ความคิดเห็นทั้งหมด : 12

ถ้าตำรวจจราจรหาดใหญ่ มาช่วยตรวจระเบิด ให้เหมือนขยันตรวจใบขับขี่กับหมวกกันน็อคน่าจะดี


   วันนี้เจอตำรวจจราจรตั้งด่านตรวจใบขับขี่กับหมวกนิรภัย เกือบ30นาย ตรงแยกไปบิ๊กซี ดูๆแล้วขยันมากๆ เรียกทุกคัน ขยันทุกนาย ถ้ามาช่วยตรวจรถจักรยานยนต์จุดละ3-5นาย แทนรปภ.ของพวกห้าง หรือว่าร้านต่างๆ ก็คงดี เพราะดูๆแล้วงานคงไม่ต่างกัน เพียงแต่ว่า ตรวจระเบิดอาจไม่ค่าปรับมาเกี่ยวข้อง น่าจะเป็นผลดีกับเราชาวบ้านตาดำ แล้วก็ช่วยได้อีกหลายอย่าง เพราะมีคนขี่รถจักรยานยนต์ไม่มีใบขับขี่อยู่บนถนน คงไม่น่ากลัวเท่ามีคนซุกระเบิดไว้ในจักรยานยนต์
คนตั้งเกือบ30 ไปรุมกันตรวจอยู่ได้ที่เดียว แสดงว่ากำลังพลเยอะ น่าจะช่วยชาติได้ดีกว่านี้


Posted by : อยากแนะนำ , Date : 2006-09-27 , Time : 12:07:23 , From IP : 172.29.5.99

ความคิดเห็นที่ : 1


   ตำรวจไทยก็อย่างนี้แหละ ห่วยแตก

Posted by : มดมรกต , Date : 2006-09-27 , Time : 12:51:03 , From IP : 172.29.3.148

ความคิดเห็นที่ : 2


   เงินใครๆก็อยากได้ ก็ตำรวจ ได้ตั้ง 70 % แนะ(มีคนเค้าบอกมาอีกที) แล้วไหนจะค่านมลูก ค่าเรียนพิเศษลูก ค่ากับข้าว ล่ะ หรือจะเป็นค่าน้องๆหนูๆ ลำพังเงินเดือนไม่พอยาไส้หรอกค่ะคุณขา

Posted by : คนนอกเครื่องแบบ , Date : 2006-09-27 , Time : 13:56:08 , From IP : 172.29.1.115

ความคิดเห็นที่ : 3


   อย่ามาพูดชุ่ยๆนะ คนที่ตายจากอุบัติเหตุรถจยย.มากกว่าตายจากระเบิดอีก คนพูดน่ะคิดมั่ง มานั่งที่ห้องฉุกเฉินดูบ้างสิ วันนึงมีคนไข้ที่มาด้วยอุบัติเหตุจยย.เท่าไร แล้วมันกี่เปอร์เซ็นที่ไม่ใส่หมวกกันน็อค เวรจริง

Posted by : Dr.K , Date : 2006-09-27 , Time : 16:59:06 , From IP : gb.jb.249.73.revip.a

ความคิดเห็นที่ : 4


   บอกเว็บมาสเตอร์ก่อนเป็นอันดับแรก เข้ามาอ่านเว็บบอร์ดนี้ประจำ รู้ดีว่าหากเขียนคำไม่สุภาพต้องโดนลบออกแน่นอน อยากจะบอกว่า

>>>>>> เจ้าของกระทู้นี้แย่มากๆ เอาสมองควายมาคิดหรือเปล่า <<<<<<<<

อยากบอกไปถึง ตร.จร. และ เจ้าหน้าที่ห้องฉุกเฉิน เพราะมีสมองควายอย่างนี้ละ การจราจรถึงมีอุบัติเหตุ ตำรวจจราจรก็คือตำรวจจราจร มีหน้าที่ด้านการจราจร ตำรวจที่ตรวจวัตถุระเบิดก็มีความเชี่ยวชาญด้านนั้น เขาก็ทำงานด้านนั้น รปภ. ของห้าง เป็นของบริษัทเอกชน คนละเรื่องเลย ไปฝึกจิต ฝึกวิธีคิดซะใหม่ ก่อนที่จะมาว่าคนที่เขาทำงานเหน็ดเหนื่อยให้ท้อถอยหมดกำลังใจ

หรือเจ้าของกระทู้สอบเข้าเป็นตำรวจไม่ได้ เลยมานั่งตำหนิตำรวจ
และฝากไปหาอ่านซะบ้างคนตายและเจ็บ จากอุบัติเหตุมอร์ไซค์
เฉพาะในหาดใหญ่สงขลา เดือนละเท่าไหร่ เทียบกันไม่ได้เลยกับ
เหตุระเบิดนั้น

