ความคิดเห็นทั้งหมด : 23

แย่ที่สุด...ในช่วงปิดเทอม


   อาชีพพยาบาลช่วยผู้อื่นมามากแล้ว..ทำไมลูกของตัวเองถึงช่วยไม่ได้...ปิดเทอมไม่มีใครเลี้ยงลูก...????????? ลาออกไปเลี้ยงลูกดีไหม......โอนย้ายหน่วยงานออกจากฝ่ายการฯ ดีไหม???? ออกกฎ..ห้ามนำลูกมาตอนปฏิบัติงาน...ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่พามาหรอกค่ะ!!!!!!!!!ไม่ได้โง่นะคะ......

Posted by : จะพาลูกรักไปไว้ที่ไหนดีเมื่อแม , Date : 2006-04-13 , Time : 05:18:27 , From IP : 172.29.3.110

ความคิดเห็นที่ : 1


   เฮ้อ! คิดถูกแล้วค่ะที่กำลังจะย้ายไปที่อี่น เพื่อความอบอุ่นของสถาบันครอบครัว...ขอให้คนที่นี่อยู่กันให้เป็นสุขๆเถิด..สาธุ

Posted by : ... , Date : 2006-04-13 , Time : 05:23:40 , From IP : 172.29.3.110

ความคิดเห็นที่ : 2


   เจ้าของโครโมโซมYล่ะ

Posted by : sss , Date : 2006-04-13 , Time : 06:53:07 , From IP : 203.188.33.200

ความคิดเห็นที่ : 3


   ทางคณะไม่คิดหาทางออกบ้างหรือครับ เช่นจัดสถานที่ให้เด็กเล่นทำกิจกรรม
หรือถ้าเป็นเด็กโตมีงานทำช่วงปิดเทอมช่วยร่วมแก้ปํญหากันไปไม่ใช่เก่งแค่ออกคำสั่งอย่างเดียว


Posted by : ปัญหาเดียวกัน , Date : 2006-04-13 , Time : 08:32:26 , From IP : 172.29.1.94

ความคิดเห็นที่ : 4


    เห็นด้วยกับความคิดเห็นที่ 3 ครับ

Posted by : a , Date : 2006-04-13 , Time : 09:01:15 , From IP : 172.29.3.171

ความคิดเห็นที่ : 5


   เปนแค่ นศพ แต่ก้อพอเข้าใจคับ
เหนด้วยกะความเหนที่สาม


Posted by : แปะ , Date : 2006-04-13 , Time : 09:04:22 , From IP : 172.29.4.246

ความคิดเห็นที่ : 6


   เห็นด้วยครับ เรื่องไม่น่ายากคณะน่าจะทำได้

Posted by : cabin_crew , Date : 2006-04-13 , Time : 12:45:28 , From IP : 172.29.4.75

ความคิดเห็นที่ : 7


   1. ไม่เห็นด้วยกับการเอาลูกมาไว้ที่ทำงาน เพราะโรงพยาบาล คงไม่เหมาะกับให้เด็กมาเล่น และเคยมีญาติผป.อยู่ห้องพิเศษ(ฉบ.)ที่รู้จักกัน เขาก็เคยบ่นให้ฟังว่าไม่เห็นด้วยเลยที่พยาบาลเอาลูกมาทำงานด้วย เด็กไม่รู้เรื่องวิ่งไปมา แม่ก้ขาดสมาธิในการทำงานต้องคอยห่วงลูก ดูก็ไม่งาม จึงแนะนำให้เขาส่งเป็นความเห็นไปให้ผู้ใหญ่

2. ก็เห็นใจคนที่มีลูกเล็ก แต่ก็คิดว่าก่อนมีลูก เราคงต้องคิดด้วยว่าเป็นความรับผิดชอบของเราเอง ของครอบครัวเรา

3. ถ้าหน่วยงานคิดจะช่วยเหลือก็คงดีมาก เท่าที่ทราบเขาก็ให้ฝากที่ฝากเลี้ยงชั้น 6 ตึกสูติกรรมได้มิใช่หรือ


Posted by : คิดด้วยคน , Date : 2006-04-13 , Time : 13:46:25 , From IP : 172.29.7.110

ความคิดเห็นที่ : 8


   เคยพูดถึง traditional morality versus moral sensitivity มาครั้งหนึ่ง คิดว่าเข้ากับเหตุการณ์ ลองนำมาเปรียบ

traditional morality คือ ใช้กฏระเบียบ คุณธรรม หลักการมา "ตัดสิน" ว่าอะไร "ถูกหรือผิด" ส่วน moral sensitivity คือให้คุณธรรมเป็นเหตเป็นผลทำให้เกิดความ "เข้าใจ และเห็นอกเห็นใจ" ก่อนเป็นหลัก ยังไม่พูดถึงการตัดสิน

เอาแบบแรกมาใช้ก็คงจะบอกว่าเอาเด้กมาที่ทำงาน ทำให้ทำงานไม่สะดวก อันนี้ผิด แค่นั้น แต่จะเกิดผลดีผลเสียอย่างไรต่อคนฟัง ต่อเหตุการณ์? มันก็จะเหมือนการ "ฟันธง" ตอนที่มีกรณีเด้กเป็นไข้ ER ไม่รับ admit แล้วพอเด็กสูญเสียชีวิตก็มีรมต. ฟันธงบอกว่าผิด มีหมอออกมาฟันธงว่าไม่ผิด

แต่ถ้าเอาแบบสองมาใช้ อย่างในกรณีของเด็กเป็นไข้ คุณธรรมจะบอกให้เราคำนึงถึง "เหตุผล เพื่อทำความเข้าใจ" ว่าทำไมแม่เด็กจึงโกรธ จึงเสียใจ จึงผิดหวัง และมีปฏิกิริยาไม่พอใจ ถ้าเราทราบเช่นนี้ การแสดงออกของเราคงไม่ใช่เอานักกฏหมายมา หรือเอา CPG มากางให้แม่เด็กดู เอา evidence-based level ต่างๆมาให้ดูบอกว่าใครถูกผิด แต่จะกลายเป็นเข้าใจและแสดงความเห็นอกเห็นใจ พยายามช่วยเหลือคนที่ลำบาก และพึ่งจะเสียลูกไปสดๆร้อนๆหนึ่งคน

ในกรณีกระทู้นี้ ไม่มีใคร "อยาก" จะหิ้วลูกมาทำงาน ถ้าเอามาแปลว่า "มีเหตที่พิจารณาว่าจำเป็น" ในบริบทของเขา การตัดสินว่าไม่ควร หรือผิด นั้นแปลว่าใช้ traditional morality แต่ไม่ได้ exercise moral sensitivity

การเห็นแม่ขาดสมาธิในการทำงานเพราะเป็นห่วงลูกนั้น ดูไม่งาม ก็เป็นการมองแบบมีกฏระเบียบ มีกรอบมาบังคับความคิด แต่ถ้ามองเป็นความรักของแม่ต่อลูกที่ยังไงๆก็ห่วงล฿กมากที่สุด สำคัญกว่ากิจอย่างอื่น แลวจะงามหรือไม่ ก็น่าคิด

จริงอยู่การมีลูกเป็นความรับผิดชอบของพ่อแม่ แต่คนเราทุกคนอยู่ด้วยกันในสังคมได้นั้น การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การเห็นอกเห็นใจ และความพร้อมที่จะ share responsible เพื่อช่วยเหลือคนที่ทุกข์อยู่ เป็น "หน้าที่" หรือเป็นอะไรที่ "ควร" มากน้อยแค่ไหนก็น่าสนใจ

ส่วนความเห็นเรื่องการส่งความช่วยเหลือเป็นระบบนอกเหนือจากนั้น เห็นด้วย 100%



Posted by : Phoenix , Date : 2006-04-13 , Time : 17:15:54 , From IP : ppp-124.120.217.127.

