ความคิดเห็นทั้งหมด : 15

การอบรมแพทย์3 จังหวัด


   ความไม่สบายใจในเรื่องการอบเรมแพทย์ที่จบจากต่างประเทศ ในเขต 3 จังหวัดภาคใต้

เรียนท่านคณาจารย์ทุกท่านครับ
ผมเป็นศิษย์เก่า ที่ปัจจุบันทำงานอยู่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ครับ
ขอเกริ่นในเบื้องต้นก่อนนะครับ คือ ในเขต 3 จังหวัด ประสบปัญหาขาดแคลนแพทย์ จึงได้มีการแก้ปัญหาโดยการ จ้าง แพทย์ที่จบจากต่างประเทศ ซึ่งโดยมากเป็นคนในพื้นที่ (เข้าใจว่า ไปเรียนแพทย์ในประเทศ แถบตะวันออกกลางครับ) ซึ่งคนกลุ่มนี้ เคยสอบขอรับใบประกอบโรคศิลป์ของประเทศไทยแล้ว แต่ ไม่ผ่านครับ โดยจะทำการจ้างเอาไว้ ให้ช่วยตรวจ OPD เป็นหลักครับ (ไม่ต้องดู ER,LR และไม่อยู่เวรนอกเวลาราชการ) ซึ่งแพทย์คนอื่นต้องทำการ cover อีกครั้ง (โดยมากจะเป็น ผอ. cover ครับ)
เรื่องที่อยากเรียนให้ทางคณาจารย์ได้ทราบ คือ ตอนนี้ทางกลุ่มนี้ ได้ทำการติดต่อไปทางกลุ่มการเมือง โดยอ้างถึง เหตุผลในด้านความสมานฉันท์ในเขตพื้นที่ เพื่อให้เกิดการอนุมัติใบประกอบโรคศิลป์ (ได้รับข้อมูลอย่างไม่เป็นทางการว่า เคยมีการทำอย่างนี้มาแล้ว หลายครั้งครับ) บางคนก็ได้รับเป็นใบประกอบโรคศิลป์ ชั่วคราว? (เห็นว่าต้องต่ออายุ ปีละครั้ง) บางคนก็ยังไม่ได้
ปัญหาก็คือคราวนี้ ได้มีความพยายามอย่างมาก จนทำให้เกิดการอบรมพิเศษ เป็น เวลา 6 เดือน ที่ ม.อ. ของเราครับ ซึ่งผมก็ได้ข่าวอย่างไม่เป็นทางการอีกแล้วครับ ว่าจะมีการช่วยเหลือให้ได้ผ่าน จนได้ใบประกอบโรคศิลป์ในที่สุด (มีคนกระซิบผมมาว่า ทางการเมืองขอมา?) ในส่วนที่เคยทำงานร่วมกันกับแพทย์กลุ่มนี้ผม พบปัญหาบางประการที่อยากให้ท่านคณาจารย์ทราบ คือ
1. ในแง่ความรู้ทางด้านวิชาการ ค่อนข้างด้อย อยู่มากครับ หลายครั้งจะพบว่า miss diagnosis + malpractice แต่อันนี้ไม่ว่ากันครับ เพราะว่า ถ้าเป็นผม ที่ทำงานใน รพช.นานๆ + ไม่ได้ update วิชาการ ก็คงมีสภาพไม่ต่างกัน จึงเห็นด้วยที่จะให้มีการอบรมความรู้ในครั้งนี้ครับ
2. ในแง่ทักษะ ผมไม่สามารถประเมินได้ครับ เพราะ ไม่เคยเห็นทำหัตถการครับ ซึ่งผมเห็นว่าเป็นปัญหาแน่ครับ ถ้าหากคนกลุ่มนี้ได้รับใบประกอบโรคศิลป์มา เพราะจะทำให้พวกเขา ถือว่ามีสิทธิเป็นแพทย์คนหนึ่ง และตามมาด้วยขอบเขตความรับผิดชอบที่มากขึ้น เช่น อยู่เวรนอกเวลา,ทำหัตถการในห้องคลอด เป็นต้น เพราะต่อให้ได้รับการอบรมพิเศษนี้มา แต่เมื่อกลับมาปฏิบัติงานจริง ผมเชื่อว่ายังต้องมีการ cover กันเหมือนเดิม ซึ่งจะกลายเป็นภาระงานของแพทย์ที่ทำงานใน รพช. ที่แบกรับความเสี่ยงเพิ่มขึ้น (ในพื้นที่ๆ ถ้าเกิดปัญหากับชุมชนแล้ว มีโอกาสเสียชีวิตเอาง่ายๆเลยครับ) หลายท่านอาจคิดว่า ผมคิดมากไป แต่คิดดูง่ายๆ ครับ ถ้าเขา admit case แล้ว Dx. ผิด หรือ miss diag. แล้ว คนไข้ดันมาตายบน ward แพทย์เวร หรือแพทย์ที่ดูต่อจากเค้า ตาย(เสียชีวิต)เอาง่ายๆเลยนะคับ(เพราะที่นี่ บางครั้งเหตุผลก็ใช้ไม่ได้ครับ ใช้ได้แค่ว่า พูดภาษาเดียวกัน หรือศาสนาเดียวกันรึเปล่า แค่นั้นจริงๆครับ)
3. ในแง่คุณลักษณะพื้นฐาน หลายคนที่ผมเคยสัมผัส (หลายคนจริงๆ ครับ เพราะ เคยไปอยู่มาหลายที่แล้ว) พบว่าส่วนใหญ่จะคล้ายกันครับ ในด้านความรับผิดชอบ บางคนที่พบ อยู่ขาดงานไปโดยไม่ทราบสาเหตุ + ไม่แจ้งล่วงหน้า? บางคนรับผิดชอบให้ออกตรวจที่ PCU + เค้านัดคนไข้ clinic DM , HT ไว้ อยู่ๆก็หายครับ ตามไม่ได้ ไม่ไปออกตรวจ บางครั้งตรวจอยู่ใน รพ. คนไข้ก็เต็ม OPD ก็แวปไปนั่งดู TV บางครั้ง บ่าย 2 ก็กลับบ้านไปเฉยๆ ครับ พวกผมยังตรวจกันอยู่ รู้สึกตัวอีกที พยาบาลบอกไปแล้ว บางทีมีคนลา ขอให้เข้ามาช่วย ก็หายไปเฉยๆ โดยส่วนตัว ยอมรับครับว่าบวกอารมณ์ไปด้วยครับ แต่อย่างไรก็ตามผมถือว่า ถ้าอู้กันเล็กๆ น้อยๆ หรือ ผลัดกันไปพัก ผมก็รับได้นะครับ (เพราะปกติก็ทำกัน) แต่หลายครั้ง หลายพฤติกรรม แสดงออกถึงการขาดความรับผิดชอบ ซึ่งผมเห็นว่าเป็นคุณสมบัติสำคัญของแพทย์ที่พึงปฏิบัติครับ และทีสำคัญครับ เมื่อมีการเรียกไปพูดคุย หรือแนะนำความรู้ทางการแพทย์ให้ ก็รับฟังครับ ฟังเฉยๆ ไม่เอาไปใช้ ไม่ค่อยพบนะครับที่จะทำตาม แต่ก็แปลกเหมือนกัน เพราะเค้าก็จะไม่เถียง หรือบางคนก็ไม่แก้ตัวเลย ฟัง+รับคำเฉยๆ จนบางครั้งผมก็เริ่มงงครับว่าเข้าใจจริงหรือเปล่า?
คนกลุ่มนี้ก็มีข้อดีอยู่บ้าง ในด้านที่ช่วยแบ่งเบาภาระ คนไข้ที่เจ็บป่วยเล็กน้อย ที่ OPD ได้บ้าง ช่วยแบ่งเบาภาระในการออกตรวจที่ PCU (ซึ่งมีความเสี่ยงในการเดินทาง) และสามารถพูดภาษายาวีได้ดี ซึ่งทำให้สามารถสื่อสารกับคนไข้ได้สะดวก
สิ่งที่ผมพยายามนำเรียนให้ทราบทั้งหมดนี้ เนื่องจากเหตุผลสำคัญประการเดียวครับ คือ ผมไม่ต้องการให้ มอ. ของเราตกเป็นเครื่องมือของกลุ่มการเมือง ที่ต้องการอาศัยเรื่องนี้ เพื่อเป็นการเอาใจ คนใน 3 จังหวัด (ตามที่อ้างว่าเพื่อความสมานฉันท์ และช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนแพทย์ในคราวเดียว) เพราะถ้าหากเรายอมให้ คนกลุ่มนี้ได้ใบประกอบโรคศิลป์โดยที่มีคุณสมบัติไม่เหมาะสม จะทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมาในภายหลังแทน เช่น
- เพิ่มความเสี่ยงให้กับแพทย์ ผู้ร่วมงาน ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว
- ทำให้คนกลุ่มนี้ (บางคน) เรียกร้องสิทธิอื่นๆ ตามมาอีก เช่น ต้องการเป็นผู้อำนวยการ (ผมเชื่อว่าเค้าสามารถปลุกระดมคนในชุมชนให้เห็นดี ตามเค้าได้จริงๆครับ) , ต้องการย้ายออกไปอยู่นอกพื้นที่ (เพราะถ้าย้ายตอนนี้ ที่อื่นก็คงไม่จ้างให้เป็นแพทย์ ต้องรอได้ใบประกอบโรคศิลป์ก่อน ซึงจะไม่สามารถแก้ปัญหาขาดแคลนแพทย์ได้อยู่ดี)
- และต่อเนื่องจากปัญหาข้างต้น ต่อไปมารตรฐานการดูแลผู้ป่วยก็จะแบ่ง เป็น 2 มาตรฐาน รึเปล่า ถ้าได้รักษากับแพทย์ทั่วไป ก็ได้รับการดูแลแบบหนึ่ง ถ้าไปพบกับคนกลุ่มนี้ (ซึ่งคนทั่วไปไม่รู้) ก็จะได้รับการรักษาอีกมาตรฐานหนึ่ง รึเปล่า แล้วถ้าวันดีคืนดี ผมประสบอุบัติเหตุแล้ว เจอคนกลุ่มนี้เข้า ผมจะตื่นมามีสภาพเหมือนกับ พบแพทย์ทั่วๆไป หรือไม่? หรือถ้าตามพวกเค้าไม่ได้ผมจะตายไม๊?
- อื่นๆ พิมพ์มานานๆ เรื่องที่คิดเอาไว้ ก็ลืมไปดื้อๆครับ
หลายท่านอาจจะคิดว่า ผมวิตกกังวลเกินกว่าเหตุ ไปรึเปล่า แต่ผมก็ขอยืนยันครับว่า ทั้งหมดที่พยายามกล่าวถึงนั้น ได้มาจากประสบการณ์ จริง ที่ได้สัมผัสมาระหว่างปฏิบัติงานใน รพช. ครับ
ท่านคณาจารย์ทั้งหลาย สามารถสอบถามความเห็นไปยัง ผอ.รพช. หรือ ท่าน นพ.สสจ. ได้ครับ แต่คงต้องเป็นทางลับ หรือพูดคุยเป็นการส่วนตัวนะครับ เพราะหลายท่านคงไม่อยากออกความเห็นในประเด็นที่อ่อนไหวทางการเมืองแบบนี้ในที่สาฐารณะ หรือในรูปแบบที่เป็นทางการ (เพราะถ้ามีหลักฐานว่าพูด อาจซวยเอาง่ายๆเหมือนกันครับ)
โดยส่วนตัวผมไม่คิดว่าการได้รับใบประกอบโรคศิลป์ของคนกลุ่มนี้ จะเป็นปัญหาครับ ถ้าหากพวกเค้า ทุกคน ได้มาโดยความสามารถ จริงๆ ไม่มีการเมืองแทรก แต่ก็มีข้อสังเกตว่า คนกลุ่มนี้ เคยสอบขอใบประกอบแล้ว หลายครั้ง ก็ไม่ประสบความสำเร็จ จนในที่สุดก็กลายเป็นการวิ่งเต้นโดย วิธีการต่างๆ จนครั้งนี้ ที่ผมได้ทราบข่าวมา ก็มีความวิตกกังวลอยู่มาก เนื่องจาก ถ้าหากคนกลุ่มนี้ ผ่านได้ เพราะ มอ. เป็นคนอบรม เราก็ต้องถือว่าเค้า ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน เหมือนเป็นศิษย์ มอ. คนหนึ่ง ซึ่งในความเป็นจริง เราต่างก็ทราบว่าไม่ได้เป็นเช่นนั้น ถ้าหากต่อไป คนกลุ่มนี้สร้างปัญหาใดๆก็ตามขึ้น ก็กลายเป็นว่า พวกเราชาว มอ. ต้องร่วมรับไปด้วยรึเปล่า เพราะมาจากสถาบันเดียวกัน ถ้าผ่านมาได้ ก็แปลว่ามาตรฐานเดียวกัน?
ในฐานะศิษย์เก่าคนหนึ่ง ไม่ต้องการให้ แพทย์ มอ. เราต้องตกเป็นเครื่องมือของใครครับ
สุดท้ายคงต้องขออภัยท่านอธิการบดีด้วยครับ ความจริงผมตั้งใจจะส่งผ่านทางสายตรงสู่คณบดี แต่ติดที่ข้อจำกัดที่ว่าต้องเป็นเครือข่ายภายในเท่านั้นครับ