-----------------------------------------------------------------------------------
>>>>> ฝากถึงตำรวจครับ จงตรวจจับอย่างเข้มข้นต่อไป ผมเห็นด้วย <<<<<<

-----------------------------------------------------------------------------------


Posted by : ไม่ใช่ตำรวจ และไม่มีญาติเป็น ต , Date : 2006-09-27 , Time : 17:34:18 , From IP : 172.28.90.120

ความคิดเห็นที่ : 5


   ถ้าประเทศไทยมีงบประมาณจำกัด (จริงๆก็มีจำกัด) และจำเป็นต้องวางแผนจัดสรรงบประมาณด้านสาธารณสุขจะพบว่างบประมาณนั้นจะ "ไม่พอ" สำหรับทุกสิ่งทุกอย่าง ดังนั้นจึงต้องมีการจัด "ลำดับความสำคัญ" ที่ภาษา WHO เรียกว่า Burden of Diseases มีสองประเด็นคือ อย่างไหนสำคัญมากน้อย และอย่างไหนเร่งด่วน

ทีนี้การเปรียบเทียบแต่ละโรค แต่ละสภาวะมันต่างกัน เช่น จะเอามะเร็งเต้านมไปเปรียบเทียบกับโรคไต หรืออุบัติเหตุโรงงานไปเปรียบเทียบกับฆ่าตัวตาย จะยากแก่การเปรียบเทียบ ต้องพยายามทำ "หน่วยนับ" ให้เท่ากันก่อน จึงจะมีอัตรแลกเปลี่ยน เหมือนเวลาเราแลกเงินตราต่างประเทศ เป็นที่มาของการประเมิน Burden of Diseases หลายๆรูปแบบ ยกตวัอย่างแบบหนึ่งคือ DALYs (Disability-Adjusted Life Years)

DALYs ใช้หน่วยนับเป็น "ปี" ที่สูญเสียทรัพยากรมนุษย์ มีสูตรคำนวณคือ
DALYs = YLL + YLD

YLL = years life loss
YLD = years live with disability

YLL หาจาก (คร่าวๆนะครับ) Life expectancy - year that loses life สมมติง่ายๆเช่น อายุเฉลี่ย 70 ปี แต่ตายไปตอนอายุ 20 ปี ก็สูญเสียไป 50 ปี
YLD หาจากการประเมินว่าภาวะพิการแต่ละอย่าง ร่างกายสูญเสีย function ไปสักกี่เปอร์เซนต์ เช่น ตาบอดสองข้างก็สูญเสีย 50% ตรงนี้มีวิธีคำนวณมากมาย ขอละไว้

ลองทำดู

Burden ของอุบัติเหตุจราจร ก็จะมาจากจำนวน cases ทั้งหมดของอุบัติเหตุจราจรคูณด้วยอายุเฉลี่ยที่เสียชีวิต บวกกับทุพพลภาพ ออกมาเป็นหมื่นปี แสนปี ฯลฯ ที่ประเทศสูญเสียทรัพยากรมนุษย์ไป จากสูตรนี้จะพบว่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องคือ จำนวนหรืออัตราของอุบัติการณ์ของโรค เป็นกันปีละ 100,00 คน ก็จะมีตัวคูณมากกว่าโรคที่เป็นกันปีละ 10 คน โรคที่เป็นในคนอายุน้อยๆ เช่น อุบัติเหตุจราจร AIDS ในคนวัยเจริญพันธุ์ก็จะมีน้ำหนักมากกว่าโรคที่เป็นตอนชรามากๆ เช่นโรคมะเร็ง โรคความดันสูง

ประเทศไทยมีอุบัติการณืการตายจากอุบัติเหตุจราจรที่เกี่ยวข้องกับมอร์เตอร์ไซด์สูงที่สุดในโลก (ข้อมูลจากนิตรสาร TIMES หรือ Newsweek ไม่แน่ใจ ประมาณสองปีก่อน) ข้อมูลตายจากระเบิด car bomb ในสองปีนี้คิดว่าไม่ถึง 10 ราย เป็นต้น

ลองเอาข้อมูลที่ updated ล่าสุดมาประกอบครับว่าถ้าเรามีเงิน มีงบจำกัด มีกำลังคน กำลังทรัพย์จำกัด เราควรจะรณรงค์อะไรก่อน อะไรหลัง



Posted by : Phoenix , Date : 2006-09-27 , Time : 20:24:18 , From IP : 222.123.41.155

