*** เรื่องจริงเตือนใจ แพทย์โดนฟ้อง ***
ผมเอามาจาก thaiclinic.com/doctorroom นะคับ
ยาวหน่อยแต่ว่าเตือนใจได้ดีมากเลยคับ
http://www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl?board=doctorroom;action=display;num=1144596633
แพทย์ทำคลินิคประมาณ 10 ปี รับรักษาโรคทั่วไป เกิดเหตุอันไม่พึงประสงค์ในคลินิก ดังนี้
ผู้ป่วยหญิงตกเลือดมา ตรวจพบว่ามี Incompleted abortion แพทย์จึงให้การรักษาโดยการทำ D&C แต่เกิดเหตุไม่คาดฝันทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตระหว่างการทำหัตถการ
ชาวบ้านมามุงดู ร่วมกับการที่ญาติเรียกร้องค่าเสียหาย แพทย์ต้องการให้เรื่องจบโดยเร็ว จึงตัดสินใจจ่ายเงินให้ญาติหลายแสนบาท (ลดจากเดิมที่ญาติเรียกมาประมาณ 40%) โดยการจ่ายเงินนี้เป็นการจ่ายต่อหน้าเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยมีคนแนะนำให้แพทย์ทราบว่าให้รีบจ่ายเพื่อให้เรื่องจบโดยเร็วที่สุดจะได้ไ ม่เสียชื่อเสียงและไม่เครียด
ปัญหาคือ เจ้าหน้าที่ตำรวจยังส่งฟ้องต่ออัยการ ในข้อหา ประมาททำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย เท่านั้นยังไม่พอ เจ้าหน้าที่ตำรวจยังแถมข้อหาทำแท้งจนเป็นเหตุให้หญิงถึงแก่ความตาย (แพทย์ไม่ทราบในตอนแรกว่าการที่เจ้าหน้าที่ตำรวจบอกใบ้ว่า ไม่ต้องกังวลไปหรอกคุณหมอ ยังไงก็ช่วย ๆ กันอยู่แล้ว คือการที่เจ้าพนักงานเรียกร้อง...... แพทย์จึงพาซื่อคิดว่าคงไม่มีปัญหาเพราะตนจ่ายเงินให้ญาติแล้ว แถมยังเซ็นหนังสือประนีประนอมไว้เรียบร้อย ประกอบกับไม่ได้มีเงินมากมายไปเที่ยวแจกใครต่อใคร)
อัยการท้องที่บอกว่า จะช่วยเหลือผ่อนหนักเป็นเบา แต่ก็ต้องว่าไปตามสำนวนของตำรวจ แต่ปรากฎว่าคดีนี้มีคนสนใจมากในท้องที่ประกอบกับแรงบีบจากเรื่องการเมืองในท ้องที่ อัยการไม่กล้าตัดสินใจเองจึงส่งไปยังอัยการเขตเพื่อให้ตัดสินใจว่าจะส่งฟ้อง ศาลหรือไม่
เกิดความผิดพลาดอะไรขึ้นในคดีนี้!!!!!!!!!!!!!!!
...............หลังจากได้รับemailและอ่านจบแล้ว เข้าใจแล้วว่าทำไม่จึงเครียด เป็นผมก็คงเครียด และคุณหมอไม่ใช่รายแรกที่มาปรึกษาในทำนองนี้กับผม มีแพทย์โดนไปหลายคนแล้ว เหตุเพราะไม่รู้กฎหมาย จึงโดนกฎหมายเล่นงานจากคนที่รู้ดี (ตำรวจและอัยการ)
ผมรีบตอบให้ทันทีเพราะเรื่องของคุณล่อแหลมมากที่จะโดนหมายจับจากศาล หากอัยการสั่งฟ้องต่อศาล (ไม่รู้ว่าสั่งฟ้องแล้วหรือยัง)
ปัญหาตามเหตุการณ์คือ
1. ญาติเรียกค่าเสียหาย แล้วตกลงจ่ายให้ แต่ไม่ทราบว่าทำเอกสารประนีประนอมยอมความหรือไม่อย่างไร (ผมคิดว่าคุณทำผิดพ
าดมากที่ไปจ่ายเงินง่าย ๆ แล้วแถมยังโดนตำรวจเล่นงานอย่างหนักอีก)
