ความคิดเห็นทั้งหมด : 7

วิธีบอกข่าวร้าย


    อยากถาม อ. นกไฟ หรือผู้ที่มีประสบการณ์ว่า เราจะมีวิธีบอกข่าวร้ายแก่ญาติอย่างไร หรือกรณีคุณครูจูหลิง ต้องบอกข่าวแก่ญาติผ่านสื่อโดยไม่ตั้งใจ ควรมีหลักการในการพูดอย่างไร

Posted by : แลกเปลี่ยน , Date : 2006-05-23 , Time : 15:10:32 , From IP : 172.29.1.190

ความคิดเห็นที่ : 1


   The SPIKES approach: Setting up, Perception, Invitation, Knowledge, Emotions, Strategy and summary
Setting up: สถานที่ ก่อนอื่นจะเลือกสถานที่จะแจ้งข่าวร้ายก่อน เลือกสถานที่ที่เป็นกันเอง มิดชิด ให้ผู้ป่วยและญาติที่ดูแลผู้ป่วยไม่กี่คน ไม่มากจนเกินไป ผ่อนคลายพร้อมที่จะรับฟัง ในห้องพิเศษก็ดีครับ ส่วนเตียงสามัญไม่มิดชิดแต่ก็อนุโลมได้บ้าง
Perception: ก่อนจะบอกข่าวร้าย ต้องประเมินผู้ป่วยก่อนว่าพร้อมจะรับกับข่าวร้ายหรือยัง เช่นถามว่า คุณคิดว่าอาการที่มาพบแพทย์น่าจะมีสาเหตุมาจากอะไร? คุณกังวลว่าจะเป็นอะไร?
Invitation: เริ่มเกริ่นนำเข้าสู่การบอกข่าวร้าย และบอกข่าวร้ายแก่ผู้ป่วยและญาติ ที่สำคัญคือผู้ป่วยต้องพร้อมที่จะรับฟัง เราอาจจะถามนำไปว่า หมอมีผลการตรวจจะบอกกับคุณ คุณตกลงมั้ย?
Knowledge: ให้ข้อมูลการรักษาแก่ผู้ป่วยและญาติ มีการถามตรวจสอบเป็นระยะว่าผู้ป่วยและญาติเข้าใจหรือไม่
Emotions: เป็นธรรมดาที่ผู้ป่วยจะเสียใจกับข่าวร้ายที่ได้รับ ฉะนั้นการแสดงความเห็นอกเห็นใจ (empathy) เป็นสิ่งที่แพทย์ควรแสดงออกมา และบางครั้งความเงียบก็อาจเป็นสิ่งที่ดีที่สุดในเวลานั้น ปล่อยให้ผู้ป่วยและญาติแสดงความเสียใจออกมา
Strategy and summary: สุดท้ายแพทย์ควรสรุปโดยสั้นๆเรื่องผลการตรวจ โรคที่ผู้ป่วยเป็นและการรักษาต่อไปสำหรับผู้ป่วย
ที่กล่าวมาเป็นหลักการบอกข่าวร้ายแก่ผู้ป่วยและญาติ ในผู้ป่วยแต่ละคนอาจยากหรือง่าย สถานการณ์อาจแตกต่างกัน ที่สำคัญคือการที่แพทย์มี empathy communication จะช่วยได้มากสำหรับกรณีการบอกข่าวร้าย
" คนส่วนใหญ่อยากได้ยินฉะเพราะสิ่งที่ตนเองอยากได้ยิน "
นี่เป็นเพียงหลักการเท่านัน้นะครับสำหรับในความเป็นจริงเป็นอย่างไรก็คงต้องปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์นะครับ
ปล.อาจดูวิชาการไปหน่อยนะ อย่าว่ากันเลย


Posted by : Dr.PP , Date : 2006-05-24 , Time : 13:22:15 , From IP : ppp-58.8.135.216.rev

