ความคิดเห็นทั้งหมด : 22

การจัดกลุ่มมหาวิทยาลัยของไทย โดย สกอ.


   

สำหรับการจัดกลุ่มมหาวิทยาลัยด้านการเรียนการสอน ใช้เกณฑ์การประเมินจากอัตราส่วนนักศึกษาต่ออาจารย์ 20% บุคลากร 20% งบประมาณ 20% ความเป็นนานาชาติ 10% และการได้รับรางวัล 10% คิดคะแนนเต็มที่ 80 คะแนน เนื่องจากข้อมูลด้าน Student selectivity จากคะแนนเอนทรานซ์ไม่ครบถ้วนสำหรับมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยที่จัดอยู่ในกลุ่มดีเลิศ มีคะแนนการประเมินมากกว่า 75 คะแนน ประกอบด้วย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ม.ขอนแก่น ม.เชียงใหม่ และ ม.มหิดล

กลุ่มดีเยี่ยม มีคะแนนประเมินอยู่ในช่วง 70-74 คะแนน ประกอบด้วย ม.เกษตรศาสตร์ ม.พระจอมเกล้าธนบุรี ม.เทคโนโลยีสุรนารี และม.เทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ

กลุ่มดี มีคะแนนประเมินอยู่ในช่วง 65-69 คะแนน ประกอบด้วย ม.ทักษิณ ม.แม่ฟ้าหลวง ม.วลัยลักษณ์ ม.ศิลปากร ม.สงขลานครินทร์ ม.อุบลราชธานี ม.เทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย และสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

กลุ่มพอใช้ มีคะแนนประเมินอยู่ในช่วง 60-64 คะแนน ประกอบด้วย ม.นเรศวร ม.บูรพา ม.มหาสารคาม ม.แม่โจ้ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ ม.เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ม.เทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ม.ราชภัฎนครปฐม ม.ราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ม.ราชภัฏสวนดุสิต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

กลุ่มที่ต้องปรับปรุง มีคะแนนประเมินน้อยกว่า 60 คะแนน ประกอบด้วย ม.ราชภัฏจันทรเกษม ม.ราชภัฏเชียงใหม่ ม.ราชภัฏธนบุรี ม.ราชภัฏนครราชสีมา ม.ราชภัฏนครศรีธรรมราช ม.ราชภัฏนครสวรรค์ ม.ราชภัฏบุรีรัมย์ ม.ราชภัฏพระนคร ม.ราชภัฏพิบูลสงคราม ม.ราชภัฏยะลา ม.ราชภัฏราชนครินทร์ ม.ราชภัฏเลย ม.ราชภัฏสกลนคร ม.ราชภัฏสุราษฎร์ธานี ม.ราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ม.ราชภัฏฎอุดรธานี ม.ราชภัฏอุตรดิตถ์ วิทยาลัยบัณฑิตบริหารธุรกิจ วิทยาลัยตาปี และม.เทพกษัตริย์ตรี

สำหรับการจัดกลุ่มมหาวิทยาลัยด้านการวิจัย ใช้เกณฑ์การประเมินจากงบประมาณ 20% บุคลากร 20% ผลงาน 45% และบัณฑิตศึกษา 15% รวม 100 คะแนน มหาวิทยาลัยที่จัดอยู่ในกลุ่มดีเลิศ มีคะแนนการประเมินมากกว่า 75 คะแนน ประกอบด้วย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ม.เชียงใหม่ ม.มหิดล ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และม.เทคโนโลยีสุรนารี

กลุ่มดีเยี่ยม มีคะแนนประเมินอยู่ในช่วง 70-75 คะแนน ประกอบด้วย ม.เกษตรศาสตร์ ม.ขอนแก่น ม.นเรศวร และสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

กลุ่มดี มีคะแนนประเมินอยู่ในช่วง 65-69 คะแนน ประกอบด้วย ม.บูรพา ม.ศรีนครินทรวิโรฒ ม.ศิลปากร ม.สงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

กลุ่มพอใช้ มีคะแนนประเมินอยู่ในช่วง 55-64 คะแนน ประกอบด้วย ม.ทักษิณ ม.แม่โจ้ ม.แม่ฟ้าหลวง ม.มหาสารคาม ม.วลัยลักษณ์ ม.อุบลราชธานี ม.นครราชสีมา ม.ราชภัฏเลย ม.ราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ม.ราชภัฏสวนดุสิต ม.ราชภัฏอุดรธานี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

