ความคิดเห็นทั้งหมด : 21

น้องๆๆภาคใต้ที่อยากเรียนแพทย์..หลักสูตรแพทย์ม.วลัยลักษณ์ นครศรี+คิดไงกับสถาบันแพทย์ที่จะเปิดใหม่2แห่ง..ในภาคใต้ คือ ม.วลัยลักษณ์


   น้องๆๆ.ใต้ที่อยากเรียนแพทย์ ปีหน้า 50 อาจมีที่เรียนเพ่ม 2 ที่ ในภาคใต้ คือ มวล กับ ม.นราธิวาส นอกจาก มอ. นะครับบบบ

หลักสูตร แพทย์ มวล อ้างอิงจาก
ส่วนสารบรรณและอำนวยการ 18/5/49
ดูเพ่มได้จากเวปนี้
http://dcg.wu.ac.th/doc.html
http://dcg.wu.ac.th/sub-doc.doc


รพ.หลักคือ มหาราชนครศรีธรรมราช
รพ.สบทบ คือ รพ.ตรัง กับ วิชระภูเก็ต และ รพ.ชุมชนในนครศรี

กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ปี1และมีวิชาอื่นๆๆอีกด้านภาษาและสังคม
BIO-105 วิทยาของเซลล์สำหรับวิทยาการสุขภาพ

CHM-104 หลักเคมี

CHM-105 ปฏิบัติการหลักเคมี
MAT-110 สถิติขั้นแนะนำ
PHY-107 ฟิสิกส์ทางการแพทย์

2) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน ปี 2-3
2.1) กลุ่มวิชาการแพทย์และสังคมศาสตร์
MSS-101 แพทย์กับสังคม

MSS-102 เวชจริยศาสตร์และการคิดเชิงวิพากษ์


2.2) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐานสภาวะปกติ
PCS-211 บทนำวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน

PCS-212 ระบบผิวหนัง เนื้อเยื้อเกี่ยวพันและระบบกล้ามเนื้อ โครงกระดูก 1
PCS-213ระบบผิวหนัง เนื้อเยื้อเกี่ยวพันและระบบกล้ามเนื้อโครงกระดูก 2
PCS-214 ระบบทางเดินหายใจ

PCS-215 ระบบหัวใจหลอดเลือด PCS-216 ระบบทางเดินอาหาร PCS-217 ระบบต่อมไร้ท่อ
PCS-218 ระบบขับถ่ายปัสสาวะและสืบพันธุ์
PCS -219 โภชนาการและเมแทบอลิซึม 1
2.3) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐานเฉพาะด้าน
PCS-220 ประสาทวิทยาศาสตร์ PCS- Embryology and Genetics in Medicine

PCS-322 วงจรวิวัฒน์แห่งชีวิต PCS-323 ระบาดวิทยาและชีวสถิติ 2.4) กลุ่มวิชาหลักวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน

PCS-331 หลักเภสัชวิทยา PCS-332 หลักภูมิคุ้มกันวิทยา
PCS-333 หลักจุลชีววิทยาและปรสิต
PCS-334 ระบบเลือดและน้ำเหลืองเรติคูลา
PCS-335 หลักพยาธิวิทยา
2.5) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐานสภาวะผิดปกติ
7 หน่วยวิชา

PCS-341 ความผิดปกติของระบบผิวหนัง เนื้อเยื้อเกี่ยวพัน และ 1(3-3-8)
ระบบกล้ามเนื้อ โครงกระดูก

PCS-342 ความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ
PCS-343 ความผิดปกติของระบบหัวใจหลอดเลือด
PCS-344 ความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร
PCS-345 ความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อ ระบบขับถ่ายปัสสาวะ และสืบพันธุ์

PCS-346 ความผิดปกติของระบบประสาท
PCS-347 ภูมิคุ้มกันวิทยาคลินิกและการติดเชื้อในผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่อง
PCS-348 พยาธิสภาพทางจิต

ปีการศึกษาที่ 4
CCS-411 บทนำวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก

CCS–412 การแก้ปัญหาหลักทางคลินิก
10 week

CCS-461 เทคโนโลยีรังสีวินิจฉัย
1 week
CCS-418 นิติเวชศาสตร์
1 w

CCS-413 ทฤษฎีอายุรศาสตร์
CCS-414 ทักษะอายุรศาสตร์ 1
CCS-415 เวชปฏิบัติอายุร ศาสตร์
รวม 7 week
CCS-421 ทฤษฎีกุมารชศาสตร์
CCS-422 ทักษะกุมารเวชศาสตร์ 1
CCS-423 เวชปฏิบัติกุมารเวชศาสตร์ 1 รวม 7 week

CCS-431 ทฤษฎี ศัลยศาสตร์
CCS-432 ทักษะศัลยศาสตร์ 1
CCS-433 เวชปฏิบัติศัลยศาสตร์ 1 รวม 7 week

CCS-441 ทฤษฎีสูติศาสตร์-นรีเวทวิทยา

CCS-442 ทักษะสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา 1 CCS-443 เวชปฏิบัติสูตศาสตร์นรีเวชวิทยา 1
7 week

FCM-414 เวชศาสตร์ครอบครัวและชุมชน 4 4wk

วิชาชีพเลือก 2wk
วิชาชีพเลือก wk
รวม 13.5 หน่วยวิชา



ปีการศึกษาที่ 5
รายวิชา หน่วยวิชา
CCS-526 ทฤษฎีเวชศาสตร์ผู้ป่วยนอกและเวชศาสตร์ฉุกเฉิน
CCS-527 ทักษะเวชศาสตร์ผู้ป่วยนอกและเวชศาสตร์ฉุกเฉิน CCS-528 เวชปฏิบัติเวชศาสตร์ผู้ป่วยนอกและเวชศาสตร์ฉุกเฉิน
8wk
CCS-536 ทฤษฎีวิทยาการบาดเจ็บและภาวะฉุกเฉินทางศัลยศาสตร์
CCS-537 ทักษะวิทยาการบาดเจ็บและภาวะฉุกเฉินทางศัลยศาสตร์
CCS-538 เวชปฏิบัติวิทยาการบาดเจ็บและภาวะฉุกเฉินทางศัลยศาสตร์
8 week
CCS-571 ทฤษฎีจิตเวชศาสตร์และสุขภาพจิต
CCS-572 ทักษะจิตเวชศาสตร์และสุขภาพจิต
CCS-573 เวชปฏิบัติจิตเวชศาสตร์และสุขภาพจิต 4 wk
CCS-551 ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ 3week
CCS-581 โสต ศอ นาสิกวิทยา 3week
CCS-582 จักษุวิทยา 3week
CCS-591 วิสัญญีวิทยา
3 week
FCM-515 เวชศาสตร์ครอบครัวและชุมชน 5
4 week
XXX-xxx วิชาชีพเลือก
2 week
XXX-xxx วิชาชีพเลือก 2 week
XXX-xxx วิชาชีพเลือก 2
รวม 13 หน่วยวิชา

ปีการศึกษาที่ 6
รายวิชา ระยะเวลาการศึกษา (สัปดาห์) หน่วยวิชา
CCS-616 ทักษะอายุรศาสตร์ 2

CCS-617 เวชปฏิบัติอายุรศาสตร์ 2 รวม 8 week

CCS-624 ทักษะกุมารเวชศาสตร์ 2
CCS-625 เวชปฏิบัติกุมารเวชศาสตร์ 2 รวม 8 week

CCS-634 ทักษะศัลยศาสตร์ 2
CCS-635 เวชปฏิบัติศัลยศาสตร์ 2 รวม 8 week

CCS-644 ทักษะสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา 2 8
CCS-645 เวชปฏิบัติสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา 2 รวม 8 week
CCS-652 ทักษะออร์โธปิดิกส์ 4week
CCS- 653 เวชปฏิบัติออร์โธปิดิกส์

