ความคิดเห็นทั้งหมด : 2

Debate XCVI: Contemplative Education


   ในการเรียนการศึกษานั้น อาจจะแบ่ "พิสัย" เป็น 3 ประการคือ cognitive, psychomotor และ affective หรือ attitude domains ทั่วๆไปหมายถึงปัญญาพิสัย ได้แก่ความรู้ในเนื้อหา จลนพิสัยได้แก่ความเชี่ยวชาญชำนาญในการใช้ ในการลงมือทำ ในการแสงดออก และเจตคติพิสัยคือากรมีอารมณ์ความคิดสอดคล้องกับวัตถุประสงค์อันดีของศาสตร์นั้นๆ วิธีการเรียนแบบต่างๆที่ไม่เหมือนกัน ส่วนหนึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าต้องการเน้น หรือให้ได้ตรงกับพิสัยไหน เพราะต่างวิธีก็จะได้ต่างมิติ

อ่านมาก ท่องมาก ฟังมาก ทำความเข้าใจมากก็จะเกิดปัญญาความรู้ ดูตัวอย่างเยอะๆ ลองทำใน model มากๆ เข้าช่วยบ่อยๆ มีคนมาคุมให้ทำ ก็จะเพิ่มความเชี่ยวชาญชำนาญ แต่ทว่าอย่างใดจึงจะทำให้เกิด "เจตคติ"? ให้คะแนนเมื่อทำดี? ทำโทษเมื่อทำผิด? สังคม role model ฯลฯ ปัญหาอยู่ที่อะไรกันแน่ที่เป้นกลไกสำคัญในการ shape thinking process หรือสร้าง thinking model ในสมองเรา?

การณ์ก็ปรากฏว่า science and technology มีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว แต่ morality หรือ ethics กำลัง collapse ลง มีนับสำคัญลดลง อะไรที่สมัยก่อนคิดได้แต่ไม่กล้าพูดออกมาดังๆ ก็กลายเป็นเรื่องธรรมดาที่จะพูดคุยกัน เป็นสทธิ เป็น autonomy ไปโน่นที่จะคิดอย่างไร ทำอย่างไรก้ได้ รวมไปถึงการคิด การทำงาน อย่างเห็นแก่ตัว เห็นแก่ได้ กลุ่มนักการศึกษาจึงได้รวมกันแลกเปลี่ยน ปรึกษา และออกมาเป็นอีก model หนึ่งของการศึกษาที่น่าสนใจ นั่นคือ contemplative education

Contemplative education เป็นระบบการเรียนในศาสตร์ใดๆก็ได้ เน้นที่ประสบการณ์การเรียนนอกเหนือจาก outcome และข้อสำคัญคือการพัฒนารับรู้ถึง "ความเชื่อมโยง" ของสองตำแหน่ง คือ ศาสตร์ที่เราเรียนรู้อยู่นี้ รู้แล้วมันทำให้เราเป้นคนดีขึ้นกว่าตอนที่ไม่รู้อย่างไร มันเพิ่ม internal value เข้าไปได้อย่างไร กบัอีกความเชื่อมโยงคือ ศาสตร์ที่เรากำลังเรียน กำลงัจะกลายเป็นอาชีพของเรานี้ มันมีประโยชน์ ความสัมพันธ์อย่างไรกับสังคม คนรอบข้าง ชุมชน และสิ่งแวดล้อม

เชื่อว่าสาเหตุที่ morality ขาดหายไปในทุกๆสาขาการศึกษา เป็นเพราะการเรียนแบบเป็นเศษๆ เป็นส่วนๆ ไม่เห็นความเชื่อมโยงของ "คุณค่า" ที่ว่า ดังันั้น value จึงสามารถ shift ไปเป็นเรื่องอื่นๆที่เป็นผลพลอยได้ เช่น ค่าตอบแทน เช่นฐานะทางสังคม เงินทอง ไปแทน ถ้าเราสามารถบรรจุความทเชื่อมโยงของ value ของศาสตร์ต่างๆนี้ลงไปในการเรียน คุณธรรม จริยธรรมจะตามมาเอง หรือจะไม่หายไปไหน เป็นวิศวกร เก่งก็เพราะเราสมารถออกแบบสร้างถนน สร้างตึกได้ปลอดภัย เป็นงานที่มีความรับผิดชอบสูง ต้องมีหน้าที่ภาระสูง เป็นคุณค่าภายใน เป้นงานที่เมื่อทำได้ดี ไม่โกง spec ใช้วัสดุก่อสร้างที่ได้มาตรฐานตามที่หลักวิชาคำนวณไว้ สร้างถนน สร้างตึกออกมาก็จะปลอดภัย มั่นคง ประชาชนมีความสุข ความเชื่อมโยงของ intrernal value ของตนเองกับศาสตร์ และศาสตร์กับสิ่งแวดล้อมสังคมนี้ เป็นเสมือนหิริโอตัปปะ และเป็นเสมือนการสร้างความรู้สึกถึงหน้าที่ความรับผิดชอบต่อคนอื่น มีการคำนึงถึงผลกระทบต่อผู้อื่นมาสมดุลกับคุณค่าของตนเองได้ตลอดเวลา