2. เจ้าหน้าที่ตำรวจส่งเรื่องฟ้องต่ออัยการ แสดงว่าญาติผู้ตาย (ผู้เสียหายตามกฎหมาย) เข้าแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจในคดีอาญา หรือไม่ก็เรื่องไปถึงเจ้าพนักงานเองทำให้ต้องเข้ามาสอบสวน (คาดว่าคงฟ้องตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 ฐาน ประมาททำให้ผุ้อื่นถึงแก่ความตาย โทษ 10 ปี หรือ 20,000 บาท และมาตรา 302 ทำแท้งโดยหญิงยินยอมแล้วตาย โทษ 10 ปี หรือ 20,000 บาท เช่นกัน รวม 2 กระทง)
ดังนั้นเจ้าพนักงานตำรวจต้องรวบรวมหลักฐานในการลงความเห็นว่าจะสั่งฟ้องต่ออ ัยการหรือไม่อย่างไร ในชั้นนี้จึงเป็นชั้นสำคัญที่จะสามารถส่งผลให้เจ้าพนักงานเรียกรับเงินโดยมิ ชอบจากแพทย์ได้ โดยอาจทำได้ดังนี้
- ตั้งข้อหาให้เบา ๆ โทษต่ำๆ หรือ ตั้งข้อหาหนัก ๆ โทษสูง ๆ (อย่างที่คุณโดน)
- รวบรวมพยานหลักฐานน้อย ๆ เพื่อช่วยเรา หรือ รวบรวมพยานหลักฐานให้แน่นหนาเพื่อเอาผิดเราให้ได้มาก ๆ
ทั้งนี้พยานหลักฐานดังกล่าว ต้องส่งต่ออัยการก่อน อัยการจะลงความเห็นสั่งฟ้องหรือไม่สั่งฟ้องต่อศาลอีกที
3. ไปพบอัยการแล้ว แสดงว่า ผ่านขั้นตอนสอบพยานหลักฐานจากตำรวจไปแล้ว
ดังนั้นอัยการคงอยู่ระหว่างตรวจสำนวน และ ตรวจพยานหลักฐานที่เจ้าพนักงานตำรวจส่งมาให้ ดังได้กล่าวมาแล้วในข้อ 2
ขั้นตอนนี้ก็เป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญและมักถูกใช้วิ่งเต้นเพื่อล้มคดีก่ อนอัยการส่งฟ้องต่อศาล หากอัยการส่งฟ้องต่อศาล คุณก็จะตกเป็นจำเลยทันที และต้องเตรียมประกันตัวไว้ล่วงหน้า มิฉะนั้นต้องไปนอนในห้องขัง โดยศาลไม่จำต้องไต่สวนคุณอีก (ไต่สวนมูลฟ้อง) ดังนั้นหากจะสู้คดีนี้ต้องรีบเข้าไปคุยกับอัยการพร้อมกับทนายที่มีความรู้เร ื่องกฎหมาย โดยด่วน
ดังนั้นคุณควรตั้งทนายส่วนตัวทันทีและเข้าไปคุยกับอัยการ ก่อนอัยการจะสั่งฟ้อง เพราะหากสั่งฟ้องแล้ว เรื่องจะเข้าสู่กระบวนการทางศาลทันทีและใช้เวลาอีกหลายปีกว่าจะจบ (เข้าคุก รอลงอาญา หรือ ยกฟ้อง)
ปัจจัยที่มีผลต่อการสั่งฟ้องของอัยการคือ
- เหตุการณ์ดังกล่าวคุณผิดจริงหรือไม่อย่างไร ซึ่งผมไม่ทราบ
- ญาติผู้เสียหายติดใจเอาความต่อหรือไม่อย่างไร
- ตอนจ่ายเงินให้ญาติ ให้เหตุผลในการจ่ายอย่างไร และทำหนังสือประนีประนอมยอมความหรือไม่ (ผมคาดว่าไม่ เพราะไม่อย่า
งั้นญาติคงไม่แจ้งความต่อตำรวจ และตำรวจคงไม่สั่งฟ้องต่ออัยการ แต่ตำรวจคงมาขอเงินคุณมากกว่าเพื่อไม่ส่งสำนวนไปให้อัยการ)
- สำนวนที่เจ้าพนักงานตำรวจทำมานั้น แน่นหนาแค่ไหน
- การจ่ายเงินต่อหน้าเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ได้ช่วยอะไรเลยในสายตาผม เพราะตำรวจทำได้แค่เป็นพยานรับรู้การจ่ายเงิน เผลอ ๆ จะเป็นสาเหตุให้ตำรวจอยากได้เงิน เพราะคุณจ่ายไปเยอะมาก ทำให้ตำรวจคิดว่าคุณมีเงินเยอะ น่าจะให้เขาบ้าง พอคุณไม่ให้ (ผมสันนิษฐานว่าไม่ได้ให้ หรือให้แต่น้อยกว่าที่ให้ญาติ) ทำให้ตำรวจส่งฟ้องไปยังอัยการด้วยข้อหาหนักแถมยังเพิ่มข้อหาให้อีก
- การที่ตำรวจเพิ่มข้อหาทำแท้ง แสดงว่าตำรวจน่าจะnegativeกับคุณ โดยการเพิ่มข้อหาให้หนัก ๆ เพื่อให้คุณเหนื่อยกับการแก้ข้อกล่าวหา ( ค้าความ !!!!!)
