ความคิดเห็นทั้งหมด : 5

โครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้


    รบกวนถามผู้เกี่ยวข้องหรือผู้ที่ทราบ
เคยทราบมาว่าเมื่อจบแพทย์ 6 ปีแล้วสามารถไปเรียนต่อเฉพาะทางได้เลยในสาขาที่ขาดแคลน ขอรบกวนถามว่าในกรณีที่อยู่ในโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะสามารถไปเรียนต่อแล้วกลับมาใช้ทุนทีเดียวเลยเหมือนคนอื่นที่เรียนในโครงการปกติได้หรือไม่ และโครงการ 3 จังหวัดต้องใช้ทุนกี่ปี และต้องไปใช้ทุนที่ไหนบ้างค่ะ ขอบพระคุณค่ะ


Posted by : ผู้ปกครอง , Date : 2006-10-10 , Time : 20:30:20 , From IP : 172.29.4.159

ความคิดเห็นที่ : 1


   ขอเรียนถามเพิ่มเติม
หากไม่ต้องการใช้ทุนต้องจ่ายเงินคืนเท่าไหร่ค่ะ


Posted by : ผู้ปกครอง , Date : 2006-10-10 , Time : 21:25:14 , From IP : 172.29.4.159

ความคิดเห็นที่ : 2


   รู้มาว่าเป็นโครงการเพื่อรองรับการขาดแคลนแพทย์ใน 3 จังหวัด แค่ถามว่าจะไม่ใช้ทุนก็ผิดวัตถุประสงค์แล้วค่ะ

Posted by : t0 , Date : 2006-10-10 , Time : 22:44:54 , From IP : 172.29.5.230

ความคิดเห็นที่ : 3


   ค่อยๆ อ่านกระทู้นี้นะครับ

http://medinfo.psu.ac.th/pr/WebBoard/readboard.php?id=9416

รู้ว่าเป็นห่วงครับ




Posted by : OmniSci , Date : 2006-10-10 , Time : 22:53:05 , From IP : 172.29.5.244

ความคิดเห็นที่ : 4


   ดครงการที่ว่า ผมเองก็ไม่อาจรู้รายละเอียดทั้งหมด เพราะ มันมีใหม่เปลี่ยน บ่อย แต่ ปีก่อนๆ คือ ใช้เงิน 4 แสน ใช้ทุน 5 ปีใน โรงพยาบาล อำเภอ ถึงจะไปเรียนต่อได้ ( แต่ถ้าเอาทุน จาก จังหวัดนั้นๆ ไปเรียน ต่อ ก็อาจไปเรียนก่อน แต่ ระยะเวลาใช้ทุน อาจ นานทบต้น + ดอก ไปอีก ) ส่วน จะไปใช้ทุนที่ใหน ก็ขึ้นกับว่า คุณมีภูมิลำเนา อยู่ที่ใหน จบแล้วก็ กลับบ้าน แต่อยากให้คุณ อ่าน
กระทู้นี้นะครับ

http://medinfo.psu.ac.th/pr/WebBoard/readboard.php?id=9416

รู้ว่าเป็นห่วงครับ
....................................................................................

ขอประชาสัมพันธ์ เว็บไซด์โครงการผลิตแพทยเพื่อชาวชนบท NewCpird

http://newcpird.org

และ

http://learning.newcpird.org

Posted by : gogogo , Date : 2006-10-02 , Time : 15:09:45 , From IP : 210-86-223-212.stati




ความคิดเห็นที่ : 1
น่าสนับสนุนให้เป็นจริง

เพราะเห็น โครงการแพทย์ชนบทแถวนี้ หลายคนจบออกมาพอใช้ทุนเสร็จก็ไม่มีใครยอมอยู่ชนบทจริงๆ จังๆ สักที

บางคนไปเปิด คลินิกผิวหนัง
หลายคนต่อเฉพาะทาง แล้วไม่ยอมกลับไปชนบท

ทั้งๆที่เข้ามาด้วยโครงการช่วยเหลือดังกล่าว

พี่น้องชาวชนบทของเรา เลยไม่มีหมอที่รักที่จะเป็นแพทย์ชนบท จริงๆจังๆ สักที

มีแต่เวียนๆ กันไปอยู่ พอเริ่มคุ้นเคย ก็กลับเข้าเมืองกันหมด

หมอในโครงการพวกนี้ถือว่า โกง ได้หรือเปล่านะ

Posted by : .. , Date : 2006-10-02 , Time : 16:46:28 , From IP : 172.29.1.211




ความคิดเห็นที่ : 2
โครงการแพทย์ชนบทแถวนี้ หลายคนจบออกมาพอใช้ทุนเสร็จก็ไม่มีใครยอมอยู่ชนบทจริงๆ จังๆ สักที

บางคนไปเปิด คลินิกผิวหนัง
หลายคนต่อเฉพาะทาง แล้วไม่ยอมกลับไปชนบท ทั้งๆที่เข้ามาด้วยโครงการช่วยเหลือดังกล่าว มีแต่เวียนๆ กันไปอยู่ พอเริ่มคุ้นเคย ก็กลับเข้าเมืองกันหมด

หมอในโครงการพวกนี้ถือว่า โกง ได้หรือเปล่านะ
.................................................................................................

สุดยอดจริงๆ

คนๆนี้ น่าจะรู้จริงและ รู้มานานแล้ว

รบกวน ขอยกตัวอย่าง แบบไม่ต้องเอ่ยชื่อ ได้ใหมครับ

และ ขอแนวทาง การแก้ปัญหานี้ เช่น วิธีการคัดเลือกนักเรียน วิธีการสอนให้ นศพ. รัก ชนบท หรือ วิธีการ ลงโทษ หากผิดคำมั่นสัญญา ฯลฯ

ขอ ขอบคุณ มาล่วงหน้าเลย ครับ

Posted by : guru , Date : 2006-10-02 , Time : 18:50:23 , From IP : 125.25.52.185




ความคิดเห็นที่ : 3
เพื่อนร่วมรุ่นที่เข้ามาด้วยโครงการพิเศษนี้ ส่วนใหญ่เป็นแบบที่ว่าเลย
มีส่วนน้อยมาก ๆ ที่จะอยู่ชนบทจริง ๆ
ยังไงก็พิจารณาเอาเองนะ

Posted by : MED PSU , Date : 2006-10-02 , Time : 20:46:18 , From IP : 161.200.255.164




ความคิดเห็นที่ : 4
คนที่เข้ามาด้วยแพทย์โดยตรงก็ไปอยู่ชนบทได้นี้ไม่มีใครห้าม อย่าว่าแต่เขาแล้วอิเหนาเป็นเองน่ะจะบอกให้

