ความคิดเห็นทั้งหมด : 55

Debate XCIII: ค่าของคนอยู่ที่ผล (หรือ...การทำ) งาน?


   Machavillian verbatim ที่ว่า "The end justifies the means" หรือ "ผลลัพธ์เป็นตัวตัดสินความเหมาะสมถูกผิดของวิธีการ" นั้นมีอิทธิพลต่อแนวคิด และแนวปฏิบัติทั้งทางตรงและทางอ้อม

ในโลกปัจจุบันการบริหารจัดการที่ใช้ outcome-oriented หรือ เพ่งเล็งที่ผลิตผลสุดท้ายเป็นหลัก แล้วก็วาง strategy ทุ่มเททรัพยากร focus ไปเพื่อ "บรรลุ" เป้าประสงค์ปลายให้ได้ เป็นปรัชญาที่เน้น "ประสิทธิภาพสูงสุด" เพราะทำอย่างนี้ เป็นการ "ใช้" ทรัพยากรที่ไท่สูญเปล่ากับอะไรที่อยู่นอกเหนือเป้าประสงค์นีเลย input per output ratio ต่ำสุด

การใช้ outcome-oriented ไม่ได้แปลว่าจะไร้คุณธรรม หรือไม่ดีเสมอไป ตราบใดที่เรายัง "ใส่" สิ่งอื่นๆที่จะเน้นลงไปใน outcome ที่ต้องการด้วย เช่น ทำสำเร็จด้วย แล้วก็ดีด้วย ทำได้ด้วย แล้วก็อย่างซื่อสัตย์สุจริตด้วย ปัญหาคือ พวกที่ไม่ใส่ วัตถุประสงค์พ่วงเหล่านี้ลงไปในกระบวนการคิด กระบวนการวางแผนต่างหาก ที่มันจะไม่มี moral restrain อะไรเลยยกเว้นผลปลาย บางทีคือ "เงินมากที่สุด" แค่นั้นเป็น outcome สุดท้าย และบางคนมองสิ่งพ่วงเหล่านี้ไปอยู่ใน process ไม่ได้อยู่ใน product เผลอคิดว่าทำไปมันก็ถูกใส่ไปเองล่ะน่า แต่จริงหรือที่มันจะถูกใส่ไปเอง?

การเน้นที่เป้าประสงค์ปลายทำให้บางทีเราลืมไปว่า เราทำไป "เพื่อ" อะไรกันแน่? ทำไมเราต้องมีกฏหมายหมิ่นประมาท ทำไมเราต้องมีกฏหมายอาญา ทำไมเราต้องมีธรรมาภิบาล มีการเลือกตั้ง ถ้าเราไม่ได้เรียนรู้หรือเข้าใจในหลักการเหล่านี้ บางทีเราอาจจะเผลอไปแม้กระทั่งนับ process เป็น outcome ไปก็มี แล้วก้ไปพยายามปกป้อง process เหล่านั้นเอาเป็นเอาตายทั้งๆที่ตัว "เป้าประสงค์ปลายจริง" นั้นตายหายสาบสูญไปนานแล้ว

อาจารย์นายแพทย์โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ (สวสส) เรียบเรียงเขียนหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ งานคือความดี ที่หล่อเลี้ยงชีวิต เล่าประสบการณ์ชีวิตของการทำงานเป็นแพทย์ ของแพทย์หลายๆคนมา 10 เรื่อง (อาจารย์มีสะสมไว้ประมาณ 80 เรื่องแล้ว และคงจะเพิ่มไปเรื่อยๆ) เป็นความสัมพันธ์ เป็นข้อสังเกต เป็นประสบการณ์ที่หมอหลายๆคนเล่ามาเรื่อยๆว่าเห็นอะไร ตอนที่เห็นรู้สึกอย่างไร และหลังจากเหตุการณ์ผ่านไปรู้สึกอย่างไร ปรากฏว่าเพียงแค่นี้คนอ่าน (บางคน) ก็สามารถเกิดแรงบันดาลใจ เกิดความอิ่มอกอิ่มใจได้อย่างมากมาย และทำให้เรามองย้อนหลังมาอีกว่าถ้าเราทำงานไปทุกวี่วัน มีประสบการณ์สะสมไปเรื่อยๆ เอ... ทำไมเราไม่ได้รู้สึกเกิดแรงบันดาลใจ เกิดความอิ่มอกอิ่มใจแบบที่เราอ่านหนังสือเล่มนี้หนอ? แล้วเรื่องที่เขียนลงมาก้ไม่ได้ happy-ending ทกเรื่องซะเมื่อไร แต่ที่มันยสะเทือนใจได้ เพราะมันช่างเหมือนจริง เป็นเรื่องจริง และเป็นเรื่องเกี่ยวกับ "ชีวิต" ที่อ่านแล้วมันจะอดมิได้ที่จะคิดว่ามันช่างใกล้ตัวเราเหลือเกิน

ปัจจุบันพวกเราส่วนหนึ่งก็ยังอ่านโพยเพื่อผลสอบ ไม่ได้อ่านโพยเพื่อทดสอบตนเองว่าเข้าใจหรือไม่ ส่วนหนึ่งก็ไม่เคยรู้สึกว่า "ได้อะไร" จากการศึกษาบนหอผู้ป่วย จากการออก OPD จะได้หรือไม่ได้ก็ตอนประกาศเกรด ตอนไปดูคะแนน ตรงนี้มันสะท้อนว่าเราใช้ Machavillian concept หรือเราใช้อะไรในการ วัดคุณค่า ของสิ่งที่เราได้ทำไป หรือสิ่งที่เรา "ได้" ถ้าเป็นแพทย์ เป็นนักศึกษาแพทย์แล้วเราได้ตอนมองที่ "ผลงาน" อย่างเดียว ก็คงได้ครับ แต่น่าเสียดายไปเยอะที่เราจะไม่ได้รับรู้อีกหลายส่วน ที่มีคุณค่ามากมายมหาศาลจาก "กระบวนการ" จากการมองหา เสาะแสวงหาบทเรียนการศึกษาชีวิต นศพ. จบเป็นแพทย์ตอนอายุ 23-25 ปี เราต้องออกไปแนะนำพ่อแก่แม่เฒ่า พระครู เจ้าอาวาสบาทหลวงว่า ท่านเหล่านั้น "ควรจะใช้ชีวิตอย่างไรจึงมีความสุข จึงจะมีคุณภาพชีวิต" มันค่อนข้าง ironic ที่คนแนะนำมีความเข้าใจ มีประสบการณ์ชีวิตแค่ 20+ ปีเท่านั้น จะไปนแนะนำคนที่ใช้ชีวิตมา 60-70 ปี ว่าใช้ชีวิตอย่างไร แต่สาเหตุที่เราทำได้ ควรทำ และน่าทำ เพราะประสบการณ์การเรียนของเราไม่เหมือนอาชีพอื่นๆ เราเรียนรู้และได้เห็น "ความทุกข์" ในรุปแบบต่างๆมากมายกว่าคนในอาชีพอื่นๆ เราเรียนรู้ว่าอะไรทำให้สุข อะไรทำให้ทุกข์ และจะรักษาป้องกันอย่างไร เพราะเราเพ่งเล็งเรื่องเหล่านี้ เราจึงออกไปแนะนำพ่อแก่แม่เฒ่าได้ แนะนำพระครูหลวงตาได้ แต่ถ้าเผอิญเราไม่ได้เรียน ทั้งๆที่มีเวลาจะเรียน มันก็คงจะเป็นงานที่ยาก งานที่เป็นไปไม่ได้

ค่าของคนจะอยู่ที่ผลงาน หรืออยู่ที่ตอนทำงาน ทำอย่างไร คิดอะไรอยู่ คงจะเป็นที่ที่น่าอภิปราย น่าคิด น่าสนใจ อยากจะลองเชิญชวนพวกเราลองสะท้อนมาหน่อยนะครับ

กติกาเดิม Be Mature, Be Positive, and Be Civlized



Posted by : Phoenix , Date : 2006-04-09 , Time : 10:06:13 , From IP : 58.147.29.163

ความคิดเห็นที่ : 1


   
ในความเห็นของผม

ค่าของคนเราอย่ที่ตอนทำงาน มากกว่าการที่จะมาตัดสินกันด้วยเกรด หรือ คะแนน
ที่ได้มาตอนสอบ เพียงแต่ว่าในระบบการเรียนการสอน เรายังจำเป็นต้องเอา สิ่งอะไรสักอย่าง
ที่เป็น object มาวัดให้ออกมาเป็นสิ่งที่เราตัดสินกันได้ จริงอย่ในระบบการเรียนปัจจุบัน ก็มีการวัด
ประเมินผลในเรื่องของการตั้งใจทำงาน เช่น คะแนนจิตพิสัย แต่ส่วนใหญ่ก็ไม่ใช่คะแนนส่วนใหญ่ของ
ทั้งหมด
สำหรับผม ร้สึกว่า คุณค่าที่เราได้ในขณะที่เราทำงาน หรือ เรียนหนังสือ มันยิ่งใหญ่มาก เรา
จะเป็นคนที่ร้สึกได้มากที่สุดแต่ผ้อื่นจะไม่ค่อยร้สึกเท่าตัวเราเอง ในขณะที่คะแนนที่เราได้จากการสอบ มันเป็นสิ่งที่คนอื่นเห็นและจับต้องได้ง่ายที่สุด แต่บางทีคุณค่าของมัน เราเองที่ร้ว่ามันมีค่าแค่ไหน บางคนอาจร้สึก
แค่ว่า ไม่เห็นมีอะไรเลย ชั้นก็แค่ท่องโพยมาสอบ



Posted by : Blue , Date : 2006-04-09 , Time : 10:31:56 , From IP : 172.29.5.180

ความคิดเห็นที่ : 2


   การที่เราให้ความสำคัญกับกระบวนการน้อย ทำให้เกิดผลอย่างที่คุณ Blue ว่ามา คือ "คุณค่า" ของ outcome มันลดน้อยก็ได้

ถ้าเราตอบข้อสอบข้อใดข้อหนึ่งได้ เพราะเคยรักษาดูแลผู้ป่วยแบบนี้ กับเพราะเคยอ่านโพยเจอโจทย์ข้อนี้ ความภาคภูมิใจเราจะต่างกัน แน่นอนที่สุดของที่ได้ เช่น เกรดที่ได้เพราะอ่านโพยแค่คืนเดียว ถึงภูมิใจมันก็แค่นั้น แต่ถ้าได้เพราะเราได้ทุ่มเทดูแลผป.จนจำขั้นตอน วิธีการรักษาได้ จำได้ว่าตอน discharge ผป. ขอบคุณเราแค่ไหน ญาติผป.ขอบคุณเราอย่างไร มันก็จะเป็นอีกแบบหนึ่ง

ขึ้นหับว่าเราทำให้ "ประสบการณ์" จากกระบวนการ จาก process ในการเรียนแพทย์นั้น count ว่ามีคุณค่าต่อตัวเราเองอย่างไร ตรงนี้เป็น individual certification ต่างจากใบปริญญาบัตรที่ทถกคนได้เหมือนๆกัน



Posted by : Phoenix , Date : 2006-04-09 , Time : 10:44:56 , From IP : 58.147.29.163

ความคิดเห็นที่ : 3


   เอกเทอร์น คนนึง ที่เพิ่งจบ เคยถาม ผมว่า อาจารย์ เรียน ต่อ...... นี้ ดีมั๊ย
ผมถามว่า อยากเรียน เพราะ อะไร ......
คำตอบ คือ ....
สาขานี้ เรียน ต่อ ได้ ใน เวลา .... ( ไม่ต้องไปใช้ทุนในโรงพยาบาล ชุมชน นาน )
ผมได้แต่ บอกว่า การ ทำงาน และการ ใช้ชีวิต ไม่ใช่ การเรียน และ ขยัน ให้จบก่อน คนอื่น การ เรียน จบ บอร์ด ก่อนไม่ได้ หมายถึงการเข้า เส้นชัยก่อนเสมอไป



Posted by : จจ , Date : 2006-04-09 , Time : 11:38:54 , From IP : 203.114.114.87

ความคิดเห็นที่ : 4


   ชอบบทความนี้ครับ อยากฟังอ.สอนอีก

Posted by : ตัวป่วนที่แสนดี , Date : 2006-04-09 , Time : 12:11:46 , From IP : 172.29.4.148

