ความคิดเห็นทั้งหมด : 12

Debate XCVI: Contemplative Education


   Debate XCVI: Contemplative Education

ในการเรียนการศึกษานั้น อาจจะแบ่ "พิสัย" เป็น 3 ประการคือ cognitive, psychomotor และ affective หรือ attitude domains ทั่วๆไปหมายถึงปัญญาพิสัย ได้แก่ความรู้ในเนื้อหา จลนพิสัยได้แก่ความเชี่ยวชาญชำนาญในการใช้ ในการลงมือทำ ในการแสงดออก และเจตคติพิสัยคือากรมีอารมณ์ความคิดสอดคล้องกับวัตถุประสงค์อันดีของศาสตร์นั้นๆ วิธีการเรียนแบบต่างๆที่ไม่เหมือนกัน ส่วนหนึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าต้องการเน้น หรือให้ได้ตรงกับพิสัยไหน เพราะต่างวิธีก็จะได้ต่างมิติ

อ่านมาก ท่องมาก ฟังมาก ทำความเข้าใจมากก็จะเกิดปัญญาความรู้ ดูตัวอย่างเยอะๆ ลองทำใน model มากๆ เข้าช่วยบ่อยๆ มีคนมาคุมให้ทำ ก็จะเพิ่มความเชี่ยวชาญชำนาญ แต่ทว่าอย่างใดจึงจะทำให้เกิด "เจตคติ"? ให้คะแนนเมื่อทำดี? ทำโทษเมื่อทำผิด? สังคม role model ฯลฯ ปัญหาอยู่ที่อะไรกันแน่ที่เป้นกลไกสำคัญในการ shape thinking process หรือสร้าง thinking model ในสมองเรา?

การณ์ก็ปรากฏว่า science and technology มีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว แต่ morality หรือ ethics กำลัง collapse ลง มีนับสำคัญลดลง อะไรที่สมัยก่อนคิดได้แต่ไม่กล้าพูดออกมาดังๆ ก็กลายเป็นเรื่องธรรมดาที่จะพูดคุยกัน เป็นสทธิ เป็น autonomy ไปโน่นที่จะคิดอย่างไร ทำอย่างไรก้ได้ รวมไปถึงการคิด การทำงาน อย่างเห็นแก่ตัว เห็นแก่ได้ กลุ่มนักการศึกษาจึงได้รวมกันแลกเปลี่ยน ปรึกษา และออกมาเป็นอีก model หนึ่งของการศึกษาที่น่าสนใจ นั่นคือ contemplative education

Contemplative education เป็นระบบการเรียนในศาสตร์ใดๆก็ได้ เน้นที่ประสบการณ์การเรียนนอกเหนือจาก outcome และข้อสำคัญคือการพัฒนารับรู้ถึง "ความเชื่อมโยง" ของสองตำแหน่ง คือ ศาสตร์ที่เราเรียนรู้อยู่นี้ รู้แล้วมันทำให้เราเป้นคนดีขึ้นกว่าตอนที่ไม่รู้อย่างไร มันเพิ่ม internal value เข้าไปได้อย่างไร กบัอีกความเชื่อมโยงคือ ศาสตร์ที่เรากำลังเรียน กำลงัจะกลายเป็นอาชีพของเรานี้ มันมีประโยชน์ ความสัมพันธ์อย่างไรกับสังคม คนรอบข้าง ชุมชน และสิ่งแวดล้อม

เชื่อว่าสาเหตุที่ morality ขาดหายไปในทุกๆสาขาการศึกษา เป็นเพราะการเรียนแบบเป็นเศษๆ เป็นส่วนๆ ไม่เห็นความเชื่อมโยงของ "คุณค่า" ที่ว่า ดังันั้น value จึงสามารถ shift ไปเป็นเรื่องอื่นๆที่เป็นผลพลอยได้ เช่น ค่าตอบแทน เช่นฐานะทางสังคม เงินทอง ไปแทน ถ้าเราสามารถบรรจุความทเชื่อมโยงของ value ของศาสตร์ต่างๆนี้ลงไปในการเรียน คุณธรรม จริยธรรมจะตามมาเอง หรือจะไม่หายไปไหน เป็นวิศวกร เก่งก็เพราะเราสมารถออกแบบสร้างถนน สร้างตึกได้ปลอดภัย เป็นงานที่มีความรับผิดชอบสูง ต้องมีหน้าที่ภาระสูง เป็นคุณค่าภายใน เป้นงานที่เมื่อทำได้ดี ไม่โกง spec ใช้วัสดุก่อสร้างที่ได้มาตรฐานตามที่หลักวิชาคำนวณไว้ สร้างถนน สร้างตึกออกมาก็จะปลอดภัย มั่นคง ประชาชนมีความสุข ความเชื่อมโยงของ intrernal value ของตนเองกับศาสตร์ และศาสตร์กับสิ่งแวดล้อมสังคมนี้ เป็นเสมือนหิริโอตัปปะ และเป็นเสมือนการสร้างความรู้สึกถึงหน้าที่ความรับผิดชอบต่อคนอื่น มีการคำนึงถึงผลกระทบต่อผู้อื่นมาสมดุลกับคุณค่าของตนเองได้ตลอดเวลา

อาชีพแพทย์นั้น สามารถหา internal value ได้ตอนไหน? ตอนได้เงินเเดอน เลื่อนขั้น หรือได้ตำแหน่งวิชาการ? internal value ของแพทย์อาจจะได้อีกตอนหนึ่งคือ ตอนที่เรากำลังปฏิบัติหน้าที่ความเป็นเพทย์ ก็เป็นไปได้ ตอนที่ นศพ. ทำแผลให้คนไข้ อาจจะไม่ได้สังเกตว่าคนไข้เขาขอบคุณเราอยู่จากทางหน้าตา ความรู้สึก ตอนที่เรามาคุยทักทายปราศัยตอนราวน์ ทั้งๆที่ยังไม่ได้สั่ง order อะไรเลย แตกิจกรรมนี้สร้างความอบอุ่นใจ ความมั่นใจ และความสัมพันธ์บวกที่ว่าคนกลุ่มนี้มาทำงานเพื่อคลายทุกข์ให้เขา ถ้าเราทำงานของเราให้ดี ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และคนอื่นๆเป็นอย่างไร? แผลหายเร็ว เขากลับไปหาลูกเมียที่บ้านได้เร็ว ทำงานได้เร็ว ประหยัดค่าใช้จ่าย ฯลฯ ไม่ใช่เรื่องยากเลยที่เราจะ aware เรื่องเหล่านี้

แต่เราได้ awareness เรื่องเหล่านี้บ้างหรือไม่?

ถ้า aware เรื่องเหล่านี้แล้ว เรารู้สึกอย่างไรกับงานที่ทำอยู่ปัจจุบัน และงานที่เรากำลังจะทำในอนาคต?

ก็อาจจะเป็นประเด็นที่น่าสนใจ น่าวิเคราะห์ น่าจะสะท้อน (เมื่อพอมีเวลา)

ลองเคาะลงไปใน google หาคำ contemplative education แล้วลองมาอภิปรายกันดูไหมว่ามันคืออะไร ทำอย่างไร ดีไม่ดีตรงไหน?

