ความคิดเห็นทั้งหมด : 9

เคยเห็นภาพแบบนี้ไหม


   เคยเห็นภาพแบบนี้ไหม ?
เมื่อ นศพ. โดนดุเรื่องซักประวัติ ตรวจร่างกายไม่ครบถ้วน แล้วผู้ป่วยช่วยกล่าวแก้ให้
เมื่อนศพ.โดนคำถามที่ตอบไม่ได้ แล้วผู้ป่วยส่งสายตาและกำลังใจช่วยเหลือ
เมื่อไป round ward แล้วผู้ป่วยยกมือไหว้ นศพ. โดยไม่เหลือบมอง พชท. หรือ อาจารย์
เมื่อผู้ป่วยกลับบ้าน แล้วกล่าวอวยพรขอให้เจริญสุขนะคุณหมอ
ภาพดี ๆ แบบนี้ หาดูได้ที่ไหน ในระบบการศึกษาแบบไม่มีเจ้าของไข้ เช่นปัจจุบัน ใครช่วยตอบที


Posted by : Mars , Date : 2003-08-05 , Time : 19:28:54 , From IP : 172.29.3.97

ความคิดเห็นที่ : 1


   ....เอออ.....ผมขอบอกก่อนนะครับ.....ว่าผมไม่ได้จบที่นี่....และไม่ค่อยเข้าใจการสอนระบบใหม่ของที่นี่เท่าใดนัก(เนื่องจากไม่สนใจเป็นการส่วนตัว).......ถ้าถามกันตรงๆว่าผมเคยเห็นแบบนั้นไหม?....เคยเห็นครับ....ผมเองไม่ค่อยเข้าใจสักเท่าไหรของจุดประสงค์ของผู้ตั้งกระทู้นี้...:D...:D....หมายถึงว่าระบบการเรียนแบบนี้ทำให้การได้เข้าไปศึกษาผู้ป่วยแบบจริงๆจังๆได้ลดน้อยลงไปใช่หรือไม่......ถ้าเป็นแบบนั้นจริง(ไม่รู้จริงเปล่านะ).....คงน่าจะไม่ค่อยดีเท่าไหรนัก....ผมว่าเราคงเป็นหมอที่ดีลำบากเหมือนกันถ้าเข้าใจคนใข้จากแค่ในหนังสือและการทำรายงานส่งอาจารย์.....แต่เมื่อสักเดือนหรือสองเดือนก่อนหน้านี้....ผมก็เห็นว่า นศพ.ที่อยู่สายเดียวกับผม...ก็มีการแบ่งคนใข้ในสายกัน....มีการซักประวัติ...เขียน Admission note และ Progress note ทุกวัน.....และทุกเช้าเวลา Round ก็จะโดนอาจารย์หัวหน้าสายไล่อัด นศพ.ให้ผมดูทุกวัน(บางวันมาอัดผมด้วย...:D...).....ไม่แน่ใจว่า Ward อื่นๆจะไม่ใช้แบบนี้หรือเปล่านะ......ถ้าไม่ใช่แบบนี้...แบบว่าไม่มีคนใข้เรียนแต่หนังสือนี่....คงไม่ไหวหละ...:D...:D



Posted by : Death , Date : 2003-08-05 , Time : 22:15:46 , From IP : 172.29.3.243

ความคิดเห็นที่ : 2


    ขอไม่เข้าใจด้วยคนนะ ระบบการศึกษาแบบไม่มีเจ้าของไข้ในปัจจุบันคืออะไรเหรอ ไม่รู้จักง่ะ มันเหมือนกับระบบการรักษาผู้ป่วยแบบไม่มีเจ้าของไข้หรือเปล่า แล้วเหตุการณ์นี้มันเกิดขึ้นที่ ward ไหนเหรอ มีด้วยเหรอกับการรักษาที่ไม่มีเจ้าของไข้ หรือว่าคนไข้เข้าใจว่านักศึกษาแพทย์คือเจ้าของไข้ เอ....ชักงง แล้วที่ตั้งกระทู้มานี่ต้องการอะไรเหรอ
แต่ก็ขอแสดงความยินดีกับนักศึกษาแพทย์คนนั้นด้วยนะ ที่ผู้ป่วยอวยพรให้ ขอให้เป็นหมอที่ดีต่อไปในอนาคตก็แล้วกันนะ