กลุ่มที่ต้องปรับปรุง มีคะแนนประเมินน้อยกว่า 55 คะแนน ประกอบด้วย ม.เทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ม.เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ม.เทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ม.เทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ม.ราชภัฏจันทรเกษม ม.ราชภัฏเชียงใหม่ ม.ราชภัฏเทพสตรี ม.ราชภัฏธนบุรี ม.ราชภัฏนครปฐม ม.ราชภัฏนครศรีธรรมราช ม.ราชภัฏนครสวรรค์ ม.ราชภัฏบุรีรัมย์ ม.ราชภัฏพระนคร ม.ราชภัฏพิบูลสงคราม ม.ราชภัฏยะลา ม.ราชภัฏราชนครินทร์ ม.ราชภัฏสกลนคร ม.ราชภัฏสุราษฎร์ธานี ม.ราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ม.ราชภัฏอุตรดิตถ์ ม.เทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ วิทยาลัยตาปี และวิทยาลัยบัณฑิตบริหารธุรกิจ

ส่วนการจัดอันดับของคณะต่างๆ ที่มีศักยภาพด้านการวิจัย 5 อันดับแรก แยกตามกลุ่มสาขา มีดังนี้

กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์ ได้แก่ วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล,สถาบันอณูชีววิทยาและพันธุศาสตร์ ม.มหิดล,คณะวิทยาศาสตร์ ม.เชียงใหม่ และคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

กลุ่มสาขาเทคโนโลยี ได้แก่ บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี,คณะพลังงานและวัสดุ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี,สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.มหิดล,คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

กลุ่มสาขาชีวการแพทย์ ได้แก่ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ ม.เชียงใหม่,คณะเวชศาสตร์เขตร้อน ม.มหิดล,วิทยาการสาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล

กลุ่มสาขามนุษยศาสตร์และศิลปศาสตร์ ได้แก่ คณะวิจิตรศิลป์ ม.เชียงใหม่ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ม.มหิดล,โครงการบัณฑิตศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์,คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.เชียงใหม่ และคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

กลุ่มสาขาสังคมศาสตร์ ได้แก่ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม ม.มหิดล,คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์,คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์,วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

กลุ่มสาขาเกษตรศาสตร์ ได้แก่ คณะอุตสาหกรรมเกษตร ม.สงขลานครินทร์,สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร ม.เทคโนโลยีสุรนารี,คณะอุตสาหกรรมเกษตร ม.เกษตรศาสตร์ และคณะเกษตรศาสตร์ ม.เชียงใหม่

กลุ่มสาขาศึกษาศาสตร์ ได้แก่ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,คณะศึกษาศาสตร์ ม.นเรศวร,คณะศึกษาศาสตร์ ม.บูรพา,คณะศึกษาศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ และคณะศึกษาศาสตร์ ม.มหาสารคาม

ส่วนการจัดอันดับของคณะต่างๆ ที่มีศักยภาพด้านการเรียนการสอน 5 อันดับแรก แยกตามกลุ่มสาขา มีดังนี้

กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์ ได้แก่ คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล,วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,คณะวิทยาศาสตร์ ม.เชียงใหม่,คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ม.มหิดล

กลุ่มสาขาเทคโนโลยี ได้แก่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,คณะพลังงานและวัสดุ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี,คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี,คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ และคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.อุบลราชธานี

กลุ่มสาขาชีวการแพทย์ ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล, คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล,คณะเวชศาสตร์เขตร้อน ม.มหิดล,คณะแพทยศาสตร์ ม.ขอนแก่น และคณะแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่

กลุ่มสาขามนุษยศาสตร์และศิลปะศาสตร์ ได้แก่ คณะมัณฑนศิลป์ ม.ศิลปากร,คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ม.มหิดล,คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.เชียงใหม่,สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท ม.มหิดล

กลุ่มสาขาสังคมศาสตร์ ได้แก่ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,คณะเศรษฐศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์,วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ม.มหิดล และคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