- สมมุติว่าหากอัยการต้องการเงิน และคุณให้ไป อัยการอาจเด้งสำนวนคืนไปยังตำรวจ เป็นต้นว่า พยานหลักฐานไม่แน่นหนา ไม่มีเหตุผลในการสั่งฟ้องต่อศาล โดยตำรวจมีหน้าที่รวบรวมพยานหลักฐานใหม่ หรือ ไม่ก็จบลงตรงนี้โดยตำรวจเห็นด้วยกับอัยการ หากไม่เห็นด้วยก็จะไปรวบรวมหลักฐานใหม่ (ซึ่งน่าจะเป็นเช่นนี้เ พราะตำรวจคงไม่ได้เงินจากคุณ) คุณก็ต้องไปวิ่งเต้นตำรวจอีกที ส่วนตำรวจอาจทำหนังสือให้ผู้ว่าจังหวัดลงความเห็นว่าควรยุติคดีหรือไม่
- หากตำรวจไม่สั่งฟ้องใหม่ (คุณจ่ายเงิน หรื อ ตำรวจยอมจบ) ญาติก็อาจฟ้องเองได้อีก นี่เป็นเหตุผลที่ถามในตอนต้นว่า จ่ายให้ญาติด้วยเหตุผลอะไร ทำหนังสือประนีประนอมไว้หรือไม่อย่างไร ญาติต้องการจบเรื่องจริงหรือไม่
ทั้งหมดนี้ผมมองว่าคุณหมอทำผิดที่รีบไปให้เงินญาติตั้งแต่ต้น และให้จำนวนมากด้วย
ผมคิดในใจคร่าว ๆ ว่าหากหมอผิดจริง และ ต้องการวิ่งเต้นเพื่อมิให้สั่งฟ้องต่อศาล ผมคาดว่าหมอคงต้องจ่ายเงินอีกหลายแสน โดยคิดบนพื้นฐานที่จ่ายให้ญาติไปหลานแสน ตำรวจคงต้องการไม่น้อยกว่านั้น อัยการก็เช่นกัน
เบ็ดเสร็จเผลอ ๆ อาจสูงกว่าจ้างทนายแก้ต่างอีกต่างหาก
ความผิดพลาดของแพทย์ในคดีนี้
1) การรีบจ่ายเงินในคดีอาญาแผ่นดิน ไม่ได้ทำให้คดีจบอย่างที่คิด เพราะเจ้าพนักงานมีสิทธิเข้ามาสอบสวนได้เองโดยไม่ต้องมีผู้เสียหายไปฟ้อง
2) การรีบจ่ายเงินให้ญาติอาจทำให้คนอื่นที่ทราบในกระบวนการนี้ต้องการได้เงินด้ วยเพราะเห็นว่าน่าจะมีเยอะ เลยจ่ายง่าย ๆ
3) การรีบจ่ายเงินอาจถูกตีความจากคนอื่นว่าเป็นการยอมรับผิด
4) อย่างไรก็ดี การช่วยเหลือญาติเป็นสิ่งควรกระทำหากไม่แน่ใจว่าเราผิดหรือถูก อย่างน้อยเวลาขึ้นศาล ศาลก็จะยกมาเป็นเหตุบรรเทาโทษ และลดโทษให้เราอีกที
5) คดีอาญาที่แพทย์โดนฟ้องบ่อยก็คือมาตรา 291นี่เอง "ประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย โทษจำคุก 10 ปีหรือปรับ 20,000 บาท" ซึ่งเป็นความผิดที่ไม่ต้องอาศัยเจตนา (หากเจตนาก็จะกลายเป็นฆาตกรรม) แพทย์จึงต้องศึกษามาตรานี้อย่างดี++++++++++
6) หนทางหลุดจากข้อกล่าวหามาตรานี้คือ ต้องทำให้ศาลเชื่อว่า - เรามิได้ประมาท
- ความตายมิได้เป็นผลจากการกระทำของเรา
7) หนทางที่ทำให้ศาลลดโทษจากมาตรานี้ (หากเราผิดจริง) - เยียวยาญาติตามสมควร หรีอให้ดี จนญาติพอใจ (ถ้าทำได้)
- รับสารภาพในชั้นศาลว่าเราผิดจริงแต่ไม่ได้เจตนาและพยายามระวังอย่างเต็มที่แ ล้ว
- อย่าทำให้ประวัติตนเองเสียหาย (ศาลจะสืบความประพฤติก่อนลงโทษ)