FCM-616 เวชศาสตร์ครอบครัวและชุมชน 6 4week

FCM-617 ประสบการณ์การโรงพยาบาลชุมชน 2
รวม 10.5 หน่วยวิชา


รพ.หลักคือ มหาราชนครศรีธรรมราช
รพ.สบทบ คือ รพ.ตรัง กับ วิชระภูเก็ต

ปี 49 จะเปิด 3 ที่ คือ ม.อุบล ม.สารคาม และ มทส ที่เหลืออีก 5 แห่ง น่าจะ ปี 50 คือ ม.เกษตร ม.วลัยลักษณ์ ม.นราธิวาส ม.บูรพา และ ม.แม่ฟ้าหลวง







Posted by : เด็กคอน , E-mail : (bkkec_siam@hotmail.com) ,
Date : 2006-05-18 , Time : 21:06:11 , From IP : ppp-124.120.1.172.re


ความคิดเห็นที่ : 1


   หมอล้นโลก
-"-


Posted by : แหมะแหมะ , Date : 2006-05-18 , Time : 22:03:26 , From IP : 125.24.68.200

ความคิดเห็นที่ : 2


   ขอ มอ. ที่เดียวเถอะคับ

Posted by : ................ , E-mail : (5555555555) ,
Date : 2006-05-18 , Time : 22:07:07 , From IP : 61.7.160.147


ความคิดเห็นที่ : 3


   ในการรับรองสถาบัน คณะแพทย์ใหม่ (หรือบางที่เรียก "สำนักวิชาแพทย์") นั้น กสพท.จะเป็นตัวกลางในการอำนวยการตรวจสอบคุณสมบัติต่างๆ มีถึง 14 เกณฑ์ ว่าตั้งแต่ infra-structure ไปจนถึงหลักสูตร การตรวจสอบประกอบด้วยการพิจารณาเอกสาร และรวมทั้งการลงไปดูพื้นที่ทำการจริง

รพ. หลักของสถาบันที่เปิด จะต้องมีหน่วยงานแยกเฉพาะด้านครงถึง 14 หน่วย (หรือภาค) ประกอบกับรพ.สมทบ (ที่มีคุณสมบัติอีกหลายประการได้แก่ ผ่าน HA มีกองหลัก (สูติ ศัลย์ อายุร และกุมาร) บางที submit หนังสือเอกสารขอเปิดตั้งแต่ปี 41


Posted by : Phoenix , Date : 2006-05-18 , Time : 22:19:30 , From IP : ppp-124.120.223.72.r

ความคิดเห็นที่ : 4


   ในการรับรองสถาบัน คณะแพทย์ใหม่ (หรือบางที่เรียก "สำนักวิชาแพทย์") นั้น กสพท.จะเป็นตัวกลางในการอำนวยการตรวจสอบคุณสมบัติต่างๆ มีถึง 14 เกณฑ์ ว่าตั้งแต่ infra-structure ไปจนถึงหลักสูตร แต่ละเกณฑ์มีข้อย่อยๆอีกหลายข้อ การตรวจสอบประกอบด้วยการพิจารณาเอกสาร และรวมทั้งการลงไปดูพื้นที่ทำการจริง

รพ. หลักของสถาบันที่เปิด จะต้องมีหน่วยงานแยกเฉพาะด้านครงถึง 14 หน่วย (หรือภาค) ประกอบกับรพ.สมทบ (ที่มีคุณสมบัติอีกหลายประการได้แก่ ผ่าน HA มีกองหลัก (สูติ ศัลย์ อายุร และกุมาร) บางที submit หนังสือเอกสารขอเปิดตั้งแต่ปี 41จนป่านนี้ก็ยังไม่พร้อม เลยเวลาต้องเขียนหลักสูตรใหม่ปรับตามเกณฑ์มาตรฐานปี 2545 ผนวก 3 และวิธีการประเมินเครดิตตามกฏมหาวิทยาลัยปี 48 ถ้าทุกอย่างยังไม่เรียบร้อย ก็จะยังไม่มีเรื่องเดินไปถึงแพทยสภา (คนถือตราประทับว่าเปิดได้)