ความคิดเห็นที่ : 6


   บางครั้งแค่เอาชีวิตคนมาคิดคงไม่ได้มันมีเรื่องของความเสียขวัญมาเกี่ยว
..ถ้าหากมีระเบิดคงลำบากกับขวัญกำลังใจคน.............คนไม่ใส่หมวกบางคนก็ปล่อยให้เป็น natural selection บ้างอย่าลืมว่าเค้ารู้ไม่ใช่ไม่รู้ว่าต้องใส่หมวกแต่คนทั่วไท่เดินตามถนน ไม่ได้มีเครื่อง scan ระเบิด ถ้ามีคงไม่มีใครขอให้ตำรวจช่วยหรอกครับ


Posted by : cabin_crew , Date : 2006-09-28 , Time : 08:54:26 , From IP : 172.29.4.65

ความคิดเห็นที่ : 7


   ถ้าเป็นเรื่องส่วนตัวจริงๆที่ไม่ได้อาศัย share resource ที่จำกัดของส่วนรวม เราก็คงจะปล่อยเป็นสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลได้ครับ แต่กรณีที่ว่านี้เป็นเช่นนั้นหรือไม่?

เงินที่กระทรวงสาธารณสุขได้รับงบประมาณมา มาจากภาษีของประเทศ ตามหลักจริยศาสตร์ resource allocation ซึ่งอยู่ใน principle of justice นั้นประชาชนมีสอทธิขั้นพื้นฐานเท่าเทียมกันในการ "เข้าถึง" การรักษาที่ได้มาตรฐาน ประชาชนส่วนใหญ่ที่ (และถ้า) health promotion เข้าถึง ก็จะดูแลตนเองได้ตามสมควร ค่าใช้จ่ายจากรัฐ (ประกันสุขภาพ) ก็จะอยู่ในพิสัยเฉลี่ย

การณ์ปรากฏว่ารัฐต้องทุ่มเทเงินจำนวนมากที่ไม่ได้สัดส่วนเพื่อรักษาโรคที่ป้องกันได้ โรคที่เกิดจากความประมาท ความไม่ใส่ใจของปัจเจกบุคคล ตรงนี้ก็จะทำให้รัฐต้องเจียนงบประมาณส่วนที่จะพัฒนาให้ "คนส่วนใหญ่" มาดูแลคนที่ทำร้ายตนเองเพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เพราะไม่ใส่ใจ เพราะไม่สนใจ หลักจริยศาสตร์ก็จะบิดเบี้ยวไป ผลเสียตกต่อส่วนรวม ขับมอเตอร์ไซด์ล้มแล้วเคล็ดขัดยอกนั้น ค่าใช้จ่ายและความสูญเสียมีผลกระทบวงกว้างมากกว่าเฉพาะตัวคนๆนั้นครับ คุณ Cabin_crew ไม่ทราบว่าผ่าน health promotion block แล้วหรือไม่ ควรจะรำลึกว่าการปกป้องสุขภาพนั้น "ไม่ใช่" สิทธิเฉพาะบุคคลอย่างเดียว แต่เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบต่อสังคมด้วย คนที่สูบบุหรี่นั้นจะมีโอกาสสูงที่จะต้องมาใช้บริการสุขภาพจากรัฐ จากโรงพยาบาลสูงกว่าคนที่ไม่สูบหลายเท่า ไม่นับที่สร้าง passive smoking แก่คนที่ไม่สูบให้พลอยป่วยไปด้วย

นักศึกษาขี่มอเตอร์ไซด์ไม่สวมหมวกกันน็อคหรือสวมแค่พอมาตะเบ๊ะยามหน้า รพ.แล้วก็ถอดนั้น ไม่ได้กำลัง exercise สิทธิส่วนตัวอยู่แค่นั้น แต่เพิ่มความเสี่ยงต่อการสูญเสียของส่วนรวมไปเยอะในขณะเดียวกันด้วย เช่น นศพ. นั้น รัฐ subsidize ให้ทุกปี เพราะ "คาดหวัง" ว่าจะรอดตายมารักษาคนเจ็บป่วยในประเทศ มาสอนประชาชนให้มีสุขภาพดีได้อีกหลายสิบปี ถ้าเสียชีวิต หรือกลายเป็นผักไปตอนปีหก ก็น่าเสียดาย และเป็นความสูญเสียของประเทศไปเยอะ

