี่ arrow มรรคแปดกับการงดบุหรี่
\\\\\\\\\\\
มรรคแปดกับการงดบุหรี่ PDF พิมพ์ ส่งเมล
เขียนโดย Administrator   
จันทร์, 23 เมษายน 2007

            มรรคที่ 1 สัมมาทิฎฐิ ( ความเข้าใจชอบ )

            เข้าใจว่าบุหรี่หรือยาสูบทุกชนิดเป็นยาเสพติด ทำให้เสียทรัพย์ และทำให้เกิดโรคภัยมากมาย
ต่อผู้สูบและผู้ที่ได้รับควันบุหรี่ เป็นทุกข์ในวงจรชีวิตเกิด เจ็บและเสียชีวิต เป็นทุกข์ทั้งตนเองและครอบครัว
เป็นจุดเริ่มต้นของการติดยาเสพติดอื่น ๆ ได้ เป็นตัวอย่างไม่ดีต่อสังคมโดยเฉพาะวัยรุ่น หรือผู้ใต้บังคับบัญชา

             ทั้งนี้ผลแห่งการเสพติดเกิดความอยาก ความยึดมั่น (ตัณหา) ในรสชาติจากการเสพซึ่งไม่ยั่งยืน
จะมลายหายไปเร็วมากเหลือแต่ความความรู้สึกและความทรงจำ ยิ่งผูกพันเท่าใดจะก่อให้เกิดทุกข์ระยะยาว



          มรรคที่ 2 สัมมาสังกัปปะ ( ความดำริชอบ ) 

            เมื่อมีความเข้าใจเรื่องโทษของบุหรี่แล้ว มีทัศนคติที่ดีเกิดความคิดที่สร้างสรรค์ตามธรรมชาติ
สติจากสัมมาทิฏฐิหรือความเข้าใจที่ถูกต้องแล้วจะนำเราไปสู่ความคิดชอบที่ดับหรือป้องกันทุกข์ ได้แก่การลด ละ เลิก บุหรี่ โดยมีความคิดที่จะลดความผูกพัน ความอยาก (สาเหตุของการเสพ) กับบุหรี่หรือยาสูบทุกชนิด  มีความคิดเมตตาต่อสุขภาพตนเอง ต่อครอบครัวและผู้อื่นที่จะได้ผลกระทบต่อการสูบบุหรี่


           
มรรคที่ 3 สัมมาวาจา (วาจาชอบ)

            เมื่อเรามีความเข้าใจ มีความคิดที่สร้างสรรค์ มีเมตตากรุณา และสติจะทำให้มีวาจาที่อ่อนโยน
พูดความจริงเมื่อมีมรรคที่ 1,2,4 การไปหาแพทย์เพื่อให้ช่วยงดบุหรี่ บอกกล่าวครอบครัวบุคคลใกล้ชิดของความตั้งใจละ เลิกบุหรี่ เป็นการพูดความจริงตามที่มีความคิดตั้งใจ เพราะบางครั้งจำเป็นต้องมีผู้ช่วยคิดช่วยแนะนำ หรือต้องการกำลังใจจากครอบครัวและเพื่อนฝูงเพื่อการสนับสนุนเพื่อให้เลิกได้สำเร็จ ทุกคนที่เกี่ยวข้องจะเข้าใจสถานการณ์ช่วงอดบุหรี่และให้การสนับสนุนเต็มที่


            
มรรคที่ 4 สัมมากัมมันตะ ( กระทำชอบ )

             ได้แก่การปฏิบัติตามศีลห้า เว้นจากการดื่มสุราและสิ่งเสพติด ทางที่ดีที่สุดคืออย่าเริ่มต้น
เพราะการติดบุหรี่อาจทำให้การปฏิบัติตามศีลห้าอื่น ๆได้โดยยาก เช่นพูดปด ลักขโมยเพื่อหาปัจจัย
สำหรับบุหรี่ การกระทำลด ละ เลิกเป็นการกระทำชอบที่กรุณาต่อตนเองและครอบครัว โดยในการ
เปลี่ยนพฤติกรรมให้เลิกบุหรี่ สำรวจใคร่ครวญ (วิมังสา) ว่ากิจกรรมใดที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมสูบบุหรี่
เช่นพบว่าเกี่ยวข้องกับการดื่มสุรา การดื่มชา กาแฟหลังอาหาร ให้เลิกสุรา งดดื่มชา กาแฟ
โดยให้เปลี่ยนอิริยาบถ และดื่มน้ำเปล่าแทน  และออกกำลังกายสม่ำเสมอเพื่อให้สุขภาพแข็งแรงทั้งกายและใจ
ในระยะสั้นจะเกิดผลดีอย่างง่าย ๆ โดยเฉพาะกับผู้มีรายได้น้อย   มีเงินเก็บมากขึ้นเดือนละไม่ต่ำกว่าพันบาท
จากการไม่เสียทรัพย์ ช่วยค่าใช้จ่ายการศึกษาหรือได้อุปกรณ์การเรียนเพิ่มเติมของบุตรธิดาได้ ในระยะยาวร่างกายแข็งแรงไม่เสี่ยงต่อโรคภัยจากบุหรี่และเหล้า ครอบครัวมีสุขภาพจิตดีขึ้น


             
มรรคที่ 5 สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีวิตชอบ)