รายละเอียดไม่ทราบมากกว่านี้แล้ว เผอิญในกิจกรรมที่กำลังทำมีการอภิปรายเรื่องนี้อยู่ครั้งนึง เลยเอามา share



Posted by : Phoenix , Date : 2006-05-18 , Time : 22:22:23 , From IP : ppp-124.120.223.72.r

ความคิดเห็นที่ : 5


   ก็ต้องถามว่าแล้วตอนนี้หมอผลิตไม่ทันหรืออย่างไร หรือว่าไปล้นอยู่ที่ไหน เหตุผลที่เปิดมันเหมาะสมหรือไม่ แล้วโรงเรียนแพทย์ที่ได้มาตรฐานนั้นไม่สามารถเพิ่มโควต้าการผลิตได้แล้วหรืออย่างไร ขนาดมอ.กว่าจะผลิตแพทย์ออกมาสักคนยังต้องได้มาตรฐานตั้งมากมาย หรือว่าจะเน้นแต่ปริมาณไม่เน้นคุณภาพกันแล้ว

Posted by : """" , Date : 2006-05-18 , Time : 22:50:52 , From IP : 124.157.178.123

ความคิดเห็นที่ : 6


   ผลิตเยอะดีจัง ...ไม่รู้รั่วไปไหนบ้างป่าว

การกระจายไม่ดีอ่ะ เหมือน impending shock แล้ว load แต่ NSS ตรงกันข้ามอันนั้นไม่อยู่ใน vascular

แต่อันนี้ผลิตมาอยู่ในเมืองหมด....งง งง


Posted by : shock , Date : 2006-05-18 , Time : 23:50:21 , From IP : 172.29.3.215

ความคิดเห็นที่ : 7


   ผมทำงานสังกัดกระทรวงสาธารณสุข แต่โปรดอย่าถามว่าทำที่ไหน และทำงานอะไร ขอวิจารณ์เฉพาะหลักสูตรมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์นะครับ

ปัญหาของการเปิดคณะแพทย์ฯ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ก็คือมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ไม่มีโรงพยาบาลเป็นของตัวเอง จึงต้องติดต่อโรงพยาบาลที่จะใช้เป็นโรงพยาบาลหลัก เดิมติดต่อที่โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช โรงพยาบาลตรัง โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี และโรงพยาบาลวชิรภูเก็ตไว้ แต่สามโรงพยาบาลหลังตอบปฏิเสธ ส่วนโรงพยาบาลสมทบ ซึ่งประกอบด้วยโรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลทั่วไปในบริเวณข้างเคียงนั้นตอบรับเป็นบางสาขาวิชา

จึงเหลือเพียงโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราชเพียงแห่งเดียวที่พอจะเป็นโรงพยาบาลหลักได้ โดยจากการประชุมสำรวจความพร้อม ได้กล่าวอ้างถึงข้อสรุปในที่ประชุมร่วมกับผู้บริหารโรงพายาบลมหาราช ฯ ว่าพร้อมที่จะรับนักศึกษาที่ส่งมาจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (มีบันทึกข้อสรุป แต่ไม่สามารถหาบันทึกการประชุมมาได้)

แต่ปัญหาของโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราชคือ
1. เปิดเป็นโรงเรียนแพทย์ในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนกเรียบร้อยแล้ว และรับนักศึกษามาแล้วจำนวน 16 คน ต่อปี ซึ่งจากโครงการผลิตแพทย์เพิ่มของรัฐาบล ทางสถาบันได้ขอเพิ่มยอดเป็น 32 คนต่อปี ซึ่งทางโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราชเริ่มรับ 32 คนในปี 2549 (หรือ 2550-จำไม่ได้) และจะขึ้นชั้นคลีนิกในอีกสี่ปีข้างหน้า หากจะนำนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มารวม (48 คน) จะเป็นนักศึกษา 80 คนต่อหนึ่งปีการศึกษา ไม่นับรวมนักศีกศาแพทย์เวชปฏิบัติจากโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ (ซึ่งจะลดจำนวนลงเรื่อย ๆ และจะหยุดส่งนักศึกษามาปฏิบัติงานในโอกาสต่อไป)