- หากผู้ป่วยมีส่วนผิด เป็นต้นว่ามิได้บอกเราว่าไปกินยาอะไรมา ไปทำแท้งที่อื่นมาแล้วมีปัญหา แสดงว่าผู้ป่วยต้องร่วมรับผิดชอบด้วย (ความรับผิดชอบร่วมกัน) ศาลก็จะลดโทษตามน้ำหนักว่าใครมีส่วนแค่ไหนอย่างไร
การทำหัตถการในคลินิกเป็นเรื่องที่ต้องคิดให้ดี และต้องมีlife support deviceอย่างพอเพียง และต้องอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานด้วย (คุณหมอท่านนี้มี แต่ถ่านเกิดหมดตอนเกิดเรื่อง) หลีกเลี่ยงได้ควรหลีกเลี่ยง โดยเฉพาะการทำหัตถการที่ไม่ใช่emergency ควรส่งต่อหรือไปทำที่รพ. เพราะศาลจะเห็นว่าเป็นเรื่องประมาทที่แพทย์ไม่ยอมไปทำในที่ ๆ มีเครื่องมือพร้อมกว่า ทั้ง ๆ ที่อยู่ในวิสัยและพฤติการณ์ที่จะทำได้ (ความผิดฐานประมาท ศาลจะดูวิสัยและพฤติการณ์ประกอบคำตัดสิน)
9) หากมีแนวโน้มเกิดคดี ควรรีบปรึกษาทนายโดยด่วน และทนายควรรู้เรื่องแพทย์ด้วย เพราะคำแนะนำว่าให้สารภาพ หรือ อ่อนต่อญาติ หรือ แข็งกับญาติจะมีส่วนในคดีที่กำลังตามมา หากเห็นว่าผิดจริง ทนายก็อาจแนะนำให้ประนีประนอมเต็มที่ หากเราไม่ผิดทนายก็ควรแนะนำให้สู้ เพราะค่าใช้จ่ายตามมาตรา 291 นี้โอกาสแพทย์ติดคุกจริง ๆ น้อยมาก เต็มที่ก็รอลงอาญา หรือไม่ก็ยกฟ้อง หากเราไม่ผิด (ทนายต้องรู้ทั้งเรื่องการแพทย์ และ กฎหมาย จึงจะช่วยตัดสินใจให้เราได้)
10) เรื่องไปถึงอัยการ แล้ว และมีแนวโน้มจะส่งฟ้องต่อศาล ดังนั้นต้องเตรียมหลักทรัพย์ประกันตัวไว้ อย่ารอให้ถึงวันศาลประทับรับฟ้อง เพราะจะหาไม่ทันแล้วต้องนอนใต้ถุนศาล (กักขัง) ส่วนหลักทรัพย์ในชั้นพนักงานตำรวจนั้น แม้จะใช้ได้ในชั้นศาลแต่อาจถอนมาประกันไม่ทัน ดังนั้นต้องเตรียมไว้อีกก้อน
11) การรับหมายศาลเมื่อศาลประทับรับฟ้อง (วันรับฟ้อง อย่าไปศาลเองแต่ให้ตั้งทนาย) อย่ารับด้วยตนเอง เพราะเราจะได้เวลาเพิ่มอีก15 วันในการเตรียมตัว โดยไม่ถือว่าทำผิดกฎหมาย
12) อย่าประหยัดในเรื่องค่าทนาย เพราะขั้นตอนทางกฎหมายและการวิ่งเต้นนั้น ทนายจะรู้ดีกว่าเรา
13) อย่าหวังพึ่งนิติกรของรัฐ(กรณีเป็นข้าราชการ) เพราะจากประสบการณ์ผมเอง นิติกรรัฐ พึ่งได้น้อยมากและมักไม่รู้ดีกว่าเรามากนัก ส่วนใหญ่รู้แต่ทฤษฎี ควรตั้งทนายที่ไว้ใจได้เอง
14) กรณีไม่ได้เป็นข้าราชการและยังทำหัตถการเสี่ยง ๆ อยู่ ควรทำ malpractice insurance เพื่อจะได้มีคนกลาง ดำเนินเรื่องแทนเราทั้งหมดความผิดพลาดของแพทย์ในคดีนี้
