ความคิดเห็นทั้งหมด : 43

ผ่าตัดฟรี




   โครงการแพทย์อาสาสมัครศัลยแพทย์นานาชาติจาก สหรัฐอเมริกา จะมาเมืองไทย เพื่อช่วยผ่าตัดคนพิการถวายเป็นพระราชกุศล เเด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เเละสมเด็จพระราชินีนาถ

โครงการแพทย์พยาบาลอาสาสมัครนานาชาติ เเละรพ.ภูมิพล ได้ร่วมมือกัน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อรักษาพยาบาลผู้ป่วยจากท้องถิ่นทุรกันดารทั่วประเทศ และสี่จังหวัดภาคใต้ จำนวน 350-400 คน ระหว่างวันที่ 11-20 มกราคม 2550 โดยจะใช้ รพ.ภูมิพล เป็นศูนย์การรักษาฟรี โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น
สำหรับแพทย์ที่จะมาทำการรักษาในครั้งนี้เป็นกลุ่มศัลยแพทย์พยาบาลไทยนานาชาติ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ 50 ท่าน จากมหาวิทยาลัยแพทย์ต่างๆ ในสหรัฐอเมริกา อาทิ มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย,มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนียฯลฯ ได้ร่วมกันออกทุนทรัพย์ส่วนตัวมาช่วย เพื่อผ่าตัดรักษาผู้ป่วยพิการ โดยมีรายละเอียด ของผู้ที่สามารถขอเข้ารับการรักษา ได้ดังนี้

1.ผู้ป่วยมีโรคทางศัลยกรรม ต่อไปนี้
1.1 ปาก-จมูกแหว่ง (CLEFT LIP) อายุตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไป
1.2 เพดานทะลุ (CLEFT PALATE)อายุตั้งเเต่ 4 เดือน - 20 ปี
1.3 ใบหูพิการ (EXTERNAL EAR DEFORMITY)อายุตั้งเเต่ 4 เดือนขึ้นไป
1.4 ความพิการแต่กำเนิดอื่นๆ(ALL OTHER CONGENITAL ANOMALIES)
1.5 แผลเป็นจากไฟไหม้ นำร้อนลวก (BURN SCAR CONTRACTION)ของ มือ,เท้า, คอ เเละอื่นๆ
1.6 ไส้เลื่อนที่ขาหนีบ เเละหน้าท้อง (INQUINAL & UMBILICAL HERNIA)
2. ผู้ป่วยมีโรคทางตา ต่อไปนี้
2.1 ต้อกระจก
2.2 ตาเข
2.3 หนังตาตก
2.4 ความพิการทางตาที่ต้องรักษาโดยการผ่าตัด

สำหรับผู้ที่ต้องการเข้ารับการผ่าตัดในครั้งนี้ ขอให้ติดต่อมาที่
มริสสา วิริโยทัย
โทร 01-6222706
ตั้งเเต่บัดนี้เป็นต้นไป (ขอให้รีบส่งชื่อมาโดยเร็วที่สุด เนื่องจากทางเจ้าหน้าที่ จะต้องใช้เวลาในการเตรียมการล่วงหน้าด้วยค่ะ)
ซึ่งถ้าเป็นไปได้ อยากให้ส่งชื่อมาภายในเดือน ตุลาคม นี้ค่ะ

ขอรบกวนทุกๆ ท่าน ช่วย Forward email นี้ ให้มากที่สุด เพื่อประโยชน์ของส่วนรวม โดยเฉพาะประชาชนทางสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทางแพทย์กลุ่มนี้ ต้องการช่วยเหลือมากค่ะ



Posted by : ดุกดิก , Date : 2006-10-09 , Time : 10:20:02 , From IP : 172.29.2.197

ความคิดเห็นที่ : 1




   ดูเหมือนจะดีนะครับ แต่วิเคราะห์นิดนึง ซึ่งอาจจะเป็นการมองที่ผิดไปก็ได้นะครับ
ก่อนหน้านี้ ยุคทักษิณ ในการร่างแผนพัฒนา ฉ 10 มีการออกข้อกำหนดเกี่ยวกับ การรักษาของแพทย์ต่างชาติ ซึ่งต่อมาจะให้แพทย์ต่างชาติสามารถมาทำมาหากินใน ไทยได้โดยอิสระ ซึ่งต่างกับประเทศอื่นๆ ที่ต้องผ่านการสอบ license การสอบ USMILE กันก่อน จึงสามารถ ทำงานในเมืองเค้าได้ แต่ รัฐบาลยุคก่อนกลับจะอนุญาตให้เข้ามาฟรีๆ เพื่ออะไรน่ะหรือครับ หนึ่ง คนไข้ต่างชาติที่เข้ามาในไทยเริ่มที่จะเยอะขึ้น เพราะค่าใช้จ่ายที่เราถูกกว่ามาก สอง สืบเนื่องกันมา และในบางโรคที่บ้านเมืองเค้ามีจำนวน case ที่น้อย แพทย์ไม่มีประสบการณ์ จึงต้องหา case เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ แล้วจะเกิดอะไรล่ะครับ ต่อไป แพทย์ไทยความสามารถก็จะลดลง ไม่มีcase ให้รักษา ต่างชาติ เข้ามาเปิดโรงพยาบาลแทนที่ แล้วรู้มั้ยครับว่า ในที่ประชุม ก็มีคนทักม้วงกับท่าน อดีตนายก แล้วคำตอบที่ได้เป็นอย่างไร .......... เค้าก็พูดออกมาว่า เรื่องนี้เราเลิกคุยกันดีกว่า หิวข้าวแล้ว เลิกเถอะ ...
ครับข้อความด้านต้น ยืนยันว่า มาจากในที่ประชุมแน่นอน
สำหรับ โครงการนี้ ไม่ทราบเหมือนกันว่าเกี่ยวกันรึเปล่า หรือมีเจตนาใดๆรึเปล่า
ถ้า มองผิดเจตนาไปก็ต้องขออภัยด้วยครับ


Posted by : Sephiloth , Date : 2006-10-09 , Time : 22:06:13 , From IP : 172.29.7.175

ความคิดเห็นที่ : 2


   ใช้ Objective evaluation มองว่าผลจะเกิดอะไรขึ้นมาบ้าง

ตัวโครงการ โครงการแพทย์พยาบาลอาสาสมัครนานาชาติ เเละรพ.ภูมิพล ได้ร่วมมือกัน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อรักษาพยาบาลผู้ป่วยจากท้องถิ่นทุรกันดารทั่วประเทศ และสี่จังหวัดภาคใต้ จำนวน 350-400 คน ระหว่างวันที่ 11-20 มกราคม 2550 โดยจะใช้ รพ.ภูมิพล เป็นศูนย์การรักษาฟรี โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น
สำหรับแพทย์ที่จะมาทำการรักษาในครั้งนี้เป็นกลุ่มศัลยแพทย์พยาบาลไทยนานาชาติ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ 50 ท่าน จากมหาวิทยาลัยแพทย์ต่างๆ ในสหรัฐอเมริกา อาทิ มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย,มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนียฯลฯ ได้ร่วมกันออกทุนทรัพย์ส่วนตัวมาช่วย เพื่อผ่าตัดรักษาผู้ป่วยพิการ


สิ่งที่อ่านแล้ว น่าจะเป็นผลโดยตรงจากโครงการนี้คือมีการผ่าตัดฟรี โดยแพทย์จากที่อื่น (นอกประเทศไทย) "เพิ่ม" จากปกติ ในช่วงเวลา 10 วัน

ถ้า "เนื้อผ้า" ของโครงนี้ มีแค่นี้ น่าจะเป็นประโยชน์พอสมควรทีเดียว เหมือนกับว่าเราออก OPD แล้วมีหมออีก 30 คนมาขอตรวจเพิ่มเติม "output" ที่ได้คือผู้ป่วยถูกตรวจ ถูกรักษาเพิ่มขึ้น เพราะมี input เพิ่มขึ้น ถึงแม้ว่าจะแค่ชั่วคราวก็เถอะ

ทีนี้ข้อเสีย หรือผลกระทบระยะใกล้ ระยะไกล เป็นเช่นไร เราก็ควรจะคิดให้รอบคอบเช่นกัน ที่มีคนติง หรือเตือนมาแล้วได้แก่

ต่อไป แพทย์ไทยความสามารถก็จะลดลง ไม่มีcase ให้รักษา ต่างชาติ เข้ามาเปิดโรงพยาบาลแทนที่

จากโครงการการกุศล 10 วันนี้ ผมคิดว่าไม่น่าจะกระทบต่อ "ความสามารถของแพทย์ไทย" เพราะทุกวันนี้ เราไม่สามารถจะ clear case หมดเป็นวันๆ หรือต่ออาทิตย์อยู่แล้ว เราต้องมีนัดล่วงหน้าไปเป็นเดือนๆ หรือเป็นปีๆ เนื่องจากหมอจำกัด ห้องผ่าตัดจำกัด เวลาจำกัด ฯลฯ งานของแพทย์ อาจารย์แพทย์ หรือของพยาบาล ก็เหมือนกัน หมดอย่างหนึ่ง ก็มีอีกอย่างหนึ่งรออยู่ ถ้ามีคน fill job บางอย่างไป เราก็จะมีงานเหลือที่จะต้องไปทำอยู่เสมอ ถามว่าถึงขนาดหมด case จะรักษาจาก "โครงการนี้" หรือไม่ ผมคิดว่า impact จากโครงการนี้ (ไม่นับโครงการอื่นๆที่อาจจะมีการพูดในที่ประชุม แต่ไม่ได้กล่าวถึง ณ ที่นี้) ไม่น่าจะสูงขนาดนั้น และโครงการนี้ก็ไม่ได้กล่าวถึงการเปิดโรงพยาบาลที่ปฏิบัติการโดยแพทย์ที่จบต่างประเทศแต่อย่างใด

ของคุณสรุศักดิ์มีสองประเด็นคือ

1. ก่อนที่แพทย์เหล่านั้นจะเข้ามาผ่าตัดในประเทศไทย ท่านได้สอบใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมมาก่อนหรือยัง
ถ้าหมายถึงเป็นหมอจริงรึเปล่า คงจะตรวจสอบได้ไม่ยาก และน่าจะมีการตรวจสอบยืนยันว่าใช่ แต่ถ้าหมายความว่าต้องสอบใบประกอบ "ภาษาไทย" ก่อนหรือไม่ อันนี้คงจะต้องประเมิน "วัตถุประสงค์ของโครงการ" นี้ก่อน
โครงการนี้อ่านดู เน้น operation-based ซึ่งผมคิดว่า post-operative care นั้นจะต้องมีการถ่ายผ่องให้ host ดูต่อ รวมทั้งการ screen เพื่อรับคนไข้ ซักประวัติ อธิบายให้ผู้ป่วยและญาติ ฯลฯ ที่ต้องใช้ communication skill ภาษาไทยทั้งหมด น่าจะมีคนประสาน ไม่น่าจะเป็นฝรั่งพวกนี้มาออก OPD และรับ admit เอง เพียงแต่หมอพวกนี้มา fill OR ให้เต็มที่ และน่าจะเป็นการ "เพิ่ม" case หรืออย่างน้อยก็ทำให้ free staff ไปทำให้เกิด productivity อื่นๆเพิ่ม (อันนี้เดาเอง) ไม่ได้แปลว่า OR เดิมเต็มอยู่แล้ว พอมีหมอพวกนี้มาช่วยผ่า หมอเดิมก็เลยได้ลาพักร้อน

2. politics ในการรับความช่วยเหลืออีกประการคือ "การรับความช่วยเหลือ" เป็นการยอมรับว่าเราล้มเหลวในการจัดการปัญหาเหล่านี้ได้โดยระบบของเราเอง และสำหรับปากแหว่ง เพดานโหว่ สะดือจุ่น ไส้เลื่อนขาหนีบ ผมไม่คิดว่าเราทำได้เลวขนาดที่จะต้องร้องหาให้หมอฝรั่งมากรุณา

psychological (ไม่ใช่ political) ในการรับความช่วยเหลือมีหลายอย่างครับ อาจจะเป็นเรา "ล้มเหลว" อยู่ก็ได้ หรือไม่ใช่ก็ได้ เช่น เราบวชเรียน มีพระอุปัชฌาย์นั้น ไม่ได้แปลว่าเราล้มเหลวในการศึกษา แต่เราก็รับการช่วยเหลือแนะนำ เราเรียนหนังสือต้องมีครูมาสอน ก็ไม่ได้แปลว่าเราล้มเหลวในการเรียน ถ้าเราออก OPD และยอมรับคนมาช่วยออก OPD เพิ้มเติม หรือมีน้อง resident มาขอออกตรวจ ช่วยตรวจ ก็ไม่ได้แปลว่าเราล้มเหลวในการออก OPD เหมือนกัน

ผมคิดว่าเรามีความสามารถในการรับการช่วยเหลือได้ โดยไม่ต้อง degrade ตนเอง หรือผู้รับจะต้องเกิด degrade self value ก่อนเสมอไป จริงๆแล้วการรับความช่วยเหลือ แล้วอีกหน่อยเราก็ไปช่วยคนอื่นๆเพิ่มเติม เป็นสังคมที่น่าอยู่ การที่เรา over-sensitive ว่าจะไม่รับความช่วยเหลือใดๆเพราะเกรงว่าจะเป็นการยอมรับว่าเราล้มเหลวนั้น เกิดขึ้นเมื่อเรามี inferiority complex อยู่ก่อนเท่านั้น เราจบแพทย์สามารถผ่าตัด tranplant heart ได้ ก็ไม่ได้แปลว่าเราจะไม่ "ขอความช่วยเหลือ" จากช่างไปมาเปลี่ยนหลอดไฟให้ (ขออนุญาต exaggerate) และเวลาขอก็ไม่ควรจะต้อง guilt ว่าชีวิตนี้ล้มเหลวขนาดต้องขอความช่วยเหลือ

เวลาเรารับความกรุณาจากผู้อื่น เราสามารถจะรับด้วยจิตปิติ หรือจิตที่ทุกข์ระทมเศร้าหมองได้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับเราเอง ว่าจะรับแบบไหน ราชสีห์สามารถรับความเมตตาจากหนูได้ โดยไม่ต้องกังวลหรือทุกข์ระทมว่าเป็นราชสีห์ที่ล้มเหลว เพราะว่าถ้าเรามั่นใจในคุณค่าของตัวเรา ในศักยภาพของเราแล้ว อีกหน่อยเราก็จะสามารถช่วยเหลือคนอื่นๆต่อไปได้ ทำให้สังคมนี้สามารถช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ตามโอกาส ตามความเหมาะสม โดยที่ไม่ต้องแบก หรือถูก labelled ว่าใครเป็นลูกไล่ ใครเป็นผู้นำเสมอไป

และต่อให้เกิดคนที่มาช่วย อาจจะมีบางคนคิดว่ามาช่วยเพราะเราล้มเหลวในการดูแลคนไข้ก็ตาม มันเป็นความคิดของปัจเจกบุคคลทีจิตใจไม่พัฒนา ถ้าขณะที่มันทำอย่างนั้น แต่มีประชาชนของเราได้ประโยชน์ ได้รับการรักษา มีสุขภาพที่ดีขึ้น ผมคิดว่าประโยชน์เหล่านี้น่าจะนำมาชั่วน้ำหนักก่อนที่จะปฏิเสธอะไรไปล่วงหน้า การ stereotype หรือการจินตนาการเพื่อทำร้ายตนเองนั้น ไม่พบบ่อยเท่าไรที่จะเกิดประโยชน์ต่อตัวเราเอง และจริงๆแล้วถ้าหมอคนไหนที่มาช่วย แล้วสรุปว่าหมอไทยไม่สามารถผ่าตัด hernia, burn etc เหล่านี้ได้ จึงต้องมาช่วย นั่นจะเป็นปรากฏการณ์ที่แปลกมาก

ในบรรดาอาสาสมัครหลายๆ field ที่เคยพบปะทำงานด้วยนั้น ผมไม่ค่อยพบบ่อยเท่าไรที่คนพวกนี้ (อาสาสมัคร volunteer) ไปทำงานโดยพร้อมที่จะดูถูก ดูหมิ่น คนที่เขาไปช่วย อาสาสมัครฉือจี้ของไต้หวันนั้น ไปช่วยใครที่ไหนเสร็จแล้ว เขาจะก้มลงโค้งขอบพระคุณคนที่เขาไปช่วยอย่างจริงใจ เพราะเขาให้คุณค่าสูงสุดที่การกระทำช่วยเหลือ และจะพยายามรักษาจิตใจให้บริสุทธิ์ในกิจกรรมการช่วยนั้นให้มากที่สุด แทนที่จะหมกมุ่นคิดว่าไอ้พวกที่ไปช่วยนี้มันล้มเหลวในชีวิต ข้าต้องลำบากมาช่วยเหลืออยู่
====================================

ผมอาจจะตีความมากไปหน่อย แต่คิดว่าน่าสนใจและมีประเด็นจะอภิปราย ก็ยินดีที่จะรับฟังความคิด เพิ่มเติม หรือการแก้ไขความเข้าใจผิด ความเขลาของผมเองครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2006-10-10 , Time : 12:09:11 , From IP : 172.29.3.231

ความคิดเห็นที่ : 3


   ขอบพระคุณครับ คุณ phoenix สำหรับมุมมอง แต่ผมก็ยังมองไม่เห็นอยู่ดี ว่าเรามีความจำเป็นต้องรับความช่วยเหลือในการผ่าตัดไส้เลื่อนหรือสะดือจุ่นตรงไหน (ขอเอาแค่สองโรคที่อยู่ในขอบข่ายสติปัญญา) เวลานี้คิวผ่าตัดโรคเทือกนี้ของโรงพยาบาลสงขลานครินทร์เอง ไม่เกินเดือนครึ่งครับ แต่ผมทราบว่าคิวผ่าตัดโรคเดียวกันนี้ในโรงพยาบาลเกรทออร์มอนสตรีท กลางกรุงลอนดอนสำหรับคนไข้ที่หลวงออกเงินค่าผ่าตัดให้นั้น มากกว่าสามเดือนขึ้นไป

ผมเข้าใจเรื่องจิตกุศลกับการให้ความช่วยเหลืออยู่บ้าง (แม้จะกระท่อนกระแท่นเต็มที) แต่ยังยืนยันว่า เรื่องที่ว่าด้วยการเมืองของการให้และรับความช่วยเหลือ มันมีอยู่จริงครับ ปฏิเสธไม่ได้ แกล้งปฏิเสธมันก็ไม่หลุดไปจากหน้าผาก

ลองนึกดูสิครับ ในวันฟ้าใส ผมนึกอยากจะไปช่วยโรงพยาบาลในประเทศอังกฤษผ่าตัดด้วยจิตกุศลบ้าง ท่านคิดว่าคนอย่างผมจะทำได้ไหม อ้อ ผมเคยกระเสือกกระสนจะลองทำแล้วครับ แล้วก็พบว่า แม้แถมเงินให้ด้วย ผมก็ทำได้อย่างมากแค่ช่วยตัดพลาสเตอร์ และเปิดปิดไฟผ่าตัด ไม่ต้องพรั่นคิดแม้กระทั่งจะไปช่วยดึงช่วยถ่างให้ได้เห็นการผ่าตัดอย่างชัดชัด

หรือผมมีใจกรุณาขึ้นมา บอกว่าจะไปผ่าไส้เลื่อนขาหนีบฟรีเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ในโรงพยาบาลในเมืองบอสตัน เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะคนไข้ที่ไม่ได้ถือประกันเมดิเคด คิดว่าความคิดนี้เป็นประไรมากไปกว่าการเพ้อเจ้อที่เขลาหรือการฝันกลางวันแสก ๆ

ผมเคยดูสารคดีที่กล่าวถึงแนวโน้มการเข้ามารักษาตัวในประเทศอย่างไทย อินเดีย ของชาวตะวันตกที่จ่ายค่ารักษา ค่าผ่าตัดในประเทศของเขาไม่ไหว และเมื่อมีการสัมภาษณ์ความเห็นเรื่องนี้จาก AMA (American Medical Association) ผมไม่เห็นเขาตอบว่า "โอ ขออนุโมทนาในความกรุณาของแพทย์ไทย ที่ช่วยผ่าตัดสันหลังให้อเมริกันชนในราคาถูก" แต่เขาตอบสั้น ๆ ว่า "ไม่มีความเห็น และไม่ขอแนะนำ"

หมออเมริกันมาสิบคน เมื่อเทียบกับปริมาตรปริมาณของทั้งระบบ มันไม่มีปัญหาหรอกครับ แต่เมื่อสิบคนมาได้ violate law ได้ ต่อไปก็จะมาได้อีก เท่าไหร่ก็ได้ ชาติไหนก็ได้ คนที่เป็นศัลยแพทย์คงจะพอรู้ว่าเวลานี้ในประเทศอินเดีย มีสถาบันฝึกอบรมการผ่าตัดผ่านกล้องที่เปิดทางการค้าเพื่อขายประสบการณ์ให้กับแพทย์ต่างชาติ โดยมีตลาดใหญ่สำหรับกลุ่มประเทศเอเชียกลางและยุโรปตะวันออก การผ่าตัดได้รับการโฆษณาและเชิญชวนว่าฟรีครับ เนื่องจากต้องการประสบการณ์ สำหรับจำหน่าย

โลกนี้ไม่มีสิ่งใด ที่ปราศจากค่าใช้จ่ายครับ


Posted by : สุรศักดิ์ , Date : 2006-10-10 , Time : 13:16:34 , From IP : pedsurg.med.osaka-u.

ความคิดเห็นที่ : 4


   ขอบคุณครับที่ต่อยอด

เนื่องมาจาก "การรับความช่วยเหลือ" นั้นไม่ได้เกิดจาก "ความจำเป็น" เสมอไป และประการที่สอง "ความต้องการ" มีทั้งเพราะความ "ยาก" และ "ปริมาณ"

ขออนุญาตขยายความ

จากที่อ่านโครงการ (ไม่ได้ไปแสวงหาเพิ่มเติม เอาจากที่มีตรงนี้แค่นั้น) กลุ่มผู้ป่วยที่โครงการนี้ specify ก็คือ เพื่อรักษาพยาบาลผู้ป่วยจากท้องถิ่นทุรกันดารทั่วประเทศ และสี่จังหวัดภาคใต้ จำนวน 350-400 คน

กลุ่มผู้ป่วยนี้มีปัญหาไม่ใช่เพราะเป็น "โรคยาก" แต่เป็นเพราะด้อยโอกาส ไม่ใช่เพราะหมอไทยรักษาไม่ได้ แต่เป็นโดยระบบที่มีอยู่ โครงการนี้อาจจะช่วย "เร่ง" ให้คนเหล่านี้ได้รับการรักษาได้ "เร็วขึ้น" เมื่อเปรียบเทียบกับถ้าไม่มีโครงการนี้ในระหว่างวันที่ดังกล่าว ไม่ว่าเราจะมี waiting list อย่างไร คำถามในเรื่องนี้ก็คือ มีผู้ป่วยได้ประโยชน์เพิ่มขึ้นหรือไม่จากการมีการผ่าตัดเหล่านี้เพิ่มมากขึ้น ทั้งในแง่ค่าใช้จ่าย และคุณภาพชีวิต

ที่ผมวิเคราะห์ก็คือ "ถ้า" มีผู้ป่วยตาม criteria เบื้องต้น ได้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์นี้จริง เปรียบเทียบกับ "ผลเสีย" ที่อาจจะเกิดขึ้นจากโครงการนี้เป็นอย่างไรเท่านั้น
==================================

ปัญหาทางสุขภาพของโลกใบนี้ ไม่ได้แค่ "ยาก" เท่านั้นครับ ผมเชื่อแน่นอนว่าถ้ามีวิธีไหนที่จะช่วยเรื่อง volume ด้วย จะมีการอ้าแขนรับแน่นอน (ถ้าคุ้มทุน เวลา) คำว่าคุ้มนี้เองที่ทำให้โครงการที่เป็น อาสาสมัคร หรือการกุศล เด่นขึ้นมา เพราะเป็นการระดมทรัพยากร "นอกระบบเดิม" เข้ามา ขอเพียงความช่วยเหลือนั้นๆไม่ได้ไป "ป่วน" วัฒนธรรมของเดิม ตรงนี้ที่พยายามจะค้นหาอยู่ว่า ถ้ามีหมอจากต่างประเทศมาช่วยผ่าตัดในประเทศเรา 10 วัน สัก 350-400 คนนั้น จะเกิดผลร้ายอะไรบ้าง ทั้งนามธรรมและรูปธรรม ผมยังไม่ชัดเจนเท่าไรนัก โครงการของคุณสรุศักดิ์ในอังกฤษอาจจะเกาไม่ถูกที่คันของเจ้าของบ้าน เจ้าของร่างกาย ไปเกาเขาอาจจะแสบมากขึ้น แต่ถ้าเราไปเกาที่เขาต้องการ ผมยังคิดว่าน่าจะสบายดี (คิดเองจากเวลามีคนเกาหลังให้)

สิ่งที่เรากลัว สิ่งที่เราเกรงนั้น ทำให้เราต้องรอบคอบ และคิดหาทางแก้ไขป้องกัน เพราะผมไม่ศรัทธาในการ ban หรือการ reject แต่ผมศรัทธาในการหาทางออกมากกว่า ในปัจจุบันเรามี nanotechnology มี cloning มี immunotherapy ซึ้งมีศักยภาพในทางบวกลบไม่แพ้ nuclear technology เรามองหาว่าอะไรบวกบ้าง ไปพร้อมๆกับอะไรลบบ้างได้เสมอ

หมออเมริกันมาสิบคน เมื่อเทียบกับปริมาตรปริมาณของทั้งระบบ มันไม่มีปัญหาหรอกครับ แต่เมื่อสิบคนมาได้ violate law ได้ ต่อไปก็จะมาได้อีก เท่าไหร่ก็ได้ ชาติไหนก็ได้ คนที่เป็นศัลยแพทย์คงจะพอรู้ว่าเวลานี้ในประเทศอินเดีย มีสถาบันฝึกอบรมการผ่าตัดผ่านกล้องที่เปิดทางการค้าเพื่อขายประสบการณ์ให้กับแพทย์ต่างชาติ โดยมีตลาดใหญ่สำหรับกลุ่มประเทศเอเชียกลางและยุโรปตะวันออก การผ่าตัดได้รับการโฆษณาและเชิญชวนว่าฟรีครับ เนื่องจากต้องการประสบการณ์ สำหรับจำหน่าย

ประเทศไทยมีกลุ่มจักษุแพทย์มาผ่าตัดต้อให้ฟรีมาเกือบทุกปีที่ย่านตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่ 10+ กว่าปีมาแล้ว โรคต้อกระจกเป็นปัญหาสาธารณสุขที่ใหญ่มากแต่จำนวนหมอตาไม่พอ ไม่ได้แปลว่าเราทำไม่ได้นะครับ แต่ทำไม่ทัน มีผู้ป่วยได้รับการช่วยเหลือจาก package นี้ทุกๆปีๆละเป็นร้อยๆคน ผมไม่เคยทราบว่ากลุ่ม volunteer ophthalmologists กลุ่มนี้ เคยสร้างปัญหาสาธารณสุขเชิงอะไรบ้าง แต่ผมคิดว่ามีผู้ป่วยจำนวนเป็นพันๆคน so far ที่มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น

เห็นด้วย 100% ที่ว่ากฏหมายไม่ควรถูกละเมิด แต่กฏหมายอะไรก็ตามที่มี conflict กับกฏหมายที่สูงกว่าคือรัฐธรรมนูญก็ต้องแก้ไข รัฐธรรมนูญก็ไม่ได้ถูกต้อง 100% เสมอไป รัฐธรรมนูญที่ไม่ได้ serve for the best benefit of citizen ก็ต้องมีการแก้ไขปรับปรุง สุดท้ายสิ่งที่เรายึดเหนียวคืออะไร? เราคงต้อง "ยึด" ตรงนี้ มากกว่าคิดว่าประชาธิไตยคือการเลือกตั้ง หรือถูกกฏหมายแปลว่าถูกจริยธรรม

ใน operations ที่โครงการนี้เสนอมา จากสายตา (ที่สั้น 600 ของผม) ยังไม่เห็น marketing benefit สำหรับอาสาสมัครกลุ่มนี้ ถ้าได้ช่วยเปิดหูเปิดตาจากผู้รู้ก็จะยังประโยชน์อย่างยิ่ง ในขณะที่ไม่มีสิ่งใดในโลกนี้ไม่มีค่าใช้จ่าย ก็ไม่ได้แปลว่าการจ่ายนั้นจะไม่คุ้มเสมอไป ถ้าเราเป็นคนมีสติปัญญา ระแวดระวัง และรอบคอบไม่แพ้คนอื่น เราก็สามารถเดินออกไปจับจ่ายใช้สอยอย่างฉลาดได้อยู่เสมอ

ไม่ได้ปฏิเสธว่ามีการเมืองเกี่ยวข้อง แต่ so what? เราทำการค้าขาย ช่วยเหลือ อาสาสมัคร ใน global scale มานาน การเมืองเกี่ยวพันกับทุกอณูของชีวิตอยู่แล้ว แต่ถ้าจะใช้คำนี้ในด้าน universal evil อย่างเดียว ผมยังไม่เห็นด้วย คงต้องขอให้ขยาย speculation ในด้านนี้ และอยากจะขอในเวลาเดียวกันว่ามีการขยายในด้านประโยชน์ไปพร้อมๆกันด้วย เพราะผมคิดว่า there is no such thing as pure evil, or pure goodness

และเพื่อความสนุกสนานในการ "แปล" คุณสุรศักดิ์รู้สึกหรือแปลว่าอย่างไรครับ เมเมื่อ AMA ตอบมาว่าอย่างนั้น

Am waiting the response





Posted by : Phoenix , Date : 2006-10-10 , Time : 13:57:07 , From IP : 172.29.3.231

ความคิดเห็นที่ : 5


   Continued

พอดีฝนตก ออกไปข้างนอกไม่ได้ เลยกลับมาเขียนต่อ
=======================================

สิ่งที่เรา "เกรง" ว่าจะเกิดและเป็นผลเสียนั้น เราควรจะ react อย่างไร?