Posted by : ศิษย์เก่า ที่กลัวว่า ม.อ. จะเส


Posted by : แพทย์3 จังหวัด , E-mail : (.) ,
Date : 2006-07-09 , Time : 09:57:44 , From IP : 172.29.3.121


ความคิดเห็นที่ : 1


   พอดีเจอกระทู้นี้ เลยอยากให้มาdiacuss กัน

Posted by : แพทย์5จังหวัด , E-mail : (.) ,
Date : 2006-07-09 , Time : 10:00:26 , From IP : 172.29.3.121


ความคิดเห็นที่ : 2


   เห็นด้วย แต่จะเเก้ไขอย่างไร

Posted by : 001 , Date : 2006-07-09 , Time : 10:33:42 , From IP : 172.29.7.114

ความคิดเห็นที่ : 3


   have to be strong enough to prevent political issue from medical standard......it depends on how tough our seniors are.....everything has consequences - so everybody has to do the best we can do FOR THE QUALITY OF OUR PATIENT CARE

Posted by : ooo , Date : 2006-07-09 , Time : 12:31:46 , From IP : 172.29.5.162

ความคิดเห็นที่ : 4


   เห็นด้วยกับความคิดของคุณแพทย์ 3 จังหวัดมาก เพราะหากรับรองไปแล้ว พวกเขาก็ต้องมีการเรียกร้องต่อเรื่อยๆ ไม่มีการจบสิ้น อีกอย่างรับรองไปโดยที่พวกเขาไม่มีความสามารถพอ สงสารชาวบ้านใน 3 จังหวัดบ้างแค่นี้ก็แย่อยู่แล้ว ตอ้งมาเจอกับหมอที่ด้อยความสามารถอีก ทางคณะน่าจะคิดให้รอบคอบก่อนตัดสินใจนะครับ ขอบคุณ

Posted by : คนไทยที่หน้าสงสาร , Date : 2006-07-09 , Time : 13:47:42 , From IP : 172.29.4.61

ความคิดเห็นที่ : 5


   หมอนะครับ ชีวิตคนทั้งคน ผมว่ามีค่ามากกว่าเรื่องของการเมือง
ผมเห็นด้วยนะ ที่บอกว่าถ้าคนกลุ่มนั้นวินิจฉัยผิดแล้วคนที่มารับเวรต่อ
คนไข้เกิดเสียชีวิตล่ะ เป็นจะเป็นเรื่องที่วุ่นวายมากในสังคมแบบนั้น
อย่างน้อยผมคิดว่าเราน่าแก้ปัญหาโดยการเพิ่มแพทย์ผ่านทางแพทย์ชนบท
จะดีกว่า อย่างน้อยก็ได้ผ่านการสอบมาแลวจริงๆ


