ความคิดเห็นทั้งหมด : 4

กำลังก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆๆ...คำสั่งแต่งตั้งคณบดีสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มวล..และประมวลภาพกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทยตรวจเยี่ยม


   มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้มีคำสั่งแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งบริหารในมหาวิทยาลัย ตามคำสั่งที่ 407/2549 ลงวันที่ 6 พฤศจิกายน 2549 แต่งตั้งให้รองศาสตราจารย์ นายแพทย์กิจประมุข ตันตยาภรณ์ เป็นผู้รักษาการแทนคณบดีสำนักวิชาแพทยศาสตร์ และประมวลภาพกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทยตรวจเยี่ยมและประเมินหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2549


ประมวลภาพกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทยตรวจเยี่ยมและประเมินหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต
http://pr.wu.ac.th/webDPR/cpg/thumbnails.php?album=100


Posted by : ฝากมาบอก..คนคอน , Date : 2006-11-16 , Time : 19:30:53 , From IP : ppp-124.120.1.254.re

ความคิดเห็นที่ : 1


   งานนี้คงต้องลุ้นกันเหนื่อยหน่อยนะครับ ปัญหาหลักของวลัยลักษณ์ หลังจากหลักสูตรผ่านแล้วก็ต้องมาดูที่โรงพยาบาลที่จะใช้ฝึกในชั้นคลินิกกันต่อ

ถ้าโครงการจัดตั้งสำนักวิชาแพทยศาสตร์ไม่เปลี่ยนไปจากเดิม ทางมหาวิทยาลัยจะไม่สร้างโรงพยาบาลของตัวเอง แต่จะใช้โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นสถานที่ฝึกอบรมในช่วงสามปีสุดท้าย

มองไปรอบ ๆ พื้นที่
1. โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช ไม่สามารถใช้เป็นสถานที่ฝึกอบรมได้ในอย่างน้อยสิบหกปีข้างหน้า เพราะโรงพยาบาลถูกใช้เป็นสถาบันฝึกอบรมนักศึกษาแพทย์โครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชนบท ซึ่งโครงการถูกขยายเป็น 20 ปี และขณะนี้นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่หกที่กำลังศึกษาอยู่นั้นเป็นรุ่นที่สาม ประกอบกับแพทยสภาไม่อนุมัติให้เปิด "หนึ่งสถาบันสองหลักสูตร" โรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดจึงกลายเป็นข้อห้ามไปอย่างน่าเสียดาย

2.โรงพยาบาลทุ่งสง ศักยภาพยังไม่เพียงพอที่จะผลิตแพทย์ แม้ในขณะนี้จะเป็นโรงพยาบาลทั่วไปและรับแพทย์เพิ่มพูนทักษะมาฝึกปฏิบัติเต็มหลักสูตรแล้วก็ตาม แต่เนื่องด้วยขนาดโรงพยาบาลที่ไม่ใหญ่ จำนวนแพทย์เฉพาะทางที่ไม่มากและไม่หลากหลายพอ จึงไม่น่าจะเป็นสถานที่ฝึกอบรมได้

3. โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี เช่นเดียวกับโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช คือทางโรงพยาบาลสุราษฏร์ธานีมีโครงการรับนักศึกษาแพทย์แล้ว และไม่สามารถสอนสองหลักสูตรได้

4. โรงพยาบาลตรัง ปัญหาของโรงพยาบาลตรังก็คือจำนวนแพทย์เฉพาะทางนั้นมีน้อย และปัจจุบันมีกรณีสมองไหลสู่ภาคเอกชน และแพทย์ย้ายไปทำงานในโรงพยาบาลชุมชน จึงอาจทำให้การฝึกอบรมทำได้ไม่เต็มหลักสูตร ตัวอย่างเช่นแผนกศัลยกรรม ขณะนี้กำลังจะเหลือแพทย์เฉพาะทางเพียงหนึ่งท่าน ซึ่งไม่เพียงพอแม้งานบริการ การเพิ่มงานสอนเข้าไปจะทำให้คุณภาพของทั้งสองงานเสียไปได้ หากสำนักวิชาแพทยศาสตร์ต้องการใช้โรงพยาบาลตรังจริง คงต้องมีโครงการรองรับเป็นพิเศษ เช่นหาอาจารย์พิเศษหรือจัดให้นักศึกษาไปหมุนเวียนในบางแผนกที่โรงพยาบาลอื่น

5. โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ปัญหาก็เหมือนกับโรงพยาบาลตรัง คือทั้งสองโรงเป็นโรงพยาบาลขนาดไม่ใหญ่ แม้จะรวมสองโรงพยาบาลแล้วก็ตาม ปริมาณงานบริการกับปริมาณแพทย์ก็ไม่สมดุล การบวกงานการเรียนการสอน แม้จะรวมสองโรงพยาบาลเข้าในหลักสูตรก็อาจไม่เพียงพอสำหรับการฝึกอบรม

6. โรงพยาบาลสงขลา (อ.เมือง) ทางแพทย์ในโรงพยาบาลยังไม่มีการเตรียมตัวรับนักศึกษาที่จะเข้ามาในอีกสี่ปีข้างหน้า แม้ทางมหาวิทยาลัยจะได้เข้าไปพูดคุยแล้วระดับหนึ่ง แต่การเตรียมการรองรับงานการสอนยังทำได้ไม่เต็มที่

7. โรงพยาบาลกระบี่-พังงา-ชุมพร คงไม่สามารถรองรับงานการเรียนการสอนได้ เนื่องจากจำนวนแพทย์มีน้อย และขาดความพร้อมจริง ๆ จึงขอข้ามไปนะครับ