ความคิดเห็นที่ : 9


   เห็นด้วยครับ

Posted by : นก.. , Date : 2006-04-13 , Time : 19:04:43 , From IP : 203.113.76.75

ความคิดเห็นที่ : 10


   เห็นใจค่ะ ถึงแม้จะไม่มีแฟน ค่ะ

Posted by : กระป๋องน้อย , Date : 2006-04-13 , Time : 19:59:22 , From IP : 172.29.4.153

ความคิดเห็นที่ : 11


    จากหนังสือเวียนของพยาบาล ขอความร่วมมือ ไม่ให้นำบุตรมาด้วยในช่วงเวลาปฏิบัติงาน ด้วยว่าเหตุผลว่าทำให้ไม่มีสมาธิในการทำงาน เสี่ยงต่อการทำงานผิดพลาด รบกวนผู้ป่วยและผู้ร่วมงาน รวมทั้งมีความเสี่ยงกับเด็กต่อการติดเชื้อในรงพยาบาล ซึ่งโรงพยาบลได้ห้ามญาตินำเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 12 ปี มาโรงพยาบาล อ่านแล้วรู้สึกตกใจมาก คิดว่าเกิดอะไรขึ้นกันนี่ ทำไมพยาบาลเราถึงทำร้ายกันถึงขนาดนี้เชียวหรือ การมีลูก การมีครอบครัว เป็นความผิดไปแล้วหรือ โดยหลักการแล้วคงไม่มีใครอยากต้องเอาลูกมาเลี้ยงที่โรงพยาบาลหรอก แต่ด้วยบางสถานการณ์ความจำเป็นที่ต้องถูกบีบบังคับ บางวัน บางช่วงหนึ่งของเหตุการณ์ที่เลวร้ายในชีวิต ก็ต้องทำอย่างนั้น การที่ต้องทิ้งลูกเล็กๆ ที่ดูแลด้านอาหาร ด้านการขับถ่าย เองได้ไม่เรียบร้อยนัก ไว้ตามลำพังที่หอพัก ถ้าเกิดอะไรขึ้น เช่นไฟไหม้ หัวติดระเบียง ติดอยู่ในห้องน้ำ ฯ ล ฯใครจะรับผิดชอบ เคยได้ยินมาเหมือนกันที่พยาบาล ลูกไม่สบาย เป็นไข้ ขอแลกเวรกับเพื่อน แต่เพื่อนไม่ยอมแลกเวรด้วย ด้วยเหตุผลที่ว่าเป็นเรื่องของเธอ ก็อยากมีลูก ต้องรับผิดชอบเอาเองสิ ฟังแล้วก็สะอึกเหมือนกัน แต่คิดว่ากรณีนี้เป็นเรื่องของนิสัยของคนบางคนมากกว่า เพราะจากที่ดูคณะแพทย์เราก็มีนโยบายที่ส่งเสริมด้านครอบครัวอยู่แล้ว เช่นมีหอพักครอบครัว มีโครงการรับเลี้ยงบุตรของเจ้าหน้าที่ชั้น 6 งานกีฬาสีก็มีสมาชิกตัวน้อยๆของครอบครัวมาร่วมเดินพาเหรด ใครๆเห็นรู้สึกเอ็นดูทั้งนั้น อ้อ!อีกอย่างหนึ่ง บางครั้งก็มีหมอที่ต้องเอาลูกมาโรงพยาบาล ตอนมา round มาทำแผลคนไข้ ด้วย รู้สึกพยาบาล จะยินดีเหลือเกินที่จะช่วยกันดูแลลูกของหมอให้ แต่ทำไมลูกของเพื่อนเรา เราถึงไม่ช่วยกันดูแล ไม่เอื้อให้กัน ถ้าเราไม่ช่วยวิชาชีพเราด้วยกัน คงจะหวังใหคนอื่นมาช่วยคงจะยาก

อีกประการหนึ่งที่อ้างว่าโรงพยาบาลได้ห้ามญาตินำเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 12 ปีมาโรงพยาบาลนั้น ขอให้ดูว่าความเป็นจริงเป็นจริงๆอย่างนั้นหรือเปล่า ในโรงพยาบาลเราพบเด็กที่มาเยี่ยมพ่อ แม่ น้อง พี่ ของเขาอยู่เสมอ และการมีลูกมาเยี่ยมพ่อ แม่ที่ป่วยอยู่โรงพยาบาล ซึ่งพยาบาลคงจะรู้ว่าเป็นกำลังใจให้ผู้ป่วยสู้ต่อความเจ็บป่วย ความเลวร้ายในชีวิต ได้มากขนาดไหน ยังจะพูดได้อย่างไรว่า เราดูแลผู้ป่วยทั้งด้าน ร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม เราดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม แสดงว่าเอาไว้พูดอย่างเดียวกระมัง อ้อ!แล้วถ้าเป็นคนไข้เด็กที่ไม่สบาย เด็กเกิดใหม่ ก็ต้องห้าม พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย มาเยี่ยมด้วยสิ เพราะเด็กๆ มีภูมิต้านทานต่ำ มาเยี่ยมกันหลายๆคนเด็กจะติดเชื้อพากันตายเสียหมดทั้งโรงพยาบาล
หรือคนบางคนตอนนี้ฐานนะการเงินมั่นคง เป็นใหญ่เป็นโต ลูกๆก็โตๆกันหมดแล้ว อยู่แต่บนหอคอยงาช้าง เลยลืมความรู้สึก และจิตวิญญาณบางอย่างไปเสียแล้ว