Be Civilized, Be Positive, and Be Mature




Posted by : Phoenix , Date : 2006-07-03 , Time : 00:55:47 , From IP : 124.157.177.49
============================================
ความคิดเห็นที่ : 1
กระผมคิดว่า ตราบใดที่ โลก มีสุข และทุกข์ นั้น การเรียนรู้ก็เพื่อตามหาสิ่งเหล่านี้ ไม่ว่ามาจากกระบวนการใด ก็เพื่อ ความสุข และหนีความทุกข์
หากสามารถหามาได้โดยวิธีที่ถูกต้อง และครบถ้วน ไม่จำเป็นต้องเป็นแค่ จิตปัญญาศึกษา
แต่สภาวะที่มนุษย์มีเหนื่อย มีว้าวุ่น มีเห็นแก่ตัว ไม่ยอมพิจรณาคุณค่าต่างๆ ให้ถ่องแท้ ย่อมเข้าถึงความไม่เบียดเบียนได้ยากยิ่ง

การใคร่ครวญ ก็เป็นสิ่งจำเป็น เป็นการช่วยเตือนสติไม่ให้หลงใหล สิ่งที่ไม่น่าหลงใหล ทุกข์ควรกำหนด รู้ รู้ว่า อะไรคือทุกข์ ทำแล้วจะเกิดอะไร
วิธีแก้ปัญหา คืออะไร

สรุป คือ ไม่ว่าสอนเท่าไหร่ ถ้ามนุษย์ไม่ขวนขวายจะหามาใส่ตัวเองคงยากที่บ่มเพาะให้เจริญ แต่คนจะหา มาใส่ตัว จะกีดขวางเท่าไหร่คงหามาได้เอง

Posted by : fahrenheit911 , Date : 2006-09-04 , Time : 01:43:02 , From IP : 125.24.145.160
=============================================

ความคิดเห็นที่ : 2
วันอังคารที่ 24 ตุลาคม 2549 นี้ มีบรรยายพิเศษเรื่อง
เสวนา "จิตตปัญญาศึกษา" Contemplative Education ณ ห้องทองจันทร์ เวลา 14.30-16.30
โดย นพ.วิธาน ฐานะวุฑฒ์ และ อาจารย์ณัฐฬส วังวิญญู
ขอเชิญทางผู้สนใจเข้ารับฟังและอภิปราย

อาจารย์วิธาน และอาจารย์ณัฐฬส จบการศึกษาวิชา Contemplative Education (จิตตปัญญาศึกษา) มาจากมหาวิทยาลัยนาโรปะ ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้จัด workshop แก่บุคลากรด้านการศึกษา และบุคลากรด้านการดูแลสุขภาพ ว่าด้วยการใช้หลักการการสื่อสารการฟังอย่างมีเมตตากรุณา บูรณาการกับความรู้ทางวิชาชีพได้ทุกสาขา ซึ่งบุตรชายอาจารย์วิจารณ์ พานิช ก็กำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยนาโรปะอยู่ ณ ขณะนี้

เรื่องจิตตปัญญาศึกษานี้กำลังเป็นที่สนใจในหมู่นักการศึกษา มีโครงการวิจัยดำเนินอยู่โดยมหาวิทยาลัยมหิดล และคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กลุ่มที่สนใจเรื่องนี้ เช่น กลุ่มจิตต์วิวัฒน์ ที่มี ศ.นพ.ประเวศ วะสี, นายแพทย์โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ผอ.สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ อยู่ในกลุ่มด้วย



Posted by : Phoenix , Date : 2006-10-11 , Time : 16:22:29 , From IP : 172.29.3.231

ความคิดเห็นที่ : 1




   จิตปัญญาศึกษา(Contemplative Education)


คอลัมน์ จิตวิวัฒน์
จากมติชน

โดย จารุพรรณ กุลดิลก แผนงานพัฒนาจิตเพื่อสุขภาพ มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) www.jitwiwat.org


ประมาณครึ่งปีก่อน มีบทความจิตวิวัฒน์ที่ชื่อว่า "การเรียนรู้ด้วยใจอย่างใคร่ครวญ" เขียนโดยวิจักขณ์ พานิช นักเรียนไทยที่มหาวิทยาลัยนาโรปะ ประเทศสหรัฐอเมริกา (มหาวิทยาลัยแห่งนี้ เน้นการเรียนรู้คุณค่าของชีวิต เป็นมหาวิทยาลัยนอกกระแสหลักที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งในขณะนี้)


โดยวิจักขณ์ แปลมาจากคำว่า Contemplation ซึ่งเป็นชื่อวิชาที่นักการศึกษาระดับแนวหน้าของโลกกำลังให้ความสนใจอย่างยิ่ง เพราะเป็นวิชาที่สามารถแก้ปัญหาในเรื่องการเรียนรู้ของมนุษย์อย่างได้ผล เนื่องจากปัญหาของมนุษย์ที่พบเห็นอยู่เสมอ คือบางครั้งคนเก่งอาจตัดสินใจทำอะไรลงไปโดยหลงลืมแง่มุมของจริยธรรม หรือคนมีจริยธรรมอาจขาดศิลปะในการทำงานให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม


สิ่งเหล่านี้ได้รับการอธิบายจากผู้ทรงคุณวุฒิทั่วโลก ว่าเป็นผลมาจากการศึกษาอย่างแยกส่วน วิชาความรู้กับความจริงของชีวิตถูกสอนแยกกันโดยสิ้นเชิง เราจึงไม่รู้ว่าคุณค่าของความเป็นมนุษย์ที่แท้คืออะไร คุณภาพด้านนอกและด้านในของมนุษย์จึงไม่สอดคล้องกลมกลืนไปด้วยกัน


ดังนั้น ภายใต้ความคิดกระแสหลักทั้ง 2 สายในปัจจุบัน คือ ปัจเจกเสรีนิยมและสังคมนิยมที่ต่อต้านการแบ่งแยกชนชั้น ซึ่งต่างพัฒนาไปคนละทิศอย่างสุดขั้ว จึงล้วนไม่สามารถทำให้มนุษย์พบกับอิสรภาพอย่างแท้จริงได้ และหากปราศจากการใคร่ครวญอย่างจริงจัง ย่อมจะปักใจเชื่อไปตามกระแสใดกระแสหนึ่งอย่างสุดโต่ง


แต่ถ้าตั้งโจทย์ให้กับสังคมเสียใหม่ว่า มนุษย์ทุกคนล้วนมีทั้งความเก่งที่จะสามารถดำรงตนให้อยู่รอด และมีความดีที่ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น สามารถรังสรรค์ชุมชนของตนให้น่าอยู่ ยังจะเกิดการต่อสู้เพื่อกระแสใดกระแสหนึ่งอีกกระนั้นหรือ


ดังนั้น หนทางที่ตรงและเร็วที่สุดในการทำให้มนุษย์อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขคือ การปฏิวัติการเรียนรู้ของมนุษย์ทั้งหมด เพื่อบ่มเพาะให้เป็นทั้งคนเก่งและคนดี


ซึ่งในที่นี้หมายถึงเป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในศาสตร์ที่ตนศึกษาอย่างถ่องแท้ สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม


โดยสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ ต้องมีการพัฒนาคุณภาพขั้นพื้นฐานของมนุษย์ในระดับจิตวิญญาณหรือจิตสำนึกใหม่ ที่รู้จักรับผิดชอบต่อการดำรงอยู่ของสังคมและมีหัวใจที่จะดูแลโลกให้ร่มเย็นเป็นสุขสืบไป


อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่เรื่องง่ายที่เราจะสร้างทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพอย่างที่ฝัน เนื่องจากศาสตร์แนวหน้าต่างๆ ล้วนมีความยากและซับซ้อน เพียงการถ่ายทอดแต่ละวิชาให้นักเรียนเข้าใจก็เป็นเรื่องยากอยู่แล้ว


ดังนั้น การจะนำเรื่องแก่นปรัชญาในเชิงคุณธรรมจริยธรรมของแต่ละศาสตร์มาประยุกต์ให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรม เป็นเรื่องยากเสียยิ่งกว่า และเป็นที่รู้กันว่าเรื่องใดยาก จะทำให้นักศึกษาส่วนใหญ่เกิดความท้อใจและเบื่อหน่ายต่อการเรียนรู้ในที่สุด


