ความคิดเห็นทั้งหมด : 4

ว่าด้วยข้อถกเถียง นิสิต นักศึกษา


   คำว่า “นิสิต” นั้นเป็นภาษาบาลี แปลว่า “ผู้อาศัยกับอุปัชฌาย์” เนื่องจากแต่เดิมสถาบันการศึกษาระดับสูงมักมีหอพักให้ผู้เรียนได้พักอาศัยภายในสถาบัน ประกอบกับความนิยมภาษาบาลีด้วยจึงได้ใช้คำนี้โดยทั่วไป
จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ก่อตั้งขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเริ่มแรกเป็นโรงเรียนมหาดเล็กหลวง ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราวุธ ได้สถาปนาขึ้นเป็น “จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย” และปรากฏใช้คำว่า “นิสิต” สำหรับนิสิตชาย และ “นิสิตา” สำหรับนิสิตหญิง ต่อมาจึงได้เปลี่ยนมาใช้คำว่า “นิสิต” เพียงคำเดียว
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ก็ก่อตั้งขึ้นโดยที่ค่านิยมภาษาบาลีสันสกฤตยังเป็นที่นิยมและมีหอพักให้ผู้เรียนภายในสถาบันเช่นเดียวกัน จึงใช้คำว่า “นิสิต” มาตั้งแต่แรกเริ่ม
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ นับเป็นสถาบันการศึกษาที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของไทย เริ่มต้นจากการเป็น “โรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูงถนนประสานมิตร” (สถาปนาเมื่อ ๒๘ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๙๒) ต่อมาได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น “วิทยาลัยวิชาการศึกษา” (สถาปนาเมื่อ ๑๖ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๙๗) นับเป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกของไทยที่สามารถเปิดสอนวิชาชีพครูได้ถึงระดับปริญญา โดยมีสาขาทั่วประเทศทั้งสิ้น ๘ แห่งและทุกแห่งก็ใช้คำว่า “นิสิต” เหมือนกันหมด
ภายหลังวิทยาลัยวิชาการศึกษาทั้ง ๘ แห่ง ก็ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น “มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ” (อ่านว่า สี-นะ-คะ-ริน-วิ-โรด) และปัจจุบันก็มีการเปลี่ยนแปลงไป ดังนี้
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (คงสถานะเดิม)
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน (ยุบวิทยาเขต)
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พลศึกษา (ยุบวิทยาเขต)
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางเขน (ยุบวิทยาเขต/ให้สถาบันราชภัฏพระนครเช่าตึกและอาคารเรียนทั้งหมด)
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พิษณุโลก (ยกฐานะเป็น มหาวิทยาลัยนเรศวร)
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม (ยกฐานะเป็น มหาวิทยาลัย มหาสารคาม)
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน (ยกฐานะเป็น มหาวิทยาลัยบูรพา)
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา (ยกฐานะเป็น มหาวิทยาลัยทักษิณ)
แม้มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒแต่ละแห่งได้มีการเปลี่ยนไปด้วยประการต่าง ๆ แต่ทุกแห่งก็ยังคงใช้คำว่า “นิสิต” เหมือนกันหมด
ทุกมหาวิทยาลัยที่ผู้เขียนกล่าวถึงทั้งหมดใช้คำว่า “นิสิต” ด้วยเหตุผลเดียวกัน คือ มีหอพักให้ผู้เรียนอยู่ภายในสถาบัน

