ความคิดเห็นทั้งหมด : 5

Debate XCV: หน้าที่ของบัณฑิต


   ปีนี้เป็นวาระครบรอบ 100 ปีชาตกาลของท่านพุทธทาสภิกขุ ในวันที่ 27 พฤษภาคม มีหนังสือที่เกี่ยวข้องกับท่านและงานของท่านใหม่และเก่าตีพิมพ์มากมาย ในบรรดารายการนั้น มีเล่มหนึ่งสอดคล้องกับบทความที่เคยอภิปราย ( Debate XCIII: ค่าของคนอยู่ที่ผล (หรือ...การทำ) งาน? ) จะว่าเป็นภาคต่อก็ยังได้ เลยอยากจะนำมาแลกเปลี่ยน

หนังสือที่ว่านี้ชื่อ "การทำงานเพื่องาน" บรรยายเมื่อ 13 กันยายน 2519

บทความก่อนเราพูดถึง "งานคือความดี ที่หล่อเลี้ยงชีวิต" โดย นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ผอ.สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ (สวสส.) ลองนำมาเชื่อมโยงกับบทบรรยายโอวาทพระนวกะ (พระบวชใหม่) แล้วอาจจะลองเปลี่ยนดัดแปลงจากพระยวกะมาเป็นนักศึกษาใหม่ หรือจะเป็นบัณฑิตใหม่ดูก็ได้

สมัยก่อนบัณฑิตนั้นเป็นคำเรียกผู้ผ่านการบวชเรียน ในที่นี้มิใช่วิชาชีพ วิชาจำเพาะ แต่บวชเรียนเพื่อเรียนชีวิต ลาสิกขาเสร็จจึงเรียก "บัณฑิต" ย่อเหลือ "ฑิต" กลายมาเป็น "ทิด" แรกเริ่มบัณฑฺตนั้นหมายถึง "ผู้ดำเนินประโยชน์กิจด้วยปัญญา" ต่อมาเมื่อไหร่ไม่ทราบ บัณฑิตกลายเป็นทิด พี่ทิด ไอ้ทิด บัณฑิตดำเนินกิจด้วย "ความรู้" ที่ได้เรียน แต่บางทีไม่ได้ด้วย "ปัญญา"

การทำงานเพื่องาน นั้นลึกซึ้งและตรงกับบทจริยธรรมสากล ใน Encyclopedia Britannica ที่กล่าวถึง moral, morality, และ ethics จะพบ Duty for duty"sake ฉะนั้นจะเป็นการ "ทำงานเพื่องาน" หรือ "ทำหน้าที่เพื่อหน้าที่" ก็ได้ ตรงนี้จะสนับสนุนโดยนักคิดนักปรัชญาชาวเยอรมันอีกท่านคือ Immanuel Kant ที่มีบทความเกี่ยวกับคำ Duty ไว้โดยพิศดาร

สำคัญขนาดนี้แล้ว น่าจะลองมาอภิปรายกันดูดรหรือไม่ว่า "อะไรคือการทำงานเพื่องาน หรือ การทำหน้าที่เพื่อหน้าที่"?

กติกาเดิม Be Mature, Be Positive, and Be Civilized



Posted by : Phoenix , Date : 2006-05-20 , Time : 17:59:45 , From IP : ppp-124.120.224.204.

ความคิดเห็นที่ : 1


   test

Posted by : Lucifer , Date : 2006-05-25 , Time : 17:31:41 , From IP : 172.29.4.163

ความคิดเห็นที่ : 2


   ลองไปเคาะ google แล้วก็เลยได้
“While doing one's duty for duty's sake ought to be enough to motivate people to right action, humans have a rational desire for a notion of the final consequences of their moral actions.”

ที่มาจาก Subtle Scripture for an Invisible Church: The Moral Importance of the Beautiful in Kant Sandra L. Shapshay Franklin and Marshall College


"อะไรคือการทำงานเพื่องาน หรือ การทำหน้าที่เพื่อหน้าที่"?

