โพชฌังโคปริตร
โพชฌังโค สะติสังขาโต
โพชฌงค์ ๗ ประการคือ สติสัมโพชฌงค์
ธัมมานัง วิจะโย ตะถา
ธรรมะวิจะยะสัมโพชฌงค์
วิริยัมปีติ ปัสสัทธิ
ปีติสัมโพขฌงค์
โพชฌังคา จะ ตะถาปะเร
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
สะมาธุเปกขะโพชฌังคา
สมาธิ อุเบกขาสัมโพชฌงค์
สัตเตเต สัพพะทัสสินา
เหล่านี้ อันพระมุนีเจ้า
มุนินา สัมมะทักขาตา
ผู้ทรงเห็นธรรมทั้งปวง ตรัสไว้ชอบแล้ว
ภาวิตา พะหุลีกะตา
อันบุคคลเจริญและทำให้มากแล้ว
สังสวัตตันติ อะภิญญายะ
ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง
นิพพานายะ จะ โพธิยา
เพื่อความตรัสรู้และเพื่อพระนิพพาน
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
ด้วยการกล่าวคำสัจนี้
โสตถิ เต โหนตุ สัพพะทา
ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านทุกเมื่อ
เอกัสมิง สะมะเย นาโถ
ในสมัยหนึ่งพระโลกนาถเจ้า
โมคคัลลานัญจะ กัสสะปัง
ทอดพระเนตร พระโมคคัลลนะและพระกัสสะปะ
คิลาเน ทุกขิตา ทิสวา
เป็นไข้ได้รับความลำบากถึงทุกขเวทนาแล้ว
โพชฌังเค สัตตะ เทสะยิ
ทรงแสดงโพชฌงค์ ๗ ประการให้ท่านทั้งสองฟัง
เต จะ ตัง อะภินันทิตวา
ท่านทั้งสองก็เพลิดเพลินพระธรรมเทศนานั้น
โรคา มุจจิงสุ ตังขะเณ
หายโรคในบัดดล
เอ เต นะ สัจจะวัชเชนะ
ด้วยการกล่าวคำสัจนี้
โสตถิ เต โหนตุ สัพพะทา
ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านทุกเมื่อ
เอกะทา ธัมะราชาปิ
ครั้งหนึ่งแม้พระธรรมราชาเอง
เคลัญเญนาภิปีฬิโต
ทรงประชวรเป็นไข้
จุนทัตเถเรนะ ตัญเญวะ
รับสั่งให้พระจุนทเถระ
ภะณาเปตวานะ สาทะรัง
แสดงโพขฌงค์นั้นถวายโดยความเคารพ
สัมโมทิตวา จะ อาพาธา
ก็ทรงบันเทิงพระหฤทัย
ตัมหา วุฏฐาสิ ฐานะโส
หายจากพระประชวรนั้นโดยพลัน
เอ เต นะ สัจจะวัชเชนะ
ด้วยการกล่าวคำสัจนี้
โสตถิ เต โหนตุ สัพพะทา
ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านทุกเมื่อ
ปะหีนา เต จะ อาพาธา
ก็อาพาททั้งหลายนั้น
ติณณันนัมปิ มะเหสินัง
อันพระมหาฤาษีทั้งสามองค์หายแล้วไม่กลับเป็นอีก
มัตคาหะตะกิเลสาวะ
ดุจดังกิเลสอันมรรคกำจัดแล้ว
ปัตตานุปปัตติธัมมะตัง
ถึงซึ่งความไม่เกิดอีก เป็นธรรมดาฉะนั้น
เอ เต นะ สัจจะวัชเชนะ
ด้วยการกล่าวคำสัจนี้
โสตถิ เต โหนตุ สัพพะทา
ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านทุกเมื่อเทอญ