กลุ่มสาขาเกษตรศาสตร์ ได้แก่ คณะเกษตร กำแพงแสน ม.เกษตรศาสตร์,คณะอุตสาหกรรมเกษตร ม.เกษตรศาสตร์,สำนักวิชาอุตสาหกรรมเกษตร ม.แม่ฟ้าหลวง,คณะเกษตรศาสตร์ ม.เชียงใหม่ และคณะเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตปทุมธานี ม.เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

อย่างไรก็ตาม การจัดอันดับมหาวิทยาลัยครั้งนี้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ให้ข้อมูลมาแต่ไม่ยินดีที่จะให้นำมาจัดอันดับด้วย จึงไม่ปรากฏชื่อมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในการจัดอันดับ นอกจากนี้มหาวิทยาลัยเอกชนส่วนใหญ่ไม่ได้ให้ข้อมูล โดยสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย แจ้งว่าจะยังไม่ให้ข้อมูลในปีนี้
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9490000110987


Posted by : บุคลากรคนนึง , Date : 2006-09-01 , Time : 15:29:01 , From IP : 172.29.1.234

ความคิดเห็นที่ : 1


   ผมเห้นว่าในหลายๆปีมานี้ มหาวิทยาลัยของเรายังไม่ค่อยจะพัฒนาไปในด้านใดเลยนะครับ คล้ายจะอยู่นิ่งอยู่กับที่พอสมควร
งานวิทยาศาสตร์ปีนี้ก็ได้รับความสนใจค่อนข้างน้อย เรายังต้องปรับปรุงอีกเยอะนะถ้าคิดจะเป็นชั้นนำของประเทศ


Posted by : Comets , Date : 2006-09-01 , Time : 18:32:04 , From IP : 210-86-142-200.stati

ความคิดเห็นที่ : 2


   ก็มัวแต่ไปหลงทิศทางอะไรบางอย่างที่ทั้งผลักทั้งดันกันสุดโต่ง จนลืมพื้นฐานของการเป็นมหาวิทยาลัยไป คณะของเราเองก็เช่นกัน ทำให้ลืมจิตวิญญาณที่แท้จริงของคณะแพทยศาสตร์ไปเสียหมด จึงทำให้สูญเสียบุคลากรที่เป็นทรัพยากรอันมีค่าไปเรื่อยๆ คนแล้วคนเล่า... และจะยังคงเป็นเช่นนี้ต่อไปอีก ถ้าหากยังกลับตัวไม่ทัน

Posted by : หนึ่งความเห็น , Date : 2006-09-01 , Time : 19:12:11 , From IP : ppp-124.121.136.61.r

ความคิดเห็นที่ : 3


   เห็น ranking แล้วเหนื่อยใจ เเต่ก็คงเป็นสิ่งสะท้อนถึงทิศทางการทำงานของพวกเราที่ผ่านมา ที่เขียนใน vision หายไปไหน เเปลว่าอะไร

Posted by : 001 , Date : 2006-09-01 , Time : 20:02:49 , From IP : 172.29.7.221

ความคิดเห็นที่ : 4


    อยากให้เรากลับมาทบทวนบ้างจริงๆค่ะ โดยเฉพาะเรื่อง ไอที อะไรนั่น
เราทำเพื่ออะไร เวลาที่จะอยู่กับคนไข้ก้น้อยลงไป ไม่ทราบว่า จุฬา มหิดล
เขาเป็นอย่างเราหรือเปล่า เท่าที่เห็นเขาไปไกลเรื่องการจัดการความรู้สู่การ
นำมาทำจริงๆไปมากแล้ว เรากำลังจะเป็นเลิศที่ตรงไหนกันแน่
การเปลี่ยนจากเอกสารมาเป็นลง comหมดดีจริงหรือ เรากำลังพัฒนาอะไร


Posted by : สงสัย , Date : 2006-09-01 , Time : 20:31:14 , From IP : 172.29.7.113

ความคิดเห็นที่ : 5


   คุณสงสัย
คิดได้เฉียบ เพราะ com หนึ่งเครื่องซื้อ หนังสือ guideline ต่างประเทศหรือ textbook ดีๆได้เเยะ

ผมอยากจะบอกว่าความรู้ใน internet เชื่อถือได้น้อยมาก ไม่ใช่ว่าไม่มีดีเลย แต่ผมเชื่อถือน้อยกว่าหนังสือมาก
มีหลายคนบอกว่า text กับ journal ต่างกันที่ text นานๆ ที ออก ทำให้ความรู้ล้าหลัง แต่รู้หรือไม่ ในความคิดผม......text ออกช้าพอดีๆ พอที่จะทำให้ theory ลวกๆใน journal พอจะผุดข้อเสียขึ้นมาได้........

