ความคิดเห็นทั้งหมด : 1

ตอบคนอยากบริจาคร่างกาย


   2. บริจาคพลาสม่า, เกร็ดเลือด, เม็ดเลือดแดง, เม็ดเลือดขาว หรือไขกระดูก ควรไปแสดงความจำนงด้วยตนเองที่ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ถ. อังรีดูนังต์ ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทรศัพท์ 02-252-4106-9 ต่อ 113, 114, 157, 161 162

หมายเหตุ
เพราะการต้องการเป็นผู้บริจาคเฉพาะในส่วนนั้น ๆ เพียงอย่างเดียวทุกครั้งที่ไปบริจาค ต้องผ่านกระบวนการบางอย่าง เช่น พลาสม่าต้องผ่านการทดสอบผลของผู้บริจาคและต้องผ่านการฉีดวัคซีนไม่น้อยกว่า 3 ครั้ง, การต้องการเป็นผู้บริจาคเกร็ดเลือดเพียงอย่างเดียวทุกครั้งต้องผ่านการเจาะหาจำนวนเกร็ดเลือดและได้รับเลือกเป็นผู้มีเกร็ดเลือดสูงเท่านั้น ( ส่วนกรณีที่พยาบาลห้องเกร็ดเลือดมาดักที่เคาน์เตอร์ผู้บริจาคเลือดนั้น เพราะมีความต้องการฉุกเฉินเข้ามา ) ส่วนรายละเอียดเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวก็ต้องลองติดต่อเป็นพิเศษ และไขกระดูกผู้บริจาคต้องให้ตัวอย่าง DNA ไว้แก่สภากาชาดไทยด้วย

3. การบริจาคดวงตา ติดต่อ ศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทย อาคารเทิดพระเกียรติสมเด็จพระญาณสังวร ( เจริญ สุวฑฺฒโน ) ชั้น 7 ถนนอังรีดูนังต์ ปทุมวัน กทม 10330 โทรศัพท์ขอใบแสดงความจำนงหรือสอบถามได้ที่ (02) 2528181-9 ต่อศูนย์ดวงตา (02) 2564039-40, (01) 9025938 ตลอด 24 ชั่วโมง โทรสาร (02) 2524902 E-mail: eyebank@redcross.or.th www.redcross.or.th

4. การบริจาคอวัยวะ หัวใจ, ตับ, ปอด, ไต และอวัยวะทุกส่วนของร่างกายที่ใช้เป็นประโยชน์ได้ ( ยกเว้นดวงตา, กระดูก, เนื้อเยื่อชีวภาพ ) ติดต่อได้ที่ ศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย อาคารเทิดพระเกียรติสมเด็จพระญาณสังวร ( เจริญ สุวฑฺฒโน ) ชั้น 5 ถ. อังรีดูนังต์ ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทรศัพท์ 1666

5. การอุทิศร่างกายเพื่อการศึกษาแพทย์ ( ใช้ร่างเป็นอาจารย์ใหญ่ ) ติดต่อฝ่ายเลขานุการ ห้องหมายเลข 2 ตึกอำนวยการ ชั้นล่าง โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย หมายเลขโทรศัพท์ 02-256-4628 เวลาราชการ

6. การบริจาคกระดูกและเนื้อเยื่อ ติดต่อได้ที่ ธนาคารกระดูกและเนื้อเยื่อประเทศไทยในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ สำนักงานชั่วคราว : ศูนย์เนื้อเยื่อชีวภาพกรุงเทพฯในพระอุปถัมภ์ อาคารสลากกินแบ่งรัฐบาล ชั้น 3 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล บางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700 โทรศัพท์ขอใบแสดงความจำนงค์หรือสอบถามที่ 02-419-7524-5, 7 โทรสาร 02-411-2506


การบริจาคแต่ละอย่างก็จะได้รับบัตรพกพาติดตัวของแต่ละชนิดไม่เหมือนกัน เช่น บางคนต้องการบริจาคเฉพาะดวงตา แต่ไม่บริจาคอวัยวะ จึงไม่สามารถนำมาปะปนกันได้ ตามความเห็นของผมน่าจะใช้กฏหมายอย่างบางประเทศ คือ เมื่อผู้ป่วยหรือผู้ประสบอุบัติเหตุถึงแก่กรรม ทางรัฐบาลหรือสภากาชาดของประเทศนั้น ๆ มีสิทธินำอวัยวะทุกชิ้นส่วนไปปลูกถ่ายหรือใช้ประโยชน์ได้ตามความเป็นจริงและตามจรรยาแพทย์

ขณะนี้มีผู้แสดงความจำนงบริจาคอวัยวะภายในแล้วถึง ๒๐๐,๐๐๐ คน แต่จากจำนวนผู้บริจาคอวัยวะและผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะระหว่างเดือนมกราคม - มิถุนายน ๒๕๔๖ มีเพียง ๒๐๕ รายเท่านั้น คือเฉลี่ยสามารถปลูกถ่ายได้ไม่เกิน ๔๐๐ รายต่อปี แต่ขณะนี้มีผู้ป่วยที่ลงทะเบียนเป็นผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะถึงอีก ๑,๑๐๐ กว่ารายและเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ( ตามความเห็นของผมถ้าหากจะให้ทันแก่กาลและเพียงพอแก่ปริมาณ ต้องมีผู้แสดงความจำนงค์ไม่ต่ำกว่า ๑ ล้านคนขึ้นไป )


Posted by : uud , Date : 2003-08-14 , Time : 15:13:32 , From IP : 172.29.2.163

ความคิดเห็นที่ : 1


   อาจจะไม่เชิงจำนวนผู้บริจาคอย่างเดียวครับ อย่าลืมว่ามีคนบริจาคเราต้องรอเขาตายก่อนจึงจะได้อวัยวะ (in most cases) ยิ่งเดี๋ยวนี้คนอายุยาวนานมากขึ้นๆ ถ้าประเทศเราพัฒนา อุบัติเหตุลดลงยิ่งมี donor organs น้อยลงไปอีก จึงไม่รู้ว่าโชคดีหรือโชคร้ายที่เรายังมี motorcycle accident ที่จะ serve เป็น donor อยู่ค่อนข้างมาก



Posted by : Phoenix , Date : 2003-08-14 , Time : 15:17:06 , From IP : 172.29.3.160

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.031 seconds. <<<<<