Posted by : รักชนบท , Date : 2006-10-03 , Time : 14:09:38 , From IP : 202.90.4.250




ความคิดเห็นที่ : 5
โอ้โห ส่วนใหญ่ ของรุ่นที่เข้ามาด้วยโครงการพิเศษนี้ เลย หรือ ครับ

บอกรุ่น มาหน่อย ได้ใหมครับ

แล้ว definition ของ ชนบท นี่ เป็นอย่างใร บ้างครับ ขอตัวอย่าง หน่อย เช่น
1. ไม่มี 7/ 11 ใน ตัวอำเภอ
2.ไม่มี ธนาคารพาณิชย์ในอำเภอ
3.ไม่มีถนน ลาดยางมะตอย
3.มีรถยนต์ ไม่เกิน 10 คัน
ฯลฯ
นี้ พอใหมครับ

Posted by : guru , Date : 2006-10-03 , Time : 15:55:09 , From IP : 61.19.24.122




ความคิดเห็นที่ : 6
ไม่เข้าใจจริง ๆ ทำไมถึงดูถูกคนที่เข้ามาด้วยโครงการแพทย์ชนบท ทั้งที่บางคนทั้งเรียนทั้งกิจกรรมก็ไม่ด้อยไปกว่าคนที่เข้าแพทย์ปกติเลย และนี่ก็เพิ่งจะจบเป็นรุ่นที่ 3 แล้วคห 1 ไปเอาข้อมูลมาจากไหนกันนะ

Posted by : คนรักชนบท , Date : 2006-10-03 , Time : 16:29:24 , From IP : 202.90.4.250




ความคิดเห็นที่ : 7
เห็นด้วยกับคหที่ 6 การที่แพทย์ชนบทไปเรียนต่อเฉพาะทางเป็นการเพิ่มพูนความรู้ความชำนาญซึ่งส่วนมากก็ต้องกลับไปใช้ความรู้ที่เรียนมาในโรงพยาบาลต้นสังกัด และแพทย์ชนบททุกคนเขาสอบกันเข้ามานะคุณ มิใช่เด็กเส้น และไม่มีใครช่วยเหลือให้เขาเหล่านั้นเข้ามาเรียนด้วย และขอร้องอย่าแสดงความคิดเห็นแบบนี้อีกเพราะจะทำให้เกิดการเข้าใจผิดและแบ่งแยกทั้งๆที่เรียนด้วยกันและตัดเกรดร่วมกัน

Posted by : คนใน , Date : 2006-10-03 , Time : 19:36:45 , From IP : 203.113.76.71




ความคิดเห็นที่ : 8
พวกCPIRDนี่เลวทุกคนจริงๆเนอะ.....GURU

Posted by : CPIRD , Date : 2006-10-03 , Time : 22:08:53 , From IP : 210-86-223-212.stati




ความคิดเห็นที่ : 9
กรุณาอย่านำสิ่งที่ไม่ดีมาตัดสินสิ่งที่มีอยู่ทั้งหมดสิครับ
บางทีเขาอาจจะมีจิตสำนึกดีกว่าแพทย์ที่มอ บางคนด้วยซ้ำไป
แค่คุณมองข้ามไป เอาจุดผิดมาตัดสินทั้งหมด
กรุณาคิดให้รอบคอบ

Posted by : DreamCatcher , Date : 2006-10-04 , Time : 02:35:38 , From IP : 172.29.4.73




ความคิดเห็นที่ : 10
ประเด็นคือ "ผลิตแพทย์ชนบท" ครับ

เอามาเปรียบเทียบกับโครงการแพทย์ธรรมดาไม่ได้ โครงการได้ระบุไว้แล้ว ว่าต้องเป็นแพทย์ชนบท วิธีการเข้ามาก็แตกต่าง

ไม่ได้บอกให้แตกแยก แต่อยากบอกให้ระลึกว่า ท่านเหล่านี้เข้ามาเพื่อวัตถุประสงค์อันใด ตั้งแต่เริ่มเข้าโครงการ

ปัญหาสำคัญของชาวบ้านระดับรากแก้วจริงๆ ไม่ได้ต้องการได้หมอที่ตรวจอยู่ที่ รพ. อย่างเดียว ระบบสาธารณสุขที่สมบูรณ์ มีมากกว่าการตั้งรับ หากเขาได้หมอชนบทที่แท้จริง เข้าใจปัญหาในแต่ละพื้นที่ และ รักที่จะพัฒนา อย่างต่อเนื่อง มันก็เป็นเรื่องดีไม่ใช่หรือ

ปัญหาที่เรามีตอนนี้คือ แต่ละคนไม่อยากอยู่ชุมชน แต่ต้องเวียนกันไปอยู่ พอครบ ก็ย้ายที่ พอเริ่มคุ้นเคย ก็ไม่มีใครอยากอยู่ อย่างหนึ่งก็คือ ไม่ใช่บ้านของตัวเอง

โครงการ ผลิต "แพทย์ชนบท" จึงเข้ามาแก้ปัญหาตรงนี้ เขาไม่ต้องการคนเก่งมากๆ (แม้คนที่อยู่ในโครงการบางคนจะเก่งกว่าหมอ ในโครงการปกติ) แต่ต้องการคนในพื้นที่ เพราะคิดว่ามีโอกาสที่จะอยู่ในชุมชนที่ตนเองมา ได้ดีกว่า หมอปกติที่มาจากที่อื่น จึงมอบสิทธิ (โควต้า) ในการเข้ามาเป็นแพทย์ แม้ว่าจะผ่านการสอบเข้ามา แต่ก็ต้องยอมรับว่า โอกาสก็จะสูงกว่าปกติ เพื่อหวังว่าจบแล้วจะกลับไปดูแลชุมชนของตนเอง อย่างที่คาดเอาไว้ ชุมชนจะได้ไม่คาดความต่อเนื่องของการมีแพทย์ การพัฒนาระบบสาธารณสุข ก็จะเป็นไปอย่างต่อเนื่อง


ประเด็นนี้ ก็ไม่ได้เกี่ยวกับว่า หมอไหนจะเก่งกว่าหมอไหนด้วย ถ้าหมอชนบทเก่ง ก็ยิ่งมีประโยชน์กับชุมชน

แต่ปัญหาคือ มีไม่น้อยที่เข้าโครงการนี้ แล้วไม่ได้เป็นไปตามเจตจำนงค์เดิมเพราะ แต่ละท่านจะพูดถึง สิทธิ์อันพึงมี ในการจะไม่อยู่ในชนบท ทั้งที่ตนเองเป็นแพทย์ในโครงการแพทย์ชนบท อาจรวมถึงสัญญาที่ไม่บังคับเพียงพอ