1) การรีบจ่ายเงินในคดีอาญาแผ่นดิน ไม่ได้ทำให้คดีจบอย่างที่คิด เพราะเจ้าพนักงานมีสิทธิเข้ามาสอบสวนได้เองโดยไม่ต้องมีผู้เสียหายไปฟ้อง
2) การรีบจ่ายเงินให้ญาติอาจทำให้คนอื่นที่ทราบในกระบวนการนี้ต้องการได้เงินด้ วยเพราะเห็นว่าน่าจะมีเยอะ เลยจ่ายง่าย ๆ
3) การรีบจ่ายเงินอาจถูกตีความจากคนอื่นว่าเป็นการยอมรับผิด
4) อย่างไรก็ดี การช่วยเหลือญาติเป็นสิ่งควรกระทำหากไม่แน่ใจว่าเราผิดหรือถูก อย่างน้อยเวลาขึ้นศาล ศาลก็จะยกมาเป็นเหตุบรรเทาโทษ และลดโทษให้เราอีกที
5) คดีอาญาที่แพทย์โดนฟ้องบ่อยก็คือมาตรา 291นี่เอง "ประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย โทษจำคุก 10 ปีหรือปรับ 20,000 บาท" ซึ่งเป็นความผิดที่ไม่ต้องอาศัยเจตนา (หากเจตนาก็จะกลายเป็นฆาตกรรม) แพทย์จึงต้องศึกษามาตรานี้อย่างดี++++++++++
6) หนทางหลุดจากข้อกล่าวหามาตรานี้คือ ต้องทำให้ศาลเชื่อว่า - เรามิได้ประมาท
- ความตายมิได้เป็นผลจากการกระทำของเรา
7) หนทางที่ทำให้ศาลลดโทษจากมาตรานี้ (หากเราผิดจริง) - เยียวยาญาติตามสมควร หรีอให้ดี จนญาติพอใจ (ถ้าทำได้)
- รับสารภาพในชั้นศาลว่าเราผิดจริงแต่ไม่ได้เจตนาและพยายามระวังอย่างเต็มที่แ ล้ว
- อย่าทำให้ประวัติตนเองเสียหาย (ศาลจะสืบความประพฤติก่อนลงโทษ)
- หากผู้ป่วยมีส่วนผิด เป็นต้นว่ามิได้บอกเราว่าไปกินยาอะไรมา ไปทำแท้งที่อื่นมาแล้วมีปัญหา แสดงว่าผู้ป่วยต้องร่วมรับผิดชอบด้วย (ความรับผิดชอบร่วมกัน) ศาลก็จะลดโทษตามน้ำหนักว่าใครมีส่วนแค่ไหนอย่างไร
การทำหัตถการในคลินิกเป็นเรื่องที่ต้องคิดให้ดี และต้องมีlife support deviceอย่างพอเพียง และต้องอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานด้วย (คุณหมอท่านนี้มี แต่ถ่านเกิดหมดตอนเกิดเรื่อง) หลีกเลี่ยงได้ควรหลีกเลี่ยง โดยเฉพาะการทำหัตถการที่ไม่ใช่emergency ควรส่งต่อหรือไปทำที่รพ. เพราะศาลจะเห็นว่าเป็นเรื่องประมาทที่แพทย์ไม่ยอมไปทำในที่ ๆ มีเครื่องมือพร้อมกว่า ทั้ง ๆ ที่อยู่ในวิสัยและพฤติการณ์ที่จะทำได้ (ความผิดฐานประมาท ศาลจะดูวิสัยและพฤติการณ์ประกอบคำตัดสิน)
9) หากมีแนวโน้มเกิดคดี ควรรีบปรึกษาทนายโดยด่วน และทนายควรรู้เรื่องแพทย์ด้วย เพราะคำแนะนำว่าให้สารภาพ หรือ อ่อนต่อญาติ หรือ แข็งกับญาติจะมีส่วนในคดีที่กำลังตามมา หากเห็นว่าผิดจริง ทนายก็อาจแนะนำให้ประนีประนอมเต็มที่ หากเราไม่ผิดทนายก็ควรแนะนำให้สู้ เพราะค่าใช้จ่ายตามมาตรา 291 นี้โอกาสแพทย์ติดคุกจริง ๆ น้อยมาก เต็มที่ก็รอลงอาญา หรือไม่ก็ยกฟ้อง หากเราไม่ผิด (ทนายต้องรู้ทั้งเรื่องการแพทย์ และ กฎหมาย จึงจะช่วยตัดสินใจให้เราได้)
