หลังเสร็จสิ้นการฉายภาพยนตร์ตัวอย่าง คณาจารย์และนักศึกษาได้มีการซักถามในหลายประเด็น ส่วนมากมุ่งเน้นไปในเชิงคุณธรรมจริยธรรมในวิชาชีพ และการบิดเบือนเนื้อหาบางตอนเกี่ยวกับขั้นตอนของผู้บริจาคร่างกาย รวมถึงสื่อประชาสัมพันธ์ภาพยนตร์ที่ถูกท้วงติงว่าใช้ภาพและถ้อยคำไม่เหมาะสม โดยสรุปข้อเท็จจริงได้เป็น 2 ส่วน ดังนี้
1. ภาพยนตร์และบท แบ่งเป็น 2 ประเด็น ได้แก่
1.1) ชื่อเรื่อง เนื่องจากเนื้อหาของภาพยนตร์มีเรื่องเกี่ยวกับอาจารย์ใหญ่น้อย แต่ผู้เข้าประชุมตั้งข้อสังเกตว่าเพราะเหตุใดจึงตั้งชื่อเรื่องว่า อาจารย์ใหญ่ ในส่วนนี้ ทางผู้ผลิตเองยังมีความเห็นที่แตกต่างกันอยู่
1.2) ภาพลักษณ์ของอาจารย์แพทย์ เนื่องจากตัวร้ายในเรื่องนี้ คือ อาจารย์ ดังนั้น จะส่งผลในแง่ลบต่อภาพลักษณ์ของอาจารย์แพทย์หรือไม่ ในส่วนนี้ ผู้ผลิตเห็นว่าในสังคม ในทุกอาชีพนั้นย่อมมีทั้งคนดีและไม่ดี แต่เชื่อว่าแพทย์ส่วนใหญ่ยังคงเป็นแพทย์ที่ดี
2. การประชาสัมพันธ์ เป็นคนละส่วนกันกับงานสร้าง ดังนั้น ผู้ที่รับผิดชอบด้านนี้จึงมิใช่ผู้กำกับแต่เป็นฝ่ายประชาสัมพันธ์และบริษัทต้นสังกัด อาจารย์และนักศึกษาที่เข้าชมส่วนใหญ่เห็นว่าโปสเตอร์ที่ทางบริษัททำขึ้นไม่เหมาะสม เนื่องจาก สื่อไม่ตรงไปตรงมากับเนื้อหาในหนัง (distortion) และทำให้ผู้เห็นโปสเตอร์มองภาพของอาจารย์ใหญ่ผิดไป ทางฝ่ายประชาสัมพันธ์ให้เหตุผลว่าเป็นหลักการของการทำสื่อว่าจำเป็นต้องสื่อถึงหัวใจของเรื่องและดึงดูดความสนใจของผู้ที่ได้พบเห็น
ในการนี้ ผู้เข้าประชุมได้ร่วมกันเสนอแนะแนวทางแก้ไข ดังนี้
1. ในภาพยนตร์ควรมี title, subtitle หรือตัววิ่ง เพื่อแสดงให้เห็นว่าภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นเรื่องแต่งขึ้นเพื่อความบันเทิงเท่านั้น ในส่วนนี้ผู้กำกับเห็นด้วย และรับปากว่าจะดำเนินการต่อไป
2. หลังจบภาพยนตร์ ให้มีสารคดีเรื่องจริงของอาจารย์ใหญ่ ในลักษณะของการให้ความรู้ประชาชนเช่นเดียวกับรายการกบนอกกะลา
3. การทำโปสเตอร์ของบริษัทและสื่ออื่นต่อจากนี้ ควรให้ภาพพจน์ที่เป็นจริงในเชิงบวก
โดยสรุป ตัวแทนบริษัทสหมงคลฟิล์มได้รับเอาประเด็นต่างๆ กลับไปทบทวนและประชุมที่บริษัทต่อไป ในประเด็นที่ถูกท้วงติงมา ขอให้ผู้เข้าประชุมทำหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรแจ้งมาทื่ต้นสังกัดเพื่อพิจารณา
Posted by : 5 , Date : 2006-08-10 , Time : 18:47:25 , From IP : 172.29.4.231
|