ความคิดเห็นทั้งหมด : 21

จุดด้อยมาตรฐานของการเรียนในหลักสูตรแพทย์ในระบบ PBL ปัจจุบัน




   อยากให้ นศพ ช่วยกัน Comment การเีรียน PBL ด้วยครับ
ถ้าถามว่าทำไมถึงไม่ Comment ในชั่วโมง Oral feedback
เหตุผลเหล่านี้ นศพ ทุกคนน่าจะทราบดี
กระทู้นี้ไม่ได้ต้องการจะ spoil นะครับ ผมจะไม่กล่าวพาดพิงถึงใคร
..........
หวังว่ากระทู้นี้ น่าจะมีประโยชน์กับบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้
..........
มาพูดถึงข้อมูลอีกด้านหนึ่งของการ PBL ที่เป็นมุมกลับกัน
PBL ทุกคนรู้จักมันดี การเรียนในระบบนี้
โดยทางทฤษฎี หรือ กรณีศึกษานั้น มีประโยชน์ดีมาก
เป็นการกระตุ้นให้ นศพ ได้ขวานขวายหาความรู้ เกิดกระบวนการทักษะทางการศึกษา
และได้ Process ที่ดีเพื่อเป็นแพทย์ที่ดีต่อไป
..........
แต่
ความเป็นจริง ย่อมไม่เหมือนในนิยาย
ผมพอจะแบ่งข้อด้อยที่นอกเหนือจากที่อาจารย์เคยบอกพวกเรา
1. facilitator เป็นสิ่งที่ดี ทำให้กระบวนการกลุ่มอยู่ในกรอบ ของความรู้ที่ต้องการให้เรียนรู้ แต่ปัญหายอดฮิตที่เป็นอันดับ 1 คือ facilitator ไม่มีมาตรฐานที่เท่าเทียมกัน กล่าวได้ว่าคะแนนที่ออกมาแทบไม่สามารถเรียกได้ว่า
คะแนนที่ยุติธรรม
เพราะถ้าเอา facilitator มาประเมินกลุ่มเดียวกัน แทบจะหา facilitator ที่ประเมินคะแนนได้เท่ากันไม่ได้เลย ฉะนั้นจะพบได้ว่า บางกลุ่มที่ทำกระบวนการ PBL ได้ดี แต่ facilitator โหด ก็จะได้คะแนนน้อยมาก แต่ในทางกลับกัน บางกลุ่มกระบวนการPBLก็ไม่ค่อยดี แต่facilitator ใจดีกลับได้คะแนนเกือบเต็มก็เคยมี แทบจะบอกได้ว่าคะแนนคนที่สูงสุดของบางกลุ่ม แต่กลับต่ำกว่าคะแนนต่ำสุดของบางกลุ่มด้วยซ้ำไป ทั้งๆที่กลุ่มที่ได้คะแนนน้อยกว่ามีกระบวนการกลุ่มดีกว่า
เรื่องนี้เคย Oral feedback ไปแล้ว
ผ่านไปหลายรุ่นก็ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ
แม้จะบอกว่าพยายามอยู่
เคยมีคนเสนอว่า

ทำไมไม่เอา facilitator มาทำให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยการทำการประเมินกลุ่มเดียวกัน แล้วดูการประเมิน แบบที่โอลิมปิกวิชาการเขาใช้กัน ก็โดนคำตอบมาว่า
จะให้นัดอาจารย์มาอย่างนั้นคงเป็นไปไม่ได้
แล้วสุดท้ายภาระก็อยู่ที่ นศพ ที่ขึ้นอยู่กับดวงว่าจะได้ facilitator เป็นใครแทน
ถ้าได้ใจดีก็คะแนนดีไป แต่ถ้าเจอโหด ก็อย่าหวังจะได้เกิน B ในบล็อกนั้นไปได้เลย
2. น้ำหนักคะแนน PBL ที่สูงมากถึง 50% โดยหลักการถือว่าดีครับ เป็นการให้
นศพ เน้นที่กระบวนการมากกว่าผลผลิต แต่สิ่งที่เกิดขึ้นกับเป็นสิ่งที่เกิดตรงกันข้าม เรื่องนี้ก็อีกเช่นกัน เคย feedback ไปนานมากแล้ว แต่ก็ได้คำตอบมาว่า
ถ้าเน้น Product คงตกกันหมด
ก็จริงครับ แต่อย่างไรก็การตัดเกรดยังใช้การอิงกลุ่มตัดคะแนน ก็ยังยุติธรรมกว่า
ตกก็คือตก ดีกว่าผ่านไปแบบไม่สบายใจ
จากปัญหาในข้อแรกเรื่อง facilitator ประกอบกัน น้ำหนังคะแนนที่สูงมาก
ทำให้บางคนที่มีคะแนน MCQ OSPE สูงเกิน mean ไปถึง 2SD กลับได้เกรดแค่ C+ และที่น่าแปลกใจไปกว่านั้นบางกลุ่ม PBL ไม่มีใครที่เกรดถึง 3 เพราะ PBL หรือเพราะ facilitator แต่ในบางกลุ่มกลับได้ 3 กว่ายกกลุ่ม ทั้งที่มีบางคนตก mean เกือบๆจะ 2SD ก็มี
แล้วคุณภาพของ นศพ อยู่ที่ไหน อยู่ที่คะแนน PBL 50%ที่มี facilitator เช่นนี้หรอครับ
3. จากปัญหาทั้งข้อ 1 และข้อ 2 ทำให้เกิดปัญหาอีกปัญหาตามมา
คือ นศพ กลับกลายเป็นคู่แข่งกัน เพราะแทนที่แต่ละคนจะช่วยกัน PBL เพื่อให้
คะแนนกลุ่มดี หรือ Process ออกมากดี กลับต้องทำให้ตัวเองมีจุดเด่นเหนือคนอื่น เพื่อจะได้คะแนน PBL มากกว่าคนอื่น
ข้อนี้ไม่มีใครที่สามารถพูดได้เต็มปากหรอกว่ามันแล้วแต่คน
เพราะบางชั้นปีก็เป็นเช่นนี้เกือบครึ่งชั้นปีอยู่แล้ว
เพื่อเกรด เพื่อคะแนน ก็เป็นที่ทราบดี ว่า นศพ หวงแหนสิ่งเหล่านี้เหนือสิ่งอื่นใด
เป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้เลย กลับกลายเป็นการทำลาย Process และเพิ่มความเห็นแก่ตัวให้กับ นศพ และปลูกฝังมันให้เป็นแบบนั้นไป
...........
สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นอุปสรรค์ที่อยากให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องช่วยแก้ไขด้วยครับ
ไม่ใช่เป็นเรื่องของ"นศพ"ที่ต้องไปจัดการกันเอง ไม่เช่นนั้นปัญหาเหล่านี้ก็จะวนเวียน อยู่คู่กับคณะแพทย์ไปอีกนาน และ
กระบวนการ PBL ก็ไม่มีทางจะไปถึงฝั่งอย่างที่หลักการของมันควรจะเป็น
..........
ขอบคุณครับที่อ่านจนจบ
ถ้าบทความนี้่ทำให้ใครต้องอึดอัดหรือไม่พอใจผมก็ขอโทษด้วยนะครับ
.........
ด้วยความเคารพและเชื่อมั่นในกระบวนการเรียนที่ดีเยี่ยมขอคณะแพทย์เสมอมา
.........
นศพ คนหนึ่ง


Posted by : นศพ คนหนึ่ง , Date : 2006-11-11 , Time : 16:11:16 , From IP : 172.29.4.219

ความคิดเห็นที่ : 1


   ส่วนนี้ผมขอเสนอความคิดเห็นบ้างนะครับ
เรื่อง Facilitator ก้ต้องยอมรับว่าเราไม่สามารถสร้างมาตรฐานที่ตรงกันได้ในทุกคน แต่ไม่น่าจะเป็นปัญหาจนขนาดที่ว่าจะว่าผลต่อการเรียนมากเกินไป
เพราะในแต่ละบล็อคเราจะเจอ Facilitator หลายคน ซึ่งก็จะมีมาตรฐานสูงมาก และ ไม่สูงมาก คะแนนก็น่าจะออกมาอย่างที่ process กลุ่มเราเป็นจริง ๆ นะ
ส่วนกลุ่มไหนที่คิดว่า Facoclitator คนใด รบกวนกระบวนการกล่มมาก หรือมากจนไม่สามารถดำเนินกระบวนการกลุ่มทีอยากให้เป็นได้ ก็ comment ลงในประเมินท้ายบล็อคได้ ผมว่าอาจารย์ที่รับผิดชอบรับทราบแน่นอน แต่ลองคิดในมุมกลับกัน กระบวนการกลุ่มของเราอาจจะไม่ดีจริง ๆ ก็ได้
อยากจะให้คนที่มีปัญหาลองมองในมุมนี้บ้าง บางทีสิ่งที่ Fa ถามแล้วเราคิดว่าไม่สำคัย ไม่ต้องรู้ก็ได้ มันเป็นสิ่งที่สำคัญที่อยู่ในคู่มืออาจารย์นะ การอ่านเนื้อหาทั้งหมดของ PBL ไปจะทำให้เราไม่มีปัญหาเวลาโดนอาจารย์ซัก เพราะอย่างน้อย เราก็พอคิดได้บ้างว่าอาจารย์ต้องการรู้อะไร อย่าอ่านแต่เรื่องของตัวเองเยอะ ๆ แล้วอ่านเนื้อหาอื่นๆ แต่คร่าว ๆ