ความคิดเห็นที่ : 5


   จะเรียนหรือจะใช้ชีวิตทำงานที่ไหนก็ตาม เราอาจจะ "เรียนรู้" อะไรบางอย่างได้เสมอ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรียนรู้ชีวิต

ยกตัวอย่างเป็นแพทย์ใช้ทุน จริงๆแล้วก็คือจบ extern เรียบร้อย ทำงานจบ intern ถามว่าเป็นผู้ใหญ่แล้วหรือยัง เป็นแล้วแน่นอน แต่เป็นนักศึกษาอยู่หรือไม่? ในบางบริบทใช่ แต่การที่เราเป็นนักศึกษาอยู่ ยังเรียนอยู่ ไม่ได้แปลว่าเราจะหยุดยั้งการเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ เรายังต้องสามารถใช้ชีวิตกับ "ผู้ร่วมงาน" กับครอบครัวของผู้ร่วมงาน มีชีวิตในสังคมได้อย่างคนในอาชีพอื่นๆเช่นเดียวกัน

การเรียนรู้นั้นคงไม่เชิงเป็น "จุดหมาย" แต่เป็นการบรรยายมุมมองของการใช้เวลาของแต่ละคน บางคนก็อยากจะ idle ไม่ต้องคิดอะไรมาก แต่ก็ไม่ได้หยุดเวลา ยังคงแก่ลงไปเรื่อยๆ บางคนอยากจะ absorb ทุกสิ่งทุกอย่างให้มากที่สุด ก็จะสั่งสมประสบการณ์อย่างรวดเร็ว mature ได้เร็ว สุกงอมได้เหมาะสมกับเวลา ส่วนก่อนหรือหลังใครกี่คน ไม่น่าจะ relevant เราไม่ได้ไปแข่งขันกับใคร ไม่ได้เปรียบเทียบกันว่าในรุ่นฉันแก่สุด ฉันเด็กสุด หรือสมองฉันเด็กสุด หรือแก่กว่า เด็กกว่า จบก่อน จบหลัง เพราะเวลาทำงานเราก็แวดล้อมด้วยคนที่มีวุฒิภาวะ วัยวุฒิ แตกต่างๆกันทุกด้านอยู่แล้ว

อาชีพอื่นๆเขาก็ทำงานไป เรียนรู้ไปเหมือนกัน ตามบริบทของวิชาชีพ หมอเองก็อาจจะใช้เวลาว่างเล่นหุ้นบ้าง ก็เรียนรู้ไปเรื่อยๆ ดังนั้น การใช้ชีวิต นั้นโดยตัวมันเองเป็นการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา เหลือแต่จะเรียนอะไร ก็ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละคนคิดว่าตนเอง "รู้จัก" ตัวเราเองมากน้อยแค่ไหน เพียงพอหรือยัง หรืออยากจะหาประสบการณ์กว้างๆก่อน หรือรู้แล้ว อยากจะลงลึกเลยเร็วๆ คงจะไม่สามารถตัดสินเป็น universal ได้ว่าแบบไหนดีที่สุด



Posted by : Phoenix , Date : 2006-04-09 , Time : 12:13:30 , From IP : 172.29.3.231

ความคิดเห็นที่ : 6


   ขอถามอาจารย์ phoenix นอกเรื่องนะครับ คือใช่ว่าผมอยากจะถามกวนๆ แต่อาจารย์เคยรู้สึกว่าชีวิตการเป็นแพทย์นี่มันน่าเบื่อไหมครับ ตั้งแต่สมัยเรียน พอว่างก็ต้องมานั่งอ่านหนังสือ เย็นๆก็วิ่งออกกำลังกาย แล้วก็กินข้าว อาบน้ำ แล้วก็อ่านหนังสืออีกก่อนนอน ทำอย่างนี้เป็นประจำทุกวัน พอใกล้สอบก็ต้องอ่านหนังสือ แทบจะบ้าตาย วัฏจักรชีวิตมันก็วนอยู่แค่นี้ พอเรียนจบ ชีวิตก็ต้องผูกกับหนังสือ กับการหาความรู้เพิ่มเติมเสมอๆ ทำไมมันมีอยู่แค่นี้เอง....

Posted by : Keith Jarret , Date : 2006-04-09 , Time : 14:38:53 , From IP : 172.29.4.33

ความคิดเห็นที่ : 7


   ก็ไม่เชิงนอกเรื่องซะทีเดียว ถ้าผมจะขออนุญาตตอบให้มันอยู่ในเรื่อง

ความ "น่าเบื่อ" ตามหลัง "ความจำเจ" กับความ "ไม่น่าสนใจ" สองสาเหตุหลักสำคัญนะครับ ไม่ว่าอาชีพไหนๆถ้ามันจำเจ ซ้ำซาก สิ่งที่ตามมาก็คือความเบื่อในที่สุด ผมคิดว่าบางช่วงคนเราทุกคนรู้สึกมันช่างเซ็งซะนี่กระไร วันนี้มันอะไรก้ไม่รู้เพราะมันช่างเหมือนเมื่อวาน วานซืน นี้ซะเหลือเกิน วันพรุ่งนี้ มะรืนนี้ก็ไม่มีทีท่าจะผิดแผกแตกต่างออกไปจากวันนี้เลย

ในความจำเจมันก็มีความไม่จำเจอยู่ได้เหมือนกันนะครับ ถ้าเรามองดูดีๆ เวลาที่เราเรียนทำ appendix ครั้งแรก ผมยังจำได้พออาจารย์สอนเสร็จก้แถมว่า แต่ที่ว่ามานี้ ไม่มี appendicitis case ไหนที่มันจะเหมือนกันเป๊ะทุกอย่างกับที่เราเคยทำเลย เพราะชีวิตคน ร่างกายคน มันก็เหมือนชื่อแซ่หน้าตานี่แหละครับ มันมีความเป็นตัวของตัวเอง มี identity ของตนเองอยู่ ถ้าเรามองหา ความแตกต่างๆม่จำเจมันอยู่ให้เราค้นพบได้

ส่วนเรื่องความน่าสนใจนั้น เชื่อหรือไม่ว่าสิ่งนี้อยู่ภายใต้ความควบคุมของเราเองอย่างสิ้นเชิง ถ้าเรามีความสนใจนอ้ย โอกาสที่เราจะสนใจอะไรก็จะน้อยตามไปด้วย มี resident อยู่คนนึง เผยเคล็ดลับในการซักประวัตคนไข้ไม่ใช่ routine หรือกันเซ้งว่า เขาพยายามทำตัวเป็นลูกอีช่างรู้ (ขออภัย ไม่อยากให้เสีบอรรถรสของ original version) ช่างสงสัย ให้มากที่สุด เรียกว่าวันนี้ฉันไม้รู้จักคนไข้ได้ดีเกือบเท่าตัวเขาเอง ฉันไม่เลิกถามก็ว่าได้ ผลก็คือได้ความรู้ด้านชีวิตแปลกๆใหม่ๆเพิ่มเติมมากมาย รู้ว่าคนเราปวดท้องนี่ บางคนต้องเวียนถามคนรอบบ้าน รอบข้างอยู่สามวันจึงกล้ามาพบหมอ บางคนคิดเองอยู่สองสามชั่วโมงก็มาเลย บางคนต้องโทรศัพท์ไปหคนเลี้ยงลูกให้ได้ก่อน จึงจะมาหาหมอได้ บางคนต้องไปหาฤกษ์ยามก่อนจึงจะรู้ว่าวันไหนมาพบหมอ มานอน รพ. แล้วจะเกิด complication น้อยที่สุด ฯลฯ ในโรคๆเดียวกัน มันมีอะไรที่แตกต่าง และ "น่าสนใจ" อยู่ไม่น้อยหากเราต้องการมองหา และคิดว่ามันน่าสนใจ

ก็ไม่ทราบเหมือนกันว่าจะตอบว่าอย่างไร บางคนไม่คิดอะไร จำเจก็จำเจไป ไม่น่าสนใจก้ไม่น่าสนใจไป แต่ไม่ยักกะเบื่อก็มี ตกลงมันไม่มีสูตรแน่นอนของความเบื่อ แต่คงจะมีสูตรเคล็ดลับมากมายของความไม่เบื่อวะมากกว่านะครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2006-04-09 , Time : 15:11:10 , From IP : 58.147.27.88

ความคิดเห็นที่ : 8


   ขอบคุณครับ

Posted by : Keith Jarret , Date : 2006-04-09 , Time : 15:59:41 , From IP : 172.29.4.33

ความคิดเห็นที่ : 9


   อยู่ที่การยอมรับตัวเอง และรู้จักนึกถึงใจเขาใจเรา

Posted by : คนไทย , Date : 2006-04-09 , Time : 16:48:39 , From IP : 172.29.1.249

ความคิดเห็นที่ : 10


   ค่าของคนอยู่ที่ขั้นตอนการทำงาน หรืออยู่ที่ผลงานกันแน่ อาจารย์จะว่าอะไรมั้ยครับถ้าผมขอเลือกตอบว่าทั้งสองอย่าง บางครั้งเราคงเลือกไม่ได้ว่า เรามีความสุขระหว่างกินข้าวหรือตอนอิ่มกันแน่ ระหว่างการทำงานเป็น process ที่น่าสนใจเพราะเป็นขั้นตอนของการเรียนรู้ เราจะเรียนรู้อะไรได้มากน้อยแค่ไหนคงต้องอยู่ระหว่างการกระทำ เหมือนที่เราจะรู้ว่ากับข้าวจานไหนอร่อยก็ระหว่างรับประทาน นอกจากตัวเราจะมองคุณค่านั้นแล้วก็ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นด้วย เช่น เราอยากหรือสนใจหรือไม่ว่าคนรอบข้างมองเรามีค่าตอนไหน หากคนๆนึงถูกทำให้เชื่อมาตลอดว่าการสอบได้เกรดดีๆเป็นสิ่งที่แสดงถึงความมีคุณค่าของตัวเอง เค้าก็คงเชื่ออย่างนั้นโดยไม่นึกถึงคุณค่าของการเรียนรู้เพื่อให้ได้มาซึ่งผลลัพธ์ ในขณะที่บางคนสนใจและให้คุณค่ากับสิ่งที่ตนเองทำอยู่ขณะนั้น เช่นกำลังตรวจร่างกายคนไข้ กำลัง advice คนไข้ โดยไม่ได้มองว่ามันเป็นสิ่งที่คนอื่นจะมาตัดสินค่าของการกระทำนั้นหรือไม่ก็จะเชื่อว่าค่าของตนเองอยู่ที่การกระทำของตนเองล้วนๆ ไม่ต้องรอผลลัพธ์เป็นเกรดดีๆ ไม่ต้องรอให้อาจารย์ประเมินค่าว่าดี แต่เชื่อว่าสิ่งที่ตนเองทำนั้นดีและมีค่าในตัวของมันเอง
สรุปว่าการทำงานหรือผลของงานอาจจะเป็นคุณค่าของคนๆนั้นทั้งสองอย่างหรืออาจจะไม่ใช่เลยทั้งคู่ก็ได้ขึ้นกับว่าเราให้ใครเป็นคนตัดสินคุณค่าของเรา แต่ในมุมมองของผมในเมื่อเราเป็นคนทำเองเราน่าจะมีสิทธิอย่างเต็มที่ที่จะเลือกให้คุณและให้ค่ากับการกรพทำของเราและผลของการกระทำนั้น ความสุขระหว่างกินข้าวกับตอนที่อิ่มแล้วเราคงรู้ดีที่สุดว่าตอนไหนเป็นสุขจริงๆ


Posted by : doctor2b , Date : 2006-04-09 , Time : 19:44:23 , From IP : 172.29.4.136

ความคิดเห็นที่ : 11


   "งานคือความดี ที่หล่อเลี้ยงชีวิต" เห็นแนะนำอยู่หลายที ในห้องสมุดไม่มีให้ยืมลองไปหาตามร้านหนังสืออยู่ 3 ร้านแล้วก็ไม่มีขาย งานเขียนของนายแพทย์โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ มีหลายเล่มที่น่าเก็บค่ะ แต่กระจายอยู่หลายสำนักพิมพ์ ไม่ค่อยเห็นมีขาย อาจารย์แนะนำที่ขายได้มั้ยคะ

Posted by : Lucifer , Date : 2006-04-09 , Time : 22:28:19 , From IP : 172.29.4.152