จึงอยากให้เข้าใจในจุดนี้ด้วย

กรุณาเปิดใจให้กว้าง เพราะ ไม่มีเนื้อหาส่วนใดที่จะทำให้เกิดความแตกแยก ระหว่าง คนที่เข้ามาโดยโครงการพิเศษ และคนที่เข้ามาด้วยวิธีปกติ เพราะไม่ได้มีการเปรียบเทียบแต่อย่างใด ทั้งหมดกำลังพูดถึง ประโยชน์ ที่ชุมชนจะได้รับอย่างแท้จริง

Posted by : โปรดฟังอีกครั้งหนึ่ง , Date : 2006-10-04 , Time : 10:18:46 , From IP : 172.29.1.211




ความคิดเห็นที่ : 11
พวกCPIRDนี่เลวทุกคนจริงๆเนอะ.....GURU

Posted by : CPIRD , Date : 2006-10-03 , Time : 22:08:53 , From IP : 210-86-223-212.stati

ความเห็นที่ 8 นี้ ไม่ใช่ คำพูดผม และ ความคิดผมเลย ครับ

คนดี ไม่ได้อยู่ที่ ไอคิว อยู่ที่ การอบรม บ่มนิสัยของพี่แม่ และ ครูบาอาจารย์
ถ้า ต้นแบบ เป็น คนที่เสียสละ ทำตามกติกา มีแบบอย่างที่ดี เด็ก รุ่นหลัง ก็ทำดีตาม

แต่ผมเคยได้ยินมาว่า ศจ นพ............ คนหนึ่ง ที่เกษียณไปแล้ว ในอดีต ราว สิบกว่าปี่ที่แล้ว สั่ง เปลี่ยนแปลง สัญญาของแพทย์ชนบทที่สมัยนั้น เอาทุนจากจากจังหวัดใหน ก็ต้องกลับไปจับฉลากใช้ทุนใน จังหวัดนั้น มาเปลี่ยนใหม่ เป็น จับฉลากได้ทั่วประเทศ และ ลดจำนวนปี ที่ใช้ทุน ให้เท่ากับ แพทย์ที่ไม่ได้เข้าโครงการ ชนบท ( คนละ โครงการ CPIRD ของปัจจุบัน )
เลยอาจจะ ทำให้ บางคนเห็นว่า แพทย์ชนบท รุ่นฟลุก นั้นไม่ได้ อยู่ ชนบทจริง ( ความเห็นที่ 1 )

ส่วน ศจ นพ. ท่านนี้ คนแถวนี้ น่าจะรู้ดีมากที่สุด แต่ผมไม่ขอเอ่ยนาม เพราะ ไม่อยากลามไปถึงท่าน แต่ คนที่มา โพสท์ คนแรก น่าจะรู้นะ

อ้อ ผมไม่ได้จบ โครงการนี้ แต่ ก็ไปใช้ทุน ใน รพช ครบ 3 ปี แล้วถึงกลับมาเรียน นะ ไม่ได้ หนีนะ จะบอกให้

ส่วน เด็กที่เข้า โครงการนี้ ผมก็ไม่ได้รับรองว่า ทุกคน มี จิตใจดีงามเสียสละ มากแค่ใหน อาจ ดีกว่า หรือ เลวกว่า ปรกติก็ได้ แต่ที่แน่ๆ ยอมรับว่า ค่าเฉลี่ย ของ คะแนน สอบเข้า ไม่สูงกว่า พวกปรกติธรรมดา ที่ไม่เข้า โครงการ ชนบทแน่ๆ

ส่วน CPIRD ที่ จบมาแล้ว 2 รุ่น ผมก็ไม่รับรองว่า ทุกคนจะ อยู่ รพช ได้นานแค่ใหน

แต่ เกณท์การจัดสรร โควต้าให้นักเรียนทุน ก็อาจจะแปลกๆ อยู่บ้าง เช่น จังหวัดตรัง สงขลา อย่างนี้ ยังมี ทุน ชนบท ( ต่อไป ภูเก็ต นนทบุรี คงถือว่า ชนบทเหมือนกัน นะ )

Posted by : guru , Date : 2006-10-04 , Time : 13:11:05 , From IP : 125.25.58.89




ความคิดเห็นที่ : 12
ขอนำบทความจาก มติชน วัน พฤหัสนี้ เรื่อง แพทย์ชนบท ประจำปี 2549 มี 2 คน ซึ่งผมก็ไม่รับรองความถูกต้อง ของข้อมูลนี้ เพราะ ผม ไม่รู้จัก คนทั้ง 2 เลย นอกจากการอ่านหนังสือพิมพ์ นะครับ
.....................................................................................................

ประเทศไทยมีรางวัลแพทย์ดีเด่นอยู่มากมาย แต่มีแค่ 2 สถาบันที่มีรางวัลสำหรับแพทย์ชนบทดีเด่น นั่นคือ จากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และมูลนิธิแพทย์ชนบท สำหรับศิริราชมอบให้ปีละ 1 รางวัล แต่มูลนิธิแพทย์ชนบทปีละ 2-3 รางวัล ขึ้นอยู่กับการอุทิศตัว และความดีที่กินกันไม่ลง

กล่าวเฉพาะสำหรับมูลนิธิแพทย์ชนบทนั้น เริ่มมอบรางวัลแพทย์ชนบทดีเด่นแต่ตั้งปี 2528 เป็นต้นมา โดยมีหัวใจสำคัญของการคัดเลือกคือ “แพทย์ทำงานในชนบทที่ทุ่มเท เสียสละเพื่อชนบทอย่างมีความสุข”

ในปี 2549 นี้ มูลนิธิแพทย์ชนบทตัดสินมอบรางวัลแพทย์ชนบทดีเด่น 2 รางวัล ให้แก่ นพ.เฉิดพันธุ์ ภัทรพงศ์สินธุ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลหนองบัวระเหว จ.ชัยภูมิ และ นพ.ธวัติ บุญไทย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี โดยระบุว่า มีหัวใจเป็นแพทย์ชุมชน ชอบและมีจิตใจในการดูแลคนไข้ในชนบท รวมทั้งพัฒนาเพื่อชนบทอย่างแท้จริง


-1-
นพ.เฉิดพันธุ์ ภัทรพงศ์สินธุ์ ผอ.โรงพยาบาลหนองบัวระเหว

เริ่มต้นกันที่ นพ.เฉิดพันธุ์ ภัทรพงศ์สินธุ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลหนองบัวระเหว จ.ชัยภูมิ ที่ประจำอยู่ที่โรงพยาบาลแห่งนี้มาเป็นเวลานานถึง 17 ปีเลยทีเดียว
นพ.เฉิดพันธุ์บอกกล่าวถึงเหตุผลที่ตัดสินใจเลือกอยู่ในโรงพยาบาลชุมชนว่า เป็นการเลือกที่จะอยู่เพื่อตอบคำถามบางอย่างแก่ชีวิต และต้องการสร้างระบบสาธารณสุขในฝันอย่างที่อยากให้เป็น