ในส่วนข้อเสนอของผมที่เห็นว่าน่าจะมีการเปลี่ยนแปลงบางอย่างก็คือ
1) คณะน่าจะมีการแจกแจงรายละเอียดทุกหน่วยคะแนนที่นักศึกษาทำได้ ทั้ง MCQ ,MEQ ,OSPE, LAB ATTENTION รวมทั้ง PBL ที่แจกแจงรายละเอียดว่า ใน PBL แต่ละครั้งคะแนนส่วนใดนักศึกษาได้เท่าไหร่ และเมื่อรวมการประเมินทุกจุดประสงค์ นักศึกษาได้เกรดเฉลี่ยนั้นเท่าไหร่ จากคะแนนแต่ละหน่วยคิดเป็นน้ำหนักเท่าไหร่ จะทำให้นักศึกษาสามารถประเมินตัวเองได้ว่า ตนเองบกพร่องในส่วนใดจะได้เป็นกระจกสะท้อนให้ นศพ พัฒนาตัวเองได้ถูกทางมากขึ้น ผมคิดว่าคะแนนนี้น่าจะเป็นตัวเลขที่สามารถเปิดเผยได้ อาจทำการแจ้งผ่านเวปแบบคะแนน MCQ ทุกวันนี้เพื่อความเป็นส่วนตัว จะได้เป็นการแสดงความบริสุทธ์ใจ (ผมไม่รู้ว่าคำนี้จะแรงเกินไปรึเปล่า ) ต่อการประเมินนักศึกษา และลดข้อกังขาต่าง ๆ เพราะทุกวันนี้นักศึกษาก็อยากรู้ว่าเกรดของตัวเองนั้น ผ่านการประเมินมาอย่างไรบ้างครับ
2) ในส่วนของน้ำหนักของคะแนน PBL ที่มีค่าประมาณ ร้อยละ 50 ในแต่ละบล็อคนั้น ผมคิดว่าน่าจะลดลงบ้าง จริงอยู่ที่การมีกระบวนการหาความรู้ที่ดีเป็นสิ่งที่คณะต้องการให้ นศพ สามารถทำได้อย่างดีเพื่อการพัฒนาตนเองในอนาคต แต่ถ้านักศึกษามีกระบวนการหาความรู้ที่ดีได้ ก็น่าจะต้องมีความรู้ที่มากและแม่นยำด้วย ดังนั้นการประเมินส่วนของ Products น่าจะเป็นตัวสะท้อนผมสัมฤทธิ์ที่ดีสำหรับความรู้ได้นะครับ คือถ้าอ่านจากกระทู้ข้างบน (ผมไม่ทราบว่าข้อมูลนั้นมาจากไหน) ที่บอกว่าถ้าเน้น Product คงตกกันหมด นั่นก็น่าจะเป็นสิ่งที่สะท้อนถึงมาตรฐานอย่างหนึง ซึงควรคำนึงถึง เพราะว่า ไม่ว่าด้วยวิธีการหาความรู้แบบไหน ในที่สุดหมอก็ต้องมีความรู้ให้มากที่สุด เพื่อคนไข้ ไม่ใช่เหรอครับ

ข้อเสนอนี้เป็นความคิดเห็นที่ส่วนตังของผมเองที่ผ่านการเรียนระบบ PBL มาพอสมควรและเห็นว่าน่าจะมีการปรับเปลี่ยนเพื่อพัฒนา อาจจะเป็นความคิดเห็นที่ไม่ถูกต้องที่สุด แต่ก็ขอเป็นหนึ่งเสียง feedback ที่จะช่วยให้เกิดระบบที่ดีที่สุดเพื่อรุ่นน้อง ๆ ต่อไปครับ


Posted by : นศพ อีกคนหนึ่ง , Date : 2006-11-11 , Time : 17:13:14 , From IP : 172.29.4.193

ความคิดเห็นที่ : 2


   สมมติ(จากเรื่องจริง)
บล็อกหนึ่งๆมีการ PBL 3 ครั้งมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 4.5 เต็ม 5
กลุ่มที่ 1
ได้ฟา โหดมาก 3 ท่าน ทั้ง 3 ครั้ง ละกลุ่มนี้กระบวนการกลุ่มถือว่าอยู่ในระดับดีมาก แต่ยังไม่ประทับใจฟา จึงได้คะแนนน้อย(เช่น 4.2)
แต่กลุ่มที่ 2
ได้ฟา ใจดี 2-3 ครั้ง คะแนน อาจารย์ใจดี กระบวนการกลุ่มอยู่ในขั้นพอใช้ แต่เนื่องจากฟาใจดีคะแนนจึงออกมาดีมาก (เช่น 4.7)
แต่พอตัดเกรดด้วยเกณฑ์ อิงระบบกลุ่ม ทำให้ทั้งกลุ่มที่ 1 และ กลุ่มทีี่ 2 ต้องมาตัดร่วมกัน แม้ว่าบางที่กลุ่มที่1 อาจจะทำ MCQ OSPE MEQ ได้ดีผ่านมีนไปพอสมควร แต่ กลุ่มที่ 2 กลับตกมีน SD กว่าๆ พอคะแนนหารออกมา น้อยมากเมื่อเทียบกับน้ำหนักของคะแนน PBL ที่มีถึง 50%
ทำให้กลุ่มที่ 1 ได้เกรดต่ำกว่ากลุ่มที่ 2 ทำให้เกิดช่องว่างที่ว่า
ไม่ต้องเก่งความรู้ แค่ PBL เป็นก็เกรดเยอะ
แล้วหมอไม่ต้องเก่งความรู้หรอ? หรือแค่พูดเก่ง รู้จังหวะพอแล้ว?
PBL กำลังหาคำตอบอะไรอยู่?
โดยส่วนตัวคิดว่า PBL มีน้ำหนักคะแนนสูงเกินไป จนทำให้ไม่สามารถตัดเกรด ออกมาแล้วมีความยุติธรรมสำหรับใครหลายๆคนได้
และอีกประเด็นคือมาตรฐานของฟาที่แม้จะทำให้เท่าเทียมได้ยาก แต่น่าจะมีการคูณน้ำหนักคะแนนฟาเช่น x1.2 x0.8 ได้นี่ครับ
เพราะคณะเราก็เก็บข้อมูลเรื่องการให้คะแนนของฟามานานแล้ว
อย่างน้อยๆก็ช่วยลดความอยุติธรรมลงไปได้บ้าง
สุดท้ายนี้
การเีรียนในระบบนี้ต้องการวัดอะไรกันแน่ ทั้งๆที่รู้ว่าระบบมีปัญหามาก แต่ก็ยังคงใช้?
โดยเอาอนาคตของ นศพ เป็นหนูทดลอง ของเล่น?


Posted by : นศพ คนที่สามแระ , Date : 2006-11-12 , Time : 03:33:50 , From IP : 172.29.4.60

ความคิดเห็นที่ : 3


   การแก้ปัญหาในการเรียน PBL ยากนัก ข้าพเจ้าคิดว่าปัญหาทุกคนมันอยู่ที่การประเมินผลของ PBL พูดง่ายๆ คือการตัดเกรดส่วน PBL นั่นเอง ข้าพเจ้าอยากจะเสนอในเรื่องการตัดเกรดในส่วนนี้ เราควรที่จะตัดเกรดแยกกลุ่ม เพราะว่าการตัดเกรดแยกกลุ่มเราสามารถรู้ว่าคนในกลุ่มประมาณเท่าไหร่ บางคนในกลุ่มพูดมา พูดเข้าใจ เค้าก็ได้เกรดสูงสุดไป คนที่ไม่ค่อยพูดและไม่ค่อยแสดงความคิดเห็นก็ได้เกรดตำๆๆ ไป ลักษณะแบบนี้เราจะเห็นได้ชัด แต่ถ้าตัดเกรดรวมนั้นยากนัก แต่กลุ่มเราก็ไม่รู้ว่ากระบวนการกลุ่มกลุ่มไหนดีกว่ากัน และการให้คะแนนของ fa จะไม่เท่ากัน ยกตัวอย่างเช่น fa คนนี้ความพอใจของเข้าที่ถือว่าดีแล้วอาจจะประมาณ 4.5 เต็ม 5 fa คนนี้อาจคิดว่าการได้ 5 มันจะมากเกินไป มันจะต้องสมบูรณ์ในทุกๆๆด้าน ส่วน fa อีกคนคิดว่าดีประมาณ 4.7 4.8 เกือบถึง 5 ซ้ำ โดยที่นศพ.2 คนนี้อาจจะทำ PBL ได้เหมือนกันโดยไม่แตกต่างกันเลย นี่ก็เป็นข้อแสดงความคิดเห็นในเรื่องของการแก้ปัญหาที่จะเป็นไปได้
เน้นยำว่า...การตัดเกรดในกลุ่มเดียวกันจะเห็นกระบวนการกว่ากับการตัดเกรดรวมนะนะนะนะนะ


Posted by : นศพ.คนที่4 , Date : 2006-11-12 , Time : 15:05:26 , From IP : 172.29.4.159

ความคิดเห็นที่ : 4


   คิดว่าเป็นเพราะน้ำหนักคะแนนอย่างแรก
อย่างที่สองเพราะตัดอิงกลุ่ม จึงทำให้เกิดช่องว่างอย่างมากมายในความคิดเห็นที่ 3 เกรดที่ออกมาจึงไม่มีมาตรฐานที่จะไปตัดคนเก่งกับคนโชคดีออกจากกันได้


Posted by : นศพ คนที่5 ณ บินหลา , Date : 2006-11-12 , Time : 16:05:48 , From IP : 172.29.4.138

ความคิดเห็นที่ : 5


   ช่วยพิจารณาการให้คะแนนของfac. อยากให้มีการเกณฑ์ที่มาตรฐานที่มากกว่านี้
เพราะตอนนี้ไปพูดกับคณะแพทย์ที่อื่นแล้วน่าอายตรงที่ว่า คนส่วนใหญ่คิดว่าการให้คะแนนPBLที่สูงขนาดนี้ เป็นการปล่อยเกรดอย่างหนึ่ง แล้วคนอื่นจะคิดว่ามาตรฐานของคณะแพทย์ที่นี่อยู่ที่ไหน!!!
อยากให้ผู้ที่เกี่ยวข้องอยากให้ช่วยหาทางออกให้กับนักศึกษาแพทย์ด้วย อย่าคิดแต่เพียงว่าเรานำระบบนี้มาใช้เป็นที่แรก แล้วเราจะถอยหลังไม่ได้ เพียงแต่เราควรตั้งหลักหรือถอยหลังมาหนึ่งก้าวเพื่ออนาคตที่ดีกว่านี้.....