Posted by : เด็กดื้อ , Date : 2006-04-13 , Time : 20:09:47 , From IP : 172.29.1.235

ความคิดเห็นที่ : 12


   ถึงจะเป็นคนโสดแต่รู้สึกเห็นใจคนมีครอบครัวค่ะ
คำสั่งของฝ่ายการเป็นการทำลายขวัญและกำลังใจคนทำงานอย่างรุนแรง
ได้โปรดทบทวนด้วย


Posted by : สาวโสด , Date : 2006-04-13 , Time : 20:13:25 , From IP : 172.29.1.235

ความคิดเห็นที่ : 13


   อืม... ผมสงสัยว่าโรงพยาบาลมีกฏห้ามญาติพาเด็กต่ำกว่า 12 ปีมาเยี่ยมจริงหรือครับ? นอกจากไม่เห็นด้วยแล้ว ผมยังสงสัยว่าตามกฏหมายแล้ว รพ. "มีสิทธิ์" ห้ามได้หรือไม่ซะด้วยซ้ำ

ถ้าเป็นห่วงเรื่องภูมิคุ้มกัน หรือการติดเชื้อ ไม่สู้เราให้ข้อมูล ให้การศึกษาเขาไปไม่ดีกว่าหรือ ว่าการมา รพ.นั้นมีความเสี่ยง เป็นความเสี่ยงที่ป้องกันได้ ระมัดระวังได้ ถ้าเขาอยากจะพาเด็กๆมาเยี่ยมพ่อ เยี่ยมแม่ เยี่ยมน้อง เรามีองค์ความรู้ มีความปราถนาดี ก็ให้ข้อมูล ให้การศึกษา ให้ข้อแนะนำไป ความสัมพันธ์รระหว่างญาติผู้ป่วยกับ รพ. น่าจะดีขึ้น การใช้ universal ban อะไรนั้น ผมว่ามันจะไม่ค่อย work เท่าไหร่

ผมคิดว่าเราทุกคนหวังให้บุคลากรทุกระดับของเรา exercise ความคิดและใช้ common sense มากขึ้น เห็นอกเห็นใจกันมากขึ้น ตัวกฏระเบียบนั้นส่วนใหญ่มีที่มา ที่หลักการและเหตุผล ตอนที่เราจะ exercise กฏ หรือกฏหมายนั้น น่าจะพิจารณาที่ที่มาของตัวกฏนั้นๆ ว่ามีวัตถุประสงค์อะไร ดีกว่าการ code ว่ามีกฏเฉยๆ บางทีเพื่อที่จะให้ได้บรรลุตามวัตถุประสงค์เดิม เราอาจจะพลิกแพลงให้เข้ากับบริบทพิเศษบางอย่างได้ ก็ยิ่งดี หรืออาจจะกลายเป็นนวตกรรมของ รพ.ไปก็ได้

เพราะไปๆมาๆ ถ้าเราใช้กฏมากเกินไปมันจะงงเองถ้าไม่สามารถปรับแต่งได้เลย ห้ามเด็กมาเพราะภูมิคุ้มกันยังไม่ดี ก็จะแปลว่าต้องห้ามคนแก่ๆที่ภูมิคุ้มกันเริ่มไม่ดีด้วย ห้ามคนโรคไต โรคตับ โรคเบาหวาน ฯลฯ แต่เราก็ไม่ได้ห้าม เพราะอะไร?