อย่างไรก็ตาม แม้จะใช้ชีวิตอยู่ในโรงพยาบาลชุมชนนานถึง 17 ปี แต่กระทั่งถึง วินาทีนี้นพ.เฉิดพันธุ์ก็ยังคงทำแบบที่ฝันได้เพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้น

สำหรับเส้นทางชีวิตของ นพ.เฉิดพันธุ์นั้น ภายหลังสำเร็จการศึกษาแพทยศาสตร์บัณฑิต จากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ในปี 2532 ในโครงการแพทย์ศาสตร์เพื่อชาวชนบท นพ.เฉิดพันธุ์ ซึ่งมีพื้นเพเป็นชาวชัยภูมิอยู่แล้วได้เริ่มเข้ารับราชการครั้งแรกที่โรงพยาบาลสาขาของโรงพยาบาลจัตุรัส ต่อมาโรงพยาบาลนี้มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า โรงพยาบาลหนองบัวระเหว และนพ.เฉิดพันธุ์ก็ลงหลักปักฐานอยู่ที่นั่นตั้งแต่ปี 2532 เป็นต้นมา

“ช่วงแรกที่เข้าไปอยู่ในพื้นที่เป็นช่วงเวลาแห่งการเรียนรู้ทั้งสิ้น เพราะเราเพิ่งเรียนจบ โรงพยาบาลที่ผมไปอยู่มีแพทย์ 1 คน อาคาร 1 หลัง ทั้งอำเภอไม่มีโทรศัพท์ใช้ ที่โรงพยาบาลก็ไม่มี หน้าตาของโรงพยาบาลขณะนั้นให้นึกถึงสถานีอนามัยหรือศูนย์สุขภาพชุมชนตอนนี้ และอุปกรณ์การแพทย์ก็เทียบเท่ากับสถานีอนามัยเช่นเดียวกัน ผมเห็นสภาพแบบนั้น ทำให้เกิดความคิดขึ้นมาว่า เราน่าจะทำอะไรสักอย่างหนึ่งได้ คือเป็นเรื่องที่ท้าทาย และเป็นเรื่องที่เราอยากลอง สมัยนั้นไม่มีโครอยากมาอยู่โรงพยาบาลชุมชน ใช้ทุนหมดก็ไป แต่ผมเลือกที่จะอยู่”

กิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพของหมอเฉิดพันธุ์

นพ.เฉิดพันธุ์ เล่าว่า ช่วงแรกของการทำงาน คือการเรียนรู้และเข้าหาชุมชนตลอด เพื่อให้รู้จัก เพื่อให้ทราบปัญหาของชุมชน เพราะสุขภาพของชุมชนสัมพันธ์กับโรงพยาบาล

“ผมเรียนรู้ชีวิต เรียนรู้คน สิ่งที่ผมได้เรียนรู้ทำให้รู้ว่าทำไมจน ทำไมเจ็บ ทำไมชาวบ้านคิดแบบนี้ มันทำให้เราเข้าใจการเจ็บป่วย เข้าใจความเป็นคนมากขึ้น หัวใจสำคัญที่ผมได้ คือ เรียนรู้ว่าชาวบ้านกับเรามีคุณค่าเท่ากัน แต่โอกาสไม่เท่ากัน ทำให้ผมรู้จักความเป็นมนุษย์”

นพ.เฉิดพันธุ์ บริหารโรงพยาบาลจากโรงพยาบาลสาขาเป็นโรงพยาบาลขนาด 30 เตียง ท่ามกลางการขาดแคลนแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่และงบประมาณ สิ่งสำคัญที่เน้นย้ำ คือ คนและการจัดการ สิ่งที่เขาต้องการคือ วางระบบสาธารณสุขให้ชุมชน การสร้างสุขภาพชุมชน ทำโรงพยาบาลให้สอดรับกับท้องถิ่น การมีส่วนร่วมของชุมชน และเครือข่ายการรักษา

“สำหรับผมโรงพยาบาลชุมชนไม่ใช่แค่เรื่องของการรักษาพยาบาล แต่จะทำอย่างไรให้คนไม่ป่วยต่างหาก นี่สำคัญที่สุด ทำอย่างไรให้คนไม่ป่วย แล้วถ้าป่วยแล้วจะทำอย่างไรต่อ สิ่งที่ผมคิดถ้าจะบอกว่าสวนกระแสในสมัยนั้นก็ค่อนข้างนะ เพราะผมทำในเรื่องของการส่งเสริมสุขภาพ ทำให้คนไม่ป่วยดีที่สุด”

นพ.เฉิดพันธุ์ เอ่ยว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมา มีคำถามบ่อยมากจากอาจารย์ เพื่อนๆ รุ่นพี่ที่รู้จักว่าเขายังอยู่ที่นี่อีกเหรอ และเช่นกันมีบ่อยครั้งที่โอกาสมาถึงตัวให้เติบโตก้าวหน้าต่อไป แต่เขาก็ไม่เคยไปไหน

“ผมเลือกจะอยู่ที่นี่ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะอยู่จนเกษียณ ผมไม่เลือกไปรับเงินมากกว่านี้ ไปทำงานที่อื่น เพราะสำหรับผมเงินไม่ใช่คำตอบของชีวิต ความสุขและการรู้จักพอตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงคือความสำคัญของชีวิตที่เงินให้ไม่ได้”

ก่อนหน้านี้ในปี 2545 นพ.เฉิดพันธุ์ได้รับรางวัลแพทย์ชนบทดีเด่นของศิริราช และในปีนี้ก็ได้รับรางวัลแพทย์ชนบทดีเด่นของมูลนิธิแพทย์ชนบท ถามด้านความรู้สึก เขาบอกว่า “เป็นรางวัลที่คุ้มค่า ไม่ใช่รางวัลเฉพาะผมแต่เป็นรางวัลสำหรับทีมงานทั้งหมด เพราะเราทำงานกันเป็นทีม เขาควรได้รับความภาคภูมิใจ ส่วนตัวผม การได้รับการยอมรับจากชุมชน จากโรงพยาบาลเล็กๆ ชื่อก็แปลกไม่มีใครรู้จัก ได้รับโอกาสนี้ เป็นโรงพยาบาลที่ผ่านกระบวนการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล ซึ่งใครๆก็บอกว่า โรงพยาบาลชุมชนทำไม่ได้ แต่เราทำได้ และกลายเป็นต้นแบบของโรงพยาบาลชุมชนทั่วประเทศ ซึ่งเราภูมิใจกันมาก”