Posted by : 178 , Date : 2003-08-06 , Time : 00:53:06 , From IP : 172.29.3.164

ความคิดเห็นที่ : 3


   เป็นเรื่องธรรมดาๆที่การเรียนระบบไหนก็เห็นอย่างนี้อยู่เนื่องๆอยู่แล้ว

คนไทยมีนิสัยขี้สงสาร เห็นหมอน้อยหน้าซื่อๆ (และเซ่อๆ) ถูกผู้ใหญ่ดุด่า ก็เข้าข้างเป็นกำลังใจเป็นธรรมดา อย่าว่าแต่คนไข้โตๆเลย ตอนสอบรายยาวหรือลงกอง ward เด็ก อาจารย์ยังต้องคอยกำชับเจ้าเด็กกร้าน ward บางท่านไม่ให้เฉลยแก่ นศพ.ว่าตัวเองเป็นอะไร เด็ก ward hemato บางคนอยู่รพ.เป็นปีๆอาจารย์มาราวด็แล้วราวด์อีกหลาย generation นศพ.ตาดำๆแอบถามแกก็อดให้ทานมิได้บอกว่าเป็น Henoch-Schonlein purpura ฮับ แต่ว่าเดี๋ยวนี้เขาเอา Schonlein ขึ้นก่อนแล้วนะฮับ

เรื่องคนไข้ไหว้ นศพ.ก็เป็นเรื่องธรรมดา คนไทยมี virtue อยู่ไม่กี่อย่าง ความถ่อมตน ความกตัญญู เป็นหนึ่งในบรรดานั้น หมอไทยแต่เดิมมี privilege อย่างที่แพทย์ตะวันตกไม่ใคร่ได้รับ แต่สงสัยเหมือนกันว่า trend กำลังเปลี่ยนรึเปล่า เดี๋ยวนี้ใครได้ด่าครูบาอาจารย์จะฟังดู trendy ยังไงชอบกล

แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ concept ที่ว่าคนไข้ไม่มีเจ้าของไข้ดูแลนี่แหละ น่าจะเป็นการเข้าใจผิดอย่างแรง อาจจะเป็นเพราะคนวิเคราะห์ไม่ได้เข้าใจว่านศพ.ที่ได้ assigned ทำรายงานอะไรนั้นไม่ได้เป็นเจ้าของไข้ คนไข้เลยไม่มีเจ้าของหรืออย่างไร แต่ผมว่าทั่วโลกไม่ว่าระบบไหนๆคนไข้ทุกคนที่ admitted เข้ามารพ.นั้นมีเจ้าของไข้แน่นอน

อย่างไรก้ดี รับพรเขามาแล้ว ก็ต้องเจริญพรด้วยนะครับ สิ่งที่สมเด็จพระราชบิดาฯตรัสไว้ก็ได้เห็นๆตั้งแต่เป็นนักเรียน แต่อย่าลืมว่าที่สุดแล้วที่คนไข้เขาหายจากโรค และขอบคุณนั้นน่ะ เป็นผลงานจากภาระอันหนักหน่วงและความรับผิดชอบของทีมผู้รักษาทุกคน ตั้งแต่ อาจารย์ แพทย์ใช้ทุน แพทย์ประจำบ้าน พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ ฯลฯ หวังว่าการที่ นศพ.ได้รับอานิสงค์อันนี้ไปด้วยเราจะได้มีบัณฑิตแพทย์คุณภาพออกมาในอนาคตนะครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2003-08-06 , Time : 01:20:07 , From IP : 172.29.3.219

