ประเมินสภาพจิตใจตนเองอย่างไร ว่าปลอดภัยจากสึนามิ

.นพ.พิเชฐ อุดมรัตน์

จิตแพทย์ประจำภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

แม้หลายคนจะมีร่างกายปลอดภัยจากเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิเข้าถล่ม 6 จังหวัดภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน แต่จิตใจของคนเหล่านั้นก็ยังไม่แน่ใจว่าจะปลอดภัยอยู่หรือไม่ ดังข่าวที่ นพ.วชิระ เพ็งจันทร์            รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต ได้รายงานถึงกรณีที่ย่าจะฆ่าหลาน 2 คน ที่ .ภูเก็ต เพราะปู่ได้เสียชีวิตลงไปจาก เหตุการณ์คลื่นยักษ์เข้าถล่มในครั้งนี้ รวมทั้งมีรายงานว่าในช่วง 1 สัปดาห์แรกหลังเกิดเหตุสะเทือนขวัญสึนามินั้น ได้มีผู้ขอรับการช่วยเหลือทางสุขภาพจิตไปแล้วประมาณ 1,400 คน จนกล่าวได้ว่าสึนามิทำให้เกิดความทุกข์ทางใจ (tsunami induced psychological  distress, TIP) หรือเกิดโรคทางจิตเวช (tsunami induced psychiatric disorders, TIP) ขึ้นได้ ที่ผมขอเรียกชื่อย่อเป็นภาษาอังกฤษรวม ว่า “ทิพ” (TIP) ซึ่งโรคทาง       จิตเวชที่เกิดขึ้นนั้นอาจเป็นโรคเครียดเฉียบพลัน (acute stress disorder), โรคเครียดภายหลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญ (posttraumatic stress disorder, PTSD) หรือโรคจิตเวชใด ที่ผู้ป่วยเคยเป็นอยู่เดิม ซึ่งได้ทุเลาหรือหายไปแล้ว แต่กลับมามีอาการกำเริบขึ้นมาใหม่อีก ภายหลังจากได้ประสบกับเหตุการณ์สึนามิครั้งนี้

บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะเสนอเครื่องมือหรือแบบทดสอบเพื่อให้ผู้อ่านได้ลองประเมินตนเอง เพื่อเป็นการคัดกรองเบื้องต้น(screening test) ว่าสภาพจิตใจของตนเองเป็นอย่างไร สมควรจะไปขอรับความช่วยเหลือทางด้านสุขภาพจิตจากผู้เชี่ยวชาญต่อไปหรือไม่ โดยขอเรียกชื่อแบบทดสอบนี้ว่า “ทายส์” (tsunami impact event scale, TIES) ซึ่งผมปรับปรุงมาจากแบบทดสอบ Impact Event Scale ฉบับภาษาไทยที่         รศ.ดร.พญ.สาวิตรี อัษณางค์กรชัยได้แปลไว้และได้นำไปใช้ในการศึกษาวิจัยมาแล้ว  ในกรณีที่เกิดภัยพิบัติน้ำท่วมใหญ่ขึ้นที่ .หาดใหญ่ เมื่อวันที่ 21-25 พฤศจิกายน 2543 เรียกว่าเป็นการใช้ “ทายส์” มาทำนาย “ทิพ” ว่าตัวเราเองมีความเสี่ยงที่จะเกิด “ทิพ” หรือไม่

 

 

แบบประเมินตนเองถึงผลกระทบของเหตุการณ์สึนามิต่อสภาพจิตใจ*

(Tsunami Impact Event Scale, TIES)

เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 คุณเป็นคนหนึ่งที่ได้ประสบเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิโดยตรง และ      คุณโชคดีที่รอดชีวิตมาจากเหตุการณ์ครั้งนี้ได้ เนื่องจากมีบางคนที่ประสบกับเหตุการณ์สะเทือนขวัญเช่นนี้แล้ว อาจมีอาการหรือลักษณะบางอย่างเกิดขึ้น จึงขอให้คุณได้อ่านลักษณะหรืออาการแต่ละข้อข้างล่างนี้แล้วตอบว่าลักษณะเหล่านี้ได้เกิดขึ้นกับคุณบ่อยเพียงใด ในช่วงเจ็ดวันที่ผ่านมาจนถึงวันที่คุณตอบแบบประเมินนี้

        ถ้าข้อใดไม่ได้เกิดขึ้นกับคุณเลย    ให้ตอบ           0

        ถ้าได้เกิดขึ้นนาน ครั้ง            ให้ตอบ           1

        ถ้าเกิดขึ้นเพียงบางครั้ง             ให้ตอบ           2

        และถ้าเกิดขึ้นบ่อย               ให้ตอบ           3

ลักษณะ

ไม่เกิดเลย

นาน ครั้ง

บางครั้ง

บ่อย

1.  ฉันมักจะคิดถึงเหตุการณ์สึนามิ ทั้งที่ฉันไม่ได้ตั้งใจ

0

1

2

3

2. ฉันพยายามที่จะไม่ให้ตัวฉันต้องรู้สึกเสียใจ เมื่อฉันต้องคิดถึงเหตุการณ์สึนามิ หรือเมื่อมีอะไรมาเตือนให้คิดถึงเหตุการณ์  สึนามิ