-2-
นพ.ธวัติ บุญไทย ผอ.โรงพยาบาลม่วงสามสิบ

ขณะที่ นพ.ธวัติ บุญไทย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานีนั้น ประจำอยู่ที่โรงพยาบาลแห่งนี้ตั้งแต่เริ่มตั้งเป็นโรงพยาบาลและอยู่ที่นี่ตั้งแต่ปี 2526 จนถึงขณะนี้ก็เป็นเวลากว่า 23 ปี แล้ว ภายหลังสำเร็จการศึกษาจากคณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี 2523 เขาเป็นแพทย์ฝึกหัดที่โรงพยาบาลพุทธชินราช จ.พิษณุโลก ปี 2525 เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลโขงเจียม จ.อุบลราชธานี ก่อนมาอยู่ที่โรงพยาบาลม่วงสามสิบในรุ่นก่อตั้งและบุกเบิกจนเป็นโรงพยาบาลคุณภาพ

“ตอนที่โรงพยาบาลเพิ่งเกิด ชาวบ้านยังไม่รู้จัก เราก็ต้องทำให้โรงพยาบาลเป็นที่รู้จัก มีทั้งเอาหนังไปฉาย ตั้งวงดนตรี ผมเล่นคีย์บอร์ดบ้าง บางทีก็ร้องเพลง เป็นสื่อให้ชาวบ้าน สอดแทรกความรู้เรื่องสุขภาพ การป้องกันโรคไข้เลือดออก คือให้ชาวบ้านได้รู้จัก หลังๆพอคนไข้เยอะ เวลาน้อยลง มันก็หายไป แต่ก็เท่ากับว่าการประชาสัมพันธ์ของเราได้ผล”

ในการทำงานของนพ.ธวัตินั้น เขามุ่งมั่นพัฒนาโรงพยาบาลโดยเริ่มแรกปรับระบบบริการ OPD (บริการผู้ป่วยนอก)เป็น OPD ในฝัน “ผมมีความคิดว่า โรงพยาบาลชุมชนหรือ รพช.ควรมีระบบบริการเป็นทุติยภูมิ ไม่ควรทำงานซ้ำซ้อนกับสถานีอนามัย จากการวิเคราะห์ผมพบว่า ผู้มารับบริการที่รพช.เกิน 50 % ต้องการการดูแลแค่ระดับปฐมภูมิเท่านั้น ถ้าเราสามารถปรับให้ OPD รพช.รับเฉพาะผู้ป่วยที่ส่งต่อมาจากสถานีอนามัย ยอด OPD ของรพช.จะลดลง ภาระงานของแพทย์ก็ลดลง ทำให้แพทย์มีเวลาดูแลผู้ป่วยมากขึ้น คุณภาพและความสัมพันธ์ก็ดีขึ้น”

สิ่งที่นพ.ธวัติทำ คือ การจัดรถรับส่งผู้ป่วยจากสถานีอนามัย 4-5 แห่งในโซนเดียวกัน ทั้งจากสถานีอนามัยไปโรงพยาบาล และรอรับกลับไปส่งคืนที่สถานีอนามัยหลังตรวจรักษาเสร็จ เป็นการเพิ่มความมั่นใจให้ผู้ป่วยว่า ประตูสถานีอนามัยก็เหมือนเป็นประตูเดียวกับโรงพยาบาล มีความจำเป็นเมื่อไรก็เข้าถึงได้ทันที ทำให้งาน OPD ของรพช.ลดลง

งานพัฒนาที่เป็นความภาคภูมิใจของนพ.ธวัติที่ทำสำหรับโรงพยาบาลม่วงสามสิบ คือ ระบบฐานข้อมูลแบบ All in One

“ทำงานได้ 10 ปี ผมรู้สึกว่าชีวิตน่าจะมีการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง พอดีได้ทุนไปเรียน Community Health ที่ประเทศเยอรมนี มันทำให้ชีวิตได้มีโอกาสและเกิดการเปลี่ยนแปลง ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ไปเรียน 2 ปี จบมาด้วยความรู้สึกว่าเป็นหนี้บุญคุณแผ่นดิน คิดว่าเราต้องตอบแทนให้มากว่าเดิม จึงใช้ความสนใจส่วนตัวคือ เรื่อง IT มาพัฒนาโรงพยาบาล กล้าพูดได้ว่า เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกในอำเภอม่วงสามสิบ คือคอมพิวเตอร์ของผม”

ประชุมทีมภายใน รพ.ม่วงสามสิบ

นพ.ธวัติ เริ่มพัฒนาระบบฐานข้อมูลและโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในงานโรงพยาบาลชุมชน ทั้งฐานข้อมูลประชากร งานประกันสุขภาพ งานบริการผู้ป่วย และการเงินการบัญชี เรียกว่า mBase หรือ Muang Samsib Database ตั้งแต่ปี 2534 จนถึงปัจจุบันประสบความสำเร็จประมาณ 80 % ซึ่งช่วยแบ่งเบาภาระงานของทุกฝ่าย รวมทั้งฝ่ายบริหาร ในเรื่องบัญชีคงค้าง การรับส่งข้อมูลด้านการเงิน

“รางวัลแพทย์ชนบทดีเด่นที่ผมได้รับ แน่นอนคือความภูมิใจ ประเด็นหนึ่งที่ทำให้ผมได้คัดเลือกคือ ชีวิตราชการในโรงพยาบาลชนบท ซึ่งผมพูดได้ว่า อยู่ที่แห่งนี้แบบมีความสุข ไม่ได้อยู่แบบต้องทนอยู่ แต่อยู่อย่างมีความสุขตามอัตภาพ มีคำถามมากว่าอาวุโสขนาดผมน่าจะเข้ามาส่วนกลางได้ ผมมีโอกาส แต่ผมไม่เลือก ผมเชื่อว่ายินดีจะเป็นหัวสุนัขมากกว่าเป็นหางราชสีห์ ดังนั้นก็จะอยู่เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลอย่างนี้แหละ และจะเป็นมันให้ดีที่สุดที่จะเป็นได้ก็พอ เงินไม่ใช่เรื่องใหญ่”

สำหรับนพ.ธวัติ รางวัลแพทย์ชนบทดีเด่นที่เขาได้รับนั้น เขาบอกว่าต้องขอบคุณอย่างมาก ที่ทำให้การคงอยู่ของเขามีความหมายและคุณค่า