ก้าวย่างที่พลาดไปสามก้าวไม่เท่ากับความพลาดที่ไม่ยอมหยุดและหันกลับ......................


Posted by : cabin_crew , Date : 2006-09-01 , Time : 20:45:25 , From IP : 172.29.4.140

ความคิดเห็นที่ : 6


   ผมอยากจะบอกว่าความรู้ใน internet เชื่อถือได้น้อยมาก ไม่ใช่ว่าไม่มีดีเลย แต่ผมเชื่อถือน้อยกว่าหนังสือมาก
มีหลายคนบอกว่า text กับ journal ต่างกันที่ text นานๆ ที ออก ทำให้ความรู้ล้าหลัง แต่รู้หรือไม่ ในความคิดผม......text ออกช้าพอดีๆ พอที่จะทำให้ theory ลวกๆใน journal พอจะผุดข้อเสียขึ้นมาได้........
Posted by : cabin_crew , Date : 2006-09-01 , Time : 20:45:25 , From IP : 172.29.4.140
เห็นด้วยครับ
อินเตอร์เนต บางที คนพิมพ์ เอา ตำราเก่าหลายปีมาลง เมื่อวาน คนอ่าน นึกว่า เฮ้ย ใหม่มากสดเมื่อวาน แต่ ที่จริงเก่าแล้ว พอผิดก็ไปโทษใครไม่ได้ เพราะ ไม่ได้เสียเงินซื้อ ( พวกชอบอ่านฟรี ) แต่หนังสือ สำนักพิมพ์ และ ชื่อ บรรณาธิการ ต้อง รับผิดชอบ

พื้นฐาน ของ โรงพยาบาลเพื่อ สอน นักศึกษาแพทย์ ย่อม แตกต่าง ไปจาก โรงพยาบาล เพื่อสอน แพทย์ประจำบ้านสาขาต่อยอด

พื้นฐาน ของ โรงพยาบาล ของ มหาวิทยาลัย ย่อมไม่เหมือน โรงพยาบาล เอกชน


Posted by : guru , Date : 2006-09-02 , Time : 09:35:23 , From IP : 203.188.3.202

ความคิดเห็นที่ : 7


   ยังดีนะเนี่ย ที่ติดอยู่ในกลุ่ม ดี -*-

เรื่องการเน้นด้านไอที ในฐานะบุคลากรตัวเล็กๆ ที่ทำงานด้านบริการ
รู้สึกว่า บุคลากรเราไม่ได้พร้อมที่จะลงไปใช้งานทุกอย่างเต็มที่ในคอมพิวเตอร์
หลายๆคน หาตัวอักษรในแป้นพิมพ์ไม่เจอ
นั่งจิ้ม นั่งพิมพ์
แทนที่จะเอาเวลาไปทำงานอย่างอื่น ที่เป็นงานโดยตรงของตัวเอง
วันๆ มานั่งพะวักพะวนกับการเขียนบันทึกต่างๆลงในคอมพ์ ต้องใช้เวลาเยอะมาก


คณะ ได้นึกถึงการเตรียมบุคลากรตรงนี้บ้างไหม???