ความคิดเห็นที่ : 12


   จากเหตุการณ์ที่ผ่านมาในประเทศของเรา คงจะเห็นว่ามันเป็นการยากแค่ไหนที่เราจะควบคุมหรือพยากรณ์ "ความเห็น" ของคนอื่น และจะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณค่าความดีงามของคนขึ้นอยู่กับมุมมองของคนอื่น

กระบวนการ self-reflection หรือการมองสะท้อนตนเองจึงเป็นกระบวนที่สำคัญอย่างยิ่ง แต่ก็มีประโยชน์อย่างยิ่งที่จะช่วยพัฒนาจิตใจของเราเอง และบางที... อย่างที่คุณ doctor2b ว่า มันไม่ได้จำเป็นที่เราจะต้อง aware ถึง "คุณค่า" ที่กำลังเกิดอยู่ซะด้วยซ้ำ แต่มันน่าจะเป็นความพึงพอใจที่เกิดขึ้นในขณะที่ทำกิจกรรมนั้นๆอยู่ลึกๆ คล้ายๆ programme anti-virus หรือ defragmentation ที่ run อยู่ใน background ขณะที่เราทำงานอะไรอยู่ นึกถึงตอนที่เรากำลังทำงานอดิเรกก็ได้ งานที่เราชอบ เราทำ ตอนที่ว่างๆ ไม่มีใครบอกว่าเราจะต้องทำอะไร

ตอนเราซักประวัติ ถ้าเรา "ตั้งใจ" จริงๆว่าเราจะรู้จักผู้ป่วยคนที่นั่งอยู่เบื้องหน้านี้ให้ได้ดีพอที่เราจะช่วยเเหลือเขาอย่างเต็มที่ เราจะไม่มีปัญหาลังเลว่า เอ... เราซักครบรึยัง หรือจะถามอะไรต่อดี มันจะมาถึงจุดที่ทั้งเราและคนไข้พึงพอใจว่าปัญหาได้ถูกพูดถึงครบแล้ว ที่เหบือนก็เป็นการถกกันถึงแนวทางออก

แน่นอนที่สุดที่เราคงจะต้องถึง "จุดเปลี่ยนสถานะ" ของวงจรชีวิตเป็นครั้งคราว และอาจจะต้องการ "ผลงาน" มาบ่งชี้ว่าเราพร้อมแล้ว บางการเปลี่ยนต้องให้คนอื่นเขาเชื่อด้วย ก็จำเป้นต้องมีหลักฐานว่าเราพร้อมจริงๆ จะเที่ยวไปบอกว่าเราพร้อมแล้วๆเฉยๆก็คงไม่พอ เลยต้องมีการสอบ มีการประกาศได้ผ่าน มีประกาศนียบัตร มีใบปริญญา แต่เราคงจะต้องรู้ว่าส่วนใหญ่ไอ้ใบที่ว่านี้ใช้ผลงานของเราประมาณ 3-4 เดือนสุดท้าย บวกคะแนนสะสมมาทั้งหมด 6 ปี แต่การประเมินที่มี ไม่สามารถจะ "บอก" ถึง porfolio หรือประสบการณ์ทั้งหมดของเราจริงๆไปได้ ไม่สามารถจะบอกความประทับใจทั้งบวกทั้งลบ ตอนคนไข้และญาติขอบคุณ ตอนผป.เสียชีวิต ตอนญาติเสียใจ ที่เราไดพบได้เห็นมาทั้งหมดได้

คงน่าเสียดายถ้าเรียน 6 ปี แล้ว highlight ที่จำได้มีแค่ตอนวันรับปริญญา ผมว่าวันแรกที่ทำ lab gross วันแรกที่กลืน NG-tube วันแรกที่หัดเจาะเลือด เจาะหลัง ทำคลอด ฯลฯ ล้วนเป็นประสบการณ์ที่ unique ที่น่าจะส่งผลกระทบต่อจิตใจของเราในเวลาต่อมาได้ แต่พวกนี้มันขึ้นอยู่กับตัวเราเองที่จะเลือกจำ

บางคนอาจจะเลือกจำว่าตัวเองเกลียดการเรียนในคณะนี้มากแค่ไหน มีความมันอย่างไรที่ได้ก่นด่าครูบาอาจารย์คณะฯ มหาวิทยาลัย มันสะใจ adolescent hormone ดี แต่บางคนก็สามารถเลือกจำ เลือกพก memorandum อย่างอื่นแทน ที่จะรำลึกถึงอีกทีตอนแก่ลง ผมว่าไม่มากก็น่อยสิ่งที่เราเลือก มันจะเป็นตัวเราในอนาคต มันอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของลูกหลานของเราในอนาคตด้วยก็ได้

ใครสนใจหนังสือ สั่งซื้อได้จาก website ของ สวสส. สำนักงานวิจัยสังคมและสุขภาพ



Posted by : Phoenix , Date : 2006-04-09 , Time : 23:13:06 , From IP : 172.29.7.67

ความคิดเห็นที่ : 13


   มีทุกเล่มที่อยากเก็บ ... ขอบคุณค่ะ

เอาไว้อ่านจบแล้วจะมาเล่าให้ฟัง ... ถ้าอาจารย์อยากฟังก็มีกติกาเพิ่มเติมนิดหน่อย Be stable, Be predictable นะคะ


Posted by : Lucifer , Date : 2006-04-09 , Time : 23:57:39 , From IP : 172.29.4.152

ความคิดเห็นที่ : 14


   ผมคิดว่าผม stable นะครับ ส่วน predictable นั้น ไม่ได้ขึ้นกับผมคนเดียว แต่ขึ้นกับสติปัญญาความสามารถ ความเข้าใจของคน predict ด้วย



Posted by : Phoenix , Date : 2006-04-10 , Time : 02:18:32 , From IP : 172.29.7.232

ความคิดเห็นที่ : 15


   ค่าที่ว่าคืออะไร
ที่ว่าต้องการค่า
เห็นค่าแล้วหรือยัง
สิ่งที่คิดแม้สวยงามอาจไม่จริง
สิ่งที่จริงอาจไม่สวยงามอย่างที่คิด
คำไพเราะมักไม่จริง
คำจริงมักไม่ไพเราะ

แล้วถ้ามันถูกตีว่าไร้ค่าละ
ทั้งจากความคิดที่เรารับมา
และจากสิ่งที่คนอื่นมอง
แต่ค่านั้นรู้อยู่ในใจยังจะทำไหม

process product สองสิ่งนี้เกื่อกูลกัน ไม่แยกจากกัน หรือคือสิ่งๆเดียวกัน ล้วนร่วมกันกำหนดทิศทาง แบ่งแยกออกมาคิดไม่ได้ ต้องมองร่วมกัน




ขอมั่วให้หายงง


Posted by : ขอแสดงความโง่หน่อย , Date : 2006-04-10 , Time : 12:56:30 , From IP : 172.29.4.139

ความคิดเห็นที่ : 16


   process product สองสิ่งนี้เกื่อกูลกัน ไม่แยกจากกัน หรือคือสิ่งๆเดียวกัน ล้วนร่วมกันกำหนดทิศทาง แบ่งแยกออกมาคิดไม่ได้ ต้องมองร่วมกัน
สิ่งที่ทำให้ต่างคือการวัดค่า



Posted by : ขอมั่วด้วยคน , Date : 2006-04-10 , Time : 13:05:01 , From IP : 172.29.4.139

ความคิดเห็นที่ : 17


   การมองค่าของคนที่ว่าถูกต้องจริงหรือ


Posted by : bobby แหกคอก , Date : 2006-04-10 , Time : 13:14:14 , From IP : 172.29.4.139

ความคิดเห็นที่ : 18


   ถูกหรือผิดนั้นเป็น relative term จากการรับรู้ เราจะเลือก "ใคร" รับรู้? ตัวเราเอง หรือ คนอื่น ที่จะมาวิเคราะห์ว่า ณ ขณะนี้ชีวิตเรามีหรือไม่มีความหมาย มีหรือไม่มีทิศทาง?

Need of approval นั้นคงจะมีอยู่แน่ในระดับหนึ่ง แต่บางครั้ง approval เป็นคำนิยม เป็นค่านิยมของใครก็ไม่รู้ ที่สุดเราก็จะปรับ "เลือกใช้" บางค่าที่เราคิดว่าเข้ากันได้กับตัวเราอยู่ดี

ทำไม?

เพราะสิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ "พฤติกรรม" และ "วิธีคิด" ของตัวเราเอง เราจะทราบได้อย่างไรว่าคิดแบบนี้ ทำแบบนี้มี "คนอื่น" เขากำลัง approve สักกี่มากน้อย และที่เขา approve นั้นเป็นเพราะอะไรกันแน่? ถ้าเราขาดหรือไม่ใช้ซึ่งวิจารณญาณของตนเองแล้ว แล้วจะใช้ certificate จากใคร?

ที่สุดแล้ว self-improvement นั้นเกิดขึ้น "ในใจ" ของปัจเจกบุคคลครับ ผมไม่ได้พยายามจะ propaganda ว่าทำแล้วจะดีอย่างไร ไม่ได้พยายามแม้กระทั่งจะตัดสินว่าจะ valid หรือไม่ ตรงนี้จะเหมือนศาสนาพุทธที่จะไม่มี evangelism หรือการชักชวนมาปฏิบัติ สิ่งที่ทำได้เพียงแค่ "เสนอความเห็น" และถ้าใครรับฟังและคิดตรงกัน เขาก็คงนำไป "ลอง" ดูครับ ว่าดีไม่ดีอย่างหน้าป้ายโฆษณารึเปล่า คนที่ไม่เชื่อ และไม่อยากจะเปลี่ยนพฤติกรรม ก็จะไม่มีคนเข้าไปเกลี้ยกล่อมหรือด่าว่าเป็นคนโง่ดักดานแต่อย่างใด ก็ยังสามารถใช้ชีวิตไปตามครรลองเหมือนเดิม

ที่น่าสนใจคือการ elaborate ความคิดของเราออกมาดังๆ และ "สื่อออกไป" ให้คนอื่นเข้าใจในที่มาที่ไปครับ เพราะนี่เป็น communication skill เบื้องต้นในการทีเราจะเข้าใจใน autonomy ของผป. ของญาติ เราจะแนะนำอะไรให้เขาทำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะเปลี่ยนพฤติกรรมเขา ทำ health promotion นั้น เราจะต้อง "ชี้นำ เชื้อเชิญ" ด้วย mode ที่คนฟังมี common value เริ่มต้นเหมือนกันก่อน ถ้าจุด very beginning นั้นไม่มีอะไรจะ share ร่วมกันได้ ก็คงจะไม่ต้องทนแลกเปลี่ยนอะไรที่มันมีพื่นฐานต่างกันเกินไป ก่อนจะถึงตัดบัวไม่เหลือใยแบบนั้น ทางที่ดีน่าจะลองหาอะไรที่คิดร่วมกันได้อยู่บ้าง ว่ามีรึเปล่า ตรงนี้ท่าทีความ "อยาก" จะ share background ความคิดสำคัญมาก ถ้า guarding ตลอดเวลา ก็แปลว่ายังไม่พร้อมที่จะแบกเปลี่ยนเท่านั้นเอง



Posted by : Phoenix , Date : 2006-04-10 , Time : 16:53:06 , From IP : 172.29.3.231

ความคิดเห็นที่ : 19


   ผมเป็นนศพ.ชั้นปรีคลินิก ได้อ่านความคิดเห็นต่าง ๆ ก็รู้สึกดีขึ้นมาบ้าง
ผมว่า process อ่านหนังสือของผมดีนะ แต่ product ที่ได้(คือเกรด) ออกมาแค่ปานกลาง
ต่างจาก NT ที่ product ค่อนข้างดีมาก
ก็เลยจะทำตาม process ของตัวเองต่อไป ตราบเท่าที่ยังไม่สอบตก
ส่วนขึ้นคลินิกเป็นอย่างไร ค่อยให้อาจารย์และพี่ ๆ ชี้แนวทางครับ


Posted by : DogTor , Date : 2006-04-10 , Time : 21:11:46 , From IP : 172.29.4.69

ความคิดเห็นที่ : 20


   คุณ DogTor ครับ

ผมขอรับประกันได้อย่างหนึ่งว่า "process" ในตอนเรียนชั้นคลินิกนั้นความสำคัญมีแต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