ดังนั้น เมื่อจบออกไป คนเหล่านั้นจะยังคงมีความสับสนในชีวิต วิชาการก็ไม่แม่นยำ แก่นแท้ก็ไปไม่ถึง เป็นอันตรายต่อการสร้างชาติอย่างยิ่ง เพราะถ้าบุคลากรในประเทศไม่สามารถนำวิชาความรู้มาแก้ไขความทุกข์ซึ่งเป็นเรื่องจริงของชีวิตได้ มิหนำซ้ำยังเอาไปหาประโยชน์ใส่ตัว เบียดเบียนผู้อื่นและเกิดการบริโภคอย่างเกินพอดี ยิ่งจะก่อให้เกิดปัญหาขึ้นในสังคม จนกลายเป็นสังคมแห่งความทุกข์


จนเมื่อถึงวันหนึ่งที่ความสุขด้านนอกตัวไม่สามารถตอบสนองต่อเหตุแห่งทุกข์ที่แท้จริงของคนในสังคมได้แล้วนั่นแหละ จึงค่อยย้อนกลับมาสู่ประตูธรรม หันหน้าเข้าพึ่งพาความรู้ที่ช่วยเยียวยาจิตใจ เช่น หลักศาสนาของตน เป็นต้น


เหล่านี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง และเป็นเรื่องน่าเสียดาย หากบุคลากรของชาติมัวไปเสียเวลากับสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาชาติโดยรวม กว่าจะเข้าใจชีวิตและหน้าที่ของความเป็นมนุษย์ อาจใช้เวลาเกือบทั้งชีวิต


ซึ่งเราไม่สามารถรอได้นานขนาดนั้นแล้ว


เนื่องจากวิกฤตการณ์ต่างๆ ในปัจจุบันกำลังรุมเร้าเข้ามา ทั้งภัยธรรมชาติและภัยที่เกิดขึ้นจากน้ำมือของมนุษย์เอง เป็นสัญญาณบอกเหตุว่าถึงเวลาแล้วที่มนุษย์ทั้งหมดจะต้องปรับเปลี่ยนแนวคิด


และหันมาร่วมมือกันแก้ไขสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต


มีความพยายามของกลุ่มคนหลายกลุ่มทั่วโลก ที่ร่วมกันพัฒนาวิธีการเรียนรู้ของมนุษย์ ให้สามารถเลือกใช้วิชาการต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ มาประสานเชื่อมโยงกันอย่างชาญฉลาด เพื่อแก้ไขในสิ่งที่มนุษย์เคยทำผิดพลาดไว้กับโลกและสิ่งแวดล้อม เรียนรู้ที่จะอยู่กับธรรมชาติและเพื่อนมนุษย์อย่างอ่อนน้อมอ่อนโยน


วิชาเหล่านี้รวมเรียกว่าจิตตปัญญาศึกษา หรือการศึกษาที่เน้นการพัฒนาจิตใจ ซึ่งเป็นคุณภาพด้านในของมนุษย์ เพื่อให้เกิดความตระหนักรู้ถึงคุณค่าของสิ่งต่างๆ โดยปราศจากอคติ ไม่แบ่งแยกหรือตัดสิน ถูก-ผิด ขาว-ดำ


ซึ่งการเรียนรู้แบบนี้จะทำให้เกิดความรักความเมตตา มีจิตสำนึกต่อส่วนรวม และเป็นการร่วมสร้างสังคมพื้นฐานปัญญา (Wisdom-Based Society)


การเรียนรู้หลักๆ ของจิตตปัญญาศึกษาคือ ศาสตร์ต่างๆ บนโลกที่สามารถอธิบายความเป็นหนึ่งเดียวของทุกสรรพสิ่ง และทำให้ทุกคนเข้าใจได้อย่างง่ายๆ


เช่น ความรู้เรื่องนิเวศวิทยาแนวลึก (Deep Ecology) หรือจักรวาลวิทยา (Cosmology) เป็นต้น รวมทั้งการฝึกฝนในเรื่องของจิตใจ การฝึกสติ สมาธิ ซึ่งเป็นเรื่องที่สมควรปฏิบัติควบคู่ไปกับวิชาในห้องเรียน เพื่อให้เกิดการเปิดรับข้อมูลหรือความรู้อย่างเต็มที่ สุขภาพกายและใจจะดีขึ้น ผลการเรียนย่อมจะดีขึ้นด้วย เรียกว่าเรียนอย่างมีความสุข


ซึ่งมีงานวิจัยมากมายทั่วโลกที่อธิบายปรากฏการณ์เหล่านี้อย่างเป็นสากล และหนทางในการฝึกฝนจิตใจ ก็มีมากมายหลายวิธีตามความเหมาะสมกับคนแต่ละวัย มีทั้งความสนุกและได้สติ-สมาธิไปพร้อมๆ กัน เช่น การฝึกโยคะ การรำกระบอง เป็นต้น


นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับชุมชน เช่น ศิลปะ ดนตรี กิจกรรมอาสาสมัคร กิจกรรมไดอะล็อค (การสนทนาที่เน้นการฟังอย่างไม่ตัดสิน เกิดสติและปัญญาร่วมกันในวงสนทนา) เป็นต้น การรีทรีท (Retreat) หรือการปลีกวิเวก เพื่อไปรู้จักตนเอง ซึ่งกำลังเป็นที่นิยม เพราะในภาวะที่จิตสงบ ไม่คิดฟุ้งซ่าน อาจพบคำตอบต่อปัญหาได้อย่างน่าอัศจรรย์


ตัวอย่างเช่น การคิดค้นระบบการร่อนลงจอดของยานอวกาศบนดาวอังคาร ของ ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา ท่านกล่าวว่า ในขณะที่เกิดปิ๊งความคิดขึ้นมานั้น จิตของท่านสงบว่าง ก่อให้เกิดปัญญานั่นเอง


กิจกรรมรีทรีทนี้ กำลังได้รับความสนใจทั่วโลก และหากเยาวชนของชาติมีโอกาสฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ ย่อมจะเป็นเรื่องดีมิใช่น้อย


มหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกเช่น ฮาร์เวิร์ด โคลัมเบีย แมสซาชูเซตส์ ฯลฯ ได้นำเรื่องของจิตตปัญญาศึกษาบรรจุเข้าไปในหลักสูตรในสาขาวิชาต่างๆ แล้ว รวมทั้งสถาบัน The Center for Contemplative Mind in Society ซึ่งเกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของศาสตราจารย์ชื่อดังจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศสหรัฐอเมริกา ได้นำเรื่องเหล่านี้ไปใช้ประกอบในการเรียนการสอนและการอบรมทางวิชาการอย่างเป็นระบบ


นักศึกษาสามารถฝึกฝนกระบวนการเรียนรู้ การใคร่ครวญ อย่างสม่ำเสมอ จนสุดท้ายจะเข้าใจคุณค่าของวิชาชีพได้ด้วยตนเองจริงๆ เกิดความเข้มแข็งและความมั่นใจในการใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเอง ผู้อื่น และสิ่งแวดล้อม


ขณะนี้ได้เกิดภาคีการเรียนรู้จิตตปัญญาศึกษาขึ้นในประเทศไทยแล้วเช่นกัน โดยความร่วมมือของหลายองค์กร เช่น สถาบันอาศรมศิลป์ โรงเรียนรุ่งอรุณ โรงเรียนสัตยาไส สถาบันขวัญเมือง เสมสิกขาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โครงการจิตวิวัฒน์ (แผนงานพัฒนาจิตเพื่อสุขภาพ มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์) มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยมหิดล ฯลฯ


เนื่องจากรากฐานทางวัฒนธรรมที่แท้ของสังคมไทยเป็นเรื่องเดียวกันนี้เอง ดังนั้น การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ รวมทั้งการวิจัยจึงเป็นเรื่องไม่ยากนัก อีกทั้งผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการศึกษาหลายคนมีความตระหนักแล้วว่าถึงเวลาที่คนไทยควรจะกลับมาเรียนรู้ภูมิปัญญาดั้งเดิมของบรรพบุรุษ เพราะเรามีประเพณีและกิจกรรมมากมายที่งดงามและส่งเสริมต่อการพัฒนาจิตใจ หากสามารถนำมาประยุกต์เชื่อมโยงให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตในปัจจุบัน


มีการอธิบายให้ชัดเจนโดยใช้ศาสตร์ใหม่ๆ ชุดคำใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นบนโลก จะทำให้คนเป็นอันมากสามารถมองเห็นและเข้าใจได้อย่างลึกซึ้งมากขึ้น


และย่อมจะเกิดผลต่อการพัฒนาความรู้ให้ไปในทิศทางที่ถูกต้อง ที่ลดการทำลายสิ่งแวดล้อม และการทำร้ายทำลายกัน แต่เกิดเป็นทางออกที่แสดงถึงปัญญาร่วมของมนุษย์ในที่สุด


ความก้าวหน้าในเรื่องจิตตปัญญาศึกษาผู้เขียนจะนำมาเสนอรายละเอียดในคอลัมน์จิตวิวัฒน์เป็นระยะๆ หากท่านผู้ใดสนใจที่จะร่วมแลกเปลี่ยนในเรื่องดังกล่าว สามารถติดต่อข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ NewConsciousness@thainhf.org

***ต้องขออภัยที่copy มาให้อ่าน หลังจากอ่านเข้าใจแล้วจะมาแลกเปลี่ยนความเห็นอีกครั้ง***






Posted by : megumi , Date : 2006-10-12 , Time : 17:49:56 , From IP : 172.29.3.124

ความคิดเห็นที่ : 2




    นักศึกษาแพทย์เป็นทรัพยากรที่มีค่า แต่ผมไม่แน่ใจว่าเราได้เจียรนัยเขาดีหรือยัง เราสอนเขาแบบไหน, No pain No gain ไม่น่าจะเป็นสิ่งที่เหมาะสม แต่เราจะทำให้ช่างที่นี่เข้าใจได้อย่างไร

Posted by : megumi , Date : 2006-10-17 , Time : 19:33:11 , From IP : 172.29.3.124

ความคิดเห็นที่ : 3


   โจทย์ที่คุณ Megumi ถาม เป็นโจทย์สำคัญที่สุดข้อหนึ่งของแพทยศาสตรศึกษา หรือวงการศึกาศาสตร์ทีเดียวครับ

ในสามมิติของการเรียนรู้ ได้แก่ ปัญญาพิสัย จลนพิสัย และเจตคติพิสัย (cognitive, psychomotor, attitude) นั้น สองประการแรกได้มีการพัฒนาทั้งเครื่องมือเรียนรู้ (สอนและเรียน) และเครื่องมือประเมินมามากมายหลากหลาย เหลือแต่มิติที่สามคือ "เจตคติ" ทียังเป็น dilemma อยู่ ทั้งในแง่การพัฒนา (ที่สามารถการันตีผล หรืออย่างย้อยที่สุดก็เข้าใจกลไกการพัฒนา) และการประเมินที่ถูกต้องแม่นยำ

แตที่เราพอทราบตอนนี้ก็คือ attitude นั้น ไม่น่าจะมาทาง passive process ครับ เราไม่สามารถจะ install moral ลงไปได้ง่ายๆเหมือน conditioning method ของ Pavlof (การทดลองหมาน้ำลายไหล) หรืออาจจะจำลองให้เกิด repetitiveness ได้แต่ก็เป๋นแค่ condition ไม่ได้เกิดตาม "ครรลอง" ของการพัฒนา morality ทีแท้จริง

ผลคืออย่างไร?

ผลก็คือ traditional morality เกิดขึ้น แต่ไม่ได้เกิด moral sensitivity อย่างที่อาจารย์สิวลี ศิริไล เคยบรรยายไว้ครั้งหนึ่ง traditional morality ก็คือ cognitive mode ของ morality นั้นเอง นั่งดู list รายการว่าอย่างนี้เรียกว่าดี อย่างนี้เรียกว่าไม่ดี ตาม criteria 1, 2, 3, 4, 5,..... จะเห็นได้ว่าถ้าพิจารณาจาก stages of moral development (Kohlberg) แล้ว นี่เป็นแค่ขั้นที่ 1 ใน 6 ขั้น เท่านั้น คือ pre-conventional stage (punlishment and obedience)

หนทางที่เราจะพัฒนานักศึกษาแพทย์ (หรือพูดใหม่ให้ถูกต้องกว่าก็คือ ให้นักศึกษาแพทย์พัฒนา) morality ต้องมา ฉันทาคติ และเป็น active process ไม่ใช่ passive process

โชคดี (ที่เราอาจจะเผลอมองข้ามไป) คือ resource สำหรับเรื่องนี้มีอยู่เต็มไปหมด เราทำหน้าที่เป็น facilitator ได้ ถ้าให้ "โอกาส" เขา explore เรื่องนี้ และที่ตามมาก็คือถ้าเราคิดว่าเรื่องนี้สำคัญ เราก็ต้อง "จัดเวลา" ให้เรื่องนี้เกิดขึ้นด้วย Key word ที่สำคัญมากๆๆอีกคำก็คือ Empathy หรือที่เป็นของมหาวิทยาลัยเราก็คือ "อตฺตานํ อุปมํ กเร" หรือการเอาใจเขามาใส่ใจเรา

Empathy คือ "One feels what is appropriate for another person"s situation, not one"s own" ซึ่งจะเกิด scenario ที่น่าสนใจได้ 5 แบบ ได้แก่
1. One harms someone.
2. One is an innocent bystander.
3. One blames oneself though innocent
4. One must choose which among several victims to help
5. One is torn between contradictory caring and justice concerns

ถ้าใครเคยเข้าอบรมการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาของ อ. อานนท์ อาจจะจำได้ถึง "วงกลม" ของเรา-ของเขา และวิธีที่จะ "เข้าถึง" คนอื่นๆ ดดยยอมเข้าใจว่า วงของเรานั้นอาจจะยังไม่สมบูรณ์ หรือไม่ได้เข้ากับบริบทของคนอื่นอยู่ก็เป็นไปได้

การเรียนการสอนแบบ PBL ก็ช่วยได้เยอะครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Act I ที่จะทดสอบความอดทน อดกลั้น facilitator มาก เพราะบางทีเด็กนักศึกาก้อ้อมแล้ว อ้อมอีกกว่าจะเข้า Learning objective ที่ตั้งไว้ จริงๆหารู้ไม่ว่า facilitator กำลังมี privilege ได้เห็นกระบวนการคิดก่อหวอดทีละน้อยๆภายในกลุ่มจนคลอดออกมาในที่สุด ดดยที่ facilitator ไม่ต้องไปรบกวนเลย นี่คือศัพยภาพและสิ่งที่เราอยากให้มีการพัฒนาในการสอนแบบ PBL

Model PBL หรือ scenario-based discussion จึงเป้นวิธีหนึ่งที่เราคิดว่าอาจจะเป็นคำตอบของ attitude development (หรือ moral development) ที่คุณ Megumi ปราถนา

ใน Workshop comtemplative education ที่เราจะจัดครั้งแรกที่สวนสายน้ำอาทิตย์นี้จึงจะเห็นได้ว่ามีการ "เน้น" เรื่องการฟัง และการรับรู้อย่างมีเมตตา การปลดปล่อย self ว่าเราเป็นครู เราแก่ เรารู้มาก แต่เปิดจิตแห่งนักศึกษาที่เทอดทูนองค์ความรู้ เทอดทูนประสบการณ์ของผู้อื่นว่ามีค่าไม่แพ้ของเรา เป็นพื้นฐานเบื้องต้นที่สำคัญที่สุด เหมือนกับการที่เด็กๆจะเรียนรู้เรื่อง autonomy และความรู้สึกของผู้อืนได้ตามธรรมชาติ เป็น autonomous morality ไม่ใช่เป็น Artificial morality ซึ่งเป็นการพัฒนาตามระบบ punishment หรือตามระบบอ่านหนังสือ คนบอก ครูสอน นลฯ พูดไปพูดมาคือการเรียนรู้โดยใช้ปัญยาตามหลักกาลามสูตรนั้น่เอง จึงเป็น morality ที่หนักแน่น และยั่งยืนกว่าแบบ install programme