Posted by : นศพ.คนที่หกฮิฮิ , Date : 2006-11-14 , Time : 00:36:08 , From IP : 172.29.4.237

ความคิดเห็นที่ : 6


   คือโดยส่วนตัวมองว่าเป็นระบบที่ดี ที่ทำให้เด็กรู้จักคิด กล้าที่จะทำนะครับ
ทำให้เราได้เรียนรู้สิ่งต่างๆได้กว้างและหลากหลายขึ้น แต่ช่วงที่ผ่านมานี้มันเกิดบางอย่างที่ทำให้ผมสับสน ลองคิดตามนะครับ
1.เราย้าย lecture ไปเป็น pbl
2.เราให้นักศึกษา ทำpbl sdl

สองข้อนี้พอทน พอเข้าใจครับ แต่ว่า
อาจารย์บอกว่า สิ่งที่อาจารย์พูดนี้ มันอยู่ใน pbl ที่ผ่านมา
เนื้อหาบางส่วนที่อาจารย์กล่าวถึงนั้นมีรายละเอียดมาก ค่อนข้างยากต่อการเข้าใจ
แต่ปัญหาไม่ได้อยู่ตรงนี้ครับ มันอยู่ที่ ถ้าเราปพูดใน pbl มันจะกลายเป็น mini lecture ที่อาจารย์คนใดๆก็ไม่ชอบ ถ้าจะช่วยกันพูดมันก็ไม่ง่ายที่จะทำ

จึงขอความกรุณาผู้ที่เข้ามาอ่าน กรุณาลองทบทวนว่าสิ่งที่ผมพูดเป็นจริงมากน้อยเพียงใด ผมอยากให้ sdl มีส่วนใน pbl น้อยลงคือเนื้อหาที่ sdl อาจเอาไปใช้ใน lecture มากขึ้นใช้ใน pbl ให้น้อยลง


Posted by : นศพ. อีกคน , Date : 2006-11-14 , Time : 12:31:45 , From IP : 172.29.2.200

ความคิดเห็นที่ : 7


   คือผมไม่ได้กังวลเรื่องคะแนน แต่สงสัยว่า process ที่ดีขึ้นกลับมีคะแนนที่ลดลงอย่างน่าใจหาย เราไม่ได้คิดไปเองว่ามันดีขึ้น แต่มันเร็วขึ้น เรียบร้อยครบถ้วนขึ้น

คะแนนเป็นการให้กำลังใจนักเรียน ถ้าการให้กำลังใจอย่างไม่เป็นธรรมอะไรมันก็ไม่ดีครับ



Posted by : นศพ อีกคน2 , Date : 2006-11-14 , Time : 13:09:13 , From IP : 172.29.4.96

ความคิดเห็นที่ : 8




   ขอบคุณสำหรับความเห็นของเพื่อนๆพี่ๆนศพ
อย่างน้อยผมก็รู้ว่าไม่ใช่ผมคิดไปคนเดียว
อย่างที่บอกหละครับ PBL เป็นสิ่งที่ดีในความหมายของตัวมันเอง
สร้างให้ นศพ ได้รู้จักคิด และไม่ควรยกเลิกใช้ PBL แต่
PBL ขอ มอ. ยังขาดองค์ประกอบส่วนสำคัญดีๆ ที่จะทำให้จุดหมายของ PBL นั้นประสบผลสำฤทธิ์ที่ดี ทำให้มันไม่ออกมาเป็นอย่างที่ใครหลายๆคนฝันว่ามันควรจะเป็น
ตั้งแต่คะแนนที่มีมาก ประกอบกับมาตรฐานในการให้คะแนน และการนำมาประกอบกับการเรียน Lecture ที่ยังปรากฏช่องโหว่มากมาย
อันจะไม่ได้ทำให้นักศึกษาแพทย์คิดเก่ง แต่กลายเป็นนักษาแพทย์ที่พูดเก่งแทน
พูดแบบมีกระบวนการ แต่อาจจะคิดแบบไม่เป็นกระบวนการก็ได้ เพราะสุดท้าย
จะทำอย่างไรให้ผู้ให้คะแนนเรา Facilitator ประทับใจ ถ้าจะเปรียบเทียบ จะทำอย่างไรให้หัวหน้าหรือผู้บริหารถูกใจเรา ก็จะคล้ายๆกัน จะเห็นว่า ไม่จำเป็นต้องเก่ง แต่แค่รู้จังหวะ พูดให้เป็น รู้ช่องทาง ก็จะได้ค่าตอบแทนที่ดี กลับกลายเป็นว่าคณะแพทย์ มอ กำลังบ่มเพาะนักศึกษาแพทย์ให้จบออกไปเป็นคนเช่นนั้นหรือ??
คงฟังดูไม่สวยงามเท่าไหร่
และสำหรับเนื้อหาที่ซ้ำซ้อนกันระหว่าง PBL และ Lecture ผมว่ามันไม่เหมือนกันนะ
บางทีกลุ่ม PBL อาจจะพูดเนื้อหาได้ลึกจริง แต่พอที่จะเข้าถึงเนื้อหาทุกจุดหรือป่าว
การสอนซ้ำ ก็เป็นเหมือนการทบทวนที่ดี
ถ้าจะยืดเวลาการสอนให้มากขึ้น แต่สามารถช่วยให้นศพ เข้าใจอะไรๆได้ถูกต้องและง่ายขึ้น
ย่อมเป็นสิ่งที่ดีไม่ใช่หรอครับ
.......
สุดท้ายนี้
ผมคิดว่า การที่เรามีกระบวนการ PBL เป็นมหาลัยแห่งแรก ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี
แต่ถ้าการ PBL นั้นกลับไม่ได้ไปถึงฝั่งอย่างที่ใครหลายๆคนฝันว่ามันควรจะเป็นผมว่าก็เป็นเรื่องที่น่าอับอาย
สู้มานั่งทบทวนกระบวนการ PBL ที่ดี หรือองค์ประกอบของ PBL บางจุดที่ทำให้ PBL เสียสมดุลและเป้าหมาย แล้วเราก็แก้ไขตรงนั้น ไม่ดีกว่าหรือ
ไม่ใช่เห็นว่าConceptเดิมมันดีเลยยึดเอามาทั้งดุ้น
วัฒนธรรม การศึกษา และภาวะทางสังคมของเราไม่เหมือนกัน
จำเป็นต้องปรับปรุงไปเรื่อย
ไม่ใช่ตัดใจทิ้งไป หรือตัดภาระโยนไปให้ผู้เรียน
เพราะถึงอย่างไรเมื่อมีผู้เรียนรายใหม่ๆขึ้นมา
ปัญหาเหล่านี้ก็จะยังคงเกิดวนเวียนซ้ำซาก
ปัญหาเหล่านี้่คงจะไม่ใช่ความภูมิใจของคณะเราใช่ไหมครับ?


Posted by : นศพ คนแรก , Date : 2006-11-14 , Time : 15:00:52 , From IP : 172.29.4.138

ความคิดเห็นที่ : 9


   ผมเชื่อว่าทางแพทยศาสตร์จะได้อ่านและรับความคิดเห็นจากกระทู้นี้ไปประกอบการพิจารณาปรับปรุงหลักสูตร ที่จะขอกล่าวดังต่อไปนี้จะเป้นการขยายความและเสนอความคิดเห็นส่วนตัวในประเด็นที่คิดว่าอาจจะมีความสำคัญ