ในปัจจุบัน (พค. 2549) การเรียนการสอนของศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลีนิก โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช ยังอยู่ในกลุ่ม "สถาบันใหม่" ซึ่งศักยภาพไม่เพียงพอสำหรับการเรียนการสอนนักเรียนจำนวนมากถึง 80 คนต่อปี แผนกอายุรกรรมยังไม่สามารถจัดการเรียนการสอนนักเรียนชั้นปีที่ 4 ได้จนกระทั่งปี 2549 (โดยก่อนหน้านี้ส่งนักศึกษาไปเรียนที่ศูนย์ฯ นครสวรรค์ มาโดยตลอด)

สำหรับการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์แพทย์ ได้มีการประชุมปรึกษาในองค์กรแพทย์ ถึงจำนวนสูงสุดที่จะรับนักศึกษาเพื่อการเรียนการสอนและการบริการที่เหมาะสม คาดการณ์ว่าน่าจะเป็น 32 คน และได้แจ้งไปทางคณะผู้ประสานงานของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ก่อนการประชุมหารือเรื่องการจัดการเรียนการสอนร่วมกันแล้ว

แต่จากการประชุมหารือของทางคณะผู้ประสานงานทั้งสองสถาบัน ที่มีข้อสรุปว่าโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช "สามารถ" รับนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้ (ตามย่อหน้าที่สาม) โรงพยาบาลมหาราชจึงได้รับการบรรจุเป็นโรงพยาบาลหลักในที่สุด


2. ปัญหาที่จะเกิดต่อเนื่องคือปัญหาด้านหลักสูตรการเรียนการสอน
ปัจจุบัน โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราชมีแพทย์ประจำประมาณ 80 คน และจากการคาดการณ์ในอีก 10 ปีข้างหน้า จะมีไม่เกิน 90 คน (ถ้าไม่มีแพทย์ลาออกหรือโอนย้ายเลย) ซึ่งในจำนวนนี้เป็นแพทย์ที่ไม่มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนการสอนอย่างน้อยสิบคน (ผู้บริหาร-แพทย์อาวุโสที่ทำงานเฉพาะที่ OPD) ในจำนวนแพทย์ 80-90 คน และภายใต้ปรัชญาการทำงานที่อิงการบริการเป็นอันดับหนึ่ง การวิจัยเป็นอันดับสอง และการเรียนการสอนเป็นอันดับสาม ไม่สามารถจัดให้มีการเรียนการสอนอย่างเต็มที่ได้

แพทย์พี่เลี้ยง (intern ที่สามารถทำงานในโรงพยาบาลมหาราชนครศรีฯ จนครบ 3 ปี โดยไม่ต้องไปทำงานโรงพยาบาลชุมชน) ที่ได้รับจัดสรรค์ ก็มีจำนวนน้อย โดยได้รับแผนกละ 1 คนบ้าง 3 คน บ้าง ต่อปี และในปัจจุบันมีไม่ถึง 10 คน ไม่สามารถแบ่งเบาภาระงาน และช่วยการเรียนการสอนได้อย่างเต็มที่ (ถึงจะมีผู้แย้งว่าแพทย์พี่เลี้ยงไม่สามมารถสอนได้ในทางทฤษฎีก็ตาม)

จึงเป็นไปได้ยาก (หรือเป็นไปไม่ได้เลย) ที่จะทำให้เกิดการเรียนการสอนทั้งสองมหาวิทยาลัยพร้อมกันในสถาบันเดียว (นักเรียนแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และนักเรียนแพทย์โรงพยาบาลมหาราช นครศรีธรรมราช ซึ่งสังกัดมหาวิทยาลัยมหิดล)