ในสมัยที่ประชาธิปไตยพยายามจะเบ่งบาน มีการก่อตั้งมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง (ธรรมศาสตร์ หมายถึง วิชาว่าด้วยกฎหมาย) เป็นมหาวิทยาลัยเปิด ไม่มีหอพักให้ผู้เรียน จึงสร้างคำใหม่ขึ้นมาเพื่อให้เป็น “ไทย ๆ” มากขึ้น คือคำว่า “นักศึกษา”
มหาวิทยาลัยที่เกิดขึ้นภายหลังหลาย ๆ แห่ง แม้จะมีหอพักนักศึกษาอยู่ภายในมหาวิทยาลัย แต่ก็ไม่นิยมใช้คำว่า “นิสิต” เหมือนมหาวิทยาลัย “โบราณ” ที่ก่อตั้งมานานแล้วทั้งหลาย จึงหันไปใช้คำว่า “นักศึกษา” เหมือนกันแทบทุกแห่ง แม้แต่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เอง แต่เดิมก็ใช้คำว่า “นิสิต” แต่ภายหลังอธิการบดีท่านหนึ่งซึ่งเป็นนายแพทย์ ก็ได้เปลี่ยนคำว่า “นิสิต” มาเป็นคำว่า “นักศึกษา” ดังนั้น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เองก็นับเป็นมหาวิทยาลัยที่เคยใช้คำว่า “นิสิต” มาก่อน
ผู้ที่ตอบกระทู้ในโต๊ะห้องสมุดหลายคน ก็ให้เหตุผลต่าง ๆ กัน เช่น
๑. สถานศึกษาที่ก่อตั้งมานานจะใช้คำว่านิสิต ก่อตั้งไม่นานใช้คำว่านักศึกษา
๒. สถานศึกษาใดต้องการใช้คำว่านิสิตต้องขอพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๓. สถานศึกษาใดที่ "เจ้าฟ้า" เสด็จเข้าทรงศึกษาจะเปลี่ยนไปใช้คำว่านิสิตทันที
เหตุผลเหล่านี้เป็นเหตุผลที่น่าแคลงใจทั้งสิ้น เพราะผู้เขียนพบว่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง) เป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ใช่น้อยก็ยังใช้คำว่านักศึกษา ในขณะที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ใช้คำว่านิสิตในเบื้องต้นทั้งที่ก่อตั้งมาทีหลัง แสดงว่าเหตุผลที่ ๑ เป็นอันตกไป
ส่วนเหตุผลที่ ๒ นั้นดูแปลกพิกลอยู่ เพียงแค่คำว่า "นิสิต" คำเดียว ถึงกับต้องขอพระราชทานเชียวหรือ ? แล้วอย่างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ต้องทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายคำว่า "นิสิต" คืนหรือไม่ ?
ส่วนเหตุผลที่ ๓ เป็นเหตุผลที่พิสดารกว่าใคร ๆ เพราะพบว่าเมื่อครั้งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เข้าศึกษา ณ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยนั้น มหาวิทยาลัยได้ใช้คำว่า "นิสิต" อยู่แล้ว จากนั้นสมเด็จพระเทพฯ ทรงศึกษาต่อระดับปริญญามหาบัณฑิต ณ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร และคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ปรากฏว่ามหาวิทยาลัยศิลปากรก็ไม่ได้เปลี่ยนคำเรียกไปใช้คำว่า "นิสิต" แต่อย่างใด
เรื่องยังไม่จบแค่นี้ สมเด็จพระเทพฯ เป็นผู้มีความวิริยอุตสาหะ ขวนขวายในศิลปวิทยาการทั้งปวงเป็นอย่างมาก จึงเสด็จเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต ณ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร แต่..โอ้โอ๋กระไรเลย บ่มิเคย ณ ก่อนกาล... มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ใช้คำว่านิสิตมาก่อนหน้านั้นแล้ว เรียกว่าใช้คำนี้มาแต่อ้อนแต่ออกด้วยซ้ำไป
เรื่องของเรื่องที่ผู้เขียนได้อธิบายมาทั้งหมดจึงอยากสรุปว่าคำว่านิสิตหรือนักศึกษานั้นไม่สำคัญ คำว่า "นิสิต" ไม่ได้ทำให้ใครยิ่งใหญ่ หรือแสดงความเจ้ายศเจ้าอย่าง มีชนชั้นวรรณะเหนือกว่าใคร ถ้านิสิตไม่ตั้งใจเรียน ประพฤติไม่สมแก่ความมุ่งหมายของมารดาบิดร คำว่านิสิตนั้นจะภูมิใจอะไรเท่านักศึกษาที่ตั้งใจเรียนและประพฤติตนเป็นคนดีของสังคม
อีกประการหนึ่งนั้น อยากให้ผู้มีทัศนะต่าง ๆ นานานั้นได้เข้าใจให้ถูกต้อง เพื่อจะได้ไม่แสดงเหตุผลอันน่าเคลือบแคลงให้ผู้อื่นต้องจำผิด ๆ ไปอีกหลาย ๆ ทอด

http://www.pantip.com/cgi-bin/cafe/readfeature.cgi?284



Posted by : นำมาฝาก , E-mail : (mulee_1@hotmail.com) ,
Date : 2006-07-24 , Time : 09:37:52 , From IP : 203.188.43.105