Posted by : Phoenix , Date : 2006-10-17 , Time : 23:11:49 , From IP : 222.123.44.130

ความคิดเห็นที่ : 4


   มีบทความที่มีชื่อเสียงและถูกนำมาอ้างถึงชิ้นหนึ่ง ผมคิดว่าน่าสนใจ ขอตัดต่อและตีความ เพราะคิดว่าตรงกับที่คุณ megumi กระทู้ไว้

Aequaimitas by Sir William Osler
(บางทีผมจะขอ quote เป็นภาษาอังกฤษลงมาเพื่อประโยชน์ในการศึกษาตีความ เพราะผมไม่แน่ใจว่าผมแปลถูกต้องหรือไม่)
A valedictory address (หรือ fairwell speech, "ปัจฉิมวาทะ") delivered at the University of Pennsylvania, May 1, 1889 คำว่า Aequanimitas เป็นภาษาละตินแปลว่า "even mind, composure" ถ้าดูในหนังสือตำราศาสนาพุทธภาษาอังกฤษจะพบมีคนแปล "อุเบกขา" ว่า Equanimity ซึ่งผมคิดว่าใกล้เคียงกันมากทีเดียว

เจตคติเป็นของที่ลึกซึ้ง ขบวนการที่คุณ megumi ถามว่าจะทำให้เกิดได้อย่างไรนั้น อย่างน้อยที่สุดเราต้องไมพยายามหลอกตัวเองว่าให้อะไรไปตื้นๆก็เกิดได้ เพราะเราอยากจะให้เรื่องที่สำคัญๆนั้นมีรากแก้วที่หยั่งลึกพอสมควร เพื่อกันเวลาถูกโยกคลอน (จาก society จากสิ่งแวดล้อม) จะได้ไม่ถอนราก ถอนโคนง่ายเกินไป อ.ประเวศย้ำเสมอว่าในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งแวดล้อมผู้ใหญ่ผู้โตผู้มีอำนาจ ถ้ามี "ขันที" กับ "ศรีธนญชัย" เยอะๆจะล่มจมได้ง่าย เพราะขันทีจะเพ็ดทูลแต่อะไรที่ดีๆงามๆเพื่อตนเองจะได้แสวงประโยชน์ ศรีธนญชัยก็จะปลิ้นปล้อน กลิ้งไปเรื่อยๆไม่มีสาระแก่นแท้ของสิ่งที่คิดที่ทำ ในรายงานเรื่อง Medical Professionalism ที่สรปหลักการข้อแรกคือ Doctor must consider the primacy welfare of the patients เป็นสำคัญที่สุด แถมยังเน้นด้วยว่าจะต้องไม่ถูก interfered โดย marketing force, exisgency of administration, etc เพราะคนที่ช่วยกันร่างกฎบัตรนี้ขึ้นมา เล็งเห็นแล้วว่ายุคที่การตลาด การเงิน การบริหารจัดการ ธุรกิจ แบบปัจจุบันนี้เป็น "ภาวะคุกคาม" ที่สำคัญต่อ medical professionalism

คำตอบแรกต่อคำถามของคุณ megumi ก็คือ "เวลาที่พอเพียง" ก่อนครับ คำๆนี้มีความหมาย เพราะเราจะได้ยินคำ "ไม่มีเวลา" บ่อยมาก แต่จริงๆแล้วทุกคนมีเวลาเท่ากันแหละครับ คือคนละ 24 ชั่วโมงต่อวัน แต่คนเราทำกิจกรรมต่างๆในแต่ละวันไม่เหมือนกัน เพราะเราจะมีการ "จัดลำดับความสำคัญ" ของกิจกรรมนั้นๆไว้เสมอ ถ้าสำคัญมากก็จะมีเป๊ก order อยู่ต้นๆ สำคัญรองๆก็ไล่ลงไป คำถามเช่น "วิชาที่สำคัญ" ถ้าจะให้นักศึกษาได้เรียนรู้ ก็ต้องมี "เวลาที่พอเพียง" ที่จะทำความเข้าใจ ศึกษามันแหละครับ

แต่ทีนี้โชคดีที่เราสามารถปรับความเข้าใจกันก่อนได้ว่า การเรียนแพทย์นั้นไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นเฉพาะ 9 to 5 เท่านั้น แต่เป็นการเรียนได้ "ตลอดเวลา" อย่าลืมว่า domain ที่สำคัญมากประการหนึ่งของการเป็นแพทย์แบบองค์รวมได้นั้นก็คือสังคมศาสตร์และเรื่องของชีวิตและเรื่องของสุนทรียศาสตร์ (สจฺจธมมฺ ชีวมมฺ สุนทรียมมฺ "ความจริงแห่งชีวิตคือความสุนทรีย์") ตรงนี้แหละครับที่เป็นโอกาสที่บัณฑิตของเราจะได้เรียน "24 ชั่วโมง" ได้ และถ้าเรากลัวว่าประสบการณ์เรียนรู้นี้จะเป็น opportunistic เกินไป (คำนี้แพทยศาสตรศึกษาไม่ชอบหน้ามัน) ก็สามารถทำให้เป็น semi-structure ได้ไม่ยาก (แต่ไม่ควรทำเป็น structure เดี๋ยวจะบอกเหตุผล)

เนื่องจาก concept ของ Adult learning (Andragogy) นั้น assuming ว่านักศึกษาเป็น mature students นะครับ คนกลุ่มนี้จะเรียนได้ดีต้อง 1. สนใจในหัวข้อนั้น 2. ตรงกับวัตถุประสงค์ของตน 3. นำเอาไปใช้ได้จริง จึงเป็นที่มาของ contextual learning หรือการเรียนที่พยายามนำเอา "บริบทจริง" มาใช้ให้มากที่สุด หรืออย่างนอ้ยก็ใช้เป็น scenario ที่อาจจะเกิดจริงๆในอนาคต จะได้สามารถ remind คนเรียนได้ดีกว่า ตรงนี้ถ้าเราทำให้เกิด structure มากเกินไป บางทีมันจะเป็น ideal situation เกิน ก็จะไม่เกิด contextual property หรือทำให้เป็นกรอบมากเกิน ก็จะไปรบกวน "กระบวนการพัฒนาความคิด" ของว่าที่บัณฑิตของเราได้

"กระบวนการพัฒนาความคิด" นั้นเป็น psychomotor อย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้นเราต้อง "ลับสมอง" และคิดบ่อยๆครับ เหมือนโจทย์เลขนั่นแหละครับ ยิ่งทำบ่อย ยิ่งทำได้เร็วขึ้นๆ ถูกมากขึ้นด้วย ถ้าบัณฑิตของเราคิดน้อยเกินไป จำมากเกินไป ใช้ระบอบ punishment and obedience orientation มากเกินไป มันจะพัฒนาให้สูงขึ้นยากมากยิ่งขึ้น Facilitator จึงมีบทบาทที่สำคัญ และเป็น skill ที่สามารถพัฒนาได้จากการทำเยอะๆเช่นกัน ถ้าหากเราคิดว่าครูยุคเก่าบางคนเก๊งเก่ง ประเภทลายคราม รู้เขารู้เรา สอนสนุกมาก Facilitator ก็สามารถพัฒนาบทบาทและ "เก๋า" ได้เช่นกัน ประเดี๋ยวจะมีคนนึกว่า facilitator ก็คือเข้าไปนั่งตรวจข้อสอบ 3 ชั่วโมงข้างๆกลุ่มเด็กๆที่กำลังเจี๊ยวจ๊าวอะไรกันอยู่ ซึงไม่ใช่แน่นอน