Posted by : Comets , Date : 2006-07-09 , Time : 14:00:45 , From IP : 210-86-223-212.stati

ความคิดเห็นที่ : 6


   อย่าให้การเมืองมามีอิทธิพลต่อวิชาชีพของพวกเรานะครับ
ผู้ใหญ่จะต้องช่วยกัน สู้สู้


Posted by : iOdInE , Date : 2006-07-09 , Time : 20:11:52 , From IP : 172.29.4.178

ความคิดเห็นที่ : 7


   อ่านจากกระทู้แล้ว ยังไม่แน่ใจว่าแนะนำว่าอะไรนะครับ ตแคดว่ามีบางข้อมูลที่อาจจะเสริมได้

ประการที่หนึ่ง ม.อ. (หรือสถาบันผลิตแพทย์ที่ใดก็ตามในประเทศ) ไม่ใช่คนที่มีสิทธิอำนาจในการ issue medical license ให้ใคร ตรงนี้ (ถ้าเข้าใจไม่ผิด) เป็นบทบาทของแพทยสภา

ประการที่สอง จากสถานการณ์ที่เล่ามา ดูเหมือนถ้า ม.อ. จะมีบทบาทอะไร ก็คงเป็นเพียงแค่สถาบันทบทวนความรู้ ที่ไม่น่าจะมี curriculum ตามมาตรฐานแพทยสภา (ซึ่งเท่ากับ 6 ปี) ถ้าจะเปรียบ อาจจะเปรียบเหมือนกับการติวสอบ FRCS ที่อังกฤษ ที่เกือบทุกสนามสอบ (Edinburgh, London) จะมี course ที่ว่านี้ แต่ไม่ได้การันตีว่าคนจ่ายเงินมาติว แล้วจะได้สอบผ่าน หรือได้ FRCS โดยลักษณะหน้าที่ของสถาบันผลิตแพทย์ (ไม่ว่าที่ไหน) การมี course ต่อยอด เสริมความรู้ทางการแพทย์ เป็นเรื่องปกติ ขนาดเด็ก ม.อ. เราเอง (หรือที่สถาบันไหนก็ตาม) เรายังไม่การันตีเลยครับว่าที่เข้ามาตอยนปี 1 จะจบพร้อมๆ เท่ากัน ตอนปี 6 รึเปล่า

สรุปคือผมเห็นด้วยว่า medical license นั้นต้องมีมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ แต่ในส่วนว่าคณะแพทย์ควรไม่ควรทำอะไร ยังไม่ใคร่ชัดเจนว่าเจ้าของกระทู้สื่อว่าอย่างไรครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2006-07-09 , Time : 21:47:38 , From IP : 58.147.117.61

ความคิดเห็นที่ : 8


   เรียน เจ้าของกระทู้(คิดว่าไม่น่าจะใช่ผู้เขียนกระทู้)
...
ผมเองก็เคยทำงานในพื้นที่ 3 จังหวัดครับ เคยพบกับพี่ที่เขาจบมาจากต่างประเทศเหมือนกัน ปัญหาที่คุณพบนั้นผมเองไม่เคยพบ แต่เพื่อนที่เคยอยู่เคยพบเคยเล่าไว้หลายๆเรื่อง ผมเองจำรายละเอียดไม่ได้แล้ว
ต้องบอกว่า พี่บางคนก็ดี พี่บางคนก็เป็นอย่างที่คุณว่าครับ โดนส่วนตัวผมเห็นด้วยกับการที่จะให้เขามาทบทวนความรู้ก่อนเข้าสอบ เพราะรู้สึกเห็นใจเขาทั้งๆที่ทำงานในฐานะแพทย์ แต่เขาจะได้รับเงินเดือนเท่ากับลูกจ้าง โดยไม่มีเงินเพิ่มพิเศษไม่ได้สวัสดิการอะไรเลย ถ้าหากสามารถสอบได้ ก็จะเป็นการเพิ่มกำลังคนในพื้นที่ให้มากขึ้นซึ่งเป็นผลดีอย่างยิ่งต่อชุมชน หวังว่าเขาจะนำความรู้ที่ได้ไปใช้อย่างถูกต้องมากขึ้นครับ