ความคิดเห็นที่ : 1


    คำว่า “นิสิต” นั้นเป็นภาษาบาลี แปลว่า “ผู้อาศัยกับอุปัชฌาย์” เนื่องจากแต่เดิมสถาบันการศึกษาระดับสูงมักมีหอพักให้ผู้เรียนได้พักอาศัยภายในสถาบัน ประกอบกับความนิยมภาษาบาลีด้วยจึงได้ใช้คำนี้โดยทั่วไป

จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ก่อตั้งขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเริ่มแรกเป็นโรงเรียนมหาดเล็กหลวง ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราวุธ ได้สถาปนาขึ้นเป็น “จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย” และปรากฏใช้คำว่า “นิสิต” สำหรับนิสิตชาย และ “นิสิตา” สำหรับนิสิตหญิง ต่อมาจึงได้เปลี่ยนมาใช้คำว่า “นิสิต” เพียงคำเดียว

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ก็ก่อตั้งขึ้นโดยที่ค่านิยมภาษาบาลีสันสกฤตยังเป็นที่นิยมและมีหอพักให้ผู้เรียนภายในสถาบันเช่นเดียวกัน จึงใช้คำว่า “นิสิต” มาตั้งแต่แรกเริ่ม

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ นับเป็นสถาบันการศึกษาที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของไทย เริ่มต้นจากการเป็น “โรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูงถนนประสานมิตร” (สถาปนาเมื่อ ๒๘ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๙๒) ต่อมาได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น “วิทยาลัยวิชาการศึกษา” (สถาปนาเมื่อ ๑๖ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๙๗) นับเป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกของไทยที่สามารถเปิดสอนวิชาชีพครูได้ถึงระดับปริญญา โดยมีสาขาทั่วประเทศทั้งสิ้น ๘ แห่งและทุกแห่งก็ใช้คำว่า “นิสิต” เหมือนกันหมด

http://www.pantip.com/cgi-bin/cafe/readfeature.cgi?284


Posted by : นำมาฝาก , E-mail : (mulee_1@hotmail.com) ,
Date : 2006-07-24 , Time : 10:30:40 , From IP : 203.188.43.105


ความคิดเห็นที่ : 2


    ภายหลังวิทยาลัยวิชาการศึกษาทั้ง ๘ แห่ง ก็ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น “มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ” (อ่านว่า สี-นะ-คะ-ริน-วิ-โรด) และปัจจุบันก็มีการเปลี่ยนแปลงไป ดังนี้
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (คงสถานะเดิม)
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน (ยุบวิทยาเขต)
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พลศึกษา (ยุบวิทยาเขต)
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางเขน (ยุบวิทยาเขต/ให้สถาบันราชภัฏพระนครเช่าตึกและอาคารเรียนทั้งหมด)
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พิษณุโลก (ยกฐานะเป็น มหาวิทยาลัยนเรศวร)
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม (ยกฐานะเป็น มหาวิทยาลัย มหาสารคาม)
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน (ยกฐานะเป็น มหาวิทยาลัยบูรพา)
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา (ยกฐานะเป็น มหาวิทยาลัยทักษิณ)
แม้มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒแต่ละแห่งได้มีการเปลี่ยนไปด้วยประการต่าง ๆ แต่ทุกแห่งก็ยังคงใช้คำว่า “นิสิต” เหมือนกันหมด

http://www.pantip.com/cgi-bin/cafe/readfeature.cgi?284


Posted by : นำมาฝาก , E-mail : (mulee_1@hotmail.com) ,
Date : 2006-07-24 , Time : 10:34:09 , From IP : 203.188.43.105


ความคิดเห็นที่ : 3


    ทุกมหาวิทยาลัยที่ผู้เขียนกล่าวถึงทั้งหมดใช้คำว่า “นิสิต” ด้วยเหตุผลเดียวกัน คือ มีหอพักให้ผู้เรียนอยู่ภายในสถาบัน

ในสมัยที่ประชาธิปไตยพยายามจะเบ่งบาน มีการก่อตั้งมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง (ธรรมศาสตร์ หมายถึง วิชาว่าด้วยกฎหมาย) เป็นมหาวิทยาลัยเปิด ไม่มีหอพักให้ผู้เรียน จึงสร้างคำใหม่ขึ้นมาเพื่อให้เป็น “ไทย ๆ” มากขึ้น คือคำว่า “นักศึกษา”