อาชีพแพทย์นั้น สามารถหา internal value ได้ตอนไหน? ตอนได้เงินเเดอน เลื่อนขั้น หรือได้ตำแหน่งวิชาการ? internal value ของแพทย์อาจจะได้อีกตอนหนึ่งคือ ตอนที่เรากำลังปฏิบัติหน้าที่ความเป็นเพทย์ ก็เป็นไปได้ ตอนที่ นศพ. ทำแผลให้คนไข้ อาจจะไม่ได้สังเกตว่าคนไข้เขาขอบคุณเราอยู่จากทางหน้าตา ความรู้สึก ตอนที่เรามาคุยทักทายปราศัยตอนราวน์ ทั้งๆที่ยังไม่ได้สั่ง order อะไรเลย แตกิจกรรมนี้สร้างความอบอุ่นใจ ความมั่นใจ และความสัมพันธ์บวกที่ว่าคนกลุ่มนี้มาทำงานเพื่อคลายทุกข์ให้เขา ถ้าเราทำงานของเราให้ดี ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และคนอื่นๆเป็นอย่างไร? แผลหายเร็ว เขากลับไปหาลูกเมียที่บ้านได้เร็ว ทำงานได้เร็ว ประหยัดค่าใช้จ่าย ฯลฯ ไม่ใช่เรื่องยากเลยที่เราจะ aware เรื่องเหล่านี้

แต่เราได้ awareness เรื่องเหล่านี้บ้างหรือไม่?

ถ้า aware เรื่องเหล่านี้แล้ว เรารู้สึกอย่างไรกับงานที่ทำอยู่ปัจจุบัน และงานที่เรากำลังจะทำในอนาคต?

ก็อาจจะเป็นประเด็นที่น่าสนใจ น่าวิเคราะห์ น่าจะสะท้อน (เมื่อพอมีเวลา)

ลองเคาะลงไปใน google หาคำ contemplative education แล้วลองมาอภิปรายกันดูไหมว่ามันคืออะไร ทำอย่างไร ดีไม่ดีตรงไหน?

Be Civilized, Be Positive, and Be Mature





Posted by : Phoenix , Date : 2006-07-03 , Time : 00:55:47 , From IP : 124.157.177.49

ความคิดเห็นที่ : 1


    กระผมคิดว่า ตราบใดที่ โลก มีสุข และทุกข์ นั้น การเรียนรู้ก็เพื่อตามหาสิ่งเหล่านี้ ไม่ว่ามาจากกระบวนการใด ก็เพื่อ ความสุข และหนีความทุกข์
หากสามารถหามาได้โดยวิธีที่ถูกต้อง และครบถ้วน ไม่จำเป็นต้องเป็นแค่ จิตปัญญาศึกษา
แต่สภาวะที่มนุษย์มีเหนื่อย มีว้าวุ่น มีเห็นแก่ตัว ไม่ยอมพิจรณาคุณค่าต่างๆ ให้ถ่องแท้ ย่อมเข้าถึงความไม่เบียดเบียนได้ยากยิ่ง

การใคร่ครวญ ก็เป็นสิ่งจำเป็น เป็นการช่วยเตือนสติไม่ให้หลงใหล สิ่งที่ไม่น่าหลงใหล ทุกข์ควรกำหนด รู้ รู้ว่า อะไรคือทุกข์ ทำแล้วจะเกิดอะไร
วิธีแก้ปัญหา คืออะไร

สรุป คือ ไม่ว่าสอนเท่าไหร่ ถ้ามนุษย์ไม่ขวนขวายจะหามาใส่ตัวเองคงยากที่บ่มเพาะให้เจริญ แต่คนจะหา มาใส่ตัว จะกีดขวางเท่าไหร่คงหามาได้เอง



Posted by : fahrenheit911 , Date : 2006-09-04 , Time : 01:43:02 , From IP : 125.24.145.160

ความคิดเห็นที่ : 2


   วันอังคารที่ 24 ตุลาคม 2549 นี้ มีบรรยายพิเศษเรื่อง
เสวนา "จิตตปัญญาศึกษา" Contemplative Education ณ ห้องทองจันทร์ เวลา 14.30-16.30
โดย นพ.วิธาน ฐานะวุฑฒ์ และ อาจารย์ณัฐฬส วังวิญญู
ขอเชิญทางผู้สนใจเข้ารับฟังและอภิปราย

อาจารย์วิธาน และอาจารย์ณัฐฬส จบการศึกษาวิชา Contemplative Education (จิตตปัญญาศึกษา) มาจากมหาวิทยาลัยนาโรปะ ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้จัด workshop แก่บุคลากรด้านการศึกษา และบุคลากรด้านการดูแลสุขภาพ ว่าด้วยการใช้หลักการการสื่อสารการฟังอย่างมีเมตตากรุณา บูรณาการกับความรู้ทางวิชาชีพได้ทุกสาขา ซึ่งบุตรชายอาจารย์วิจารณ์ พานิช ก็กำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยนาโรปะอยู่ ณ ขณะนี้

เรื่องจิตตปัญญาศึกษานี้กำลังเป็นที่สนใจในหมู่นักการศึกษา มีโครงการวิจัยดำเนินอยู่โดยมหาวิทยาลัยมหิดล และคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กลุ่มที่สนใจเรื่องนี้ เช่น กลุ่มจิตต์วิวัฒน์ ที่มี ศ.นพ.ประเวศ วะสี, นายแพทย์โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ผอ.สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ อยู่ในกลุ่มด้วย



Posted by : Phoenix , Date : 2006-10-11 , Time : 16:07:46 , From IP : 172.29.3.231

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.006 seconds. <<<<<