การศึกษาทำความเข้าใจ "ชีวิต" นั้น ต้องเรียนแบบ workshop หรือเน้นที่ภาคปฏิบัติ หลังจากในห้อง lecture พูดถึง signs and symptoms เช่น trenesmus, melena, angina, sub-sternal chest pain, cyanosis, orthopneoa, dyspnoea, etc แล้ว เราท่องได้หมดก็จริง แต่สิ่งเหล่านี้จะไม่มีประโยชน์ในทางปฏิบัตเลยถ้าเราไม่ทราบว่าเวลาแสดงออกในคนจริงๆเป็นอย่างไร

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง communication skill เป็น psychomotor ที่สำคัญมาก และต้องฝึกบ่อยๆ แพทย์จะต้องสามารถเขียน พูด แสดงความเห็น และแสดงอากับกิริยาท่าทางที่ optimize ข้อความข่าวสารที่ต้องการจะสื่อออกไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ มันไม่สำคัญเลยถ้าที่เราพูดไปเป็น evidence-based level 1 แต่ผป.และญาติฟังไม่เข้าใจ หรือเข้าใจแต่มีความรู้สึก negative ต่อวิธีที่เราสื่อสาร ตรงนี้ นศพ. จะมี precious time แค่ 2-3 ปี ที่จะฝึกเสวนา สนทนา รับฟังคนไข้และญาติ โดยไม่ต้องเพ่งเล็งหรือคิดเรื่องการสั่ง order มากนักตอนไปคุย เพราะมีอาจารย์และพี่ๆทำอยู่แล้ว แต่การที่น้องจะได้ไปดูแผล ทำแผลจริงๆบนหอผู้ป่วย ทดสอบ NG-tube ขยับสาย drain ปรับ ICD หรือ suction ET-tube สิ่งต่างๆเหล่านี้ล้วนเป็น "ประสบการณ์เรียนรู้" ทั้งสิ้น

เคยมี นศพ. บอกว่าเขาไม่น่าจะมีหน้าที่ทำ EKG ตอนเป็น extern น่าจะเป็นพยาบาลทำก็ได้ เขาทำมาแล้ว 3-4 ครั้ง ไม่ได้ยากอะไร แต่จริงๆแล้วการทำหัตถการเหล่านี้ ถ้าผนวกเอาการสื่อสารที่พึงกระทำเข้าไปด้วย มันจะมีอะไรที่ได้ฝึกได้เรียนอีกเยอะ น้องต้องหัดอธิบายว่าทำไมคุณลุง คุณป้า ท่านพระครู จะต้องถูกตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ มันดีอย่างไรต่อท่านที่จะตรวจ มันอาจจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง หมอจะเอาครีมมาทาๆที่ไหน เอาอะไรมาติดตามตัว คุณลุงต้องทำตัวอย่างไร พูดได้ไหม ขยับตัวได้ไหม หายใจยังไง หลังจากทำเสร็จก็อ่านผลและรายงานให้ทราบว่าทำไปแล้วได้อะไรบ้าง และคนไข้แต่ละรายก็จะมี indication, contraindication, precaution, complications, etc ไม่เหมือนกัน มีระดับการศึกษา มี background มีพยาธิสภาพไม่เหมือนกัน ทุก case ก็จะได้เรียนไม่เหมือนกัน

เราสามารถที่จะสนทนา เสวนาพาทีกับผป.เวลาทำกิจกรรมเหล่านี้ได้ทุกครั้ง แต่บะครั้งเราจะเพิ่ม doctor-patient relationship ในส่วนที่นอกเหนือจาก professional relationship แล้ว เรายังมีโอกาสพัฒนา human-human relationship ได้อีกด้วย ซึ่งมันจะมีแต่ผลดีต่อตัวน้องเองในอนาคต ต่อความร่วมมือและไว้วางใจจากผป.และญาติ ถ้าเราหมั่นพูดคุยให้ข้อมูล ยังเป็นการบังคับเราทางอ้อมกลายๆให้เตรียมตัว เตรียมข้อมูลที่จะไปพูดกับเขาก่อนทำกิจกรรมด้วย เราจะได้ไม่ต้องรีบก้มหน้าก้มตาทำแผลแล้วรีบเลิกเพราะกลัวจะถูกถามแล้วตอบไม่ได้

ผมเชื่อว่าพี่ๆและอาจารย์ยินดีที่จะคอยช่วยเหลือคุณ DogTor แน่ๆครับ ไม่ต้องเป็นห่วง



Posted by : Phoenix , Date : 2006-04-11 , Time : 09:45:21 , From IP : 172.29.3.231

ความคิดเห็นที่ : 21


   อยากรู้จักอาจารย์ฟีนิกซ์จัง

Posted by : ว จ ก , Date : 2006-04-11 , Time : 16:18:37 , From IP : 202.28.68.11

ความคิดเห็นที่ : 22


   ก็แค่สงสัย
ผมโพสของผมเล่นๆ แบบโพสตามใจ
ไม่ได้ให้ใครเข้าใจสักหน่อย อีกอย่างที่โพสไปผมก็ไม่ได้เข้าใจสักหน่อย
อาจารย์เคยเดินอืมเพลงแบบไม่เป็นภาษไหมแบบตามใจ ก็แบบนั้นแหละ
ก็บอกแล้วว่ามามั่ว

communication skill กับผู้ป่วยน่ะผม ok เลยไม่ได้โม้ ที่แปลกคือผมไม่ค่อยได้พูดอะไรหรอก ส่วนใหญ่คนไข้ที่ผมรับดูแลนั่นแหละคุยจ้อเชียวผมก็แค่ฟังไปเรื่อยๆของผมเฉยๆ สนุกบ้างน่าเบื่อบ้าง

ที่ว่า guarding มันแน่อยู่แล้ว
ก็ต้องดูเชิงก่อนสิ ก็ webboard นี้ คารมคมคายเชือดกันน่ากลัวจะตาย
ถ้าหากเอาคำพูดมากระแทกผมแรงๆ ผมก็ยั่วก็เจ็บเป็นนะ

ส่วนเรื่องค่า ผมไม่ค่อยจะรู้หรอกนะว่าค่าอะไร
เหมือนกวนนะ แต่ผมเป็นของผมยังงี่นี่



Posted by : check ก่อน mated!!!!! , Date : 2006-04-12 , Time : 02:10:12 , From IP : 192.168.32.51

ความคิดเห็นที่ : 23


   บางทีมันต่างกันตรงนี้แหละครับ

ผมคิดว่าการรับฟังความเห็นเป็นเรื่องสำคัญ เป็นเรื่องของการเรียนรู้ พัฒนาตนเอง และเป็นเรื่องของการให้เกียรติคนที่เราฟัง เราอ่าน เราศึกษา เวลาเรามีการตอบสนอง เราจึงได้มีพฤติกรรมที่สอดคล้องกับเจตคติแต่แรกของเรา

ถ้าเราพิจารณาว่าเรื่องอะไรเป็นเรื่องที่ไม่สำคัญเท่าไหร่ เราก็จะไม่ได้ pay attention ในการคิด ในการตอบ และกิริยามารยาทในการคิด ในการตอบ เหมือนเวลาน้องขึ้น ward เจอคนไข้พูดให้ฟังเรื่องครอบครัว เรื่องความเชื่อดวง พ่อมด หมอฝี ฯลฯ เจตคติเราเป็นอย่างไร หน้าตาอาการเราก็ออกมาแบบนั้นแหละครับ ต่อให้ไม่พูดอะไรเลย อวจนภาษานั้นมันสื่อได้ดีกว่าวจนภาษาเป็นไหนๆ

ดังนั้น "เจตคติ" ต่อประเด็นที่เราได้ยิน ได้ฟัง เป็นตัวกำหนดกรอบการแสดงออก การตอบสนอง เราเห็นเรื่องอะไรไร้สาระ มั่วได้ ไม่มีแก่นสาร เราก็คงจะแสดงออกไปอย่างนั้น เราเห็นเรื่องอะไรมีสาระ เป็นเรืองสำคัญ เราก็จะแสดงออกอีกแบบหนึ่ง เจตคติการรับรู้กำหนดไม่เพียงแต่การแสดงออก การตอบสนองเท่านั้น ยังกระทบต่ออารมณ์เราด้วย เพราะบางทีเราเผลอไม่ได้อภิปรายเรื่องบนโต๊ะอภิปราย แต่เอาเรื่องเหล่านั้นมาเป็นเกี่ยวเนื่องกับตนเอง (idea of reference) การอภิปรายเรื่องที่เป็นกลาง กลายเป็น personal attack กลายเป็นสิ่งที่ต้องการแก้ตัว กลายเป็นเหตุผลที่จะต้องตีกลับ หรือโต้ตอบกลับอย่างใช้อารมณ์ เพราะมันไม่ใช่เรื่องของ "ประเด็น" อีกต่อไป กลายเป็นเรื่องส่วนบุคคล

การฝึกตรงนี้สำคัญเพราะเวลาผู้ป่วยและญาติ เขาจะเปิดอกพูดกับเราในบางเรื่องนั้น ไม่ใช่ของง่ายๆ ถ้าเราพร้อมที่จะมั่ว พร้อมที่จะไม่ respect พร้อมที่จะไม่สำรวมกิริยามารยาทการแสดงออก แล้ว attitude เหล่านี้มันก็จะไปโผล่ตอนเรามีปฏิสัมพันธ์กับคนไข้ ไปหัวเราะตอนไม่สมควรหัวเราะ ไปทำตลกตอนเขากำลังเศร้าเสียใจ ไปทำหน้าดูหมิ่นเหยียดหยามเห็นเป็นเรื่องไร้สาระ เป็นเรื่องมั่วๆ แล้วพูดเสริมอะไรออกไปโดยไม่ได้ยับยั้งชั่งใจ ไม่ได้คิดไตร่ตรอง บางทีนั่นอาจจะไม่ใช่อุปนิสัยที่แพทย์พึงสะสมเป็นบุคลิกเท่าไรนัก และของเหล่านี้มัน "สะสม" ได้นะครับ สะสมมากๆ การเรียนรู้ทีหลังมันจะยิ่งขุดลอกของที่หมักหมมสะสมได้ยากขึ้นเรื่อยๆ

เราฟังคนไข้สนุกบ้าง เบื่อบ้างนั้น คนไข้อาจจะกำลังต้องใช้ความพยายามมาหลายวันกว่าที่จะเปิดเผยเรื่องบางเรื่องกับเราอยู่ก็ได้ ถ้าเราเกิดอารมณ์เบื่อมากๆเผลอไปหาวตอนคนไข้กำลังพยายามเรียบเรียงพูดอะไรออกมา คนอื่นก็จะทราบว่าเรามีความคิดสำหรับเรื่องนี้มากน้อยแค่ไหน ที่มาเสนอหน้า "ฟัง" นั้น อาจจะแค่ได้ยิน แต่ไม่ได้คิด คิดแต่ไม่ได้เห็นใจหรือเข้าใจ กำลังทนฟังเพื่ออะไรก็ไม่รู้ อาจจะเพื่อให้คนอื่นเห็นว่าเรากำลังทำหน้าที่ แต่ใจจริงๆนั้นไม่ได้ทำหน้าที่อะไรเลย กลับเบื่อเต็มทน เกลียดตนเองที่ต้องมายืนฟังอะไรก็ไม่รู้อยู่ตรงนั้น ดังนั้นผมถึงบอกตามหัวข้อกระทู้นี้ยังไงล่ะครับ กระบวนการเรียนรู้ การบริการ การทำงานของแพทย์นั้น "เนื้องาน" ที่สำคัญมันอยู่ที่ process มากทีเดียว อยู่ที่ attitude ขณะที่ทำ process นั้นๆ อยู่ที่ attitude ว่าทำไมเราต้องมายืนฟังอยู่ตรงนั้น เพราะมันสนุกดี เพราะมันได้คะแนน หรือเพราะว่าเราอยากจะเข้าใจคนไข้ที่นั่งพูดอะไรอยู่เบื้องหน้าเราให้ดีขึ้นกันแน่?