Posted by : Botsumu , Date : 2006-07-10 , Time : 05:57:08 , From IP : 172.29.9.163

ความคิดเห็นที่ : 9


   การสอบใบประกอบโรคศิลป์ อยู่ภายใต้การดำเนินการของแพทยสภา และมีเพียงมาตรฐานเดียว และมีเกณฑ์ในการผ่านอยู่แล้ว ไม่มีใครที่จะมีอิทธิพลที่จะเปลี่ยนแปลงผลการสอบ การสอบใบประกอบโรคศิลปะ มีอยู่ 3 ส่วนต้องสอบผ่านทั้ง สามส่วน การที่แพทย์ จาก 3 จังหวัดมาอบรม ไม่ได้หมายความว่าเขาจะสอบได้ แต่อย่างน้อยเขาได้มาทบทวนความรู้ทางการแพทย์ที่ควรจะมี ซึ่งก็เหมือนที่พวกเราทุกคนทบทวนก่อนสอบและมีคนมาติวให้ แต่ก็ไม้ได้หมายความว่าคนที่ได้รับการติวแล้วจะสอบได้ทุกคน ขึ้นกับความสามารถของเขา ผมคิดว่าหากเขาสามารถสอบผ่านได้ก็ต้องรับในความสามารถ เพราะนั่นคือกติกา หากสอบไม่ได้ เขาก็มีสิทธิ์ที่จะเรียนและสอบครั้งต่อๆไปขึ้นกับความต้องการของเขา การที่เขาจะมาทบทวนคงไม่ใช่เรื่องแปลก เป็นการดีเสียอีก ที่เขามีแรงจูงใจอยากที่จะหาความรู้ เพิ่มความสามารถของตัวเอง ผมไม่เห็นว่าจะมีอะไรที่เกี่ยวกับการเมืองเลยหากเขาสอบได้ตามกติกา เขาก็มีศักดิ์และสิทธิ์ในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ดังนั้นอย่าคิดมากไปเลย และพยายามอย่าเอาเรื่องการเมืองเข้ามายุ่ง

Posted by : นรินทร์ , Date : 2006-07-10 , Time : 18:59:56 , From IP : 172.29.7.170

ความคิดเห็นที่ : 10


   คิดว่าเจ้าของกระทู้ต้องเปิดใจกว้างเกิ่ยวกับเรื่องนี้ ปัจจุบันการขาดแคลนแพทย์ในชนบทไทยอยู่ในขั้นวิกฤติ ซึ่งต้องไปเห็นข้อเปรียบเทียบในต่างประเทศจึงจะเห็นความแตกต่างชัดเจน แพทย์กลุ่มนี้จบจากอินเดียและตะวันออกกลางซึ่งมาตรฐานก็อยู่ในเกณท์ที่ยอมรับได้ เพราะที่อังกฤษเมื่อเกือบ 10 ปีที่แล้วก็รับแพทย์จากอินเดียและตะวันออกกลางเยอะโดยได้ training แล้ว ไม่ต้องสอบ licence เพราะเจอหลายคนที่กำลังทำงานอยู่ที่อังกฤษเพราะเขาถือว่าแพทย์เขาขาดแคลน ส่วนจะไม่เก่งหรือไม่รับผิดชอบอยู่ที่ตัวคน เราให้สถานีอนามัยรักษาคนไข้ได้แต่คนที่เรียนมา 5-6 ปีน่าจะมีความเข้าใจทางการแพทย์ดีกว่า มอ. มีการเปิดอบรมให้ถือว่าช่วยเหลือให้มีแพทย์เพียงพอ ไม่น่าจะมีข้อเสียหายอะไร และเป็นข้อดีจะทำให้แพทย์ที่จบเมืองไทยต้องขยันอ่านมากขึ้น เดิ่ยวรู้น้อยกว่าเขา