“ ผมว่าผมไม่เสียชาติเกิดแล้วนะ มันทำให้การคงอยู่ของชีวิตผมมีความหมายมาก เพราะชีวิตคนเรา มีเกิด คงอยู่ และดับสูญไป ถ้ามองจากภายนอกมาหาที่ตัวเรา เราแทบไม่มีความหมายอะไรเลย เป็นแค่คนเล็กๆ คนหนึ่งบนโลก ดังนั้นเมื่อไรก็ตามที่เรามีโอกาสจะทำอะไรที่ดี ขอให้รีบทำ และจงทำอย่างดี โดยอย่าหวังอะไรตอบแทน เพราะตายไปเราเอาอะไรไปไม่ได้ รางวัลนี้จึงทำให้ผมได้รู้ว่าสิ่งที่ทำมีความหมายและอยากฝากบอกถึงทุกคนว่า หากมีความพอเพียงในชีวิต รู้จักวิธีคิด คุณจะอยู่ที่ไหนก็ได้อย่างมีความสุข”


Posted by : guru , Date : 2006-10-05 , Time : 13:11:17 , From IP : 125.25.63.69




ความคิดเห็นที่ : 13
ใช่ครับ guru นั่นคือ "แพทย์ชนบทที่แท้จริง"

คงพอจะทำให้ หลายคน เข้าใจความหมายของ "แพทย์ชนบท" และเข้าใจในความเป็น "โครงการผลิตแพทย์ชนบท" มากขึ้น ว่ามีความพิเศษกว่าโครงการธรรมดาขนาดไหน

ทำไมต้องให้สิทธ์ เด็กในชุมชน มากกว่า
เพราะคิดว่าจะกลับไปอยู่บ้านตัวเอง หรือใกล้บ้านตัวเอง ที่มีความรัก ความผูกพันธ์ กันมา มีปัจจัยให้เกิดการพัฒนา ระบบสาธารณสุขของชุมชน ได้อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง ซึ่งก็คงว่ากันที่มากกว่า 10 ปีเป็นส่วนใหญ่ (แม้เพื่อนผม จะใช้เวลาแค่ 3 ปี ก็สามารถพัฒนาระบบสาธารณสุขชุมชนให้ดีขึ้นได้ และได้เป็นแพทย์ดีเด่น เหมือนกัน แต่ก็ส่วนน้อย)

อย่างท่านที่สอง ท่านก็ไปเรียนต่อในส่วนที่เกี่ยวกับ แพทย์ชนบท ถึงเยอรมัน นั่นก็เป็นได้


ถามตัวเองหรือเปล่า ว่าทำไมถึงเลือกเข้ามาในโครงการแพทย์ชนบท





Posted by : นานเกินกว่าจะเปลี่ยนใจ , Date : 2006-10-05 , Time : 17:33:14 , From IP : 172.29.1.211




ความคิดเห็นที่ : 14
ขอบอกก่อนว่า ผมเอง ไม่ได้มี อคติกับ โครงการ อะไรที่ว่ามานี้ และผมก็ไม่อยากกล่าวโทษใคร มี ความเห็นที่ 1 และ ความเห็นที่ 3 Med psu นั่นแหละ ครับ ที่ว่า เอา ว่า เอา

ผมเพียงเชื่อว่า
นศพ จะ ซึมซับ ความอยากจะมี อยากจะเป็น อยากจะได้ จากใครที่ใหน หากไม่ใช่ สิ่งแวดล้อม และ สถานที่เรียน ( ยกเว้น พื้นฐานจิตใจจาก ทางบ้าน ดีอยู่แล้ว )

Posted by : guru , Date : 2006-10-05 , Time : 18:47:50 , From IP : 125.25.63.69




ความคิดเห็นที่ : 15
ไม่ค่อยจะแน่ใจเลยว่าคุณGuru เป็นนักศึกษาแพทย์หรืออดีตนักศึกษาแพทย์เพราะบางเรื่องรู้ไม่จริง และทำเหมือนพอเพียงแต่แฝงความไม่พอใจโครงการแพทย์ชนบทมาก ซึ่งนักศึกษาแพทย์ด้วยกันเขาเป็นเพื่อนเรียนเพื่อนกินเพื่อนรักกันและไม่มีเวลาจะมาค่อนขอดเพื่อน ๆ ด้วยกันหรอกใครเรียนต่อได้ก็ต้องยินดีด้วย มีสายรหัสเป็นโซ่คล้องสายสัมพันธ์ฉันพี่น้องกันอยู่

Posted by : สงสัย , Date : 2006-10-06 , Time : 10:28:50 , From IP : 202.90.6.36




ความคิดเห็นที่ : 16
คนที่ต่อว่า โครงการ นี้
คือ Med PSU คห ที่ 3
และ คห ที่ 1 ( มีคำพูดว่า โกง )
และ คห ที่ 8 ( มี คำพูดว่า เลว )
กลัวว่า จะ ลืม ดูข้างบน เลย จะขอ ก๊อบมาให้ดู เต็มๆ นะ
,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,
ความคิดเห็นที่ : 3
เพื่อนร่วมรุ่นที่เข้ามาด้วยโครงการพิเศษนี้ ส่วนใหญ่เป็นแบบที่ว่าเลย
มีส่วนน้อยมาก ๆ ที่จะอยู่ชนบทจริง ๆ
ยังไงก็พิจารณาเอาเองนะ

Posted by : MED PSU , Date : 2006-10-02 , Time : 20:46:18 , From IP : 161.200.255.164
ความคิดเห็นที่ : 1
น่าสนับสนุนให้เป็นจริง

เพราะเห็น โครงการแพทย์ชนบทแถวนี้ หลายคนจบออกมาพอใช้ทุนเสร็จก็ไม่มีใครยอมอยู่ชนบทจริงๆ จังๆ สักที

บางคนไปเปิด คลินิกผิวหนัง
หลายคนต่อเฉพาะทาง แล้วไม่ยอมกลับไปชนบท

ทั้งๆที่เข้ามาด้วยโครงการช่วยเหลือดังกล่าว

พี่น้องชาวชนบทของเรา เลยไม่มีหมอที่รักที่จะเป็นแพทย์ชนบท จริงๆจังๆ สักที

มีแต่เวียนๆ กันไปอยู่ พอเริ่มคุ้นเคย ก็กลับเข้าเมืองกันหมด

หมอในโครงการพวกนี้ถือว่า โกง ได้หรือเปล่านะ

Posted by : .. , Date : 2006-10-02 , Time : 16:46:28 , From IP : 172.29.1.211
ความคิดเห็นที่ : 8


พวกCPIRDนี่เลวทุกคนจริงๆเนอะ.....GURU

Posted by : CPIRD , Date : 2006-10-03 , Time : 22:08:53 , From IP : 210-86-223-212.stati