ความคิดเห็นที่ : 4


   เรียน คุณ Mars ที่นับถือ
นับถือจริง....ใช่แกล้ง
เรื่องผู้ป่วยให้ความเคารพกับน้องๆนักเรียนมากกว่าอาจารย์
หากในโรงพยาบาลแห่งนี้มีปิยบุรุษเช่นนศพ.ดังกล่าว
มีให้มากๆด้วยนะ
นับเป็นกุศลกรรมของทางโรงพยาบาล
ควรยกย่องเชิดชูให้เกียรติแก่ผู้อื่นทั่วไปได้ทราบ
จึงเรียนมาด้วยความยกย่อง



Posted by : องคต , Date : 2003-08-06 , Time : 15:33:05 , From IP : 172.29.1.116

ความคิดเห็นที่ : 5


   ขอโทษที่กล่าวไม่ชัดเจน เรื่องเจ้าของไข้
ผู้ป่วยทุกราย ย่อมมีชื่ออาจารย์เจ้าของไข้อยู่แล้ว แต่ที่กล่าวหมายถึงนักศึกษาแพทย์ที่มีโอกาสได้ดูแลผู้ป่วยประดุจเจ้าของไข้...แต่เดิม เนื่องจากนศพ.จะมีการซักประวัติและตรวจร่างกายโดยละเอียดในทุกระบบ ดังนั้นจึงมีโอกาสพบว่าผู้ป่วยมีปัญหาอื่น ๆ ซ่อนอยู่ในการรับเข้าโรงพยาบาลแต่ละครั้ง ซึ่งแตกต่างจากแพทย์อาวุโส ซึ่ง มักจะ...(ไม่ได้หมายความถึงทุกท่าน)...ตรวจเฉพาะโรคหลักที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ เนื่องจากมีจำนวนผู้ป่วยที่ต้องดูแลเป็นจำนวนมากจริง ๆ...(น่าเห็นใจมาก เพราะปริมาณ คงไม่สามารถเดินทางไปพร้อมกับคุณภาพได้เป็นแน่)...ยกตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยไส้เลื่อน นัดมาผ่าตัด ใครเคยไปดูไหมว่าผู้ป่วยมีตาเป็นต้อกระจกหรือไม่...ดังนั้น นศพ.ซึ่งมีหน้าที่ต้องตรวจทุกระบบโดยละเอียด จึงเป็นผู้ตรวจพบได้มากกว่าแพทย์อาวุโส ใช่ไหม
ประเด็นที่ต้องการหารือคือ ระบบการศึกษาแบบที่นศพ.ไม่ได้ฝึกหัดการเป็นเจ้าของไข้ การฝึกสร้างความผูกพัน/ความสัมพันธ์ของแพทย์และผู้ป่วย ซึ่งจะส่งผลถึงความภาคภูมิใจในวิชาชีพของตน เมื่อคนมีความรักในวิชาชีพ ย่อมไม่ก่อพฤติกรรมที่ทำให้วิชาชีพตกต่ำ แต่ในปัจจุบัน นศพ.เหมือนคอยตามดูแห่ไปแต่ละเตียง หรือวันนี้รับคำสั่งให้ทำแผลคนนี้ พรุ่งนี้ทำแผลคนโน้น...วนไปเรื่อย ๆ เช่นนี้ เขาจะรู้ไหมว่าลักษณะการหายของแผลในแต่ละวันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร แผลที่หายตามปกติจะเป็นอย่างไร แผลที่เริ่มติดเชื้อมีลักษณะอย่างไร ไม่ใช่ต้องรอวินิจฉัยได้เมื่อเห็นหนองไหลออกจากแผล...ซึ่งไม่ต้องได้ พบ. ก็วินิจฉัยได้แล้ว หรือระบบดูแห่เช่นว่า จะทำได้ ?? ..จะคอยดูต่อไป