0

1

2

3

3. ฉันพยายามที่จะกำจัดเหตุการณ์สึนามิออกไปจากความ    ทรงจำ

0

1

2

3

4. ฉันมักจะนอนไม่หลับหรือหลับไม่สนิทเมื่อภาพหรือความคิดเกี่ยวกับเหตุการณ์สึนามิเข้ามาในจิตใจของฉัน

0

1

2

3

5.  ฉันมีความรู้สึกรุนแรงเกี่ยวกับเหตุการณ์สึนามิเป็นระลอก

0

1

2

3

6.  ฉันฝันเกี่ยวกับเหตุการณ์สึนามิ

0

1

2

3

7.  ฉันพยายามไปให้ไกลจากสิ่งที่เตือนให้คิดถึงเหตุการณ์สึนามิ

0

1

2

3

8. ฉันรู้สึกเหมือนว่าเหตุการณ์สึนามิไม่ได้เกิดขึ้นหรือเหตุการณ์       สึนามิไม่ได้เป็นความจริง

0

1

2

3

9.  ฉันพยายามที่จะไม่พูดถึงเหตุการณ์สึนามิ

0

1

2

3

10.      ภาพที่เกี่ยวกับเหตุการณ์สึนามิ มักจะโผล่ขึ้นมาในใจฉัน

0

1

2

3

11.            สิ่งต่าง มักจะทำให้ฉันต้องคิดถึงเหตุการณ์สึนามิ

0

1

2

3

12.      ฉันรู้ดีว่าฉันยังมีความรู้สึกมากมายเกี่ยวกับเหตุการณ์สึนามิ        แต่ฉันก็ไม่ได้จัดการอะไรลงไป

0

1

2

3

13.            ฉันพยายามที่จะไม่คิดถึงเหตุการณ์สึนามิ

0

1

2

3

14.      สิ่งเตือนใจต่าง มักจะดึงความรู้สึกของฉันเกี่ยวกับ          เหตุการณ์สึนามิ กลับมา

0

1

2

3

15.           

* พิเชฐ อุดมรัตน์ (2548). ปรับปรุงจากแบบสอบถาม Impact Event Scale (IES) เดิม

 
ฉันรู้สึกค่อนข้างจะมึนชาเกี่ยวกับเหตุการณ์สึนามิ

0

1

2

3



เมื่อครั้งที่
รศ.ดร.พญ.สาวิตรี อัษณางค์กรชัย นำแบบประเมิน IES ฉบับภาษาไทยไปใช้ในการศึกษาผู้ประสบอุทกภัยในหาดใหญ่เมื่อปี .. 2543 นั้น ไม่ได้หาค่า cut off ของเครื่องมือนี้ที่จะแบ่งว่า ต้องได้คะแนนเท่าไหร่ขึ้นไปจึงจะมีความเสี่ยงสูง แต่ได้ค่าเฉลี่ยของคะแนน IES ในกลุ่มที่ศึกษาอยู่ที่ 13.4 8.2 จึงอาจกล่าวได้คร่าว ว่า

ถ้าคะแนนรวมของคุณอยู่ระหว่าง 0-15 คุณน่าจะมีสุขภาพจิตดีอยู่

                          ถ้าอยู่ระหว่าง 16-25 คุณน่าจะได้รับผลกระทบทางด้านอารมณ์จิตใจเล็กน้อย

                          ถ้าอยู่ระหว่าง 26-35 คุณน่าจะได้รับผลกระทบปานกลาง สมควรที่จะไปพบ

                                                         บุคลากรทางสุขภาพจิต เพื่อประเมินอย่างละเอียดต่อไป

                          ถ้าอยู่ระหว่าง 36-45 คุณน่าจะได้รับผลกระทบมาก สมควรรีบไปพบกับบุคลากร

                                                         ทางสุขภาพจิตโดยด่วน เพื่อจะได้ประเมินอย่างละเอียดและ

                                                         หรือขอรับความช่วยเหลือที่เหมาะสมต่อไป

แต่ไม่ว่าคุณจะได้คะแนนเท่าไหร่ ก็ไม่ควรหวั่นไหวหรือใจเสีย เพราะแบบประเมินนี้เป็นเพียงการประเมินตนเองเบื้องต้นอย่างคร่าว ๆ เท่านั้น หรือถึงแม้คุณจะป่วยเป็นโรคใดโรคหนึ่งในกลุ่มโรค “ทิพ” (TIP) ก็ไม่ควรตื่นตระหนกตกใจเช่นกัน เพราะปัจจุบันความก้าวหน้าของการรักษาทางด้านจิตเวชศาสตร์ได้พัฒนาไปอย่างมาก เรียกได้ว่า เมื่อป่วยได้ ก็หายได้เหมือนโรคอื่น ๆ

ถึงอย่างไร ผมก็ขอส่งแรงใจร่วมกับพี่น้องคนไทยทั้งประเทศเพื่อเป็นกำลังใจให้กับคุณได้ก้าวข้ามความทุกข์ที่เกิดจากเหตุการณ์สึนามิในครั้งนี้

_______________________________________________________________________

7 มกราคม 2548