Facilitator ถ้าคิดตามสิ่งที่กำลังอุบัติขึ้นต่อหน้าต่อตาเรา จะได้เห็นกระบวนการ form ความคิดทีละน้อยๆ และถ้าเราใจเย็นพอ วาระสุดท้ายหรือ highlight ก็จะถึงได้ในที่สุด (ส่วนใหญ่) อะไรที่เกิดขึ้นโดยกระบวนการแบบนี้จะยั่งยืนกว่าการเกิดขึ้นโดย artificial มาก (อย่างน้อยพวกเราใน ม.อ. นี่ก็เชื่อแบบนี้ ใช่ไหมเอ่ย?) กระบวนการที่ว่านี้ไม่จำเป็นต้องเกิดในห้อง PBL เฉพาะตอนปี 2, 3 เท่านั้น แต่เกิดใน ward ที่หอพัก ที่ ฯลฯ ได้ตลอดเวลา ทีนี้เราจะหยอด contents อะไร learning objectives อะไร ก็สามารถจะทำได้ เอาไอ้ที่เราคิดว่าสำคัญกว่าก่อน ให้เวลาให้เหมาะสม

เรื่องบางเรื่องให้เวลาอย่างเดียวไม่พอ ต้องอาศัย "วัฒนธรรมของชุมชน" มาประกอบด้วย คณะแพทยศาสตร์ ม.อ. มี longitudinal programme อยู่ 4 programmes คือ Ethics, Evidence-based, Health Promotion และ Palliative Care ก็เพราะอะไรก็ตามที่ "เจตคติ" สำคัญนั้น เราจะต้อง "ใช้เวลา" และจะต้องสร้างวัฒนธรรมองค์กรมารองรับเรื่องๆนั้นๆให้ได้

ถ้าเป็นแบบที่ว่านี้ เราก็อาจจะเริ่มพัฒนาเครื่องมือแบบต่างๆในการจัดประสบการณ์การเรียนการสอนได้ และค่อยๆศึกษาพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ เราก็พอจะมีความหวัง ใช่ไหมครับคุณ megumi ผมอยากจะฟังความคิดของคุณ megumi เพิ่มเติมในเรื่องนี้ต่อครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2006-10-18 , Time : 09:26:10 , From IP : 172.29.3.231

ความคิดเห็นที่ : 5




    ผมเข้าใจว่าการกระทำและความคิดของคนมีอารมณ์เป็นตัวควบคุม อารมณ์ทำให้เราทำตัวน่ารักหรือก้าวร้าว ทำให้เราคิดสร้างสรรค์หรือคิดอะไรไม่ออกเพราะหัวมันตื้อ ในขณะเดียวกันปัจจัยที่มีผลต่ออารมณ์คือประสบการณ์ในอดีต สิ่งแวดล้อมในปัจจุบันและความคาดหมายในอนาคต
พวกเราต้องการให้นศพ.มีความคิดและการกระทำที่ดี แต่เราจะใช้วิธีใด ผมคิดว่าที่พวกเราพอจะทำได้คงเป็น factor ที่เป็นสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน เราควรทำให้นศพ.มีอารมณ์ที่โปร่งใส พร้อมที่จะคิด แต่จะทำอย่างไร ตอนนี้ผมพยายามคิดหาแนวทางอยู่ ไม่แน่ใจว่าจะได้ผลหรือไม่แต่คิดว่าน่าจะดีกว่าตอนที่ผมเป็นนศพ. ส่วนสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงคือการทำให้นศพ.กล้ว เพราะถ้ามีความกลัวอยู่ ความคิดมันจะไม่พลุ่งพล่าน ไม่มีความคิดสร้างสรรค์ ทำให้เสียโอกาสที่จะคิดได้ก้าวหน้ากว่าปัจจุบัน เสียโอกาสที่จะคิดและทำในสิ่งที่ก้าวหน้าต่อยอดต่อไปจากเรา


Posted by : megumi , Date : 2006-10-18 , Time : 23:22:02 , From IP : 172.29.3.124

ความคิดเห็นที่ : 6


   ขอบคุณครับคุณ Megumi ที่ร่วมเสวนาด้วย

ผมมีความเชื่อ (และข้อสังเกต) อยู่ว่าเราอาจจะใช้ primitive emotional drive เป็นเครื่องมือได้บ้างครับ ถึงแม้ว่าจะไม่ทั้งหมด

อะไรคือ primitive emotional drive?

อารมณ์ความรู้สึกที่มีในสัตว์แต่โบราณ มีเพื่อความอยู่อดเป็นหลักสำคัญ ทั้งของตนเองและของสังคม โดยเริ่มที่ตนเอง ปัจเจกก่อน ก็จะได้แก่ ความกลัว ความหิว และ sexual desire เพื่อที่จะสืบขยายเผ่าพันธุ์ ความกลัวจะทำให้มนุษย์แสวงหาความปลอดภัย และจริงๆแล้วจนถึงปัจจุบัน innovation และพฤติกรรมมากมายก็ยังมีฐานผลักดันมาจากความกลัวนี้ หลอดไฟ ไฟฟ้า บ้าน ที่อยู่อาศัย ยา ฯลฯ มนุษยเราทุ่มเทให้กับ sense of security หรือ sense of safety อย่างมากมายทีเดียว

การที่เรา aware ว่าความกลัวเป้นเครื่องมือ หรือแรงผลักดันที่ powerful ที่สุดอย่างหนึ่ง ทำให้เราไม่สามารถจะ "ตัด" การใช้สิ่งนี้มาเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อไปได้ ในขณะเดียวก็อาจจะหา acquired motivation อื่นๆมาเสริม

จะเห็นว่า first stage of moral development ของ Kohlberg ก็สะท้อนความคิดนี้ นั่นคือ Punishment and Obedience ซึ่งเป็น very early stage เกิดขึ้นตั้งแต่เด็กทารกเริ่มรู้ความ เพราะว่า ความดีงาม หรือเลวทรามนั้น ยังเป้นนามธรรมอยู่ในช่วงอายุตอนต้น แต่เด็กทารกจะเรียนรู้อย่างรวดเร็วถึงน้ำเสียงของพ่อแม่เวลาดุ ที่จะมาพร้อมๆกับคำว่า "ไม่" หรือ "อย่านะ" หรือ "หยุดนะ"

แต่โชคดีที่สิ่งที่เกิดตามมาใน development of morality ในตอนที่เติบโตขึ้น social rule เริ่ม formed ขึ้นโดยธรรมชาติ (เน้น "โดยธรรมชาติ" นะครับ ไม่ได้หมายถึงโดย artificial) เช่น การผลัดกันใช้ของ เล่นของเล่น การรอ เป็นต้น ขบวนการนี้นักการศึกา และนัก cognitive neurologist (psychologist) มีการให้น้ำหนักไว้กับกระบวนการอย่างหนึ่งมากขึ้นได้แก่ EMPATHY

ถ้าเราทำให้สมดุลระหว่าง primitive emotional drive กับ mature emotinal drive เกิดขึ้นได้ คุณธรรมก็จะสามารถงอกงามและ stable sustainable ได้ยาวนาน



Posted by : Phoenix , Date : 2006-10-19 , Time : 00:47:55 , From IP : 222.123.44.130

ความคิดเห็นที่ : 7




    primitive emotional drive กับ mature emotinal drive ผมจะทำให้มันสมดุลให้มากที่สุดได้อย่างไร พวกเราพอมีความรู้มากมักไม่ค่อยยอมใคร ไม่ค่อยฟังคนอื่น ในขณะเดียวกันก็ไม่ค่อยพอใจที่เห็นคนที่รู้ไม่เท่าเราทำอะไรที่ไม่ค่อยเหมาะสมกับผู้ป่วย พวกเรามักเผลอเข้าด้านมืดของการเรียนรู้อยู่เสมอ อะไรจะเป็นตัวฉุดเราออกมาจากด้านมืด อะไรจะทำให้เราคงความสมดุลไว้ได้นานๆ สิ่งแวดล้อม การฝึกฝน ???