ผมคิดว่าเราสามารถจะสร้างเกณฑ์ สร้างกฏ สร้างการคัดกรอง กระบวนการต่างๆมาควบคุมให้ดีขึ้น ในบรรดา "ของนอก" ที่ flood เข้ามาในประเทศนั้น ก็ควรจะคัดกรองเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็น FTA หรือจะเป็นการค้าระหว่างประเทศแบบไหน หรือความสัมพันธ์ทางการฑูตแบบใด ขอเพียงเราทำไปด้วยสติ ด้วยปัญญา เราก็น่าจะได้อะไรมากกว่าเสียจากสิ่งนั้นๆมาได้ มากกว่าการที่จะสรุปว่าอะไรเป็น universal evil

วิชาการแพทย์นั้น ควรหรือไม่ที่จะมี boundary ban (by-law) ตาม geography ก็เป็นคำถามเชิงรัฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ และปรัชญาได้

และถ้าไม่ ban แต่เปลี่ยนเป็น regulate จะดีกว่าไหม? ถ้าดีกว่า คำถามอีกสองคำถามถัดไปคือ ได้ไหม? อย่างไร?

ผมไปเรียนต่อที่อังกฤษ คุณสุรศักดิ์ก็ไปที่อื่นๆมา เขาก็มีคำถามประเภท แสดงมาซิว่าทำไมเขาจะไว้วางใจ ขอดูโน่น ดูนี่ ที่เขาทำก็ไม่ได้เพราะดูถูกอะไรหรอก มันเป็นการรักษาผลประโยชน์ของ "คนไข้" ของเขา ทีนี้เราจะรักษาผลประโยชน์ของคนไข้ของเราได้ไหมล่ะ เมื่อหมอต่างชาติจะขอมาร่วมให้การรักษาในประเทศของเรา? เราจะขอดูโน่น ดูนี่ ขอ certificate ขององค์กรวิชาชีพ หรืออะไรที่เราคิดว่าจำเป็นก่อนได้ไหม? ตอนที่เราไปหัดคุ้ยแคะแกะเกาคนไข้เขาที่ประเทศต่างๆนั้น ทำไมเขาถึงไม่คิดว่าเรากำลังทำผิดกฏหมาย? ถ้ามันถูกกฏหมาย มันถูกตอนไหน เพราะเอกสารอะไรบ้าง? มีขั้นตอนที่เป็น quality assurance ตรงไหนบ้าง?

หรือว่าเรามี evidence อะไรที่ทำให้เรารังเกียจหมอ volunteer กลุ่มนี้ ว่าจะทำให้ระบบสาธารณสุขของประเทศไทยแย่ไป (กว่านี้ ถ้าเป็นไปได้) ก็อาจจะต้องรีบท้วงติง ชี้แนะ (อย่างเชิงประจักษ์) โดยไม่ใช้ emotional เกินไป

ถ้าได้คนรอบคอบ sceptic มาช่วยดูแล ผมว่ายิ่งน่าจะดี เห็นด้วยไหมครับ?





Posted by : Phoenix , Date : 2006-10-10 , Time : 14:16:07 , From IP : 172.29.3.231

ความคิดเห็นที่ : 6


   ผมคิดว่าเรากำลังอภิปรายกันเรื่องเดียวกันแต่คนละมิติ แถมยังพยายามอภิปรายว่าลูกเต๋าลูกนี้นี้เบอร์ 4 หรือ เบอร์ 6 ขณะที่ยืนกันคนละที่ (literally!!)

แม้แต่คำว่า “ระบบ” เอง ผมก็ไม่แน่ใจว่าเรา share ความเหมือนมากน้อยแค่ไหน ในความคิดคำนึงของผมนั้น ระบบจะเป็นเรื่องของหลักฐาน เรื่องของ evidence มากกว่าอารมณ์ หรือ “ความรู้สึก” และที่แน่ๆอย่างหนึ่งก็คือระบบนั้นไม่ควรใช้ stereotyping หรือ generalizing มาประกอบ

ถามว่าประเทศอังกฤษไม่ออก visa ให้หมอพยาบาลจาก Asia แสดงถึงเขา “ไม่ไว้วางใจ” หรือไม่ ผมคิดว่าไม่ใช่ครับ หรือว่ามีเหตุผลสำคัญอื่นๆมากกว่าในการที่เขาออกกฎหมายฉบับนี้ อาทิ มี feedback จากบาง case ว่ามีคนไข้เสียชีวิตไปเพราะ language competency และรัฐบาลไม่สามารถจะการันตี test ไหนๆได้มีประสิทธิภาพพอที่จะ assure ว่าไม่เกิดขึ้นอีก ทั้งๆที่ professional competency ดี แต่ defect ตรงนี้อาจจะสำคัญเกินกว่าที่จะให้หลุดรอดออกมาแม้แต่รายเดียว หรือการที่มี commitment กับประเทศใน EU ทำให้ต้องเปิดรับหมอ พยาบาลจากยุโรปตะวันออกเป็นหลักถ้าจำเป็น ซึ่งก็ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับ professional competency อีกเช่นกัน หรือว่าการที่มีหมอ พยาบาล เข้าไปตรงนี้ประเทศเขาต้องเพิ่ม benefit ต่างๆ เช่น housing benefit, job benefit, school and child benefit ให้กับคนที่ไม่เคยจ่ายภาษีให้ประเทศเขามาเลย คนในประเทศก็อาจจะเกิดอารมณ์ไม่พอใจได้ (ตอนผมอยู่ที่อังกฤษ รัฐบาลเขาจ่าย child benefit ให้อาทิตย์ละ 10 กว่าปอนด์ด้วย) มีหลากหลายสาเหตุที่ไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับ health ที่ทำให้กฎหมายนี้ออกมา

แต่ทว่านี่มันเกี่ยวอะไรกับ charitable international health project ล่ะครับ?

ตอนที่ผมอ่านโครงการนี้ครั้งแรก ผมไม่ทันเห็นคำ “อเมริกัน” ซะด้วยซ้ำ ผมกลับ selectively คำ “โครงการแพทย์พยาบาลอาสาสมัครนานาชาติ” มากกว่า พึ่งย้อนกลับไปดูจึงเห็นคำนี้ ตรงนี้คือประเด็นที่ผมอยากจะนำเข้ามาคือ stereotyping และการมี selective perception ของข้อมูล (ของเราทั้งสอง) ผมรับคำ แพทย์อาสาสมัครนานาชาตินั้น ผมไม่ได้ care less or more ถ้าเผื่อโครงการนี้จัดโดยองค์กรที่มี credit พอสมควร (ยกให้เป็นหน้าที่ของเจ้าของโครงการที่จะไปหา credential parameter และหวังว่ามีการ consult กับองค์กรมาตรฐานวิชาชีพทางการแพทย์ของประเทศไทยด้วย) เช่น WHO ถ้าหมอจากองค์กรอนามัยโลกมาช่วย เราควรจะขอดู passport ก่อนไหมว่าหมออเมริกัน หมออังกฤษ หมอพม่า หรือเบงกาลี? แต่ที่น่าสนใจคือ เรา “รู้สึก” อย่างไร ที่น่าสนใจเพราะผมกำลังเกิด “ความรู้สึก” ว่าเราอาจจะรู้สึกแตกต่างกันได้เยอะมากทีเดียว และอาจจะมี merit ที่จะอภิปรายต่อว่า การรู้สึกที่แตกต่างกันนี้เอง อาจจะเป็นสาเหตุของการได้รับรู้คุณค่าหรือโทษที่แตกต่างกันรึเปล่า

ถามว่าถ้าในที่ประชุม conference มีหมอจากประเทศหนึ่งวิเคราะห์ว่าระบบสาธารณสุขของประเทศไทยล้าหลังและไม่ทันสมัยผมจะโกรธหรือไม่ คงมีวูบวาบบ้างครับ แต่การโกรธนั้นจะช่วยทำให้ข้อมูลที่ถูกต้องเกิดขึ้นมารึเปล่า หรือจะทำให้คนที่มีอวิชชาเปลี่ยนเป็นผู้รู้หรือไม่ หรือการโกรธ ไม่ร่วมสังฆกรรมกับมันนั้น จะทำให้เราคลายสงสัยได้ไหมว่า “เพราะอะไรหนอ ไอ้บัดซบโง่เง่าตนนี้จึงสรุปออกมาแบบนี้” ผมคิดว่าถ้าอยู่ใน capacity ผมคงจะออกไปชี้แจงว่าทำไมผมไม่เห็นด้วย แต่ผมจะไม่เริ่มต้นจากการ ban ไม่ให้คนเหล่านี้เข้าประเทศเรา ผมคิดว่าเราน่าจะเริ่มจาก methodology แบบไหน บริบทแบบไหนที่มันไปเจอมา (เพราะบางบริบท มันอาจจะบีบให้สรุปอย่างนั้นได้จริงๆ แต่คงจะไม่ represent ประเทศ) นี่คือวิธีที่เรา appraise journal หรือ approach evidence-based medicine ใช่ไหมครับ

Integrity ของ professional competency ของเรานั้น ผมไม่คิดว่าเราจะรักษาได้ด้วยการไม่รับหมอต่างประเทศที่อาสาสมัครเข้ามาผ่าตัดในประเทศไทยเป็นเวลา 10 วันได้ เพราะ integrity นั้นจะต้องมาจาก accountability และ transparency ได้แก่ การมีความรับผิดชอบ และเปิดให้ตรวจสอบได้อย่างโปร่งใส ในฐานะที่เราอยู่ในวงการวิขาการ ผมเชื่อว่าเรารู้ดีว่าเกิดอะไรขึ้นกับคนที่ด่วนสรุป ที่ด่วน criticize อะไรต่อมิอะไร และที่ด่วน stereotyping ข้อมูลที่ไม่เพียงพอ ในระบอบและบริบทปัจจุบัน ผมจึงไม่ห่วงมากนักหนากับ comment ของใครก็ตามที่จะสรุปว่ามาตรฐานการรักษา การผ่าตัด (ที่เรากำลังพูดถึงในกระทู้นี้) ตกต่ำขนาดใครต้องแห่กันมาช่วยเหลือ ใครๆก็รู้จากโครงการนี้ที่เขียนมาว่าทำเพื่อการกุศล และเนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองการครองสิริราชสมบัติ 60 ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรา ถ้าจะมีฝรั่งหน้าโง่คนไหนเอาไปขยายต่อ ดูถูก integrity ของการแพทย์ไทย ก็จงให้มันทำได้ at its own peril ก็แล้วกันครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2006-10-10 , Time : 16:59:09 , From IP : 172.29.3.231

ความคิดเห็นที่ : 7


   มีข้อสงสัยนิดหน่อยครับ ที่ว่ารักษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย นี่.

1.ให้ คนจาก 3 จังหวัดชายแดนใต้ ไปผ่าถึง กรุงเทพ ค่ารถ ค่าเดินทาง ใครออกให้ครับ
2. ผ่าแล้ว หากเกิด โรคแทรกซ้อน ใครดูต่อ ครับ และ ค่าใช้จ่ายต่อเนื่อง ใครรับผิดชอบ
3.ผ่าแล้ว หมอคนใหน รับเป็น หมอเจ้าของไข้ ดูแลต่อครับ

ส่วนที่ คุณ ฟีนิกซ์ บอกว่า หมอตาจากเมืองนอกมาผ่า ตา ให้ คนไทย( ขอก๊อบ มาจากของคุณ นะ )

"" ประเทศไทยมีกลุ่มจักษุแพทย์มาผ่าตัดต้อให้ฟรีมาเกือบทุกปีที่ย่านตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่ 10+ กว่าปีมาแล้ว โรคต้อกระจกเป็นปัญหาสาธารณสุขที่ใหญ่มากแต่จำนวนหมอตาไม่พอ ไม่ได้แปลว่าเราทำไม่ได้นะครับ แต่ทำไม่ทัน มีผู้ป่วยได้รับการช่วยเหลือจาก package นี้ทุกๆปีๆละเป็นร้อยๆคน ผมไม่เคยทราบว่ากลุ่ม volunteer ophthalmologists กลุ่มนี้ เคยสร้างปัญหาสาธารณสุขเชิงอะไรบ้าง แต่ผมคิดว่ามีผู้ป่วยจำนวนเป็นพันๆคน so far ที่มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น ""

ถ้าคุณไม่ได้เป็นหมอตา ขอให้ คุณไปถามคน ที่เป็นหมอตาที่อยู่มนวัย มีประสพการณ์มากสักนิด ก่อน ค่อยมาพูด จะดีกว่า คิด เอง เออ เอง นะครับ


และ
"" ใน operations ที่โครงการนี้เสนอมา จากสายตา (ที่สั้น 600 ของผม) ""

ทำไมหมอที่มา ไม่มีการทำเลซิค ( LASIK ) ให้ฟรีๆ บ้างนะ

คนไทย ชอบ ของฟรี ที่สุดอยู่แล้ว


Posted by : guru , Date : 2006-10-10 , Time : 19:01:51 , From IP : 125.25.61.246

ความคิดเห็นที่ : 8


   ดีใจครับที่มีคนอุตส่าห์เก็บเล็กผสมน้อยมาขอให้ช่วยขยายความ

ผมคิดว่าผมมีข้อมูลเกี่ยวกับผลการรักษาและความจำเป็นของการผ่าตัดตาพอสมควรครับ ในกรณีนี้ผมพอจะบอกได้ว่าสภากาชาดไทยเป็นเจ้าภาพจัดเชิญหมอไปลงช่วย ส่วนที่ปราจีนบุรีที่ผมพูดถึงนั้นนั้นเป็นหมอ Orbis (องค์การการกุศลที่บินไปผ่าตัดตาให้ประเทศที่มีผู้ป่วยด้อยโอกาสทั่วโลก) เผอิญผมใกล้ชิดกับพวกหมอตาอยู่บ้างมาประมาณเกือบ 20 ปี ยกเว้นคุณ guru มีอะไรทีทราบมาว่ามันไม่ดี พอจะบอกมาก็ได้นะครับ เราจะได้แลกเปลี่ยนกันว่าผ่าตัดต้อกระจกดีไม่ดีต่อคุณภาพชีวิตอย่างไร
========================

ประเด็นสามข้อที่ถามมานั้น ผมยังมองไม่เห็นชัดเจนว่าคุณ guru ต้องการจะสื่ออะไรบ้าง เชื่อว่าคนไข้ที่ต้องการจะรักษาฟรีในโปรแกรมนี้คงจะถามคำถามใกล้เคียงกัน และมีส่วนในการตัดสินใจในประเด็นทั้งหลายแหล่ คุณหมอจากภูมิพลฯก็คงจะเป็นคนไทยที่พอจะให้คำตอบที่ชัดเจนในเรื่องเหล่านี้แก่ผุ้ป่วยที่จะเข้าโครงการก่อนจะตัดสินใจ ผมคิดว่าเราน่าจะให้เกี่ยรติคุณหมอจากภูมิพลฯบ้างหรือไม่ครับว่า เขาก็มีความเป็นแพทย์ และห่วงใยคนไข้ไม่แพ้พวกเราที่อยู่ที่นี่ เมื่อผ่าตัดเสร็จ รพ.ระดับภูมิพลฯจะมีแผนในการดูแลการรักษาดีหรือแย่ขนาดไหน คุณ guru อยากจะคิดว่าอย่างไรล่ะครับ?

ถ้าหมอที่มาจะทำ lasik ให้ฟรีๆ ผมยังคิดว่าคนไข้ที่จะทำคงต้องมีส่วนร่วมในการตัดสินใจอยู่บ้างใช่ไหมครับ ส่วนใครจะใช้การรักษาฟรีเป็นเรื่องสำคัญที่สุดแค่ประเด็นเดียวนั้น ถ้าผมเป้นคนแนะนำ ก็คงจะบอกให้คิดดูให้รอบคอบก่อน การด่วนรีบใช้ประสบการณ์ส่วนตัวของเรา คิดว่าดีแล้วคนอื่นๆพลอยจะคิดว่าดีด้วยเป็น pitfall อย่างหนึ่งที่พบบ่อย อย่างที่เรียนให้ทราบในสองสามคำตอบแรกๆ ผมคิดว่าการ generalize หรือการ stereotype เช่น คนไทยเป็นอย่างนี้ คนไทยเป็นอย่างนั้นนั้น ผมไม่สนับสนุนครับ และเรื่องสุขภาพ เรามีหลายมิติที่จะคุยกันก่อนจะฟันธงว่าอะไรเป็นอย่างไร
+=========================

คุณ guru มีความเห็นอย่างไรกับโครงการของ รพ. ภูมิพลฯนี้บ้างล่ะครับ?



Posted by : Phoenix , Date : 2006-10-10 , Time : 21:22:19 , From IP : 58.147.113.12

ความคิดเห็นที่ : 9


   โครงการนี้ ไม่ใช่ของ ORBIS ครับ อย่าเอามาปนกัน ORBIS ไม่ได้มาเมืองไทย หลายสิบปีแล้วครับ และ
เครื่องบิน DC 8 ของ ORBIS นี่ก็คงหาอะใหล่ยากแล้วครับ ตอนนี้ มีเรือที่ผ่าตัดฟรี หลาย อวัยวะ ตั้งแต่ หัวใจ + ออร์โธ แต่ มักจะไปเทียบท่า แถว อาฟริกา

ประเด็น 3 ข้อ คือ ผมสงสัยว่า ฟรี นี่ ฟรีแค่ใหน คุณไม่รู้ ก็บอกมา ว่า ไม่รู้ แค่นั้นก็พอ อย่ามาตั้งคำถาม สงสัย อะไรผม อีก

ส่วน โครงการนี้ มีมาแล้วหลายปี อดีต มักไปตามต่างจังหวัด เช่น เชียงใหม่ พิจิตร ( หมอ ชัญวลี ศรีสุขโข ยังเคยเอามาเขียนลงใน วารสาร ไทยเมดดิค ) ลองไปหาอ่านเอาเองนะ ผม ไม่ชอบ มั่วเอง เออ เอง

แล้ว คุณ รู้เหรอ ว่า หมอ รพ ภูมิพลทุกคนอยาก จะรับเป็น หมอ เจ้าของไข้ ดูต่อ ( คุณ ไปถามมาแล้ว เหรอ ) แล้ว ค่าเดินทาง ไปตรวจตามนัด ( ค่ารอเพื่อจะถูกถ่ายรูป กับ บรรดา ท่านๆ ให้สวยงาม ) ใครจะออกให้

ผม ถามตรงๆ คุณไม่รู้ ก็อย่าชักใบ หันเรือ หนี ไปทางอื่นซิ

แล้วที่ว่า คนไทย ชอบของฟรี ผมไม่ได้ว่า คนไทย ทุกคน นะ
เหมือน บางคนว่า คนไทย ชอบเมา ชอบสนุก ไม่มี ระเบียบวินัย ( ตามนสพ. เขาเขียน ) ผม ก้ไม่ได้แย้งอะไร ใคร ชอบแบบใหน ก็เลือกเอาเอง


Posted by : guru , Date : 2006-10-11 , Time : 09:02:18 , From IP : 61.19.24.122

ความคิดเห็นที่ : 10


   มีสองประเด็นคือ
1. โครงการหมออาสาสมัคร และ
2. เป็นหมอต่างประเทศที่เดินทางมาผ่าตัดต่างประเทศ

ทั้งสองประเด็นเป็น (หรือผมคิดว่าเป็น) theme ของการอภิปรายนี้ และแน่นอนว่าโครงการนี้ "ไม่ใช่" ORBIS แต่ผมกำลังบอกว่าการผ่าตัดหรือการช่วยเหลือทางการแพทย์ที่ไม่ได้ต้องการการสอบใบประกอบโรคศิลป์ของไทยนั้นมีมานานแล้ว ส่วนสภากาชาดยังมีโครงการหมออาสาสมัครไปผ่าตัดต้อกระจกอยู่เนืองๆ ฉะนั้นผลที่ว่าการมีหมออาสาสมัครไปผ่าตัดช่วยคนไข้ดีหรือไม่ดี ตรงนี้อาจจะช่วยคิดได้ครับ ส่วนสาเหตุว่าเครื่องบินไหนดีไม่ดี ขาดอะไหล่ ก็ขอขอบคุณที่เผยแพร่ข้อมูล แต่ผมคิดว่าทราบหรือไม่ทราบข้อมูลตรงนี้อาจจะไม่ relevant ต่อประเด็นกระทู้นี้เท่าไหร่นัก

อืม.... การตอบมากน้อยแค่ไหนนั้น ผมไม่สามารถเดาได้ครับว่าคนถามต้องการประเภท yes or no หรือการขยายให้ชัดเจนว่าหมายถึงอะไรแน่ๆ ผมคิดว่าโอกาสที่เราเข้าใจผิดเพราะตอบสั้นนั้น จะสู้ประโยชน์เพราะตอบให้ชัดเจน หรือขยายความคำถามว่าต้องการอะไรไม่ได้ อีกประการการลงทุนเวลาและความคิดตอบให้ละเอียดนั้น โดยส่วนตัวของผมคิดว่าเป็นการแสดงความเคารพนับถือผู้ที่กำลังสนทนาอยู่ด้วย แต่นี่เป็น idea ของผมเอง ก็อาจจะแตกต่างกันออกไป

ตัวอย่างที่ยกมานั้นเสริมแค่ "เคยมีอาสาสมัครแพทย์ต่างประเทศมาผ่าตัดที่ประเทศไทย" เท่านั้น ผมไม่เห็นประเด็นว่าการรู้จักชื่อหมอที่ผ่าตัด รู้จัก type ของเครื่องบิน ได้ไปที่จังหวัดไหนบ้าง ฯลฯ เป็น facts ที่เป็น mandatory ก่อนที่จะอ้างอิงเรื่องนี้ตรงไหน และเหตุใดต้องทำ research in details ประเด็นดังกล่าวก่อนจะอ้างอิง เพราะลำพังวัตถุประสงค์ที่ว่า (มีหมอ ตปท.มาเมืองไทย) ใจความที่ reference มาเพียงพออยู่แล้ว ยังไงๆ ORBIS ก็ไม่ใช่กลุ่มที่กระทู้นี้พูดถึง แค่แสดงว่ามีเรื่อง "ทำนองนี้" เกิดขึ้นมาก่อนเท่านั้น

ผมไม่ทราบ (และไม่คิดว่าใครจะทราบ) ครับว่าหมอทุกคนที่ภูมิพลยินดีตรวจคนไข้แค่ไหน แต่โดยหลักจริยศาสตร์แล้ว ผมคิดว่าเราน่าจะคิด positive ต่อเพื่อนร่วมวิชาชีพไว้ก่อน ก่อนที่จะเดาว่ามีหมอที่ไม่ต้องการดูคนไข้บ้าง ในกรณีนี้ ขณะที่เรา (ผมเดาว่าเราคือทั้งคุณและผม) ไม่รู้จักหมอภูมิพลที่เป็นเจ้าของโครงการหรือเป็น host ผมขอใช้หลักการว่า คุณหมอคนนี้ (หรือกลุ่มนี้) มีเจตนาดีต่อผู้ป่วย และน่าจะคิดเผื่อผู้ป่วยเอาไว้ก่อน ผมไม่เข้าใจว่าทำไมถ้าเราไม่มีข้อมูลที่เพียงพอ เราจะคิดในแง่ร้าย คิดว่าหมอไม่ดี มีหมอไม่อยากจะดูคนไข้ หรือโครงการนี้มีเพียงเพื่อ photo-opportunity เท่านั้น ยกเว้นคุณ guru จะรู้รายละเอียกพื้นเพเบื้องหลังของคนจัดว่าเป็นคนแบบนั้น ก็อาจจะนำข้อมูลมาเผยแพร่ตรงนี้ ผมสงสัยว่าทำไมคุณ guru ถึงได้มองโลกในแง่ร้ายว่าหมอคนจัดของไทยเราจะไม่เตรียมการสำหรับคนไข้ดีพอล่ะครับ?

อย่างที่เรียนให้ทราบ ก็คือ รายละเอียดค่าใช้จ่ายในโครงการนี้ว่าครอบคลุมอะไรบ้างนั้น เป็น "รายละเอียด" ครับ เราก็อาจจะ "เดา" ได้สองทางคือทางดีกับทางไม่ดี ก่อนที่จะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย โดย commonsense ผมคิดว่าชาวบ้านที่จะเดินทางไปรักษาฟรี น่าจะได้ข้อมูลว่าฟรีอะไรบ้าง และถ้าไม่รวมค่าเดินทาง ต้องออกเอง เขาก็คงจะต้องคิดดูก่อนเอาเองว่าคุ้มหรือไม่คุ้ม คงไม่มีใครบีบบังคับให้บินไปรักษาทั้งๆที่ไม่มีค่าเดินทาง ผมคิดว่าตอนแรกที่เรา (ผมกับคุณสุรศักดิ) อภิปรายนั้น ในแง่ของ หลักการ ของโครงการแบบนี้ แต่คุณถามเหมือนกับผมเป็นเจ้าของโครงการเอง จนบัดนี้ผมก็ยังไม่ทราบว่าคุณเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับโครงการแบบนี้เพราะอะไร และถ้าคำถามที่คุณถามมาเองถูก clear ไปแล้ว ยังจะมีอะไรคาใจหรือเห็นด้วยไม่เห็นด้วยตรงไหนอยู่อีก

ผมไม่ใคร่ถนัดในการดึงเอาการอภิปรายหลักการมาเป็นเรื่องระหว่างบุคคลเท่าไหร่นัก เพราะคิดว่าไม่ใคร่มีประโยชน์ต่อคนอ่านทั่วไปเท่าไหร่ ถ้าเรา stick อยู่ที่หลักการ หรือเนื้อหาหลักกระทู้นี้คือการมีโครงการแพทย์พยาบาลอาสาสมัครต่างประเทศมาช่วยทำบุญในงานสิริราชสมบัติพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น ดีไม่ดีอย่างไร เพราะอะไร ถ้าไม่ดีควรจะระมัดระวังอะไรบ้าง น่าจะเกิดประโยชน์ต่อ community นี้ มากกว่าการสนทนาเจาะจงที่ตัวบุคคล ผมรู้เรื่อง orbis มากนอ้ยแค่ไหน และคุณ guru รู้จักหมอ orbis มากน้อยแค่ไหน ไม่น่าจะเป็นประเด็นหลักและเป็นที่สนใจของคนทั่วไปเลย




Posted by : Phoenix , Date : 2006-10-11 , Time : 09:42:18 , From IP : 172.29.3.231

ความคิดเห็นที่ : 11


   ในเมื่อ คุณ ไม่รู้ว่า โครงการ ที่ บอกว่าฟรี นี้ จ่ายให้แค่ใหน คุณ ก็อย่ามาแอบว่า ผม คิดไม่ดี กับ โครงการนี้ ซิครับ คุณเล่น ป้ายสี คนอื่นว่า คนที่มานี่ เขาเสียสละ ออกเงินมาเอง ใคร ไม่เห็นด้วย นี่ ก็แปลก

ถ้า คุณฟีนิกส์ คิดว่า โครงการนี้ ดี
มาก สุดยอด ทำไม ไม่ขอให้มา ลงที่ รพ มอ เลย ล่ะ ลองตั้งคำถามนี้ ใหม่ ว่า
ปีหน้า เอามาลงที่ มอ แล้วให้หมอ ผู้บริหาร ทำ ประชาพิจารณื กันเลยดีใหม ว่า จะเอา หรือ ไม่เอา

แล้ว ลองถามตัวคุณเอง ว่า ถ้า ตัวคุณเป็น โรคแบบนี้ หรือ มีพ่อแม่พี่น้องเป็น โรค แบบนี้ คุณ อยากให้ หมอที่บินมา ผ่าให้หรือปล่า
( อย่าไปแบบ รู้จักกับหมอที่มานะ และ ห้ามเลือกหมอคนผ่า + อย่าพา ญาติไปด้วยตัวคุณเองที่มีการศึกษา ให้เขา เดินเข้าไปแบบ คนธรรมดาๆ ตาสียายมา )

แล้วผมเองไม่เชื่อว่า หมอ สัญชาติ... จะเก่งกว่า หมอสัญชาติ... เพราะ คนที่เป็นที่เก่งเป็นลับดับที่ 1 พัน ของ ชาติ ก. อาจ เก่งกว่า ลำดับที่ 2 ของ ชาติ ข. หรือ
ในทาง กลับกัน ก็อาจ สลับกันได้ ใคร เชื่อว่า ใครเก่งกว่า ก็เชื่อกันเอาเอง

แต่ ถ้า จักษุแพทย์ไทย ไม่เก่ง ก็คงไม่สามารถรักษา สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ของเรา เมื่อ ไม่กี่เดือน ที่ผ่านมาได้หรอกครับ

ส่วนเรื่อง ออร์บิส นี่ ผมเองไม่ได้อยากจะแตกประเด็น แต่ ต้องแก้เรื่องเท็จ ให้คนรู้ความจริง

เรื่อง คำถามผม บางเรื่อง เช่น ค่าใช้จ่าย หากคุณไม่รู้จริง ก็บอกว่า ไม่รู้ ผมก็ไม่ได้ว่า อะไร

แต่ ผม ต้องการจะรู้ก่อน ไม่ใช่ ส่งคนไข้ไปตายเอาดาบหน้า ( คุณคิดว่า ผม มองโลกในแง่ร้าย) แต่ ผมว่า ผมเป็น คนรอบคอบ มองข้าม ช็อต ไม่ใช่ ทำอะไร แล้ว เดินหนีหาย หมอศัลย์ ผ่าแล้ว ต้อง ดูหลังผ่า ให้เรียบร้อยด้วย ครับ


Posted by : guru , Date : 2006-10-11 , Time : 13:23:05 , From IP : 125.25.62.195

ความคิดเห็นที่ : 12


   ผมคิดว่ามีบางประโยคผมอ่านแล้วไม่เข้าใจ อาจจะพิมพ์ตกหรือเข้าใจผิด เช่น

คุณเล่น ป้ายสี คนอื่นว่า คนที่มานี่ เขาเสียสละ ออกเงินมาเอง ใคร ไม่เห็นด้วย นี่ ก็แปลก

ไม่ทราบว่าจะสื่อว่าอะไร หรือหมายถึงส่วนไหนของความเห็นของผมนะครับ?