Posted by : อืมมม , Date : 2006-09-02 , Time : 11:55:07 , From IP : 172.29.7.207

ความคิดเห็นที่ : 8


   เห็นใจผู้บริหารครับ ที่ มอ.ของเรามีข้อจำกัดมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคลากรคุณภาพ(เรามีครับ แต่เห็นว่าน้อยลงทุกที) บุคลากรคุณภาพ เป็นตัวแปรหลักครับ เราจะทำอย่างไรให้คนที่ทุมเททำงานเพื่อคุณภาพการดูแลผู้ป่วย สอนนักศึกษา และ สร้างสรรค์งานวิจัย รู้สึกว่าที่นี่น่าอยู่ (กว่าจะสร้าง ศาสตราจารย์ 1 คน ยากแค่ไหน แต่เวลาเสียไปนั้นรวดเร็ว) ไม่อยากเห็นใครต้องลาออกอีก ฝากเรียนท่านคณบดีช่วยดูแลด้วยครับ ว่าหน่วยงานไหนมีปัญหา และกรุณาแก้ด้วยความเฉียบขาด เพราะว่าการเห็นปัญหาที่เกิดซ้ำๆ แต่ไม่แก้ไขก็ถือว่าสมยอมให้มันแลงครับ (อย่าให้ผิดฃ้ำรอยนายก ที่เชื่อแต่คนใกล้ตัว รุ้ตัวอีกทีก็สาย)........ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคน และตัวเองก็จะตั้งใจทุ่มเทให้มากยิ่งขึ้น

Posted by : 47234 , Date : 2006-09-02 , Time : 12:42:56 , From IP : 172.29.5.89

ความคิดเห็นที่ : 9


   
พยายามดูในรายละเอียดไม่ปรากฏคณะแพทย์ติด ใน 50 ลำดับแรก
ที่ทำให้ติดมหาวิทยาลัยระดับดีเป็นผลจากคณะอื่นๆ ช่วยหาดูคณะแพทย์หายไปจริงๆหรือเหตุใด


Posted by : มอ , Date : 2006-09-02 , Time : 15:29:35 , From IP : public01.gprs.ais.co

ความคิดเห็นที่ : 10


   เป็นโอกาสดีที่เราจะหันมองตัวเองและพัฒนาร่วมกัน ใครจะเริ่ม?

Posted by : doctor , Date : 2006-09-02 , Time : 15:46:55 , From IP : 172.29.3.110

ความคิดเห็นที่ : 11


   เห็นด้วย กับการลาออก โอนย้าย โดยพยาบาลที่สังกัดฝ่ายการ ward ที่รับผู้ป่วยหนัก เห็นว่าการลาออกมีมาก อีกทั้งการสร้างคนให้เป็นงานนั้นยากลำบากหนัก แต่ทำไมไม่รักษากลุ่มคนเหล่านี้ไว้

Posted by : บุคลากร , E-mail : (.) ,
Date : 2006-09-02 , Time : 17:09:09 , From IP : 172.29.9.209


ความคิดเห็นที่ : 12


   ทำมะสาด เลิ่ดอยู่แล้วจ้า

Posted by : TU TU , Date : 2006-09-02 , Time : 19:59:35 , From IP : 210-4-139-129.inter.

ความคิดเห็นที่ : 13


   สนใจอะไร คนทำ มั่วจะตาย เอ็นทรานซ์เป็นตัวอย่างนั้นไง
มีวัดมาตรฐานจริยธรรมบ้างหรือเปล่า สมัยนี้