@ สัดส่วนคะแนน
@ วิธีการเรียน
@ objectivity and subjectivity

@ สัดส่วนคะแนน
สองส่วนใหญ่ๆคือคะแนน process และคะแนน contents ควรจะเป็นสัดส่วนเท่าไหร่? ก็คงจะต้องดูว่าคะแนนจากแต่ละส่วนนั้นมัน "สะท้อน" ถึง learning objectives อะไรบ้าง และมีความสำคัญต่อผลลัพธ์สุดม้ายมากน้อยแค่ไหน
Contents ได้แก่ เนื้อหา ความครอบคลุม และความตรง กระบวนการทดสอบ contents ที่สำคัญจะเกิดขึ้นตอนสอบ (ไม่ใช่ตอนทำ PBL เพราะเนื้อหาตอนสอบจะครอบคลุมทั้งบทเรียน แต่ PBL จะเป็นบางประเด็นที่สำคัญ)
Process ได้แก่ การทำงานเป็นระบบ ความชำนาญในการทำงานเป็นทีม การสื่อสารภายในทีมเพื่อทำให้บรลุวัตถุประสงค์ ความสามารถในการค้นคว้า และความสามารถในการถ่ายทอดสิ่งที่ตนเองค้นคว้า รวมทั้ง "กระบวนการกลุ่ม" ที่ช่วยวิเคราะห์ ตัดทอน ย่อยข้อมูลที่เพื่อนนำเสนอ
ถ้าเป็นเช่นนี้ ผมคิดว่าทั้งสองอย่างมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน สำคัญทั้งคู่ พิจารณาจากลองบั่นทอนอย่างใดอย่างหนึ่งออกไป แล้วพิจารณาว่ามีผลอย่างไรต่อการเป็นแพทย์ที่ดี? แน่นอน contents นั้นสำคัญ ต้องครอบคลุม ถูกต้องแม่นยำ แต่การวินิจฉัยที่ดี ที่ถูกต้อง ที่นำไปสู่การรักษาที่มีประสิทธิภาพนั้น จำเป็นแค่ไหนที่จะต้องพึ่งพา communication skill และการทำงานเป็นทีม และ skill อื่นๆในกระบวนการกลุ่ม? ปัญหาในการสื่อสารนั้นสำคัญอย่างยิ่ง ตัวอย่างที่มีการฟ้องร้องกันส่วนใหญ่เพราะ communication breakdown ส่วนใหญ่สามารถหลีกเลี่ยงได้ "ถ้า" มีการสื่อสารที่ดี มีความสัมพันธ์ที่ดีรหว่างสองฝ่าย แม้ว่าจะมี complications เกิดขึ้น ก็จะไม่เป็นเรื่องราวฟ้องร้องกัน doctor-patient relationship นั้น เกิดจาก skill ในส่วนของ communication เป็นหลัก และสำคัญมากที่สุดที่แพทย์ต้องสามารถสื่อสารให้ผู้อื่นเกิดความไว้วางใจ มี trustworthiness เกิดขึ้น สามารถถ่ายทอดความรู้ทางการแพทย์ออกมาให้คนอื่นๆเข้าใจได้ คิดตามได้

@วิธีการเรียน
รู้สึกจะมีความเข้าใจที่แตกต่างกันเล็กน้อยระหว่าง PBL เชื่อมโยงกับ Self-directed learning (SDL)
SDL นั้น จำเป็นต้องเกิดในการเรียนทุกระบบ ไม่ว่าจะเป็นระบบเก่า หรือ lecture-based หรือระบบ PBL ก็ตาม เป็นนักศึกษาแพทย์ถ้าไม่ทำ SDL ก็คงจะมีปัญหาแน่นอน เพราะเราต้องเปลี่ยน contents ที่อ่านจากตำราออกเป็นประสบการณ์ตรง และจริงจากผู้ป่วย ต้องเปลี่ยนน tenesmus เป็นอาการจริงว่าผู้ป่วยจะพูดอย่างไร ต้องเปลี่ยน melena เป็นภาพและกลิ่นที่แท้จริงว่าเป็นอย่างไร SDL จึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญเพราะให้คุณสมบัติของ context-based learning หรือการเรียนตาม "บริบท"
การเรียนตามบริบทคือมีข้อพิสูจน์แล้วว่าขั้นตอนของความรู้ที่เกิดขึ้น ถ้าอยู่ในบริบทที่ "ของจริง" เกิดหรือใกล้เคียงที่สุด จะสามารถถูกนำมาใช้ได้ง่ายกว่า เช่น อ่านตำราเกี่ยวกับ peptic perforation ว่ามีการนำแสดงอาการอาการแสดง มีพยาธิสรีระ พยาธิกำเนิด ฯลฯ มากมายจากตำรานั้น สู้เราเจอ case จริงๆ มีปัญหาจริงๆสักรายหนึ่งไม่ได้ เมื่อเวลาเราได้เจอผู้ป่วยจริง ความรู้ที่เกิดขึ้นใกล้เคียงกับบริบทจะถูกดึงออกมาใช้ง่ายกว่า
SDL จึงไม่สามารถถูกแทนที่ด้วย lecture ได้เลย เป็นการเรียนที่ความรู้จะถูก elaborated เป้น "ของเราเอง" การอ่าน lecture นั้นความรู้แค่ "ผ่านน้ำ" เฉยๆ แต่ถ้าเราอ่านจนเข้าใจ แปลเป็นภาษาเราเอง เอาไปเล่าให้เพื่อที่ไม่ได้อ่านเข้าใจได้ กระบวนการ ขั้นตอนเหล่านี้ทำให้ความรู้ถูกย่อย ดูดซึม และผสมผสานเป็นเนื้อเดียวกับความรู้ดั้งเดิมของเราก่อนจนกลายเป็นก้อนเดียว เนื้อเดียวกัน

@Subjectivity and Objectivity
ประเด็นนี้สำคัญในการประเมิน สำคัญมากในการคิด ในการวิเคราะห์
Subjectivity ใช้ความรู้สึกตัดสิน
Objectivity ใช้เกณฑ์ตัดสิน
ปกติเราใช้ทั้งสองอย่างในการตัดสิน ร่วมกัน และน้ำหนักแปรไปตามบริบท บางครั้งอย่างหนึ่งสำคัญมากกว่า บางครั้งอีกอย่างหนึ่งสำคัญมากกว่า ของที่วัดได้ สัมผัสได้ ก็จะประเมินได้ตรง ได้เที่ยง และง่ายกว่าโดย objectivity แต่ของบางอย่างที่มีคุรค่าทางนามธรรม เราต้องอาศัยการสังเกต และความรู้สึกมาช่วยบ่งบอก และหลายๆอย่างประกอบกัน เช่น ความดี ความชำนาญ คุณธรรม จริยธรรม ความสวยงาม
จะเห็นได้ว่าเราอาจจะคิดว่า subjectivity มีความไม่ตรงได้เยอะ ไม่เที่ยงได้เยอะ เพราะเป็นการใช้ experience ของคนมาวัด มีอารมณ์มาเกี่ยวข้องได้ ก็มีความพยายามจะทำให้ subjectivity เป็น objectivity มากขึ้น เช่น การกำหนดคุณค่า (Rubic scoring system) ได้แก่ การให้คำอธิบายให้ชัดเจนของกลุ่ม scale คะแนนต่างๆ เช่น 1-5 นั้น 1 คืออะไร 2 ตืออะไร และจนถึง 5 คืออะไร หรือการใช้กฏแห่ง randomness มาช่วย เช่น ถ้าใครๆก็ให้คะแนนกลุ่มนี้อย่างนี้ ก็จะช่วยกลบเกลื่อนคะแนนที่น้อยไป หรือมากไปถ้าเกิดขึ้นบางครั้งได้
คำถามก็คือ ที่เรา "รู้สึก" ว่าไม่ยุติธรรมนั้น เป็น subjectivity หรือ objectivity กันแน่?
ถ้าที่เราประเมิน เป็นความ "รู้สึก" ของเราเอง เวลาเอามาใช้ประเมินระบบต้องระมัดระวัง ว่าที่เรารู้สึก เป็น representativeness ของนักศึกษาทั้งชั้นปีหรือไม่ ที่เราคิดว่าดีหรือคิดว่าไม่ดีนั้น เป็นสิ่งที่ shared โดยคนกลุ่มใหญ่ หรือว่าอย่างไร? เรามักจะใช้คำประเภท "ส่วนใหญ่คิดว่า... จริงๆแล้ว..... เกือบทั้งหมด.... ฯลฯ" มาทดแทนสิ่งที่เรา "รู้สึก" โดนไม่รู้ตัว ตรงนี้ไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาดอะไร มันจะเพิ่มความหนักแน่นในสิ่งที่เรากำลังนำเสนอ แต่จะมีความสำคัญตรงที่ตอนนำไปใช้กับระบบ บางทีพอโยนความคิดที่เราคิดว่าน่าจะเป็นความรู้สึกของคนกลุ่มใหญ่ ปรากฏว่าแค่ 5-6 คนพอมาคิดเรื่องเดียวกัน ก็ได้มุมมอง ข้อสรุป ความคิดเห็นที่แตกต่างกันแล้ว 7-8 อย่างหรือมากกว่า
ในระบบการปกครอง democracy จึงพยายามแก้จุดอ่อนตรงนี้ เพราะ dictatorial system นั้น คนคิดกลุ่มเล็กๆกลุ่มเดียว คิดว่าถูกต้อง ปรากฏว่าคนส่วนใหญ่ไม่ได้เห็นด้วยอะไร พอนำมาใช้ก็เลยเกิดปัญหา หลักการนี้นำไปสู่ ความสำคัญของความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ของความคิดเห็น ในระบอบประชาธิปไตย ใครจะออกเสียง ใครจะแสดงความคิดเห็น ก็ผ่านระบบที่เปิดเผย จริงใจต่อกัน เพื่อสร้างประโยชน์ต่อส่วนรวม
ความหวาดระแวงว่าการแสดงความคิดเห็นที่เปิดเผยเป็นสิ่งไม่ดีนั้น นำไปสู่ทางตัน เพราะไม่มี accountability เกิดขึ้น สืบสาวไปไม่ได้ว่าตกลงทำเพื่อใคร รู้ได้อย่างไรว่าเป็นความคิดเห็นจากคนส่วนใหญ่ คนที่ไม่ได้แสดงความคัดค้านอะไรนัก อาจจะเป็นไม่เห็นด้วย หรือเห็นด้วยก็ตาม เป็นเสียงที่ majority ซะด้วยซ้ำไป การเปลี่ยนแปลงขององค์กรและคณะฯจึงจำเป็นต้องมีความโปร่งใสและตรวจสอบได้ มีธรรมาภิบาล

