ความคิดเห็นทั้งหมด : 11

มวล. ระดมแพทย์ หารือเรื่องการเตรียมการจัดการเรียนการสอนชั้นคลินิกของโรงพยาบาลร่วมผลิต


   ดร.สุพัทธ์ พู่ผกา อธิการบดี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยมี รองศาสตราจารย์ นพ.บรรเทอง รัชตะปีติ ศาสตราจารย์ นพ.สุจินต์ อึ้งถาวร ศาสตราจารย์ นพ.สัจพันธ์ อิศรเสนา นายแพทย์กิตติ รัตนสมบัติ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลท่าศาลา นายแพทย์สมนึก เชื้อทอง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลตรัง ผู้บริหารและคณะแพทย์จากโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต และคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เข้าร่วมประชุมฯ เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2549 ณ ห้องโมคลาน ชั้น 2 อาคารบริหาร


ที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องการเตรียมการในส่วนของโรงพยาบาลร่วมผลิต ภารกิจของโรงพยาบาลร่วมผลิตในการจัดการเรียนการสอนชั้นคลินิก และการหารือเรื่องงบดำเนินการเมื่อนักศึกษาแพทย์เรียนชั้นคลินิกในโรงพยาบาลร่วมผลิต นอกจากนี้ ที่ประชุมรับทราบเรื่องการประสานงานระหว่างกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงสาธารณสุข การประสานงานระหว่างกลุ่มคณะแพทยศาสตร์ใหม่ 8 สถาบัน และการเตรียมการเพื่อเปิดสอนหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์


อนึ่ง มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จะเปิดสอนหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต รุ่นที่ 1 ใน ปีการศึกษา 2550 โดยมี “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เป็นสถาบันพี่เลี้ยง และโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต โรงพยาบาลตรัง โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช โรงพยาบาลทุ่งสง โรงพยาบาลท่าศาลา และโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เป็นสถานที่เรียนชั้นคลินิก

วันที่ประกาศ 15/06/2549

ผู้ส่งข่าว ส่วนประชาสัมพันธ์


Posted by : bbnn , Date : 2006-06-16 , Time : 00:58:20 , From IP : ppp-124.120.11.216.r

ความคิดเห็นที่ : 1


   ขอให้รักษามาตราฐานวิชาชีพด้วย

Posted by : เกิดเป็นคนไทยเหมือนกัน , Date : 2006-06-16 , Time : 11:27:14 , From IP : 172.29.1.140

ความคิดเห็นที่ : 2


   แสดงความยินดีด้วย คณะแพทย์ที่เก่าแก่ที่สุด ครั้งที่จัดตั้งครั้งแรกเลยนั้นอาจไม่พร้อมเท่านี้ด้วยซ้ำ แต่ก็พัฒนาจนเป็นที่พึ่งของชาวประชาได้ ทุกวันนี้อะไรก็เร็วตามกระแสIT อาจารย์แพทย์ก็เก่งๆทั้งนั้น ตำราเรียนก็มีมากมาย หาได้ไม่ยาก ค่อยๆพัฒนาไป 10 ปีคณะแพทย์ มวล.คงจะได้เห็นในอีก 10 ปีข้างหน้าพร้อมกับคุณภาพที่เป็นที่พึ่งพิงของคนเจ็บป่วยอีกสถาบันหนึ่งของภาคใต้

Posted by : mark , Date : 2006-06-16 , Time : 13:11:23 , From IP : sqcache4.kku.ac.th

ความคิดเห็นที่ : 3


   จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เป็นสถาบันพี่เลี้ยง

แปลว่าอะไรเหรอ ???


Posted by : fragile cerebrum , Date : 2006-06-16 , Time : 14:51:57 , From IP : 192.168.41.174

ความคิดเห็นที่ : 4


   กสพท และ หรือ แพทยสภา มีเงื่อนไขว่าสถาบันที่เปิดคณะแพทย์เปิดใหม่8 ที่ ต้องมีสถาบันพี่เลี้ยงที่เปิดมาแล้วอย่างน้อย 20 ปี ช่วยเหลือด้านต่างๆๆ เช่น วิชาการ การสอน วิจัย ให้คำปรึกษา และหลักสูตรแพทยศาสตร์ มวล ก็คล้ายกับ หลักสูตร พ.บ. ของจุฬาลงกรณ์ ร้อยละ 90 เลย คับ

Posted by : chula..49 , Date : 2006-06-17 , Time : 01:06:45 , From IP : ppp-124.120.3.193.re

ความคิดเห็นที่ : 5


   ทราบข่าวมาว่าแพทยสภาไม่อนุมัติให้โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราชเป็นสถาบันหลักครับ มีการแจ้งข่าวภายในโรงพยาบาลอย่างไม่เป็นทางการว่าแพทยสภาไม่อนุมัติครับ

ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ทาง มวล. ควรแก้ไขข้อมูลในเว็บไซท์ เพื่อความถูกต้องนะครับ