Posted by : ผ่านมาดู , Date : 2006-07-12 , Time : 09:03:41 , From IP : 172.29.7.219

ความคิดเห็นที่ : 11


    เรียน คณบดี และอาจารย์แพทย์ทุกท่าน
ผมเป็นห่วงแพทย์มอ .ที่ตกเป็นเครื่องมือของนักการเมือง เท่าที่รู้มา แพทย์ใน 3 จังหวัดไม่ขาดแคลนผลิตแพทย์เท่าไหร่ก็ไม่พอจริงหรือ
1. บางคนได้โควต้ามาแต่ก็ไม่สำนึกกับแผ่นดินเกิด บางคนใช้ทุนให้เสร็จๆ แล้วก็ไป เรียนต่อบ้าง ต่างๆนานา จริงๆ ใครที่ได้โควต้า ก็ควรที่จะอยู่ชุมชนนั้นไปตลอดบังคับอย่างน้อย 10 ปีเป็นต้น เพราะสอบเข้าก็ง่ายอยู่แล้ว
2. แพทย์ในพื้นที่ก็ไม่ขาดแคลนอย่างที่คิด ผอ.บางรพ.หรือหมอบางท่านไม่ทำงานก็มีค่อนข้างเยอะ
3.มีการหมุนเวียนแพทย์ปี1 ไปตามชุมชนอยู่แล้ว ไม่เห็นขาดแพทย์ตรงไหน เพื่อนผมอยู่ทั้ง 3 จังหวัดบอกว่ายังไม่เห็นขาดเลยและยังไม่ต้องการคนช่วยงาน เนื่องจากกล้วการแบ่งหารเวรนอกเวลา เช่นจากที่เคยได้60000 กลัวว่าถ้ามีคนเพิ่ม จะได้เหลือ 40000
4. มาตรฐานการเรียนของแพทย์ต่างประเทศไม่เท่าเมืองไทย โรคบางโรคเจอในตะวันออกกลาง แต่ไม่เจอในไทยและไม่พบบ่อยในไทย เพราะฉะนั้นการที่คุณสอบมาทั้งปีทั้งชาติ แล้วไม่ผ่านแสดงว่าคุณไม่ได้สามารถเป็นแพทย์ในเมืองไทยได้ เมืองนอกเค้าก็มีการสอบกัน และ3 จังหวัดชายแดนเป็นแผ่นดินไทย
5.รพ.และส่วนราชการ ในสามจังหวัดชายแดน ต่างพยายามที่จะให้เห็นความสำคัญ ต้องการเงินเพิ่มทุกที่และคิดที่จะหาทางจะได้เงินสนับสนุน เช่นเปิดโรงเรียนแพทย์ทั้งๆ ที่แพทย์แต่ละท่าน บางคนไม่ทำงาน ผลิตแพทย์เพิ่มบ้าบอกันไปใหญ่ และคนที่ผลิตมาก่อนตั้งหลายปี หายไปไหน ทำไมสอบเข้าง่ายแล้วยังไม่สำนึกอีกหรือ


