\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\ \ เลิกบุหรี่ - Quit Smoking Web - ภาวการณ์ติดบุหรี่
\
\
หน้าแรก
บทความเกี่ยวกับบุหรี่
เอกสารเผยแพร่
Blog
Links
ค้นหา
ติดต่อเรา
\
Administrator
Statistics
\ผู้เยี่ยมชม: 255633
 
   
\หน้าแรก arrow บทความเกี่ยวกับบุหรี่ arrow ภาวการณ์ติดบุหรี่
\\\\\\\\\\\
ภาวการณ์ติดบุหรี่ PDF พิมพ์ ส่งเมล
เขียนโดย Administrator   
จันทร์, 23 เมษายน 2007

                 การติดบุหรี่เป็นการเสพติดทางสรีระ (physical) ต่อนิโคติน  และทางจิตใจ ( psychological)
ร่วมด้วย  ทางสรีระเป็นผลจากนิโคตินที่ไปออกฤทธิ์ที่สมองโดยไปกระตุ้น reward pathways ที่ควบคุม
เรื่องเกี่ยวกับความพึงพอใจในชั่วเพียงสิบวินาทีแรกของการสูดควันบุหรี่ที่ระดับนิโคตินสูงสุด ซึ่งสารเคมี
ในสมอง (neurotransmitter) โดยเฉพาะ dopamine(DA) จะหลั่งออกมาในระดับที่สูงขึ้น  ร่วมไปกับ
การมีการลดลงของระดับ monoamineoxidase( MAO)ที่เป็นเอนไซม์ที่สำคัญที่ทำลาย  DA ซึ่งเข้าใจ
ว่าเป็นผลจากสารประกอบอื่นที่มีอยู่ในควันบุหรี่มากกว่า  ทำให้เกิดผลรวมมีระดับ DA สูงขึ้น อาจเป็น
อีกเหตุผลที่ทำให้เกิดการสูบต่อเนื่องเพื่อให้คงความรู้สึกพึงพอใจ


                  นอกจากนี้การติดบุหรี่เป็นสิ่งที่ล้ำลึกพึงพอใจอยู่ใต้จิตสำนึกในขณะสูบบุหรี่
เป็นการติดทางจิตใจโดยมีความสัมพันธ์ระหว่างความรู้สึกเสพติดกับภาพพจน์ของความรู้สึกเป็นชาย
ความยิ่งใหญ่เหมือนการเล่นกีฬาที่พึงพอใจหลายชนิด หรือความรู้สึกเหมือนเป็นคนจริง ที่เกิดขึ้น
จากการทุ่มสร้างภาพของอุตสาหกรรมบุหรี่ต่อลูกค้าเพื่อคงไว้ซึ่งตลาด  และความพึงพอใจใน
อากัปกิริยาของการสูบต่าง ๆ  การติดบุหรี่ มีความแตกต่างเป็นสัดส่วนของแต่ละบุคคลไม่เท่ากัน
ดังนั้นผู้ที่เลิกบุหรี่อาจรู้สึกเหมือนสูญเสียเพื่อน  ดังนั้นการช่วยเลิกบุหรี่จึงจำเป็นต้องใช้พฤติกรรม
บำบัดร่วมด้วยโดยสร้างความรู้สึกด้านลบขึ้นแทนที่  จะช่วยในการเกิดการทุรนทุรายทางด้านจิตใจ
ขณะลดหรืออดบุหรี่ ซึ่งการใช้พฤติกรรมบำบัดแบบกลุ่มกับวิธีบำบัดเฉพาะบุคคลแบบเข้มข้นมีผลดีและ
ไม่แตกต่างกันชัดเจน ทั้งนี้การฝังเข็ม การใช้ไฟฟ้ากระตุ้น และการใช้เลเซอร์ เพื่ออดบุหรี่ไม่มีหลักฐาน
เชิงประจักษ์ว่าช่วยอดบุหรี่ได้ถาวร

เรียบเรียงโดย พญ.วิไลวรรณ วิริยะไชโย
คัดจากบทความการควบคุมยาสูบ (Tobacco Control) ของ พญ.วิไลวรรณ วิริยะไชโย
จากตำราโรคระบบการหายใจ โดยสมาคมอุรเวชช์ แห่งประเทศไทย -- กรุงเทพฯ : สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย 2550

แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( พุธ, 16 พฤษภาคม 2007 )
 

Mambo Open Source is Free Software released under the GNU/GPL License.