การทำบุญโดยกลุ่มอาสาสมัครนั้น ไม่ได้เกี่ยวข้องกับ "ความสามารถ" เลยแม้แต่น้อย ผมได้เขียนอธิบายไว้กับคุณสุรศักดิ์แล้วว่าบางทีที่เราได้เพิ่ม คือจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดฟรี เพิ่มจากเดิมจากที่ไม่มีโครงการนี้ ไม่ได้แปลว่าเราทำผ่าตัดไม่ได้ แต่น่าจะหมายถึงทำได้ แต่ผป.อาจจะต้องจ่ายเอง อาจจะต้องรอไปอีก ฯลฯ ดังนั้นถ้าเราจะชั่งน้ำหนัก "ข้อดี และข้อเสีย" น่าจะตรองว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับผป. ประมาณ 350-400 คนนี้ ระหว่างมีกับไม่มีโครงการนี้ ถ้าข้อดีมัน weight มากกว่า ก็น่าจะดี ถ้าข้อเสียมันมากกว่า โครงการนี้ก็ไม่สมควรจะมี แต่ so far ผมยังไม่ชัดเจนว่าอะไรที่คาใจ จาก evidence อะไร หรือจากความรู้สึกอะไรลึกๆ

ผมเรียนไปหลายครั้งว่า อยากจะอภิปรายบนหลักการและเหตุผลของเรื่องราว ไม่ใช่เรื่องส่วนตัวระหว่างบุคคล แต่รู้สึกจะถูกถามเจาะจงบุคคลตลอด ตรงนี้ผมเคยสอนนักศึกษาแพทย์เสมอว่า การเคารพใน autonomy ของผป. นั้น อย่าพยายามใช้อะไรที่ "ตัวเรา" คิดว่าดีหรือไม่ดี แล้วแปลต่อไปว่าสำหรับผป.น่าจะดีหรือไม่ดีตามไปด้วย

การที่ผมคิดว่าโครงการนี้ดีนั้น ผมไม่ได้เอาตัวผมเป็นตัวตั้งหรอกครับ เพราะถึงแม้ว่าผมคิดว่าถ้าผมป่วย ผมมี better choices ผมก็จะไม่ตัดโอกาสนี้ไปจากผป. ว่าไม่ควรใช้ หรือพยายามจะยืนยันว่าผป.ทุกคนควรจะเห็นด้วย ว่าอะไรดีหรือไม่ดีกับผมเสมอไป ตรงกันข้าม ผมได้แสดงความคิดเห็นไปแล้ว (หลายครั้ง) ว่า ผป.ที่จะเข้าโครงการนี้ ควรจะ "เข้าใจ" ก่อนว่าอะไร involved บ้าง และตัดสินใจโดยไม่มีใครบังคับ

democracy หรือประชาพิจารณ์ในเรื่องแบบนี้ใช้ได้ดีแค่ไหน?

ผมคิดว่าเรืองสุขภาพเป็นเรืองที่เกี่ยวกับกับหลักจริยศาสตร์ คือ principle of autonomy อย่างมาก เราไม่ควรจะใช้การ vote และบอกว่าความเห็นของ minority แปลว่าแพ้ แปลว่าไม่ valid เรื่องสุขภาพนั้นเป็นเรื่ององค์รวมที่เกี่ยวพันกับความเห็น ความรู้สึก และความเชื่อ การเลี้ยงดูมาของคนแต่ละคน ซึ่งไม่เหมือนกัน การอภิปรายในเรื่องนี้น่าจะเอาเหตุ เอาผล เอาน้ำหนักด้านต่างๆมาวางแผ่บนโต๊ะให้ชัดเจนว่าใครคิดอะไร เพราะอะไร

การเอาตัวตนของหมอเข้าไปบอกว่สอย่างนี้ฉันเรียกว่าดี สำหรับคนไข้แปลว่าดี หรืออย่างนี้ถ้าเป็นฉัน ฉันไม่เอา เพราะฉะนั้นผป.ก็ไม่น่าจะเอา คือความคิดดั้งเดิมแบบ paternalism ไม่ได้คำนึงถึง autonomy หรือสิทธิผป.สักเท่าไหร่ นี่คือ stand-point ของผมครับ

ในเรื่องกระทู้นี้ ไม่น่าจะหมายถึงหมอเก่ง หรือหมอไม่เก่ง แต่เป็นแค่หมอที่ผ่านมาตรฐานก็พอ เป็นเรืองของหมออาสาสมัคร ที่สละเวลา กำลังทรัพย์ส่วนตัว และความสามารถของตนเอง เพื่อไปทำประโยชน์ ทำไมเราจึงมีประเด็นว่าหมอไทยจะแปลว่าเก่งหรือไม่เก่ง จากการมีอาสาสมัครมาทำงาน 10 วันนี้ ผมก็ไม่เข้าใจเหมือนกัน การที่เราจะยินดีที่มีหมอ (จากไหนก็แล้วแต่) มาช่วยทำงานให้คนไข้ด้อยโอกาส ไม่น่าจะแปลว่าเราล้มเหลวหรือขาดความสามารถ ที่ที่มีหมอวนเวียนไปช่วยผ่าตัด ผป.ที่สามจังหวัดชายแดนนั้นก็เหมือนกัน ไม่ได้แปลว่าหมอสามจังหวัดชายแดนไม่เก่ง แต่เป็นความเมตตากรุณา ร่วมมือของหมอที่ต่างๆมาช่วยเหลือในยามขาดกำลังคน กำลังทรัพย์

ส่วนเรื่อง ออร์บิส นี่ ผมเองไม่ได้อยากจะแตกประเด็น แต่ ต้องแก้เรื่องเท็จ ให้คนรู้ความจริง

ไม่ทราบว่าคุณ guru หมายถึงประเด็นไหนที่ผมพูดเท็จในเรื่อง orbis ล่ะครับ? ไหนๆจะบอกว่าใครโกหก ก็น่าจะ backup ให้ชัดเจนสักหน่อยก็ดีเหมือนกัน ยุติธรรมหน่อยดีไหมครับ?

ตั้งแต่ก่อนวิกฤติภาคใต้ มีโครงการผ่าตัดคนไข้พิเศษที่จังหวัดนราธิวาสก่อนหน้านั้นมาหลายปี โดยหมอจากส่วนกลางผลัดกันมา มีผป.ส่วนหนึ่งที่ทีมเดิมไม่ได้ดูผ่าตัดจน dischage กลับบ้านได้เสมอๆโดยตลอด ม.อ.เองก็รับจัดการทีหลังสุดเพราะอยู่ใกล้สุด มาหลายปีแล้ว ภาควิชาศัลย์เอง ก็เคยมีอาจารย์ประเสริฐไปช่วยสอน ช่วยผ่าตัดให้น้องๆที่ นครศรีธรรมราช ตรัง ยะลา กระบี่ โกลก แสดงความเมตตาไปสอนผ่าตัดให้ น้องๆที่นั้นก็ช่วยกันดู post-op ต่อ ผมคิดว่าเรื่องนี้ (ผ่าแล้ว host ดูแลต่อ) ไม่ได้กำลังจะเกิดเป็นกรณีแรก และไม่ได้มีคนมองว่าผ่าแล้วทิ้งด้วย มีแต่คนที่พื้นที่ขอบพระคุณหมอจากที่ต่างๆที่เวียนกันไปช่วยเหลือ และเขาก็ดูแลต่อให้ เหนือบ่ากว่าแรงก็ refer เข้ามา ม.อ.ทีหลัง

ผมเองนั้นคิดว่าผป.ไม่ได้ต้องการหมอเก่งกาจสุดยอดหรอกครับ ลองไปถามเขาดูว่าถ้ามีหมออาสาสมัครมาช่วยรักษาเขาให้หาย เร็วขึ้น ถูกลง ความเก่งระดับมาตรฐานหมอวิชาชีพทั่วไป ผมว่าชาวบ้านที่ด้อยโอกาสก็น่าจะดีใจ คนไหนที่อยากจะเจาะจงหมอเก่งๆที่ไหน เขาก็จะไม่สมัครใจไปร่วมโครงการ ก็แค่นั้นเอง

ผมยังไม่เข้าใจ logic ที่ว่าผมสนับสนุนโครงการอะไร แล้วต้องนำมาจัดที่ ม.อ. ทุกอย่างเท่าไหร่นะครับ คงต้องขึ้นกับบริบทต่างๆ เยอะเหมือนกัน เช่น มี connection ไหม มีหนทาง วาระ เงินทุน ฯลฯ ไหม แต่ถามว่าได้มีโครงการอะไรที่เอามาทำบ้าง ก็พอมีครับ เดือนนี้เราจัดนิทรรศการวันชีวันตารักษ์โลกทั้งเดือน (World Palliative Care Day) มีจัดอบรมอาสาสมัครข้างเตียง มีจัดอบรมการสนทนาอย่างมีเมตตาด้วยวิธี contemplative education และจัดบรรยายที่ห้องทองจันทร์ มีออกรายการวิทยุรณรงค์การเป็นอาสาสมัคร ผมยังได้มีโอกาสไปช่วยจัด workshop/seminar วันชีวันตารักษ์โลกที่ รพ. สงฆ์ เมื่อเสาร์อาทิตย์ที่ผ่านมา มีคนมาร่วมแค่พันกว่าคนเท่านั้น นี่เฉพาะเดือนนี้เดือนเดียว คุณ guru อาจจะอยาก share ว่าเห็นด้วยกับโครงการสุขภาพอะไรบ้าง และได้นำอะไรมาจัดที่ ม.อ. ให้ประชาชน หรือบุคลากรแถวนี้บ้าง เราจะได้ช่วยกันประชาสัมพันธ์ ประชาชนจะได้ประโยชนืเพิ่มมากขึ้น ดีไหมครับ หรือว่าไม่เห็นด้วยกับโครงการไหน เพราะอะไร จะได้ช่วยกันเตือนประชาชนให้ระวังอะไรกันบ้าง มา share กันตรงนี้ ผมว่าจะทำให้ประโยชน์ของกระดานข่าวนี้เป็นมากกว่าเรื่องความเห็นส่วนตัวของคนไม่กี่คนว่าคิดอะไรอยู่




Posted by : Phoenix , Date : 2006-10-11 , Time : 15:29:06 , From IP : 172.29.3.231

ความคิดเห็นที่ : 13


   ผมเป็นคนที่ ชอบ พูดแบบ มี ข้อมูลจริงๆ
จากหนังสือคู่มือการประเมินโรคตาต้อกระจก ของ สธ
หมอตาในกทม. เฉพาะ รพ รัฐ ( ไม่รวม ปริมณทล ) มี 93 คน
คิวการรอผ่าตัด ที่ รพ ใน กทม 5.25 เดือนต่างจังหวัด 3- 6 เดือน ที่ นานๆที่สุด คือทางอีสาน 7-12 เดือน
ในต่างปท ระยะเวลารอคิวผ่าตัด .
แคนาดา 9 ด
นิวซีแลนด์ 12ด
อังกฤษ7ด
ฟินแลนด์ 8 ด
สวีเดน 7 ด
ผมไม่ได้ต่อต้าน โครงการแบบนี้ แต่ มัน ตลกที่ เมืองนอก คิวผ่าตัดก็ยาวพอๆกับ บ้านเรา ทำไม ชอบมา ออกหน่วย บ้านเรา นะ
และ ทำไม ไม่ลงมาผ่าในพื้นที่ แต่ ผ่ากันที่ กทม แต่ อยากทำให้ คนต่าง จว โดยเฉพาะ ชายแดนใต้ ทำไม มอ. ไม่ช่วย คนชายแดน โดยเป็น ที่ให้เขามาผ่า
ตอบได้ใหมครับ


Posted by : guru , Date : 2006-10-11 , Time : 19:12:14 , From IP : 125.25.62.195

ความคิดเห็นที่ : 14


   การผ่าตัดในโครงการกระทู้นี้ที่บอกมาคือ
1.ผู้ป่วยมีโรคทางศัลยกรรม ต่อไปนี้
1.1 ปาก-จมูกแหว่ง (CLEFT LIP) อายุตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไป
1.2 เพดานทะลุ (CLEFT PALATE)อายุตั้งเเต่ 4 เดือน - 20 ปี
1.3 ใบหูพิการ (EXTERNAL EAR DEFORMITY)อายุตั้งเเต่ 4 เดือนขึ้นไป
1.4 ความพิการแต่กำเนิดอื่นๆ(ALL OTHER CONGENITAL ANOMALIES)
1.5 แผลเป็นจากไฟไหม้ นำร้อนลวก (BURN SCAR CONTRACTION)ของ มือ,เท้า, คอ เเละอื่นๆ
1.6 ไส้เลื่อนที่ขาหนีบ เเละหน้าท้อง (INQUINAL & UMBILICAL HERNIA)
2. ผู้ป่วยมีโรคทางตา ต่อไปนี้
2.1 ต้อกระจก
2.2 ตาเข
2.3 หนังตาตก
2.4 ความพิการทางตาที่ต้องรักษาโดยการผ่าตัด
========================================
คำถามของคุณ guru คือ

ผมไม่ได้ต่อต้าน โครงการแบบนี้ แต่ มัน ตลกที่ เมืองนอก คิวผ่าตัดก็ยาวพอๆกับ บ้านเรา ทำไม ชอบมา ออกหน่วย บ้านเรา นะ
และ ทำไม ไม่ลงมาผ่าในพื้นที่ แต่ ผ่ากันที่ กทม แต่ อยากทำให้ คนต่าง จว โดยเฉพาะ ชายแดนใต้ ทำไม มอ. ไม่ช่วย คนชายแดน โดยเป็น ที่ให้เขามาผ่า
ตอบได้ใหมครับ


ประเด็นคืออะไรครับ? คุณ guru ต้องการให้
1. มาผ่าที่นราธิวาส?
2. ม.อ.เป็นคนริเริ่ม?

ส่วนทำไมถึงมีโครงการนี้ในประเทศไทย สงสัยต้องอ่านย้อนไปที่บรรทัดแรก
โครงการแพทย์อาสาสมัครศัลยแพทย์นานาชาติจาก สหรัฐอเมริกา จะมาเมืองไทย เพื่อช่วยผ่าตัดคนพิการถวายเป็นพระราชกุศล เเด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เเละสมเด็จพระราชินีนาถ

คำถามว่าทำไมไม่ทำในข้อ 1-2 อาจจะตอบได้ยากง่ายพอๆกับคำถามว่าแล้วทำไมต้องทำด้วยอย่างที่คุณ guru คิด เหตุผลที่คุณ guru ไม่เข้าใจ หรือคิดว่ามันไม่สมเหตุผลนั้น เพียงพอที่จะทำให้โครงการนี้ลด merit ลงหรือไม่?

เรื่องการนำสถิติมาใช้ก็น่าสนใจครับ ผมคิดว่าประดยชน์ที่ "อาจ" จะเกิดกับผู้ป่วย 350-400 คนตามโครงการนี้ มันจะไปทำอะไรกับสถิตินั้นหรือไม่กี่มากน้อย แต่ประดยชน์ "จริง" ต่อคนที่ได้รับการรักษา ตรงนี้ที่ผมคิดว่า relevant มากกว่า เพราะตัวเลขเหล่านี้เป็นสถิติ เป้นค่าเฉลี่ย มี standard deviation มีค่าบวก/ลบ โครงการการกุศลแบบนี้ ถ้าลงไปอยู่ที่ปลาย 2sd ของกลุ่ม population ใน waiting list หลังทำก้คงจะไม่กระเทือนสถิติสักเท่าไหร่ คำถามเดิมก็คือ มีประโยชน์ไหม?

ถ้าค่าเฉลี่ยของ waiting list (ตัวเลขต้อกระจกคงจะน้อยกว่า 350-400 คน เพราะเป็นแค่ 1 ใน 10 type of operations ที่เขาวางแผนจะทำ) ไม่กระทบกระเทือน หรือลดลง แปลว่าโครงการนี้ไมมีประโยชน์หรือไม่ ผมไม่คิดว่าคนที่ออกแบบดครงการการกุสลแบบนี้ ต้องการแก้ปัญหาที่เป็นสถิติของของการสาธารณสุขกระมังครับ แต่เขา "ทำเท่าที่ทำได้" ในการบรรเทาทุกข์ของผู้ป่วยได้สักสามสี่ร้อยคน แล้วก้กลับบ้าน รู้สึกว่าได้ช่วยคน มีความสุข อะไรทำนองนั้น ผมคิดว่าในบรรดาแพทย์พยาบาลหรืออาสาสมัครทั่วโลกในปัจจุบัน เขา concern กี่มากน้อยว่าสถิติเป้นอย่างไรหลังเขาไปช่วยคนไข้ คนยากไร้ คนที่ลำบาก แต่เขามองเห็นว่ามีกี่คนที่เขาได้ "ลงมือช่วย" ไปกับมือบ้าง

วันพรุ่งนี้ (พฤหัสบดีที่ 12) ผมเชิญป้าอาสาสมัครของรพ. เราคนนึง ไปออกวิทยุด้วยกัน ป้า (เราเรียกท่านว่า "พ่อพ้อ") เป้นอาสาสมัครให้ รพ. เรามาได้ 6 ปีแล้ว ก่อนหน้านี้ ป้าแกทำงานอาสาสมัครที่อื่นมาเกือบยี่สิบกว่าปี วันนี้ผมไดมีโอกาสคุยกับป้านิดหน่อย ได้ความรู้หลายๆอย่างที่น่าสนใจ

ผ่อพ้อไม่ได้เป็นแม้แต่พยาบาล แต่ท่านเป็นชาวคริสต์ นิกาย Seven-Day ซึ่งหลักคำสอนของคริสต์ศาสนาทั่วๆไปเลย (โปเตสแตนต์ คาธอลิก หรือ เซเวนเดย์ ก็ตาม) คือ ความรักต่อเพื่อนมนุษย์ เขามีความสุขที่ได้แสดงความเมตตากรุณาให้เพื่อนมนุษย์ บางทีป้าเล่าให้ฟัง ว่ามันก้ทุกข์เพราะมี sympathy ต้องหาคนช่วยเหลือเหมือนกัน แต่สุดท้ายก็มีความสุขที่ได้ช่วย แกมีลูกคนเล็กอายุ 7 ขวบ ยังมานั่งดูผ่อพ้อพับผ้าเช็ดหน้าเป้นรูปต่างๆเอาไปให้คนไข้ ไปนั่งคุยกับคนไข้ ลูกแกยังบอกมาเองเลยว่าคนไข้ดูเหมือนจะรักผ่อพ้อมากเลยนะครับ แกก็ชื่นใจ

ผมสงสัยเหมือนกันว่า พวกหมอๆเรานี่แหละ สามารถจะรับรู้อะไรจากการได้ช่วยเหลือคนไข้ที่เป้นคนๆไป โดยไม่ต้องใช้ "ข้อมูล และสถิติ" ที่เหมือนขาดแล้ว จะขาดใจ คิดอะไรไม่ออก ได้บ้างหรอืไม่? พระราชดำรัสของสมิด้จพระมหิตลาธิเบศ อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก มีเขียนตรงไหนเกี่ยวกับ "สถิติ" ไหม เห็นมีแต่ว่าการแพทย์นี่เพื่อประโยชน์สูงสุดของเพื่อนมนุษย์ ก็น่าจะเพียงพอ เป็นเหตุผลที่สมบูรณ์ที่จะเป้นดครงการที่คิดโดยคนที่เป็นหมอ

ผมชอบข้อมูลเหมือนกันครับ แต่บางทีก้ไม่ได้ใช้ เพราะมัวแต่ชื่นชมผ่อพ้อที่แกทำงานเป้นอาสาสมัคร เพียงแค่รู้ว่าวันนี้มีคนได้ประดยชน์จากแกเพิ่มอีกคนก็พอ ผมฝันอยากจะทำอย่างนั้นได้ตลอดไป และทุกวันบ้าง



Posted by : Phoenix , Date : 2006-10-11 , Time : 20:03:16 , From IP : 58.147.113.12

ความคิดเห็นที่ : 15


   PS: คุณ guru ยังได้ช่วยกรุณาเฉลยเลยนะครับที่คุณบอกว่าผมพูดเจเกี่ยวกับ ORBIS นั้น หมายถึงตอนไหน ตรงไหน และที่ถูกต้องคืออะไร ถ้าค้นเจอช่วยรบกวนบอกให้ทราบด้วยครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2006-10-11 , Time : 20:14:38 , From IP : 58.147.113.12

ความคิดเห็นที่ : 16


   คนละครั้งกันครับ ORBIS ที่ผมพูดถึงเป็นมาลงที่ บน. 6 ดอนเมือง น่าจะประมาณปี 91-92 ตอนอาจารย์ประจักษ์ (จุฬาฯ) ยังทำราชวิทยาลัยฯอยู่ ประเทศไทยทำเรื่อง temporary licence ให้ ตกลงเลยไม่แน่ใจว่า "อะไรเป็นเท็จ" ที่สำคัญขนาดคุณ guru ยืนยันต้องการจะแก้นะครับ

เวลาเราถามว่าทำไมคนมาช่วยไม่มาช่วยเรื่องนี้ ที่นี่ หรือ ใครเป็นคนจัดนั้น ผมว่ามันขึ้นอยู่กับ "เจ้าของโครงการ" ไหมครับว่าเป้นใคร มีความชำนาญ และมีทรัพยากรอะไรบ้าง ถ้าเป็นหมอภูมิพลฯ เป็นหมอตา หรือหมอศัลยเด็ก จะให้มาผ่าตัดตาม DALYs ประเทศไทย ก็คงจะไม่ได้อย่างที่ปราถนา เรื่องทุกเรื่องมี "บริบท" เป้นตัวควบคุมกำหนดอยู่ ตัวผมเองก็ไม่ได้เป็นหมอตาที่ไปช่วย ORBIS หรอกครับ แค่อนุโมทนาคนที่เขาเมตตาคนไข้ไปช่วยที่โน่นที่นี่ได้ ไม่คิดว่าพวกไหนจะทำเพื่อเอาหน้าเอาตาแต่อย่างใด ผมคิดว่าเราไม่มีทาง "ยืนยัน" ได้ว่าคนทำเขาทำแล้วอิ่มบุญจริงหรือไม่ ถ้าเรา speculate แล้วปรากฏว่าเราเองที่หงุดหงิดหัวใจ กลายเป็นหาเรื่องใส่จิตใจตนเองไปเสียเปล่าๆ

ตกลงคุณ guru เองก็เคยร่วมกิจกรรมแพทย์ต่างประเทศอาสาสมัครผ่าตัด ทำแล้วรู้สึกอย่างไร มาลอง share กันบ้างสิครับ ประเทสไทยมีคนลงทะเบียนอาสาสมัคร (กระทรวงวัฒนธรรม) ถึง 6,000,000 คน (10%!!!) ผมคิดว่าเรายัง underuse volunteer อยู่เยอะมาก เพราะ volunteer ที่ trained หรือเป็น survivors นี่แหละที่อาจารย์ประเวศเคยบอกว่าจะช่วยทำให้เกิดชุมชนเข้มแข็งได้ในที่สุด

ม.อ. อยากหรือไม่อยากทำอะไร ผมคงพูดแทนไมได้ ตัวคุณ guru เองก็เป็น staff ม.อ. ไม่ใช่หรือ? ถ้าช่วยๆกันเสนอโปรเจคอะไรที่มีประโยชน์จริงๆต่อคนไข้ ผมว่าคนที่คอยแต่จะคิดว่าทำเอาหน้านั้น ใครทำอะไรเขาก็คงจะคิดอย่างนั้นแหละครับ มันเป็นปัจเจกบุคคล ถ้าเราไม่สนใจเรื่องใครจะคิดอะไรบ้าง แต่เน้นที่ผู้ป่วยได้ประโยชน์รึเปล่าก็น่าจะ OK ไหมล่ะครับ?

ทางจริยศาสตร์นั้น goodness เกิดขึ้น "ตอนกระทำ" (Immanuel Kant และ Aristotle) ครับ ส่วนเราจะรู้สึกอย่างไร ก็คงขึ้นอยู่เป็นคนๆไป ผมคิดว่าคนทำน่าจะรู้จักใจตนเองมากที่สุด ป่วยการที่จะหวาดระแวงว่าหน้าตาอย่างนี้ทำเอาหน้า หน้าตาอย่างนี้ทำเพื่อ marketing



Posted by : Phoenix , Date : 2006-10-11 , Time : 21:38:40 , From IP : 58.147.113.12

ความคิดเห็นที่ : 17


   คือ ... พยายามจะเข้าใจนะคะ .... แต่มันเกินประสบการณ์มากไป

เท่าที่พยายามได้ ... ครั้งนี้เห็นด้วยกับอาจารย์สุรศักดิ์ค่ะ
เนื่องจากเมื่อครั้งเริ่มเรียนศัลยศาสตร์ได้ไม่กี่วัน อาจารย์ศัลยแพทย์เคยสอนไว้ว่า "นศพ. ฟังไว้นะ .... ถ้ายังดู pre-post op ไม่เป็น .... อย่าหวังจะได้จับมีดผ่าตัด" หนูล่ะก็อยากจับมีดเองใจจะขาด ก็เลยต้องพยายามดู pre-post op ให้เป็นก่อน ไปตามลำดับ แต่ถ้าเป็นโครงการอย่างที่ว่า ให้ผ่าได้เลย (ด้วยจิตกุศล หรือแอบแฝงเก็บประสบการณ์ก็แล้วแต่) เป็นหนูก็ชอบค่ะ ผ่าอย่างเดียว อย่างอื่นไม่เกี่ยว ไม่ใช่หน้าที่ เพราะไม่มีเวลาดู ให้เป็นอาสาสมัครแถมออกค่าใช้จ่ายส่วนตัวเองทุกอย่าง หรือแถมค่าธรรมเนียมอีกเล็กน้อย นศพ.อย่างหนูก็อยากจะสมัครทำแบบไม่ต้องคิดนานเลยค่ะ

อาจารย์จะกรุณาเปิดสมอง เปิดใจ และเปิดปัญญา สักหน่อยได้มั้ยคะ


Posted by : Lucifer , Date : 2006-10-11 , Time : 22:16:30 , From IP : 172.29.4.107

ความคิดเห็นที่ : 18


   ถ้าเรารับฟังเรื่องราวโดยที่คิดว่า "คนอื่น" ก็เป็นคนดี มี mentaility ของแพทย์ที่ดีเหมือนเราเอง ถ้าเรา "คิดออก" ว่าเรื่องนี้ควรจะต้องระมัดระวังอะไรบ้างเพื่อคนไข้ คนที่จัดงานนี้จะคิดออกหรือไม่?