Posted by : Phoenix , Date : 2006-04-12 , Time : 08:29:03 , From IP : 172.29.3.231

ความคิดเห็นที่ : 24


   ได้ยิน แต่ ไม่ได้ฟัง มันคืออะไร
hearing คือ การได้ยิน มันคือสิ่งที่ได้ยินนั้นเป็นเพียงแค่signalเฉยๆที่มันupward processขึ้นไปในสมองโดยคงมีแค่การรับรู้ว่ามีเสียงเข้ามา แต่ไม่ได้ผ่านขบวนการแปลหรือตีความจากสมองชั้นสูง เพื่อส่งความหมายกลับมาเป็นtopdown processว่าสิ่งที่ได้ยินนั้นคืออะไร
listening คือ ได้ฟัง มันคือsignalนั้น upward ผ่านเข้าไปในสมอง แล้วผ่านการตีความจากสมองว่าสิ่งที่ได้ยินนั้นคืออะไร เพื่อส่งเป็น topdown processลงมาให้เรารับรู้ได้ว่า signal ที่เราได้รับนั้นกำลังสื่ออะไรกับเรา และถ้าเราเป็นคนล้ำลึกกว่านั้น ก็จะมีการใช้สมองส่วนlimbicพร้อมกันไปด้วย เพื่อจับmodeทางอารมณ์ทำให้เรารับรู้ได้ว่าsignalนั้นมาพร้อมกับความรู้สึกอะไร ก็นำไปสู่การempathyในเบื้องต้น ทำให้listening ดูเป็นการฟังที่งดงามกว่า hearning
ทีนี้ก็คงเป็นเสรีภาพของคนเรา ที่จะเลือกเป็นคนที่ hearing เป็นอย่างเดียว หรือจะเป็นคนที่ listening ได้ดี


Posted by : pisces , Date : 2006-04-13 , Time : 18:03:32 , From IP : 172.29.7.207

ความคิดเห็นที่ : 25


   Communication skill ของแพทย์นั้น สิ่งที่สำคัญที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการ counseling หรือการสื่อสาร การสัมภาษณ์ นั้นคือ การฟัง

ฝึกฟังให้ดี ฟังจับใจความ ฟังอย่างมีเมตตากรุณา ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับการที่เอาหัวเราไปอยู่ใกล้ที่ที่มีเสียง และจับได้ว่ามี vibration เกิดขึ้น เพราะนั่นคงไม่ค่อยเป็นประโยชน์ต่อวิชาชีพเราเท่าไหร่นัก

เป้าหมายเบื้องต้นของอาชีพแพทย์พยาบาลนั้นคือ "ช่วยคนที่มีทุกข์" จะช่วยเขาได้ ต้อง "เข้าใจ" ก่อนว่าเขาทุกข์เรื่องอะไร จึงมาหาเรา มาขอให้เราช่วย ไม่ใช่เขาเรื่องปวดนิ้ว แตเราชำเลืองไปเห็นอืมธัยรอยด์โตนี่หว่า เลยซักประวัติ ตรวจแต่ธัยรอยด์ นัดผ่าตัดไปโน่น จนลืมดูนิ้ว

เวลาที่คนไข้มาหาหมอนั้น ไม่ใช่เวลาที่เขามีความสุขเท่าไหร่ (ยกเว้นบางกรณี เช่นมาคลอด เป็นต้น) ข้อมูลที่เขาร่วมมือและให้หมอนั้น เขาหวังว่าเราจะใช้อย่างคุ้มค่า เขาจึงยอมบอกอะไรหลายๆอย่างที่ไม่เคยบอกเล่าให้คนอื่นฟัง ยอมให้เราตรวจร่างกายหลายๆอย่างที่ปกติไม่ยอมให้ใครมาทำ ที่เขายอมเราไม่ใชเพราะเรามีอภิสิทธิ์มาแต่ไหน แต่เป็นอภิสิทธิ์อยู่บน เงื่อนไข ที่ว่าเราจะเอาข้อมูลที่ซักได้ ที่ตรวจได้ นั้นไปใช่เพื่อประโยชน์ของเขา เรื่องบางเรื่องไม่ใช่เรื่องที่เขาจะทำใจมาเล่าให้คนแปลกหน้าหรือหมอหน้าใสที่ไหนมาฟังง่ายๆ บางทีมันเป็นเรื่องน่าละอาย เป็นเรื่องส่วนตัว เป็นเรื่องที่ไม่จำเป็นเขาไม่เล่าให้ฟัง ถ้าเรามี privilege ได้ไปอยู่ตรงนั้นแล้ว พวกเรากรุณาช่วยให้เกียรตินี้แต่ตนเอง แก่วิชาชีพที่ทำให้เราไปอยู่ตรงนั้น และต่อผู้ป่วยที่กำลังเล่าให้เราฟังอยู่ น่าจะเป็นกิริยามารยาท และเจตคติที่เหมือนกับผ่านการอบรมมาเป็นอย่างดี

ความคิดเห็นที่ : 26


   Communication skill ของแพทย์นั้น สิ่งที่สำคัญที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการ counseling หรือการสื่อสาร การสัมภาษณ์ นั้นคือ การฟัง

ฝึกฟังให้ดี ฟังจับใจความ ฟังอย่างมีเมตตากรุณา ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับการที่เอาหัวเราไปอยู่ใกล้ที่ที่มีเสียง และจับได้ว่ามี vibration เกิดขึ้น เพราะนั่นคงไม่ค่อยเป็นประโยชน์ต่อวิชาชีพเราเท่าไหร่นัก

เป้าหมายเบื้องต้นของอาชีพแพทย์พยาบาลนั้นคือ "ช่วยคนที่มีทุกข์" จะช่วยเขาได้ ต้อง "เข้าใจ" ก่อนว่าเขาทุกข์เรื่องอะไร จึงมาหาเรา มาขอให้เราช่วย ไม่ใช่เขาเรื่องปวดนิ้ว แตเราชำเลืองไปเห็นอืมธัยรอยด์โตนี่หว่า เลยซักประวัติ ตรวจแต่ธัยรอยด์ นัดผ่าตัดไปโน่น จนลืมดูนิ้ว

เวลาที่คนไข้มาหาหมอนั้น ไม่ใช่เวลาที่เขามีความสุขเท่าไหร่ (ยกเว้นบางกรณี เช่นมาคลอด เป็นต้น) ข้อมูลที่เขาร่วมมือและให้หมอนั้น เขาหวังว่าเราจะใช้อย่างคุ้มค่า เขาจึงยอมบอกอะไรหลายๆอย่างที่ไม่เคยบอกเล่าให้คนอื่นฟัง ยอมให้เราตรวจร่างกายหลายๆอย่างที่ปกติไม่ยอมให้ใครมาทำ ที่เขายอมเราไม่ใชเพราะเรามีอภิสิทธิ์มาแต่ไหน แต่เป็นอภิสิทธิ์อยู่บน เงื่อนไข ที่ว่าเราจะเอาข้อมูลที่ซักได้ ที่ตรวจได้ นั้นไปใช่เพื่อประโยชน์ของเขา เรื่องบางเรื่องไม่ใช่เรื่องที่เขาจะทำใจมาเล่าให้คนแปลกหน้าหรือหมอหน้าใสที่ไหนมาฟังง่ายๆ บางทีมันเป็นเรื่องน่าละอาย เป็นเรื่องส่วนตัว เป็นเรื่องที่ไม่จำเป็นเขาไม่เล่าให้ฟัง ถ้าเรามี privilege ได้ไปอยู่ตรงนั้นแล้ว พวกเรากรุณาช่วยให้เกียรตินี้แต่ตนเอง แก่วิชาชีพที่ทำให้เราไปอยู่ตรงนั้น และต่อผู้ป่วยที่กำลังเล่าให้เราฟังอยู่ น่าจะเป็นกิริยามารยาท และเจตคติที่เหมือนกับผ่านการอบรมมาเป็นอย่างดี



Posted by : Phoenix , Date : 2006-04-13 , Time : 23:15:20 , From IP : ppp-124.120.218.50.r

ความคิดเห็นที่ : 27


    สืบเนื่องจาก "ผมคิดว่าผม stable นะครับ ส่วน predictable นั้น ไม่ได้ขึ้นกับผมคนเดียว แต่ขึ้นกับสติปัญญาความสามารถ ความเข้าใจของคน predict ด้วย"

ถ้าอาจารย์จะ unpredictable อย่าง stable หนูก็จะพยายามเข้าใจนะคะ แต่เราคงจะวางเงื่อนไขเดียวกันนี้กับผู้ป่วยไมได้ คำถามก็คือ ทำให้ผู้ป่วยไว้วางใจเราได้ จนยอมบอกเล่าเรื่องราวต่างๆได้ ทำอย่างไรคะ (ไม่ได้สงสัยเรื่องตั้งใจฟังค่ะ แต่สงสัยเรื่องปฏิกิริยาตอบสนองหลังจากที่ได้ตั้งใจฟังแล้ว)


Posted by : Lucifer , Date : 2006-04-14 , Time : 00:00:06 , From IP : 172.29.4.152

ความคิดเห็นที่ : 28


   คำถามก่อนวงเล็บและในวงเล็บเป็นคนละเรื่องกัน ลองปรับแต่งใหม่อีกทีดีไหมครับ?



Posted by : Phoenix , Date : 2006-04-14 , Time : 10:06:43 , From IP : ppp-124.120.219.18.r

ความคิดเห็นที่ : 29


   ถ้าผู้ป่วยนั้นมีท่าทีที่ดูไม่ไว้วางใจเรา แสดงว่าความสัมพันธ์เรากับผู้ป่วยนั้นยังไม่ดีเพียงพอ สาเหตุที่พบบ่อยก็มาจากที่ว่า เรายังฟังผู้ป่วยได้ไม่ดีเพียงพอ ผู้ป่วยเลยไม่คิดที่จะเล่าอะไรให้เราฟังเพราะคิดว่าเล่าไปหมอก็ไม่ฟังแต่ผู้ป่วยรู้ว่าหมอได้ยิน
การตั้งใจฟัง กับการฟัง ไม่ใช่อันเดียวกันหรอกนะ ลองคิดดูดีๆสิ


Posted by : pisces , Date : 2006-04-14 , Time : 10:12:22 , From IP : 172.29.7.247

ความคิดเห็นที่ : 30


   หมายความตามนั้นค่ะ

ขยายความเพิ่มเติมว่า ... ปฏิกิริยาตอบสนองหลังจากที่ฟังแล้วควรเป็นอย่างไรเพื่อให้ผู้ป่วยไว้วางใจที่จะเล่าเรื่องราว ความรู้สึกของเขาให้เราฟังในครั้งต่อไป ในครั้งแรกเลยความตั้งใจฟังอย่างเดียว เพียงพอที่จะทำให้เค้าเล่าค่ะ แต่ครั้งต่อไปจะเกิดความคาดหวังที่เป็นผลจากการตอบสนองในครั้งแรกด้วย อีกอย่างคือ เวลานี้ ขณะนี้หนูไม่ใช่ "คนสำคัญ" จึงไม่มีความจำเป็นที่ใครจะต้องpretend เอาอะไร เนื่องจากอำนาจการตัดสินใจเบ็ดเสร็จไม่ได้อยู่ที่หนู ใครจะแสดงอะไรออกมาก็เลยไม่ต้องระวัง แต่ต่อไป หนูจะเป็น "คนสำคัญ" ก็เลยคิดว่าจะระวังไว้ก่อน(อาจารย์เคยคิดหรือรู้สึกมั้ยคะว่า ผู้ป่วยพูดในสิ่งที่เราอยากฟัง แต่ไม่พูดในสิ่งที่เค้าอยากจะพูด)


Posted by : Lucifer , Date : 2006-04-14 , Time : 10:44:15 , From IP : 172.29.4.152

ความคิดเห็นที่ : 31


   ฟังเรื่องของผู้ป่วยให้เข้าใจ เน้นนะว่าเรื่องของผู้ป่วย ไม่ใช่เรื่องของความคิดในหัวเรา เมื่อฟังจนเข้าใจแล้วการตอบสนองจะเป็นไปตามธรรมชาติที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ว่า เรารู้สึกปราถนาดี่ต่อผู้ป่วย หรือเราจะตอบสนองไปตามความเข้าใจในเรื่องที่เราได้ยินก็ได้ โดยใช้ความเป็นคนสัมผัสความเป็นคนเนี่ยแหละ มันจะดูจริงใจกว่าไหมและก็ไม่ต้องมาเกร็งหรือมานั่งคิดว่า จะต้องทำตัวอย่างไรให้ผู้ป่วยพอใจ
...........
ที่ผ่านมาทำแบบนี้มาตลอด เลยไม่เคยกังวลว่าผู้ป่วยพูดในสิ่งที่เราอยากฟัง แต่ไม่พูดในสิ่งที่เค้าอยากพูด