Posted by : แพทย์ , Date : 2006-07-12 , Time : 18:41:39 , From IP : 125.24.2.224

ความคิดเห็นที่ : 12


    เรียน คณบดี และอาจารย์แพทย์ทุกท่าน
ผมเป็นห่วงแพทย์มอ .ที่ตกเป็นเครื่องมือของนักการเมือง เท่าที่รู้มา แพทย์ใน 3 จังหวัดไม่ขาดแคลนผลิตแพทย์เท่าไหร่ก็ไม่พอจริงหรือ
1. บางคนได้โควต้ามาแต่ก็ไม่สำนึกกับแผ่นดินเกิด บางคนใช้ทุนให้เสร็จๆ แล้วก็ไป เรียนต่อบ้าง ต่างๆนานา จริงๆ ใครที่ได้โควต้า ก็ควรที่จะอยู่ชุมชนนั้นไปตลอดบังคับอย่างน้อย 10 ปีเป็นต้น เพราะสอบเข้าก็ง่ายอยู่แล้ว
2. แพทย์ในพื้นที่ก็ไม่ขาดแคลนอย่างที่คิด ผอ.บางรพ.หรือหมอบางท่านไม่ทำงานก็มีค่อนข้างเยอะ
3.มีการหมุนเวียนแพทย์ปี1 ไปตามชุมชนอยู่แล้ว ไม่เห็นขาดแพทย์ตรงไหน เพื่อนผมอยู่ทั้ง 3 จังหวัดบอกว่ายังไม่เห็นขาดเลยและยังไม่ต้องการคนช่วยงาน เนื่องจากกล้วการแบ่งหารเวรนอกเวลา เช่นจากที่เคยได้60000 กลัวว่าถ้ามีคนเพิ่ม จะได้เหลือ 40000
4. มาตรฐานการเรียนของแพทย์ต่างประเทศไม่เท่าเมืองไทย โรคบางโรคเจอในตะวันออกกลาง แต่ไม่เจอในไทยและไม่พบบ่อยในไทย เพราะฉะนั้นการที่คุณสอบมาทั้งปีทั้งชาติ แล้วไม่ผ่านแสดงว่าคุณไม่ได้สามารถเป็นแพทย์ในเมืองไทยได้ เมืองนอกเค้าก็มีการสอบกัน และ3 จังหวัดชายแดนเป็นแผ่นดินไทย
5.รพ.และส่วนราชการ ในสามจังหวัดชายแดน ต่างพยายามที่จะให้เห็นความสำคัญ ต้องการเงินเพิ่มทุกที่และคิดที่จะหาทางจะได้เงินสนับสนุน เช่นเปิดโรงเรียนแพทย์ทั้งๆ ที่แพทย์แต่ละท่าน บางคนไม่ทำงาน ผลิตแพทย์เพิ่มบ้าบอกันไปใหญ่ และคนที่ผลิตมาก่อนตั้งหลายปี หายไปไหน ทำไมสอบเข้าง่ายแล้วยังไม่สำนึกอีกหรือ


Posted by : แพทย์ , Date : 2006-07-12 , Time : 18:42:17 , From IP : 125.24.2.224

ความคิดเห็นที่ : 13


   เท่าที่ได้มีโอกาสพูดคุยกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในโครงการนี้ ท่าทางจะเอาไม่อยู่ครับเพราะเป็นนโยบายของ สปสช. ซึ่งต้องการให้พวกเขาได้ใบประกอบโรคศิลป์ ถ้าไม่ได้เขาได้เตรียมช่องทางกันไว้แล้วครับ ให้สามารถตรวจรักษาโรคได้เหมือนแพทย์ทั่วไป สรุปว่าท่าทางเอาไม่อยู่แน่ ๆ ครับ

Posted by : งักปุกคุง , Date : 2006-07-12 , Time : 23:52:57 , From IP : 172.29.7.122

ความคิดเห็นที่ : 14


   See....politics are human.good man can find good balance.

Posted by : ooo , Date : 2006-07-13 , Time : 04:57:49 , From IP : 172.29.5.162

ความคิดเห็นที่ : 15


   ถ้าหากเขาสอบไม่ได้ เขาก็ไม่ได้เป็นแพทย์อย่างแน่นอน แต่ที่เตรียมไว้สำหรับคนที่สอบไม่ผ่าน คงเป็นเพียงตำแหน่งผู้ช่วยแพทย์ หรืออะไรที่สามารถอยู่ตาม PCU เป็นต้น แต่ไม่ใช่เป็นแพทย์เถื่อนอย่างที่ผ่านมา และไม่ใช่ขี้โกงให้เขาได้ license แน่นอน

Posted by : รู้จริง , Date : 2006-07-26 , Time : 21:19:04 , From IP : ppp-210.86.185.7.rev

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.005 seconds. <<<<<