.................................................................................................
อ่านดูดี 2 รอบ แล้ว สมองคิดตาม ด้วยนะ


Posted by : guru , Date : 2006-10-06 , Time : 16:11:10 , From IP : 61.19.24.122




ความคิดเห็นที่ : 17
ผมก็เห็นแพทย์จบใหม่ที่จบจกามอ.เอง ไม่อยู่ใช้ทุนตามที่จับฉลากได้เหมือนกัน บางคนก็ลาออกไปทำงานเอกชน
อย่างนี้ถือว่าไม่เป็นความผิดหรือไม่ ประเด็นไม่ใช่อยู่แค่ว่านักศึกษแพทย์ที่อยู่ในโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท
ต้องกลับไปทำงานตามชนบท และนักศึกษาแพทย์ที่จบจากมอ.ไม่ต้องไปใช้ทุนก็ได้งั้นหรอ
เราน่าจะมาอภิปรายว่าทำอย่างไรหรือจะแก้ไขปัญหาอย่างไรไม่ให้แพทย์ไหลเข้าสู่สังคมเมืองหรือดรงพยาบาลเอกชนมากกว่า
ดีกว่ามานั่งด่าเฉพาะแพทย์ชนบท ผมไม่รู้ว่านี่คือการติเพื่อก่อหรือติเตียนนะ แต่มันดูเป็นการด่าเฉพาะกลุ่มมากเกินไป

Posted by : ฉนทำะห , Date : 2006-10-06 , Time : 17:05:40 , From IP : 210-86-142-200.stati




ความคิดเห็นที่ : 18
ผมก็เห็นแพทย์จบใหม่ที่จบจกามอ.เอง ไม่อยู่ใช้ทุนตามที่จับฉลากได้เหมือนกัน บางคนก็ลาออกไปทำงานเอกชน
อย่างนี้ถือว่าไม่เป็นความผิดหรือไม่ ประเด็นไม่ใช่อยู่แค่ว่านักศึกษแพทย์ที่อยู่ในโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท
ต้องกลับไปทำงานตามชนบท และนักศึกษาแพทย์ที่จบจากมอ.ไม่ต้องไปใช้ทุนก็ได้งั้นหรอ
เราน่าจะมาอภิปรายว่าทำอย่างไรหรือจะแก้ไขปัญหาอย่างไรไม่ให้แพทย์ไหลเข้าสู่สังคมเมืองหรือดรงพยาบาลเอกชนมากกว่า
ดีกว่ามานั่งด่าเฉพาะแพทย์ชนบท ผมไม่รู้ว่านี่คือการติเพื่อก่อหรือติเตียนนะ แต่มันดูเป็นการด่าเฉพาะกลุ่มมากเกินไป

Posted by : Comets , Date : 2006-10-06 , Time : 17:05:47 , From IP : 210-86-142-200.stati




ความคิดเห็นที่ : 19
มนุษย์จำต้องมีจิตขนาดใหญ่ เพื่อที่จะบรรจุความเมตตาความกรุณาอันไม่มีที่ประมาณไว้ได้ เราสามารถบ่มเพาะและฟูมฟักดูแลจิตให้ขยายใหญ่ขึ้น ด้วยการศึกษาความรู้ทั้งใหม่และเก่าจากทั่วโลกอย่างมีโยนิโสมนสิการ และด้วยอาการอ่อนน้อมถ่อมตนเป็นเจ้าเรือน กำแพงอหังการและมมังการที่รายล้อมตัวเราก็จะพังทลายลง

Posted by : อะคร้าว , Date : 2006-10-06 , Time : 23:55:31 , From IP : 172.29.7.140




ความคิดเห็นที่ : 20
จิตที่คิดให้ โปร่งใส...เบา
จิตที่คิดเอา มัวเมา...หนัก
ให้เมตตา กรุณา ให้ความรัก
จึงเปลี่ยนหนัก เป็นเบา ไม่เขลาเอย

Posted by : อะคร้าว , Date : 2006-10-06 , Time : 23:57:26 , From IP : 172.29.7.140




ความคิดเห็นที่ : 21
คนที่ได้รางวัล 2 คนในปีนี้ คนหนึ่งจบจาก โครงการแพทญืชนบท จุฬา นะครับ

Posted by : guru , Date : 2006-10-07 , Time : 11:22:33 , From IP : 58.181.178.11




ความคิดเห็นที่ : 22
ขอตอบ คห ที่ 15 ผมเป็นอดีต นศพ จริงๆ และ ปัจจุบันนี้ เป็น อาจารย์ สอน นศพ
เคยเห็น นศพ ( ส่วนน้อยมากๆ ) เพื่อนกัน นี่แหละอิจฉาเพื่อน เพราะตัวเองเสียประโยชน์ ( พูดกันลับหลัง ต่อนห้านี่ ปากหวาน)
ผม ถึง บอกว่า ไม่รับรองว่า นศพ โครงการ CPIRD นี้ ดี ทุกคน (แต่ส่วนที่ จบไป 2 ร่น นี้ผมยังไม่เห็นว่า ใคร หนี ที นะ ( ถ้ามี และ ใครณุ้ว่า จริง ก็บอกมาได้เลย )
อ้อ
อาจารย์ที่ดี ต้องสอน โดยไม่กลัวว่า นักศึกษา จะโกรธ เกลียด หรือ กลัวว่า นักศึกษา จะไม่เลือกให้เป็ย อาจารย์คนโปรด

Posted by : guru , Date : 2006-10-07 , Time : 11:36:15 , From IP : 58.181.178.11




ความคิดเห็นที่ : 23
แต่ เกณท์การจัดสรร โควต้าให้นักเรียนทุน ก็อาจจะแปลกๆ อยู่บ้าง เช่น จังหวัดตรัง สงขลา อย่างนี้ ยังมี ทุน ชนบท ( ต่อไป ภูเก็ต นนทบุรี คงถือว่า ชนบทเหมือนกัน นะ ) ก๊อปมาจากคหที่11 ของคุณGuru เป็นอาจารย์แพทย์จริงหรือถึงไม่รู้ว่าภูเก็ตมีนักศึกษาที่เป็นCpird ด้วย ใครอยู่ภูเก็ตช่วยโพสเข้ามาหน่อยซิ

อาจารย์แพทย์มีเขามีเกียรติ มีศักดิ์ศรี มีสมองเขา จะไม่เอาเรื่องอย่างนี้มาโพสต์ให้เสียเวลาหรอก จะแพทย์ไหนๆ ก็ลูกศิษย์ทุกคน