Posted by : pisces , Date : 2006-04-14 , Time : 14:23:12 , From IP : 172.29.7.70

ความคิดเห็นที่ : 32


   คนสำคัญหรือไม่สำคัญวัดจากอะไรครับ? ผมไม่เคยมองว่าตัวเองไม่สำคัญนะในการดูแลคนไข้ ผมอาจจะยังไม่ใช่หมอที่สามารถสั่งยาและมีอำนาจเบ็ดเสร็จในการตัดสินใจอย่างเต็มที่ แต่ว่าในแต่ละวันที่ผมทำหน้าที นศพ ไปคอยถามอาการความเปลี่ยนแปลงของคนไข้ กินข้าวได้ไหม ถ่ายออกหรือเปล่า มีปัญหาอะไรสงสัยหรือไม่ คอยฟังเรื่องราวทั้งที่เราอยากฟังและคนไข้อยากเล่า ผมคงไม่ยอมรับว่าหน้าทีนี้ไม่ได้ทำให้ผมเเป็นคนสำคัญ ในขณะเดียวกันการที่หมอที่ถือว่าตัวเองสำคัญกลับทำแค่รักษาสั่งยาผ่านหน้าจอ comp อย่างไหนคือคนสำคัญครับ? จริงๆเราคงไม่ต้องให้ใครมานิยามเราว่าเราสำคัญหรือไม่แต่เราน่าจะสามารถ define ตัวเองได้จากการกระทำจากสิ่งที่เราคิดและรู้สึก กลับมาที่ debate ครับค่าของคนอยู่ที่การทำงานหรือผลงาน? ตราบใดเรายังรอที่จะเป็นคนสำคัญในสักวันแต่วันนี้ยังไม่ใช่ค่าของเราคงอยู่ที่ผลงาน หากแต่การเรียนรู้ที่จะเป็นคนสำคัญและทำหน้าที่อย่างเต็มที่ตามบริบทที่ล้อมรอบโดยไม่ต้องรอสักวันเราก็จะเห็นว่าค่าของตัวเองอยู่ที่การทำงาน

Posted by : doctor2b , Date : 2006-04-14 , Time : 14:31:13 , From IP : 172.29.4.136

ความคิดเห็นที่ : 33


   ถ้าจะให้ใครไว้ใจเรา ก่อนอื่นเริ่มจากเลิกระแวงว่าคนอื่นจะไม่จริงใจกับเราก่อนดีไหมครับ

เคยมีหมอสงสัยว่าที่คนไข้บอกปวด ไม่น่าจะปวด ขอลองฉีดน้ำเกลือ ให้ placebo ดูซะหน่อยซิ นั่นแน่ทำไมหายปวด ดีนะนี่ที่ไม่เชื่อไว้ก่อน (หวังว่า practice นี้สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว) ถ้าเรามีเจตคติว่าคนไข้อาจจะโกหกเราอยู่ เราเองก็จะ "ไม่ไว้ใจ" คนไข้ คิดว่าตนเองรู้มาก รู้เท่าทัน ใครจะมาหลอกฉัน เอาใจฉัน ฉันระแวงไว้ก่อน

ทำไมจึง "เดาใจ" คนไข้ว่าเขาพูดความทุกข์ให้เราฟังนั้น เขาต้องไตร่ตรองใคร่ครวญว่าเราเป็นคนสำคัญแค่ไหน? ทำไมเราจึงสร้าง attitude ว่า ผป.คงจะตอบนศพ. ตอบพยาบาล ตอบ resident ตอบอาจารย์ ไม่เหมือนกัน? ทำไมคิดว่าผป.กำลัง pretending? ตกลง นศพ. ควร หรือ ไม่ควรเชื่อประวัติที่ผป.ให้มากันแน่ฦ เพราะ ประวัติฉบับ นศพ. อาจจะไม่ตรงกับ version พยาบาล, version แพทย์ใช้ทุน, หรือ version อาจารย์?

เริ่มต้นจากคิดว่าเราเข้าหาผป.อย่างจริงใจ อย่างบริสุทธิ์ใจ อย่างเมตตากรุณา ไม่หวาดระแวง จิตใจที่อยู่เบื้องหลังใบหน้าเรานั้นสำคัญมากครับ เริ่มต้นจากจิตบริสุทธิ์ ไม่หวาดระแวง เคารพในสิ่งที่ ผป. เลือกมาพูดกับเรา เลือกมาบอกเรา นั่นเป็นสิ่งที่เราทำได้ดีที่สุดแล้ว เราไม่มีทาง "รู้" ว่ามันจริงเท็จมากน้อยแค่ไหน แต่เรื่องความไว้วางใจนั้น เป็นสิ่งที่เราต้อง "ลงทุน" ไปก่อนโดยอาศัยศรัทธาว่าความบริสุทธิ์ใจจะแลกมาซึ่งความบริสุทธิ์ใจ เพราะความหวาดระแวงว่าคนจะมาโกหกเรา พูดไม่จริงกับเรานั้น ต่อให้ซ่อนไว้แค่ไหน อกุศลจิตมันจะรบกวนสมาธิและภาษาท่าทางเราทั้งหมดจนได้

ถ้าจะเลือกภาษาที่ใช้ ผมคงบอกว่าหมอที่ "สำคัญ" นั้น ไม่ได้อยู่ที่ตำแหน่ง อายุ เพศ ฐานะ แต่หมอที่สำคัญคือหมอที่จริงใจ เข้าหาคนไข้อย่างมีเมตตากรุณา เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว นศพ. พยาบาล resident อาจารย์ ก็สามารถสำคัญได้เหมือนกัน และในทำนองกลับกัน ทุกคนก็จะเป็นคนที่ "ไม่สำคัญ" ได้ ถ้าไม่ได้มี positive approach เข้าหาคนไข้แต่แรก

ถ้าเรายังต้อง "ถามบทบาท" ว่าควรจะทำหน้ายังไง อือออ..แค่ไหน เมือ่ไหร่จะจับมือคนไข้ ตอนไหนต้องขยับตัว คนไข้จีงจะไว้ใจ จึงจะเปิดอกกับหมอได้อย่างบริสุทธิ์ใจ เราคงยังไม่เข้าใจคำว่า "ไว้วางใจ" ครับ เพราะความไว้วางใจนั้นไม่ได้ขึ้นกับการท่องบท มันต้องแลกด้วยความบริสุทธิ์ใจ มันอยู่นอกเหนือจากบทบาทที่เราต้องท่องว่าทำยังไง ไม่รู้จะอธิบายว่ายังไงเหมือนกันว่าบริสุทธิใจคือยังไง เอาเป็นว่าไม่หวาดระแวง ไม่สงสัย ไม่คลางแคลงใจว่าตนเองทำไปเพราะอะไร แต่เป็น reaction เริ่มแรก ที่ผลักดันมาจากความเมตตากรุณาและหวังดีต่อผป.

รพ. เรามีพยาบาลอย่างพี่ฟ่ง (คุณกานดาวศรี) ซึ่ง approach ผป. ใกล้ตายมา กว่า 20 ปี มีคนถามว่าเด็กต้องพูดว่ายังไง ผู้ใหญ่ต้องพูดว่ายังไง ยังตอบไม่ได้เลยครับ มันเป็นบริบท มันเป็นปัจเจกบุคคล



Posted by : Phoenix , Date : 2006-04-14 , Time : 14:59:12 , From IP : ppp-124.120.219.229.

ความคิดเห็นที่ : 34


   ขอบคุณมาก doctor 2b รู้สึกดีที่เราได้รู้จักกันมากขึ้นทุกครั้งที่คุยกันเป็นเรื่องเป็นราว

Posted by : Lucifer , Date : 2006-04-14 , Time : 15:40:11 , From IP : 172.29.4.152

ความคิดเห็นที่ : 35


    ถ้าจะให้ใครไว้ใจเรา ก่อนอื่นเริ่มจากเลิกระแวงว่าคนอื่นจะไม่จริงใจกับเราก่อนดีไหมครับ
ดีค่ะ แต่คำที่ใช้คือ “ระวัง” ไม่ใช่ “ระแวง”

ทำไมจึง "เดาใจ" คนไข้ว่าเขาพูดความทุกข์ให้เราฟังนั้น เขาต้องไตร่ตรองใคร่ครวญว่าเราเป็นคนสำคัญแค่ไหน?

ไม่ได้เดาค่ะ ก็อาจารย์สอนเองว่าถ้าสงสัยให้ถาม หนูก็เลยถาม
หนูบอกผู้ป่วยและญาติบ่อยๆว่า ไม่สบายตัวไม่สบายใจเรื่องอะไรให้บอก ถ้าไม่เล่าก็ไม่มีใครรู้หรอกนะ แต่พอเค้าเล่าเสร็จหนูก็ได้แต่....ไม่ทราบค่ะ หรือทราบก็คงเล่าไม่ได้ทั้งหมด อยากรู้อะไรให้ถามคุณหมอเจ้าของไข้นะคะ หรือเล่าให้คุณหมอฟังอย่างที่เล่าให้หนูฟังดีมั้ยคะเพราะการตัดสินใจวางแผนการรักษาจะอยู่ที่คุณหมอเจ้าของไข้ กรณีแย่ที่สุดที่เคยเจอ ญาติคนไข้จับมือหนูแล้วร้องไห้ “สัญญานะว่าจะไม่เล่าให้ใครฟัง” หนูปวดใจทุกครั้งเวลาถามว่าทำไมไม่พูดแล้วเค้าตอบว่า ไม่กล้าหรือกลัว ทำไมล่ะ ลองแล้วหรือ แล้วคำตอบคือ “ใช่” หรือไม่ก็เห็นคาตาหลังจากที่ encourage ให้ลอง และที่บอกว่าจะระวังไว้ก่อนคือระวังจะไม่ทำให้เค้าไม่กล้าหรือรู้สึกกลัวที่จะบอกหรือเล่า (clarify คำถามครั้งที่3 ค่ะ และถ้าหมายความว่าเป็นปัญหาจากการที่หนูสื่อสารไม่clear ก็ประทับตรา invalid ทุกตัวอักษรที่ผ่านมาได้เลยนะคะ)

ทำไมเราจึงสร้าง attitude ว่า ผป.คงจะตอบนศพ. ตอบพยาบาล ตอบ resident ตอบอาจารย์ ไม่เหมือนกัน? ทำไมคิดว่าผป.กำลัง pretending?

ไม่ได้สร้างค่ะ แต่เคยเห็นแล้วก็เลยสงสัย ว่า “ทำไม” สงสัยต่ออีกหน่อยว่า อาจารย์เคยเห็นอย่างที่หนูเห็นมั้ยคะ?
(ดูท่าจะหลุด theme ของกระทู้)


Posted by : Lucifer , Date : 2006-04-15 , Time : 02:13:21 , From IP : 172.29.4.152

ความคิดเห็นที่ : 36


   สงสัยคุณluciferจะสับสนในตัวเองมาก น่าจะลองสงบสติเรียบเรียงความคิดดูหน่อยนะ เพราะเนื้อหามันวกไปวนมา

Posted by : .. , Date : 2006-04-15 , Time : 09:21:09 , From IP : 172.29.7.50

ความคิดเห็นที่ : 37


   คุณจะใช้คำว่าระแวง ระวัง ปลอดภัยไว้ก่อน ฯลฯ หรืออะไรก็ตาม ถ้ามันแปลว่า "สงสัยผู้ป่วยพูดไม่จริง หรือไม่จริงใจ" ผมคิดว่าความหมายเหมือนกัน

จริงอยู่ที่ ผป. จะ "เลือก" บอกเรื่องบางเรื่องกับบางคนตามบริบท แต่ไม่ได้หมายความว่าเขาไม่จริงใจกับคนที่ไม่ได้บอก และเรื่องบางเรื่องกับคนๆเดียวกัน ยังแปรตามสภาพจิตใจของผป.คนนั้นเอง ว่าทำใจ cope กับสภาวะตนเองอย่างไร ได้แค่ไหนตอนสื่อ

ถ้าเราสงสารผป.ตอนเขาบอกว่าไม่กล้าพูด ไม่อยากจะพูด ทำไมจึงจะรู้สึกปวดใจ? ทำไมไม่รู้สึก "เข้าอกเข้าใจ" ว่าเรื่องบางเรื่องผป.จะไม่กล้าพูด ไม่อยากพูด ทำไมจึง reference ว่าเหตุผลคือเพราะกำลังพูดกับเรา ทำไมจึงไม่เป็นเพราะ "เรื่อง" ที่เขากำลังพูด? เวลาญาติร้องไห้จับมือเราทำไมเราจึงรู้สึกแย่ที่มีคนขอความช่วยเหลือและขอกับเรา? แทนที่จะรู้สึกเห็นใจ และในเวลาเดียวกันก็รู้สึกภาคภูมิใจที่เราอยู่ที่นั้นและผป.หรือญาติเจาะจงมาขอความช่วยเหลือ หรือพูดระบายกับเรา?