Posted by : megumi , Date : 2006-10-19 , Time : 18:41:19 , From IP : 172.29.3.124

ความคิดเห็นที่ : 8


   คุณ megumi ได้กล่าวถึง key word ที่สำคัญมากออกมาแล้วคำหนึ่ง คือ "เผลอ"

ใช้หลักอริยสัจสี่ดูสิครับ แทนที่สมการ "ทุกข์" ด้วย "เผลอ" หาสาเหตุ เหตุเกี่ยวเนื่อง ภาวะแห่งการไม่เผลอ และหนทางแห่งสภาวะนั้นๆ

ก็จะได้คำ "สติ"

สติ (รำลึกได้) บ้างก็พ่วงสัมปชัญญะ "หมายรู้" ระลึกได้นั้นมีทั้งสัมมาสติ และมิจฉาสติ ที่เราพูดถึงเผลอตน เผลอใจนั้น ก็คือสภาวะขาดสติ สภาวะที่ตัวตนไม่ได้รับรู้ ปล่อยปละละเลย สติจึงสำคัญอย่างยิ่ง มีปรากฏในพระธรรมมากมายหลายแห่ง ยกตัวอย่างสองที่คือใน "มรรคคือองค์แปด" หรือ สัมมาสติ หรือในโพชฌงค์ 7 ก็อยู่ในลำดับแรก (สติ ธัมมวิจจยฺ วิริยะ ปิติ ปัสสทฺธิ สมาธิ และอุเบกขา)

ธรรมชาติของความคิดนั้นวอกแวก สั่นไหว ไม่คงที่ วิ่งวุ่นพลุ่งพล่าน แต่ก็สามารถที่จะทำให้มันนิ่งได้ สงบได้ ครองคงสภาวะจน "นิ่ง" หรือมี "สมาธิ" ได้ ก็เป้น psychomotor อย่างหนึ่ง ฝรั่งพึ่งจะมามองเห็นประโยชน์แห่งการทำสมาธิ แต่ก็นำไปใช้เพียงผิวเผินแค่เพิ่มสมรรถภาพความทรงจำ เพิ่มควาทนทานการทำงาน แต่ทางตะวันออกการทำสมาธินั้นเพื่อค้นหาอะไรที่ทรงคุณค่ามากไปกว่านั้น

แต่ก็เอาเถอะแค่สามารถ "ครองสติ" ไปถึงมี "สมาธิ" ก็คงจะตอบคำถามคุณ megumi ได้เหลือเฟือ แต่ตรงนี้บอกกันเฉยๆมันไม่ช่วยอะไร สมาธิของมคร สติของใครก็ของคนนั้น จริงไหมครับ ถ้าเรา"อยาก" จะไม่เผลอจริงๆ ก็หาทางมีสติ รู้เท่าทันอารมณ์ ความคิดของตนเองให้ได้ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ มันจึงกลายร่างต่อไปเป็น สัมมาทิฏฐิ หรือ "คิดชอบ" ทีนี้คิดอะไรก้คิดออก คิดสิ่งดีงาม พูดแต่สิ่งดีงาม กระทำดีงาม เกิดเป็นความเพียร ตั้งมั่นสุจริต เลี้ยงชีพชอบ ทั้งหมดนี้จากการที่เรา "เท่าทัน" อารมณ์ และความคิดของเราเองเท่านั้นเอง



Posted by : Phoenix , Date : 2006-10-19 , Time : 23:23:22 , From IP : 58.147.116.121

ความคิดเห็นที่ : 9




    การจะสร้างสังคมที่เราต้องการคงต้องเริ่มจากตัวเราก่อน แล้วค่อยแผ่ขยายออกไป ขอสติจงอยู่กับเราตลอดไป
ขอบคุณอาจารย์ที่เสียสละเวลาอันมีค่ามาเสวนากัน ขอบคุณอีกทีครับ


Posted by : megumi , Date : 2006-10-20 , Time : 01:19:12 , From IP : 172.29.7.60

ความคิดเห็นที่ : 10


   อนุโมทนาครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2006-10-20 , Time : 08:53:10 , From IP : 172.29.3.231

ความคิดเห็นที่ : 11


   ไม่รู้เหมือนกัน
นั้นสินะ นำขาดไปแล้วแต่แพ้ได้ไง งงเหมือนกัน
กระดานสุดท้ายที่ว่ามีอะไรพิเศษ แบบแพ้ตกรอบ หรือเปล่าเขาคิดคะแนนและใช้วิธีการตัดสินแบบไหนกันน่ะ ในการแข่งครั้งนั้น
มีเงื่อนไขอื่นใดที่ผู้บรรยายเขียนไม่หมดหรือเรายังไม่รับทราบหรือเปล่ากันน่ะ
ทำให้มันดูไม่สมเหตุสมผลกันสักเท่าไหร่เลย แต่ถ้าจากข้อความเพียงเท่านี่มันทำให้เราคิดกันเอาเองได้ว่าถ้านำแต้มขาดได้แล้วถ้าแพ้ในกระดานสุดท้ายจะตกรอบได้อย่างไรจริงไหม
อืม แล้วถ้าดูผิดจริงทำไมถึงไม่รีบทักท้วงล่ะในเมื่อมันเป็นสิทธิ์ที่ถูกต้องของเรา
ฉะนั้นเป็นไปได้สูงที่ ข้อความท่อนที่คุณ" แฟนเซียนป่องเหมือนกัน " ยกมาให้คิดนั้น อาจเป็นเพียงการแก้ตัวของเซียนป่องที่แพ้ก็เป็นได้
แต่ถ้าเกิดว่าการคิดคะแนนนั้นเป็นการคิดคะแนนใช้วิธีแบบการคิดเรทละก็เซียนป่องไม่ได้แก้ตัวแน่และไม่ได้พูดโกหกด้วยครับ เพราะถ้าคิดคะแนนแบบนั้นจริง ถ้าที่สองชนะขึ้นมาเรทก็สูงขึ้นที่หนึ่งร่วงได้ครับถ้าพลาดท่าแพ้กระดานสุดท้ายก็เรทร่วงได้เหมือนกันและเกิดการแพ้ชนะของเรทขึ้นได้ ถ้าไม่แข็งคิดว่าแต้มเรทขาดอยู่แล้ว เรทไม่ร่วงคงคะแนนเดิมไว้ได้ ไม่เดือดร้อนครับ ที่สองไม่ว่าพบอะไรถ้าคำนวนแต้มอย่างดีแล้วไม่มีทางที่จะไล่ได้ทันได้ในเกมกระดานสุดท้ายเกมเดียวล่ะก็ไม่จำเป็นต้องลงแข่งก็ได้ครับรับเหรียญทองสบายๆดีกว่า

อีกอย่างที่ทำให้ผมได้คิดน่ะครับคือความที่ดูเหมือนจะสมเหตุสมผลและดูเหมือนจะถูกต้องในกระดานอภิปรายนี่อาจจะไม่ได้ถูกต้องตามความเป็นจริงที่อยู่ข้างนอกนั้นสะทีเดียวจริงไหมครับ จริงแล้วเรายกปัจจัยและมุมที่ได้มองเพียงไม่กี่อย่างจากความเป็นจริงทั้งหมดนั้นมาพูดคุยกันทำให้สิ่งที่ได้เห็นกันในกระดานแห่งนี่นั้นตกบ้างหล่นบ้างบิดเบือนกันไปบ้างก็ตามแต่เงื่อนไขปัจจัยที่ได้นำมาดู ฉะนั้นแล้วผมคิดว่า อืมอือ เอาเป็นว่าเป็นสิ่งที่ผมบอกกับตัวผมเองดีกว่าน่ะ คือจะคิดอะไรก็อย่าได้ปักหลักเชื่อในความคิดตัวเองมากนัก ให้เป็นว่ามุมตรงนี่นั้นถูกทำให้ได้มองออกไปเป็นเช่นนั้นมากกว่าน่ะ

