ความคิดเห็นทั้งหมด : 2

สอบถามเกี่ยวกับการเรียนชั้นคลินิก


    พอจะทราบอยู่บ้างคร่าวๆว่าการเรียนชั้นคลินิกนั้นจะได้รับการจัดกลุ่มนักศึกษาออกเป็นกลุ่มย่อยๆ จึงอยากสอบถามพี่ๆดังนี้ครับ
1. การจัดผู้เรียนเป็นกลุ่มย่อยเช่นA1 A2 มีจำนวนนักศึกษาเท่าใดที่ต้องเรียนร่วมกัน การเรียน การวัดผล และหลักสูตรPBLยังคงใช้คล้ายๆกับชั้นพรีคลินิคหรือไม่ และมีหลักเกณฑ์ที่ใช้จัดกันอย่างไรเช่นตามรูบแบบการเรียนรู้(learning styles)หรือไม่
2. ถ้าเป็นไปตามข้อหนึ่งในข้างต้น กลุ่มย่อยนี้จะใช้ในการเรียนตลอดหนึ่งปีการศึกษาหรือใช้เรียนตลอดในชั้นคลินิก
3. อยากทราบว่าพี่ๆชั้นปี่ที่สี่ ปีการศึกษา2549 รุ่น Med 31 ทางคณะไม่สามารถจัดการเรียนหลักสูตรภาษาอังกฤษได้เนื่องจาก มีผู้ประสงค์จะเรียนน้อย หรือว่าเป็น นโยบายของคณะที่จะยุบกลุ่มที่เรียนเป็นภาษาอังกฤษในชั้นคลินิกครับ
4.เนื่องจาก นศพ.ชั้นปีที่สามมีกลุ่มที่เรียนPBLภาษาอังกฤษอยู่สามกลุ่ม กลุ่มละเก้าคน รวมแล้วยี่สิบเจ็ดคน จำนวนนักศึกษายี่สิบเจ็ดคนเพียงพอหรือไม่กับการจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ เนื่องจากสังเกตุจากการเรียนของพี่ๆชั้นปีที่ห้า พบว่ายังคงมีการเรียนหลักสูตรภาษาอังกฤษอยู่จะวงเล็บอักษร(E) ด้านหลังชื่อของผู้เรียน
5.ผมพอจะเข้าใจว่าการเรียนหลักสูตรภาษาอังกฤษในการเรียนชั้นคลินิกนั้นเป็นไปได้ยากในการจัดการเรียนการสอน หากจะต้องเรียนในทุกวอร์ด แต่ในบางวอร์ดเท่าที่ผมทราบจากรุ่นพี่เช่น ภาควิชาสูตินรีเวช สามารถจัดหลักสูตรนี้ได้ พี่ๆที่เรียนมาเล่าให้ฟังถึงความน่าสนใจและความประทับใจในการเรียน รวมทั้งยังมีโอกาสได้ฝึกทักษะทางภาษาอังกฤษให้พัฒนาให้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย ส่วนวอร์ดที่ไม่ได้สอนหลักสูตรภาษาอังกฤษก็ยังคงมีเรียนเหมือนกับเพื่อนๆกลุ่มที่เรียนภาษาไทย

สิ่งที่ผมถามข้างต้นอาจดูไกลตัวไปมาก ขณะนี้เป้าหมายระยะใกล้มากที่สุดกระผมควรคิดถึงเรื่องเตรียมความพร้อมการสอบcomprehensive ก่อน ถ้าสอบผ่านถึงจะได้เรียน และกล่าวถึงการเรียนชั้นคลินิก แต่ก็อดเสียไม่ได้ที่จะสงสัยในเรื่องดังกล่าวและจุดประสงค์หลักในการตั้งกระทู้นี้ขึ้นมา ผมมองเห็นประโยชน์ของการเรียนหลักสูตรภาษาอังกฤษอยู่ไม่น้อย เพราะภาษาอังกฤษเป็นทักษะ ต้องได้รับการฝึกฝน มันถึงจะติดตัวเรา ด้วยการเรียนวิชาแพทย์ก็หนักอยู่แล้วจึงเป็นการยากที่จะหาเวลาฝึกด้วยตนเอง ดังนั้นหากยังมีการดำเนินของหลักสูตรดังกล่าว ผมเองก็จะได้มีโอกาสฝึกฝนทักษะให้พัฒนายิ่งขึ้น ก็รบกวนพี่ๆที่พอจะทราบข้อมูลข้างต้น หรือพี่ๆคนใดที่มีหลักการเตรียมตัว เตรียมใจสำหรับบันไดก้าวที่สูงชันมากที่จะต้องก้าวผ่านไปด้วยความมั่นคง กรุณาช่วยแนะแนวน้องๆในการเรียนชั้นคลินิก ผมก็ยินดีที่จะรับฟังคำแนะนำของรุ่นพี่เสมอครับ
ขอบคุณสำหรับคำแนะนำล่วงหน้าครับ
นศพ.ปีสาม