มหาวิทยาลัยที่เกิดขึ้นภายหลังหลาย ๆ แห่ง แม้จะมีหอพักนักศึกษาอยู่ภายในมหาวิทยาลัย แต่ก็ไม่นิยมใช้คำว่า “นิสิต” เหมือนมหาวิทยาลัย “โบราณ” ที่ก่อตั้งมานานแล้วทั้งหลาย จึงหันไปใช้คำว่า “นักศึกษา” เหมือนกันแทบทุกแห่ง แม้แต่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เอง แต่เดิมก็ใช้คำว่า “นิสิต” แต่ภายหลังอธิการบดีท่านหนึ่งซึ่งเป็นนายแพทย์ ก็ได้เปลี่ยนคำว่า “นิสิต” มาเป็นคำว่า “นักศึกษา”

ดังนั้น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เองก็นับเป็นมหาวิทยาลัยที่เคยใช้คำว่า “นิสิต” มาก่อน

http://www.pantip.com/cgi-bin/cafe/readfeature.cgi?284


Posted by : นำมาฝาก , E-mail : (mulee_1@hotmail.com) ,
Date : 2006-07-24 , Time : 10:36:06 , From IP : 203.188.43.105


ความคิดเห็นที่ : 4


    ที่ตอบกระทู้ในโต๊ะห้องสมุด ของ www.pantip.com หลายคน ก็ให้เหตุผลต่าง ๆ กัน เช่น

๑. สถานศึกษาที่ก่อตั้งมานานจะใช้คำว่านิสิต ก่อตั้งไม่นานใช้คำว่านักศึกษา

๒. สถานศึกษาใดต้องการใช้คำว่านิสิตต้องขอพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

๓. สถานศึกษาใดที่ "เจ้าฟ้า" เสด็จเข้าทรงศึกษาจะเปลี่ยนไปใช้คำว่านิสิตทันที

เหตุผลเหล่านี้เป็นเหตุผลที่น่าแคลงใจทั้งสิ้น เพราะผู้เขียนพบว่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง) เป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ใช่น้อยก็ยังใช้คำว่านักศึกษา ในขณะที่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ใช้คำว่านิสิตในเบื้องต้นทั้งที่ก่อตั้งมาทีหลัง แสดงว่าเหตุผลที่ ๑ เป็นอันตกไป

ส่วนเหตุผลที่ ๒ นั้นดูแปลกพิกลอยู่ เพียงแค่คำว่า "นิสิต" คำเดียว ถึงกับต้องขอพระราชทานเชียวหรือ ? แล้วอย่างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ต้องทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายคำว่า "นิสิต" คืนหรือไม่?

ส่วนเหตุผลที่ ๓ เป็นเหตุผลที่พิสดารกว่าใคร ๆ เพราะพบว่าเมื่อครั้งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เข้าศึกษา ณ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยนั้น มหาวิทยาลัยได้ใช้คำว่า "นิสิต" อยู่แล้ว จากนั้นสมเด็จพระเทพฯ ทรงศึกษาต่อระดับปริญญามหาบัณฑิต ณ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร และคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ปรากฏว่ามหาวิทยาลัยศิลปากรก็ไม่ได้เปลี่ยนคำเรียกไปใช้คำว่า "นิสิต" แต่อย่างใด

เรื่องยังไม่จบแค่นี้ สมเด็จพระเทพฯ เป็นผู้มีความวิริยอุตสาหะ ขวนขวายในศิลปวิทยาการทั้งปวงเป็นอย่างมาก จึงเสด็จเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต ณ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร แต่..โอ้โอ๋กระไรเลย บ่มิเคย ณ ก่อนกาล... มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ใช้คำว่านิสิตมาก่อนหน้านั้นแล้ว เรียกว่าใช้คำนี้มาแต่อ้อนแต่ออกด้วยซ้ำไป

http://www.pantip.com/cgi-bin/cafe/readfeature.cgi?284


Posted by : นำมาฝาก , E-mail : (mulee_1@hotmail.com) ,
Date : 2006-07-24 , Time : 10:40:17 , From IP : 203.188.43.105


ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.005 seconds. <<<<<