สุดท้ายนี้ผมยังคิดว่านักศึกษาแพทย์ส่วนหนึ่งคงจะมีความผูกพันกับคะแนนจริง แต่ผมไม่มีหลักฐานอะไรที่จะบอกว่ากลุ่มนี้เป็นคนส่วนใหญ่หรือส่วนน้อย หรือแม้กระทั่งว่าถ้าส่วนใหญ่คิดว่าคะแนนสำคัญที่สุดแล้วจะหมายถึงอะไร ผมหวังว่านักศึกษาแพทย์ให้ความสำคัญต่อ "การศึกษา" ในความหมายที่ลึกซึ้งยิ่งไปกว่านั้น เพราะอาชีพของเรา เป็นอาชีพที่ต้องให้เกียรติและเชิดชูคุณค่าของ "ชีวิตคน" เป็นสำคัญ เราจึงจะทำงานได้อย่างมีความสุข ชีวิตคนไม่ใช่คะแนน ไม่ใช่อะไรที่วัดได้ ประเมินได้ตรงไปตรงมา การศึกษาชีวิตนั้นต้องใช้เวลา อุทิศกำลังใจกำลังสมอง จนกระทั่งเราเกิดพัฒนาฉันทาคติว่าสิ่งนี้คือสิ่งที่เราอย่างให้คนอื่นได้มีความสุข เป็นเหตุผลว่าทำไมสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก จึงทรงมีพระราชดำรัสว่าขอเพียงเราให้ความสำคัญต่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นอันดับหนึ่งเถิด ความสำเร็จต่างๆในความเป็นแพทย์นั้นจะตามมาเอง รวมทั้งลาภยศสรรเสริญด้วย เราไม่จำเป็นต้องแสวงหาลาภยศสรรเสริญก่อน ค่อยแสดงว่าเป็นแพทย์ที่ประสบความสำเร็จ ถ้าคิดวิเคราะห์ไตร่ตรองตรงนี้เสร็จแล้ว อาจจะเป็นอุบายที่ดีที่เราจะตั้งใจเรียน หา core value ของกระบวนการ ของเนื้อหาที่เราพึงได้เมื่อเสร็จสิ้นกิจกรรมแต่ละอย่างได้อย่างถูกต้อง

ใครจะเด่น ใครจะพูดเก่งอย่างเดียว หรือจริงๆแล้วคิดเป็นระบบแต่เผอิญพูดไม่เป็นนั้น มันไม่ได้มีผลตัดสิน "ชีวิตความเป็นแพทย์" มากเท่ากับสิ่งที่ได้หล่อหลอมเป็นตัวตนของเราเมื่อเวลาผ่านไป คุณค่าที่ค่อยๆซึมซับเข้าไปเป็นบุคลิกของเรานี่แหละสำคัญ สำคัญต่อตัวเรา ครอบครัว และสังคมรอบข้าง และสำคัญต่อการมองผู้ป่วยในอนาคต


Posted by : Aquarius , Date : 2006-11-15 , Time : 00:25:55 , From IP : 58.147.116.46

ความคิดเห็นที่ : 10


   ใจเย็นๆคับทุกคน
จริงๆแล้วผมคิดว่าแค่เรื่องเกรด ไม่เห็นจะต้องคิดมากกันเลยครับ
การที่จะให้ fa มีมาตรฐานเดียวกันนั้นมันเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว
ซึ่งทุกคนก็น่าจะรู้ดี และปัญหานี้มันก็มีมาตั้งนานแล้ว
จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงอะไรก็คงได้ไม่มากเท่าไหร่หรอกคับ

ผมคิดว่าแค่เราตั้งใจเรียน มีความรู้ คะแนนจะออกมาไม่ค่อยสวยก็ไม่เห็นเป็นไรนี่นา ขอแค่เรามีความรู้ไว้ก็น่าจะพอ มันอาจจะถูกที่ว่ามันไม่ยุติธรรม แต่กับโลกใบนี้ใครจะได้รับความยุติธรรมไปซะทุกเรื่องหละครับ แล้วอีกอย่างผมคิดว่าคงเป็นส่วนน้อยมากๆที่จะได้ fa โหดทุกครั้งหรือใจดีทุกครั้ง มันก็หมุนเวียนไปเรื่อยๆ ซึ่งตรงจุดนี้ผมก็คิดว่าทางคณะก็พยายามทำให้เกิดความเท่าเทียมมากที่สุดแล้วนะครับ
แต่เรื่องที่ทางคณะไม่สามารถควบคุมได้เช่นเรื่องfaแต่ละคน ก็ถือซะว่ามันเป็นดวงของเราแล้วกัน สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรมคับ ในเมื่อคิดแล้วไม่สบายใจ ก็อย่าไปคิดให้มากเลยครับ สนุกกับกระบวนการกลุ่มที่เราจะต้องเจอดีกว่า กลุ่มไหนเค้าได้ fa ใจดีก็ดีใจไปกับเค้าเถอะครับ คิดว่าซักวันหนึ่งเราก็คงได้เจอเหมือนกัน
แค่นี้ก็น่าจะคลายความเครียดลงได้บ้าง

ส่วนเรื่องวิธีแก้ไขก็คงต้องปล่อยให้ทางคณะจัดการหละครับ
ในส่วนของเราผมว่าเรามาแก้ไขในเรื่องที่เราสามารถแก้ไขด้วยตัวเองได้ดีกว่าครับ
นั่นก็คือ ตั้งใจเรียน ทำคะแนนอย่างอื่นให้มันดีๆ ต่อให้ pbl เราไม่ค่อยดีแต่ผมก็เชื่อว่าเกรดก็คงจะไม่ขี้เหร่มากหรอกถ้าเราเก็บคะแนนในส่วนอื่นๆได้หมด

ถ้ารู้ว่ามันหนักแล้วจะแบกไว้ทำไมหละครับ
เผื่ออีกใจไว้ให้โลกครับ


Posted by : นศพ.เหมือนกัน , Date : 2006-11-15 , Time : 11:55:31 , From IP : 172.29.4.228

ความคิดเห็นที่ : 11


    เห็นด้วยอย่างมากครับกับความคิดเห็นที่ : 9 สิ่งที่ผมอยากเสนอเพิ่มเติม มีดังนี้
1. คณะแพทย์ฯควรมีการพัฒนา ปรับปรุง และเน้นให้อาจารย์ทุกท่านตระหนักถึงหน้าที่ของอาจารย์ในด้านการเรียนการสอนที่ต้องสอดคล้องกับระบบ PBL ให้มากที่สุด ( คำว่าอาจารย์คงหนีไม่พ้นการปฏิบัติงานทั้ง 4 ด้าน คือการเรียนการสอน การวิจัย การบริการทางวิชาการรวมทั้งการดูแลรักษาผู้ป่วย และงานด้านบริหาร ) อาจารย์บางท่านให้ความสำคัญกับงานด้านการเรียนการสอนน้อยมาก แม้แต่อาจารย์ระดับผู้บริหารบางท่าน อาจารย์บางท่านมุ่งเน้นแต่การทำวิจัยเพื่อให้ได้ผลงานทางวิชาการที่สูงขึ้น เพื่อนำไปขอ ผ.ศ,ร.ศ,และ ศ. อาจารย์บางท่านอ้างงานบริการผู้ป่วยที่มีมากจนไม่ให้ความสำคัญกับงานด้านการเรียนการสอน โดยปฏิบัติงานด้านการเรียนการสอนน้อยมาก ผลก็คือการทุ่มเทการเรียนการสอนให้นักศึกษาไม่เต็มที่ ทุกคนคงไม่ปฏิเสธว่าการเรียนระบบPBL อาจารย์มีความสำคัญมากอย่างยิ่งต่อการเรียนการสอน ทั้งการLecture , การสอนและการคุมLAB , Facillitator , Resource person และอื่นๆ ถามว่าอาจารย์ทุกท่านตระหนักถึงสิ่งนี้รึไม่ อาจารย์บางท่านทุ่มเทและปฏิบัติหน้าที่นี้ให้นักศึกษาเต็มที่รึยัง ?
2. คณะแพทย์ฯต้องเพิ่มอาจารย์ที่มาทำหน้าที่ในข้อที่หนึ่งให้มากขึ้น โดยเฉพาะอาจารย์แพทย์ที่มีความรู้ความสามารถที่สอดคล้องกับแต่ละ BLOCK. ขณะนี้คงปฏิเสธไม่ได้ว่าคณะฯขาดอาจารย์เช่นนี้มาก
3. การเรียนการสอนระบบ PBL อาจารย์ที่รับผิดชอบต้องทุมเทกาย ใจ ความเป็นอาจารย์ และอื่นๆที่คิดว่าต้องเหนื่อยกว่าการเรียนระบบเก่า ถ้าอาจารย์ทุกท่านปฏิบัติอย่างเต็มที่ เต็มความสามารถ เชื่อว่าระบบนี้ต้องออกมาดีและมีประสิทธิภาพมาก
ที่แสดงความคิดเห็นนี้ ไม่ใช่ต้องการตำหนิใครแต่ต้องการให้ระบบการเรียนการสอนระบบ PBL นี้บรรลุจุดประสงค์สูงสุดและเป็นประโยชน์ต่อ นศ. คณะแพทย์เอง และต่อประเทศชาติต่อไป ไม่ใช่มองแค่ว่า ตัวนักศึกษาไม่พร้อมที่จะเรียนระบบนี้ หรือว่ากระบบการประเมินผลที่ไม่ดี หรือว่าปัญหาการบริหารจัดการฯ และอื่นๆ แต่ต้องมองตัวอาจารย์แพทย์ที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนระบบ PBL ให้ นักศึกษาได้ความรู้ความสามารถมากที่สุดและจบไปเป็นแพทย์ที่มีความรู้คาวมสามารถสูงสุดครับผม



Posted by : ในฐานะอาจารย์ของ นศพ. , E-mail : (kkdkk@hotmail.com) ,
Date : 2006-11-15 , Time : 12:06:35 , From IP : 172.29.1.204