ใน QCDIPSM (Quality cost delivery productivity safety และ Morale) นั้น ตัวสุดท้ายคือ morale หรือ "ขวัญกำลังใจ" (คนละตัวกับ moral คุณธรรม) นั้นสำคัญสำหรับองค์กรอย่างยิ่ง



Posted by : Phoenix , Date : 2006-04-13 , Time : 23:03:03 , From IP : ppp-124.120.218.50.r

ความคิดเห็นที่ : 14


    ขอความกรุณา พิจารณา เป็นรายๆไปค่ะ เพราะเด็กบางคนไม่ดื้อ ไม่ซน คุยด้วยเหตุผลรู้เรื่องแล้ว คุณครูจะมาส่งที่ ward ช่วง 15.30 น.ระหว่างรอคุณแม่ลงเวรเช้า 16.30 น.ก็นั่งทำการบ้าน หรือวาดรูป ระบายสี เล่นเกมส์ ไปพลางค่ะ
ขอบคุณค่ะ


Posted by : คนมีลูก , Date : 2006-04-13 , Time : 23:15:01 , From IP : 172.29.1.158

ความคิดเห็นที่ : 15


   ทำไม่ท่านถึงใจร้ายกับลูกน้องของท่านได้ลงคอคะ เราไม่เงินที่จะจ้างพี่เลี้ยงลูกเหมือนกับท่าน หรือลูกของเราไม่ได้ไปทำความลำบากใจอะไรให้กับท่าน เราก็ไม่อยากที่จะพาเค้ามาหรอกคะแต่ด้วยความจำเป็นที่ท่านก็น่าจะทราบดี ท่านได้ทำลายขวัญและกำลังใจของลูกน้องท่านเอง ด้วยตัวของท่าน นโยบายที่จะส่งเสริมสถาบันครอบครัวหายไปจากใจท่านแล้วหรือค่ะ

Posted by : คนที่เสียใจ , Date : 2006-04-13 , Time : 23:23:34 , From IP : 172.29.1.232

ความคิดเห็นที่ : 16


   หน้าที่กับการงาน และหน้าที่ความเป็นแม่ ?

Posted by : อืมม , Date : 2006-04-14 , Time : 00:20:57 , From IP : 172.29.7.243

ความคิดเห็นที่ : 17


   เห็นใจและเข้าใจถึงความจำเป็นของแม่ ที่ไม่มีคนดูแลลูก แต่ก็เป็นคนหนึ่งที่ไม่ค่อยเห็นด้วยกับการพาลูกมาดูแลในระหว่างทำงาน เพราะเท่าที่เคยเจอ เด็กบางคนซนมาก บางทีก็เข้ามานั่งเล่นในเคาน์เตอร์ เล่นชาร์ท เวลาวอร์ดยุ่งๆ ก็มั่วดีเหมือนกัน เพราะแม่บางคนจะรักลูกมาก จะติจะเตือนจะห้ามเด็กก็ลำบาก เพราะเกรงใจแม่ ในวอร์ดพิเศษ บางคนก็วิ่งตามแม่เข้าไปในห้องคนไข้ด้วย .. เด็กบางคนยิ่งกว่านั้น เอาชาร์ทคนไข้มาเล่น หรือมานในเคาน์เตอร์ พอเราดุ/ห้าม ก็ร้องไห้ไปฟ้องแม่ บอกว่าเราตี ทำเอาแม่เด็กโกรธไม่มองหน้าก็มี สุด้ทายได้แต่ทำเป็นมองไม่เห็น ซนก็ซนไป เพราะไม่อยากมีเรื่อง แต่สารภาพว่าถ้าวอรืดยุ่งๆ เวลามีเด็กมาซนอยู่ข้างๆ ก็ทำให้หงุดหงิดง่ายและขาดสมาธิเหมือนกัน ไม่ทราบว่าในกรณีแบบนี้ถือว่าเราผิดไหม ? ใจแคบไหม ? (คนที่ไม่เคยเจอ ก็อาจจะพุดได้นะว่า น่าเห็นใจแม่ที่ไม่มีคนเลี้ยงลูก เราเองก็เห็นใจ แต่การเอาลูกมากวนเพื่อนร่วมงาน ก็อยากจะให้เขาเห็นใจบ้าง บางทีเพราะเกรงใจ เพื่อร่วมงานจึงไม่พูด และถ้าหากเอาลูกมานานๆครั้ง เพราะจำเป็นเนื่องจากไม่มีคนเลี้ยงในวันนั้น ก็เห็นใจ พอรับได้ แต่ถ้าเอามาทุกวัน ไม่สนใจจะหาทางแก้ปัญหาอื่นบ้าง เขาก็สมควรเห็นใจและเกรงใจเพื่อนร่วมงานบ้างเหมือนกัน)