การระแวดระวัง terrorism นั้น จะเป็นเฉพาะกิจเท่านั้นเมื่อจำเป็น และตามบริบท เพราะมันจะมีค่าใช้จ่ายและการดึงทรัพยากรออกมาจากแหล่งที่จำกัด ไม่มีใครบอกว่าไม่เป็นปัญหา แต่ปัญหานั้นต้องมีการจัดลำดับความสำคัญ การตรวจเช็ค car bomb ในเขตสามจังหวัดชายแดน หาดใหญ่ กรุงเทพ เชียงใหม่ ก็จะแปรเปลี่ยนไปตามบริบทว่าจะเข้มงวดเพียงใด จำเป็นเพียงใด มีคนได้ประโยชน์สูงสุดมากน้อยกี่คน เพราะเรากำลังอภิปรายถึงการใช้ทรัพยากรร่วมที่มีจำกัดอยู่อย่างมาก



Posted by : Phoenix , Date : 2006-09-28 , Time : 12:46:42 , From IP : 172.29.3.231

ความคิดเห็นที่ : 8


   ตำรวจตั้งด่านตรวจจับได้แต่คนที่ขับรถด้วยความบริสุทธิ์ใจเท่านั้น แต่วัยรุ่นซิ่งน่ารำคาญเสียง และกีดขวางการจราจรที่ถนนลพบุรีราเมศวร์ช่วงเสาร์-อาทิตย์แล้วตำรวจจราจรไปกินน้ำชาอยู่ที่ไหนหล่ะ

Posted by : ชาวบ้านลพบุรีราเมศวร์ , Date : 2006-09-28 , Time : 13:03:54 , From IP : 172.29.3.213

ความคิดเห็นที่ : 9


   เห็นด้วยครับกับทารทำ health promotion เราต้องทำมันดี ผมไม่เถียง .......ผมไม่ได้บอกซักคำว่าไม่ดี แต่เราต้องเข้าใจว่าหลักการดังกล่าวใช้กับประเทศที่พัฒนาแล้วจะได้ผลกว่าประเทศด้อยพัฒนานะครับชาวบ้านของเราบางสว่นยังไม่เข้าใจในสิ่งที่เราคุยกันในนี้ด้วยซำฉะนั้นเราจะแก้ได้ยากมากหากใช้หลักการดังกล่าวเหมือนเอาเซรุ่มไปฉีดชนเผ่าอะไรซักเผ่าตอน ac100 ซึ่งชาวเผ่านั้นคงไม่เข้าใจว่าทำไมต้องฉีด...........อย่าลืมครับประเทศเราก้าวกระโดดเกินไปจนคนในประเทศเกิด gap ทางการศึกษาแล้ว...
ผมเห็นด้วยกับ health promotion ว่าดีนะโดยที่ผมไม่จำเป็นต้องผ่าน block นี้มาก่อน ..........แต่แน่นอน ถ้าในเมืองมีโจรสาม จ. กับคนไม่ใส่หมวกเราจะเลือกจับคนไหนก่อนดี

.........ข้อสังเกต..ผมไม่ได้แบ่งสัดส่วนของบุคลากรหรืองบประมาณในการจัดการกับปัญหาทั้งสองอย่างเลย ไม่เคยแบ่งเพราะผมคิดว่าหากต้องการคิดให้รอบคอบคงต้องทำการศึกษาผลกระทบมากกว่านี้ให้ลึกกว่านี้ครับ........และอีกอย่างเรากำลังคุยเรื่องตำรวจ.....เอ้า .ตำรวจตำรวจมาแล้ว มาแล้ว มาแล้วตำรวจ...ไม่ได้มาตรวจมาจับผู้ใด......


Posted by : cabin_crew , Date : 2006-09-28 , Time : 16:17:46 , From IP : 172.29.4.65

ความคิดเห็นที่ : 10


   ประสิทธิภาพว่าทำที่ไหนได้ผลมากกว่ากันนั้น ผมว่าไม่มีผลในแง่ว่าเราไม่ควรทำ health promotion ในประเทศแบบไหนแม้แต่น้อยครับ และผมคิดว่าคำว่า "ด้อยพัฒนา" นั้น ไม่ได้ใช้เรื่องประสิทธิภาพในดันความสำเร็จของการทำ health promotion มาวัดด้วย ตรงกันข้าม ในกระบวนการวิธีทงสาธารณสุข การทำ health promotion "ยิ่งจำเป็น" ในประเทศที่ preventable cause ยังเป็น primary burden of disease มากกว่าประเทศที่กลุ่ม burden of disease เป็นอีกอย่างหนึ่ง

