ความคิดเห็นทั้งหมด : 8

บริจาคร่างกายยามสิ้นลมแล้วให้นศพ.ได้ศึกษามีข้อดีข้อเสียอย่างไร?


   มีความคิดที่จะบริจาคร่ายกายให้โรงพยาบาล เพื่อให้นศพ.ได้ศึกษา แต่อยากจะขอความคิดเห็นจากท่านผู้รู้ว่ามีข้อดีข้อเสียและขั้นตอนอย่างไรบ้าง

Posted by : สำคัญไฉน? , Date : 2003-08-04 , Time : 14:03:26 , From IP : 203.113.76.75

ความคิดเห็นที่ : 1


   .....อืออออ.....การบริจาคของที่นี่ไม่ทราบเหมือนกันครับว่าทำที่ไหน....แต่ทีีที่ผมเรียนมาจะรับบริจาคที่ตึกอำนวยการของโรงพยาบาลครับ....ไปติดต่อเจ้าหน้าที่และจะมีเอกสารให้กรอกครับ.....ที่นี่น่าจะคล้ายๆกันนะครับ...ไม่น่าจะยุ่งยากอะไร....ส่วนที่ไหนนี่ต้องรบกวนท่านที่รู้ช่วยบอกหละครับ....ส่วนข้อดีข้่อเสีย...อืมมม....ผมนึกข้อเสียไม่ออกนะ....ญาติพี่น้องอาจจะไม่ Happy ก็ได้..เพราะกว่าจะได้ทำพิธีศพก็ช้าไปอีกเป็นปี..แต่ถ้าคนที่จะบริจาคตั้งใจจะบริจาค....ผมว่าญาติๆน่าจะเข้าใจนะ....ข้อดี...คนเป็นประโยชน์แน่นอนสำหรับการศึกษาแพทย์ของนักศึกษาแพทย์ครับ.....ผมคิดว่าถ้าไม่เรียนจาก"อาจารย์ใหญ่"แล้วไปศึกษาจากหนังสือเองน่าจะลำบากมากครับ.......:D...:D



Posted by : Death , Date : 2003-08-04 , Time : 15:39:31 , From IP : 172.29.3.169

ความคิดเห็นที่ : 2


   ข้อดี
- เป็นการให้ทานที่ยิ่งใหญ่ที่สุด เพราะว่าแม้ร่างกายยังสามารถให้เป็นวิทยาทานแก่บุคคล เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้อื่นอีกต่อไป
- มีคนอีกหลายตนที่เป็นทุกข์และต้องการความช่วยเหลือของแพทย์ ซื่งร่างกายที่มอบให้สามารถนำมาพัฒนาความรู้ในการพัฒนาการรักษาผู้ป่วยต่อไป
- ในชีวิตคนทุกคนต้องตายด้วยกันทั้งสิ้น แต่ตอนที่เราอยู่เราได้ทำอะไรบ้างในสื่งที่เป็นประโยชน์ให้แก่สังคม ซึ่งสิ่งนี้ถือได้ว่าเป็นอีกอย่างหนึ่งที่ได้ประโยชน์มากที่สุด
- ผมขอขอบคุณอาจารย์ทุกคนในโลกที่ทำให้ผมได้มีความรู้มาถึงตอนนี้
- ลองคิดดูว่าถ้าไม่มีอาจารย์ใหญ่แล้ว การพัฒนาความรู้ทางด้านการแพทย์ คงลำบากกว่านี้มากๆ เราคงไม่ได้ช่วยเหลือผู้ป่วยอีกหลายคน
ข้อเสีย
- ตอนนี้อาจไม่ได้สิทธิ์บางข้อที่ เค้าเคยกำหนดไว้ในเมื่อก่อน
(ผมว่าไม่ใช่ข้อเสียน่ะ )
- อาจรู้สึกเสียวบางในเวลาที่มีชีวิตอยู่ ( บางคน )
- ไม่มีหรอก ถ้าคุณคิดอยากช่วยบุคคลอื่นน่ะครับ

ขอบคุณน่ะครับที่ท่านคิกที่จะบริจาคร่างกาย ผมขอขอบคุณแทนผู้ป่วยอีกมากมายเป็นล้านๆ คน ที่อยู่หลังคน ที่เป็น สัตว์ที่เกิดแก่เจ็บตาย ด้วยกันทั้งนั้นน่ะครับ


Posted by : เด็กจุดจุด med 29 , Date : 2003-08-04 , Time : 18:16:32 , From IP : 172.29.2.122

ความคิดเห็นที่ : 3


   เอ๊ จะเกี่ยวอะไรกับการทำประกันชีวิตมั้ย นะ.....