Posted by : สงสัย , Date : 2006-10-07 , Time : 17:00:35 , From IP : 203.113.76.7




ความคิดเห็นที่ : 24
คนที่นี่ จ้องจะ กัดผม ทุกประโยค ทุก ความเห็น ของผม จริงๆ

ผม เองไม่ได้เป็น คน คัดเลือกว่า พื้นที่ใหน ชนบท ตรงใหน เมือง เพราะ Criteria ที่จะแยก ชนบท กับเมือง ไม่มี อะไรแน่นอน แบบ ขาวกับดำ เช่น
ถ้า บอกว่า จังหวัดในมี สนามบิน ถือว่า เมือง อย่างนั้น นราธิวาส ปัตตานี ที่มีสนามบินก็ต้อง เมือง มากกว่า ปทุมธานี นนทบุรีหนะซิ
แต่ ไม่ว่า ลูกศิษย มาจากใหนผมสอน ลูกศิษย์ทุกคนเท่ากัน ในเวลาสอน มี ประโยคใหนที่ผม บอกว่า ไม่สอน ช่วย อ่านใหม่ 2 รอบ + ใช้สมองคิดตามหน่อย

( แต่ถ้า นอกเวลา ที่ถือว่า เป็นเวลาส่วนตัว หาก คนที่ผมไม่ชอบ ผม ก็อาจจะไม่สอน)
ถ้า คนที่คิดว่า เมืองเหล่านี้ เป็น ชนบท ผมก็ไม่ว่า อะไร เมื่อเข้ามาแล้ว ผมก็สอน เหมือน คนที่มาจาก นราธิวาส

ผม ไม่กลัว หรอกครับ ที่ คุณคหที่ 23 จะเรียก พรรคพวก มารุมผม เพราะ คนดี ไม่ใช่ ต้อง ตามความเห็น เพื่อน ทุกครั้งไป

Posted by : guru , Date : 2006-10-08 , Time : 11:51:45 , From IP : 125.25.42.8




ความคิดเห็นที่ : 25
ส่วน คหที่ 17 - 18 นี่ก็ดี ครับ

กว่า หมอจะเรียนจบ นี่ ต้องอาศัยร่างกาย อาจารย์ใหญ่ที่นศพ ปี 2-3 ได้เอามีดเฉือนเนื้อ เอากระดูกมาเรียน ส่วนใหญ่ คงไม่ใช่ คนร่ำรวยในเมือง กระมัง

และ ตอนเป็น นศพ ปี 4-5 และ เอกเทอร์น ใครเล่าที่เอา อวัยวะ และเสี่ยงเอา ชีวิต มาให้ นศพ ได้เรียน คนเหล่านี้ คงไม่ใช่ คนมีเงินมาก ใช่ใหม

อาจารย์ อยากให้ นศพ ไม่ลืม คนเหล่านี้ คนที่ ด้อยกว่า ทางด้าน โอกาศเรียน และ ทำงาน หาเงิน ต้องใช้ชีวิต ด้วยความเมตตา ของเทพเทวดา ให้ฝนตกไม่มากจนน้ำท่วม ไม่แล้งจนกรีดยางไม่ได้ คนเหล่านี้ คงไม่ได้ ใช้ชีวิตในเมืองใหญ่ ศิวิไลซ์ ที่มีหมอเยอะแยะ ใช่ใหม

หากลูกศิษย์ คนใหน อยากทดแทน คุณของ โรงเรียนแพทย์ที่ได้ฝึกสอนคุณ จาก นักเรียน ม .6 จนมาเป็น แพทย์ ขอให้ ไปใช้ทุนที่ รพช ที่ ทุรกันดาร เถอะครับ

เมืองใหญ่ เรามีหมอพอแล้ว ขาดหมอเพียง 3 ปี เมืองใหญ่ๆเหล่านี้ ไม่ลำบากหรอก
อย่า ทำเป็นลืม แล้ว ปล่อยให้ คนที่ คุณได้ เอา ร่างกาย เลือดเนื้อ ชีวิต เขา เป็นแหล่งหาความรู้ ความชำนาญ ต้องรอคอย หมอ ต่อไปอีก 1 ปี เถอะ ครับ

หาก หมอ รุ่นนี้ คิดอย่างนี้ รุ่น ต่อไป ก็คิดอย่างนี้ ไม่คิดแก่งแย่งหลบหนีไปเสียก่อน คงไม่มีเรื่องราวแบบทมี่หลายคนบ่นมาในกระทู้นี้ เกิดขึ้น

การออกไปใช้ทุน ใน รพช ที่ห่งไกล โรงเรียนแพทย์ ถึงแม้ว่า จะน่ากลัว สำหรับเด็กใหม่ แต่ หลาย คน หลายรุ่นทีผ่านๆมา เขาก็ทำกันได้
และ ช่วงเวลานี้ ก็ถือเป็น เกียติประวัติของชีวิตช่วงหนึ่งของ ลูกผู้หญิง และลูกผู้ชาย ทุกคน เหมือนกับ การออกบวช ของคนนับถือศาสนา ที่ ความลำบก จะเปลี่ยนจากเด็ก ให้ เป็น ผู้ใหญ่
การไปใช้ทุน ไม่ใช่ การไป ไง่ จน ดักดาน ขาดโอกาศเจริญเติบโตไม่ทันเพื่อนเสียเลย

เรา ไม่มีใคร จะรู้อนาคตได้ ว่า การไปใช้ทุน จะได้ หรือ เสีย อะไรบ้าง

การลองไปใช้ทุน3 ปี เราอาจจะช้าไปก้าวหนึ่ง แต่ก็ได้ พบทางเดินใหม่ ของชีวิต และ เป็นทางที่ เหมาะ กับเรา และทำให้เรา มีความสุข มากกว่า ก็เป็นได้ ครับ


Posted by : guru , Date : 2006-10-08 , Time : 12:44:51 , From IP : 125.25.42.8



Posted by : guru , Date : 2006-10-11 , Time : 16:13:33 , From IP : 61.19.24.122

ความคิดเห็นที่ : 5


   แบ่ง 2 กลุ่ม
1.กลุ่มใช้ทุน 3 ปี แล้วเรียนต่ออะไรก็ได้
2.กลุ่ม odot มีระยะเวลาการใช้ทุนแล้วเรียนต่อ เช่น ใช้ทุน 4 ปี สามารถเรียนต่อสาขา..... ใช้ทุน 5 ปีสามารถเรียนต่อสาขา.... ตามรายละเอียดลองศึกษาดูน่ะ


Posted by : นศ.แพทย์ 3 จว. , Date : 2006-10-26 , Time : 11:19:18 , From IP : 203.113.77.73

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.007 seconds. <<<<<