ความคิดเห็นทั้งหมด : 3

การถูกทำร้าย


   WTOสำรวจการที่ผู้หญิงถูกทำร้ายจากผู้ชายหรือคนรัก ประเทศไทยอยู่ใน10อันดับเอเชียมีญี่ปุ่นด้วย แสดงว่าผู้ชายไทยส่วนใหญ่เลวมากกว่าดีทำให้ผู้หญิงอยากอยู่เป็นโสดมากขื้นและเป็นหม้ายมากขื้นสถาบันครอบครัวแย่ลงมิน่าเลยเมืองพุทธ โถอนิจังวัตตะสังขารา

Posted by : โดนัท , Date : 2006-10-07 , Time : 03:01:32 , From IP : 172.29.3.199

ความคิดเห็นที่ : 1


   okay.....one good reason for keeping single.

Posted by : NGO , Date : 2006-10-07 , Time : 06:42:03 , From IP : 172.29.5.162

ความคิดเห็นที่ : 2


   พอดีพักนี้หาข้อมูลกับหัวข้อเรื่องใกล้ ๆ แถว ๆ นี้ค่ะ
เลยเจอหายบทความมาก ๆ ที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้

เช่น
ที่อินเดีย เฉลี่ยทุก ๆ 4 นาทีจะมีผู้ชายซ้อมเมีย ???

ในเอเซียบางประเทศยังมีกฎหมายที่ไม่เอาผิดกับสามีที่ตีภรรยา ถือว่าภรรยาเป็นของสามี (จะเอาไปทำอะไรก็ได้ว่างั้นเหอะ) ถ้าทำผิดลงโทษได้เหมือนลูกประมาณนั้น

ผู้ชายบางคนก็ขืนใจแฟนตัวเอง เพราะมีตัวอย่างให้เห็นจากละครแนวตบจูบ
พระเอกปลุกปล้ำนางเอกทีก็เชียร์กันทั้งเมือง แบบว่าเป็นสิ่งที่สมควรแล้วอะไรแบบนั้น
ระบบการดำเนินคดีและเจ้าหน้าที่บ้านเมืองก็ไม่เห็นความสำคัญ ถือเป็นคดีที่ยอมความกันได้ ???

ตัดตอนมาให้อ่านนะคะ



บทความเกี่ยวกับคดี เชิงวิเคราะห์

เรากำลังถามหาความปลอดภัยสำหรับผู้หญิง ว่าในสังคมไทยจะมีพื้นที่ปลอดจากการข่มขืนได้หรือไม่ ???