ตอบแบบเอาแต่ใจ(ตัวเอง)ก็คงเป็น "คำตอบ" เวลาถาม(ตัวเอง)ว่า "ทำไปทำไม"


Posted by : Lucifer , Date : 2006-05-25 , Time : 17:38:25 , From IP : 172.29.4.163

ความคิดเห็นที่ : 3


    หนูไม่แน่ใจว่าเราจะ...รู้สึก...พูด... คิด... แทนคนอื่น ในเรื่องปัญญา หน้าที่ จริยธรรมของคนอื่นได้หรือไม่ เพราะถ้า
“While doing one's duty for duty's sake ought to be enough to motivate people to right action, humans have a rational desire for a notion of the final consequences of their moral actions.”
แต่ละคนก็จะมี "งาน" มี "หน้าที่" ของตน มีเหตุผล ความจำเป็นและจริยธรรม "ของตน"
แล้วอย่างไรจะเป็น "จริยธรรมสากล" ล่ะคะ

หนูไม่เคยวิเคราะห์ "การทำงานเพื่องาน" จนเกิดจะเป็น "ผู้ดำเนินประโยชน์กิจด้วยปัญญา" แต่อย่างใด

"การทำงานเพื่องาน" เป็นแต่เพียงประโยคปลอบใจเมื่อหาเหตุผล หรือแรงดลใจให้กระทำไม่ได้เท่านั้นเอง

(ปล.1 ไม่ค่อยมีความคิดดีๆหรอกค่ะ พักนี้ทั้ง...แห้งและห่อเหี่ยว...สนิท....)
(ปล.2 หนูก็ยังจำได้ค่ะว่าเวลาที่ unstable ยังไม่ควรแสดงความเห็น...แต่...หนูกำลังพยายามหาทางเจริญทั้งปัญญาและอารมณ์อยู่...หวังว่าการเข้า board จะช่วยบ้าง....)


Posted by : Lucifer , Date : 2006-05-29 , Time : 00:54:49 , From IP : 172.29.4.169

ความคิดเห็นที่ : 4


    final of my opinion :

ทำงาน เพื่อ งาน มันเป็นคำถามที่กว้าง มาก

แต่เท่าที่รู้คือ ตราบใดที่มีลมหายใจ ตราบนั้นภาระต่างๆ คงไม่หมดสิ้นไปเป็นแน่แท้

กระผมคิดว่า ควรทำงานเพื่องาน เพื่อจะฝึกฝนไม่ให้เกิดความไม่ประมาทในชีวิต

ความไม่ประมาท คือ ไม่ฟุ้งเฟ้อ ไม่ลอย ไม่จม ในโลก



Posted by : fahrenheit911 , Date : 2006-09-04 , Time : 01:48:50 , From IP : 125.24.145.160

ความคิดเห็นที่ : 5


   ความสนุก (หรือที่ผมเรียกมันว่าความสนุก) ของการอภิปรายเชิงปรัชญามีอยู่ทั้งตอนที่เราได้คำตอบ กับตอนที่เรากำลัง "เดินทาง" เพื่อให้ได่คำตอบ

ขอสานต่อ

ผมคิดว่าไม่ว่าคำตอบจะเป็นอย่างสำหรับคำถาม "อะไรคือการทำงานเพื่องาน หรืออะไรคือการทำหน้าที่เพื่อหน้าที่" แต่การที่ เกิดการถามคำถามนี้ ระหว่างที่เราปฏิบัติหน้าที่ทำงานอยู่มีผลกระทบอะไรหลายๆอย่างที่เกิด (และอาจจะเกิด) ขึ้น เพิ่มเติมจากถ้าเราไม่เคยตั้งคำถามเหล่านี้

ในการเรียนวิธีใหม่ที่เรียกว่า "จิตปัญญาศึกษา" นั้น เวลาเราเรียน เราจะต้องสำรวจจิตใจ สำรวจความรู้สึก และพิจารณาว่า value ต่างๆของมุมมองของเรานั้นมีการเปลี่ยนแปลงเกิดจขึ้นหรอืไม่ อย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนรที่เกี่ยวกับวิชาการที่เรากำลังศึกษาค้นคว้าอยู่ ว่าเราทำอย่างนี้ไปเพื่ออะไร เราได้อะไร และ "ใคร" ได้อะไรบ้าง อีกประเด็นคำถามที่สำคัญก็คือ นอกเหนือจากที่เราคิดแล้ว แล้วจริงๆคนที่เรียนเรื่องนี้เขาน่าจะได้อะไร วิชานี้ให้อะไรแก่สังคมบ้าง เป็นกิจกรรมสมองที่นอกเหนือจากเราใช้ชีวิตอย่าง routine ไปเรื่อยๆ ทำงานประจำ (เราเรียกมันว่า "งานประจำ" จนเกิดเจตนคติว่ามันไม่น่าจะสนุก จะตื่นเต้นได้เลย)

เรื่องแบบนี้โฆษณาชวนเชื่ออย่างเดียวไม่ work ครับ ต้องให้ลองเอง เราอาจจะมีภาพของงาน ของอาชีพเรารอย่างที่เราไม่เคยทราบมาก่อนเลยก็เป็นได้



Posted by : Phoenix , Date : 2006-09-05 , Time : 10:24:14 , From IP : ppp-58.10.155.209.re

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.004 seconds. <<<<<