\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\ \ เลิกบุหรี่ - Quit Smoking Web - บุหรี่
\
\
หน้าแรก
บทความเกี่ยวกับบุหรี่
เอกสารเผยแพร่
Blog
Links
ค้นหา
ติดต่อเรา
\
Administrator
Statistics
\ผู้เยี่ยมชม: 255629
 
   
\หน้าแรก arrow บทความเกี่ยวกับบุหรี่ arrow บุหรี่
\\\\\\\\\\\
บุหรี่ PDF พิมพ์ ส่งเมล
เขียนโดย Administrator   
ศุกร์, 20 เมษายน 2007

บุหรี่ (Smoking)

           บุหรี่เป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่สุดในการคร่าชีวิตมนุษย์ก่อนวัยอันสมควรทั่วโลก ถ้าแนวโน้มของการสูบบุหรี่ยังคงเดิม ความสูญเสียชีวิตของมนุษยชาติคาดคะเนว่าสูงถึง 10 ล้านคนต่อปีก่อนปี 2030 จากผู้สูบบุหรี่ทั่วโลก 1300 ล้านคน โดยจะมีผู้เสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ถึงประมาณ 650 ล้านคนหรือครึ่งหนึ่งเมื่อถึงวัยกลางคน  นอกจากนี้ ผลจากการสูบบุหรี่ก่อให้เกิดความสูญเสียต่อเศรษฐกิจอย่างมหาศาล เป็นอุปสรรคของการบรรลุเป้าประสงค์ สหสวรรษเดิมขององค์การอนามัยโลกในด้านการพัฒนาของประเทศกำลังพัฒนา ( The Millennium Development Goals, MDGs) การควบคุมยาสูบจึงมีส่วนสำคัญยิ่งใน MDGs      

         ในประเทศไทยการประเมินสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคในปี 2546-2550 โดยศึกษาในผู้ป่วยทั้งโรงพยาบาลรัฐและเอกชน 10 แห่งใน 5 พื้นที่ทั่วประเทศจากประชากรตัวอย่าง 900 คนอันเกิดจากการสูบบุหรี่เพียง 3 โรคหลักซึ่งได้แก่ถุงลมพอง มะเร็งปอดและโรคหัวใจคิดเป็นจำนวนเงิน 45,550 ล้านบาทในปี 2546และคาดการณ์ว่าเฉพาะค่าใช้จ่ายเฉพาะ3 โรคหลักคิดเป็นเงิน 53,674 ล้านบาทซึ่งจะมากกว่ารายรับจากการจัดเก็บภาษีจากการขายบุหรี่ซึ่งคิดเป็นรายได้ 48,630 ล้านบาท

  ในปี 2550 ข้างหน้าแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ควรร่วมมือร่วมใจกันในการต่อสู้กับ
ภัยคุกคามจากผลของการสูบบุหรี่ขณะที่อุตสาหกรรมบุหรี่โลกได้มีการต่อสู้ทุกรูปแบบ
เพื่อดำรงไว้ซึ่งยอดขาย โดยมีการหันเหการตลาดไปสู่ตลาดประเทศที่กำลังพัฒนาและ
ยุโรปตะวันออก ทั้งนี้เพื่อทดแทนยอดขายที่ตกลงอย่างต่อเนื่องในตลาดอเมริกาเหนือ
โดยกลุ่มลูกค้าเป้าหมายหลักได้ถูกหันเหไปยังกลุ่มวัยรุ่นและสตรีเพื่อคงไว้ซึ่งยอดขายเดิม
เมื่อลูกค้าเดิมได้สูญเสียชีวิตไปจากการสูบบุหรี่หรือเพิ่มตลาดใหม่ และเปลี่ยนโฉมหน้า
โดยเปลี่ยนภาพพจน์เป็นผู้อุปถัมภ์ในกิจกรรมศิลปวัฒนธรรมและกีฬา 

  ในยุคปัจจุบันการต่อสู้ของแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์จึงต้องมีความพร้อมทุกรูปแบบและร่วมมือกัน   ตั้งแต่ทราบพื้นฐานของปัญหามีความตั้งใจมั่นและมีทักษะในการช่วยผู้สูบบุหรี่ให้หยุดสูบ รวมไปถึงการมีส่วนร่วมรณรงค์ให้พร้อมในระบบที่จะป้องกันไม่ให้เกิดการเริ่มสูบบุหรี่ และป้องกันหรือลดผลต่อสุขภาพต่อผู้สูบบุหรี่มือสอง



เรียบเรียงโดย พญ.วิไลวรรณ วิริยะไชโย
คัดจากบทความการควบคุมยาสูบ (Tobacco Control) ของ พญ.วิไลวรรณ วิริยะไชโย
จากตำราโรคระบบการหายใจ โดยสมาคมอุรเวชช์ แห่งประเทศไทย -- กรุงเทพฯ : สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย 2550

แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( อาทิตย์, 24 มิถุนายน 2007 )
 

Mambo Open Source is Free Software released under the GNU/GPL License.