สิทธิ์บางข้อคืออะไรครับ คุณเด็กจุด 29 สิทธิพิเศษที่หายไปข้อหรือ แต่ผมก็ไม่ทราบนะว่ามีสิทธิพิเศษใด บ้างและอะไรหายบ้าง หรือถูกจำกัดสิทธิ อะไร ส่วนข้อดีม่ายต้อง พรรณนา
ขอความรู้ด้วย เพราะคิดอยู่ เช่นกันตั้งแต่เด็กๆ แต่ขอให้แก่กว่านี้ก่อน นะ

อ้อ ......เคยคิดเล่นๆว่า อาจจะมีองค์การลับที่คอยฆาตกรรม
คนที่มาบริจาคร่างกาย เพื่อเอาศพ ไปใช้ในการอื่นให้เร็วขึ้น เช่นการทดลอง หรือแค่ฉีด promidone (จำชื่อถูกมั้ยเนี่ย) แล้วจะกลายเป็นหุ่นสต๊าฟ แต่การทำงานอย่างอื่นของอว้ยวะปกติ ยกเว้นขยับไม่ได้ นำมาทดลองศึกษาเป็นๆ แบบนาซี โดยองค์กรลับนี้แฝงในคราบนักบุญ รับบริจาคร่างกายเพื่อการศึกษา และแล้วควมลับก็ถูกเปิดเผย โดยนักศึกษาแพทย์คนหนึ่ง ที่บังเอิญไปพบอะไรในกองขยะติดเชื้อ หลังจากโดดราวนด์ หวอดเข้า จึงเรียกเพื่อนๆไปดู และค่อยค้นหาความจริง แต่ขณะเดียวกัน นศ.เหล่านั้นก็ถูกปลิดชีวิตทีละคน และแน่นอนครับเหลือพระเอกกับนางเอก........แต่งต่อหน่อยครับ .....คิดเป็น plotหนัง เฉยๆ อย่าคิดมากนะ


Posted by : uud , Date : 2003-08-05 , Time : 05:08:59 , From IP : 172.29.3.127

ความคิดเห็นที่ : 4


   ถ้าไม่บริจาคให้โรงเรียนแพทย์ ก็อาจจะเลือกบริจาคอวัยวะแทน

ร่างกายของหนึ่งคนสามารถบริจาค ดวงตาสองดวง หนึ่งหัวใจ สองปอด สองไต หนึ่งตับ หนึ่งตับอ่อน หนึ่งลำไส้เล็ก พูดง่ายๆช่วยชีวิตหรือฟื้นฟูสมรรถภาพของคนได้อีกสิบคน

ก็ได้บุญเหมือนกันครับ

สนใจลองดูที่


Posted by : Phoenix , Date : 2003-08-05 , Time : 12:24:38 , From IP : 172.29.3.160

ความคิดเห็นที่ : 5


   ถ้าไม่บริจาคให้โรงเรียนแพทย์ ก็อาจจะเลือกบริจาคอวัยวะแทน

ร่างกายของหนึ่งคนสามารถบริจาค ดวงตาสองดวง หนึ่งหัวใจ สองปอด สองไต หนึ่งตับ หนึ่งตับอ่อน หนึ่งลำไส้เล็ก พูดง่ายๆช่วยชีวิตหรือฟื้นฟูสมรรถภาพของคนได้อีกสิบคน
ก็ได้บุญเหมือนกันครับ
สนใจลองดูที่


Posted by : Phoenix , Date : 2003-08-05 , Time : 12:25:56 , From IP : 172.29.3.160

ความคิดเห็นที่ : 6


   ถ้าไม่บริจาคให้โรงเรียนแพทย์ ก็อาจจะเลือกบริจาคอวัยวะแทน

ร่างกายของหนึ่งคนสามารถบริจาค ดวงตาสองดวง หนึ่งหัวใจ สองปอด สองไต หนึ่งตับ หนึ่งตับอ่อน หนึ่งลำไส้เล็ก พูดง่ายๆช่วยชีวิตหรือฟื้นฟูสมรรถภาพของคนได้อีกสิบคน
ก็ได้บุญเหมือนกันครับ
สนใจลองดูที่ สภากาชาดไทย