บทสวดโพชฌังโคปริตร ดังมัความหมายเช่นที่ว่านี้ จะเห็นเหตุผลว่าทำไมจึงมีความเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย และใช้สวดตอนวาระดังนี้
ทั้งเจ็ดประการเป็นปัจจัยนำไปสู่การตรัสรู้ เป็นธรรมะที่มีความลึกหลายระดับ ในส่วนแค่ลำดับหนึ่งสอง คือ สติ (สัมมาสติ) และธัมมะวิจัย นั้นแปลเป็น contemplative education ได้สบายๆ ถ้าเริ่มต้นด้วยสองข้อนี้ ที่เหลืออีกห้าข้อก็จะเป็น milestones ต่างๆจนจิตไร้ซึ่งนิวรณ์และนิ่ง (มีอุเบกขา) เหล่านี้เป็นจินตนาการสำหรับตัวผมเองที่ยังไม่ได้ใกล้เคียงระดับใดทั้งสิ้น
กลับมาหากระทู้
ถ้าถามว่า เราจะเอาศาสนาพุทธ ศีลธรรม มาประยุกต์เข้ากับ spiritual หรือใช้เป็นเครื่องมือในการทำ palliative care ได้อย่างไร
คำตอบคงเป็นทำได้เยอะมากครับ ศาสนาทุกศาสนาสอนให้คนประพฤติดี หลีกเลี่ยงความชั่วสำหรับคหบดีและคหปตานีทั่วๆไป อีกระดับสำหรับนักบวชที่ต้องการ "แสวงหา" ซึ่งความจริงแท้สัมบูรณ์ หรือใกล้ชิดพระเจ้ามากขึ้น หรือหลุดพ้นความทุกข์อย่างสิ้นเชิง ในทางวิชาชีพแพทย์นั้น โดยรูปแบบงานของเราเองทำให้เรา expose ต่อ "เทวฑูตทั้ง 4" คือ "เกิด แก่ เจ็บ ตาย" ได้มากกว่าสายอาชีพอื่นๆ ใกล้ชิดกับความสูญเสีย ความดีใจ ความพรากจาก การได้ การรอด มากมายที่สามารถก่อกวนอารมณ์ของเราให้ขุ่นมัว ให้หมองเศร้า หรือ denial, rejection ไปเลยเพื่อรักษาดุลภาวะ
สติ (ระลึกได้ มีทั้งสัมมาสติ และมิชฉาสติ บวกกับสัมปชัญญะคือหมายรู้เข้าใจ) ช่วยครับในการเกิด healing process เวลาที่เรามี cliche เกิดขึ้นตอนทำงาน ตอนเรียน การมีธีมมะวิจัยทำให้เรามอง case แต่ละ case ด้วยใฝ่รู้ ด้วยความปราถนาเป็นพหูสูตรซึ่งเป็นหนึ่งในมงคล 38 ประการ การได้ทุ่มเท (วิริยะ) ช่วยเหลือผู้อื่นอย่างเต็มที่นั้น ทำให้จิตเรามีปิติ ที่ไม่ใช่ความรื่นเริง แต่เป็นปิติที่เป็นปัสสัทธิ (สงบ) มีสมาธิ จนในที่สุดจิตก็นิ่ง (อุเบกขา) ได้
ผมเชื่อว่าคำสั่งสอนของทุกศาสนา หรือของพ่อแม่ผู้หวังดี (รวมทั้งครูบาอาจารย์) น้นมีผลคล้ายๆกัน เพราะเจตนาอันบริสุทธิ์ ไม่ได้เกิดจาก KPI หรือกฏมหาวิทยาลัย หรือ signed job description เมื่อคนเราประกอบอาชีพ ทำงานดดยมี "เครื่องยึดเหนี่ยว spirituality" ของคุณค่าภายในตนเองแล้ว ที่เหลือก็จะเป็น decoration ที่มีก็ดี ไม่มีก้ได้ สามารถถึงจุด "พอเพียง" ได้ง่ายดาย
Posted by : Phoenix , Date : 2006-08-21 , Time : 20:05:33 , From IP : 58.147.24.120
|