ปัญหาคือ "ถ้า" เราคิดว่าคนอื่นอาจจะไม่รอบคอบเท่าเรา เอาหมออะไรก็ไม่รู้ qualified หรือไม่ มาผ่าประชาชนของเรา ผมคิดว่า issue ที่น่าสนใจกว่าคือ "ทำไม" เราถึงคิดแบบนั้น

ผมคิดว่ามันแปลกถ้าในกรณีที่เป็นการกุศลแบบนี้ (หมายถึง ไม่มีผล commitment long-term ในแง่สิทธิ ใบอนุญาต ฯลฯ) เรากำลงัเอา geograpphic boundary เป็น issue ใหญ่เหมือนกับว่ามันไม่สามารถจะ solved ได้

ประเทศเราส่งคนไปเรียนต่างประเทศตลอดเวลา ที่อังกฤษ อเมริกา ญี่ปุ่น สิงค์โปร์ แคนาดา หรือแม้แต่อินเดีย ก่อนที่คนของเราจะไปจับต้องตัวคนไข้ของที่อื่นๆ เขาต้องมีกระบวนการ quality assuranceว่าเรา qualified อย่างน้อยที่สุดก็ในงานที่เรากำลังจะไปทำ เช่น ถ้าต้อง contact ผป. จริง ทั้งภาษา communication skill และ medical competencyต้องดี ถ้าไปเรียนนิติศาสตร์ ก็ตรวจแต่ภาษา หรือวิชาที่ตรงกับความต้องการนั้นๆ สิ่งที่ตรวจได้แก่อะไรบ้าง เช่น ผลสอบ TOEFL. USMLE, IELST etc บวกกับใบแปลใบประกอบโรคศิลป์ ใบอะไรสักอย่างที่บอกว่าเราผ่านการฝึกอบรมและมี skill ที่จำเป็น เราก็ได้ไปเรียนต่อ ขั้นตอนการตรวจเช็คเอกสารเหล่านี้ไม่นานเลย ถ้ามีองค์กรที่เป็นที่รับรองเป็นผู้ออก เช่น จากมหาวิทยาลัยที่เป็นทางการของประเทศ หรือองค์กรอย่าง WHO หรืออะไรในระดับแถวๆนี้

ถามว่าพอเราไปเรียน ไปฝึกที่ประเทสเหล่านี้โดยได้รับอนุญาตแล้ว เขามี risk free หรือไม่? คำตอบคือเปล่าเลย เราก็ยังสามารถทำอะไรผิดพลาด และมีคนมาตามเช็ด ตามแก้เหมือนกัน แต่นั่นก็หมายความว่าได้มีการคัดกรองไปบ้างแล้วจากกระบวนการที่คิดว่าเหมาะสม

คุณ Lucifer อยากจะไปหั่นเนื้อคนอังกฤาที่ประเทศเขาบ้าง ก็คงจะได้ถ้ามีใบ qualified อะไรเทือกนี้ หลังจากนั้น เวลามี complications มา ระบบก็จะจัดการกับมัน ไม่ใช่ว่าเขาจะจับคุณขังคุกหรือบังคับให้แก้อะไรที่สถานการณ์ไม่เอื้ออำนวยให้คุณแก้ได้โดยปลอดภัยอีกต่อไป

เราเคยเรียนจิตวิทยามาแล้วใช่ไหมครับ เราแปลอะไรออกไปนั้น มันขึ้นกับ past experience ของเราเองนี่แหละเป็นอันดับแรก โจรจะมีความหวาดระแวงมากกว่าคนอื่นเพราะตัวเองทำให้คนไม่ไว้ใจตลอดเวลา ใครที่คิดว่าคนไข้พูดออกมาว่าปวด ว่าเจ็บน่าจะโกหกนั้น ก็มาจาก "ประสบการณ์เก่า" ที่บณราการฝังเข้าไปในกระบวนคิดของคนนั้น

ลอง exercise ดูก็ได้ครับ คุณ Lucifer ลองจินตนาการว่าคุณอยากจะจัดงานแบบนี้มา (ยกเรื่องเห็นด้วย ไม่เห็นด้วยเก็บไว้ก่อน) เอาเป้นว่าจะจัด คุณจะทำอย่างไรบ้างจึงคิดว่าเป้นมาตรการที่สมเหตุสมผลที่จะมีการการันตีความปลอดภัยที่ได้มาตรฐานต่อผป.ของเรา ผมคิดว่ามันไม่ยากสุดความสามารถของเราหรอกครับถ้าเราตั้งใจมองหา

แต่ "ทำไม" เราจึงคาดว่าคนจัดงานคนอื่นจะไม่สามารถคิดรอบคอบแบบเรา และเป็นห่วงคนไข้แบบเรา"? ตรงนี้สิที่ผมอยากจะวิเคราะห์ หาคำตอบมากกว่า



Posted by : Phoenix , Date : 2006-10-12 , Time : 00:33:56 , From IP : 58.147.113.12

ความคิดเห็นที่ : 19


   คุณ คหที่ 24
จะเห็นตามใครก็ไม่ผิดทั้งหมด แต่ กับ การที่คุณจะส่ง คนที่ นราธิวาส ยะลา ปัตตานี ไป ผ่าที่ กทม
ค่าเดินทาง ( ขึ้นเครื่อง แอเอเซีย ก็ได้ ถูกดี )ค่าใช้จ่าย ใครเสีย
และ การผ่าตัด ไม่มีหมอคนใหนที่ผ่าแล้สดีทั้ง100 % หากคนที่ไม่ดี ใคร จ่ายค่ารักษา ส่วนเพิ่มเติมนี้ ( คนผ่า บินกลับไปแล้ว ) และ หมอไทย ที่อาจจะต้องแปล คำซักประวัติ( ในกรณีพิเศษ ) ที่ คนอิสลามพูดไทย อังกฤษ ยาวี และ ใคร จะรับดูแลต่อ หากเกิด อุบัติเหตุ จนพิการ ฟ้องร้อง

ผม ถาม แค่นี้ 3 ข้อ
แต่ คำตอบที่ผมได้ รับ ผ่านมา คือ
โยงไปว่า ผม อคติ คิดแง่ลบ มองโลกในแง่ร้าย
ส่วน ออร์บิส เคยมาไทย ตอนปี2534 ตอนนั้น ผ่าให้คนไทยที่ เชียงใหม่ ( ไม่ใช่ บน 6 ดอนเมือง ปี 91-92 แต่เป็นปี 90)
ส่วนที่ ปราจีน นั่น สภา กาชาดไทย ไป ทำให้ เขมรอพยพ ที่ เขาอีด่าง ปราจีนบุรี ไม่ใช่ ทำให้คนไทย ขอบอกว่า เขมรอพยพ ครับ
ส่วน หมอจะไม่เก่ง ไม่มี ปริญญา ถ้าใคร อยากไปรักษา
ก็ไปเองเหอะ ผมไม่ว่าใคร สิทธิ ส่วนตัว
แต่ ถ้า ตัวเอง ยังไม่กล้าให้ เขาผ่า ตนเอง และ ญาติ แต่ ส่งคนไข้ไปให้ นี่ มันแปลกๆ นะครับ

ผมเอง อยากจะถาม คุณฟีนิกส์ ว่า ตอนจบเป็น นศพ แล้วคุณไปใช้ทุนที่ รพช. หรือเปล่า ครับ


Posted by : guru , Date : 2006-10-12 , Time : 06:51:18 , From IP : 210-86-142-200.stati

ความคิดเห็นที่ : 20


   คุณ guru มีความสนใจในการทำให้การอภิปรายนี้เป็นเรื่องระหว่างบุคคลมากเลยนะครับ ทั้งๆที่ผมชี้แจงไว้แล้วว่าเราน่าจะทำให้เกิดประโยชน์มากกว่านี้ ถ้า "ลด" ความเป็น personal confrontation ลงได้

หมอจุลวิทย์ รอดสุทธิ จักษุแพทย์ รพ. ภูมิพล เพื่อนผมเอง (ขออภัยที่อ้างชื่อ เพื่อนผมเสียชีวิตไปแล้ว แต่เพื่อประกอบหลักการอ้างอิง) เดินไปเกือบทั่วกองทัพอากาศกับเพื่อนผม (ณ ขณะนั้น) อีกคน เพื่อดำเนินเรื่องขอจอดเครื่องบินที่ บน.6 เพื่อนผมคิดต่อ หมอไพโรจน์ นิงสานนท์ เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการขอ contemporary licence ให้แพทย์อาสาสมัคร สาเหตุที่รู้เรื่องนี้เพราะคนดำเนินการอีกคนปัจจุบันเป็นคนในครอบครัวผมเอง และเพื่อนผมที่อยู่ในภูมิพลฯรุ่นเดียวกันทั้งสิ้น

ในโครงการแบบนี้ ผมคิดว่า "ไม่มี" คนถูกบังคับให้เข้าแถวไปเชือด แต่มีการให้ข้อมูลก่อน และผป.เลือกว่าดีหรือไม่ดีอย่างไร ถ้าเขาพูดไม่รู้เรื่อง ฟังไม่เข้าใจ ผมคิดว่าคงจะมีปัญหาในการขอ informed consent จากผป.เหล่านี้ ถ้าหากค่าเดินทางเขาต้องออกเอง ผป.ก็น่าจะพิจารณาและคิดดูก่อนที่จะเข้าร่วม ถ้าหากอาจจมี complications อะไรบ้างเกิดขึ้นมาได้ ก็คงจะต้องอธิบายก่อนจะมีการเซ็น informed consent ถ้าหากจะมีการพูดถึงค่าใช้จ่างเพิ่มเติมหรือใครเป็นคนดูแลหลังผ่าตัดในกรณีที่มีภาวะแทรดซ้อน สิ่งต่างๆเหล่านี้เป็น routine ที่แพทย์ที่ไหนๆก็ต้องอธิบายคนไข้ก่อนอยู่แล้ว ไม่ใช่หรือครับ? สุดท้ายผป.มีสิทธิและ autonomy ชัดเจนว่าเขาจะเอาหรือไม่เอา โดยพิจารณาข้อดีข้อเสียทั้งหมดก่อน ไม่มีใครไปกวาดต้อนมาเข้าค่าย ขึ้นเขียงอะไรแบบนั้น

หลักจริยศาสตร์เบื้องต้นในการรับผป.มาดูแลนั้น ผมอยากจะเข้าใจว่าเจ้าของโครงการที่เป็นแพทย์ไทย (ในที่นี้คือภูมิพล) มีมาตรฐานการศึกษา จริยธรรม ไม่แพ้ใครที่นั่งอยู่แถวนี้

เราจะจินตนาการว่าโครงการนี้ไม่ดีได้ตลอดเวลาเหมือนๆกับทุกโครงการแหละครับ ประเด็นที่สำคัญคือ เรา "สามารถ" มองหาข้อดี ที่เกิดประโยชน์แก่ผู้ป่วยได้หรือไม่? เช่น ถ้าเกิด complications รพ.ภูมิพลที่เป็นเจ้าภาพจะรับดูแลรักษาต่อได้หรือไม่ จะเห็นว่าเขาก็พยายามเลือกเองการผ่าตัดที่ไม่ได้ใหญ่โตมากมาย (ซึ่งเป็นประเด็นที่คนสงสัยว่ามันไม่ยาก ไม่น่าต้องช่วยนั่นแหละครับ) ก็คล้ายๆกับหลัก Private 1 ของโรงพยาบาลเรา ก็คือ "กระบวนการคัดเลือกผป." ในโครงการแบบนี้คงไม่น่ามีคนไปคัดเลือกมะเร็งระยะ advanced หรือ case ที่ complicated มากๆมาเข้าโครงการ การคัดครอง case ก่อนนั้น "อยู่ในวิสัย" ที่แพทย์เจ้าของโครงการทำได้
===================================

สำหรับข้อมูลส่วนตัวของผมนั้น ไม่แน่ใจว่าเกี่ยวอะไรกับประเด็นนี้มากนัก แต่พอจะชี้แจงดังต่อไปนี้

ผมชอบกิน Kentucky และ fast food ครับ ผักก็ไม่ค่อยชอบทานเท่าไร มีฐานะปานกลาง ถ้าจะหาหมอ ก็คงต้องดูโรคไป ถ้าโรคยากหน่อยก็คงจะถามเพื่อนฝูงว่าใครดี โรคง่ายหน่อยก็คงจะใครก็ได้ ขอยาระบาย ยาข้อ ยาหวัด ไม่ได้เซ็นเอง ผมก็ไปให้ resident ตรวจ แต่ถามว่าผมแนะนำทุกสิ่งทุกอย่างที่ผมทำให้ผป.กล้ำกลืนไปหรือไม่ คำตอบคือ ไม่ ครับ หน้าที่ที่ผมมีต่อคนไข้คืออธิบายว่าเขามี option มีทางเลือกอะไรบ้าง แล้วเขาใช้บริบทของเขาตัดสินใจกับชีวิตของเขาเองครับ แม้แต่ตอนจะเสียชีวิต ใครจะนวดหัวใจ ใครจะใส่ tube หรือใครจะขอนอนตายเฉยๆ ผมยังไม่แนะนำเลย ผมแค่บอกเขาว่ามีแบบไหนบ้าง แล้วผป.กับญาติก็ปรึกษากันให้รอบคอบว่าจะเอาแบบไหนที่ดีที่สุด ผมคิดว่านี่น่าจะเป็นมาตรฐานวิชาชีพที่ถูกต้อง

ส่วนสมมติถ้าผมเป็นมะเร็ง ผมจะไปผ่าตัดกับอาจารย์ธนพลที่ รพ.กรุงเทพฯ เสียเท่าไหร่ก็ไม่ว่า ถามว่าผมจะแนะนำผป.มะเร็งทุกคนทำแบบเดียวกันไหม คำตอบเหมือนเดิม คือ ไม่ครับ ผมบอกเขาว่าวิธีนี้มีการรักษาโดยการผ่าตัด ฉายแสง ฯลฯ ให้ข้อมูลไป ผป.และญาติเป็นคนคิดเอง ตัดสินใจเองว่าจะเอาอย่างไร ค่าใช้จ่ายอาจจะมีตั้งแต่ฟรีจนถึงหลายล้าน ก็เป็นเรื่องที่เขาต้องพิจารณากันเอง

สำหรับผป.ที่ "ทางเลือก" น้อยกว่าผม ผมก็เห็นใจครับ และก็หาทางออกต่างๆที่พอมี และเผอิญผมทราบเล่าให้เขาฟัง เมื่อคนเรามีข้อจำกัด ทุกอย่างก็จะ imperfect เสี่ยงมากขึ้น สะดวกสบายน้อยลง แต่เขาจะตัดสินใจเองว่าจะเอาหรือไม่
=======================================

ผมไม่เคยออกไปใช้ทุน รพช. และมีความภาคภูมิใจในการเลือกทางดำเนินชีวิตของผมอย่างยิ่ง ผมคิดว่าผมได้ทำตัวให้เกิดประโยชน์ตามบริบท ตามลำดับสติปัญญาของผม ถูกกฏหมาย ถูกจริยธรรม และขณะนี้คิดว่า conscience ผม OK อย่างยิ่ง ตอนอยู่ศิริราช ผมเคยอยู่ชมรมส่งเสริมสาธารณสุข (สสส.) ออกค่ายอยูเนืองๆครับ ผมชื่นชมหมอที่ไปอยู่ รพช. และทำงานที่นั้นเสมอ และในขณะเดียวกันผมก็ชื่นชมคนได้ทุกอาชีพ คนกวาดถนน คนเก็บขยะ เพราะทุกๆอาชีพ อยู่ที่ไหนก็ตาม ถ้าทำหน้าที่ของตนเองอย่างเต็มที่ สังคมจะเกิดความเป็นองค์รวมที่เกิดจากผลของความพยายามทุก section เหล่านี้แหละครับ

ผมไม่ทราบว่าคุณ guru ต้องการทราบเรื่องนี้ทำไมหรือครับ? หรือว่าต้องการจะตัดสินคุณค่าของผม? รายละเอียดคงจะต้องเยอะกว่านี้ไหมครับว่าคนเรานั้น จะทำดีที่สุด ควรจะอยู่ที่ไหน และใช้ชีวิตอย่างไร ผมเองใช้หลักอะไรไม่ออก ผมย้อนกลับไปที่พระราชดำรัสของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศ อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ขอเพียงเราพยายามทำเพื่อประโยชน์สูงสุดแก่เพื่อนมนุษย์ ก็น่าจะเป็นหลักที่ยึดเหนี่ยวได้ คนที่มีความสามารถวิเคราะห์ DNA หาความสัมพันธ์ regulatory immunity ได้ สถานที่ที่อยู่อาจจะต่างจากภูกระดึง (หมอเกรียงศักดิ์ เป็นเพื่อนร่วมห้องที่เตรียมอุดมของผมคนหนึ่ง) แต่เราทั้งสองคนมีประโยชน์ที่แตกต่างกันต่อชุมชน ต่อประเทศ แต่ไม่จำเป็นต้องเปรียบเทียบคุณค่ากัน

=========================================

ก่อนจะจบผมมีเรื่องเล่าสักนิดนึง

ตอนเด็กๆ บ้านผมใส่บาตรทุกเช้า ไข่เค็ม 7 ใบกับของคาวแล้วแต่ คุณแม่ผมสอนให้ลูกๆทุกคนทำเหมือนกันคือ ใส่บาตรเสร็จ เข้าบ้าน เจอหน้าพ่อแม่ให้พูดว่า "ใส่บาตรมาครับ ขอเอาบุญมาให้" แล้วท่านจะยกมือไหว้แล้วพูดว่า "ขออนุโมทนาจ้ะลูก"

เมื่อเราทำความดี เราควรจะพูดถึงสิ่งนั้นๆได้อย่างภาคภูมิใจได้โดยไม่เป็นการโอ้อวด และเมือ่เราได้ยินคนทำความดี เราควรจะทำจิตใจให้ปรอดโปร่งชื่นชมในกิจกรรมนั้นๆ แทนที่จะเกิดความเศร้าหมอง ขุ่นเคือง ผมคิดว่านี้น่าจะเป็น mentality ที่ทำให้สุขภาพจิตดีที่สุด

ดังนั้นเวลาเราได้ยินว่า "หมอภูมิพลจัดโครงการร่วมกับแพทย์พยาบาลอาสาสมัครนานาชาติ ผ่าตัดให้ผู้ด้อยโอกาส 350-400 คน เป็นเวลา 10 วัน เพื่ออุทิศเป็นพระราชกุศลเนื่องในวาระฉลองสิริราชสมบัติ 60 ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว" นั้น selective mental perception ของเราก็จะเป็นไปตามที่เราได้อบรมบ่งเพาะมาแต่เด็กนั่นแหละครับ

ถ้าเราฟังอะไรแล้วขอ sceptic คิดแง่ลบไว้ก่อน เราก็จะรู้สึกอย่างนึงเวลามีคนเล่าว่าไปทำบุญมา
บางคนคิดว่า "อนุโมทนา"
บางคนคิดว่า "ไอ้นี่ต้องมาโม้ด้วย"
บางคนคิดว่า "ไม่เห็นจำเป็นต้องทำเลย"
บางคนคิดว่า "อย่างนี้เป็นการดูถูกคนที่ได้รับการช่วยเหลือ"

จริงๆแล้วเป็นอย่างไร คงไม่มีใครทราบหรอกครับ แต่ผมคิดว่าผลกระทบต่อบุคลิกของคนเหล่านั้นข้างบนน่าจะแตกต่างกัน น่าจะออกมาเป็นบุคลิกพฤติกรรมความคิดที่แตกต่างกัน คนเหล่านี้ไปสอนเด็ก สอนลูกก็คงจะสอนแตกต่างกัน สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม

ฉันใด ก็ฉันนั้น



Posted by : Phoenix , Date : 2006-10-12 , Time : 09:27:22 , From IP : 172.29.3.231

ความคิดเห็นที่ : 21


   ขอแก้ข้อมูลคลาดเคลื่อน หมอจุลวิทย์เป็น ENT แต่มาช่วยเดินเรื่องในกองทัพอากาศให้ เพราะแกอยู่ภูมิพล

PS จุลวิทย์ นายอยู่ที่ไหนก็ตาม (ซึ่งกันเชื่อว่าเป็นภูมิที่ดีกว่าของฉันตอนนี้แน่ๆ) เรายังจำได้เดือนก่อนที่นายจะจากไป มาเยี่ยมเราที่หาดใหญ่ บอกว่าจะไปสร้าง palliative care unit ที่ รพ. ภูมิพล เราเคยนอนด้วยกันที่ศาลายา คิดถึงนายมากและขออุทิศส่วนกุศลของเราให้นายด้วย



Posted by : Phoenix , Date : 2006-10-12 , Time : 09:36:24 , From IP : 172.29.3.231

ความคิดเห็นที่ : 22


   พึ่งกลับมาจากออกวิทยุม.อ. ร่วมกับ "ป้าสุภรณ์ อุดมทัศนีย์" อาสาสมัครของโรงพยาบาลเราเก่าแก่ คิดว่ามีประเด็นที่เกี่ยวโยงกัน อยากจะ share ณ ที่นี้ด้วย

กระทู้นี้เกี่ยวกับอะไรบ้าง?
1. งานอาสาสมัครสุขภาพ
2. ความเป็นนานาชาติ
3. ด้านเทคนิกรายละเอียด
ผมคิดว่านี้คือประเด็นที่สำคัญ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อปรากฏบนกระดานข่าวคณะแพทยศาสตร์ ผลกระทบต่อ mentality ของว่าที่บัณฑิต ของบุคลากรสุขภาพ น่าจะมีผลโดยตรงและทางอ้อมไม่มากก็น้อย ผมคิดว่าเราควรจะคำนึงถึงประเด็นเหล่านี้ด้วยขณะที่มีการสื่อสารบนเวทีลักษณะแบบนี้
=======================================

ป้าสุภรณ์ (ผมจะเรียกว่าผ่อพ้อ ตามคำร้องขอของป้า) เคยทำงานด่านหน้าที่ รพ.มิชชัน หาดใหญ่มายี่สิบกว่าปี จนกระทั่งประมาณปี 2542 หรือ 43 ก็เริ่มมาทำงานที่ รพ. ม.อ. เป็นอาสาสมัครด่านหน้า (แถวๆ OPD) เป็นอาสาสมัครที่หน่วยรังสีรักษา เป็นอาสาสมัครที่จิตเวช และก็เป็นอาสาสมัครข้างเตียง นอกจากนี้เวลาที่ยังเหลืออยู่ก็ทำงานอาสาสมัครที่ รพ.หาดใหญ่ ที่โบสถ์ Seven Day Advantise พูดง่ายๆคือเกือบ 100% ทำงาน "ช่วยคนอื่น" ป้าสุภรณ์อายุ 77 ปี ยัง active ภาษาอังกฤษดีมาก พูดและแปลได้สามภาษาคือไทย จีน และอังกฤษสบายๆ วันนี้คุณบัญชรและคุณอรุณรัตน์สัมภาษณ์ผ่อพ้อเนื่องในเทศกาลชีวันตารักษ์โลก และในฐานะที่เป็นอาสาสมัครชาวบ้านธรรมดาคนนึง ที่ไม่ได้มีความรู้ทางการแพทย์ ทางการพยาบาลโดยตรง

มีตอนหนึ่ง คุณบัญชรถามผ่อพ้อว่าเป็นอาสาสมัครนี่ แปลว่าต้องไปแนะนำ ให้ความรู้ผู้ป่วยเขาเยอะแยะไปหมด ทำได้ยังไง ผ่อพ้อตอบว่า "อาสาสมัครนั้น หน้าที่คือไปฟัง ไปเป็นเพื่อน ไปเพิ่มคุณค่าของผู้ป่วย ไปช่วยผ่อนภาระของญาติ เราไม่ควรจะไปสั่งสอน ไปบอก ไปบังคับให้เขาทำอะไรอย่างที่เราคิดว่าดี เพราะเขาไม่ได้มีพื้นฐานเหมือนเรา ศาสนาก็อาจจะต่างจากเรา ทุกข์ของเขาเป็นอย่างไรก็ใช่ว่าเราจะเข้าใจทั้งหมด ที่ผ่อพ้อไปทำนั้น คือไปทำความเข้าใจ ไปแสดงความเห็นใจ ไปเล่าให้ฟังเรื่องดีๆ เป็นกำลังใจให้"

ผ่อพ้อไม่ใช่แพทย์ พยาบาล ไม่เคยอบรมอาสาสมัคร (ผ่อพ้อมาร่วมงานกับ รพ. เราก่อนมีโครงการอบรมอาสาสมัครเสียอีก และตอนหลังเราจัดอบรมวันเสาร์เป็นส่วนใหญ่ ตรงกับวันไปโบสถ์ของผ่อพ้อ ก็เลยมาไม่ได้) แต่ผ่อพ้อแสดงออกถึงความเมตตา ความกรุณา และที่น่าสนใจคือความเข้าใจเรื่อง autonomy ของผู้ป่วยและญาติเป้นแบบปัจเจกบุคคล ที่ถูกต้องอย่างยิ่ง

ผ่อพ้อจะไม่ "ยัดเยียด" อะไรที่เราคิดว่าดี แต่จำเสนอข้อมูล ให้ทางเลือก ให้ทางออก บางทีเขาก็รับ บางทีก็ไม่รับ บางครั้งจนปัญญาผู้ป่วยไม่เอาสักอย่างที่เล่าให้ฟัง ก็ไม่เป็นไร ไปตามลุงธวัช (อาสาสมัครอาวุโสอีกท่านนึง) มาช่วยเพิ่มเติมประสบการณ์ ความรู้ ความเห็นให้ แต่ข้อสำคัญคือ "ใจ" ของผ่อพ้อนั้น เริ่มจากคิดอยากจะช่วยผู้ป่วย ที่ตามมาก็คือความรอบคอบว่าเราช่วยนั้นจะมีประโยชน์อย่างเดียว หรือมีโทษด้วย ผ่อพ้อก็จะเอาเรื่องเหล่านี่มาประกอบกัน

ถ้าผ่อพ้อคิดเรื่องเหล่านี้ออก ผมคิด (หวัง) ว่าแพทย์ที่จัดโครงการอาสาสมัครก็น่าจะคิดออกเหมือนกัน คือคำนึงถึงข้อดีและข้อเสีย มีการเตรียมการ นึกถึงก่อน ระหว่าง และหลังผ่าตัดว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นได้บ้าง อธิบายให้คนไข้และญาติเข้าใจ และสุดท้ายก็ให้อำนาจในการตัดสินใจเลือกการรักษาโดยผู้ป่วยเอง
==========================================
ความเป็นนานาชาติ

เป็น common knowledge ว่าก่อนที่ไปรักษาโรคให้ประชาชน ในประเทศใดประเทศหนึ่ง ต้องมีใบประกอบโรคศิลป์ของประเทศนั้นๆ หรือได้รับอนุญาตให้รักษาในประเทศนั้นๆก่อน องค์กรที่รับผิดชอบของแต่ละประเทศเป็นคน ตั้งเกณฑ์มาตรฐาน เอกสารที่จำเป็นต่าง ที่จะนำมาแสดง เพื่อได้รับอนุญาต เป็น license หรือ temporary licence หมอไทยที่ไปอยู่ที่อเมริกา ไปเรียน ไปฝึกงาน ที่อังกฤษ แคนาดา บังคลาเทศ อินเดีย ออสเตรเลีย ฯลฯ ก็ต้องผ่านขั้นตอนเดียวกัน ต่อเมื่อผ่านขั้นตอนนี้แล้ว จึงจะได้ใบอนุญาต ชั่วคราว หรือถาวรก็แล้วแต่ แล้วจึงไปทำการรักษาพยาบาลคนไข้ประเทศนั้นๆได้ มีหมอทั่วโลกเดินทางไปรักษาคนไข้ทั่วโลก multidirectional เกิดขึ้นมานานมากแล้ว เมื่อหมอชั่วคราวเหล่านี้กลับประเทศ ก็มีระบบสาธารณสุขของประเทศนั้นๆรองรับสานต่อไปตามปกติ ไม่ได้เป็นของใหม่ ไม่ได้เป็นสิ่งที่เพิ่งค้นพบวันนี้เลย