Posted by : ไม่สน , Date : 2006-09-02 , Time : 21:04:15 , From IP : 172.29.9.83

ความคิดเห็นที่ : 14


   อ่านคห.11แล้วรู้สึกงงจัง

Posted by : งงจัง , Date : 2006-09-02 , Time : 21:17:58 , From IP : 172.29.5.217

ความคิดเห็นที่ : 15


    ก่อนอื่นต้องชมว่า ม.อ.เราก็มีดี นั่นคือศักยภาพในการทำวิจัยในกลุ่มสาขาเกษตรศาสตร์ อันดับ 1 กลุ่มสาขาเกษตรศาสตร์ ได้แก่ คณะอุตสาหกรรมเกษตร ม.สงขลานครินทร์ ต้องปรบมือให้ด้วยความชื่นชม
เท่าที่เห็นข้อมูลในกระทู้ ดูเหมือนว่าเรื่อง งบประมาณ และจำนวนบุคลากร(อาจารย์ต่อนักศึกษา/บุคลากรที่ทำวิจัย) เป็นปัจจัยหลักที่ใช้ในการประเมินทั้งด้านการสอนและการวิจัย สำหรับการวิจัยจะเพิ่มเรื่องของผลงานวิจัย และบัณฑิตศึกษา
ม.ที่ติดดีเลิศทั้ง 2 ประเภทคือ จุฬา เชียงใหม่และมหิดล ส่วนขอนแก่นดีเลิศการสอน ดีเยี่ยมวิจัย ม.อ.เราติดดีทั้ง 2 ประเภท ภายใต้ฐานคติที่ว่าการจัดอันดับครั้งนี้มีความเที่ยงตรง
คำถามคือ เชียงใหม่ ขอนแก่น เป็น ม.ภูธรเหมือนเรา เขาทำได้อย่างไร เขาหางบประมาณมาได้อย่างไร เขามีกลยุทธ์ในการสรรหาและธำรงรักษาคนดี คนเก่งไว้ในองค์กรได้อย่างไร ทำอย่างไรให้อาจารย์ม.อ.สร้างผลงานวิจัยดีๆที่มีผลกระทบต่อสังคม นำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
ฝากผู้บริหาร ม. อ. รวมทั้งอาจารย์ทั้งหลายช่วยกันคิดและวิเคราะห์ (แต่กรุณาอย่าบอกว่าเพราะทักษิณไม่สนับสนุน ม.ทางใต้นะ เบื่อแล้ว เราเป็นอย่างนี้มาตั้งนาน ก่อนมีนายกทักษิณด้วยซ้ำ) เมื่อวิเคราะห์ได้แล้ว ควรมีการกำหนดนโยบายและวางแผนอย่างจริงจัง เพื่อเดินไปสู่เป้าหมาย อย่างน้อยอีก 3 ปี ลองขยับอันดับให้ไปสู่ ดีเยี่ยมได้ไหม
ถ้าไม่เริ่มวันนี้ ก็จะไม่มีทางเห็แสงไฟที่ปลายอุโมงในวันพรุ่งนี้ อย่างน้อย ม.อ.ก็น่าจะเริ่มที่ คณะอุตสาหกรรมเกษตร เพราะเขามีศักยภาพในการทำวิจัย เข้าไปศึกษาดูว่าเขาทำได้ไง คณะอื่นๆจะเรียนรู้อะไรได้บ้าง และที่สำคัญ ม.อ.ต้องสนับสนุนให้เขาเป็นเลิศทางด้านวิจัยได้จริงๆ ไม่ใช่มีแต่ศักยภาพ


Posted by : บุคลากรสาย ข , Date : 2006-09-02 , Time : 22:52:21 , From IP : 172.29.5.63

ความคิดเห็นที่ : 16


   ตอนนี้ควรจะเพิ่มงบวิจัย แทนที่จะเอาไปสร้างตึกยังดีกว่าอีก

ผมรหัส41
ตอนเข้าเรียนภูมิใจมาก
ไปๆมาๆ ทำไมมีแต่สร้างตึก
ทั้งๆที่เครื่องมือหรืออุปกรณืให้นักศักษาก็ไม่ค่อยจะเพียงพอ เมื่อเทียบกับปริมาณ
ควรจะเอางบมาเพิ่มในส่วนนี้


Posted by : เด็กเก่า , Date : 2006-09-02 , Time : 23:02:26 , From IP : 125.25.5.198

ความคิดเห็นที่ : 17


   สร้างตีก-ปรับปรุง-หุ้มเสา OPD นี่คือผู้บริหาร ?

Posted by : +++ , Date : 2006-09-03 , Time : 10:07:24 , From IP : 172.29.10.228

ความคิดเห็นที่ : 18


   ช่วงสองวันมานี่ผมเองก็คอยฟังการประกาศผลนี้ แต่ยอมรับว่าผิดหวังนิดหน่อย และต้องคอยฟังคำสบประมาทจากเพื่อนๆ ต่างมหาวิทยาลัยพอสมควร ผมขอบอกง่ายๆ สั้นๆ สองข้อ

ข้อที่ 1 การจะดูการจัดอันดับใดๆ นั้น หากดูแบบคนไม่มีการศึกษาก็จะดูแค่ว่า "ดีใจจัง มหาลัยของฉันได้ที่หนึ่ง" แต่หากดูแบบคนฉลาดเราจะดูว่าเกณฑ์ในการจัดสมเหตุสมผลหรือไม่ด้วย