โรงพยาบาลตรังและวชิระภูเก็ตต้องรีบจัดการพัฒนาอาจารย์แพทย์อย่างรีบด่วน เพื่อจัดให้แพทย์ประจำโรงพยาบาลมีศักยภาพในการเรียนการสอนได้ เพื่อคุณภาพของแพทย์ในอนาคตครับ


ขอบคุณครับ


Posted by : พี่น้อง , Date : 2006-06-17 , Time : 07:49:09 , From IP : 58.147.114.222

ความคิดเห็นที่ : 6


   ทำไมแพทยสภาไม่อนุมัติให้ รพ.มหาราช เป็นสถาบันหลักอะ ข่าวแน่นอนยังอะคับหรือแค่เขาพูดกัน คุณพี่น้อง ช่วยแจ้งข่าวหน่อย หรือเป็นเพราะมีแพทย์ชนบทของมหิดล รุ่นละ 16 คน แล้ว ทำให้จัดการเรียนลำบาก และ นศพ มากเกินไปป่าวอะ ในความคิดผมนะ เดี่ยวก็อนุมัติผ่านหมดละ เท่าที่เคยเห็นมา จาก แถวๆๆภาคอีสาน

Posted by : b.m.---ku--cu. , Date : 2006-06-17 , Time : 10:18:45 , From IP : ppp-124.120.6.173.re

ความคิดเห็นที่ : 7


   ที่ทราบมาเนื่องจากมีประกาศจากประธานองค์กรแพทย์ว่าแพทยสภาพไม่อนุมัติหลักสูตรที่จะให้โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราชเป็นสถาบันหลัก เนื่องจากจะทำให้มีสองหลักสูตรในสถาบันเดียวครับ (เขียนติดไว้ในห้องพักแพทย์)

ถามพี่ ๆ แล้วเขาบอกว่าเคยมีแห่งหนึ่งพยายามเปิดสองหลักสูตรในสถาบันเดียวแบบนี้เช่นกัน แต่แพทยสภาก็ไม่รับรองครับ กรณ๊นี้น่าจะเป็นไปด้วยเหตุผลเดียวกัน


สำหรับการเรียนการสอน ตอนนี้นักศึกษาที่ผลิตเองของโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช (สามปีแรกเรียนที่มหาวิทยาลัยมหิดล) รับปีละ 16 คน ปีล่าสุด (2549) นี้รับเพิ่มเป็น 24 คน และทราบมาว่าปี 2550 จะเพิ่มเป็น 32 คนครับ

ถ้ารับของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์อีก จะกลายเป็น 32+48 = 80 คนต่อปี ซึ่งด้วยศํกยภาพของโรงพยาบาลและ staff ไม่มีทางรับนักเรียนได้มากขนาดนี้แน่นอนครับ ...ลองนึกภาพว่านักเรียนปีละ 80 คน สามปีรวมกัน 240 คน ซึ่งเกินกำลังครับ

มีคนพยายามจะบอกว่าให้ยุบรวมกัน หรือรับโอนนักศึกษาจาก ม.มหิดลมาเป็นของ ม.วลัยลักษณ์ คือเปิดรับเองที่นครศรีธรรมราช รับนักศึกษาจากในท้องถิ่นและในภูมิภาค แล้วก็จัดการเรียนการสอนครบวงจรในจังหวัด แต่ก็คงทำไม่ได้ครับ เนื่องจากโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชนบทที่ส่งนักเรียนไปเรียนพรีคลีนิกที่มหิดล กับโครงการเร่งรัดผลิตแพทย์เพิ่ม (megaproject) นั้นเป็นคนละโครงการกัน ตามนโยบายของรัฐบาลนั้นต้องการผลิดเพิ่มขึ้นไปจากโครงการเดิมที่เคยทำไว้แล้ว จึงรวมกันไม่ได้ (จำนวนรวมจะลดลง)


ขออภัยด้วยครับที่ตอบครั้งแรกไม่ละเอียด

นี่ก็กลัวเรื่องกำลังภายในเหมือนกันครับว่าเขาจะดันให้ผ่านไปได้หรือไม่ อย่างที่คุณ b.m.---ku--cu. บอกครับ


ตามโครงการนั้นจะให้ รพ.มหาราชเป็นสถาบันหลักด้วย (ปัจจุบันใน website ของ มวล.ก็ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง) ประกอบกับทั้ง รพ.ตรัง และ รพ.วชิระภูเก็ต นั้นยังไม่เคยจัดการเรียนการสอนมาก่อน ถ้าต้องส่งนักเรียนมาจริง ๆ ก็คงไม่แคล้วมาที่ รพ.มหาราชเป็นแน่ แต่ถ้าแพทยสภาไม่อนุมัติ นักเรียนก็จะต้องไปเรียนที่ภูเก็ตหรือตรัง ซึ่งในเวลาสามปีต่อจากนี้ ทั้งสองแห่งจะต้องรีบเพิ่มความสามารถของโรงพยาบาลและกลุ่ม staff เพื่อรองรับงานที่เพิ่มขึ้นอย่างมากต่อไป