ประเทศเรา ถ้าเข้าใจไม่ผิดก็น่าจะเป็นไม่แพทยสภา ก็กระทรวงสาธารณสุข ที่จะบอกว่าจะได้ temporary license ต้องผ่านกระบวนการขันตอน และใช้เอกสารอะไรบ้าง ปีที่แล้วเราส่ง resident ward ศัลย์ ward ตา ward เด็ก ไปสิงค์โปร์อยู่หนึ่งเดือน สิงค์โปร๋ก็อ้าแขนรับ ในข้อแม้เหมือนกันคือ ให้เราแสดงเอกสารรับรองวุฒิ รับรองพฤติกรรมต่างๆ แล้วหมอเราก็ได้ไปผ่าตัด ไปดูคนไข้ ของเขาอยู่เดือนหนึ่ง แล้วกลับมา มีคนไข้ที่ต้องดูต่อ ประเทศสิงค์โปร์ก็จัดการดูแลไปต่อไปตามระบบของเขา

requirement ระดับไหนที่จะป้องกันไม่ให้หมอปลอม หรือนักศึกษาแพทย์แอบมาทำผ่าตัดนอกประเทศ ก็คงจะเป็นมาตรการที่รักษามาตรฐานวิชาชีพของประเทศนั้นๆกำหนดมา เช่น ใบวุฒิบัตร บัตรสมาชิกองค์กรวิชาชีพ CV etc
==========================================
เทคนิกและรายละเอียด

การศึกษาต่อ อบรม ดูงาน การรักษาพยาบาลมีช่วงระยะเวลาที่แตกต่างกัน ตั้งแต่เป็น opd case หรือ in-patient 1 week etc ในที่ที่เราต้องการความเสี่ยงน้อย เราก็คัดกรองผู้ป่วยไม่ใหมันยากเกิน อายุกำลังดี ไม่มี underlying disease etc อุบัติการโรคแทรกซ้อนต่ำ และคนทำมีความชำนาญ ดังนั้นถ้าคนจัดเป็นหมอศัลย์เด็ก หรือหมอตา ก็ไม่ควรคิดโครงการเข้าเฝือก กระดูกหัก หรือผ่านิ่วถุงน้ำดี ตรงนี้แล้วแต่คนจัด ควรจะเอาอะไรทีตนเองคิดว่าประโยชน์มากสุด โทษน้อยสุด

แน่นอนที่สุดผู้ป่วยต้องเขียน เซ็นใบอนุญาตผ่าตัด คือ informed consent form ความหมายของ informed consent นั้น คือ ผู้ป่วยต้องถูก informed หรือให้ข้อมูลก่อน คิดสาระตะ แล้วค่อยเซ็น ถามให้เรียบร้อยทุกเรื่อง อัตราการเกิดแทรกซ้อน เกิดแล้วทำยังไง ให้ออกค่ารถ ให้ออกค่ารพ. ฯลฯ ถาม-ตอบให้เข้าใจเสียก่อน ค่อยตัดสินใจ ตรงนี้เป็นมาตรฐานเหมือนกันในสากล ไม่มีเหตุผลอะไรที่เราจะคิดว่าโครงการนี้มีการยกเว้น informed consent น่าจตรงกันข้ามมากกว่า

การผ่าตัดแล้วเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ แม้แต่ป้องกันดีที่สุดแล้ว ตรงนี้เป็น common knowledge ครับ ไม่ไดลึกซึ้งมากมายอะไร เราก็ควบคุมคุณภาพ และจัดระบบให้รองรับได้เท่านั้น ทำไมเราจะจินตนาการว่าหมอคนจัดจะไม่นึกถึง และเตรียมการแก้ไขป้องกันในเรื่องนี้? ก็แปลกดี
===========================================

ผ่อพ้อคิดว่างานอาสาสมัครเป็นเรืองที่ดีที่สุดอย่างหนึ่งของชุมชน เป็นเรื่อง positive ที่ควรสนับสนุน หลานผ่อพ้อพูดออกมาเองว่า "ผ้าเช็ดหน้าหระต่ายที่ผ่อพ้อพับให้คนไข้นั้นสวยเหลือเกิน คนไข้น่าจะรักผ่อพ้อมากนะครับ" เด็กคนนี้ หลานผ่อพ้อ ได้ปลูกจิตใจที่งดงาม สามารถ appreciate กับความรัก และคุณงามความดีในการช่วยเหลือคนอื่น ผ่อพ้อเล่าเรื่องราวต่างๆเหล่านี้ให้หลานฟัง ไม่มีหลานคนไหนคิดว่าผ่อพ้อกำลังคุยโวโอ้อวดความดีของตนเอง ผ่อพ้อเองมีจิตบริสุทธิ์ ที่อยากจะให้คนอื่นๆรับทราบว่าทำอะไร ก็เพราะอยากให้มีคนทำอย่างนี้เยอะๆ มากขึ้นเรื่อยๆ แค่นั้นเอง

ต้องขอบพระคุณผ่อพ้อ คุณป้าสุภรณ์ อุดมทัศนีย์ ที่ช่วยให้ความรู้ และข้อคิด ผมคิดว่ามีประโยชน์อย่างยิ่งในทุกๆคำพูด ทุกๆความเห็น นักศึกษาแพทย์ถ้าจะนำไปคิดต่อ ก็เป็นสิ่งที่ผมขอสนับสนุนเต็มที่ครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2006-10-12 , Time : 12:31:59 , From IP : 172.29.3.231

ความคิดเห็นที่ : 23


   ความเห็นล่าสุดของอาจารย์ Phoenix ตอบข้อสงสัยได้ชัดเจนและรู้สึกประทับใจดีกว่าที่เคยค่ะ

ที่ไม่กล้า debate ตั้งแต่แรก ก็อย่างที่บอกว่า เกินประสบการณ์ดังนั้นจึง “ไม่ได้ประเมินคุณค่าของใครอื่นเลย .... นอกจากตัวเอง” และที่มีความเห็นอยู่ข้างอาจารย์สุรศักดิ์มาตั้งแต่ต้นก็ด้วยประสบการณ์เดิมที่แต่ไหนแต่ไร “ไม่เคยไว้ใจ ... พวกหมอ...”

สงสัยมาตั้งแต่ “ถ้าเรารับฟังเรื่องราวโดยที่คิดว่า "คนอื่น" ก็เป็นคนดี มี mentaility ของแพทย์ที่ดีเหมือนเราเอง ถ้าเรา "คิดออก" ว่าเรื่องนี้ควรจะต้องระมัดระวังอะไรบ้างเพื่อคนไข้ คนที่จัดงานนี้จะคิดออกหรือไม่?”
ว่า ข้อมูลที่เรามี ... ไม่เท่ากัน ...

ถ้าจะบังอาจเดาใจอาจารย์สักหน่อย ก็เห็นจะเป็นเพราะว่า อาจารย์กำลัง debate เพื่อปกป้อง “ใคร” อยู่ ... ข้อยืนยันสิ่งสงสัยอีกเรื่องคือ ถ้าวันหนึ่งหนูจะเป็น “ศัลยแพทย์” หนูถูกสอนมาให้ “รับผิดชอบ” ในความหมายคือ ก่อนผ่า ต้องแน่ใจว่า ผู้ป่วยพร้อม (ที่สุด ... เท่าที่เตรียมได้) นั่นก็ต้องมาจากการประเมิน หลังผ่าภาวะแทรกซ้อนใดที่ป้องกันได้... ไม่ควรเกิด ถ้าป้องกันไม่ได้ให้เกิดน้อยที่สุด นั่นก็คือการเฝ้าระวังเพื่อตรวจพบได้ตั้งแต่เนิ่นๆ และถูกค่ะ ... โจรย่อมรู้ทางโจร และโจรต้องหัดเรียนรู้ด้วยว่าจะไว้ใจให้ใคร ...ดูต้นทาง... ดังนั้นถ้าอาจารย์การันตี “คนที่จัดงาน” ก็น่าคิดว่าอาจารย์น่าจะมี evidences ที่หนู อาจารย์สุรศักดิ์ และคุณ GURU ไม่มี ไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจอะไรเลยนี่คะ ที่ ... เรา ... มีความเห็นต่างกัน ก็ถ้าหนูเคย round สาย 1 แล้วเห็นว่าอาจารย์ดูแลคนไข้ละเอียดลออแค่ไหน มันก็ไม่แปลกอะไรถ้าจะรู้สึก “ไว้ใจ” แต่กับหมออะไรก็ไม่รู้ qualified หรือไม่ มาผ่าประชาชนในฐานะศัลยแพทย์อาจารย์สุรศักด์ก็น่าจะสงสัยได้ในเรื่องquality assurance หรือ medical compitency ในฐานะประชาชน หรือ นักศึกษาแพทย์ หนูก็อยากจะสงสัย communication skill เหมือนกันว่า “การเป็นหมอผ่าตัดจำเป็นหรือไม่ที่คนไข้จะต้องรู้สึกไว้ใจหมอ” หนึ่งด้วยการสื่อสารคนไข้กับหมอก็คงคุยกันไม่รู้เรื่องอยู่แล้ว แต่อาจจะไม่ใช่ประเด็นสำคัญเพราะการตัดสินใจรักษาเป็นส่วนความรับผิดชอบของผู้ปกครอง ผู้ปกครองก็จะได้ทางเลือกซึ่ง “คนจัดงาน” เป็นคนเสนอให้ ตกลงก็ได้ผ่า เป็นอันว่าปฏิสัมพันธ์ระหว่างแพทย์ ผู้ป่วย ไม่ใช่สิ่งที่ต้องกังวลไปเพราะดมยาหลับแล้วก็แล้ว .... เป็นความไว้ใจ .... ที่ไม่ได้ถูกบังคับให้เลือกซึ่งในความเห็นท้ายสุดก็ตอบข้อสงสัยได้ดีในส่วนของ “ทางเลือก”

และถ้าผู้จัดงานยินดีที่จะตามเช็ด ตามแก้ความผิดพลาดที่เกิดขึ้น ก็เป็นเรื่องของความไว้ใจระหว่างผู้จัดงานกับอาสาสมัคร เหมือนที่อาจารย์ตามเช็ดตามแก้ ออกหน้ารับผิดชอบ นศพ. extern intern resident ใช่มั้ยคะ

เราเคยเรียนจิตวิทยามาแล้วค่ะ และสิ่งที่เราแปลออกไปนั้นส่วนหนึ่งมันขึ้นกับ past experience ของเราเองเป็นอันดับแรก ซึ่งหากเป็นดังนั้นแต่เพียงองค์ประกอบเดียวของพฤติกรรมแล้ว อาจารย์อาจจะได้รับโทรศัพท์จากนศพ. เพี้ยนๆ ที่ดูคนไข้ไป consult ไป แล้วก็ร้องไห้ไป น้ำตาจะท่วม ward เนื่องจากเอามาแปลแล้วบวกเข้าไปว่า “ถ้าเป็นอย่างเขา...เราจะรู้สึกอย่างไร เราจะต้องการอะไร” กลายเป็น “sympathy” ที่ไม่ค่อยได้ประโยชน์ทั้งกับหมอทั้งกับผู้ป่วย แต่ .... จากการเรียนจิตวิทยา ทำให้เราได้คิดเพิ่มขึ้นว่า ความเห็นอกเห็นใจที่เป็นประโยชน์และไม่ toxic กับสภาพจิตใจ (นศพ.เพี้ยนๆ คนเดิม) คือ “Empathy”ซึ่งจะเป็นอย่างนั้นต้องละ “ตัวตน” ซึ่งเกิดจากการสะสมประสบการณ์เดิมไปมากทีเดียว สิ่งที่ต้องค้นหาคือ “ประสบการณ์เดิมของผู้ป่วย” ที่ส่งผลต่ออาการและอาการแสดง โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรัง หรือเป็นโรคยากๆที่ตรวจร่างกายไม่พบสิ่งปกติ ตรวจพิเศษเพิ่มเติมมาหลายคลินิก หลายโรงพยาบาลก็ยังไม่พบสิ่งผิดปกติแต่ยังคงเจ็บและปวดอยู่
เคยมีใครบอกอาจารย์หรือคะว่า “ที่คิดว่าคนไข้พูดออกมาว่าปวด ว่าเจ็บนั้น น่าจะโกหก”


หนูตอบอย่างคนมองโลกในแง่ร้าย ... เพราะรู้สึกปลอดภัยที่จะ “กัน” ไว้ก่อน มากกว่ามองโลกในแง่ดีแล้วมาตาม “แก้” ทีหลัง ว่า ... ก็หนูไม่รู้จัก ไม่เคยเห็น ประสบการณ์เก่าเลวร้ายก็เลย “ไม่ไว้ใจ” ค่ะ


Posted by : Lucifer , Date : 2006-10-12 , Time : 13:32:59 , From IP : 172.29.4.107

ความคิดเห็นที่ : 24


   คนรอบคอบ(เกินไป)นั้นรู้สึกว่ากำลังถูกหลอกทุกครั้ง คนที่ไว้วางใจไม่เคยรู้สึกว่าถูกหลอกเลย

(ดัดแปลงมาจาก Cowards die many times, the brave one dies just once)

ประสบการณ์เก่ามีผลแน่นอนครับ ผมอยากจะยกทฤษฎีอีกประการน่าสนใจมาก คือ Moral Development ของ Kohlberg มีอยู่ 6 stages ได้แก่
1. Pre-conventional Morality
..........1.1 Obedience & Punishment orientation
..........1.2 Individualism & Exchange
2. Conventional Morality
..........2.1 Good Interpersonal Relationship
..........2.2 Maintaining the Social Order
3. Post-conventional Morality
..........3.1 Social Contract and Individual"s rights
..........3.2 Universal Principle

ว่านี่คือ "ขั้นตอน" การพัฒนาว่าไปตั้งแต่ ดีไม่ดี คือถูก/ไม่ถูกทำโทษ ขึ้นมาอีกหน่อยก็คือมันมีบริบทมาเป็นข้อยกเว้นได้บางครั้ง ขึ้นมา step 3 ก็คือการที่คนอื่นๆบอกว่าทำแล้วดีนะจ๊ะ หรือเราอยากให้ใครทำอย่างเราก็ประกาศว่านี้ดี ไม่ดี ตรงนี้รวบรวมเป็นกลุ่มได้ใหญ่ขึ้นจนกลายเป็นกฏหมาย ส่วนใหญ่จะติดคาอยู่ที่ stage 4 นี้ ที่คุณ Lucifer ยกตัวอย่าง เป็นระหว่าง stage 3/4 คือมีเรื่องกฏระเบียบ และบวกกับความสัมพันธ์ส่วนตัว ที่สูงกว่านั้นคือ stage 5 ได้แก่กฏหมายจะถูกตีความโดยเอาไปโยงใยกับ principle of autonomy มากขึ้นเมื่อในกรณีที่เกิด dilemma จนขั้นสุดท้ายคือได้ Holy Grail ของทางปรัชญาเกี่ยวกับ goodness คือ Universal Goodness นั่นเอง ตัวอย่างได้แก่พวกบรรดาคดีระดับศาลฎีกา ระดับ Law Lord หรือ Human"s right Court ในยุโรปหรืออเมริกา

ถ้าเรายังหมกมุ่นมองไม่เห็นว่าสิ่งที่เราทำนั้น มีคนมีชีวิตจริง มีคนทุกข์จริง มีคนกำลังรอความช่วยเหลือจริง ติดค้างอยู่ที่กฏหมายจนคิดอะไรไม่ออก หาทางไม่เจอเลย เรากำลังติดกับ moral step-ladder ที่ 4 และเผลอๆถ้าไม่เข้าใจซะด้วยซ้ำว่าอะไรคือ the most precious value ที่เราอยากให้เกิด อาจจะลดลงไปแค่ step 3 หรือแม้กระทั้ง 2 หรือลงไป 1 เลย (ถ้าทำ/ไม่ทำเพราะกลัวคนลงโทษ นินทา ว่าร้าย)

Kohlberg ทดลองเป็น longitudinal study ใช้เวลาเป็นสิบปี มีข้อสังกตที่น่าสนใจมากอีกอย่างหนึ่งคือ ถ้าปัจเจกบุคคลสามารถพัฒนาถึงระดับสูงแล้ว น้อยมากที่จะลดลงไประดับต่ำใหม่ ค้นหาดูพวกที่ลด ส่วนใหญ่จะเป็นเพราะ fake higher level มากกว่าปรากฏการณ์ที่ลดจริงๆ พวกที่จำแต่ทฤษฎี แต่ไม่เข้าใจ ไม่มี liberal skill ในการแปลและตีความกฏหมายเชิงหลักปรัชญานี่แหละ ส่วนหนึ่งกำลังใช้ level 1 หรือ level 2 คือกลัวถูกทำโทษ หรือเพราะประโยชน์บริบทส่วนตัวเองมากกว่า

สังคมตะวันตกจะพัฒนามาถึง stage 4 ที่ค่อนข้างมีรากด้านกฏหมาย ด้านรัฐธรรมนูญมานาน ใช้มานานมาก ที่จริงผมอยากจะคิดว่าฝั่งตะวันออกเรามีพื้นฐานปรัชญาพร้อมที่จะไปขั้น 5 หรือแม้แต่ 6 มากกว่า แต่ติดที่ขั้น 3-4 เรายังสับสนว่าจะเอามาประสานเชื่อมโยงกับปรัชญา ศาสนา ความเชื่อ นิยามความดีอย่างไร ร่ำๆจะไปขอยืมตะวันตกอยู่ร่ำไป เห็นชัดสุดก็ทำนอง Democracy คือ Election and vice versa นั้นแหละครับ

คุณ Lucifer สามรถสรุปว่าผมคิดและพูดไปเพราะอะไรได้ตามที่คุณ Lucifer ทำแล้วสบายใจ นอนหลับฝันดี ไม่มีโกรธเกลียด เศ้ราหมองก็แล้วกันครับ ผมเชื่อและศรัทธาในศักยภาพของนักศึกษาเราว่า ทุกคนมีพื้นฐานที่เป็นคนดี ขอเพียงให้มีเวลา และ"มีใจ" ที่จะสะท้อนตนเอง ค้นหาตนเอง ค้นหาปรัชญาของสมเด็จพระราชบิดามาเป็นดวงแก้วนำทาง ทุกคนจะประสบความสำเร็จเป็นหมอที่ดี และอาจจะเป็นหมอที่เก่งด้วยในอนาคตอันใกล้นี้



Posted by : Phoenix , Date : 2006-10-12 , Time : 16:11:59 , From IP : 172.29.3.231

ความคิดเห็นที่ : 25


   ผมพึ่งทำธุระสำคัญเสร็จครับ และเห็นว่าการแลกเปลี่ยน (ไม่ใช่แลกหมัด) ในกระทู้นี้ productive เพียงพอที่จะเข้ามาเปลืองตัวต่อไป

ขอข้ามตอนป้าผ่อพ้อไปเท้าความเดิมในส่วนของผมนะครับ

เรื่องเดิมมีอยู่ว่า มีการเสนอการผ่าตัดฟรีและเจาะจงว่า prefer คนไข้จากสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ผมตั้งคำถามถึงเรื่อง competency ของผู้ให้บริการและ completeness ในตัวบริการ ประเด็นนี้ได้รับการถกจนตกผลึกแล้วว่า เรื่อง competency นั้น น่าจะอยู่ในความรับผิดชอบของ host ได้ เรื่อง legibility นั้น คุณ phoenix เห็นว่า น่าจะเปิดได้โดย "ถืองานกุศลเป็นข้อยกเว้น" ผมเห็นต่างตรงที่ว่า ระบบไม่ควรจะมีการยกเว้นที่พร่ำเพรื่อ การยกเว้นครั้งที่หนึ่ง จะเป็นบรรทัดฐานให้เกิดการยกเว้นครั้งที่สองจนถึงครั้งที่อนันต์ การหย่อนวินัยครั้งแรก เป็นครั้งที่มีส่วนสำคัญที่สุดต่อความล้มเหลวทั้งหมด ถ้าจะยกเว้น ก็กลับไปเขียนกฏหมายใหม่ ว่า การประกอบวิชาชีพเวชกรรมในประเทศไทย กระทำได้สำหรับชาวต่างชาติที่เชี่ยวชาญ ซึ่งต้องมาจากสหรัฐอเมริกา และมาผ่าตัดเพื่อการกุศล

เอาล่ะ ถึงตรงนี้ผม sarcastic พอแล้ว และขอหยุดประเด็นนี้ คำตอบมันมองออกระดับหนึ่งแล้ว ประเด็นของผมไม่ใช่การโจมตีกลุ่มแพทย์ซึ่งมีอยู่จริงในโฆษณาข้างต้น ผมต้องการกล่าวว่า ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมซึ่งไม่ได้รับการรับรองจากกองประกอบวิชาชีพเวชกรรม กระทรวงสาธารณสุข ประเทศไทย จะเข้ามาดูแลรักษาผู้ป่วยในราชอาณาจักรไทย มีเพียงเงินและใจกุศลมา "ไม่พอ" มันผิดกฏหมาย และยิ่งไปกว่านั้น การเสนอความช่วยเหลือให้กับท้องถิ่นชุมชนใด ควรจะกระทำด้วยความเข้าใจทั้งในโครงสร้างสังคม (ในที่นี้หมายถึงโครงสร้างระบบบริการทางสาธารณสุขท้องถิ่น) และสภาพปัญหาที่แท้จริง มิใช่ตีขลุมว่า "สงสัยจะมีปัญหา จึงจะขอช่วย" โดยไม่มีประจักษ์ และทำราวกับว่าแถบถิ่นนั้น ไม่มีผู้ให้บริการที่ทำงานอยู่


มาถึงเรื่อง "ทำไมต้องภาคใต้สี่จังหวัด" คุณ phoenix บอกว่าประเด็นนี้ไม่สำคัญ ท้ายที่สุดแล้ว คนไข้จำนวนหนึ่งได้รับการผ่าตัดซึ่ง "อาจ" เร็วกว่าคิวนัดเดิม หรือ "อาจ" ราคาถูกกว่าเดิม ก็เป็นกุศลแล้ว (คำว่าอาจและฟันหนูผมเติมเอง)

ก่อนอื่นผมบอกก่อนว่าทำไมต้องร้อนตูด ตอบกระทู้คราวนี้ผมใช้ identity คือสุรศักดิ์ หากผมสมมติว่า สุรศักดิ์ ทำงานเป็นหมอผ่าตัดและเป็นนักวิชาการทางศัลยกรรมเด็กในภาคใต้ตอนล่าง ผมว่าเป็นธรรมดาที่เขาจะต้องสงสัยว่า "เฮ้ย ไส้เลื่อนขาหนีบ สะดือจุ่น แถวนี้มันเป็นปัญหาหนักขนาดมีคนเสนอตัวมาช่วยผ่าเชียวหรือ" งานที่ สุรศักดิ์ ปิยะวรรณ สราวุธ (ทั้งหมดเป็นนามสมมติ) ทำ มันยังมีช่องว่างทีต้องพัฒนาขนาดนั้นเชียวหรือ มีอะไรที่เขาจะต้องทำเพิ่มหรือหาความรู้เพิ่มไหม ในวันเด็ก เขาและผองเพื่อนนักซ่อมไข่จะเปิดซ่อมใส้เลื่อนแทนที่จะพาลูกไปดูรถถังดีไหม หรือถ้าอุบัติการณ์ของไส้เลื่อนและสะดือจุ่นที่นี่มันมากกว่าที่ใดในโลกจนต้องมาขอช่วย สุรศักดิ์ควรจะคิดศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องไหม

คุณ Phoenix บอกว่า มันไม่สำคัญ และไม่ต้องตอบก็ได้ว่าทำไมเขาถึงมา คิดเสียว่าเขามาช่วยแบ่งเบาและหยุดความคิดที่คำว่าการกุศล แต่ผมสนใจนี่นา ความสนใจที่จะตั้งและตอบคำถามมันเป็นหน้าที่หนึ่งในสี่ประการของคนที่รับราชการในตำแหน่งอาจารย์อยู่แล้ว จะห้ามไม่ให้ผมสงสัยได้กระไร คำตอบของความสงสัยว่าทำไม มันอาจเป็นอย่างที่ผมตั้งสมมติฐานแบบที่ดูขวางและราน้ำ หรือมันอาจมีเหตุเพียงจากการที่เขาเอาฉลากชื่อประเทศไทยใส่รวมกับประเทศอื่น ๆ อีกร้อยกว่าประเทศแล้วจับแบบสุ่ม จากนั้นก็สุ่มลูกเต๋าต่อได้ภาคใต้ จึงมา "ช่วยแบ่งเบางานเพื่อนแพทย์ภาคใต้ตอนล่างในประเทศไทย" แทนที่จะไปเสนอตัวช่วยเพื่อนที่ออสเตรเลียผ่าตัด ก็จะเป็นอีกเรื่อง

กลับมาที่มุมมองเชิงระบบกับรัฐศาสตร์การให้และรับความช่วยเหลืออีกที เราถอยออกมาจากรายละเอียดใน case นี้ก่อน ประเด็นที่ผมอยากจะเขียนบอกเป็นอย่างยิ่งคือ การรับความช่วยเหลือจากภายนอกนั้น มี price to pay เสมอ แม้จะมองไม่เห็นซึ่งหน้าก็ตาม นี่อาจจะเป็นเรื่องหนึ่งที่ผมได้เรียนจากวัฒนธรรมญี่ปุ่นและอาจจะทำให้เห็นต่างจากท่านที่ถูกหล่อหลอมมาคนละเบ้า คนญี่ปุ่นไม่ให้ความช่วยเหลือและไม่รับความช่วยเหลือโดยไม่จำเป็นครับ ในประวัติศาสตร์ของแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงที่โกเบ (Great Hanshin-Awaji earthquake 1995) ทั้งที่ส่งผลกระทบถึง 2.5 % ของผลิตภัณฑ์มวลรวม ญี่ปุ่นไม่รับความช่วยเหลือ (ที่เป็นทางการ) จากต่างประเทศ แต่ใช้ทุนทรัพย์ภายในและการวางแผนระยะยาว ในเวลาไม่ถึงสิบปี ซากเมืองได้รับการบูรณะให้กลายเป็นเมืองสมัยใหม่ที่วางผังได้ดีที่สุดแห่งหนึ่ง ผมไม่กระจ่างพอว่าแท้จริงเขามีแนวคิดเรื่องนี้อย่างไร แต่เดาเอาว่าในหนังสือวิชาประวัติศาสตร์ เขาคงเขียนให้ลูกหลานเขาอ่านว่า ทุกครั้งที่ล้มหรือลำบาก เขาเข้มแข็งและยืนขึ้นมาอีกครั้งด้วยตัวเองร่ำไป



Posted by : สุรศักดิ์ , Date : 2006-10-12 , Time : 20:01:46 , From IP : p4094-ipbfp602osakak

ความคิดเห็นที่ : 26


   พอดีได้ข้อมูลเพิ่มเติม คุณ guru อาจจะสนใจตรวจทานข้อเท็จจริงดูก้ได้นะครับ Orbis websiteดูเหมือนว่า orbis มาเมืองไทยในโปรแกรมนี้ได้ 9 ครั้ง ครั้งสุดท้ายคือที่ขอนแก่น 1993 ส่วนในปี 1992 ก็ดังในตาราง (หรือจะดูที่ link ก็ได้ครับ อาจจะชัดกว่านิดหน่อย

Since 1982, our Volunteer Medical Professionals have led 364 medical training programmes across 21 countries in Asia in our quest to eliminate avoidable blindness. Our intensive 2-3 weeks training programmes performed aboard the Flying Eye Hospital or at a local hospital and our sustainable short-term projects ensure that local doctors are equipped with the skills necessary to increase the capacity of local hospitals in diagnosing and treating patients with preventable eye conditions. To view the historic programmes of our Asian country partners, please click by country: Bangladesh; China; India; Vietnam.

