......ประวัติ<wbr>.....<wbr>


ณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นคณะทีตั้งขึ้น เนื่องจากปัญหาทางด้านสาธารณสุขของภาคใต้และความขาดแคลนบุคลากรทางด้านการแพทย์ และสาธารณสุขของประเทศ รวมทั้งเพื่อให้ให้การดำเนินการเป็นไปตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 คณะแพทย์ จึงได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นคณะลำดับที่4 ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ภามหาวิทยลัยสงขลานครินทร์ได้เล็งเห็นความจำเป็นและมีมติเห็นควร ให้จัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ในวันที่ 11กันยายน 2511 แล้วดำเนินการในการ ขอจัดตั้งตามขั้นตอนของระบบราชการ จนกระทั่งถึงวันที่17 สิงหาคม 2514 สภาการศึกษาแห่งชาติก็ได้อนุมัติให้จัดตั้งคณะแพทยศาสตร์เป็นคณะหนึ่ง ของมหาวิทยาลัย
วันที่27 ธันวาคม 2514 สภาปฎิวัติ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ โดยมีปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และคณะกรรมการชุดนี้ได้แต่งตั้ง อนุกรรมการ วางแผนรวม (MasterPlanning Subcommittee ) เพื่อวางแผนการดำเนินงานของคณะแพทย์ในระยะต้น โดยมีรองศาสตราจารย์นายแพทย์เกษม ลิ่มวงศ์ เป็นประธาน นายแพทย์ปราโมทย์ วีรานุวัตติ์ เป็นเลขานุการ
ลุล่วงถึงวันที่ 6 ตุลาคม 2515 จึงได้มีประกาศราชกิจจานุเบกษา ให้คณะแพทยศาสตร์ เป็นหน่วยงานระดับคณะของมหาวิทยลัยสงขลานครินทร์ ตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน 2515 และได้รับความอนุเคราะห์จากมหาวิทยาลัยมหิดล ให้ใช้สถานที่ของคณะเภสัชศาสตร์ เป็นสำนักงานชั่วคราว
ภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มีมติให้ตั้งคณะแพทยศาสตร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ 15พฤศจิกายน 2515 ประกอบด้วยภาควิชา เริ่มแรก 11 ภาควิชา กัย 2 หน่วยงาน คณะแพทยศาสตร์สามารถรับนักศึกษารุ่นแรกได้ จำนวน 35 คน ในเดือนมิถุนายน 2516 โดยใช้สถานที่ของคณะวิทยาศาสตร์เป็นที่เรียนภาคทฤษฎี และระยะแรกใช้โรงพยาบาลหาดใหญ่ และโรงพยาบาลสงขลา เป็นที่เรียนภาคปฎิบัติ


ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จ พระราชดำเนินมาทรงวางศิลาฤกษ์โรงพยาบาลคณะแพทยศาสตร์ เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2519 เพื่อให้เป็นสถาบันทางด้านการศึกษาวิจัย การรักษาพยาบาลและฝึกงานของบุคลากร ทางด้านการแพทย์ทุกแขนง และได้พระราชทานนามของโรงพยาบาลในภายหลังว่าโรงพยาบาลสงขลานครินทร์
เดือนมีนาคม2520 คณะแพทยศาสตร์ก็ได้ย้ายสำนักงานคณบดีชั่วคราวจากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลลงมาตั้งชั่วคราว คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และในช่วง2 ปีต่อมา คือ เดือนมีนาคม 2522 คณะแพทยศาสตร์ก็ได้บัณฑิตที่จบการศึกษารุ่นแรกจำนวน 31 คน
รงพยาบาลสงขลานครินทร์ซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่ใช้ในการเรียน การสอน และการรักษาพยาบาลของคณะ สามารถเปิดบริการรักษาพยาบาลแก่ประชาชนทั่วไปอย่างเป็นทางการจำนวน 100 เตียงแรก ได้เมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2525 ทำให้ประชาชนผู้ป่วยไข้ ได้รับบริการทางการแพทย์จากสถานบริการ ที่มีคุณภาพเพิ่ม ขึ้นอึกแห่งหนึ่งในภาคใต้
นกระทั่งถึง18 กันยายน 2529 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ก็ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงกระทำพิธีเปิดโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ นับเป็นศิริมงคล และสร้างความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณให้กับบุคลากรในคณะ มหาวิทยาลัย และ ประชาชนชาวภาคใต้ เป็นอย่างยิ่ง
างด้านการวิจัยสมเด็จพระพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา เสด็จเปิดอาคารวิจัย รัตน์ ประธานราษฎร์นิกรในวันที่ 18 กันยายน 2535 ซึ่งอาคารดังกล่าวใช้เป็นสถานที่ทำการภาควิชาชีเวชศาสตร์และห้องปฎิบัติการสัตว์ทดลอง
ารให้บริการรักษาพยาบาลอย่างเร่งด่วนแก่ผู้ประสบอุบัติเห;ตุ ในวันที่ 21 กันยายน 2535 สมเด็จพระเทพรัตราชสุดาสยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงวางศิลาฤกษ์อาคารอุบัติเหตุ และฉุกเฉิน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามว่า' อาคาร 100 ปี สมเด็จพระบรมราชชนก '
การให้บริการรักษาพยาบาลทั่วไปปัจจุบัน โรงพยาบาลของคณะแพทยศาสตร์ สามารถเปิดบริการรับคนไข้ใน ได้ จำนวน635 เตียง