คำถามข้างบนจะไม่เกี่ยวกับการ acting ว่าท่าทีเราควรจะเป็นอย่างไร แต่จะเกี่ยวกับ attitude มากกว่าครับว่าเราคิดอย่างไร และรู้สึกอย่างไร ตอนที่เข้าไปสัมภาษณ์ การเตรียมใจที่แตกต่างกัน จะทำให้สามารถเปลี่ยนจาก "ปวดใจ" เป็น "เข้าใจ" เปลี่ยนจากโทษสถานะตนเอง เป็น "เข้าถึงบริบท" ของคนอื่น เปลี่ยนจากรู้สึกแย่ไปเป็น "ภาคภูมิใจ" ในวิชาชีพและหน้าที่ของตนเอง ทั้งหมดนี้ใช่ "ทำอย่างไร" แต่เป็น "รู้สึกอย่างไร คิดอย่างไร" ที่มาอยู่ตรงนี้

ลดการใช้ reference ที่เป็น self-oriented ลงครับ อย่าเอาเรื่องทุกอย่างมาใช้เราเป็นตัวตั้ง เพราะเราไม่ดี เพราะเราเด็ก เพราะเราไม่เหมือนใคร เพราะเราเหมือนทุกคน ฯลฯ ลองใช้ reference ในบริบทของผป.แทน ลดความสำคัญของตัวเองลง ให้ความสำคัญต่อบริบทของผป.และญาติเพิ่มมากขึ้น อาชีพเราถ้าเราสะเทือนใจง่าย โกรธง่าย น้อยใจง่าย ปวดใจง่าย มันจะห่างออกจากความสามารถในการใช้อุเบกขา มันจะห่างจากการให้การดูแลแบบใช้หัวใจแห่งความเป็นมนุษย์ออกไปเรื่อยๆ

ที่เรา "เห็น" นั้น จริงแค่ไหน? ใช้ประสบการณ์เก่า ใช้ความเป็น "เรา" มาแปลความมากน้อยแค่ไหน ถ้าเราไม่รู้ เราก็ "คิด" ว่าที่เราเห็นนั้นคือเรื่องจริง ลืมไปว่าที่ผป.เห็นก็เรื่องจริงของเขาเหมือนกัน คุณใช้ reference มากมายว่าคุณเห็น คุณรู้สึก และสงสัยว่าคนไข้ไม่บอกอะไรทั้งหมด แต่ยังไม่ได้พยายามเข้าใจในความทุกข์ของเขา แต่ติดกับ "อารมณ์ของตัวเอง" ว่าหลังจากเห็นแล้ว คิดแล้ว รู้แล้ว ตนเองรู้สึกอย่างไร ทำไมไม่ลองพยายามมองและพยายามเข้าใจจากผป.หรือญาติก่อนล่ะครับ เพราะถ้าหมอ sympathy เกินไป เกินสภาวะ empathy มันก็จะตันแบบนี้แหละครับ คือกลายสภาพเป็นผป.อีกคน เศร้าไปอีกคน หาทางออกไม่ได้ไปอีกคนนึง ร่วมกันปวดใจ เศร้าใจ อัดอั้นตันใจไปกับผป. แล้วเราจะ "ช่วย" เขาได้อย่างไร?



Posted by : Phoenix , Date : 2006-04-15 , Time : 10:35:16 , From IP : ppp-124.120.221.194.

ความคิดเห็นที่ : 38


    ขอกลับไปตั้งต้นที่ Process และ Product นะคะ คือว่าในชีวิตความเป็นจริงเป็นสิ่งที่เลวร้ายกว่าในอุดมการณ์ ในความเป็นจริงมักจะมีหลายปัจจัยที่ทำให้บางคนต้องหวังเพียงให้ผลที่ได้ออกมาดีที่สุดโดยไม่สนว่าจะเป็นอย่างไร แต่บางคนที่ทำ process ให้ดีแต่ product ไม่แปรไปตามด้วย
เช่น การอ่านหนังสือสอบ บางคนอ่านเพื่ออยากได้ความรู้ ที่จะสามารถรักษาคนไข้ได้ รู้ประวัติของคนไข้ของตนอย่างละเอียด และหาความรู้เป็นประจำ คนที่ทำเช่นนี้ได้เกรดปานกลาง และอีกคนหนึ่งอ่านแต่โพย เพื่อไปสอบอย่างเดียว ไม่เคยดูคนไข้ที่ ward เลย คนกลุ่มหลังมักจะได้เกรดดีกว่าคนกลุ่มแรกเสมอ นี่คือความจริงที่ทุกๆคนรู้
หากคนกลุ่มแรกได้เกรด สองกว่าๆ คนกลุ่มหลังได้สามกว่าๆ ในการสมัครเรียนต่อ เราคงรู้ว่าจะได้ไคร ทั้งๆที่คนตั้งใจอ่านหนังสือ ความรู้มากกว่า แต่ความเป็นจริงเกรดคือสิ่งเดียวที่อาจารย์ให้พิจารณารับเด็กเรียนต่อ โดยไม่มีการวัดความรู้จริงๆๆๆ เพราะเกรดคือสิ่งเดียวที่เป็นรูปธรรม
หากมีคนบอกว่าไม่หรอก รับเด็กจากความพยายาม ขยัน แล้วมีคำถามต่อว่า จะรู้ได้อย่างไรว่าเด็กคนใหนขยันหรือพยายาม หากไม่ตามไปดูที่หอแล้วดูว่าใครอ่านหนังสือมากกว่ากัน ตอบ คงต้องดูที่เกรดเพราะเด็กที่ได้เกรดมากมักเป็นเด็กขยัน
นี่เป็นโลกแห่งความจริง


Posted by : นศพ , Date : 2006-04-15 , Time : 11:27:59 , From IP : 172.29.4.235

ความคิดเห็นที่ : 39


   อ่านะ
หายไปนานชักจะคันปากยุบยิบ
ยิ่งอ่านกระทู้นี้แล้วยิ่งคัน
ความคิดผมนะ ค่าของคนก็แล้วแต่มุมมองของคน ทั้งตนเองและผู้อื่น เพราะมันเป็นสิ่งที่เกิดจากความรู้สึกของแต่ละคน บางคนเค้าไม่เคยเห็นกระบวนการของคุณ คุณพยายามทำมันอย่างดีแต่ล้มเหลว เหมือนพวกอาจารย์ส่วนใหญ่ที่ประเมินเราด้วยเกรด บางคนตั้งใจแทบตายแต่ก็ไม่ได้ผลดีเท่ากับคนอื่น(ผลทีทำให้ผู้อื่นได้เห็น) และคนส่วนใหญ่ก็เป็นเช่นนั้นด้วย มองผลลัพธ์มากกว่ากระบวนการ ไม่มีใครจะเฉลียวฉลาดปราดเปรื่องได้เท่ากับพวกท่านทุกคนหรอกครับ ไม่เช่นนั้นประเทศชาติคงไม่ต้องมีปัญหาอยู่แบบนี้ พวกท่านมักคิดแบบพวกมีเหตุและผลรู้ทันใครๆเขาไปหมด แต่ลองคิดแบบคนธรรมดาดูบ้าง คุณค่าที่ท่านดูอาจจะเป็นเรื่องของท่าน ส่วนคนอื่นมองมันก็เป็นเรื่องของเขาเช่นกัน แต่โดยส่วนรวมแล้วความจริงเท่านั้นที่จะเป็นแรงขับผลักดันให้มันเป็นไปตามแนวทางนั้น ไม่ใช่ไปตามแนวคิดของท่าน ผมคิดว่ากระบวนการมีคุณค่ามากกับผู้ที่กระทำและปฏิบัติสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อบรรลุเป้าหมาย แต่ผลของมันจะมีคุณค่าต่อผู้อื่นหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับความสำเร็จและความล้มเหลวของสิ่งที่ได้ทำ

ท่านผู้มีปัญญาทั้งหลาย...กรุณาอยู่ในโลกเถอะครับ...อย่าอยู่เพียงแต่ตัวท่าน...ท่านไม่ได้หลอกตัวเอง...ผมก็คิดว่าโลกของท่านมันมีอยู่จริง...แต่ถ้าท่านก้าวออกมาเชื่อมต่อไปให้มันหลายระดับกว่านั้น...ให้ซึมซับความเลวความชั่วความหลอกลวงความยอกย้อนของสังคมให้มากกว่านี้...ลองคิดอย่างคนโง่ๆแบบผมบ้างแล้วท่านจะได้รู้เสียทีว่าสันดานอย่างคนอย่างผมที่เกิดมาจากสังคนแบบนี้มันเกินกว่าที่จะแก้ไขแล้ว

ด้วยความเคารพ



Posted by : ไม้บรรทัดเหล็กไหล , Date : 2006-04-15 , Time : 12:16:00 , From IP : 61.7.158.169

ความคิดเห็นที่ : 40


   คุณ 2 จุดคะ
ลองทบทวน articles ทั้งหมดอีกสักครั้งจะดีมั้ยคะ เผื่อว่าคนที่สับสนในตัวเองมาก อาจจะไม่ใช่ดิฉันเพียงคนเดียว ถ้าอาจาย์ Phoenix ตอบได้ราวกับเข้าไปนั่งอยู่ในใจดิฉันล่ะก็ defect คงไม่ได้อยู่ที่เนื้อหาความคิดของดิฉันทั้งหมดเสียทีเดียว ผู้รับสารและบริบทมีส่วนอยู่มากในการตีความ

ถ้าเราจะใช้ประโยชน์จากกระดานนี้ร่วมกันในการเรียนรู้ Criticism คงจะมีประโยชน์สำหรับเรามากกว่า personal attack ที่ไม่ประเทืองทั้งปัญญาและอารมณ์


Posted by : Lucifer , Date : 2006-04-15 , Time : 12:48:22 , From IP : 172.29.4.152

ความคิดเห็นที่ : 41


   เวลาเราพูดถึงเรื่อง "ความจริง" นี้ ผมมักจะเปรียบเทียบกับภาพยนต์เรื่อง Rachomon นั่นคือคนเราทุกคนรับรู้และแปลผลโดย "บริบท" เสมอ และประสบการณ์ที่แตกต่างกัน ความเชื่อที่แตกต่างกัน ทำให้คนเรา "รับรู้" หรือเลือกที่จะรู้แตกต่างกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

แล้วอะไรคือจริง? คำตอบทุก version นั้น "จริงพอๆกัน" สำหรับแต่ละคนครับ จนกว่าจะเริ่มมีการ share ประสบการณ์ มีความเชื่อร่วม มีคุณค่าร่วมกันมากขึ้น การรับรู้ของเราก็ยังคงมี diversity อยู่ดี

นั่นคือเหตุผลทั้งหมดที่ทำไมการสื่อสาร การอภิปราย การ share ความคิดเห็นในชุมชนสังคมถึงมีประโยชน๋อย่างยิ่ง และคือเหตุผลว่าทำไมการไม่ share ความเห็น การไม่ยอมรับฟังความเห็นที่แตกต่างจนกระทั่งไม่สามารถจะสื่อสารกันได้โดยปราศจากความโกกรธเกรี้ยว ใช้อารมณ์จึงมีโทษอย่างยิ่งเช่นกัน เพราะ diversity เหล่านี้จะไม่เคย "โน้ม" เข้าหากัน

สิ่งที่ในอดีต พระพุทธเจ้า หรือ prophesy ต่างๆพยายามทำก็คือ "ขาย idea" ที่คนรอบๆข้างในยุคนั้น คิดเห็นแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง หรือเป็นตรงหันข้าม แต่ในที่สุดก็มีคนถูกโน้มน้าวและเปลี่ยนพฤติกรรมได้ อย่างสันติบ้าง ไม่สันติบ้าง แต่ก็เปลี่ยน