Country Programmes Location Training Focus

Afghanistan 2 Kabul Glaucoma, Cataracts
Armenia 2 Yerevan: 1996, 1998 Glaucoma
Indonesia 1 Jakarta: 1982
Kazakhstan 1 Almaty: 1993
Kyrgyzstan 4 Bishkek: 1996, 1997, 1998, 2000 Paediatrics, Glaucoma, Cataracts/Refractive Surgery
Malaysia
3 Kuala Lumpur: 1982, 1989, 2004
Mongolia 16 Ulaanbaator: 1989, 1990, 1991, 1992, 1993, 1995, 1996, 1997x2, 1998x2, 1999x2, 2000, 2001, 2004 Retina/Vitreous, Glaucoma/Cornea, Cataracts, Neuro-ophthalmology
Myanmar
15 Yangon: 1991, 1992, 1993, 1994, 1995, 1996, 1997, 1998x2, 1999, 2000 Nursing, Paediatrics, Retina/Vitreous
Mandalay: 1993, 1999, 2000, 2004 Cornea, Cataracts
Nepal
4 Kathmandu: 1985, 1988, 2004 Lumbini 2005 Paediatrics/Strabismus
Paediatrics/Strabismus
Papua New Guinea 1 Port Moresby: 1989
Pakistan
3 Islamabad: 2004 Paediatrics/Strabismus
Lahore: 1982
Karachi: 1985
Philippines
13 Manila: 1982, 1989, 1990, 1992
Cebu City: 1982, 1985, 1992, 1999
Davao City: 1991, 1992, 1993
Angeles City: 2004
Subic Bay 2003
Singapore 5 Singapore: 1985, 1986, 1988, 1990 1996
Russia 2 Moscow: 1987
St Petersburg: 1987
Sri Lanka 3 Columbo :1982, 1993
Kandy 1993
Thailand 9 Bangkok: 1982, 1985, 1988, 1992
Chiang Mai: 1988, 1990, 1992
Khon Kaen: 1992, 1993






Posted by : Phoenix , Date : 2006-10-13 , Time : 07:56:53 , From IP : 58.147.113.12

ความคิดเห็นที่ : 27


   ที่คุณ เอาเวบ ออร์บิสมาลง ผมก็ได้ไปดูมาก่อนแล้ว ที่คุณพูดมาผมอยากจะบอกข้อมูลจริง

1ออร์บิส มีหมอคนไทย เป็น ผู้ประสานงาน ไม่ใช่ สภากาชาดไทย และ รับดูแลต่อโดยหมอคนไทยในพื้นที่

2ออร์บิสเวลามาผ่าจะเลือกสถานที่ที่เป็น รร แพทย์ เพื่อ เทรน คนท้องที่ ให้ ทำงานได้ดียิ่งขึ้น ( ไม่ได้มาทำ ๆ แล้วก็ไป )

3 บางครั้ง ออร์บิสมาแต่ ตัวคน ไม่ได้เอาเครื่องมาลง แล้ว ไปผ่าใน รพ ของท้องที่ ที่ คนไข้ อยู่ ไม่ได้ ขนคนไข้ จาก ภาคหนึ่ง บินไปทำอีกภาคหนึ่ง

4 ออร์บิส ไม่ได้มาเมืองไทย สิบกว่าปีมาแล้ว คิดว่า เขาคงคิดว่า ไทยมีหมอตาดี + ปริมาณ คนไข้ ก็ไม่เกินความสามารถของหมอไทย

ส่วนเรื่องที่ผมถามว่า คุณ เคยไปใช้ทุน ใน รพช หรือเปล่า แล้ว คุณตอบไม่ได้ ไปใช้ทุนใน รพช. แต่ก็ได้ที่ทำงาน ที่ถูกกฏหมายและ จริยธรรมและ โอเคเป็นอย่างยิ่ง ( แต่ จะเป็นตัวอย่างที่ให้ หมอรุ่น น้องๆ หลายๆคนอยากจะเลียนแบบ หรือเปล่า นี่น่าคิดนะ ) ที่ถามเป็นเพราะ การ ออกไปอยู่ รพช ทำให้ หมอ มองโลก ในอีกแง่หนึ่ง จากการเป็นหมอ บนหอคอยงาช้าง ตีนไม่เลอะโคลน เปลี่ยน ไปเป็นคนที่ ติดดิน คิดถึงคนที่ด้อยกว่า และ ทำงานโดยหวังที่จะปิดทองที่หลังพระปฏิมา ( คนไม่เห็น ความดี ก็ไม่เสียใจ )

ส่วนคุณ ชอบเอ่ยชื่อ คนหลายๆคน อาทิ อดีตประธานชมรมแพทย์ชนบท หมอเกรียงศักดิ์ รพช ภูกระดึง ผมอยากถามว่า คุณ จำลูกศิษย์ ตัวเองที่ได้รับรางวัล แพทย์ ชนบท ได้บ้างใหม ขอสัก 3 ชื่อ ( อย่าไปถามคนอื่น หรือ ไปค้นตำรา อินเตอร์เนต) นะ

อ้อ ที่คุณแปลคำสุภาษิต Cowards die many times, the brave one dies just once ว่า
คนรอบคอบ(เกินไป)นั้นรู้สึกว่ากำลังถูกหลอกทุกครั้ง คนที่ไว้วางใจไม่เคยรู้สึกว่าถูกหลอกเลย
ผมว่า มันผิดความหมายมากครับที่จริงคือ คนขี้ขลาด ตายหลายครั้ง เพราะ ไม่กล้าเผชิญกับความจริงที่ ทุกคนต้องตาย เลย อยากที่จะตายแบบสบายๆ ตายแบบมีคนห้อมล้อมเอาอกเอาใจ ครับ ส่วน คนกล้า ตายครั้งเดียว

ผมอยากเสนอคำๆ หนึ่งครับ
the clean boots professor
ผมแปลเองว่า นกวิชาการผู้อยู่ในกรงทองบนหอคอยงาช้าง ตีนไม่ติดดิน ครับ



Posted by : guru , Date : 2006-10-13 , Time : 13:25:53 , From IP : 125.25.48.198

ความคิดเห็นที่ : 28


   จริงๆข้อมูล orbis นั้นตอนแรกผมเรียกมาจากความทรงจำ เพราะหมอคนที่เดินเรืองติดต่อ ประสานงานให้ orbis มาจอดที่ บน.6 นั้น คนหนึ่งคือภรรยาผมเอง อีกคนหนึ่งคือหมอจุลวิทย์ที่อยู่ที่ภูมิพลฯ เป็นเพื่อนศีริราชรุ่นเดียวกันครับ resident ตาที่จุฬาฯรุ่นนั้นบางคนยังได้ไปเดินขึ้นไปดูในเครื่องบินของ orbis เลย ที่ต้องชี้แจงเพราะคุณ guru ยืนยันว่าไม่มี orbis มาจอดที่ บน. 6 บ้าง ไม่มาแล้วหลายสิบปีบ้าง ตรงนี้นยอมรับว่าผมคิดส่วนตัวนิดหน่อยครับ เพราะหมอจุลวิทย์เป็นเพื่อนสนิทผมที่ศาลายา นอนห้องเดียวกันมา แกช่วยกรุณาวิ่งเต้น ติดตามเรื่องที่กองทัพอากาศให้ ถ้าบอกว่าไม่มีเรื่องนี้เกิดขึ้น ผมรู้สึกเป็นการทรยศต่อความทรงจำของผมต่อแก (แกเสียชีวิตไปแล้ว) ผมคิดว่าข้อมูลของผมค่อนข้างใกล้ชิดกับคนในเหตุการณ์จริง และเชื่อถือได้พอสมควรครับ
====================================

ผมเคยสอนนักศึกษาแพทย์เสมอว่าความดีของสังคมนั้น มาจากการปฏิบัติหน้าที่ที่แตกต่างกันตามบริบทอย่างเต็มที่ ประเทศหนึ่งมีแต่หมอชนบท ไม่มีวิศวกร ไม่มีคนกวาดขยะ ไม่มีกรรมกรก็อยู่ไม่ได้ ใครช่วยอะไรมากนอ้ยกว่ากันนั้นผมตั้งข้อสังเกตว่ามันจะเกิดประโยชน์และโทษอย่างไรบ้าง

ขณะนี้มีอาสาสมัครประจำตำบลทำงานร่วมกับผมในชมรมชีวันตารักษ์ (ประเทศไทย) อยู่บ้างครับ ไม่ทราบว่านับเป็นรากหญ้าได้หรือไม่ แต่จริงๆแล้วเราจะใช้ parameter อะไรเพียงอันเดียวมาบอกว่านี่คือ minimum ผมว่านั่นคือ judgemental attitude ครับ หรือ "ฟันธง syndrome" ผลเสียก็คือการสรุปที่เกิดจากการขาดข้อมูลที่เพียงพอ

และผมเขียนว่า "ดัดแปลง" ครับ ไม่ใช่ "แปล" ที่ว่า Cowards die many times นั่น และจริงๆผมเขียนเพื่อจะตอบน้อง Lucifer ในกระทู้ถัดขึ้นไปข้างบน ไม่ได้ตั้งใจเรื่องความหมายครับ แค่ rhyme ประโยคเท่านั้น แต่คุณ guru กรุณามารับไปเอง ที่ผมตั้งใจจะคุยกับนอ้ง Lucifer เพราะแกมี learning style แบบ AR และ "รับรู้" ได้ลึกซึ้งหลากหลายกว่าคนปกติ บางทีคิดมาก หวาดระแวงบ่อยๆว่าทีคนไข้พูดจริงไม่จริง

อ้อ..ผมไม่ได้แปล Cowards die many times แบบคุณ guru ครับ ผมคิดว่า Cowards นี่ไม่ได้ "อยากตาย" ครับ ไม่ว่าจะแบบไหนทั้งสิ้น เคยมีชีวิตหวาดผวา กลัวตายอย่างยิ่ง ทั้งๆที่ไม่ถึงเวลาตายก็กลัวตาย จนเหมือนตายหลายสิบครั้งก่อนตายจริง
======================================

ชีวิตคนเราจะเลียนแบบใคร มากน้อยแค่ไหน ผมคิดว่าเป็นสิ่งที่ควบคุมลำบากครับ เพราะบริบทเบื้องหลังเราไม่เหมือนกัน ต่อให้เราไปอยู่ชนบทสามปี แต่ถ้าเปิดคลินิกวันละสามเวลา อยู่ รพ.น้อยมากก็อาจจะไม่เท่าทำงานวิจัยพื้นฐานในห้อง lab คุณ guru กับผมขณะนี้อยู่ใน ม.อ. ทำงานวิชาการ สอนหนังสือ ทำงานวิจัย ให้บริการ เรารู้สึกภาคภูมิใจในงานของเราเอง ตามพื้นฐานความคิด ตามบริบทของแต่ละคน ถามว่ามองย้อนหลังกลับไป ตัวเราเอง ณ ขณะนี้ คิดทุกสิ่งทุกอย่างเหมือนเมื่อยี่สิบปีก่อนไหม ผมเองตอบได้เลยว่าไม่ เพราะผมลงมาสมัครครั้งแรกเนื่องจากจะเป็น neurosurgeon ครับ (ไม่ทราบ อ.นครชัยจะทราบหรือไม่) ไปสมัครที่ รพ.ตำรวจรอบแรก แต่เขารับเด็กจุฬาฯไป ก็เลยเคว้ง ยังดีที่สงขลาเปิดรับศัลย์รอบสองก็เลยได้ลงมา พอมาอยู่บริบทก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ตามข้อมูล ตามสิ่งแวดล้อมต่างๆ คนเราก็มีการเติบโตด้วยวิธีการ absorb ประสบการณ์เหล่านี้

ถ้าผมจะอยู่ในหอคอยงาช้าง แต่หอคอยนี้มีอาสาสมัครประจำตำบล มีอาสาสมัครข้างเตียง มีอาสาสมัครด่านหน้าอยู่ด้วย ผมก็จะเอาครับ ไม่ได้พลิกตีนดูว่ามีดินติดรึเปล่า แต่มีกลิ่นดอกไม้จันทร์บ้าง ธูปบ้าง ไม่ทราบใช้แทนกันได้ไหม มีความสุขดี ไม่ได้รู้สึกเสียใจ ได้มีโอกาสจัดอบรม palliative care ให้ชาวบ้าน ให้ staff ให้ resident ให้ นศพ. ก็รู้สึกดีครับ และหวังว่าความรู้และเจตคติที่ได้ไปจะตกทอดไปถึงผป. ไม่ว่ายากดีมีจน เพราะ palliative care ไม่ได้จำเพาะเฉพาะคนจน คนทุกคนต้องตาย จึงเป็นวิชาสำหรับทุกคน ก็น่าจะมีประโยชน์ต่อสังคมอยู่บ้าง ในความคิดของผมเองนะครับ
=======================================

คุณ guru ไม่สนใจประวัติตัวเองจะมา share มาบ้างหรือครับ เห็นถามเอาๆของผม ตอบไปก็เยอะ ไหนๆอภิปรายเรื่องจริยศาสตร์ เรื่องคุณธรรมแล้ว เปิดเผยสัดนิดก็ดีว่าคุณทำอะไรมาบ้าง ไปอยู่ที่ไหนมา ทำไมจึงมาสอนนักศึกษาแพทย์ เราอาจจะรู้จักกันดีมากขึ้น เท่าที่ผ่านมาเราไม่ได้มี "อวจนภาษา" ในการสื่อกันเท่าไหร่ บางที่การสื่อบนกระดานข่าวแบบนี้มันไม่ได้ยินน้ำเสียง สีหน้า ท่าทาง มันก็อาจจะไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย

PS หมอเกรียงศักดิ์ ชื่อเล่นชื่อ ฉิก ครับ อยู่เตรียมอุดมฯห้องเดียวกันผมคือ 845 รุ่น 8 ครึ่ง ผมจำลูกศิษย์ไม่ใครได้ครับ จะแปลว่า amnesia หรือเป็นคนเลวหรืออะไรก็ได้ ก็ตามใจครับ





Posted by : Phoenix , Date : 2006-10-13 , Time : 15:42:50 , From IP : 172.29.3.231

ความคิดเห็นที่ : 29


   โธ่ .... อาจารย์ไม่น่าเลย .... มีคนสะใจออกนอกหน้า เดินมาหัวเราะให้ถึงห้องเลยนะคะ หาว่าหนูขี้ระแวง .... แม่นๆ ก็ออกจะบ่อยไปค่ะ ไม่เห็นมีใครชมว่าวิสัยทัศน์กว้างไกลมั่ง

-.-“

===========================


Posted by : Lucifer , Date : 2006-10-13 , Time : 17:53:35 , From IP : 172.29.4.107

ความคิดเห็นที่ : 30


   คุณ Lucifer ไม่ต้องเสียใจหรอกครับ ผมเชื่อว่า อ.ลิลลี่เคยบอกหลายครั้งแล้วว่าอะไรคือ special gift ของ AR ที่คนกลุ่มอื่นไม่มี OK ถึงแม้บางที package มันจะมากับ over sensitive แต่ถ้ารู้อย่างนี้ เราก็สามารถควบคุมดูแลมันได้ดีขึ้นไม่ใช่หรือ? AR จะเป้นคนที่ต่อเติม learning objectives ให้แก่กลุ่ม PBL บ่อยที่สุด แน่นอนแม้แต่บางครั้งอาจารย์ก็อาจจะมองตามไม่ทัน แต่อีกหน่อยผมเชื่อมั่นในนักศึกษาของเราครับว่า "ถ้า" ได้ใช้ศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่ ต่อให้อยู่ที่ไหนๆก็จะได้ดีได้ทั้งนั้น



Posted by : Phoenix , Date : 2006-10-13 , Time : 23:18:03 , From IP : 58.147.113.12

ความคิดเห็นที่ : 31


   Autonomy and Judgement of Oneself Value

ถ้าผมจำไม่ผิดเคยมีการอภิปรายเกียวกับเรื่องใช้ทุน ไม่ใช้ทุน และใช้ทุนที่ได้ ดีไม่ดีอย่างไร บนกระดานแห่งนี้มาแล้ว ไม่ต่ำกว่า 2 ครั้ง มีคนเข้ามาร่วมมากมาย มีทั้งแบบ logic/emotional มีทั้งแบบ evidence-based/personal-based มีทั้งแบบ judgemental vs non-judgemental ผมคิดเรื่องที่ได้อภปิรายกันมาคือ "มุมมอง" และสำนึกเรื่อง autonomy มีส่วนเกี่ยวข้องค่อนข้างมาก

อย่างไร?

เราทุกคนมีความสามารถในดารตัดสินคนได้ถูกต้อง ใกล้เคียงความเป้นจริงสุดแค่คนเดียวเท่านั้นแหละครับ คือ "ตัวเราเอง" เพราะเรามีโอกาสที่จะทำความรู้จักกับตนเองมากกว่าเพื่อน และที่สำคัญกว่าก็คือ "ความเป็นไปได้" ทีจะรู้จักเพียงพอจนกระทั่งตัดสินคุณค่าว่าใช้ชีวิตดีไม่ดี มีไม่มีประสบการณ์ที่ควรไม่ควรนั้นบีบบังคับไว้อยู่ ลองจินตนาการมดแมลงที่มีอายุแค่ไม่กี่วัน ถ้ามันคิดแบบเราได้ มันคงมองมนุษย์ว่าเป็นสัตว์มหึมาที่ไร้ประโยชน์ วันๆนั่งเฉยๆจิ้มโน่นนี่ เดินไปมา หมูหมามองเห็นม้าวัวสิงโต ก็คงจะตัดสินคุณค่าของม้าวัวสิงโตมามุมมองของหมูหมา (มันคงจะตั้งฉายาของสัตว์ต่างๆที่มันมองเห็นไว้ตลกขบขัน ตามสติปัญญาของมัน) คนเราเวลาตัดสินใครนั้น เราก็ตัดสินจาก "มุม" ของเรา จากข้อมูลที่เรามี และจาก perspective, value ที่เรายึดเหนี่ยว

ถูกต้องแค่ไหน?

ถ้าชีวิตคนเรา 100% และคุณค่าของเราเกิดจากไอ้ 100% ที่ว่านี้ จะตัดสินใครสักคนเราควรจะ รู้และเข้าใจ คนๆนั้นสักกี่เปอร์เซนต์จึงเพียงพอ? คำถามนี้แต่ละคน คงจะไม่เท่ากันกระมัง แต่โอกาสก็คือ ถ้าเราเผอิญรู้จัก มีข้อมูลแค่ 10% ของกิจกรรมทั้งชีวิตของคนๆนี้ เอาไปฟันธงว่านี่จะมีผลต่อ 100% ทั้งชีวิตของเขาอย่างไรบ้าง ก็คงจะมีโอกาสคลาดเคลื่อน ถ้าที่เหลืออีก 90% มันเป็นกิจกรรมที่เราไม่รู้ มันเกิดมีคุณค่าต่างๆมากมาย

สำคัญอย่างไร?

กับแพทย์นั้นสำคัญมาก เพราะถ้าเรามี judgemental attitude โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ ผป. เอ..ทำไมถึงมาตรวจไม่ทัน ไม่มาตามนัด ไม่ทำตามหมอแนะ ไม่ยอมรับการรักษา ไปเอาชีวจิต ไปเอาโยคะ ยาหม้อ ฯลฯ ทำอะไรก็ตามที่เราเอง ไม่เข้าใจในคุณค่า ไม่ approve ว่าดี ต่อให้ไม่พูดออกไป แต่มันอยู่ในใจข้างใน ความสัมพันธ์ระหว่างหมอกับคนไข้ก็ไม่ดีที่สุดไปได้ เพราะฉะนั้นหมอพึงจะต้องระมะดระวังเรื่อง judgemental attitude อย่างยิ่ง อย่าพยายามเข้าใจว่าเฉพาะสิ่งที่เรา approve เท่านั้นคือดีที่สุด คือถูกที่สุด คือมีจริยธรรมมากที่สุด ลองพยายามฟังเยอะๆ ยึดหลักมงคล 38 ประการอันหนึ่งคือ "พหูสูตร" เพิ่มมุมมองความรู้ของเราให้กว้างมากขึ้น จะพบว่าความดีนั้นมีหลายวิธีที่จะทำ

คณะแพทยศาสตร์ ม.อ. รับแพทย์ใช้ทุนมาทำงานมาหลายปีแล้วในภาควิชาต่างๆ บางก็สอบบอร์ดเสร็จแล้วก็ไปภูมิลำเนาตนเอง บางคนก็กลายมาเป็นอาจารย์แพทย์ ผมคิดว่าการที่คนเรา "ตัดสินใจ" อย่างไรนั้น ยังไม่สำคัญเท่ากับเรา "ใช้ชีวิตอย่างไรกับการตัดสินใจนั้นๆ" ปัจจุบันผมว่าเรามีคนทำงานที่ขยันขันแข็ง มีอาจารย์แพทย์ที่พัฒนาตนเอง มีความตั้งใจถ่ายทอดอบรมลูกศิษย์รุ่นต่อๆไปมากมาย ทุกภาควิชา พวกเขาเหล่านี้อาจจะไม่ได้ออกไป outthere 3 ปี แต่ผมคิดว่าเขาใช้ชีวิตได้ดี มีประโยชน์อย่างยิ่ง ณ ตำแหน่งที่เขายืนอยู่นี้ ถ้าเรามีอคติ รู้สึก dsiapprove การมาใช้ทุนข้างในโดยไม่ได้ออกไปต่างจังหวัดแล้ว ผมคิดว่าทำงานอยู่ที่ ม.อ. นี่คงจะมีบรรยากาศที่อึดอัดที่เดียว เพราะเรามีหมอที่เลือกใช้ทุนที่เรา มีอาจารย์แพทย์ที่มาจากแพทย์ใช้ทุนเป็นจำนวนมาก เต็มโรงพยาบาลไปหมด

คุณค่าของคนนั้นเป็นองค์รวม สมเด็จพระราชบิดาเองทรงมีพระราชดำรัสว่าประโยชน์เพื่อนมนุษย์อันดับหนึ่ง แต่ในขณะเดียวกันท่านให้ถือประโยชน์ส่วนตนเป็นอันดับสอง เพราะเราต้องมีชีวิตที่เราพึงพอใจด้วย ตามบริบท ต่อครอบครัว สังคมขอตัวเราเอง มัการพัฒนาตนเองตามที่เราเห็นชอบ มี self sufficient ตามพื้นฐาน background ของเราเอง จึงจะเอื้อบรรยากาศการทำงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้อื่นได้

พวกเราตั้งใจทำงานในหน้าที่ ความถนัดของเราแล้ว จำเป็นหรือไม่ที่ต้องไปดูถูก หรือไปพยายามตัดสินคนอื่น คนที่เรารู้จักแค่ 1% ของชีวิตเขา (หรือน้อยกว่า หรืออาจจะรู้ผิดๆเสียอีก) มันจะเกิดประโยชน์อย่างไร และมันจะมีผลไหม เวลาที่เราเดินคลุกคลีกับผู้ร่วมงานที่เรา disapprove ว่าเขาใช้ชีวิตที่ผิด ที่ไม่คุ้มค่า?

autnomy และ judgemental attitude จึงสำคัญเช่นนี้



Posted by : Phoenix , Date : 2006-10-14 , Time : 13:27:20 , From IP : 124.157.177.71

ความคิดเห็นที่ : 32


   เรื่อง ออร์บิสที่ผมต้อง ทำใหเกระจ่างคือ โครงการนี้ ทำเพื่อให้หมอในพื้นที่ ทำงานได้ดี เร็ว มาก และ ทันโลก แต่ ไม่ได้แปลว่า มาช่วยทำงาน ( สอน กับ ช่วย มันผิดกัน) ในเมื่อคุณไม่ยอมเข้าใจในความคิดผม
และ ไม่ยอมเข้าใจว่า ทำไมผมต้องการถามคำถาม 3 ข้อ ก็กลายเป็นว่า ผม ยืนอยู่ คนละมุมกับคุณบนเวที ก็ไม่เป็นไร

ในเมื่อพื้นฐาน ความคิด มุมมองของการกระทำไม่เหมือนกัน ย่อมคิด - เห็นประโยชน์ ไม่เหมือนกัน ถ้าเมื่อคุณ คิดว่าที่ คุณ คิด -ทำถูก ก็ทำของคุณไป ผมก็ทำแบบความคิดผม ลูกศิษย์ จะเชื่อใคร ก็ ต้องคิดเอาเอง ต่อให้มีเพียง คนเดียวที่คิดเหมือนผม ก็ไม่เป็นไร

ก่อนอื่นขอบอกก่อนว่า
ลูกศิษย์มอ 3 คนที่ผมจำได้ว่า ได้รางวัล แพทย ชนบท ( มีคนแจก จากหลายสถาบัน เช่น ศิริราช กองทุน นพ. กนกศักดิ์ )
1.ผอ รพ. แม่อายจ. เชียงใหม่ คน จ. สุพรรณบุรี
2.ผอ รพ ละงู จ สตูล หมอ ปวิตร
3. ผม รพ ไม้แก่น ปัตตานี หมอ ซูกิฟฟลี ยูโซ๊ะ

คุณจำไม่ได้ ผมก็ไม่ได้ว่า อะไร อีกเช่นกันครับ
ส่วนที่คุณพูดว่า “ ต่อให้เราไปอยู่ชนบทสามปี แต่ถ้าเปิดคลินิกวันละสามเวลา อยู่ รพ.น้อยมากก็อาจจะไม่เท่าทำงานวิจัยพื้นฐานในห้อง lab “ ผมว่า การเปิดคลินิค ใน อำเภอ ถิ่นที่ ทุรกันดารไม่มีหมออยากไปอยู่ วันละ 3 เวลา หากไม่เบียดบังเวลาราชการ หรือ หากเปิดเกินเวลานิดหน่อยบ้าง แต่ เอาเวลา ส่วนตัวช่วงอื่นมาทำงานให้แทน และผลงานโดยรวมๆ แล้วยังไม่เลวนัก ก็ยังดีกว่า การวิจัยพื้นฐานในห้องแลบ ครับ เพราะ การวิจัย รอให้ เสร็จจากการใช้ทุน ก็ยังกลับมาทำได้ แต่ คนไข้ที่นอนรอคอยหมอจะตาย อยู่รอมร่อ คุณ จะปล่อยให้เขารอไปอีกปี เหรอ ครับ

อ้อ ผมก็ไม่ได้อยากจะโอ้อวดว่า เคยไปออกหน่วย ตั้งแต่ ยังเป็น นศพ เหมือนกัน แต่ก็ไม่อยากจะ มาแสดงประวัติของตนเอง เพราะ ไม่อยากพูดให้คนอื่นรู้เรื่องของตัวเองโดยไม่จำเป็น ( บางครั้ง คนอื่นๆอาจทำดีมากกว่า คนพูดเสียอีก แต่เขาไม่อยากฟัง ) และ ผม ต้องการที่จะ ปฏิบัติตาม พระราโชวาทของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุยเดช มหาราช ( ในหลวง รัชกาลที่ 9 )หลังจาก ที่
พระราชทาน “พระสมเด็จจิตรลดา หรือ พระกำลังแผ่นดิน” ให้กับทหารและตำรวจ มีความว่า
พระที่พระราชทานไปก่อนเอาไปบูชาให้ปิดทองเสียก่อน แต่ให้ปิดเฉพาะข้างหลังเพราะเท่านั้น โดยพระราชทานพระบรมราชาธิบายด้วยว่า ที่ให้ปิดทองหลังเพราะก็เพื่อจะได้เตือนตัวเองว่า การทำความดีไม่จำเป็นต้องอวดใคร หรือ ประกาศให้ใครรู้ ให้ทำหน้าที่เพื่อหน้าที่ และถือว่าความสำเร็จในการทำหน้าที่ เป็น บำเหน็จรางวัลที่สมบูรณ์แล้ว

อ้อ อาจารย์ผมที่เคยไปออกหน่วย ตอนที่ผมเป็น นศพ และ ขณะนี้ ท่านเป็น องคมนตรี ท่าน แนะนำลูกศิษย์ ว่า จบแล้ว ขอให้ออกไปใช้ทุน ใน รพช กันก่อนที่จะมาเรียนต่อเป็นหมอเฉพาะทางกัน เพราะ ถ้าหาก อาจารย์เอง ยังไม่ไปมีประสพการณืใน รพช แล้ว จะมาสอนนศพ ให้มีความพร้อมที่จบแล้วไปอยู่ รพช ได้อย่างไร
ใคร จะไม่เห็นด้วย ผมก็ไม่ได้ว่า อะไร

แต่ การออกไปอยู่ รพช นี่ถ้าหากใครไม่ได้ไปอยู่นี่ ผมว่าชีวิต ขาดประสพการณ์ ชีวิตที่ทำให้ เด็ก เล็กๆ กลายเป็น ผู้ใหญ่ จาก นศพ หรือ หมอเด็กน้อย กลายเป็น หมอใหญ่ ได้อย่างเต็มภาคภูมิ เหมือน ชายไทยที่ถึงเวลา ต้องไปเกณท์ทหาร เป็นนักรบ รับใช้ชาติ ใครที่ไม่ได้ใช้ทุนใน รพช .ผมว่าน่าเสียดายเวลาในช่วงนั้นเป็นอย่างยิ่ง

นอกจากทฤษฎี ที่นศพ ได้จากมหาวิทยาลัยแล้วรพช จะสอนภาคปฏิบัติให้หมอน้อย ๆ ได้รู้ว่า

1.คนที่ผงเข้าตาตนเอง ตอน2 ทุ่ม หากต้องเหมารถสองแถว มา หาดใหญ่ ต้องเสียงเงินไม่ต่ำกว่า 500 บาท แต่ หมอน้อย คนนี้แหละ ช่วยเขาได้ที่ รพช

2.คนไข้ที่ไป รพ ใหญ่ๆ แล้วเตียงเต็ม หรือ ปิดรับบัตรตรวจที่ โอพีดีแล้ว ให้มาใหม่ พรุ่งนี้ แต่ หากมาหาหมอน้อยๆใน รพช ที่ ไม่เคยปิดบัตร และไม่เคยเตียงเต็ม ทั้งๆที่ เสริม เตียงผ้าใบตามระเบียง + ตามทางเดิน 2 รอบ แล้ว ทำให้เขาไม่ต้องเสียเงินค่าเดินทาง หรือ ค่าเข้านอนใน เอกชนที่แพงๆ

3. รพช นี้แหละ สอนให้หมอน้อยๆ ได้เป็น อาจารย์ให้กับ คนที่อายุมากกว่า แต่ไม่ได้เป็นหมอ อาทิเช่น พยาบาล เจ้าหน้าที่ประจำสถานีอนามัย ผสส อสม โดย ไม่ต้องมาเรียน หลักสูตร การจัดการเรียนการสอน จากต่างประเทศ เพื่อให้คนเหล่านี้ ได้มีความรู้เพิ่มเติม และไปรับใช้คนที่อยู่ห่างไกล ความเจริญ