10) เรื่องไปถึงอัยการ แล้ว และมีแนวโน้มจะส่งฟ้องต่อศาล ดังนั้นต้องเตรียมหลักทรัพย์ประกันตัวไว้ อย่ารอให้ถึงวันศาลประทับรับฟ้อง เพราะจะหาไม่ทันแล้วต้องนอนใต้ถุนศาล (กักขัง) ส่วนหลักทรัพย์ในชั้นพนักงานตำรวจนั้น แม้จะใช้ได้ในชั้นศาลแต่อาจถอนมาประกันไม่ทัน ดังนั้นต้องเตรียมไว้อีกก้อน
11) การรับหมายศาลเมื่อศาลประทับรับฟ้อง (วันรับฟ้อง อย่าไปศาลเองแต่ให้ตั้งทนาย) อย่ารับด้วยตนเอง เพราะเราจะได้เวลาเพิ่มอีก15 วันในการเตรียมตัว โดยไม่ถือว่าทำผิดกฎหมาย
12) อย่าประหยัดในเรื่องค่าทนาย เพราะขั้นตอนทางกฎหมายและการวิ่งเต้นนั้น ทนายจะรู้ดีกว่าเรา
13) อย่าหวังพึ่งนิติกรของรัฐ(กรณีเป็นข้าราชการ) เพราะจากประสบการณ์ผมเอง นิติกรรัฐ พึ่งได้น้อยมากและมักไม่รู้ดีกว่าเรามากนัก ส่วนใหญ่รู้แต่ทฤษฎี ควรตั้งทนายที่ไว้ใจได้เอง
14) กรณีไม่ได้เป็นข้าราชการและยังทำหัตถการเสี่ยง ๆ อยู่ ควรทำ malpractice insurance เพื่อจะได้มีคนกลาง ดำเนินเรื่องแทนเราทั้งหมด
15) การทำสัญญาประนีประนอมยอมความมี 2 แบบ คือ ทำในศาล และ ทำนอกศาล ซึ่งมีผลต่างกัน (รายละเอียดศึกษาได้จากหนังสือ)
16) การทำสัญญาประนีประนอมคือการทำนิติกรรมแบบหนึ่ง ถึงแม้แพทย์จะให้ญาติระบุว่าไม่ติดใจในคดีอาญา แต่หากเป็นอาญาแผ่นดิน ข้อความดังกล่าวถือเป็นโมฆะ ตำรวจสามารถเข้าไปยุ่งได้เองโดยญาติไม่ต้องแจ้งความ ทำให้แพทย์เสียเงินฟรี ๆ (แต่อาจมีประโยชน์เมื่อศาลใช้ประกอบการลดโทษในภายหลังแต่ต้องระบุเหตุผลในกา รจ่ายเงินดี ๆ )
17) เวลาเกิดคดีอาญา หากเรื่องจบที่พนักงานตำรวจหรือ มีสัมพันธ์ที่ดีกัน จะช่วยผ่อนหนักเป็นเบา
1 อย่าทำหัตถการเสี่ยง ๆ ที่คลินิก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคแห่งการฟ้องร้องแบบนี้ ทำเฉพาะ emergency caseเท่านั้น ซึ่งมีประมวลกฎหมายอาญา คุ้มครองแพทย์ไว้อยู่ว่าให้ทำได้
19) case deadทุกรายควรส่งautopsyกับนิติเวช ไม่ควรส่งให้ชัณสูตรโดยแพทย์ที่ไม่มีความรู้ (Caseนี้ส่งให้สูติแพทย์ทำ) เพราะน้ำหนักคดีส่วนหนึ่งขึ้นกับผลautopsy
20) พยานผู้เชี่ยวชาญ พยานผู้ขำนาญการ จะช่วยเราได้มาก ควรรีบปรึกษา
สุดท้าย "การไม่รู้กฎหมายมิอาจยกเป็นข้อแก้ตัวในศาล เพื่อมิต้องรับโทษ"
Posted by : i love mum , Date : 2006-04-23 , Time : 17:31:02 , From IP : 172.29.4.82
|