หรือติดต่อ
บริจาคอวัยวะ
คุณประโยชน์
ปัจจุบันมีผู้ป่วยในระยะสุดท้ายอยู่เป็นจำนวนมาก ที่ทุกข์ทรมานจากการที่อวัยวะสำคัญ เช่น หัวใจ, ตับ, ไต, ปอด ฯลฯ ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ วิธีรักษาทางการแพทย์ที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยเหล่านี้ คือ การปลูกถ่ายอวัยวะใหม่ ด้วยอวัยวะของผู้มีจิตศรัทธา ซึ่งได้แสดงเจตนารมณ์ในการบริจาคอวัยวะ หรือได้จากญาติที่มีความประสงค์จะบริจาคอวัยวะของบุคคลนั้น เพื่อช่วยเหลือผู้อื่นมาปลูกถ่าย จึงจะช่วยให้ผู้ป่วยในระยะสุดท้ายมีชีวิตอยู่เป็นประโยชน์ต่อครอบครัวและสังคมต่อไปได้
อวัยวะใหม่ที่สามารถนำมาปลูกถ่าย ได้แก่ หัวใจ, ตับ, ไต, ปอด, ตับอ่อน, กระดูก ฯลฯ ซึ่งได้มาจากการนำอวัยวะใหม่เปลี่ยนแทนอวัยวะเดิมที่เสื่อมสภาพ จนไม่สามารถทำหน้าที่ต่อไปได้ และการผ่าตัดนั้นจะเป็นการช่วยชีวิตผู้ป่วยในระยะสุดท้าย เพื่อให้อวัยวะใหม่นั้นทำงานแทนอวัยวะเดิม

ขั้นตอนการบริจาค
1. กรอกรายละเอียดในใบแสดงความจำนงบริจาคอวัยวะให้ชัดเจน ที่อยู่ควรจะตรงกับทะเบียนบ้าน (หากต้องการให้ส่งบัตรประจำตัวไปยังสถานที่อื่น กรุณาระบุ)
2. พิมพ์ใบแสดงความจำนงบริจาค ส่งเอกสารมายังศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย ตามที่อยู่ด้านล่าง และเมื่อศูนย์รับบริจาคอวัยวะฯ ได้รับใบแสดงความจำนงบริจาคอวัยวะของท่านแล้ว ศูนย์รับบริจาคอวัยวะฯ จะส่งบัตรประจำตัวผู้มีความจำนงบริจาคอวัยวะให้ตามที่อยู่ที่ได้ระบุไว้
3. หลังจากที่ท่านได้รับบัตรประจำตัวผู้มีความจำนงบริจาคอวัยวะจากศูนย์รับบริจาคอวัยวะฯ แล้ว อย่าลืมกรอกชื่อ และรายละเอียดการบริจาคลงในบัตร
4. กรุณาเก็บบัตรประจำตัวผู้แสดงความจำนงบริจาคอวัยวะไว้กับตัวท่าน หากสูญหายกรุณาติดต่อกับศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย

คุณสมบัติของผู้บริจาคอวัยวะ
1. ผู้บริจาคอวัยวะต้องมีอายุไม่เกิน 60 ปี
2. เสียชีวิตจากสภาวะสมองตายด้วยสาเหตุต่าง ๆ
3. ปราศจากโรคติดเชื้อ และโรคมะเร็ง
4. ไม่เป็นโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน, หัวใจ, โรคไต, ความดันโลหิตสูง, โรคตับ และไม่ติดสุรา
5. อวัยวะที่จะนำไปปลูกถ่ายต้องทำงานได้ดี
6. ปราศจากเชื้อที่ถ่ายทอดทางการปลูกถ่ายอวัยวะ เช่น ไวรัสตับอักเสบชนิดบี, ไวรัสเอดส์ ฯลฯ
7. กรุณาแจ้งเรื่องการบริจาคอวัยวะแก่บุคคลในครอบครัวหรือญาติให้รับทราบด้วย

ชื่อหน่วยงานกาชาด ศูนย์รับบริจาคอวัยวะ
เบอร์โทรศัพท์ 0-2256-4045-6, 1666
เบอร์แฟกซ์ 0-2255-7968
อีเมล์ odc-trcs@redcross.or.th
ที่อยู่หน่วยงานกาชาดไทย 1871 อาคารเทิดพระเกียรติฯ ชั้น 5
ถ.พระราม 4 เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330




Posted by : Phoenix , Date : 2003-08-05 , Time : 12:27:11 , From IP : 172.29.3.160

ความคิดเห็นที่ : 7


   ถ้าอายุเกิน 60 ปี เราจะสามารถบริจาคอะไรได้บ้างครับ
(หวังว่าตัวเองจะอายุเกิน 60)


Posted by : ArLim , Date : 2003-08-07 , Time : 15:23:49 , From IP : 172.29.3.214

ความคิดเห็นที่ : 8


   2. บริจาคพลาสม่า, เกร็ดเลือด, เม็ดเลือดแดง, เม็ดเลือดขาว หรือไขกระดูก ควรไปแสดงความจำนงด้วยตนเองที่ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ถ. อังรีดูนังต์ ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทรศัพท์ 02-252-4106-9 ต่อ 113, 114, 157, 161 162