ความคิดเห็นที่ : 12


   เรื่องเกรดถ้าไม่เรียนต่อก็คงไม่เป็นอะไรหรอกครับ
แต่ถ้าคิดจะเรียนต่อ คงมีปัญหาแน่ๆ
การที่เกรดไม่ได้มาตรฐานเพราะกระบวนการประเมินที่ไม่แน่นอน
ทำให้ผู้ที่จะเรียนต่อเสียเปรียบมาก
ถ้าเกิดเกรดดีก็ดีไป
แต่ถ้าห่วยก็จบกัน
และเกรดก็ไม่ได้ชี้ว่าจะเป็นหมอที่ดีหรือเก่ง
เพราะกระบวนการตัดเกรด ยังแยกระหว่างคนเก่งกับคนดวงดีไม่ได้เลย


Posted by : นศพ ที่คิดจะเรียนต่อ , Date : 2006-11-15 , Time : 14:54:10 , From IP : 172.29.4.190

ความคิดเห็นที่ : 13


   ผมเข้าใจว่าที่มีคนบอกว่าเกรดไม่สำคัญมากนั้น รวมถึงกรณีการเรียนต่อด้วยครับ

เดี๋ยวนี้การคัดเลือกคนเรียนต่อนั้น ไม่มีการเลือกแค่เกรดอย่างเดียวอีกต่อไปแล้ว ปัจจัยอื่นๆ เช่นหนังสือแนะนำ การเข้าร่วมกิจกรรม (ที่นัยว่าเคยทำงานเป็นทีมกับผู้อื่นได้ หรือสนใจในสิ่งแวดล้อมตนเองนอกเหนือจากตำรา) ก็มีผลในการคัดเลือกเช่นเดียวกัน รวมทั้งการสอบสัมภาษณ์ที่ต้องพิจารณาเรื่องของ communication skill บุคลิกภาพ เชาวน์ปัญญาในการแสดงออก

การเรียนต่อของ field medicine นั้นมีมากมายหลายสิบ specialialities และ subspecialities แต่ละ fields ก็จะมี criteria ในการคัดเลือกแตกต่างกันตามลักษณะ model ของงาน

อีกประการตอนเรียนชั้น clinic นั้น ยิ่งต้องเน้นการปฏิบัติการมากขึ้นกว่าตอน pre-clinic เสียอีกนะครับ เกรดตอนเรียน clinic ก็จะต้องแลกมากับการทุ่มเทกำลังใจ กำลังกาย กำลังสมอง กับการปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วย

เป้าหมายเรื่องการเรียนต่อนั้น ทุกสาขาวางอยู่บนคุณสมบัติร่วมคือการเป็นแพทย์ที่ดี ที่หมายถึงการมีจริยธรรม คุณธรรม และ communication skill และบุคลิกที่ดีด้วยทั้งสิ้น มาช่วยกันเร่งเพาะคุณค่าเรื่องเหล่านี้ให้มากๆกันดีกว่านะครับ ต่อๆไปจะเป็นหมออะไร ทำงานที่ไหน มีครอบครัว อยู่ในสังคม ก็จะอยู่ได้ เกรดนั้นเป็นแค่เศษเสี้ยวของ achievement ทั้งหมดในประสบการณ์ 6 ปีนี้เท่านั้น ยิ่งไปเรียนเป็นแพทย์ประจำบ้าน แพทย์ใช้ทุน การเรียนระดับนั้นก็ไม่ต้องเน้นเกรดอะไรอีกต่อไป แต่จะเน้นเรื่องความรับผิดชอบ ความใส่ใจ และความมี professionalism มากขึ้นอีกจึงจะเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางได้


Posted by : Aquarius , Date : 2006-11-15 , Time : 16:33:51 , From IP : 172.29.3.231

ความคิดเห็นที่ : 14


   อยากให้ข้อมูลเหล่านี้แพทยศาสตร์ศึกษารับไปพิจารณานะ
ผมว่ามีประโยชน์มากๆ
ไม่อยากให้มองข้ามประเด็นเหล่านี้ไปเลยครับ


Posted by : DreamCatcher , Date : 2006-11-16 , Time : 00:43:08 , From IP : 172.29.4.190

ความคิดเห็นที่ : 15


   เห็นด้วยกับความเห็นที่ 10 และ 13 เป็นอย่างมากครับ
ในฐานะนศพ. ผมก็คิดว่านักศึกษาต้องพยายามเรียนรู้ที่จะปรับตัว
เพื่อให้มีความคิด และทัศนคติที่เหมาะสมที่สุดที่จะเรียนในระบบนี้ได้อย่างมีความสุข
อาจารย์ก็คงจะช่วยได้แค่ให้แนวทางในการปรับตัวเท่านั้นเอง

แต่ก็นึกอยู่เหมือนกันว่าวิธีการดังกล่าวเป็นเรื่องอุดมคติมากๆ
เพราะปัญหาส่วนมากที่นักศึกษามองข้าม ก็คือปัญหาจากตัวนักศึกษาเอง
ทั้งการมีมารยาทในการพูดไม่เหมาะสม และมีกระบวนการผิดไปจากกระบวนการที่เป็น PBL
ซึ่งผมก็ได้ยินเพื่อนๆบ่นเรื่องนี้กันเยอะในระยะหลังๆ
ว่าไป มาตรฐานความเข้าใจในกระบวนการของนักศึกษา ก็มีบิดบ้างเบี้ยวบ้างพอๆกับ fa
จุดด้อยหนึ่งก็คงเป็นนักศึกษาที่ไม่เข้าใจกระบวนการเองล่ะครับ

(จริงๆผมเองก็ไม่เข้าใจอะไรมากเท่าไหร่หรอกครับ แต่พยายามที่จะสนุกไปกับมัน ซึ่งก็พยายามต่อไปครับ)
(อยากให้เพื่อนๆนักศึกษารับฟังกันมากขึ้นครับ คิดว่าการเป็นผู้ฟังที่ดี การประเมินตนเองอย่างเป็นกลาง และการแสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์
น่าจะเป็นทางออกที่ดีในกระบวนการ PBL ได้ครับ)


Posted by : shock , Date : 2006-11-16 , Time : 15:03:38 , From IP : 172.29.4.245

ความคิดเห็นที่ : 16


   สรุปนักศึกษาก็ไม่เข้าใจกระบวนการ PBL ที่ดี
fa บางคนก็ไม่เข้าใจกระบวนการ
สุดท้ายก็ PBL ไปแบบไม่เข้าใจกระบวนการ
??
ถ้าคิดแบบว่ายอมๆกันไปก็จะไม่มีการพัฒนา มันต้องมีความขัดแย้งและความสงสัยถึงจะมีการพัฒนาให้ดีขึ้นได้สิครับ


Posted by : สรุป , Date : 2006-11-16 , Time : 15:08:51 , From IP : 172.29.4.95

ความคิดเห็นที่ : 17


   บางครั้งเวลาเรา "สรุป" ต้องระมัดระวังอย่าให้ตกหล่นคำสำคัญไปจากข้อมูลที่ได้อภิปรายมา

เช่น "บางคน" ไม่ได้หมายความว่าเป็นทุกคน หรือทั้งระบบ
เช่น ควรเริ่มต้นพัฒนาจาก "ตนเอง" ไม่ได้หมายความว่ายอมๆกันไป

การพัฒนาที่เริ่มต้นจาก "ตนเอง" นั้นเป็นสิ่งสำคัญ ในอิทธิบาท 4 เริ่มประการแรกคือ "ฉันทะ" นั้น หรือความพึงพอใจ ก็มาจากความต้องการของตนเองก่อน หลายสิ่งหลายอย่างที่เป็นปัญหานั้น สามารถแก้ไข หรือเริ่มต้นแก้ไขได้จากการพัฒนาตนเอง เป็นหนึ่งในหลายๆประการที่เรามีความสามารถในการควบคุมมากที่สุด

เวลา "สรุป" อย่าพยายามใช้อารมณ์ ลองพิจารณาให้ถ่องแท้ว่าพฤติกรรม หรือความคิดจากข้อสรุปนั้นเป็นทางดำเนินในทางสร้างสรรค์หรือไม่ หรือว่าเป็นแค่ประชดประชัน เพราะสิ่งที่เกิดตามมานั้นก็จะตกอยู่กับตัวเรานี่แหละ ไม่ได้ตกอยูกับคนที่เราจะประชุดประชัน

Andragogy หรือ adult learning นั้น เป็นที่มาของการนำเอา PBL มาใช้ ถ้าทำแล้วเราได้เป็น "adult" จริงๆ คะแนนเป็นอย่างไรก็ตาม เราก็จะประสบความสำเร็จครับ ถ้าเราเริ่มเป็นแพทย์จากการพยายามช่วยคนอื่นได้ ประโยชน์ของคนอื่นก่อน ความสำเร็จในการเป็นแพทย์ที่แท้จริงมันจะตามมาเอง อย่าพยายามเป็นแพทย์ก็ข้ามขั้นตอนการเรียนรู้ ความต้องการช่วยเหลือผู้อื่น การทำงานร่วมกับผู้อื่นเลย ทางลัดเหล่านั้นอาจจะทำให้ "อาชีพ" ดูเหมือนจะสำเร็จ แต่เป็นอาชีพที่ไร้จิตวิญญาณ

จะพยายามเอาใจช่วยทุกคนที่พยายามช่วยตนเองครับ


Posted by : Aquarius , Date : 2006-11-16 , Time : 16:53:57 , From IP : 172.29.3.231