ความคิดเห็นที่ : 2


    "การที่แพทย์มี empathy communication จะช่วยได้มากสำหรับกรณีการบอกข่าวร้าย " ถามต่อค่ะว่า การบอกข่าวร้ายที่แสดงว่าแพทย์มี emphathy แพทย์ต้องแสดงท่าทางหรือหน้าตาว่าเศร้าด้วยไหม หรือยิ้มตามปกติก็ใช้ได้แล้วเพียงแต่เน้นที่วิธีพูดเท่านั้น ขอบคุณค่ะ

Posted by : จขกท , Date : 2006-05-24 , Time : 14:19:44 , From IP : 172.29.1.190

ความคิดเห็นที่ : 3


   empathyนั้นลึกกว่าแค่การแสดงสีหน้าเท่านั้น เพราะ มันรวมถึงการเห็นใจและเข้าใจในความรู้สึกของอีกฝ่ายแบบจริงใจ แล้วสีหน้าที่แสดงออกมันจะออกไปตามอารมณ์ความรู้สึกของเราที่มีโดยไม่ต้องตั้งใจทำ และไม่ต้องผ่านขบวนการคิดว่าจะต้องปั้นสีหน้าอย่างไรให้เหมาะสม
ถ้าเรายังกังวลว่าเราจะทำตัวทำหน้าอย่างไรนั้น อาจเป็นไปได้ว่าเรายังไม่เข้าถึงขบวนการการเกิดempathyก็ได้


Posted by : pisces , Date : 2006-05-25 , Time : 09:54:21 , From IP : 172.29.7.151

ความคิดเห็นที่ : 4


   คิดเป็นภาษาวิชาการมากๆเสียเวลา ปวดหัว เอาแบบง่ายๆแบบผมนะ

หาสถานที่เหมาะๆ คุยไว้ก่อนตั้งแต่ตอนตรวจว่าถ้าข่าวร้ายจะให้บอกคนไข้ยังไง อยากให้เรียกใครก่อน ให้มีใครอยู่ในเหตุการณ์ด้วย บอกตรงๆนี่แหละง่ายดี

พวกเคส trauma แบบพวกคนไข้ไม่ได้สติ โหวเฮ้งไม่รอด ก็ปรับอารมณ์หน่อย ทำหน้าจริงจัง เรียกญาติสายตรงทั้งหมดเท่าที่ได้ แล้วบอกไป prognosis เป็นยังไง เสียเวลาพูดอ้อมไปอ้อมมา ไม่รอดก็ไม่ต้องอ้างโน่นอ้างนี่เหมือนรอปฎิหารย์ จะ CPR ไหม


Posted by : เด็กโก-ลก(สมเอ๋เอง) , Date : 2006-05-26 , Time : 03:46:29 , From IP : mkt2.xnet.co.th

ความคิดเห็นที่ : 5


   Empathy นั้นเป็นความรู้สึก ไม่ใช่ tactic ครับ

กระบวนการบอกข่าวร้ายนั้นคือการที่แพทย์ใช้ moral sensitivity หรือสามารถแสดงออกถึง "ความไวทางจริยธรรม" ให้เหมาะสมกับบริบทได้ กระบวนการสื่อสารที่ออกมานั้นเป็น output แต่ที่จะเตรียมเราให้มีวจนภาษา และอวจนภาษาได้นั้นคือ "เจตคติ"

เจตคติคือการยึดมั่นในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นพื้นฐานในการแสดงออก เป็นการ "หล่อหลอม" ประสบการณ์ ความเชื่อ ออกมาเป็น "ระบบ" ของความคิด บุคลิกภาพ หลักการของมหาวิทยาลัยเรา (และของมหิดล) ได้แก่ อตฺตานํ อุปมํ กเร (เอาใจเขามาใส่ใจเรา) นั้น เป้นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดในการบอกข่าวร้าย