การไปอยู่ที่ รพช เป็นเหมือนลูกนกที่บินได้แต่ยังไม่แข็ง ย่อมไม่อยากจะจากรังของแม่ ไม่อยากจะไปหาอาหารและสร้างรังของตนเอง แต่ไม่ว่า แม่นกจะรักลูกอย่างไรก็ตาม ก็ต้องบังคับให้ลูกออกไปสร้างรังของตัวเองให้ได้ ผมขอ อัญเชิญ พระบรมราโชวาทของในหลวง รัชกาลที่ 9 มา สักบท ( จาก พิธี พระราชทานปริญญาบัตร ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วันที่ 18 ตุลาคม 2517 ความว่า
“ การมี ความรู้ความถนัด ทางทฤษฎีประการเดียว ไม่เพียงพอ ที่จะทำให้บุคคล สามารถปฏิบัติงานได้เต็มที่ ผู้ฉลาดสามารถ แต่ใน หลักวิชา โดยปรกติวิสัย จะได้แต่เพียงชี้นิ้ว ให้ผู้อื่นทำ ซึ่งเป็นการ ไม่ศักดิ์สิทธิ์ ไม่อาจ ทำให้ผู้อื่น เชื่อถือหรือ เชื่อฟัง ได้อย่างสนิทใจ เหตุด้วยไม่แน่ใจว่า ผู้ชี้นิ้วเอง จะรู้จริง ทำได้จริงหรือ หาไม่
ความสำเร็จทั้งสิ้นเกิดเพราะ การลงมือกระทำ
ดังนั้น ผู้ที่ชำนาญ ทั้งทางทฤษฎี และปฏิบัติ จึงจัดว่ามีคุณสมบัติครบถ้วน และมีขีดความสามารถสูงเป็นที่เชื่อใจ และวางใจได้ว่า จะดำเนินงานทั้งปวง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะ สามารถ ทำงาน สั่งงาน และ สั่งคน ได้อย่างถูกต้องแท้จริง”

สุดท้าย อยากจะขอ อัญเชิญ บทเพลง “ ความฝันอันสูงสุด” มาเพื่อเป็นกำลังใจให้ หมอทุกๆคนที่ทำงาน ใน รพช. รพ เล็ก ห่างไกลความเจริญ ที่ไกลหูไกลตา อาจารย์แพทย์ จะมาเรียนต่อเฉพาะทางก็ลำบาก

ถึงแม้ ท่านจะทำงานที่แห่งนั้นเพียง 3 ปี ไม่ได้รางวัล ดีเด่น อะไรเลยก็ตาม ผมก็คิดว่า พวกคุณทุกคนได้ ชดใช้ บุญคุณ ของ อาจารย์ใหญ่ และ คนไข้อีกหลายสิบ หลายร้อย คน ที่ได้ มาเป็น ตำราให้เรียนรู้หา ความชำนาญ

เพลงพระราชนิพนธ์ "ความฝันอันสูงสุด" เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 43 ทรงพระราชนิพนธ์ใน พ.ศ. 2514

เมื่อ พ.ศ. 2512 ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาคได้รับพระราชเสาวนีย์จากสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ให้เขียนบทกลอนแสดงความนิยมส่งเสริมคนดีให้มีกำลังใจทำงานเพื่ออุดมคติเพื่อประเทศชาติ ออกมาเป็นกลอน 5 บท

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถโปรดให้พิมพ์บทกลอนนี้ลงในกระดาษการ์ดแผ่นเล็ก ๆ พระราชทานแก่ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ พลเรือน และผู้ทำงานเพื่อประเทศชาติ เตือนสติมิให้ท้อถอยในการทำความดี ต่อมา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถได้กราบบังคมทูลพระกรุณาขอให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงใส่ทำนองเพลงในคำกลอน "ความฝันอันสูงสุด" ใน พ.ศ. 2514


คำร้อง: ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค

ขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อ
ขอสู้ศึกทุกเมื่อไม่หวั่นไหว
ขอทนทุกข์รุกโรมโหมกายใจ
ขอฝ่าฟันผองภัยด้วยใจทะนง

จะแน่วแน่แก้ไขในสิ่งผิด
จะรักชาติจนชีวิตเป็นผุยผง
จะยอมตายหมายให้เกียรติดำรง
จะปิดทองหลังองค์พระปฏิมา

ไม่ท้อถอยคอยสร้างสิ่งที่ควร
ไม่เรรวนพะว้าพะวังคิดกังขา
ไม่เคืองแค้นน้อยใจในโชคชะตา
ไม่เสียหายชีวาถ้าสิ้นไป

นี่คือปณิธานที่หาญมุ่ง
หมายผดุงยุติธรรม์อันสดใส
ถึงทนทุกข์ทรมานนานเท่าใด
ยังมั่นใจรักชาติองอาจครัน

โลกมนุษย์ย่อมจะดีกว่านี้แน่
เพราะมีผู้ไม่ยอมแพ้แม้ถูกหยัน
คงยืนหยัดสู้ไปใฝ่ประจัญ
ยอมอาสัญก็เพราะปองเทิดผองไทย

ด้วยความเคารพใน ความกล้าหาญ ของพวกท่าน ทุกคน



Posted by : guru , Date : 2006-10-14 , Time : 20:15:00 , From IP : 210.86.142.200

ความคิดเห็นที่ : 33


   คนทุกคนกำลังทำอะไรสักอย่างหนึ่งครับ และเรามองเห็นชัดเจนที่สุดก็คือสิ่งที่เรทำ สิ่งที่คนอื่นทำอะไรบ้างที่เราไม่ได้นั้น ไม่ได้แปลว่าเขาไม่ได้กำลังทำอยู่

เมื่อคนเรา "ไม่ได้" ทำอะไรอยู่ที่หนึ่งเป้นเวลาสามปี นั่นแปลว่าคนๆนั้นกำลังทำอะไรอยู่ "อีกที่หนึ่ง" เป็นเวลาสามปี อย่างไหนดีกว่ากัน เราไม่สามารถที่จะ generalize หรือสรุปได้เลยว่าตัดสินใจทำอย่างไหนจะเป็นอย่างไร เพียงแค่ "ราคาหน้าป้าย"

ในกระบวนการ advocacy หรือการรณรงค์นั้น เราอยากจะรณรงค์ให้คนทำดี ละเว้นความชั่ว การมีการพูดถึงความดีนั้น ไม่ใช่เรื่องเสียหาย การมีการตำหนิความชั่วก็ไมใช่เรื่องเสียหาย ผมคิดว่าเรามีการ "รณรงค์" ที่ว่านี้ยังน้อยเกินไปในสังคมของเรา และตรงกันข้าม เรามีการ stereotype ตัดสินความดีชั่วกันง่ายดายเกินไป ใช้แค่บาง parameters มาบอกว่านี่ไง ไม่ได้ทำ แปลว่า... ซึ่งมันไม่เพียงพอครับ

หลวงพ่ออลงกฎเจ้าอาวาสวัดพระบาทน้ำพุ ปราศรัยในเวทีที่ รพ.สงฆ์ เมื่อสองอาทิตย์ก่อน บอกว่าท่านเรียนวิศว ทำงานหนัก จนไม่มีเวลาไปดูใจ ดูแลคุณพ่อของท่าน บัดนี้ท่านหาที่อยู่อาศัย ทำบุญ เลี้ยงดูผู้ป่วยโรค aids เป็นกำลังสำคัญ คนเรามีประสบการณ์หมือนอย่างหลวงพ่อหลายคน แต่คนเราได้เรียนรู้อย่างไรจากปรสบการณ์เหล่านั้นต่างหากที่จะส่งผลว่าเมื่อเขาโตเป็นประชาชนที่สมบูรณ์ เขาจะทำอะไรบ้าง

"ประสบการณ์" ของปัจเจกบุคคลเป็นของมีค่าครับ จะอยู่ในป่า อยู่ในห้อง lab จะอยู่ในพระบรมมหาราชวัง จะอยู่ในเรือ ฯลฯ มันไม่ใช่เพียงแค่นี้เท่านั้น เราอาจจะอยากอยู่ในหลายๆที่ หลายๆแห่ง แต่สุดท้ายเราก็เลือกมาประการหนึ่ง จะทำให้เราเป้นคนดี ไม่ดีมากน้อยแค่ไหน? ยังสรุปไม่ได้ จนกว่าเราจะได้ลงมือทำและมองย้อนไปว่าผลมันเป็นอย่างไร แน่นอนคนที่ได้ "เรียนรู้" จากประสบการณ์ ก็จะทำเอาพัฒนาตนเองได้ แต่บางคนก็ไม่เคยได้เรียนรู้อะไรไม่ว่าจะผ่านประสบการณ์ที่ไหน มานานแค่ไหนเลย

ในการสื่อสารด้วยสัมมาวาจานั้น นอกเหนือจาก "อย่างไร" แล้ว ส่วนหนึ่งก็คือ "เนื้อหา" ของสิ่งที่สื่อ ในเวทีที่เราสามารถจะ promote กิจกรรมที่ดีนั้น ถ้าเราสามารถมองข้ามไปว่าคนสื่ออาจจะโอ้อวดอยู่รึเปล่า สามารถมองเห็นว่าอะไรที่เขากำลังสื่ออยู่ ก็เป็นอีกวิธีที่เราใช้ในการเลือกรับข้อมูล

เรามีแพทย์ใช้ทุนที่จบจาก รพ.แพทย์มาทำงานในรพ. ม.อ. มาหลายปี เรารู้ว่าหมอเหล่านี้จะมีประสบการณ์ที่ไม่เหมือนกับหมอที่ออกไป รพช. สิ่งที่เราทำได้ ณ ปัจจุบัน คือทำให้ประสบการณ์ที่เขาจะมี ที่นี้ ใน ม.อ. นี่ มีค่า มีความหมาย ให้คุณค่าให้มากที่สุด ซึ่งต้องอาศัยสิ่งแวดล้อมทุกอย่าง รวมทั้งความพยายามของอาจารย์แพทย์ด้วยครับ น้องๆหมอเหล่านี้เลือกมาอยู่กับเรา ไม่จำเป็นต้องมาเพราะไม่อยากอยู่ต่างจังหวัดเท่านั้น เราเองที่เป้นครูอาจารย์ ณ ที่นี้ จะทำให้เขาเหล่านั้น มั่นใจได้ไหมว่าที่เขาเลือกมาทำงานที่นี้ ประสบการณ์ 3-5 ปี นี้จะเป็นประสบการณ์ที่มีค่าต่อชีวิตเขาในอนาคตได้ ไม่แพ้ไปอยู่ที่อื่น? คุณ guru รู้จักอาจารย์แพทย์ของเราที่มาจากแพทย์ใช้ทุนกี่ท่านที่คุณ guru คิดว่ามีผลงานน่าภาคภูมิใจต่อคณะแทพย์แห่งนี้ เป็นกำลังสำคัญในการที่คณะแพทย์ ม.อ. จะผลิตแพทย์ที่ดี มีคุณธรรมต่อๆไปในอนาคตได้ ผมเห็นว่ามีมากมาย และกำลังจะมีมากมายด้วยในอนาคตต่อๆไป

ตอนที่เราสื่อ ณ ที่นี้ ผมไม่เคยคิดว่าเราจะเปลี่ยนปรับความคิดฝ่าวตรงกันข้ามได้หรอกครับ ผมพยายามจะทำให้เกิดข้อมูลที่เปรียบเทียบกัน เพราะเชื่อว่ากระดานข่าวก็เป็นเวทีการเรียนรู้ที่สำคัญ ผมเรียนให้ทราบ หลายครั้งมากแล้ว ว่าการอภิปรายบนนี้ ขอร้องอย่าให้เป้นเรื่อง personal confrontation แต่ก็ไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าไหร่

อย่างที่ผมเคยเล่าเรื่องการใส่บาตรนั่นแหละครับ ที่บ้านผมสอนมาว่าการทำความดีนั้นพูดได้ครับ และควรจะพูด ไม่ใช่เพราะโอ้อวด แต่เป็นการ appraise ในสิ่งที่เราทำลงไป แล้วเมื่อไรก็ตามได้ยินคนพูดถึงการทำความดี ที่เราทำคือ "ขออนุโมทนา" ข้อสำคัญก็คือให้เราทำและพูดได้อย่างเดียวกัน ตัวตนผม identity ผมเป็นใครเป็นที่สาธารณะรู้กัน เพราะฉะนั้นผมรับผิดชอบในสิ่งที่ผมคิดและทำมาโดยตลอด อย่างน้อย we do what we preach น่าจะเป็นเคล็ดเบื้องต้นของ role model

เราคงจะไม่ได้อยู่ใน competition ว่าลูกศิษย์จะเชื่อใครมากกว่ากัน ผมเชื่อในศักยภาพของคน ว่าน่าจะเลือกได้ด้วยตนเอง volume คงไม่สำคัญเท่าไหร่ ผมเคยถุยกับ supervisor ผมครั้งหนึ่งว่า "หมอกับครูนั้นมีความเหมือนกันมากอยู่อย่างหนึ่งคือ optimism เพราะว่าหมอนั้นเมื่อเห็นผู้ป่วย เขาจะคิดว่าผู้ป่วยคนนี้เขาจะสามารถทำอะไรสักอย่างหนึ่ง ช่วยให้คลาดทุกข์ลงได้ ส่วนครูนั้น เมือเห็นนักเรียน ก็น่าจะคิดว่านักเรียนทุกคนสามารถที่จะพัฒนาได้" ไม่ว่าจะยากดีมีจนอย่างไร ช่วยคนที่ไหนก็คือช่วยคน ช่วยใครดีกว่าใครนั้นตัดสินยากมากและไม่แน่ใจด้วยว่า "ควรตัดสินหรือไม่" Bill Gate ที่รวยที่สุดในโลก ถ้าเกิดเราได้มีโอกาสช่วยชีวิตเขา (โดยบังเอิญ) ก็อาจจะเป็นการช่วยให้เขาทำงานการกุศลต่ออีกเป็นมูลค่าหลายพันล้านดอลล่าร์ ช่วยคนจนคนหนึ่ง คนๆนั้นอาจจะเป็น bone marrow donor ให้นายกรัยมนตรีของเราก็ได้ ถามว่าเราต้องตรวจเช็คก่อนไหมว่าช่วยใคร ผมว่าไม่จำเป็นครับ เพราะเราช่วยทุกคน ตามบริบทที่เรามี ตามประสบการณ์ความชำนาญที่เรามี

เดี๋ยวนี้ รร.แพทย์ในกรุงเทพเองก็เริ่มเปิดรับแพทย์ใช้ทุนกันมากมายเพิ่มขึ้น ผมคิดว่าประเด็นที่ว่าแพทย์เหล่านี้จะขาดประสบการณ์ต่างจังหวัดนั้นน่าจะอยู่ในกระบวนการคิดอย่างรอบคอบมาก่อน และ รร.แพทย์เหล่านี้จะพยายามทุกวิถีทางที่ทำให้ "คุ้ม" กับการที่แพทย์บางคนจะไม่ได้ทำงานที่ต่างจังหวัด คุ้มในที่นี้หมายถึงประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน ต่อประเทศชาติในระยะยาว สถานที่ใดสถานที่หนึ่งคงจะไม่สามารถ monopoly ว่าประสบการณ์ของหมอที่แท้จริงจะเกิดขึ้นต่อเมื่อมาที่นี่เท่านั้น วิธีการเรียนรู้ของมนุษย์นั้นหลากหลายมากมายในการที่จะได้บรรลุวัตถุประสงค์เดียวกัน

PS: ขอยืนยันอีกที (ครั้งที่เท่าไรจำไม่ได้) ถ้าเป็นไปได้ ขอให้การอภิปรายนี้ไม่ใช่เรื่องระหว่างคนสองคนได้ไหมครับ ให้เป็นเรืองของ ideology แทน



Posted by : Phoenix , Date : 2006-10-14 , Time : 21:47:32 , From IP : 124.157.177.71

ความคิดเห็นที่ : 34


   Teaching and Build a Team

ในกระบวนการสอนนั้น ประกอบด้วยการสื่อสาร contents สร้าง psychomotor และเจตนคติ องค์ความรู้นั้นนอกเหนือจากในตัรับตำราต่างๆ evidence-based ที่สะสมในฐานข้อมูลต่างๆ อีกประการที่สำคัญไม่แพ้กันคือกิจกรรมของคนสอน ดังนั้น role model จึงเป็นเครื่องมือที่กี่ยุค กี่สมัย มีความสำคัญอย่างยิ่ง ถ้าเราสอนทางทฤษฎีไป ปรากฏว่าไม่เคยมีคนทำให้ดู สิ่งนั้นก็จะยังไม่เกิด เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งโดยเฉพาะสาระประเภทจริยศาสตร์ คุณธรรม หรือ professionalism

ส่วนตัวแล้วคิดว่าครูควรแสดงให้นักศึกษาทราบถึงความภาคภูมิใจในกิจวัตรของตนเอง ในจริตของตนเองว่าเป็นเช่นไร มีความภาคภูมิใจในความก้าวหน้าของความรู้ที่สะสมด้วยความเพียรพยายาม เชิดชูผลงานของตนเอง จึงจะเป็น "รอย" ให้นักเรียนนักศึกษาได้เดินตาม

รพ.เรามีสามมิติของวิสัยทัสน์ที่สำคัญ ได้แก่ การบริการ การสอน และงานวิจัย ครูอาจารย์ควรจะสามารรถ "สื่อ" ถึงความภาคภูมิใจ ความสำเร็จ และความดีวามของแต่ละ models ได้ชัดเจน มีความสุขต่อการทำงาน มีความสุขกับทีมงาน ไม่มีการดูเหมิ่นเหยียดหยามคนอ่อนประสบการณ์ เคารพในความแตกต่าง และจริงใจต่อสิ่งที่เราพูดไปอย่างยิ่ง เพราะมีคนจำนวนมากกำลังมอง และเรียนรู้

จะเป็นหมอศัลย์ สูติ อายุรแพทย์ หมอเด็ก ฯลฯ อาจารย์แพทย์จะต้องแสดงความเป็น professionalism แยกแยะกิจกรรมที่ควรทำ ไม่ควรทำ พยายามแนะนำนักศึกษา ป้อนแนวคิด ฉุดให้วิจารณ์ นำทางให้วิพากษ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านจริยศาสต่นั้น แค่ทฤษฎีไม่พอ จะต้องแสดงให้เห็นในทางปฎิบัติว่าเมื่อไหร่อาจารย์กำลังใช้ autonomy เมื่อไหร่อาจารย์กำลังใช้ beneficence, non-maleficence, justice, veracity หรือ confidentiality เพื่อให้นักเรียนทราบว่าเรื่องนี้ไม่สำคัญเพียงทฤษฎีเท่านั้น แต่สำคัญขนาดอาจารย์ทำเป็นประจำ และเห็นว่าดี ควรกระทำ สิ่งเหล่านี้ต้องบูรณ๕การเข้ากันได้กับกิจวัตรประจำวันของครูอาจารย์ผู้สอน

นักวิจัยควรมีความภาคภูมิใจในวิภีชีวิตการทำงานของตนเอง เล่าให้นักศึกาฟังได้ว่างานวิจัยดีอย่างไร ทำไมอาจารย์จึงเสียเวลาหลายสิบปีอุทิศให้ในเรื่องเหล่านี้ ทำไมไม่ออกไปทำงานที่อื่น

ทำไมจึงมาเป็นอาจารย์แพทย์? ไม่ออกไปช่วยชุมชนข้างนอก? อาจารย์จะต้อง clear conscience ตรงนี้ พูดได้เต็มปาก

การแพทย์นั้นต้องอาศัยทีมงาน อาจารย์เป็น role model ในการทำงานกับแพทย์ประจำบ้าน แพทย์ใช้ทุน พยาบาล บุคลากรสนับสนุน การเป็นผู้นำทีมที่ดีนั้น จะต้องไว้วางใจ ไม่ดูถูกผู้ร่วมงาน ไม่มีสำนึกซ่อนเร้นว่าใครมาช่วยงานเป็นคนหนีงาน รพช. แต่ควรจะเข้าใจในบริบทเพื่อให้จิตที่ทำงานเป็นทีมนั้นผ่องใส บริสุทธิ์ ไม่ได้คืดว่าเด้กเหล่านี้เป็นคนไม่โตเป็นผู้ใหญ่ แต่เป็นคนที่มีศักยภาพ และเราเอง (อาจารย์แพทย์) สามารถ "ให้" ประสบการณ์ที่จะเป็นผู้ใหญ่ที่ดีได้เหมือนกัน



Posted by : Phoenix , Date : 2006-10-14 , Time : 22:26:37 , From IP : 124.157.177.71

ความคิดเห็นที่ : 35


   ว่าด้วย "ปิดทองหลังพระ" และ "กลไกการเติบโตเป็นผู้ใหญ่"

มีสองประเด็นที่น่าสนใจ และขออนุญาต share

ปิดทองหลังพระ นั่นคือ "การทำความดีไม่จำเป็นต้องมีคนเห็น
หมายความว่าอะไรบ้าง ขออนุญาตแจกแจง (ตามความคิดของผม) ดังนี้ การทำความดี (ปิดทองบนพระ) นั้นความดีได้เกิดแล้วตอนทำ ไมได้เกิดเพราะปิดตรงไหน ดังนั้นเรา
ไม่ควรทำความดีต่อเมื่อมีคนเห็นเท่านั้น
หรือก็ไม่ใช่ "ทำต่อเมื่อไม่มีคนเห็นเท่านั้น"
หรือก็ไม่ใช่ "ทำแล้วต้องปิดเป็นความลับไม่ให้คนเห็นหรือรับทราบ"
...เพราะความดีนั้นได้บังเกิด "ตอนกระทำ" ไปแล้ว เห็นก็ดี ไม่เห็นดี

แต่คนละเรื่องกันอย่างสินเชิงว่าทำดีแล้ว หลังจากนั้นเราควรจะพูดถึงกิจกรรมการทำความดีนั้นหรือไม่

เราจะสอนลูกหลาน สอนนักเรียน สอนนักศึกษาให้ทำความดีโดยไม่ยกตัวอย่างความดีที่ "ตนเอง" ทำเลยก็คงจะแปลก ถ้าครูคนสอนไม่สามารถพูดถึงอะไรที่ตนเองคิดว่าดี นำมาเป็นพฤติกรรมชีวิต อุปนิสัยการคิดการกระทำ นั่นก็คงจะแปลก และผมว่าไม่เกี่ยวกับสุภาษิต "ปิดทองหลังพระ" ด้วยครับ

การที่เรา "ทำดี" ได้โดยไม่จำเป็นต้องให้คนรู้ ไม่ได้แปลว่า "จำเป็นต้องไม่ให้คนรู้" เป็นคนละความหมายอย่างสิ้นเชิง เพราะอย่างหลังนั้นกลายเป็นการทำความดีเสร็จแล้ว ต้องปิดบัง ต้องไม่มีความต้องการจะเอามาสอนใคร เอามาเล่าให้ใครฟังเลย
===================================
กลไกการเติบโตเป็นผู้ใหญ่

เราสามารถมองไปรอบๆตัว คนทุกอาชีพ คนทุกๆคน เติบโตมาเป็นผู้ใหญ่ในบริบทต่างๆกัน คนเหล่านั้นสามารถเป้นคนดี มีเมตตา เข้าใจเรื่องความทุกข์ของคนรอบข้างได้ตามบริบทของตนเองทั้งสิ้น ขอเพียง "จริต" ในการเอาประสบการณ์มาใช้นั้นมีอยู่บ้าง

คนเมืองใหญ่ ไม่จำเป้นต้องเป็นคนที่ไม่เข้าใจหัวอกคนจน หรือ ignorant ว่าคนจนนั้นทุกข์อย่างไร เดินทางลำบากอย่างไร การเข้าใจแบบนั้นนั่นแปลว่าเรา sterotype คนที่โตในเมืองใหญ่แบบนั้น อาจจะเป้นเพราะประสบการณ์เก่าของเรา หรืออะไรก็แล้วแต่ หากมองให้ดีจะพบว่า จริยธรรม คุณธรรม เมตตา กรุณา นั้นเกิดได้ในบริบทมากมาย ผมคิดว่าชายไทยที่ไม่ได้เกณฑ์ทหารก็สามารถรักชาติ และอุทิศตนเพื่อชาติได้ไม่แพ้คนที่เกณฑ์ทหาร เหตุผลคืออะไร? เพราะการรักชาติ อุทิศตนเพื่อชาตินั้นเรียนรู้ได้จากทุกที่ในประทเศนี้ครับ

การที่เรามี non-judgemental attitude นั้น ประโยชน์อย่างหนึ่งก็คือ การเพิ่ม angle ของมุมมองของเรา ว่า สิ่งหนึ่งนั้นสามารถมาจากหลายหลายรูปแบบ เราจะได้ไม่เทียวไปบอกใครว่าคุณเสียชาติเกิด หรือคุณขาดความ maturity เพียงเพราะคุณไม่ได้ทำแบบฉันทำ หรือคุณไม่ได้ทำแบบนี้ๆ

ถ้าเราอายุมากนิดนึง สมัยหนึ่งนั้นประเทศไทยยังไม่มีระบบชดใช้ทุน อาจารย์แพทย์รุ่นเก่าจำนวนหนึ่ง จบแล้วก็เดินทางไปเรียนต่อต่างประเทศ กลับมาสอนที่ประเทศไทย เป็นผู้ใหญ่ที่ใครๆก็เคารพนับถือ มองไปทุกสาขาอาชีพรอบๆตัวเราสิครับ มีผู้ใหญ่ที่น่าเคารพนับถือมากมาย ในจำนวนนั้นบางคนก็ใช้ชีวิตแต่เมืองใหญ่ บางคนก้ใช้ชีวิตในชนบท แต่ไม่มีที่ใดที่หนึ่งทีจะ monopoly ว่า จริยธรรม คุณธรรม ความเมตตากรุณา จะเกิดได้เฉพาะในที่นั้นเท่านั้น

เราควรจะสอนนักเรียน นักศึกษา ลูกของเราว่า ในการแสวงหาความดี บุญ นั้นทำได้หลายประการ ทำได้ในทุกสถานการณ์ ทุกที่ ทุกโอกาสครับ ไม่ควรจะแบ่งแยกว่าจะโตเป็นผู้ใหญ่ต้องต่างจังหวัด จะเติบโตมีคุณธรมต้องในวัด จริงๆเรื่องความดี จริยธรรม คุรธรรม เกิดขึ้นได้ตั้งแต่ในถ้ำกลางป่า เกิดขึ้นได้ในบรมมหาราชวัง เกิดขึ้นได้ในห้อง lab เกิดขึ้นได้แม้แต่ในคุก ขอเพียงคนๆนั้นมีจริตที่จะมองหา

เพราะถ้าบีบบังคับว่าสิ่งนี้เกิดได้เพียงที่นี้เท่านั้น ไม่แน่ว่าเรากำลังมัดมือมัดเท้าปิดตากั้นสมองตนเองเกินไปรึเปล่า ง่ายที่สุด ลองมองดูแพทย์ใช้ทุนรอบตัวเรานี่สิครับว่าเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีได้หรือไม่ ลงอมองดูการพัฒนาของอาจารย์แพทย์เราสิครับทีอาจารย์ท่านมาจากแพทย์ใช้ทุน ว่าท่านได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีหรือไม่ เพรามิเช่นนั้นแล้ว เราคงจะต้องรณรงค์ยกเลิกระบบแพทย์ใช้ทุน แพทย์สาขาส่งเสริมให้หมดทั้งประเทศ เพราะผมคิดว่า "การเป็นผู้ใหญ่" นั้นสำคัญต่อการเป็นแพทย์มากอย่างยิ่ง



Posted by : Phoenix , Date : 2006-10-15 , Time : 11:59:22 , From IP : 124.157.177.71

ความคิดเห็นที่ : 36


   เรียนอาจารย์สุรศักดิ์

หนูคิดว่ามีคำตอบเรื่อง "การแพทย์ กับ boundary ทางสัญชาติ เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์"
ถ้าอาจารย์ยังต้องการข้อมูลหรือหลักฐานยืนยันเรื่อง "การข้ามผ่านระหว่างเส้นแบ่งและอคติทางชาติพันธุ์" หรือบทความเกี่ยวกับ ethnicity and medical care กรุณาติดต่อที่ ajarawadee@hotmail.com ค่ะ


Posted by : Lucifer , Date : 2006-10-15 , Time : 13:18:11 , From IP : 172.29.4.40

ความคิดเห็นที่ : 37


   คนเรา อย่างตัดสินผลลัพธ์ ( The Ends) อย่างเดียว ครับ ต้องดูวิธีการ( The Means) ว่า ก่อนจะได้ผลลัพธ์อันนี้ มี่วิธีการและที่มา อย่างใร

ถ้าเราเอา ผลลัพธ์ ในตอนนี้ มาวัด มันพิสูจน์ไม่ได้ว่า วิธีการนี้ ถูกต้อง และ ดีพอ แล้วหรือยัง


Posted by : guru , Date : 2006-10-15 , Time : 18:38:11 , From IP : 210-86-142-200.stati

ความคิดเห็นที่ : 38


   การที่ รรพ แพทย์ใน กรุงเทพ เอง ก็เปิดรับ แพทย์ใช้ทุน ตามคำพูดคนข้างบน ผมว่า เขาเปิดรับเฉพาะ พรีคลินิค ไม่ใช่เหรอครับ

แล้ว ก็ผมคิดว่า บางคน ( ย้ำว่า บางคน ) อาจจะคิดให้แค่ ไม่ต้องออกไป รพช. แต่ จะเรียนอะไร ก็ได้ อาจจะมี เช่น อยากเรียน ......... แต่ ไม่ได้ เพราะ อาจารย์ เลือกรับ คนอื่นไปแล้ว ก็เลย เปลี่ยนใจมาเรียน........ อย่างอื่นแทน



Posted by : guru , Date : 2006-10-16 , Time : 09:00:29 , From IP : 61.19.24.122

ความคิดเห็นที่ : 39


   คุณ guru ครับ มีภาควิชา clinic ด้วยแน่ๆครับ ขออนุญาตไม่เปิดเวทีอีก front หนึ่งก็แล้วกัน เพราะรายละเอียดของ philosophy เบื้องหลังผมตอบไม่ได้ เพราะไม่ได้เป็นผู้บริหารคณะฯของเขา (แต่ก็อยู่ในกรอบ "คนไม่ออก รพช." เหมือนกัน)

ผมคิดว่าคนใช้ทุนทั้งที่ รพช. หรือที่ รร.แพทย์เอง มีทุกรูปแบบแหละครับ ไม่ได้ "การันตี" ว่าใครจะ(ไม่)เติบโตอย่างไร เราถึงไม่สามารถจะ stereotype ได้ยังไงล่ะครับ เรื่องของเรื่องก็คือ ถ้าพูดในบริบทของคนเป็นอาจารย์แพทย์ หรือในบริบทของคนที่มีความรับผิดชอบในสังคมเล็กของเรา เช่น ที่ ม.อ. นี้ ผมคิดว่าเราน่าจะสามารถร่วมมือกันทำให้ใครก็ตามที่มาอยู่ที่นี่สามารถเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีของสังคมให้ได้มิใช่หรือ?