ในความเห็นส่วนตัว ฝ่ายบริการฯ น่าจะใช้การ "ขอความร่วมมือ ไม่นำบุตรมาเลี้ยงในที่ทำงาน" มากกว่า "การออกคำสั่งไม่ให้เอาบุตรมาเลี้ยงในที่ทำงาน" เพราะดูประนีประนอมมากกว่า

นอกจากนี้.. น่าจะมีโครงการให้ความช่วยเหลือบุตรเจ้าหน้าที่ เช่นการจัดคลาสให้ช่วงปิดเทอม มีสถานที่ให้ อาจจะเป็นระบบอาสาสมัคร หรือ part time มีกิจกรรมให้เด็กทำ พวกวาดรูป เล่นเกม เล่านิทาน ทำกิจกรรมร่วมกัน ฯลฯ แล้วแม่ค่อยมารับช่วงพักเที่ยงพาไปกินอาหาร และตอนกลับบ้านหลังเลิกงาน


Posted by : ขอแสดงความเห็นบ้าง , Date : 2006-04-14 , Time : 14:41:09 , From IP : 172.29.9.220

ความคิดเห็นที่ : 18


   ปัญหาข้างบนเป็น "การพาเด็กมา รพ." หรือว่า "เมื่อพามาแล้ว ดูแลอย่างไร"?

เพราะจะนำไปสู่วิธีการแก้ปัญหาที่ไม่เหมือนกัน

ปัญหาแรกเป็น yes or no answer แต่ปัญหาหลังเป็น how to แก้ปัญหาแบบแรกก็เป็นการ ban ไม่ให้ทำ แก้ปัญหาแบบหลัง ก็จะมี selective group เท่านั้นที่เป็นปัญหา บวกกับกระบวนการแก้ไขอื่นๆ



Posted by : Phoenix , Date : 2006-04-14 , Time : 15:09:07 , From IP : ppp-124.120.219.229.

ความคิดเห็นที่ : 19


   คนเราถ้าไม่จำเป็นใครบ้างอยากพาลูกมาที่ทำงานยิ่งเวลายุ่งๆก็เวียนหัวเหมือนกัน แต่ถ้าปล่อยให้ลูกอยู่บ้านกันตามลำพัง ถามว่าถ้าเป็นท่านๆมีความสุขในการทำงานหรือไม่

Posted by : คนมีลูกเหมือนกัน , Date : 2006-04-14 , Time : 18:11:42 , From IP : 172.29.3.81

