ความคิดเห็นทั้งหมด : 1

ขายโมเดลหุ่นยนต์กันดั้ม


   เป็นโมเดลหุ่นยนต์กันดั้มที่ต่อแล้ว แต่สภาพสมบูรณ์ สนใจติดต่อได้ที่ E-Mail keng08@thaimail.com

Posted by : GUndam , E-mail : (keng08@thaimail.com) ,
Date : 2006-09-27 , Time : 21:49:37 , From IP : 172.29.7.186


ความคิดเห็นที่ : 1


   ลืมแล้วหรือที่เคยพูดว่า “ยูเอ็นไม่ใช่พ่อ”




การแสดงท่าทีต่อสื่อต่างประเทศของอดีตรักษาการนายกฯ ว่า อยากเห็นสหประชาชาติเข้ามาจัดการการเลือกตั้งในประเทศไทยนั้น ถือว่าเป็นการบั่นทอนภาพพจน์ของประเทศ และกำลังทำให้ต่างประเทศไม่เชื่อมั่นในอำนาจอธิปไตยของไทย

จากที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวที่กรุงลอนดอนประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 21 กันยายน โดยได้ยอมรับสถานะของตนเองว่า ได้พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และกล่าวทีเล่นทีจริงว่า “หากประเทศไทยมีการเลือกตั้งภายใต้การดูแลของสหประชาชาติ ก็เชื่อว่าพรรคไทยรักไทยมีโอกาสจะได้กลับมาเป็นรัฐบาลอีกครั้ง” นับเป็นการบ่งชี้ว่า อดีตนายกฯ กำลังเหยียบย่ำภาพพจน์ของประเทศ

การแสดงความคิดเห็นของ พ.ต.ท.ทักษิณฯ ในฐานะอดีตผู้นำประเทศ จึงเป็นเสมือนการส่งสัญญาณลบต่อนานาชาติ สะท้อนมุมมองของอดีตผู้นำประเทศที่มองสภาวะการเมืองด้วยจิตใจที่คับแคบ โดยการเรียกร้องให้นานาประเทศเห็นใจตนเอง โดยไม่คำนึงถึงภาพพจน์ของประเทศชาติ

หากมองในหลักการการจัดการเลือกตั้งโดยสหประชาชาตินั้น ส่วนใหญ่มักมาจากสถานการณ์ความขัดแย้งรุนแรงภายในประเทศ และมีแนวโน้มที่จะนำไปสู่การเกิดสงครามกลางเมืองและสงครามระหว่างรัฐ จนประเทศนั้นไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้ด้วยตนเอง หรือหลังจากสงครามกลางเมืองสงบแล้ว จำเป็นต้องฟื้นฟูการปกครองในระบอบประชาธิปไตยขึ้นใหม่ จึงจำเป็นต้องพึ่งพาสหประชาชาติซึ่งเป็นองค์กรระหว่างประเทศที่มีความเป็นกลางในสายตาของชาวโลกทั่วไป ให้เข้ามาเป็นตัวแทนในการจัดการการเลือกตั้ง ดังเช่นที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในประเทศอัฟกานิสถาน อิรัก ปาเลสไตน์ บุรุนดี แต่ไม่มีความจำเป็นใด ๆ เลยสำหรับประเทศไทยในเวลานี้

แม้หลายฝ่ายจะมองว่า การยึดอำนาจที่ทำโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เป็นเสมือนการก้าวถอยหลังของระบอบประชาธิปไตย เนื่องจากเป็นวิธีการเปลี่ยนรัฐบาลหรือผู้ปกครองประเทศที่ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ หรือระเบียบแบบแผนตามหลักนิติรัฐ แต่กระแสตอบรับจากสังคมไทยในเวลานี้ ถือเป็นการคลี่คลายปัญหาทางการเมือง นอกจากนี้การแสดงจุดยืนของคณะปฏิรูปฯที่จะคืนอำนาจให้แก่ประชาชนโดยเร็ว เป็นสิ่งบ่งชี้ได้ระดับหนึ่งว่า สถานการณ์ภายในประเทศมีแนวโน้มที่ดีขึ้น การดำเนินการของคณะปฏิรูปฯ ยังอยู่ในขอบเขต ที่รัฐสามารถจัดการปัญหาได้ด้วยตนเอง อีกทั้ง สหประชาชาติเองไม่ได้แสดงท่าทีในการยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือจัดการการเลือกตั้งในไทยจากเหตุการณ์ยึดอำนาจแต่อย่างใด

ผมจึงไม่เห็นความจำเป็นตามที่อดีตผู้นำประเทศอย่าง พ.ต.ท.ทักษิณได้แสดงท่าทีต้องการให้มีการแทรกแซงกิจการภายในประเทศแต่อย่างใด นอกจากเพื่อประโยชน์ของตนเอง

การกระทำเช่นนั้นไม่เพียงส่งผลเสียต่อภาพพจน์ของไทยในสายตาต่างชาติ แต่ยังเป็นการสร้างภาพลบแก่ตัว พ.ต.ท.ทักษิณฯ เอง เพราะก่อนหน้านี้อดีตนายกฯ ท่านนี้ได้มีท่าทีต่อต้านสหประชาชาติ โดยระบุว่า “ยูเอ็นไม่ใช่พ่อ” ในกรณีที่สหประชาชาติทักท้วงเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน การฆ่าตัดตอนปัญหายาเสพติด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายทำสงครามกับยาเสพติดของรัฐบาลทักษิณในเวลานั้น

การปรับเปลี่ยนท่าทีอย่างไม่มีเหตุอันควรเช่นนี้ กำลังสะท้อนว่า ผู้นำท่านนี้ทำทุกอย่างเพียงเพื่อให้ตนเองอยู่รอด พยายามโยนความผิดให้ผู้อื่น โดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ ความสงบสุข อำนาจอธิปไตยของชาติและภาพพจน์ที่ดีของประเทศแต่อย่างใดหรือไม่?




Posted by : copy from naewna , Date : 2006-09-28 , Time : 01:11:26 , From IP : 142.200.32.25

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.003 seconds. <<<<<