โรงพยาบาลที่พอจะรองรับได้ก็คือ ตรัง-ภูเก็ต-สงขลา แต่ด้วยบทเรียนที่โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขได้รับในระยะแรกที่มีการเปิดการเรียนการสอนในกระทรวงก็คือ แพทย์ (อาจารย์) ขาดความพร้อม จำนวนแพทย์ไม่เพียงพอกับงานบริการซึ่งถือเป็นงานหลัก ทำให้การเรียนการสอนทำได้ไม่เต็มที่และในบางแห่งต้องส่งนักศึกษาไปเรียนยังต่างโรงพยาบาล

เมื่อพบกับปัญหาเช่นนี้ การแก้ปัญหาทางหนึ่งก็คือเพิ่มโควต้าแพทย์พี่เลี้ยง (แพทย์ใช้ทุนปีที่สองและสามที่ทำงานในโรงพยาบาลจังหวัดหรือโรงพยาบาลศูนย์) แต่ก็เพิ่มได้ด้วยปริมาณที่น้อยมากและไม่เพียงพอกับภาระงานที่เพิ่มมากขึ้น แพทย์เฉพาะทางส่วนหนึ่งที่ไม่สามารถรองรับงานที่เกินตัว จึงไหลออกนอกระบบ และเหตุการณ์เหล่านี้อาจเกิดซ้ำขึ้นอีกในการเปิดสำนักวิชาแพทยศาสตร์แห่งใหม่


ทางแก้ที่ดีที่สุดของมหาวิทยาลัยก็คือ เปิดโรงพยาบาลของตนเอง เพื่อเพิ่มศักยภาพสำหรับการเรียนการสอน ความสอดคล้องของหลักสูตร และได้แพทย์ที่มีความตั้งใจทำงานเป็นอาจารย์แพทย์เข้าสูระบบ แม้จะใช้งบประมาณสูง แต่ในระยะยาวถือว่าคุ้มค่ามาก หากเทียบในพื้นที่ โรงพยาบาลใหญ่ที่สามารถแข่งขันในด้านคุณภาพจะเกิดขึ้นในจังหวัด และการพัฒนาโรงพยาบาลจะทำได้ดีขึ้นกว่าที่ไม่มีโรงพยาบาลเป็นของตัวเอง

ต้นแบบที่เห็นเป็นตัวอย่างได้ชัดเจนคือ โรงพยาบาลหาดใหญ่-มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งในปัจจุบัน ทั้งสองสถาบันต่างผลิดบัณฑิตแพทย์ของตัวเองและสามารถแข่งขันเพื่อพัฒนาคุณภาพได้เป็นอย่างดี และยังมีการเอื้อเฟื้อ-ดูแลกันและกันได้ในยามที่โรงพยาบาลใดต้องการความช่วยเหลือ

ทำเลที่ตั้งของมหาวิทยาลัยก็เหมาะสมที่จะตั้งโรงพยาบาลใหญ่ขึ้นมาสักแห่ง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นคงขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างที่มีผลกระทบ สิ่งแรกและสิ่งสำคัญที่สุดคืองบประมาณ หากงบประมาณพร้อม และทางผู้บริหารมีความตั้งใจ โอกาสที่จังหวัดนครศรีธรรมราชจะได้โรงพยาบาลที่ได้มาตรฐานอีกแห่งหนึ่งจะมีสูงมาก

แต่หากต้องส่งนักเรียนสามปีสุดท้ายไปฝึกยังโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขโดยขาดการเตรียมโรงพยาบาลเหล่านั้นให้รองรับนักเรียนได้ในอนาคตอีกสามหรือสี่ปีข้างหน้า จะกลายเป็นผลเสียมากกว่าผลดีในที่สุด ทั้งแพทย์ที่ทำงานในโรงพยาบาล นักเรียนแพทย์ที่ส่งไปฝึกงาน และที่สำคัญที่สุดคือผู้ป่วยเจ็บที่เข้ารักษาในโรงพยาบาลเหล่านั้น





original article
post ครั้งแรก medinfo.psu.ac.th
2006-11-16, 21:58


Posted by : พี่น้องฯ , Date : 2006-11-16 , Time : 21:53:49 , From IP : 58.147.117.202

ความคิดเห็นที่ : 2


   เห็นภาพ...

ถ้าตั้งรพ.มหาลัยจริง จ.นครฯ ก็พอๆ กับ จ.สงขลาเนอะ มีรพ.ใหญ่ 3 รพ.ด้วยกันทีเดียว


Posted by : เหอๆๆ , Date : 2006-11-16 , Time : 23:52:40 , From IP : 203.172.100.165

ความคิดเห็นที่ : 3


   คุณ พี่น้องฯ วิเคราะห์ดีมาก ข้อมูลแน่น ขอบคุณ

Posted by : the kop , Date : 2006-11-17 , Time : 19:28:25 , From IP : 172.29.3.58

ความคิดเห็นที่ : 4


   ตกลง ร.พ.วชิระภูเก็ต จะเป็นแหล่งฝึกนักศึกษาแพทย์จริงๆป่าวคับ
แล้วมี่การเตรียมพร้อมเพื่อวางระบบตรงนี้ยังไง
ได้ข่าวว่าปริมาณแพทย์ก็น้อย ภาระงานก็มาก
ตอนนี้ก็ได้ข่าวจะขยายขนาด ร.พ. อีกด้วย
ระวังเกิดสมองไหลไปภาคเอกชนครั้งใหญ่นะคับ


Posted by : post , Date : 2007-01-02 , Time : 18:36:00 , From IP : 161.200.107.150

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.003 seconds. <<<<<