ความคิดเห็นที่ : 20


   เห็นด้วยกับ ความเห็นที่ 13 ,15 และ 18 นะ ... เห็นใจทั้ง 3 ฝ่าย ทั้งแม่ , ผู้ร่วมงาน...และ ผู้ป่วย
แต่ลักษณะที่ฝ่ายการพยาบาลส่งเอกสารแจ้งมาตามหอผู้ป่วยว่า..ห้ามนำบุตรมาในขณะที่ทำงานนั้น..เป็นการกล่าวที่ไม่ประนีประนอม อ่านแล้วทำให้กระทบกระเทือนต่อความรู้สึกและสร้างแรงผลักดันอย่างหนึ่ง(ในหลายๆอย่าง)ให้บุคลากรอยากเปลี่ยนหน่วยงานมากขึ้น เป้าหมายของฝ่ายการฯ ที่จะรักษาทรัพยากรบุคคลไว้ในหน่วยงานก็จะค่อยๆ จางหายไป..... ก่อนจะออกระเบียบใดๆมา ควรต้องพิจารณาให้รอบคอบว่าจะแก้ปัญหาได้จริงหรือ???? ถ้าใช้ความเมตตาในการบริหารทรัพยากรบุคคล นอกจากคุณจะได้พลังความคิดแล้ว คุณยังจะได้รับความเคารพ รัก จากผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาอย่างจริงใจ ขอเสนอความคิดดังนี้
1. พิจารณาเฉพาะหอผู้ป่วยที่พบปัญหานี้จริง ๆ ที่ผู้ร่วมงานยอมรับไม่ได้เลย..ความถี่มีแค่ไหน?? อย่าเหมารวมทั้งโรงพยาบาล เพราะบางครั้งเจ้าหน้าที่พาบุตรมาเพราะความจำเป็น(เจ้าของโครโมโซม Y ไม่ว่างจริงๆ ) เด็กพูดคุยกันรู้เรื่องแล้ว เด็กไม่ได้มารบกวนก็น่าจะให้เขาพามาได้
2. ปรึกษากับทางผู้ใหญ่ของโรงพยาบาล ขอพื้นที่ (Zone) "รอแม่กลับบ้าน" ให้เด็กๆ ได้รวมกันอยู่ให้เป็นที่เป็นทางหลังกลับจากโรงเรียนเพื่อรอแม่เสร็จงานอีกแค่ 1-2 ชม. อาจจะกำหนดพื้นที่ ตามหอผู้ป่วยที่อยู่ใน Zone ตามตำแหน่งตึกนั้นๆ ก็ได้
3. ช่วงปิดเทอม อาจประสบกับปัญหานานขึ้น เพราะถ้าแม่เวรเช้าไม่มีใครอยู่บ้านเลย จำเป็นต้องพาลูกมาตั้งแต่เช้า..ถ้าลูกไม่ซนก็จบ...ถ้าลูกซนแม่ก็ต้องใจกว้าง..อย่าโกรธผู้ร่วมงานเลย..และต้องหาวิธีแก้ปัญหาการจัดสรรเวลาใหม่...ตราบใดที่คุณยังอยู่ในวิชาชีพนี้...อดทนอีกนิดลูก็โตแล้ว



Posted by : ต๊อกแต๊ก , Date : 2006-04-15 , Time : 12:27:52 , From IP : 172.29.7.42

ความคิดเห็นที่ : 21


   น่าจะมีที่รับฝากลูกช่วงปิดเทอมนะค่ะ เหมือนที่คณะทันตะฯ ทำอยู่ตอนนี้
คือมีพี่เลี้ยงคอยดูแล แต่อาหารเราจัดการให้ลูกเอง ถ้าไม่มีใครดูแลลูก
ก็เอาไปฝากได้ค่ะ วันละ 40 บาทเอง


Posted by : dv , E-mail : (dsf) ,
Date : 2006-04-16 , Time : 13:12:16 , From IP : 172.29.1.91


ความคิดเห็นที่ : 22


   น่าเห็นใจค่ะ สำหรับดิฉันวางแผนแต่เนิ่น ๆ ดูว่าหน่วยงานใน มอ มีที่ใดบ้างเปิดโครงการสำหรับเด็กในช่วงปิดเทอม เช่น ศูนย์คอมฯ เป็นต้น ก็จะสมัครให้ลูกเป็นการช่วยอีกทางหนึ่ง แม่ได้ทำงานอย่างเต็มที่และมีสมาธิ ไม่ต้องกังวลกับลูก ส่วนลูกก็ได้รับความรู้เพิ่มขึ้น ได้พบเพื่อนใหม่ ได้เจอสิ่งแปลกใหม่ค่ะ

Posted by : แม่ของลูก , E-mail : (-) ,
Date : 2006-04-17 , Time : 15:16:38 , From IP : 172.29.3.64


ความคิดเห็นที่ : 23


   ขอฟันธงว่าเจ้าของความคิดที่ 7 เห็นแก่ตัวมากค่ะ แล้วคุณรู้กฎระเบียบของห้องรับฝากเลี้ยงบุตร จนท. ชั้น 6 สูติกรรมหรือเปล่าละ ชีวิตคุณคงเริ่ดหรูสมบูรณ์พร้อมทุกอย่างใช่ไหมคะ

Posted by : คิดดีแล้วก่อนจะมีลูก , Date : 2006-04-18 , Time : 00:27:36 , From IP : 172.29.1.139

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.006 seconds. <<<<<