Posted by : Mars , Date : 2003-08-06 , Time : 19:07:35 , From IP : 172.29.3.105

ความคิดเห็นที่ : 6


    จริงอยู่ที่การเขียนรายงานแต่ละฉบับของนักศึกษาแพทย์ต้องมีการเขียนการทบทวนระบบต่างๆของการร่างกาย รวมทั้งต้องมีการเขียนการตรวจร่างกายทุกระบบ เป็นต้นว่าคนไข้เป็นไส้เลื่อนมาก็ต้องตรวจ neuro sign ตรวจ cranial nerve ทุกเส้น แต่ถามจริงๆ ถามจริงๆอย่างที่สุดเถอะนะ ว่านักศึกษาแพทย์ทำอย่างนั้นกันจริงๆเหรอ ว่าแต่ว่าคนไข้เป็น ไส้เลื่อนขาหนีบ ตรวจกันจนรู้ว่ามีตาเป็นต้อกระจกแล้ว เคยตรวจทางทวารหนักกันบ้างไหม สำคัญกว่ากันตั้งเยอะ
การที่นักศึกษาแพทย์รู้ว่าคนไข้เป็นต้อกระจก เป็นเรื่องดีนะ เอามาบอกแพทย์ใช้ทุน บอกอาจารย์จะได้ดูว่าต้องให้การรักษาต่อไปหรือไม่อย่างไร เป็นเรื่องที่นักศึกษาแพทย์ควรจะภูมิใจในตนเองว่าเป็นคนสำคัญคนหนึ่ง และมีส่วนร่วมในการรักษาคนไข้ แต่อย่าเอาจุดนี้มายกตนข่มท่านเลยนะ ยังเด็กอยู่เลย จะคิด จะทำอะไร ขอให้เป็นแต่เรื่องที่ดีๆเถอะ
เรื่องที่ 2 นะ ไม่รู้ว่าไอ้ระบบ round แบบแห่แหนนะ มันเกิดที่ส่วนไหนของสงขลานครินทร์ ก็มาดูคนไข้ทีไร ก็เจอนักศึกษาแพทย์หน้าเดิมทุกที เจ้าของไข้ก็คนเดิม ทำแผลก็ทำคนนี้ทุกวัน แล้วจะไม่เห็นการหายของแผลได้อย่างไร มีด้วยเหรอให้สลับกันทำแผล เออ....แปลกดี เหตุการณ์แบบนี้มันเกิดขึ้นที่ไหนหนอ ช่วยบอกหน่อยนะ แบบว่า....ไม่เคยเห็น อยากดูมั่งง่ะ


Posted by : 178 , Date : 2003-08-06 , Time : 19:22:35 , From IP : 172.29.3.130

ความคิดเห็นที่ : 7


   เราคงจะต้องมีการปรับความเข้าใจของระบบ Self-Directed Learning กันนิดหน่อยนะครับ

ผู้ป่วยบนหอนั้นเปรียบเสมือนแหล่งความรู้กึ่งอาจารย์ของนักศึกษาแพทย์ การที่นักศึกษาแพทย์ได้รับมอบหมายให้เขียนรายงานนั้น แปลว่านักศึกษาท่านนั้นควรจะศึกษา case นั้นทั้ง case รวมทั้งติดตามการรักษาไปด้วยได้ เวลาที่จะใช้ในการอยู่กับผู้ป่วยนั้นคงจะบอกยากครับ ที่แน่ๆคือคงไม่ใช่ 9 to 5 แบบงานทั่วๆไป

เห็นด้วยว่าการรักษาแบบ holistic นั้นคงจะดีที่สุด ผมเชื่อว่าที่ปฏิบัติอยู่อย่าง Hernia นี่ ศัลยแพทย์จะหาสาเหตุอื่นที่เกี่ยวข้องเช่นภาวะที่ทำให้ increase intra-abdominal pressure และให้การรักษาหรือแนะนำการปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดไป การ detect cataract หรือ Pterygium ได้ก็คงจะดี และเป็นการแสดงออกถึงความสามารถทางคลีนิคของนักเรียนไปนอย่างดี รับรองได้อยู่ในประวัติการเรียน และ ใบ recommend ก็จะสะท้อนจุดนี้ออกมา