ใจหนึ่งก็ดีใจที่ไม่ต้องรับงานเกินกำลัง
อีกใจก็สงสารเด็กรุ่นน้องรุ่นลูกที่จะต้องเผชิญกับปัญหาการเร่งผลิตแพทย์เกินกำลังของผู้ผลิต ซึ่งจะก่อปัญหาคุณภาพตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้


Posted by : พี่น้อง , Date : 2006-06-17 , Time : 14:31:10 , From IP : 124.157.183.19

ความคิดเห็นที่ : 8


   เท่าที่ทราบมา แพทย์ชนบท โครงการ5 ปี มข มีการส่ง นศพ.ไปเรียนที่ 3 หลังที่รพ.สรรพประสิท อุบลด้วย และ ปีนี้ ม.อุบลก็เปิดรับ นศพ ไปแล้ว ไม่แน่ใจว่าเมื่อ นศพ ม อุบลขึ้นชั้นคลีนิค แล้วต้องไปเรียนที่ สรรพสิทธิ์ มข จะหยุดส่งไปหรือป่าว ก็คือรับได้อีกปีนี้เป็นปีสุดท้าย ถ้าส่งไปเรียนที่ รพ.สรรพ อีก ก็ สองหลักสูตรเหมือน case มหาราชอีก

ผมก็อยากให้มีการเรียนที่มหาราชมากกว่าที่ตรังหรือภูเก็ต เพราะสอนอยู่แล้ว แต่ นศพ 80 คน มันมากจิงๆๆ รพ มหาราช คนก็ล้นอยู่แล้ว ผมเคยอ่านรายงานการประชุม ของกระทรวง สธ เขต 16 18 19 ครั้ง 1/49 ว่า ม. นราธิวาส จะส่ง นศพ เรียนชั้นคลีนิคที รพ.สงขลา กับ รพ ตรัง ก็เข้ากรณี 2 หลักสูตรที่เดียวกันอีก


ฉนั้น เหลือแต่ รพ.วชิระ ภูเก็ต ที่เดียว ในที่สุด น่าจะไม่พ้นมหาราชอีกแน่ๆๆ คอยติดตามข่าวกันต่อไป


Posted by : เบญจมราชูทิศ นครศรี_ ม.เกษตรศา , Date : 2006-06-17 , Time : 19:49:28 , From IP : ppp-124.120.11.4.rev

ความคิดเห็นที่ : 9


   เห็นทีว่าคงจะลำบากครับ ถ้าต้องเพิ่มเป็น 80 คน คงเข้าสู่วิกฤตอย่างแน่นอนครับ

ปัจจุบันที่ประเมินจำนวนนักเรียนกันไว้ เฉพาะของ รพ. มหาราช เองคงได้ไม่เกิน 32 คนเท่านั้นครับ โดยนับจำนวน staff ประมาณ 80 คน (เป็น staff ที่สอนได้นะครับ ไม่ใช่ staff ทั้งหมด นั่นคือไม่นับ staff ที่ทำบริหารและ staff อาวุโส และยังมี staff อีกจำนวนหนึ่งที่ไม่รับงานสอนครับ) ถ้าจะเอาเด็กจาก มวล. มาเพิ่มคงจะเกินความสามารถจริง ๆ ครับ


นักเรียนปีละ 32 คน รวมสามปีก็เกือบร้อยคน กับสถาบันใหม่ที่ยังขาดประสบการณ์ และการเรียนการสอนก็ไม่ได้เป็นหน้าที่หลัก คงต้องมีการสนับสนุนที่ดีกว่านี้ครับถึงจะสอนได้

ปัจจุบันนี้ศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาที่ตั้งขึ้นในโรงพยาบาลก็เป็นศูนย์ที่ต้งกันขึ้นมาลอย ๆ ไม่ได้มีระเบียบราชการใด ๆ รองรับ ไม่สามารถสั่งการได้ ไม่มีอำนาจบริหาร (นอกจากบริหารลูกจ้างในศูนย์เอง) งบประมาณพัฒนาอาจารย์ส่วนหนึ่งก็ไม่ได้เอามาใช้อย่างเต็มที่และถูกต้อง

ถ้าเป็นอย่างนี้คงต้องเหนื่อยกันหน่อยครับ ยังไงก็คอยดูข่าวคืบหน้าต่อไปครับ


Posted by : พี่น้อง , Date : 2006-06-18 , Time : 18:48:45 , From IP : 58.147.24.204

ความคิดเห็นที่ : 10


   โรงเรียนแพทย์ที่จะทำการเปิดใหม่อีก 8 แห่งมีที่ไหนบ้างครับ

Posted by : TU hospital , Date : 2006-06-20 , Time : 03:36:34 , From IP : 203-151-140-114.inte

ความคิดเห็นที่ : 11


   มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
มหาวิทยาลัยบูรพา
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

ทั้งหมดแปดแห่งครับ


Posted by : พี่น้อง , Date : 2006-06-20 , Time : 05:40:15 , From IP : 58.147.113.50

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.006 seconds. <<<<<