สถิติภัยทางเพศ จากรายงานประจำปีของโครงการสุขภาพคนไทย โดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้สะท้อนภาพรวมของคดีข่มขืนที่ถูกแจ้งทั่วประเทศพบว่าเพิ่มขึ้นทุกปี หากดูเฉพาะจำนวนคดีที่ผู้เสียหายแจ้งตำรวจเปรียบเทียบระหว่างปี 2540 ที่มีอยู่ 3,741 คดี กับปี 2547 ที่จำนวนคดีพุ่งขึ้นเป็น 5,052 คดี เท่ากับว่าในรอบ 8 ปีที่ผ่านมา อัตราคดีข่มขืนสูงขึ้นถึง 35%
ในรายงานยังได้ระบุอย่างเน้นย้ำว่าตัวเลขเหล่านี้เป็นเพียงยอดภูเขาน้ำแข็งที่โผล่พ้นน้ำ เพราะจำนวนคดีที่ปรากฏให้เรารับรู้กันนั้นเป็นแค่เพียง 5% ของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง หมายความว่ายังมี อีกมากมายที่ไม่ถูกบันทึกไว้ในสารบบของการแจ้งความผ่านสถานีตำรวจ
ผู้หญิงอีกร้อยละ 95 หายไปไหน? เหตุใดเธอจึงไม่มาแจ้งความเพื่อเอาตัวคนผิดมาลงโทษ?
มันสะท้อนใช่ไหมว่า ในอีกหลายมุมของสังคมนี้ยังเจือไปด้วยเสียงสะอื้นแผ่วเบาของผู้ที่ปวดร้าวหาทางออกไม่ได้และต้องเก็บงำความอัปยศอดสูที่เกิดขึ้นไว้เป็นความลับกับตัวจนกว่าชีวิตจะหาไม่?
ข้อมูลจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติบ่งชี้ว่าเมื่อปี 2540 เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดได้ 68.9% สถิติตัวนี้ลดลงอย่างต่อเนื่องจนถึงปีที่แล้วซึ่งจับได้เพียง 36.8% หรือ 1,861 คดีจากที่มีผู้แจ้งความไว้ 5,052 คดี
ถ้าแจ้งความแล้วคดีไม่มีความคืบหน้า คนผิดยังคงลอยนวล แล้วใครจะเอาชีวิตตัวเองเข้าไปเสี่ยงเป็นรอบที่สองกับกระบวนการยุติธรรมเช่นนี้
สถิติที่ถดถอยของการจับกุมผู้กระทำความผิดหลังได้รับแจ้งความอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้หญิงจำนวนมากเลือกที่จะไม่แจ้งความหลังถูกข่มขืน
ในจำนวนประมาณ 5% ที่ฝ่าฟันความกลัวความเสี่ยงทั้งหลายทั้งปวงเข้าแจ้งความกับตำรวจก็ไม่ใช่จะเจอกับหนทางที่โรยด้วยกลีบกุหลาบ ไม่ใช่จะได้พบกับสายตาของความเห็นอกเห็นใจลูกผู้หญิงคนหนึ่งที่ถูกกระทำย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
คำแรกที่ผู้หญิงที่ถูกข่มขืนได้รับเป็นประจำเมื่อตัดสินใจเปิดปากพูดเรื่องนี้คือ เธอเองไปทำอย่างไรมาจึงได้ถูกข่มขืน?
โยนความผิดให้ผู้เป็นเหยื่อเสียดื้อๆอย่างนั้น
สิ่งที่ต้องสนใจและทำความเข้าใจในเรื่องนี้อย่างจริงจังจึงไม่ใช่ความตื่นตระหนกที่เกิดเป็นพักๆเมื่อมีนักวิชาการออกมาชี้ แต่คือการตระหนักรู้ถึงปัญหาข่มขืนด้วยจิตใจที่ปราศจากอคติ เป็นการเปิดใจเพื่อเรียนรู้และทำความเข้าใจปัญหาด้วยพุทธิปัญญาอย่างแท้จริง เป็นการตรวจสอบความคิดของตัวเองต่อเรื่องนี้ และนี่เป็นกุญแจดอกสำคัญที่จะช่วยให้เราเกิดความเข้าใจอันใหม่ต่อเรื่องนี้ได้
เพราะปัญหาข่มขืนเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความคิดความเชื่อและทัศนคติ เป็นปัญหาที่ถูกมองด้วยความเข้าใจผิด เราต้องรื้อและสร้างความคิดของเราเสียใหม่
ความเข้าใจผิดเรื่องข่มขืนมีอยู่หลายประการ เช่น เชื่อว่าการข่มขืนเกิดขึ้นเพราะผู้ชายมีความต้องการทางเพศที่ไม่อาจควบคุมได้ เพราะได้รับสิ่งเร้าต่างๆ เช่น ดูสื่อโป๊ ดื่มสุรา
ในความจริง ปัญหาข่มขืนเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์เชิงอำนาจ เป็นการใช้อำนาจในเรื่องเพศของผู้ที่เหนือกว่ากระทำกับผู้ที่มีอำนาจน้อยกว่า และผู้กระทำส่วนใหญ่มีการวางแผนล่วงหน้าก่อนกระทำการ การข่มขืนจึงไม่ใช่เรื่องการควบคุมอารมณ์เพศไม่ได้ ในภาวะสงคราม การข่มขืนคือเครื่องมือทางสงครามเพื่อทำลายล้างและแก้แค้นด้วยซ้ำไป
ความเข้าใจผิดว่าการข่มขืนต้องมีรูปแบบที่ใช้กำลังและความรุนแรงอย่างชัดเจน เช่น มีบาดแผล มีร่องรอยการต่อสู้ มีการร้องขอความช่วยเหลือ
ในความเป็นจริง การข่มขืนคือการถูกบังคับให้มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ยินยอมพร้อมใจ ในหลายกรณีผู้หญิงไม่กล้าต่อสู้เพราะถูกข่มขู่ว่าจะใช้ความรุนแรงกับทั้งตัวเองหรือกับญาติพี่น้อง หรือใช้เงื่อนไขอำนาจในเรื่องอื่นๆ เช่น ความเป็นเจ้านายลูกน้อง ความเป็นผู้ใหญ่กับเด็ก ความเป็นเจ้าหนี้กับลูกหนี้
ความเข้าใจผิดว่าสถานที่เกิดเหตุข่มขืนต้องเกิดขึ้นในที่เปลี่ยว รกร้างว่างเปล่า ในที่มืด และเป็นเวลากลางคืน
แต่ในความเป็นจริง ปัญหาข่มขืนเกิดขึ้นได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ ทั้งที่บ้าน ที่ทำงาน โรงพยาบาล โรงเรียน สถานีตำรวจ ฯลฯ ล้วนแล้วแต่เคยเกิดเหตุข่มขืนทั้งสิ้น
ความเข้าใจผิดว่าผู้กระทำการข่มขืนมักเป็นคนแปลกหน้า หรือเป็นคนที่มีบุคลิกภาพที่มีปัญหาอย่างเด่นชัด
แต่ข้อมูลจากงานวิจัยและการทำงานให้ความช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาพบว่า ผู้กระทำการข่มขืน ส่วนใหญ่รู้จักกับผู้ถูกกระทำ เช่น เป็น เพื่อนร่วมงาน เพื่อนบ้านหรือแม้กระทั่งญาติพี่น้อง และมีบุคลิกภาพปกติในสายตาของคนรู้จัก
และที่สำคัญเมื่อเกิดเหตุข่มขืน ผู้หญิงมักถูกมองว่าเป็นต้นเหตุ เช่น แต่งตัวโป๊ มีเพศสรีระที่ดึงดูดความสนใจ มีพฤติกรรมที่ไม่ดี แต่ในความเป็นจริงแล้วผู้หญิงที่ถูกทำร้ายทางเพศมีทุกวัย ตั้งแต่อายุไม่กี่เดือน จนถึงผู้สูงอายุ
ความเข้าใจผิดและมายาคติเหล่านี้ฝังรากลึกอยู่ในหัวคิดของเรามานาน แทรกซึมเข้าไปในวิธีคิด ของระบบต่างๆในสังคม เกิดการถ่ายทอดสู่คนรุ่นใหม่ซ้ำแล้วซ้ำเล่า
มายาคติต่อปัญหาข่มขืนส่งผลกระทบอย่างมากต่อการให้ความช่วยเหลือผู้เสียหายและการป้องกันแก้ไขปัญหาในระยะยาว
ภาพสะท้อนจากคดีดังแห่งปีคงเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดในเวลานี้ เมื่อการข่มขืนซึ่งไร้บาดแผล ปราศจากความรุนแรงอย่างถึงที่สุด--ที่เรียกว่าสู้แบบยอมตายถวายชีวิต ระบบยุติธรรมก็ไม่อาจมองว่าเรื่องนี้คือการข่มขืน และสายตาแห่งความสงสัยก็จับจ้องมาที่ผู้หญิงคนนั้น
"...สมัครใจเดินทางมาเอง และตลอดระยะเวลาที่อยู่ในโรงแรมไม่ได้ร้องเอะอะโวยวาย...หากถูกข่มขืนจริง หลังสำเร็จความใคร่ น่าจะเข้าไปแจ้งความทันที เพื่อให้ตรวจหาร่องรอยการถูกข่มขืน แต่ไม่ได้ทำ...ที่อ้างว่าใช้มือผลักล้มลงบนเตียง ใช้มือบีบลำคอ และใช้เข่ากดทับหน้าแข้ง ก่อนข่มขืนจนสำเร็จความใคร่โดยพยายามดิ้นรน แต่ไม่สามารถขัดขืนได้นั้น ไม่น่าเชื่อว่าจะสามารถทำได้ เพราะแม้จะมีรูปร่างสันทัด แต่ก็มีอายุมาก ตามหลักการแพทย์นิติเวชหากต่อสู้เต็มที่แล้วคงไม่สามารถข่มขืนได้ เพราะยังสวมกางเกงในและผ้าอนามัย ... อีกทั้งไม่ใช่สาวบริสุทธิ์ ..."
เนื้อหาข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างให้ท่านได้ลองใช้เป็นแบบฝึกหัดเพื่อถอดรหัสหาอคติและความเข้าใจผิดเรื่องการข่มขืน ถ้าไม่ลองฝึกคิดแบบไร้อคติจะรู้ได้อย่างไรว่าในหัวคิดเรานั้นเต็มไปด้วยอคติเรื่องการข่มขืนมากแค่ไหน และตัวเราเป็นหนึ่งในสาเหตุของการข่มขืน และเป็นอุปสรรคของการป้องกันแก้ไขปัญหาใช่หรือไม่ ?
(บทความโดย จิตติมา ภาณุเตชะ คอลัมน์เสียงสตรี นสพ.โพสต์ทูเดย์ เสาร์ที่ 4 มิถุนายน 2548)