Posted by : นศพ.ชั้นปีที่สาม , E-mail : (ขอบคุณครับ) ,
Date : 2006-10-27 , Time : 03:13:04 , From IP : ppp-58.9.46.91.revip


ความคิดเห็นที่ : 1


   ตอบให้เท่าที่รู้นะ
1. การจัดผู้เรียนเป็นกลุ่มย่อยเช่นA1 A2 มีจำนวนนักศึกษาเท่าใดที่ต้องเรียนร่วมกัน การเรียน การวัดผล และหลักสูตรPBLยังคงใช้คล้ายๆกับชั้นพรีคลินิคหรือไม่ และมีหลักเกณฑ์ที่ใช้จัดกันอย่างไรเช่นตามรูบแบบการเรียนรู้(learning styles)หรือไม่
ประมาณ 7-8 คนแล้วแต่ภาควิชา แต่กลุ่มจะมีหลากหลายมาก ขึ้นอยู่กับว่าเขาต้องการให้น้องรู้อะไร เช่น ออก OPD ห้องละไม่เกิน 2 คน ,CRT คล้ายๆ PBL จะมีประมาณ 7 คน, topic ฯลฯ ส่วนเรื่องจัดตาม learning style คิดว่าไม่มีนะ เพราะเจ้าหน้าที่ที่จัดกลุ่มก็จะจัดตามรายชื่อที่ส่งมา ที่อาจมีผลต่อการจัดกลุ่มคือ เพศ PBL E (ซึ่งจะได้ขึ้น med ก่อน) และ น่าจะเป็นเกรดนะ

2. ถ้าเป็นไปตามข้อหนึ่งในข้างต้น กลุ่มย่อยนี้จะใช้ในการเรียนตลอดหนึ่งปีการศึกษาหรือใช้เรียนตลอดในชั้นคลินิก
ใช้ตลอดกอง (ภาควิชา) ที่ขึ้น อาจเปลี่ยน แต่คล้ายๆ เดิมเมื่อขึ้นกองต่อไป

3. อยากทราบว่าพี่ๆชั้นปี่ที่สี่ ปีการศึกษา2549 รุ่น Med 31 ทางคณะไม่สามารถจัดการเรียนหลักสูตรภาษาอังกฤษได้เนื่องจาก มีผู้ประสงค์จะเรียนน้อย หรือว่าเป็น นโยบายของคณะที่จะยุบกลุ่มที่เรียนเป็นภาษาอังกฤษในชั้นคลินิกครับ
4.เนื่องจาก นศพ.ชั้นปีที่สามมีกลุ่มที่เรียนPBLภาษาอังกฤษอยู่สามกลุ่ม กลุ่มละเก้าคน รวมแล้วยี่สิบเจ็ดคน จำนวนนักศึกษายี่สิบเจ็ดคนเพียงพอหรือไม่กับการจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ เนื่องจากสังเกตุจากการเรียนของพี่ๆชั้นปีที่ห้า พบว่ายังคงมีการเรียนหลักสูตรภาษาอังกฤษอยู่จะวงเล็บอักษร(E) ด้านหลังชื่อของผู้เรียน
ไม่ทราบครับ ไม่ได้อยู่รุ่น 30 ครับ แต่กลุ่ม PBL E นี่ก็ยังมีให้เห็น แม้ว่าจะไม่ได้ PBL เป็นภาษาอังกฤษก็ตาม ไม่ทราบวัตถุประสงค์เหมือนกัน