ข้อที่ 2 เราจะไม่ด่า มหาวิทยาลัยของเราว่าไม่ดี เพราะการศึกษาระดับอุดมศึกษา เป็นแบบเลือกเสรี เราเลือกเองที่จะเรียนที่นี่ไม่ได้มีใครบังคับ ดังนั้นเราจะไม่ว่ามหาลัยของเราเพราะเราเลือกมหาลัย ไม่ใช่มหาลัยเลือกเรา


Posted by : สุนทร , E-mail : (mulee@hotmail.com) ,
Date : 2006-09-03 , Time : 11:52:20 , From IP : 203.113.71.105


ความคิดเห็นที่ : 19


   จะอย่างไรก็แล้วแต่ มหาวิทยาลัยของเราผลิตนักศึกษาออกมาก็มีประสิทธิภาพมากพอควร ถึงแม้จะไม่เลิศเลอ ไม่ยึดติดยึดถือว่าฉันต้องเป็นที่หนึ่ง หรือรองต้น ๆ แต่ไม่สุดท้ายเป็นพอ เพราะถึงอย่างไร คนในองค์กรแต่ละแห่งก็น่าจะประเมินศักยภาพของตัวเองได้ว่าเป็นเช่นไร แต่อย่างน้อย ล่าสุด คณะแพทย์ของเราก็สามารถผ่าตัดผู้ป่วยในเคสที่ไม่เคยมีในประเทศเป็นครั้งแรกได้เหมือนกัน เพียงเท่านี้ พวกเราก็มีความภาคภูมิใจมากพอแล้วครับ กับชื่อเสียง ถึงแม้จะเล็กน้อยก็ตาม

Posted by : mac , Date : 2006-09-03 , Time : 19:39:10 , From IP : 203.113.76.11

ความคิดเห็นที่ : 20


   เมื่อวันเสาร์ตตอนเที่ยง ดูทีวีรายการคุยคุ้ยข่าว
เขาให้โหวตว่าเห็นด้วยหรือไม่กับการให้มีการจัดลำดับมหาลัยฯ

ผมดูไม่จบ แต่เห็นผลโหวตว่าคนไม่เห็นด้วยที่จะให้มีการจัดลำดับ
มีจำนวนมากกว่า

สำหรับผมก็เห็นด้วยที่จะให้มีการจัดลำดับ เพราะมันจะทำให้เกิดการแข่งขัน
เป็นโอกาสในการพัฒนาแต่ละมหาลัยฯไปด้วยในตัว เพราะปกติก็เห็นมีคนอื่นมาจัดลำดับมหาลัยไทยเทียบกับของต่างประเทศอยู่แล้ว

ส่วนรายละเอียดวิธีการประเมินจัดลำดับ ก็คงต้องให้ผู้เชี่ยวชาญร่วมกันทำเพื่อให้มีความยุติธรรมมากที่สุด มหาลัยที่ได้ลำดับไม่ดีก็ควรพัฒนาตัวเอง หาจุดด้อยตัวเอง ไม่ใช่เอะอะก็บอกว่าวิธีการประเมินไม่ดี ไม่ยุติธรรม โทษคนอื่นอยู่ร่ำไป


Posted by : สร้างสรรค์ , Date : 2006-09-03 , Time : 20:28:55 , From IP : 172.29.5.217

ความคิดเห็นที่ : 21


   ผมเชื่อว่าไม่มีใครที่มองหาจุดด้อยของจัวเองได้มากเท่าคนอื่นนะครับ คนอื่นเค้าจะมองเห็นจุดด้อยของเราในมุมที่เราไม่เคยมอง
บางครั้งการเปิดรับฟังความคิดเห็นของคนอื่นบ้างก็เป็นประโยชน์กับเรานะครับ จะได้พัฒนาตัวเองให้ก้าวหน้าไปมากกว่านี้


Posted by : Cruz , Date : 2006-09-04 , Time : 18:00:50 , From IP : 210-86-142-200.stati

ความคิดเห็นที่ : 22


   เห็นด้วยกับการจัดดันดับนะครับ หากเป็นการอันดับที่เป็นจริง สมเหตุสมผล ผมจะเห็นด้วยและชื่นชมอย่างมาก

Posted by : กำพล , E-mail : (gompon@yahoo.com) ,
Date : 2006-09-09 , Time : 13:23:24 , From IP : 203.188.11.118


ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.01 seconds. <<<<<