              ได้แก่การมีอาชีพที่สนับสนุนการปฏิบัติธรรม ให้รู้สึกสงบและมีสันติ เพราะเราต้องยอมรับผลกรรม
จากการพูดหรือการกระทำของเราที่จะเกิดขึ้นทั้งปัจจุบันและในอนาคตเช่นไม่ควรขายบุหรี่  เมื่อลูกค้าติดบุหรี่
ในที่สุดกระทบต่ออาชีพเพราะลูกค้าจะป่วยและเสียชีวิตก่อนวัยอันสมควร


               
มรรคที่ 6 สัมมาวายามะ (ความเพียรชอบ)

               ได้แก่การอดทน พากเพียร มานะบากบั่นมีความยึดมั่นในสัมมาสังกัปปะและ
สัมมากัมมันตะอย่างมีสติให้เลิกหรือไม่ริบุหรี่โดยใช้หลัก 4 ข้อกับการปฏิบัติทางจิต
ตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า

               ตั้งใจอย่างแน่วแน่ในการป้องกันสภาวะจิตจากโซ่ตรวนของความอยากได้ความสุขเล็กน้อย
ทางประสาทสัมผัส (บุหรี่)แต่จะมีผลร้ายอื่น ๆหนักหนากว่า

                ปลุกกระตุ้นตนเองให้เอาชนะสภาพจิตที่อยาก ได้แก่การออกกำลังกายสม่ำเสมอช่วยให้สุขภาพกายแข้งแรง มีความสุขสดชื่นแม้กระทั่งตอนอดบุหรี่ ทำสมาธิจิตและกำหนดสติพินิจสัมมาทิฏฐิถึงโทษและภัยบุหรี่ต่าง ๆ และใช้สัมมากัมมันตะ ทิ้งอุปกรณ์บุหรี่ทั้งหมด ทิ้งบุหรี่และไม่ซื้อหาบุหรี่มาเพิ่มเติม

                 แทนที่ความคิด ความอยากด้วยความกรุณาปราณีต่อสุขภาพทั้งของตนเองและผู้อื่นโดยเฉพาะ
คนใกล้ชิดที่จะได้ผลกระทบ ได้แก่การใช้สัมมาสังกัปปะ 
                

                 ใช้ความเพียร (วิริยะ) ปลุกฝังความคิดนี้ให้ยั่งยืนตลอดไป (จิตตะ)ทำให้ปลอดทุกข์และมีความสุข
เป็นผลดีต่อสุขภาพตนเองและผู้อื่น  แม้จะเคยอดบุหรี่ไม่สำเร็จครั้งแรก หรือครั้งที่ 2,3 ยังมีความเพียรที่จะทำให้สำเร็จจงได้ และมีความเพียรพยายามให้ไม่กลับมาเสพใหม่อีก


                
มรรคที่ 7 สัมมาสติ (ความตั้งใจต่อสิ่งรอบตัวทุกขณะ)

                ได้แก่ความตั้งใจเฝ้าดูสิ่งรอบตัวอย่างพินิจพิเคราะห์ เป็นหนทางฝึกปฏิบัติตลอดชีวิต
ใช้ร่วมในมรรคอื่น ๆ ดังข้างต้น พินิจดูในสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ และสัมมาวายามะ


                 มรรคที่ 8 สัมมาสมาธิ (สมาธิชอบ หรือการมีจิตที่เป็นกุศล
มีพลังไปสู่จุดเดียวและทำงานร่วมกับสติ)
                 
                 เมื่อใช้ร่วมกับสัมมาสติ ทำให้เกิดปัญญาในมรรคต่าง ๆ 
  ในเรื่องบุหรี่นี้ เมื่อปฏิบัติตามมรรคที่กล่าวมาแล้ว จะเกิดปัญญาว่า ทำไมจึงควรทำ และควรปฏิบัติตนอย่างไรให้ลด ละ เลิก บุหรี่ตลอดไป รวมถึงมีความเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่เป็นกำลังใจให้ผู้อื่นปฏิบัติตามเพื่อสิ่งที่ดีงามต่อสภาพกายและจิต ในที่สุดมีความสำเร็จในการอดหรืองดบุหรี่ซึ่งเป็นทางที่ดี ที่ถูกต้องเป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น

ประยุกต์จากหนังสือ  8 ขั้น วิถีทางสู่ความสุข ของ ท่านภันเต  คุณารัตนะ มหาเถระ (แปลเป็นไทยโดยแพทย์หญิงชวาลา เธียรธนู )

โดย พ.ญ. วิไลวรรณ วิริยะไชโย

สูบบุหรี่อันตรายตายผ่อนส่ง                พ่นควันโขมงส่งพิษร้ายสู่มิตรสหาย

ก่อโรคร้ายหลากหลายชีวาวาย           ลดละเลิกสุขสดชื่นทุกคืนวัน

ตั้งสติพินิจจิตแล้วแปรผัน                     ใจมุ่งมั่นใช้ปัญญากันเถิดหนา

ชนะใจตนสยบโรคร้ายที่ตามมา          บุญนำพาดลสุขพ้นทุกข์เอย

ร้อยกรองโดย   แพทย์หญิงวิไลวรรณ  วิริยะไชโย

    

  


แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( อาทิตย์, 24 มิถุนายน 2007 )
 

Mambo Open Source is Free Software released under the GNU/GPL License.