ความคิดเห็นที่ : 18




   การสะท้อนประเด็น PBL ตรงนี้ คนที่รักจะพัฒนา คงจะมองว่ากระทู้มีประโยชน์
แต่ก็มีบางคนที่มองข้ามมันไป อย่าให้เป็นเพียงข้อความที่พิมพ์ผ่านๆบอร์ดไป
แล้วก็สูญปล่าวนะครับ เพราะผู้ที่จะทำการ PBL เปลี่ยนทุกๆปี นศพ จากปี 1 ขึ้นมามีทุกปี แล้วถ้าปล่อยให้เป็นหน้าที่แต่เพียงของ นศพ ก็คงจะลำบาง
ถ้าทุกๆฝ่ายไม่ช่วยกัน
ถูกต้องไหมครับ
ฝากให้แพทยศาสตร์ศึกษาเก็บประเด็นเหล่านี้ไปคิดด้วยนะครับ


Posted by : นศพ คนแรกสุด , Date : 2006-11-16 , Time : 21:52:22 , From IP : 172.29.4.70

ความคิดเห็นที่ : 19


   อันนี้ Copy มาจากกระทู้ฝั่ง เรื่องทั่วไป ของบอร์ดเรานี่แหละครับ
จะได้อ่านประกอบกันไป


ความคิดเห็นที่ : 2

#ในฐานะของผู้มีประสบการณ์เรียนทั้งระบบเก่าและใหม่(รุ่นสุดท้ายก่อนจะมีระบบBlock) และเป็นแพทย์พี่เลี้ยงให้รุ่นน้องที่ไปฝึกหรือใช้ทุน(Extern,Intern)รพ.ชุมชน ผมคิดว่ามีข้อดีข้อเสียเถียงกันไม่จบ มันอยู่ที่ตัวบุคคลมากกว่า
@ผมอยากจะให้แยกเรื่องเกรด และประสบการณ์ความรู้ออกจากกัน
@ถามว่าสิ่งที่กำลังทำอยู่นี่ เพื่ออะไร,เพื่อใคร ทำเพื่อเกรดหรือเพื่อเพื่อนมนุษย์
@หากคิดว่าทำเพื่อเกรด ก็ยังอยู่ในวังวนของวิถีเพื่อให้ได้มาซึ่งเกรด ท่องจำประเดี๋ยวประด๋าว อ่านลึกซึ้งในบางเรื่อง ทำตัวสนิทสนมเสนอหน้ากับอาจารย์ และเมื่อเวลาผ่านไปก็จะรู้สึกว่า "ยิ่งเรียนยิ่งยาก"เพราะรอยหยักในสมองมีเนื้อที่จำกัด ไม่ได้จัดเรียงข้อมูล(ทำความเข้าใจ)ให้ถ่องแท้และแล้วก็ลืมหรือไม่เข้าใจเหตุผล สุดท้ายก็จบ "แพทย์กระดาษ" (ได้ด้วยโพยและการแสดง)
@แต่ถ้าคิดได้ว่าทำ/เรียนเพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ พยายามเก็บและใช้ความรู้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้วยความใส่ใจ นี่แหละคือ วิญาณของ"แพทย์"ที่แท้จริง

..............ในสังคม ไม่มีใครชื่นชมความดีของแพทย์ด้วยเกรด แต่อยู่ที่"จรรยาบรรณ"ของแพทย์ต่างหาก.............

Posted by : รุ่นสุดท้ายของระบบเก่า , Date : 2006-11-16 , Time : 12:34:31 , From IP : 203.188.0.42

ความคิดเห็นที่ : 3

ไม่มีความเห็นมากนัก แต่เรื่องน้ำหนักคะแนนสูงถึง 50 % คงน่าจะมีการปรับเปลี่ยน เพราะการให้คะแนนของอาจารย์แต่ละท่าน คงไม่เท่ากัน
คะแนน คงปฎิเสธไม่ได้ว่าก็มีความสำคัญเช่นกัน แม้ไม่ใช่ทั้งหมด คนที่ไม่สนใจคะแนนเลย มักจะเป็นกลุ่มที่เรียนไม่ค่อยเก่งนัก

Posted by : อาจารย์ , Date : 2006-11-16 , Time : 12:56:50 , From IP : 172.29.3.192

ความคิดเห็นที่ : 4

ผมคิดว่าการที่การให้คะแนนของอาจารย์มีความเบี่ยงเบนไม่น่าจะเป็นเหตุผลหลักในการให้น้ำหนักคะแนนซะทีเดียว น่าจะพิจารณาจากความสำคัญ ความตรง ของ learning objectives เป็นหลัก ถ้าสำคัญมาก แต่การประเมินยังมีปัญหา เราไปแก้ปัญหาที่การประเมินจะตรงกว่า

ตามปรัชญาการแพทย์นั้น เป็นแพทย์ที่ประสบความสำเร็จนั้น ไม่ได้มุ่งที่ตัว "ความสำเร็จ" โดยตรง แต่ความสำเร็จจะตามมาเองถ้าเราคงไว้ซึ่งธรรมะปห่งวิชาชีพ เช่นเดียวกัน ถ้าเราออกแบบหลักสูตรที่ดีจริง คะแนนต่างๆจะสะท้อนสิ่งที่เราหวังไว้ใน model ของแพทย์ที่เราอยากจะได้ ถ้าคะแนนยังไม่สะท้อนสิ่งที่เป็น model ของแพทย์ เราไม่ควรจะไปแก้ model ของแพทย์ ต้องมาพยายามทำให้ประสบการณ์การเรียนรู้ และการประเมินมาตรงกับหลักการของเรา

Medical contents มีความสำคัญจริง แต่ในขณะเดียวกัน psychomotor และ attitude ของหลายๆอย่างมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เช่น ความสามารถในการสื่อสาร การถ่ายทอดความรู้แก่ผู้อื่น การรับฟังผู้อื่นได้ การทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ คนที่ประสบความสำเร็จในเรื่องเหล่านี้จะช่วยส่งเสริมให้เป็นแพทย์ที่ดีได้ไม่แพ้การรู้ medical contents (ซึ่งไปๆมาๆจะมี half life สั้นกว่า domains อื่นเยอะ เพราะ medical contents ในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วมาก) สิ่งที่ทดสอบประเมินในด้าน contents นั้น อีกไม่กี่มีการเปลี่ยนแปลง ล้าสมัย หรือไม่จริงอีกต่อไป ฉะนั้น "เกียรตินิยม" จะมีความหมายมากกว่าหรือไม่ ถ้าเราให้น้ำหนักอะไรที่มันยั่งยืนกว่านั้น

ผมเห็นด้วยกับการวิจัยเรื่อง inter-rater validity หรือการทำให้ reliability ของการประเมินในพิสัยที่สำคัญดีกว่าเดิม แต่ไม่ค่อยเห็นด้วยกับการปรับน้ำหนักของความสำคัญถ้าปัญหาไม่ได้อยู่ที่ตรงนั้น



Posted by : Phoenix , Date : 2006-11-16 , Time : 17:33:29 , From IP : 58.147.116.46

ความคิดเห็นที่ : 5

- เห็นด้วยกับความคิดเห็นของ Phoenix ครับ ควรแก้ปัญหาที่การประเมิน (เห็นใจอยู่อย่างเดียวครับ...การเปลี่ยนแปลงอาจารย์( facilitator)ยากมาก...จนอาจทำไม่ได้เลย....เฮ้อ)

- เคยคิดสะท้อนปัญหาว่าควรให้นักศักษาประเมินกันเอง(อย่างจริงจังเสียที) เพื่อช่วยลด(ความคิดว่า)การให้คะแนนของอาจารย์มีความเบี่ยงเบน....แต่ผมว่าทำได้ยากอีกเช่นเดียวกัน...เพราะ..จะมองหน้าเพื่อนอย่างไร...(อาจเข้าสโสแกน...เพื่อนกันหรือเปล่า....เฮ้อ)

- ไม่ได้อ่านเรื่องของ pbl มานานแล้ว (ไม่รู้ว่าเป็นเพราะว่าอยู่ข้างนอก ไม่ได้ใช้ internet มอ.หรือไม่) ดีเหมือนกัน...

- น้องๆ ยังคงรู้สึกเหมือนที่เพื่อนผมที่เรียนมาด้วยกันหลายคนรู้สึก

- เรื่องการหาความรู้สำคัญมากครับ โดยเฉพาะเมื่อจบแล้ว (ที่สำคัญยิ่งกว่าคือความรู้สึกที่จะอยากหาความรู้)

- ความรู้ตอนปี 1-3 เกือบหมดแล้ว (หรือจำได้ใช้อยู่ส่วนน้อย...โดยไม่รู้ตัวหรือไม่...ก็ยังไม่แน่ใจ)


-สุดท้าย...ผมชอบระบบนี้นะครับ เรียนสบายดี :D

Posted by : เหอๆๆ , Date : 2006-11-17 , Time : 00:19:49 , From IP : 203.172.100.165


Posted by : ... , Date : 2006-11-17 , Time : 00:55:43 , From IP : 172.29.4.70

ความคิดเห็นที่ : 20


   ถ้าเราตั้งเป้าหมายหรือไปบอกใครสักคนนึงว่าเราอยากจะ "เปลี่ยน" เขา ผมว่าคงจะยากอยู่เหมือนกันครับ

