\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\ \ เลิกบุหรี่ - Quit Smoking Web - สถานการณ์การสูบบุหรี่
\
\
หน้าแรก
บทความเกี่ยวกับบุหรี่
เอกสารเผยแพร่
Blog
Links
ค้นหา
ติดต่อเรา
\
Administrator
Statistics
\ผู้เยี่ยมชม: 255587
 
   
\หน้าแรก arrow Blog arrow สถานการณ์การสูบบุหรี่
\\\\\\\\\\\
สถานการณ์การสูบบุหรี่ PDF พิมพ์ ส่งเมล
เขียนโดย Administrator   
จันทร์, 23 เมษายน 2007

                มีการประมาณกันว่าทั่วโลกมีผู้สูบบุหรี่ประมาณ 1,300 ล้านคน จำนวนผู้สูบบุหรี่สูงสุดอยู่ในกลุ่มประเทศแปซิฟิคตะวันตก ถ้าแนวโน้มของการสูบบุหรี่ยังคงเดิม คาดหมายว่าจะมีผู้สูบบุหรี่เสียชีวิตสูงถึง10 ล้านคนต่อปีในปี ค.ศ. 2030 มีผู้เสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ถึงประมาณ 650 ล้านคนโดยครึ่งหนึ่งเสียชีวิตในช่วงวัยกลางคน ผู้สูบบุหรี่ในแถบเอเชียจะเสียชีวิตเพิ่มขึ้น 4 เท่ามากกว่าในแถบประเทศที่พัฒนาแล้ว 

                สำหรับในประเทศไทย จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติปีพ.ศ. 2547 ในกลุ่มประชากรอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปพบว่า จำนวนผู้สูบบุหรี่เป็นประจำลดลงจาก 10.6 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2544 เป็น 9.6 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนจากประชากร เพศชายสูบร้อยละ 37.2 และเพศหญิงร้อยละ 2.1 คิดเป็นอัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิง 18:1โดยส่วนใหญ่ซึ่งเป็นจำนวน 4.66 ล้านคนเป็นกลุ่มอายุมากกว่า 40 ปี และเป็นกลุ่มเยาวชนอายุต่ำกว่า 24 ปีประมาณ 1.26 ล้านคน ทั้งนี้เป็นผู้จบการศึกษาระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่า 6.2 ล้านคนคิดเป็นร้อยละ 64  ผู้ที่มีอาชีพรับจ้างเกษตรกรรมและประมงมีอัตราการสูบบุหรี่ที่สูงสุดทั้งเพศหญิงและชาย โดยเมื่อรวมอาชีพคนงานรับจ้างเกษตร ประมง ผู้ปฏิบัติงานด้านความสามารถ ทางฝีมือและเครื่องจักรโรงงานรวม 7.12 ล้านคนคิดเป็นร้อยละ 74 ของผู้สูบบุหรี่ทั้งหมด

             ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีผู้สูบบุหรี่มากที่สุดคือ 3.5 ล้านคน ภาคกลาง 2.0 ล้านคน
ภาคเหนือ 1.89 ล้าน คน ภาคใต้ 1.36 ล้านคน และกรุงเทพฯ 858,420 คน ทั้งนี้เมื่อคิดเป็น
อัตราการสูบบุหรี่แล้วกรุงเทพฯมีอัตราการสูบบุหรี่ต่ำที่สุด (ร้อยละ 12.8 )ในขณะที่ภาคใต้
และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอัตราการสูบบุหรี่สูงสุด ( ร้อยละ 22.5 และ  22.2ตามลำดับ)
 ผู้ที่สูบบุหรี่ประจำร้อยละ 72.9  สูบน้อยกว่า 10  มวนต่อวันและร้อยละ 24.8  สูบระหว่าง
 11-24 มวนต่อวัน  และร้อยละ 65.6  ของผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำติดบุหรี่ก่อนอายุ 19 ปี
โดยร้อยละ 92 ติดบุหรี่ก่อนอายุ 24 ปีและร้อยละ 8 ของผู้ติดบุหรี่ทั้งหมดติดหลังอายุ 25 ปี


เรียบเรียงโดย พญ.วิไลวรรณ วิริยะไชโย
คัดจากบทความการควบคุมยาสูบ (Tobacco Control) ของ พญ.วิไลวรรณ วิริยะไชโย
จากตำราโรคระบบการหายใจ โดยสมาคมอุรเวชช์ แห่งประเทศไทย -- กรุงเทพฯ : สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย 2550

วัยรุ่นกับการสูบบุหรี่

ทั่วโลกกลุ่มวัยรุ่นอายุ 10 – 24 ปี มีประมาณ 1.8 พันล้านคน ซึ่งในจำนวนนี้ร้อยละ 85 อยู่ในประเทศกำลังพัฒนา เป็นเหยื่อของบริษัทบุหรี่

ข้อมูลจากการสำรวจทั่วโลก พบว่า 

“เยาวชนที่ติดบุหรี่ส่วนใหญ่จะเริ่มสูบก่อนอายุ 18 ปี”

“1 ใน 4 เริ่มทดลองสูบก่อนอายุ 10 ปี ยิ่งทดลองสูบเมื่ออายุน้อย ยิ่งมีโอกาสติดมากและเลิกยาก”

ครึ่งหนึ่งของผู้ที่สูบบุหรี่ต่อไปโดยไม่หยุดจะเสียชีวิตก่อนวัยอันควรโดยเฉลี่ย 15 ปี

วัยรุ่นไทยกับการสูบบุหรี่

จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พ.ศ.2547 พบว่า

มีเยาวชนอายุต่ำกว่า 24 ปี ที่สูบบุหรี่ทั้งแบบสูบประจำและแบบครั้งคราว รวม 1,705,526 คนโดย

เยาวชนที่มีอายุ 11 – 14 ปี สูบบุหรี่ 7,176 คน

เยาวชนที่มีอายุ 15 – 19 ปี สูบบุหรี่ 451,526 คน

เยาวชนที่มีอายุ 20 – 24 ปี สูบบุหรี่เป็นประจำ 1,246,785 คน

เยาวชนที่อายุต่ำกว่า 19 ปี ติดบุหรี่แล้วกว่า 458,740 คน

ตามสถิติ ประมาณหนึ่งในสามของเยาวชนที่สูบบุหรี่ต่อไปโดยไม่เลิกจะเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่

Link พฤติกรรมการสูบบุหรี่ของวัยรุ่น   

http://www.ashthailand.or.th/th/content_image/informationcenter/205.doc


Link สถานการณ์การสูบบุหรี่ของประชากรไทย 2534-2549

               http://medinfo.psu.ac.th/tobacco/pr/Smoking_Situation_2549.pdf
แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( จันทร์, 25 พฤษภาคม 2009 )
 

Mambo Open Source is Free Software released under the GNU/GPL License.