5.ผมพอจะเข้าใจว่าการเรียนหลักสูตรภาษาอังกฤษในการเรียนชั้นคลินิกนั้นเป็นไปได้ยากในการจัดการเรียนการสอน หากจะต้องเรียนในทุกวอร์ด แต่ในบางวอร์ดเท่าที่ผมทราบจากรุ่นพี่เช่น ภาควิชาสูตินรีเวช สามารถจัดหลักสูตรนี้ได้ พี่ๆที่เรียนมาเล่าให้ฟังถึงความน่าสนใจและความประทับใจในการเรียน รวมทั้งยังมีโอกาสได้ฝึกทักษะทางภาษาอังกฤษให้พัฒนาให้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย ส่วนวอร์ดที่ไม่ได้สอนหลักสูตรภาษาอังกฤษก็ยังคงมีเรียนเหมือนกับเพื่อนๆกลุ่มที่เรียนภาษาไทย
ภาคสูมีการให้ present topic Management of abnormal pap smear เป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งน่าสนใจดีครับ

สิ่งที่ผมถามข้างต้นอาจดูไกลตัวไปมาก ขณะนี้เป้าหมายระยะใกล้มากที่สุดกระผมควรคิดถึงเรื่องเตรียมความพร้อมการสอบcomprehensive ก่อน
ดีครับ ขอให้น้องสอบผ่าน
ถ้าสอบผ่านถึงจะได้เรียน และกล่าวถึงการเรียนชั้นคลินิก แต่ก็อดเสียไม่ได้ที่จะสงสัยในเรื่องดังกล่าวและจุดประสงค์หลักในการตั้งกระทู้นี้ขึ้นมา ผมมองเห็นประโยชน์ของการเรียนหลักสูตรภาษาอังกฤษอยู่ไม่น้อย เพราะภาษาอังกฤษเป็นทักษะ ต้องได้รับการฝึกฝน มันถึงจะติดตัวเรา

เห็นด้วย ข้อมูล เนื้อหาส่วนใหญ่ก็เป็นภาษาอังกฤษ มัน force เราไปในตัวว่าถ้าไม่อ่าน text ก็จะไม่มีความรู้ใหม่เอี่ยมแบบ evidence based เอามา discuss เลย

ด้วยการเรียนวิชาแพทย์ก็หนักอยู่แล้วจึงเป็นการยากที่จะหาเวลาฝึกด้วยตนเอง ดังนั้นหากยังมีการดำเนินของหลักสูตรดังกล่าว ผมเองก็จะได้มีโอกาสฝึกฝนทักษะให้พัฒนายิ่งขึ้น ก็รบกวนพี่ๆที่พอจะทราบข้อมูลข้างต้น หรือพี่ๆคนใดที่มีหลักการเตรียมตัว เตรียมใจสำหรับบันไดก้าวที่สูงชันมากที่จะต้องก้าวผ่านไปด้วยความมั่นคง กรุณาช่วยแนะแนวน้องๆในการเรียนชั้นคลินิก ผมก็ยินดีที่จะรับฟังคำแนะนำของรุ่นพี่เสมอครับ

เรียนพื้นฐาน + จำ + เข้าใจให้ดีแล้วกัน จะทำให้เรียนคลินิกง่ายขึ้นเยอะ

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำล่วงหน้าครับ
นศพ.ปีสาม

โชคดีครับ


Posted by : รุ่นพี่ , Date : 2006-10-27 , Time : 22:08:46 , From IP : 172.29.4.150

ความคิดเห็นที่ : 2


   ขอบขอบคุณ รุ่นพี่ ที่สละเวลามาตอบคำถามให้นะครับ ข้อมูลและคำแนะนำที่ได้รับ มีประโยชน์มากๆครับ และผมจะนำคำแนะนำที่รุ่นพี่ได้ให้ไว้ นำไปใช้เพื่อเป็นแพทย์ที่ดีในวันข้างหน้า ขอขอบคุณอีกครั้งครับ
นศพ.ชั้นปีที่สาม


Posted by : นศพ.ชั้นปีที่สาม , E-mail : (ขอบคุณมากครับ) ,
Date : 2006-10-28 , Time : 00:20:17 , From IP : ppp-58.9.40.164.revi


ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.011 seconds. <<<<<