ม.อ. เป็นสถาบันการศึกษาอุดมศึกษาทั้งก่อนและหลังปริญญา เด็กที่เลือกเข้ามาที่เรานั้น นอกเหนือจากหวังวิชาความรู้แล้ว ผมคิดว่าเขาน่าจะหวังว่าได้ "เติบโต" ด้วย เติบโตในที่นี้ไม่ใช่งอกเฉยๆ แต่หมายถึงเติบโตแบบองค์รวม ไปด้วยกันทั้งกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ทั้งนี้จะทำอย่างนั้นได้ คนที่อยู่ในสังคมทุกคนมีบทบาทร่วมกันทั้งสิ้น และ so far ผมคิดว่าเราทำให้คนเติบโตได้ดีพอสมควร จะบอกว่าเด็กที่จบจากเราที่ไม่ได้ไปอยู่ รพช. เสียโอกาสนั้น จริงแค่บางส่วนครับ คือเสียโอกาสไปอยู่ต่างจังหวัด แต่ก็ได้โอกาสอื่นมาจากสิ่งที่เขาเลือก ดีไม่ดียังไม่มีใครทราบทีครับ เรื่องแบบนี้มันเป็นบารมีของแต่ละคนที่สะสมกันมาก่อนหน้านี้
========================

ผมเห็นด้วยกับคุณ guru อย่างยิ่งเรื่องหนึ่งก็คือ ในบรรดาหลักปรัชญาที่ถูกนำมา abuse มากที่สุด (ในตามความเห็นส่วนตัวของผม) ก็คือ "The End justifies the Means" จากหนังสือ The Prince ของ Machivilli ไม่ใช่ว่าหลักการอันนี้จะไม่ดีเสมอไป แต่เพราะคนที่ abuse นั้นมักจะอยู่ในตำแหน่งที่ใหญ่โต บริหารองค์กร หรือบริหารประเทศ

แต่ที่เราพูดถึงมาตั้งแต่ต้นเป็น Process ทั้งสิ้น (หรือเป็นส่วนใหญ่) ใช่ไหมครับ ว่า อยู่ที่ไหน ทำอย่างไร จึงจะบรรลุ goodness และที่ผมได้ quote ของ Aristotle และ Immanuel Kant ก็คือ Goodness is of the act itself (จริงๆคงจะหมายถึง volutional act หรือมี "เจตนา" ด้วย), not the outcomes. หลักการสอน palliative care ใช้เรื่องนี้โดยตรงเพราะเราไม่สามารถควบคุม outcome ได้เลย แต่เน้นที่ความพยายามและความตั้งใจทำ

ผมคิดว่านักศึกษาเรามีศักยภาพ และเป็นคนที่ดีที่พัฒนาได้ครับ (ไม่มากก็น้อย) ผมคิดว่าผมจำเป็นต้องตั้งต้น optimism เช่นนี้ไว้ก่อน เพราะ "ฉันทาคติ" นั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะยังกิจต่างๆให้ดี ฉะนั้นเมื่อเราให้ความไว้วางใจเด็กของเรา เราก็พยายามสอน แนะ คุย ฯลฯ จนเมื่อเขาพร้อมจะตัดสินใจ เราก็ควรจะ encourage การตัดสินใจของเขาว่ามันมีทางที่จะเจริญได้ตามวิถีชีวิตของเขา แม้ว่าบางครั้งเราไม่เคยใช้ชีวิตแบบนั้น แต่เราอยู่คนละยุคกับเขาครับ ห่างกันหลายปีหรือหลายสิบปีด้วยซ้ำ ถ้าเราเคารพใน autonomy ของคนไข้และครอบครัวได้ เราก็เคารพใน autonomy ของเด็กนักศึกษาเราได้เช่นเดียวกัน ผมคิดว่างั้นนะครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2006-10-16 , Time : 09:26:41 , From IP : 172.29.3.231

ความคิดเห็นที่ : 40


   ผมอยากจะบอก นศพ ทุกคนไม่ว่าเมื่อเป็นหมอแล้วจะไปใช้ทุนที่ใหนๆ แล้วไม่กลับมาเป็นอาจารย์แพทย์ก็ตาม

การเป็นแพทย์นั้น เราก็มักจะต้องเป็นครู โดยไม่รู้ตัวเช่น เป้นครูสอน คนไข้ให้รู้วิธีการรักษาตัวเมื่อกลับบ้าน สอนญาติคนไข้ ให้รู้และคอยสังเกตอาการอันตรายเพื่อจะได้ทำให้การรักษาของหมอง่ายและดีขึ้นกว่าหมอทำโดยลำพังคนเดียว นอกจากนั้น หมอก็ยังมีความรู้ทางวการแพทย์ดีกว่า ทีมพยาบาล เทคนิคการแพทย์ เภสัช โภ๙นากร ฯลฯ หมอ จึงน่าจะสอน ลูกทีมเหล่านี้ เพื่อ ให้ คนไข้ ของหมอได้ผลการรักษาที่ดีที่สึด ตามขีดความสามารถที่มีอยู่ได้ โดยไม่สิ้นเปลืองจนเกินไป ( เศษฐกิจ พอเพียง )

แต่ หมอ และ อาจารย์แพทย์ นอกจาก จะต้องมีความรู้ทางการแพทย์ อย่างดีแล้ว ต้องมี ความรู้ทางการทำงาน ให้รอบด้าน เช่น เช่น การเป็นหัวหน้าหน่วยงาน หรือ โรงพยาบาลไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ จะต้องวางตัวอย่างใร ลูกน้องถึงจะเคารพ เชื่อฟังคำวั่งในแผนการทำงานของหัวหน้า หรือ หากต้องทำงานในสถาณการณ์ ขาดแคลน คน หรือ สิ่งของ หรือ เวลา จะตัดสินใจเลือกงานอะไรมาทำ ก่อน หรือ หลัง ซึง ความรู้อย่างกลังนี้ ไม่อาจเรียนรู้ได้จากตำรา หรือการดูคนอื่น แต่เพียงอย่างเดียว แต่จะต้องมาจาก การลงมือกระทำด้วนตนเอง เท่านั้น แต่การลงมือกระทำ ต้องมี ความรู้และ การไตร่ตรองอย่างรอบคอบ ถึงผลดีและผลเสียก่อนแล้ว มิใช่ กล้าได้กล้าเสีย โดยบ้าบิ่นแต่อย่างใด

นอกจากความรู้ ทั้งทางแพทย์ และทางโลกแล้ว หมอต้องมี คุณธรรมต่อคนหมู่มาก มี จริยธรรมต่อ ครูอาจารย์ เพื่อน พี่ น้องใน วงการแพทย์ มีความกล้าหาญไม่กลัวภัยอันตรายอย่างสามัญที่คนอื่นๆ ก็ยังกระทำได้และมีจิตใจ เสียสละ นึกถึงประโยชน์ของคนที่ด้อยกว่า อยู่เสมอ เพื่อมิให้หมอกลายเป็นคนอีกระดับหนึ่งที่สูงเลอเลิศ จนคนธรรมดาไม่อาจเอื้อมถึง

แต่ ผมก็ยอมรับว่า คนทุกคน อาจไม่สมบูรณ ดีพร้อมไปหมดทุกครั้ง อาจมีผิดพลาดไปบ้าง ตามแต่ความเข้มแข็งของจิตใจที่จะ คุมตนไม่ให้เผลอไปตามอำนาจ กระแสโลก ที่เป็นไปเหมือน กระแสน้ำที่ จะใหลลงสู่ที่ต่ำกว่าเสมอ แต่เมื่อ กระทำสิ่งที่ไม่ดีแล้ว ก็อยากจะขอให้นำมาแสดงให้คนอื่น โดยเฉพาะ เด็กรุ่นหลังได้เห็น แต่ กลับ พูดเฉไฉ ไปในทำนองว่า จงทำอย่างที่ฉันสอน แต่ อย่าทำอย่างที่ฉันทำ เพราะ มันไม่เกิดประโยชน์ อย่างใดเลย นอกจาก ผู้พูดได้ความสบายใจ และ คนฟัง ได้แนวทางการ การเฉไฉ ไปเลียนแบบ

อยากจะบอก พี่ๆ อาจารย์แพทย์ ผู้ที่ยังคงทัน เห็นน้องๆ ในวงการแพทย์ ปัจจุบัน โปรดอย่าได้อยู่เฉย ปล่อยให้น้องๆหมอรุ่นหลัง ทำอะไรก็ได้ตามใจ ( คือไทยแท้ ) แต่ ควรจะ ติ เตือน แนะนำ อบรม สอนสั่ง ไม่ควรที่จะคิดว่า โต แล้ว ไม่ต้องสอน เดี๋ยวก็จะรู้เองจาก ผิดเป็นครู ซึ่งอาจจะเป็นความผิดพลาดอย่างมาก จนอาจทำให้ วงการแพทย์ไทยต้องถูกปฏิวัติ ก็เป็นได้

สุดท้ายนี้ผมอยากจะฝาก พระบรมราโชวาท ของ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว รัชกาล ปัจจุบัน สักบทหนึ่ง ความว่า

"เด็กเป็นผู้ที่จะได้รับช่วงทุกสิ่งทุกอย่างต่อจากผู้ใหญ่ รวมทั้งภาระรับผิดชอบในการธำรงรักษาอิสรภาพและความสงบสุขของบ้านเมือง ดังนั้น เด็กทุกคนจึงสมควรและจำเป็นที่จะต้องได้รับการอบรมเลี้ยงดูอย่างถูกต้องเหมาะสมให้มีความสามารถสร้างสรรค์ประโยชน์
ต่าง ๆ พร้อมทั้งการฝึกหัดขัดเกลาความคิดจิตใจให้ประณีต ให้มีศรัทธามั่นคงในคุณความดี มีความประพฤติเรียบร้อยสุจริต และมีปัญญาฉลาดแจ่มใสในเหตุในผล. หน้าที่นี้เป็นของทุกคน
ที่จะต้องร่วมมือกันกระทำ โดยพร้อมเพรียงสม่ำเสมอ. ผู้ที่เกิดก่อน ผ่านชีวิตมาก่อน จะต้องสงเคราะห์ อนุเคราะห์ผู้เกิดตามมาภายหลัง ด้วยการถ่ายทอดความรู้ ความดีและประสบการณ์อันมีค่าทั้งปวงให้ด้วยความเมตตาเอ็นดูและความบริสุทธิ์ใจ ให้เด็กได้ทราบ ได้เข้าใจ และสำคัญที่สุด ให้รู้จักคิดด้วยเหตุผลที่ถูกต้อง จนสามารถเห็นจริงด้วยตนเองได้ในความเจริญและความเสื่อมทั้งปวง

โดยนัยนี้ บิดามารดาจึงต้องสอนบุตรธิดา พี่จึงต้องสอนน้อง คนรุ่นใหญ่จึงต้องสอนคนรุ่นเล็ก และเมื่อคนรุ่นเล็กเป็นผู้ใหญ่ขึ้น จึงต้องสอนคนรุ่นต่อ ๆ ไปไม่ให้ขาดสาย. ความรู้ ความดี ความเจริญงอกงามทั้งมวลจึงจะแผ่ไพศาลไปได้ ไม่มีประมาณ เป็นพื้นฐานของความพัฒนาผาสุกอันยิ่งยืนสืบไป.

พระบรมราโชวาท พระราชทานลงพิมพ์ในหนังสือ วันเด็ก ประจำปี 2522


Posted by : guru , Date : 2006-10-17 , Time : 19:16:39 , From IP : 125.25.49.130

ความคิดเห็นที่ : 41


   เห็นด้วยหมดทุกอย่างครับ มีเพิ่มเติมนิดเดียว

หมออาจจะมีความรู้ทางการแพทย์ดีกว่าบุคลากรอื่นๆจริง แต่นั่นเฉพาะวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ (medical sciences) เท่านั้น ขณะที่หมอได้มีโอกาสเรียนรู้ลึกกว่าในเรื่องพวกนี้ สิ่งหนึ่งที่ผู้ที่จะเป็นแพทย์ควรตระหนักก็คือ การเรียนรู้ชีวิต ซึ่งตรงนี้เราเรียนรู้ได้จากหลากหลายแหล่ง

เนื่องจาก "ชีวิต" นั้น ไม่ได้เป็น linear equation ดังนั้นมันไม่ได้ simple ประเภททำ A แล้วเกิด B แล้ว B เกิดจาก A เท่านั้น สมการชีวิตนั้นเป็น multi-dimensional เหมือนๆกับความซับซ้อนของกฏแห่งกรรมนั่นทีเดียว

ขึ้นอยู่กับ successful doctor นั้นคืออะไรที่เราจะตั้งไว้ ถ้าเราตั้งแต่เพียง คนไข้หาย discharge จาก clinic ได้ จาก รพ.ได้ medical science เฉพาะ bio อย่างเดียวก็อาจจะเพียงพอ แต่ถ้าเราตั้งเป็หมายเป็น quality of life จะพบว่างานของเรา ศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และศิลปที่จะต้องใช้มันมากกว่าอีกเยอะ องค์กรอนามัยโลกแจงไว้ใหญ่ๆสี่มิติได้แก่ กาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณ เพราะว่า "ชีวิต" นั้นเป็นองค์รวม

จากหลายๆมิติที่เกี่ยวข้อง หมอไม่ได้อยู่อันดับบนสุดเสมอไป บางครั้งพยาบาลจะเชี่ยวชาญชำนาญกว่า บางครั้งนักสังคมสงเคราะห์อาจจะมีบทบาทมีความรู้ที่รอบกว่า บางครั้งอาสาสมัครประจำหมู่บ้านจะมีข้อมูลที่ช่วยผป.ได้ดีกว่า หรือบางทีก็จะเป้นพระ บาทหลวง นักบวช ที่จะช่วยเหลือผู้ป่วยได้ดีที่สุด

ประสบการณ์ของแต่ละปัจเจกบุคคลที่มากขึ้นนั้น ไม่ได้สามารถจะ represent 6 พันล้านคนของประชากรโลกนี้แน่นอน เพราะฉะนั้นมีเนื้อที่ที่เราจะเรียนรู้ "ชีวิต" ที่แตกต่างกันอยู่เสมอ รวมทั้งแพทย์รุ่นพี่ รุ่นอาจารย์ก็จะพบโอกาสที่จะเรียนรู้ชีวิตจากนักศึกษาแพทย์ นักศึกษาพยาบาล รวมทั้งผู้ป่วยเองก็ยังได้ มีหลายต่อหลายครั้งที่เราจะพบว่า "ครู" ที่สำคัญที่สุดที่เราจะเรียนรู้ได้จาก ก็คือคนไข้ที่เรากำลังเดินเข้าไปสอน เข้าไปแนะนำนั่นเอง

ฉะนั้นถ้าเราจะเป้นหมอที่ดีที่จะสำเร็จโดยทำให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีได้ นอกเหนือจาก medical science แล้ว เรายังต้องเข้าใจ social sciences และที่สำคัญที่สุดก็คือทำความเข้าใจชีวิต มีคนที่จะสอนเราอยู่มากมายจากหอผู้ป่วย จากผุ้ร่วมงาน จากห้องเรียนที่จะเป็น multidirectional learning เรื่องชีวิตนั้นไม่มีใครสามารถ monopoly ว่ารู้มากที่สุด หรือให้ "นิยาม" ว่าอะไรคือดีที่สุดได้ อย่างมากที่สุดที่เราจะทำได้ก็คือ ทำความเข้าใจ และรับฟังว่ามันมีอะไรบ้าง

ถ้าหากทุกที่เป้นห้องเรียน ทุกคนเป็นครูและศิษย์ บางครั้งคนไข้ก้เล่นบทอาจารย์ บางทีพยาบาลก็มีบทเป็นหัวหน้าทีม สิ่งนี้คือ "สังคม หรือองค์กรแห่งการเรียนรู้" ที่แท้จริง

Peter Senge คนเขียน Learning Organization (The Fifth Disciplines) กล่าวถึงองค์กรแห่งการเรียนรู้ว่าประกอบด้วย 5 มิติ ได้แก่
@ Personal Mastery
@ Mental Model
@ Shared Vision
@ Team Learning
@ System Thinking
(จำง่ายๆคือ หมั่นพัฒนาตน ฝึกฝนเป้นนิสัย ร่วมใจกัลยาณมิตร คิดเป็นทีมงาน และสานเป็นระบบ) ตัวที่จะเป้น จุดเริ่ม ของความเป็น "องค์กร" ได้ก็คือข้อสาม Shared Vision หรือ ร่วมใจกัลยาณมิตร ส่วนสองอันแรกนั้นยังเป็นการพัมนาส่วนตัวอยู่

Key ของ shared vision ก็คือ ปัจเจกบุคคลนั้น ต่อให้มีประสบการณ์มากแค่ไหนก็ตาม samples ที่มองเห็นนั้นมันน้อยๆๆๆๆมาก ชีวิตเป้นองค์รวม มีหลายมิติ เราจำเป้นอย่างยิ่งที่ต้องให้เกิดการสะท้อนมุมต่างๆจาก background ต่างๆในเรื่องเดียวนั้นออกมามากที่สุด จึงจะมั่นใจเพิ่มขึ้นได้ว่าไอ้ลูกเต่าที่เรากำลังมองอยู่นั้น เราไม่ได้มองมันซ้ำซากอยู่แค่ 3 ด้าน มันยังมีด้านอื่นๆ ยังมีด้านที่เราต้องยกลูกเต๋าขึ้นมาด้วย เราจึงจะมองเห็นได้ครบทุกด้าน

คนที่จะทำอย่างนี้ได้นั้น ต้องมีความเคารพใน autonomy ของผูอื่นเป็นอย่างดี มิฉะนั้นจะเข้าใจว่า morality มีแค่ perspective เดียว หนทางที่คนเราเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่มีวิธีเดียว หนทางที่จะรักชาติ ศาน์ กษัตริย์มีแค่สูตรเดียว ถ้ามี mental model แบบนี้ จะไม่มีทางนำตนเองเข้าไปสู่ realm ที่สูงขึ้น คือ shared vision ได้อย่างแน่นอน

ชีวิตที่เราควรจะเรียนรู้นั้น ไม่จำเป้นต้องเป็นชีวิตที่เปอร์เฟค เพราะทุกชีวิตก้เป้นชีวิตจริงๆที่น่าเรียนทั้งสิ้น สิ่งที่ นศพ. คิด ก้อาจจะเหมือนกับคนไข้ที่อยู่ในวัยเดียวกันคิด เผลอๆถ้าเราจะเข้าใจจิตวิทยาวัยรุ่น ถามเอาจากนศพ. ก็อาจจะเปิดทางสว่างให้เราเข้าใจได้เร็วยิ่งขึ้น จิตใจที่เบิกบานจากการเรียนรู้นั้น จะไม่แบ่งชั้นวรรณะและ monopoly ความเป็นครู หรือคิดว่าการเรียนรู้เป็น unidirectional หากแต่เป็น multidirectional อยู่ตลอดเวลาจิตันใสสะอาดบริสุทธิ์ของคนที่ยังไม่ได้ผ่านโลกนั้นบางทีอาจจแปลอีกอย่างหนึ่งก็คือมันยังไม่ได้ถูกปนเปื้อนด้วยอะไรหลายๆอย่างก็ได้ ตรงนี้มีคนอธิบายไว้อย่างดีได้แก่ปรัชญาของ Rousseau (Doctrine of innate purity: "Children as innately good (sensitive to others) but vulnerable to corrupton by society" ซึ่ง Piaget theory ขยายความต่อไปว่า "Not only that children are innately pure but that their relation to adults produces aheteronomous respect for rules and authority which interferes with moral development" (quoted from "Empathy and Moral Devleopment" by Martin L. Hoffman).

ทั้งสองแนวคิดต่อมาเป้น pillar ของ Kolhberg moral developmental stages



Posted by : Phoenix , Date : 2006-10-17 , Time : 22:21:11 , From IP : 222.123.44.130

ความคิดเห็นที่ : 42


   Empathy (ภาคต่อ)

อย่างน้อย we do what we preach น่าจะเป็นเคล็ดเบื้องต้นของ role model
ที่ผมเขียนไปแปลว่า (ขออนุญาต) "คนสอนควรจะประพฤติอย่างที่ตนเองสอน ด้วย" ตรงนี้เป็นกลไกที่สำคัญในการทำ health promotion อย่างยิ่ง ปัญหาก็คือเมื่อไหร่ก็ตามที่เราสอนเป็น ideology หรือ perfection หรือ "อุดมคติ" เราก็แยกแยะเผื่อว่าจะมีคนสับสน

สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะ contents ที่เราสอนนั้น ยิ่งเกี่ยวกับปรัชญาชีวิต goodnesses ต่างๆ จะพบว่าคนที่ทำครบหมดตามอุดมคติมีน้อยมาก แต่ที่แน่ๆก็คือเราอยากให้มี "คนที่กำลังพยายาม" มากที่สุด เท่าที่จะมากได้ จะเห็นว่า Health Promotion จะไม่เน้นการ "สั่ง" หรือ "ต้อง" องค์กรอนามัยโลกแนะนำไว้สามวิธีคือ Enabling, Mediating, Advocating เพราะจากนิยามของ health promotion คือ "Process that enabling people to increase control over and to improve their health" ซึ่งตาม "บริบท" ของปัจเจกบุคคลนั้นๆจะสำคัญมาก

การเข้าใจบริบทของคนจึงเป็นหัวใจของ health promotion และสำคัญต่อ health sciences อย่างยิ่ง โดยเฉพาะเวลาที่ health personel จะนำไปใช้ เราจะต้องมี awareness ถึงคุณค่าและพฤติกรรมนิสัยส่วนตัวของเราว่าเป็นอย่างไร เพราะบ่อยๆที่ subconscious ของเราจะเผลอเอาตรงนี้มาใช้ มาเปรียบเทียบตลอดเวลา (เรียกว่าพวก trivialism คุ้ย แคะ แกะ เกา ตั้งฉายา ฯลฯ) ที่น่าสนใจก็คือ imperfection ของตัวเราเองนั้นก็นำมาเป็นบทเรียนแสดงให้แก่คนอื่นๆได้เป็นอย่างดี เช่น ไม่ออกกำลังกายดูซิพุงหมอเป็นยังไง เดินย้ายไปย้ายมา ไม่แข็งแรง" ฯลฯ

ลองพิจารณา mode of perceiving information ด้วย เวลาที่เราจะสื่อสารกับใครก็ตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาที่ information นั้นๆอาจจะไป counteract กับ ideology เก่า หรือพฤติกรรมความคิดเก่าๆ กระแส resistance มันจะออกมารู้ตัวบ้าง ไม่รู้ตัวบ้าง และบางทีเราก็นึกไม่ถึง (เหมือนตัวอย่างเรื่องใส่บาตร หรือบอกบุญนั้นแหละครับ แม้กระทั้งเวลามีคนพูดถึงการทำความดี ก็อาจจะมีคนตะครั่นตะครอ ทนฟังไม่ได้ก็ยังมี จิตอนุโมทนาหายาก ฟังปุ๊บคิด negative)

Empathy นั้น เราเอาใจเขามาใส่ใจเรา ไม่ใช่เอามาเทียบแล้วก็ judge value เลยนะครับ แต่พยายามที่จะ "เข้าใจ" เขา เราจะได้สามารถช่วยเหลือเขาได้ ตามบริบท ความต้องการของเขา ตามจริตของเขา ไม่ใช่ของเรา จะเห็นว่ามีวีธีได้หลากหลาย ตามแต่ความถนัด โอกาส หน้าที่ ตำแหน่ง ซึ่งแตกต่างกัน บางคนมีปัญหาใช้วิธีเดินขบวน บ้างใช้วิธีเขียนบทความ บ้างใช้วิธีก่นด่าหยาบๆคายๆ บ้างใช้วิธีล้มกระดาน เริ่มต้นใหม่ ฯลฯ ทั้งนี้เพราะ "คนแตกต่างกัน" Empathy นั้น้เป็นจุดเริ่มต้นของการเพาะสร้าง respect of autonomy ซึ่งเป็น principle of Ethics ข้อแรกเลยทีเดียว และหมอจะเป็นคนที่เกี่ยวข้องกับการ "ล้ำเส้น" เข้าไปใน autnomy ของผป.ได้บ่อยที่สุดวิชาชีพหนึ่ง ดูจากจำนวน informed consent ที่เราต้องทำสิครับ

นี่จึงเป็นเหตผลว่าทำไมระบบเดิม Paternalism หรือพ่อกับลูกที่การแพทย์ยุคแรกใช้ มีข้อจำกัดลงมากในปัจจุบัน เพราะคนเรามีข้อมูลมากขึ้น มีความต่างมากขึ้นกว่าเดิม มีอุปนิสัยใจคอ และเห็นคุณค่าของสิ่งต่างๆหลากหลายมากขึ้น และ Principle of Autonomy ขึ้นมาเด่นชัดยิ่งขึ้น มีบทบาทมากขึ้น ถึงแม้ว่าโดยทางอ้อมจะ "ลดความสำคัญ" ของหมอลงได้บ้างในบางโอกาส ลดความสำคัญของความรู้ที่ "เรา" มี ของประสบการณทีเรา "เคยทำ" ลง แต่นั้นก็เพียงเพราะมีการเพิ่มความสำคัญของความรู้ของ "ผู้อื่น" และประสบการณ์ของ "ผู้อืน" มากยิ่งขึ้น ในเมื่อสุขภาพที่เราดูแลเป็นสุขภาพของ "ผู้อืน" มิใช่ "ของเรา"

Egocentric จึงเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา empathy และเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาความเข้าใจเรื่อง autonomy และเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา morality ในที่สุด ตามทฤษฎีของ Piaget และ Kohlberg เพราะสังคมอยู่รอดได้ ไม่ได้มาจาก egocentric แต่เป็น integrated interpersonal relationship ที่เป็นบวกเท่านั้น ซึ่งต้องมาจาก empathy ก่อน




Posted by : Phoenix , Date : 2006-10-18 , Time : 08:46:32 , From IP : 172.29.3.231

ความคิดเห็นที่ : 43


   การจะเรียนรู้ให้ได้มากๆ

ข้อแรก คือ เชื่ออาจารย์ ก่อน

ข้อสอง คือ หาคำถามยากๆมาถามอาจารย์

ข้อสาม คือ อย่าไปเชื่ออาจารย์ ทั้งหมด

ข้อ สุดท้าย คือ ต้องลงมือทำเอง พิสูจน์เอง


Posted by : guru , Date : 2006-10-19 , Time : 20:32:00 , From IP : 210-86-142-200.stati

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.018 seconds. <<<<<