เรื่องนี้ประกอบด้วย
๑) มีข่าวร้าย (รายละเอียด ความถูกต้องได้มีการตรวจสอบ ผลกระทบ ผลต่อเนื่อง ฯลฯ)
๒) มีคนที่กำลังจะมารับรู้ข่าวร้าย (มีความสัมพันธ์อย่างไร เป้นคน "ยังไง" ในด้านการรับรู้ข่าวร้าย มีกี่คน คนไหนสำคัญอย่างไร)
๓) เรามีหน้าที่ (และความรู้ ความชำนาญ และความรับผิดชอบในการทำ)
๔) "ความปราถนาดี เมตตา กรุณา" ต่อผู้ที่กำลังจะรับรู้ข่าวร้าย (หวังว่าผลจากการบอกข่าวร้ายนั้น ออกมาในด้านที่ดีที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ จากการพิจารณา วิจารณญาณอย่างรอบคอบ)
๕) บริบท
๖) อุเบกขา

หน้าตา ท่าทาง คำพูด "จริงใจ" ครับ ไม่ได้มี universal rule ว่าทำอย่างไร แต่ขอเป็นเพียงเรารู้สึก empathy ณ ขณะนั้น สิ่งเหล่านี้คือความจริงใจ ไม่จำเป็นต้องจำบทว่าตอนนี้ยิ้มเล็กน้อย ตอนนี้ควรแตะมือญาติ ตรงนี้ควรพูดว่า... จริงใจก็คือจริงใจ

ส่วนจะทำอย่างไรจึงมีความจริงใจ เมตตากรุณา ต่อผู้ป่วยและญาตินั้น คงจะนอกเหนือจาก topic



Posted by : Phoenix , Date : 2006-05-26 , Time : 20:28:01 , From IP : ppp-124.120.222.90.r

ความคิดเห็นที่ : 6


   "empathy communication"
เอาใจเขา มาใส่ใจเรา นี่คือคำตอบ
ง่ายๆเลยนะ หมอรู้สึกเสียใจด้วย เพราะเราเสียใจกับเขาจริงๆ ก็เท่านั้น เพราะฉะนั้นสีหน้าท่าทางมันจะออกไปเอง เมื่อไหร่ที่เราแสดงไม่จริงออกไป คนอื่นเขาก็รู้เองว่ามันไม่จริง ถ้าไม่เสียใจกับเขาก็ไม่ต้องตีหน้าเศร้า เฉยๆไว้ทำหน้าจริงจังหน่อย ไม่ต้องยิ้มด้วยเดี๋ยวเสียหมด ฮะฮะฮะ
ค่อยๆฝึกเดี๋ยวก็เก่ง ถ้าสนใจจริงก็ต้อง elective psychiatry กับอ.ลิลลี่ จะได้ดูเรื่อง end of life care ด้วย
เราจะได้รักษาทั้งผู้ป่วยและญาติ นี่หละครับคือหน้าที่ของหมอ (หมอสมัยใหม่นะ ฮะฮะฮะ)


Posted by : Dr.PP , Date : 2006-05-27 , Time : 11:16:47 , From IP : ppp-58.8.140.141.rev

ความคิดเห็นที่ : 7


   เข้าประเด็นค่ะ กรณีคุณครูจูหลิง ในวันที่แรกรับผู้ป่วย มีการบอกข่าวอาการผ่านสื่อ TV ว่ามีความหวังน้อยมาก ประเด็นคือ เรามีวิธีบอกหรือคำพูดอย่างอื่นไหม โดยไม่ใช้คำว่า "มีความหวังน้อยมาก" แต่สื่อความหมายเดียวกัน คนฟังฟังแล้วเริ่มรับรู้และเข้าใจได้เองว่าอาจ 50-50 มันเร็วไปหรือไม่สำหรับญาติที่จะได้ยินคำว่าความหวังน้อยมากในวันนั้น ที่ตั้งประเด็นมิได้ตัดสินว่าอะไรเหมาะหรือไม่เหมาะ แต่เพื่อการเรียนรู้ ถ้าการบอกหรือการพูดแบบนั้น OK แล้ว ก็จบค่ะ ขอขอบคุณทุกท่านที่ร่วมแลกเปลี่ยนค่ะ

Posted by : แลกเปลี่ยน , Date : 2006-05-27 , Time : 19:08:12 , From IP : 172.29.5.63

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.005 seconds. <<<<<