3. การสนับสนุนทางวิชาการ
แม้กระทั่งในปัจจุบัน ศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลีนิกของโรงพยาบาล ที่เปิดการเรียนการสอนนักศึกษามาแล้วหลายรุ่น ยังไม่ได้รับการยอมรับเป็นหน่วยงานของโรงพยาบาล ไม่มีการยอมรับจาก กพ. ตำแหน่งหัวหน้าศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษา ยังเป็นตำแหน่งลอย ไม่สามารถให้การดูแล และคำแนะนำ รวมถึงออกคำสั่งในเรื่องการเรียนการสอนได้อย่างเต็มที่ กระบวนการเรียนการสอนแทบทั้งหมดใช้วิธี "ขอร้อง" และส่งผ่านหัวหน้าแผนก เพื่อให้มีความร่วมมือในการเรียนการสอน และในความเป็นจริง ยังมีแพทย์อีกจำนวนหนึ่งที่ไม่มีความสนใจในด้านการเรียนการสอน และไม่เข้าร่วมกับกระบวนการผลิตนักศึกษาแพทย์เลย (ทำเฉพาะงานบริการ-วิจัย-บริหาร) และทั้งหมดนี้ ศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาไม่สามารถมีคำสั่ง หรือให้การบังคับได้ ซึ่งจะแตกต่างจากโรงเรียนแพทย์ในกระทรวงศึกษาธิการ (ทบวงมหาวิทยาลัยเดิม) ซึ่งจะถูกบังคับโดยระบบให้ต้องเตรียมการเรียนการสอน ต้องเตรียมบทเรียน ต้องมีชั่วโมงสอน เพื่อคงสถานะของตนในโรงเรียนแพทย์เอาไว้

แพทย์ที่เป็นอาจารย์ (ในตำแหน่งเป็นอาจารย์พิเศษของมหาวิทยาลัยที่ร่วมผลิตด้วย) ไม่สามารถขอตำแหน่งวิชาการได้ และค่าตอบแทนสำหรับการเรียนการสอนยังไม่มีความดึงดูดให้แพทย์มาทำงานด้านการเรียนการสอนอย่างเต็มที่ ทำให้การผลิตนักเรียนแพทย์ได้รับความสนใจไม่มากนัก หรือแม้กระทั่งเรื่องหอพัก-สถานที่เรียน ทางมหาวิทยาลัยก็จะยกให้เป็นภาระแก่โรงพยาบาล

จากทั้งหมดนี้ เป็นเหตุหนึ่งที่กระบวนการเรียนการสอนในสำนักวิชาแพทยศาสตร์อาจทำได้ไม่เต็มที่ แต่หากมีการปรับปรุงในเรื่องต่อไปนี้ อาจทำให้ระบบนี้สามารถดำเนินไปได้ดีขึ้น

1. หาสถาบันหลักให้มากขึ้น เพื่อแบ่งเบาความหนาแน่นของนักเรียนแพทย์
2. รับอาจารย์ชั้นคลีนิกด้วย เพื่อช่วยงานการเรียนการสอนในระดับชั้นปีที่ 4-6
3. การสนับสนุนงานวิชาการและการเรียนการสอน ต้องมีการประเมินการเรียนการสอน ให้มีความเหมาะสมทั้งในเรื่องเนื้อหา จำนวนนักเรียน จำนวนผู้ป่วย แหล่งข้อมูลทางการศึกษา และสนับสนุนงานวิชาการสำหรับแพทย์ในโรงพยาบาลหลัก เพื่อประสานงานระหว่างผู้จัดทำหลักสูตร และผู้สอน ทำให้หลักสูตรดำเนินต่อไปได้ (ปัจจุบัน หลักสูตรจะเป็นของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ แต่การสอนจะเป็นหน้าที่ของแพทย์ในโรงพยาบาลหลัก)
4. การจัดหลักสูตร การหมุนเวียนนักศึกษา และการสอบ ควรเป็นในทิศทางเดียวกัน เพื่อไม่ทำให้เป็นภาระแก่อาจารย์แพทย์
5. ควรมีการตรวจสอบจากภายนอกอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งในชั้นพรีคลีนิก และชั้นคลีนิก เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการเรียนการสอน


อยากให้ทุกท่านที่อ่าน ตรวจสอบข้อมูล และหาข้อมูลจากทั้งสองด้าน เพื่อความถูกต้องและเป็นธรรม กับทั้งตัวนักเรียนที่จะเข้าเรียน และสถาบันทั้งสองแห่ง

แต่โดยความเห็นส่วนตัว ผมคิดว่าความพร้อมยังไม่มากพอที่จะผลิตนักเรียนออกมาจำนวนมากระดับนี้ ครับ


Posted by : พี่น้องฯ , Date : 2006-05-19 , Time : 15:36:49 , From IP : 58.147.116.70

ความคิดเห็นที่ : 8


   จากที่เคยไปเป็น Extern ที่มหาราชมาคิดว่าเฉพาะงาน service ยังห่างไกลมาตรฐานอีกมาก ยังต้องขับเคลื่อนโดย Extern and Intern โดยเฉพาะอายุรกรรม น่าเป็นห่วงมากๆหากต้องรับ นศพ มากขนาดนี้ มีหลายๆอย่างๆที่ไม่ควรเอาเป็นแบบอย่าง

Posted by : S/P Extern มหาราช , Date : 2006-05-19 , Time : 19:11:26 , From IP : 172.29.7.222

ความคิดเห็นที่ : 9


   เห็นด้วยอย่างยิ่ง กับคุณ S/P Extern มหาราช

Posted by : อดีต ext. มหาราช , Date : 2006-05-19 , Time : 22:37:29 , From IP : 203-151-141-194.inte

ความคิดเห็นที่ : 10


   โดยหลักการการจะเปิดคณะแพทยศาสตร์ ต้องมีหลักสูตร ต้องมีรพ.หลัก ที่ทั้งหลักสูตรและรพ.หลักต้องได้รับการรับรองการตรวจเยี่ยมก่อน ว่าถึงเกณฑ์หรือยัง เพราะมีหลายสถาบันที่ยังไม่ผ่านการรับรอง ก็ไม่สามารถเปิดหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตได้

Posted by : กกก , Date : 2006-05-19 , Time : 22:58:58 , From IP : ppp-124.120.144.150.

ความคิดเห็นที่ : 11


   แล้วจะเอาอาจารย์ที่ไหนไปสอนล่ะ หรือว่าจาก มอ.หว่า...........

Posted by : so^p^ , Date : 2006-05-20 , Time : 00:35:59 , From IP : 172.29.4.69

ความคิดเห็นที่ : 12


   ถามหาความเป็นมาจรฐานครับ มาตรฐานอยู่ไหนครับ

Posted by : สม , E-mail : (mulee_1@hotmail.com) ,
Date : 2006-05-20 , Time : 01:04:39 , From IP : 61.7.157.215


ความคิดเห็นที่ : 13


   แว่วมาว่ามหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ จะเปิดรับนักศึกษาแพทย์จำนวน 50 คนในปีการศึกษานี้ 2549 เปิดเรียนวันที่ 5 มิถุนายน ทั้งๆที่ยังไม่มีหลักสูตรเห็นข่าวจากหนังสือพิมพ์ว่าได้งบประมาณมาแล้ว และเตรียมจะใช้รพ.สงขลาเป็นรพ.สมทบในการเรียนชั้นคลินิก และปี 1-3 จะขอมาเรียนที่มอ. ข่าวกรองเป็นอย่างไรช่วยแจ้งด้วยนะ

Posted by : หนู , Date : 2006-05-20 , Time : 10:23:22 , From IP : ppp-124.120.148.253.