บางทีการเปลี่ยนแปลงเริ่มจากเจ้าตัวเองจะดีที่สุด เพิ่ม sense of agency

จะทำอย่างนั้นได้ คงจะต้องมีกระบวนการรณรงค์ advocate หลักการสำคัญ หรือปรัชญาของ PBL และ facilitator role ให้กว้างขวาง และให้ความสำคัญในการฝึกอบรม facilitator ไม่น้อยไปกว่าการฝึกอบรมเสริมความแข็งแกร่งของวิชาชีพ (เช่น หัตถการของสูต ศัลย์ ออร์โธ หรือ ความก้าวหน้าทางหยูกยาของ Med หรือ เด็ก) เพราะทั้งสองอย่างมีผลต่อเนื่องถึงวิสัยทัศน์ พันธกิจขององค์กร (การฝึกอบรม วิจัย และการบริการวิชาการ) ในกลไกคล้ายๆกัน

ปัจจุบันเราทราบว่าความรู้ทางศึกษาศาสตร์ หรือศาสตร์แห่งการเรียนรู้ ศาสตร์แห่งการเป็นครู ศาสตร์แห่งการสอน นั้น ไม่ได้เป็นเพียง natural gift เท่านั้น แต่บางส่วนเป็น trainable sciences ด้วย ผมคิดว่าการลงทุนค้นคว้า เสริมอุปกรณ์ พัฒนาบุคคล ด้านการเรียนการสอน น่าจะมีน้ำหนักไม่แพ้ hardware software technology ทางการแพทย์ การรักษาพยาบาล ในฐานะที่เราเป็นโรงเรียนแพทย์

คณะฯเรามีงบประมาณส่งอาจารย์ไปศึกษาต่อด้านวิชาชีพ และทุกภาควิชาก็มีคิว มีแผนระยะสั้นยาวในการเสริมความแข็งแกร่งทางวิชาการของ subspecialties ของตนเอง อีกสองด้านของพันธกิจ คือ ความก้าวหน้าทางการทำวิจัย และความก้าวหน้าทางแพทยศาสตรศึกษา ก็น่าสนใจที่จะพัฒนาให้ควบคู่กันไปพร้อมๆกันด้วยเช่นกัน และไม่เพียงเฉพาะเจ้าหน้าที่นักการศึกษาเท่านั้น ทั้ง staff สาย ก ข และแพทย์ใช้ทุน ก็มีบทบาทในการเรียนการสอนไม่น้อย competency พวกนี้มียิ่งเยอะผมว่ายิ่งดี การลงทุนเผลอๆอาจจะถูกกว่าการฝึกอบรมด้านวิชาชีพแพทย์เสียอีก

ผมคิดว่า facilitator บางส่วน หรือแม้กระทั่งทั้งหมดก็ตาม ต้องการ advocacy และ empowerment ที่จะเป็น facilitator ที่ดีขึ้นกันทั้งนั้น ตอนแรกๆที่มีการต่อต้านบ้างก็เพราะเขาถนัดอีกอย่างนึง เห็นประโยชน์ ความดีของแบบอย่างนึงอยู่ ถ้าจะให้เปลี่ยนต้องให้เขาอยากเปลี่ยนโดยการ enabling, mediating และ advocating หรือนัยหนึ่งเทคนิกเดียวกับการทำ health promotion นั้นแหละครับ

===============

ที่พูดมาทั้งหมด ผมยังคงคิดว่าสิ่งที่จะ improve situation มากที่สุดของการเรียนระดับอุดมสึกษานั้น ไม่ได้มาจาก institute แต่น่าจะมาจากตัวนักศึกษาเอง ทั้งในด้าน การลงทุน ความเร็ว ประโยชน์ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ถ้าทำอย่างนี้ได้ ความเคลื่อนไหว พัฒนา จะเป้นในลักษณะ collective being เหมือนฝูงผึ้ง ฝูงนก ที่มี radar มี signal ที่จะสื่อสารบินไปพร้อมๆกันในทิศทางเดียวกันได้ นึกถึงฉากในเรื่อง Finding Nemo ตอนที่ปลาทั้งอวนช่วยกันดึงอวนลงก้นทะเล ถ้าช่วยกันทั้งหมด งานที่ยากเหมือนกับเป็นไปไม่ได้ ก็อาจจะเป็นไปได้ในที่สุด


Posted by : Aquarius , Date : 2006-11-17 , Time : 01:40:17 , From IP : 58.147.116.46

ความคิดเห็นที่ : 21




   


ผมว่าภาพการเรียนในใจแต่ละคนมันไม่เหมือนกันน่ะ ผมคิดว่าพวกเขาไม่ได้เห็นในสิ่งๆเดียวกันน่ะครับคล้ายๆต่างคนเห็นกันแค่บางส่วน แล้วพยายามดึงภาพเหล่านั้นให้ใกล้เคียงของตน คล้ายกับว่าน้องๆมองภาพจริงของข้างยังไม่หมด (เหมือนพี่เลยฮาฮา) และนั้นไม่ใช่ความผิดเขาเลย นี่แหละคือขีดอันจำกัดของลำดับขั้นตอนล่ะ ลองเปลี่ยนมาคิดแบบถอยหลังดูสิ เป้าหมายของทุกคนคือการเป็นหมอที่ดีมีควารู้ความสามารถ ลองให้เขาคิดได้ด้วยตัวเองดูว่า องค์ประกอบในสิ่งที่เขาต้องเป็นนั้นมีอะไรบ้าง อย่าเพิ่งไปยัดเยียดในสิ่งที่เขาต้องเป็น แต่ปล่อยให้เขาค่อยๆควานหาคุณค่าควานหาคำตอบทีละเล็กทีละน้อย แล้วอ้ายที่ว่ามาน่ะต้องการอะไรบ้างต้องทำไงบ้าง คือว่าจะพูดอะไรดีเนียะ คือมันเคว้งค้วางเกินไปหน่อยในช่วงแรกๆน่ะ แต่นั้นแหละที่เป็นสิ่งดีล่ะ คือประเด็นคือเราต้องช่วยให้เขาเห็นภาพครับไม่ใช่ขั้นตอนว่าตัวเองต้องทำยังไง ถ้าเขาสามารถมองภาพมันได้ชัดเจนถูกต้องอย่างที่อาจาย์อยากให้เขามอง ผมว่าเรื่องขั้นตอนนั้นหมูๆครับเขาจะสามารถกำหนดได้ด้วยตัวเขาเอง แต่ PBL SDL ที่ของเราทำนั้นผมว่าพวกเราก็ยังคง fix ขั้นตอยกันอยู่เหมือนเดินน่ะ เหมือนเหล้าเก่าในขวดใหม่ ปัญหาที่จะถูกแก้นั้นมันแก้โดยกรอบเดิมของมันไม่ได้หรอกครับ มันต้องสร้างกรอบความคิดใหม่มาแก้มัน
มิใช่ยัดเยียดแต่เป็นการดึงดูดครับ ผมว่าถ้ามองให้ดีแล้วหลักสูตรเก่าก่อน pbl นั้นเป็นเชิงยัดเยียดมากกว่าครับ PBL นั้นผมว่าไอเดียมันก็ OK แล้วน่ะเพียงแต่เสน่ห์ในการจูงใจมันยังไม่เพียงพอครับ อาจารย์ต้องลองคิดหาลูกเล่นอื่นๆใหม่ๆ มาลองดูครับ PBL SDL นั้นมันไม่ใช่สิ่งที่ไม่ดี มันเป็นสิ่งที่ดีครับและดีมากด้วย เพียงแต่ในแง่ของการนำไปปฏิบัติจริงนั้นมันเกิดปัญหาเท่านั้นแต่นั้นไม่ได้แปลว่ากลยุทธ(strategy)ทางการเรียนรู้ที่วางเอาไว้ไม่ดี มันอาจคนละความหมายกัน สิ่งที่ผมมองว่ามันยังขาดไปก็คือ Tactical strategy น่ะเจ๋งเป้งแล้วครับ ลองคิดTactical ที่จะ support มันให้เกิดได้จริงสิครับ อย่าได้คิดโต้เถียงกันในเชิงstrategy อีกเลยครับ แต่มาร่วมกันคิดในเชิงของ Tactical ว่าจะแก้ปัญหาหรือลดช่องของ ideal กับ reality ยังไงกันดีกว่า


ลองตั้งกระทู้ใหม่ให้น้องๆลองหาข้อบกพร่องทั้งหมดของ PBL SDL ดูสิครับ หลังจากนั้นไม่ต้องเถียงไม่ต้องชี้แจงไม่ต้องเปลียนภาพให้เขาเห็นด้วยการร่ายตัวอักษรโต้ตอบแบบเหตุผลก่อน หยุดไว้ก่อน ทีนี้ ฟัง.........และฟัง.......ฟังความต้องการเขา..........ฟังอารมณ์ของเขา.............ฟังเสียงสะท้อนที่ตกกระทบตรงมุมมองตรงนั้น..............แล้วจึงฟังเนื้อหาในตัวอักษรของเขา แล้วจิตนาการสิว่าภาพที่เห็นคืออะไร รับพวกเขาไว้ในใจ แล้วลองมองภาพนั้นผ่านแว่นที่พวกเขาใส่ดูสิครับ การแก้ปัญหานั้นเราต้องรับมันเข้ามาก่อนครับ อย่าเพิ่งผลักมันออกไปด้วยการโต้แย้งหรือชี้แจงด้วยเหตุผล นั้นไม่ใช่การแก้ปัญหาครับ อย่าเพิ่งเถียงน้องๆครับอย่าเพิ่งให้เหตุผลแก่เขา แต่ให้โปรยเศษขนมปังให้เขาเข้าสู่เหตุผลด้วยตัวเขาเองและนั้นแหละคือเส้นทางที่จะทรงคุณค่าที่แท้จริง คุณค่าไม่ได้อยู่ที่เป้าหมาย มันเรียรายอยู่ตลอดทางเดิน


Posted by : delpiero , Date : 2006-11-21 , Time : 20:09:04 , From IP : 172.29.4.107

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.021 seconds. <<<<<