Posted by : ivory , Date : 2006-10-07 , Time : 07:16:45 , From IP : p122-rasbkksp7.C.csl

ความคิดเห็นที่ : 3


    ก็คงต้องมองเป็นคนๆไปทั้งชายหญิง มีดีมีชั่วทั้งนั้น
หรือถ้าอย่างนั้นก็ต้องเป็นโสดต่อไป หรือ ถ้าจะช่วยกันแก้อย่างหนึ่งทีเรานึกออกคือเลือกผู้หญิงเข้าไปงานการเมืองเยอะๆสิจะได้ต่อสู้เรื่องสิทธิสตรี พวกปํญหาทำร้ายร่างกาย ข่มขืน ฯลฯ ว่าแต่บรรดาสว.ผู้หญิงน่ะ เข้าไปทำอะไร ไปด่าดาราเหรอ ทำไมไม่แก้กฏหมายพวกนี้ให้แรงขึ้นอีก
สำหรับอนิจังวัตตะสังขารานั้น เราก็คงต้องปฏิบัติธรรมให้มากขึ้น ตั้งจิตให้เกิดเป็นชายหรือไม่มาเกิดเลยจะดีที่สุด ปัญหาคือเวียนว่ายตายเกิดใช่หรือไม่ ?


Posted by : ปลง , Date : 2006-10-07 , Time : 14:12:23 , From IP : 172.29.9.83

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.013 seconds. <<<<<