ในกรณีของคุณ"แฟนเซียนป่องเหมือนกัน " ถ้าอ่านเอาเชิงนัยยะของข้องความไม่เชิงตรรกยะของข้อความน่ะคัรบมันทำให้ดูออกไปว่าได้ เอ๊ะเซียนป่องโกหกนี่หว่าและและถ้าหากคิดด้วยเชิงตรรกยะด้วยปัจจัยเพียงส่วนหนึ่งของความจริงที่อยู่ข้างนอกทั้งหมดแล้วล่ะก็ทำให้คิดเช่นนั้นได้ด้วยครับว่าเซียนป่องนั้นโกหก และผลกระทบของมันก็คือการแปรเปลี่ยนค่าแห่งความจริงครับ

อีกอย่างน่ะครับที่ผมสังเกตุน่ะครับ คือการแผ่ขยายของมุมมองใดมุมมองหนึ่งครับ
อันนี่เป็นเรื่องที่ผมค่อนข้างอันนี่นั้นเป็นเรื่องที่ผมวิตกกังวลเกียวกับสังคมปัจจุบันเป็นอย่างมากครับ อย่าคิดน่ะครับว่าสื่ออันก้าวไกลของเราจะไร้ขอเสียสะทีเดียวเลย มันมีอยู่น่ะคัรบก็ค่อยมาทำความเข้าใจและหาทางอุดรูรั้วกันวันหลัง การขยายมุมมองนั้นหากใช้ไม่ดีแล้วเกิดผลเสียหายมากครับแต่ถ้าใช้ได้ถูกต้องดีงามก็ก่อประโยชน์มากมายเช่นกันครับ


ลองคิดดูดีๆสิครับ ผู้หญิงที่ถูกเผ่าทั้งเป็นเพียงแต่โดนชาวบ้านเห็นว่าคิดว่าเป็นแม่มดในยุคกลางนั้นเกิดจากอะไรแล้วความจริงล่ะเป็นเช่นนั้นจริงๆไหม แต่ที่แน่ๆคือถูกทำให้มันเป็นความจริงขึ้นมาน่ะสิที่เจ็บปวด


ยกตัวอย่างอีกอย่างน่ะครับ อย่างจิตแพทย์เองก็เช่นกันครับในการที่จะบอกคนที่ไปขอคำปรึกษาว่าเขาเป็นอะไรหรือไม่สบายใจเพราะอะไร นี่ต้องระวังกันเข้าไปใหญ่เลยล่ะครับต้องระมัดระวังให้มากน่ะครับเพราะอาจใช่หรืออาจไม่ใช้ก็ได้ครับเพราะนั้นเป็นเพียงแค่มุมมองเล็กๆที่หมอได้รับรู้จากผู้ที่ขอคำปรึกษาเท่านั้นครับและตัวหมอเองก็ถูกทำให้มองออกไปเช่นนั้นเหมือนกันครับ แต่ถ้าหากจะเอาแต่มุมมองนั้นยัดเยียดให้ผู้ขอคำปรึกษาว่าเป็นเช่นนั้นดั้งสิ่งที่ตนเห็นแล้วล่ะก็ นั้นก็คือการถูกกระทำให้เป็นจริงขึ้นมาดั้งที่ได้กล่าวเอาไว้แล้วข้างต้นครับซึ่งมันอาจจะเป็นจริงหรือไม่จริงก็ได้ครับ ยิ่งถ้าหากขาดจรรยาบรรณนำความเห็นมุมที่ถูกกระทำให้มองออกไปนั้นไปแผ่ขายมุมมองให้ผู้อื่นมีมุมๆนั้นเหมือนดังที่ตนเห็นด้วยแล้วบุคคลผู้ขอคำปรึกษานั้นก็จะตกที่นั้งอยู่ในสังคมที่ยากลำบากขึ้นมาทันที่เลยล่ะครับ ซึ่งมันเหมือนกับการที่ผู้หญิงยุคกลางโดนเผาทั้งเป็นเพียงเพราะถูกผู้อื่นเห็นว่าเธอเหล่านั้นคือแม่มด สิ่งเหล่าถูกทำให้จริงครับหรือถูกทำให้เห็นเชื่อว่าเป็นความจริงครับ ซึ่งชาวบ้านหรือผู้คนในสังคมนั้นก็ถูกกระทำให้มองเห็นเชื่อโดยนักบวชยุคกลางหรือจิตแพทย์อีกต่อหนึ่งครับไม่ได้มองเห็นมันด้วยตัวเขาเองครับ

อย่างเช่น case เด็กชายคนหนึ่งอกหักสอบตกสาวที่เป็นกิ๊กกันก็ดันไปมีแฟนสะแล้ว (ดูเหมือนคราวซวยของชีวิตมาเยียมเยือน) ไปขอคำปรึกษาก็ Dx เขาว่าเป็นโรคซึมเศร้าจูนเรื่องโน่นเข้ากํบเรื่องนี่นานับประการ สร้างเรื่องสร้างราวกันขึ้นมาใหม่ยื่นยัดเยียดให้พร้อมกับยาซึมเศร้า และทำให้สังคมมองเขาว่านายนี่ซึมเศร้า น่าสงสัยในเรื่องของยานั้นน่ะคัรบถาหากเกิดกับลูกของผู้ให้คำปรึกษาล่ะจะหว่านล้อมให้ลูกตัวเองทานยานั้นไหมน่ะ ยานั้นก็รู้อยู่ว่าแรงแค่ไหนหากทานไปแล้วจะเกิดอะไรอันนี่เป็นสิ่งที่ต้องคิดครับและต้องคิดต้องตระหนักให้มากๆด้วยครับ ก็ขอฝากผู้ใหญ่ผู้อาวุโสที่เคารพด้วยครับ ก็ไม่อยากจะให้เหตุการณ์เช่นนี่เกิดกับคนอื่นๆอีกครับ ให้เจอและเป็นบทได้เรียนรู้กับ case เด็กชายคนนั้นก็พอครับ อย่าให้เด็กๆรุ่นหลังๆต้องเจ็บปวดแบบนี่อีกเลยครับ ที่พูดไม่ใช่อะไรหรอกครับแค่อยากจะให้แก้ไขในบางสิ่งที่ผิดพลาดครับ คนเราผิดพลาดกันได้ครับ สำคัญคือการแก้ไข และการให้อภัยกัน หญิงสาวที่ถูกเผาทั้งเป็นในยุคกลางนั้นเราก็ต้องเรียนรู้และให้อภัยในความไม่รู้ของคนยุคกลางครับ ประวัติศาสตร์มนุษย์เราก็ผ่านรูปแบบมามากหลายครับสงคราม การเจ็บปวด สูญเสีย ล้มสลาย แก่งแย่งกัน แต่เราก็ผ่านพ้นและเติบโตจากสิ่งเหล่าได้ด้วยการให้อภัยครับ




Posted by : delpiero ,

ลองเริ่มจากสวัสดิภาพความเป็นอยู่ ความมั่นคงปลอดภัยของนักศึกษาก่อนดีไหมครับ มีบางตอนที่อยากจะให้อาจารย์ช่วยคิดหน่อยน่ะครับ ขอความกรุณาด้วยครับ


Posted by : check mated , Date : 2006-10-29 , Time : 14:51:02 , From IP : 172.29.4.184

ความคิดเห็นที่ : 12


   ขออภัยนะครับ ผมอ่านบทความที่คัดมาแล้วสับสนมาก ไม่อยากเดาว่าถามว่าอะไร หรือจะให้ comment ตอนไหน เรื่องหมากรุก เซียนป่อง หรือเด็กชายคนที่ว่านี้ (ตกลงเป้นนักศึกษาแพทย์ หรือเป็นเรื่องอะไรของใคร?)

ถ้าจะให้ดี ตั้งกระทู้ใหม่ถามดีไหมครับ จะได้ไม่ออกนอกหัวข้อเรื่องเกินไป ภายหลังคนเข้ามาอ่านจะได้ไม่งงว่ามันเรื่องอะไรกัน



Posted by : Phoenix , Date : 2006-10-30 , Time : 00:51:21 , From IP : 58.147.118.98

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.011 seconds. <<<<<