ความคิดเห็นที่ : 14


   คณะแพทย์เปิดใหม่ 8 ที่
ปี 49 3 ที่ คือ มทส ม. อุบล มมส
ปี 50 น่าจะ ม.เกษตร มวล มนร ม.บูร ม.แม่ฟ้าหลวง
รับที่ละ 48 คนนนนน

ในส่วน ม.นราธิวาส (มนร) คงจะเป็นปี 50 ถึงเปิดรับ นักศึกษาจำนวน 48 คน เหมือนกับ ม.วลัยลัก.. การเรียนชั้นปรีคลีนิค ฝากเรียนกับ นศพ. ม.วลัยลักษณ์ รวม 2 มหาลัย ก็ 96 คน มีอาจารย์บ้างแล้วครับ สังกัดหน่วยปรีคลีนิคของ สถาบันวิจัยสุขภาพ สังกัดโครงการวิทยาลัยบริการสุขภาพ แต่คงต้องหาอาจารย์เพิ่มอีก หรือ ให้ อ.มอ ไปช่วยสอน อันนี้ม่ายแน่ใจนะคับ ( ตามข้อตกลงของ ของผู้บริหาร มนร กับ มวล เมื่อ พย 48 ที่อาคารพญาไทย กทม )

หรือเปลี่ยนเป็นฝากเรียนปรีคลีนิค มอ แล้วก็ไม่แน่ใจ ถ้างั้น มอ คงเยอะมากๆๆๆ นศพ เกือบ 250 มากสุดในประเทศมั้ง แล้วจะเกิดไรขึ้นถ้า 250 จิงๆๆ


Posted by : ku61 , Date : 2006-05-20 , Time : 19:58:24 , From IP : ppp-124.120.9.196.re

ความคิดเห็นที่ : 15


   ม.นราธิวาส รับแพทย์จิงๆด้วย 48 คนปี นี้ สงสัยคงฝาก มอ. เรียนตามที่คุณ หนู โพสไว้
http://www.pnu.ac.th


Posted by : tom , Date : 2006-05-20 , Time : 20:26:01 , From IP : ppp-124.120.9.196.re

ความคิดเห็นที่ : 16


   หมอกะหลั่ว ไม่มีคุณภาพ เเหวะ

Posted by : เออ , Date : 2006-05-22 , Time : 21:44:13 , From IP : 172.29.4.151

ความคิดเห็นที่ : 17


   ม.นราธิวาสราชนครินทร์ เปิดคณะแพทย์ใหม่ไม่รู้ว่าใช้หลักสูตรไหน และผ่านการรับรองจากแพทยสภาหรือยัง เพราะการเปิดหลักสูตรต้องได้รับการรับรองก่อนมิฉะนั้นจะมีปัญหาเรื่องนักศึกษาจบแล้วไม่สามารถทำงานได้เพราะแพทยสภายังไม่รับรอง

Posted by : ไม่แน่ใจ , Date : 2006-05-23 , Time : 12:02:17 , From IP : 172.29.2.211

ความคิดเห็นที่ : 18


   ที่สำคัญนักศึกษาจะไม่มีสิทธิ์สอบใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม เพราะหลักสูตรยังไม่ผ่านการรับรองและไม่รู้ว่าจะไปเรียนที่ไหน

Posted by : ไม่แน่ใจ , Date : 2006-05-23 , Time : 12:03:21 , From IP : 172.29.2.211

ความคิดเห็นที่ : 19


   ขอบคุณพี่ๆที่มีข่าวนี้มาบอก
ตอนนี้น้องอยู่ม.5
กำลังสนใจเรียนหมอ
ถ้าที่วลัยลักเปิดจริงๆก็ดีสิค่ะ
หนูจะได้ไม่ต้องไปแข่งกับเด็ก กทม.


Posted by : เด็กนคร , Date : 2006-06-04 , Time : 15:03:32 , From IP : 61.19.180.70

ความคิดเห็นที่ : 20


   มาตรฐานอยู่ใหนกันคะ หมอล้นเเล้ว ต่อไปใครจะกล้ารักษษ

Posted by : เด็กแพทย์ , Date : 2006-08-14 , Time : 22:52:54 , From IP : 203.113.81.165

ความคิดเห็นที่ : 21


   ถ้าจะเปิดทำไมไม่ทำทีละที่ แต่ทำให้ดีไปเลยทยอยทำไม่ได้หรือไง


Posted by : นัด , E-mail : (-) ,
Date : 2007-01-12 , Time : 21:49:22 , From IP : 61.19.214.242


ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.007 seconds. <<<<<