อย่างฉีดเซรุ่มเหมือนกัน WHO รณรงค์การให้ vaccine ในประเทศที่ยังมี epidemic infectious diseases เช่น Cholera, Thyphoid, Tbc เพราะมันได้ผลชะงัด เผลอๆจะคุ้มกว่าประเทศ "พัฒนาแล้ว" ซะอีก เพราะบรรดา infectious disease จะลดลงในประเทศที่สาธารณูปโภคต่างๆมีมาตรฐานดีขึ้น ยิ่งมี gap ทางการศึกษา ยิ่งต้องเร่งพัฒนา และการทำ health promotion นั้น ส่วนหนึ่งคือการเร่งให้ข้อมูล ให้การศึกษาแก่ประชาชน ดังนั้นจึงเป็น "ยาที่ถูกกับโรค" โดยตรง ยิ่งต้องเร่งกระทำ

การที่ตำรวจตั้งด่านตรวจจับคนขี่จักรยานไม่ใส่หมวกกันน็อคนั้น ผลไม่ได้อยู่ที่จำนวนคนที่ถูกจับครับ ผลกระทบน่าจะเป้นหวังว่าคนทั่วๆไปที่เหลืออยู่จะเปลี่ยนพฤติกรรมมาใส่หมวกกันน็อคมากขึ้น ซึ่งจะได้ประโยชน์สูงเพราะเรามี burden จากอุบัติเหตุแบบนี้สูงมากกว่า burden จาก carbomb หลายสิบ หลายร้อยเท่า นอกจากนี้ การทุ่มเทตรวจจับ carbomb โดยวิธีนี้ ยังน่าสงสัยในเรื่องประสิทธิภาพอย่างมาก ว่าผู้ก่อการร้ายจะหมดปัญญาแก้ลำ ถ้าแก้ได้ง่ายขนาดนั้น เราคงจะแก้ปัญหา 3 จังหวัดได้ดีกว่านี้เยอะ แต่น่าสงสัยว่านี่น่าจะเป็น priority ของตำรวจส่วนใหญ่ของหาดใหญ่หรือไม่

การศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมเป็นสิ่งที่ดีครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เราไม่แน่ใจ แต่ผมคิดว่าปัญหาอุบัติเหตุจราจรที่เกี่ยวเนื่องมาจากมอเตอร์ไซด์และหมวกกันน็อคในประเทศไทยนั้น well-established มานานมากแล้ว ถึงได้มีการเร่งพัฒนา trauma centre และออกกฏหมายเรื่องหมวกกันน็อคไงครับ เขาไม่ได้ออกกฏหมายบังคับโดยไม่ได้มีการศึกษามาก่อนหรอกครับ ในสองปีที่ผ่านมาใน block health promotion มี นศพ.ปี 4 ทำโครงการรณรงค์หมวกกันฯอคโดยมี evidence-based level สูงๆมาทุกปี และหลายโครงการ ส่วนข้อมูลว่า carbomb มี prevalence เท่าไหร่ในรอบปีนี้ หรือสิบปีที่ผ่านมา ผมว่าก็ค่อนข้างชัดเจน และน้ำหนักยังน้อยกว่า traffic accident เยอะครับ Traffic Accident เป็น primary burden อันดับสองของประเทศไทย สงกรานต์ 4 วันแต่ละปี ก็ตายกัน 4-500 คนทุกปี (อันดับหนึ่งคือ AIDS) ส่วน carbomb ผมว่าไม่อยู่ใน 20 อันดับต้นแน่ๆ อัตราการตายอยู่ที่เลขสองหลักในรอบสิบปีเท่านั้น



Posted by : Phoenix , Date : 2006-09-28 , Time : 18:19:50 , From IP : 222.123.41.155

ความคิดเห็นที่ : 11


   1.ผมยอมรับว่าจำเป็นต้องทำ........อันนี้ชัดเจนตั้งแต่แรก
2.ที่ผมใคร่เสนอก็คือว่าเราจำเป็นต้องยอมรับในสถานะของประเทศเรา..
....ว่าแค่ไหน....ดังนั้นจะหวังผลอะไรต้องดูอาการแรกรับด้วย
3.เฮ้อ....เหนื่อยใจ


Posted by : cabin_crew , Date : 2006-09-28 , Time : 19:35:36 , From IP : 172.29.4.65

ความคิดเห็นที่ : 12


   จากข้อสองของคุณ cabin_crew ลองช่วยขยายความว่าเรา "ควร" จะทำอย่างไรในสถานะของบ้านเมืองเรา และเพราะอะไร เพื่อประโยชน์ของการ share ความคิดเห็น ดีไหมครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2006-09-28 , Time : 20:21:03 , From IP : 222.123.41.155

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.006 seconds. <<<<<