หากนักเรียนแพทย์เข้าใจจุดมุ่งหมายและการทำงานของอาชีพแพทย์เมื่อจบออกไป ก็คงจะหมดความลังเลใจว่าเราควรจะหัดดูผู้ป่วยเหมือนกับเราเป็นเจ้าของไข้หรือไม่ เหมือนกับที่ได้มีการกล่าวถึงมาก่อนคือ การรู้เท่าว่าอะไรคือปรัชญาการเรียนหรือวัตถุประสงค์การเรียน จะทำให้เรามีการดำเนินกิจกรรมประจำวันได้อย่างมีจุดหมายที่ชัดเจนและราบรื่นมากขึ้น



Posted by : Phoenix , Date : 2003-08-06 , Time : 20:11:12 , From IP : 172.29.3.249

ความคิดเห็นที่ : 8


   อยากบอกว่า เคยบอกค่ะ เรื่องรายงานproblem อื่นๆ ทั้ง OPD case & admission ทั้ง cataract , หรือ skin lesion แปลกๆทั้งหลาย แต่ส่วนใหญ่ก็ไม่เห็นว่าใครจะให้ความสำคัญและดำเนินการกับสิ่งที่เห็นว่าเป้นปัญหาเล็กน้อยๆเหล่านี้ ก็เห็นมีแต่แนะนำคนไข้ว่าให้ไปหาหมอแผนกนั้นๆเอง หนูก็เบื่อเหมือนกัน ... บางทีก็เลยไม่ได้รายงานให้ทราบ


Posted by : แล้วจะให้ทำไง? , Date : 2003-08-10 , Time : 15:28:12 , From IP : 172.29.2.152

ความคิดเห็นที่ : 9


   อย่าพึ่งเบื่อสิครับ งานของเรามีอุปสรรคต่างๆอยู่แล้วมากมาย ถ้าเอาความเบื่อมารวมด้วยก็คงจะลำบากมากขึ้น

เป็นไปได้ไหมครับ ที่อาจจะเป็นเพราะลักษณะของ tertiary health care ส่วนหนึ่ง ที่แพทย์ในโรงพยาบาลใหญ่ๆรู้สึกว่ามีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่เรียนมาเรื่องนั้นโดยตรงและให้การรักษาที่ optimal แก่ผู้ป่วย การแนะนำให้คนไข้ไปหาหมอแผนกนั้นๆพอจะนับเป็นการ "ทำอะไร" ได้ไหมครับ?

อีกประการหนึ่งก็คือ priority setting ของผู้ป่วย ถ้าจะขอ exaggerate สักนิด ผู้ป่วย cancer of esophagus ขอให้หมอช่วยทำ blephaloplasty หรือ nevus excision แพทย์ก้อาจจะ postpone เรื่องหลังนี่ไปไกลพอสมควร Cataract ถ้าผมจำไม่ผิดก็เป็นอันหนึ่งที่มี queue ยาวมาก แต่โชคดีที่ไม่ได้ emergency ไม่ทราบว่า skin lesion แปลกๆที่ว่านั้นเป็นอย่างไรนะครับ ขอไม่แสดงความเห็นก็แล้วกัน แต่อยากจะให้ลองพิจารณาความเร่งด่วนและความสำคัญใน problem list ของผู้ป่วยของคุณดู แล้วลองจัดระบบบริหารจัดการดูว่าควรจะเป็นอย่างไร ถ้าไม่เหมือนกับที่อาจารย์ทำ ก็เป็นเรื่องที่สามารถจะเปิดอภิปรายได้โดยตรง ผมคิดว่านั่นคือวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งที่เรามี resource person และอาจารย์ผู้ควบคุมดูแล station นั้นๆ คือ active learning และการอภิปราย



Posted by : Phoenix , Date : 2003-08-10 , Time : 17:53:01 , From IP : 172.29.3.202

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.011 seconds. <<<<<