หมายเหตุ
เพราะการต้องการเป็นผู้บริจาคเฉพาะในส่วนนั้น ๆ เพียงอย่างเดียวทุกครั้งที่ไปบริจาค ต้องผ่านกระบวนการบางอย่าง เช่น พลาสม่าต้องผ่านการทดสอบผลของผู้บริจาคและต้องผ่านการฉีดวัคซีนไม่น้อยกว่า 3 ครั้ง, การต้องการเป็นผู้บริจาคเกร็ดเลือดเพียงอย่างเดียวทุกครั้งต้องผ่านการเจาะหาจำนวนเกร็ดเลือดและได้รับเลือกเป็นผู้มีเกร็ดเลือดสูงเท่านั้น ( ส่วนกรณีที่พยาบาลห้องเกร็ดเลือดมาดักที่เคาน์เตอร์ผู้บริจาคเลือดนั้น เพราะมีความต้องการฉุกเฉินเข้ามา ) ส่วนรายละเอียดเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวก็ต้องลองติดต่อเป็นพิเศษ และไขกระดูกผู้บริจาคต้องให้ตัวอย่าง DNA ไว้แก่สภากาชาดไทยด้วย

3. การบริจาคดวงตา ติดต่อ ศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทย อาคารเทิดพระเกียรติสมเด็จพระญาณสังวร ( เจริญ สุวฑฺฒโน ) ชั้น 7 ถนนอังรีดูนังต์ ปทุมวัน กทม 10330 โทรศัพท์ขอใบแสดงความจำนงหรือสอบถามได้ที่ (02) 2528181-9 ต่อศูนย์ดวงตา (02) 2564039-40, (01) 9025938 ตลอด 24 ชั่วโมง โทรสาร (02) 2524902 E-mail: eyebank@redcross.or.th www.redcross.or.th

4. การบริจาคอวัยวะ หัวใจ, ตับ, ปอด, ไต และอวัยวะทุกส่วนของร่างกายที่ใช้เป็นประโยชน์ได้ ( ยกเว้นดวงตา, กระดูก, เนื้อเยื่อชีวภาพ ) ติดต่อได้ที่ ศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย อาคารเทิดพระเกียรติสมเด็จพระญาณสังวร ( เจริญ สุวฑฺฒโน ) ชั้น 5 ถ. อังรีดูนังต์ ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทรศัพท์ 1666

5. การอุทิศร่างกายเพื่อการศึกษาแพทย์ ( ใช้ร่างเป็นอาจารย์ใหญ่ ) ติดต่อฝ่ายเลขานุการ ห้องหมายเลข 2 ตึกอำนวยการ ชั้นล่าง โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย หมายเลขโทรศัพท์ 02-256-4628 เวลาราชการ

6. การบริจาคกระดูกและเนื้อเยื่อ ติดต่อได้ที่ ธนาคารกระดูกและเนื้อเยื่อประเทศไทยในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ สำนักงานชั่วคราว : ศูนย์เนื้อเยื่อชีวภาพกรุงเทพฯในพระอุปถัมภ์ อาคารสลากกินแบ่งรัฐบาล ชั้น 3 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล บางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700 โทรศัพท์ขอใบแสดงความจำนงค์หรือสอบถามที่ 02-419-7524-5, 7 โทรสาร 02-411-2506


การบริจาคแต่ละอย่างก็จะได้รับบัตรพกพาติดตัวของแต่ละชนิดไม่เหมือนกัน เช่น บางคนต้องการบริจาคเฉพาะดวงตา แต่ไม่บริจาคอวัยวะ จึงไม่สามารถนำมาปะปนกันได้ ตามความเห็นของผมน่าจะใช้กฏหมายอย่างบางประเทศ คือ เมื่อผู้ป่วยหรือผู้ประสบอุบัติเหตุถึงแก่กรรม ทางรัฐบาลหรือสภากาชาดของประเทศนั้น ๆ มีสิทธินำอวัยวะทุกชิ้นส่วนไปปลูกถ่ายหรือใช้ประโยชน์ได้ตามความเป็นจริงและตามจรรยาแพทย์

ขณะนี้มีผู้แสดงความจำนงบริจาคอวัยวะภายในแล้วถึง ๒๐๐,๐๐๐ คน แต่จากจำนวนผู้บริจาคอวัยวะและผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะระหว่างเดือนมกราคม - มิถุนายน ๒๕๔๖ มีเพียง ๒๐๕ รายเท่านั้น คือเฉลี่ยสามารถปลูกถ่ายได้ไม่เกิน ๔๐๐ รายต่อปี แต่ขณะนี้มีผู้ป่วยที่ลงทะเบียนเป็นผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะถึงอีก ๑,๑๐๐ กว่ารายและเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ( ตามความเห็นของผมถ้าหากจะให้ทันแก่กาลและเพียงพอแก่ปริมาณ ต้องมีผู้แสดงความจำนงค์ไม่ต่ำกว่า ๑ ล้านคนขึ้นไป )


Posted by : ีีuud , Date : 2003-08-14 , Time : 15:14:25 , From IP : 172.29.2.163

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.01 seconds. <<<<<