ดังนั้น "คุณค่า" ของคนเรานั้นมัน dynamic ครับ ตอนเราเป็น teenager ก้แบบนึง ตอนเรียนจบก็แบบนึง ตอนแก่ลงมาก็ค่อยปรับเปลียนตามประสบการณื ตามสิ่งที่เราได้ share กับคนอื่น ตามสิ่งที่เราได้เห็นเพิ่มจากคนอื่น มันก็ไม่เสีบหายอะไรที่เราจะมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ตราบที่การแลกเปลี่ยนนั้นยังทำกันแบบ civilzied แบบ mature และแบบ positive

ผมคิดว่าพวกเราแต่ละคนสามรถจะคิด positive และ response positive ได้โดยไม่จำเป็นต้อง degrade ตนเอง หรือ upgrade คนอื่นเพียงเพราะมีความแตกต่าง มีความเชื่อมั่นในคุณค่าของตนเองก็สามารถจะยึดมั่นและเสริมความเชื่อมั่นตนเอง
ได้ โดยไม่จำเป็นต้องโอนเอียงทุกครั้งที่มีอะไรที่ต่างอะไรเข้ามา จนกระทั่งเป็นการคุกคามตัวตนทุกครั้ง

อาจารย์ "ทุกคน" ตัดสินเด็กนักเรียนจาก grade เท่านั้น นั้นเป็น เรา "คิดว่า" หรือว่าเรา "รู้ว่า" ครับ? และเรามีประสบการณ์เพียงไหนที่จะตัดสินเป็น universal แบบนั้น? ถ้าเกิดเราคิดผิด พฤติกรรมเราก็จะไปเน้นแต่เกรด เกรด เกรด อย่างเดียว พอไปเจอคนที่ไม่ได้ใช้เกรดอย่างเดียว มาตัดสิน ก็คงจะสายเกินไปที่จะแก้

เริ่มจากคุณค่าที่ "ตนเอง" ทรารบว่าเรารู้อะไรบ้าง ทำอะไรได้บ้าง อาจจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง นอกเหนือจากการตาม "ผลลัพธ์" ที่คนอื่นกำหนดหรือมองตัวเรา แถมสิ่งนี้ยังเปลี่ยนไปตามคนอื่น ตามอารมณ์ ตามเหตุผลของคนอื่นว่าคุรค่าเราจะ fluctuate แบบไหน เราไม่สามารถควบคุมอะไรได้เลย

อย่างที่เรียนให้ทราบแหละครับ มันเป็น "ทางเลือก" และเป็น free choices (free = อิสระ ไม่ใช่ไม่ต้องซื้อนะครับ) ของแต่ละคน ไม่ชอบก็อย่าเลือก ชอบก็เลือก สนใจก็อาจจะลองดู แค่นั้นครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2006-04-15 , Time : 13:54:29 , From IP : ppp-124.120.222.246.

ความคิดเห็นที่ : 42


   ต่อเรื่องบริบทและความจริง

เมื่อมีคนคิดเห็นแตกต่างกัน จะมีข้อสังเกตที่น่าสนใจว่าหลายครั้งจะมีคนพูดทำนองว่า ให้อีกฝ่ายเผชิญ "โลกแห่งความเป็นจริง" อยู่บ่อยๆ บางครั้งก็พูด "ทั้งสองฝ่าย" ซะด้วยซ้ำ แปลว่าอะไร?

แปลว่าโลกของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจริง อีกฝ่ายไม่จริง?
แปลว่าโลกของ "ทั้งสองฝ่าย" จริง เป็นไปได้หรือ?
หรือโลกของทั้งสองฝ่าย "ไม่จริง"?

พวกเราแต่ละคนมองโลกต่างมุมกัน จริงแท้ ไม่เหมือนกัน ในโลกของที่ที่มีระเบิดบูมเมื่อไหร่ก็ได้ ตามถนน ตลาด ในรถประจำทาง มุมมองเมื่อเห็นถุงวางอยู่บนฟุตบาทก็คงจะต่างจากที่อื่นๆอยู่บ้าง ในโลกที่เต็มไปด้วยความหวาดระแวง เวลาอ่านข่าว ฟังข่าว คนรับก็อาจจะรับไม่เหมือนกับในที่ที่มีแต่ความไว้วางใจกัน ซื่อตรงต่อกัน ที่น่าสนใจก็คือบางทีสิ่งที่แยกโลกหลายๆแบบนี้ไม่ใช่ geography แต่กลับเป็น past experience บ้าง กลับเป็นความเชื่อ ศรัทธา ศาสนา การเลี้ยงดู สิ่งแวดล้อมที่เติบโตมา ฯลฯ ดังนั้นบางทีทาง geography แล้ว โลกที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงในเรื่องเหล่านี้ อาจจะอยู่ห้องติดกัน ในที่ทำงานเดียวกันก็ยังได้ แต่ก็เหมือนกับอยู่กันคนละโลก

มีทางที่โลกที่แตกต่างกันนี้จะ "ซ้อนกัน" ได้ไหม หรือมีทางที่โลกหนึ่งจะ "รับรู้" ความเป็นไปอีกโลกหนึ่งได้ไหม?

ในอดีตที่ผ่านมา คำตอบก็คือ "ได้" แต่ต้องมาจาก "ความปราถนา" หรือ "ความต้องการ" ที่จะทำความเข้าใจ อยากรู้ว่าทำไมถึงต่าง และเปิดโอกาสให้ข้อมูลใหม่ๆนี้เข้ามาวิเคราะห์ให้ได้ก่อน

เหมือนการเรียนรู้ทุกอย่างครับ จะได้ผลนั้นมันต้องมาจาก "ฉันทา" ก่อนเป็นดีที่สุด ถ้าเราตั้ง guard ไว้ไม่ปล่อย เห็นอะไรไม่เหมือนที่เคยเห็น reject ไว้ก่อน โลกส่วนตัวของเราก็จะไม่ contaminate จากโลกภายนอกได้เลย ทีนี้ตั้งต้นนั้นโลกของเรามัน "บริสุทธิ์" หรือมัน "ดี" แล้วหรือยัง? นี่เป็นคำถามทางอภิปรัชญาหลายศาสนา หลายโรงเรียนความคิดแต่อดีตกาล ใคร่ครวญหาคำตอบ ได้แก่ universal goodness, ethics, morality ที่เป็นสากล

มันคงจะแปลก (แต่จริง) ที่ถ้า รู้ทั้งรู้ ว่าบ้านที่เราอยู่ รูที่เราอาศัย กลิ่นมันไม่ค่อยสะอาด แต่เราใช้วิธีปรับตัวให้เข้ากันได้กับกลิ่นไม่พึงปราถนานั้นแทน มะนก็กลายเป็นอีหรอบเดียวกับหนังสือน่ารักๆเล่มหนึ่งชื่อ Who stole my cheese? (เอ... หรือ who moves my cheese? อะไรทำนองนี้แหละครับ)

สังคมนี้มัน "แก้" ตัวมันเองตลอดเวลา ไม่งั้นเราคงจะยังเป็น Neandethal หรือมนุษย์ถ้ำกันอยู่ ผมคิดว่ามนุษย์ถูก installed ไว้ด้วยบางจิตสำนึก เช่น struggle for survival และที่ผ่านๆมา the most inactive ก็อาจจะถูก selected หรือ the most compatible ก็อาจจะถูก selected ไปคนละทางสองทาง เรามี "อิสระ" ที่จะเลือกว่าจะ "ถูกคัด" ไปทางไหนได้



Posted by : Phoenix , Date : 2006-04-15 , Time : 22:55:48 , From IP : ppp-124.120.222.251.

ความคิดเห็นที่ : 43


   การอภิปราย คือ "การเชื้อเชิญแขกจากอีกโลกหนึ่งให้รู้เห็น ทราบและเข้าใจ หรือมาอยู่โลกของเรา"

สมมติว่า "โลกแห่งความจริง" มันมีได้หลายแบบแตกต่างกันเพียงเพราะบริบท เบื้องหลัง เจตคติ ความคิด ความเชื่อ ความศรัทธา ฯลฯ การอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ก้คล้ายๆกับที่เราจะโฆษณาในใบท่องเที่ยว แล้วอจกให้ใครก็ได้ที่สนใจ

เพื่ออะไร?

เพื่อเขาจะได้รู้ว่ามีโลกของเราอยู่ (ตระหนัก และ respect) หรือเขาจะได้ทราบ existence ของเรา จะได้ "เข้าใจ" เรา หรือบางที (ถ้าโลกเรามันน่าอยู่) เราก็อยากจะเชิญแขกต่างโลกนี้มาอยู่กับเรา

เงื่อนไขหลังนี่น่าจะหมายความว่าเรา "พึงพอใจ" ในโลกของเรา จนกระทั่งรู้สึกว่าคนอื่นน่าจะ "มีความสุขเพิ่มมากขึ้น" ถ้าทิ้งโลกของเขา ย้ายสัมมโนครัวมาอยู่โลกเรา ไม่น่าจะหมายความว่าเราคิดว่าโลกเรานี้มันช่าง stink ที่อยู่นี่เพราะจำใจอยู่ แล้วดันไปเชิญคนที่อยู่ในโลกที่สุขกว่า ดีกว่าย้ายมาด้วยกัน จะได้ทุกข์ร่วมกัน

ถ้าเริ่มต้นแบบนี้ อย่างน้อยที่สุด เรายังจะมีกะใจที่จะทำทุกสิ่งทุกอย่างเท่าที่สามารถจะทำได้ "สร้าง" โลกของเราให้มันดีเสียก่อน ก่อนที่จะเชิญแขกมาบ้าน อย่างน้อยที่สุดเรายังมีกะใจชะโงกหน้าไปขอดูโลกอื่น ที่ทำไมคนเขาดูจะมีความสุข ความพึงพอใจ ความสงบของจิตใจมากกว่าที่เรา เราจะได้นำมาพัฒนาบ้านเรา โลกของเราบ้าง หรือถ้าเราทำให้คนอื่นเข้าใจในโลกเรามากขึ้น พร้อมๆกับเราทำความเข้าใจโลกคนอื่นมากขึ้น ไอ้ความต่างอย่างยิ่งตอนแรกอาจจะลดน้อยลง หรืออย่างนอ้ยก็เข้าใจเหตุผลที่มาความคิดและหลักการของอีกประเทส อีกโลก อีกจักรวาล เราก็ได้เป็นคนที่กว้างมากขึ้น

เช่น

ในโลกที่ผมเคยผ่านมา ครูอาจารย์ "ไม่ได้" ตัดสินตามเกรด แต่ตัดสินจาก portfolio จากการซักถามความเข้าใจอย่างละเอียด จากการมอบหมายงาน จากการตรวจงาน จากการสะท้อนความคิด และเหตุผล

ในโลกที่เคยผ่านมา และเคยอยู่ในที่ที่สัมภาษณ์ตัดสินรับ ไม่รับคนเข้าทำงาน ไม่มีการถามเรื่องเกรด เรื่องผลงาน แต่ถามเรื่องเจตคติ ถามเรื่องวิธีการแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้า ถามว่าจะได้อะไรจากองค์กร และจะให้อะไรแก่องค์กร ถามว่ามีใครที่รู้จัก candidate พอจะเขียนใบรับรองให้หรือไม่ ถามคนเขียนใบรับรองว่ารู้จัก candidate คนนี้ได้อย่างไร

ในโลกที่เคยผ่านมา ถ้ามีความรู้จริง ก็จะสามารถแสดงออกได้เมื่อถึงเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นที่ "ต้องรู้" ตามที่ได้ประกาศไว้ล่วงหน้าเหมือนกันหมด "ขยัน" หมายถึงอย่างอื่นที่ไม่ใช่เกรด หมายถึงทำงานหนัก ซึ่งมีคนที่จะให้คำรับรองหรือพิสูจน์ว่าเราทำงานหนัก และทุ่มเทในประเด็นที่องค์กรต้องการ

ถ้าผมเกิดคิดว่าโลกแบบนี้เป็นจริง และน่าจะอยู่ได้มีอย่างมีความสุข ผมก็เชิญชวนคนมาอยู่ หรือบอกเล่าว่ามียังนี้นะ หรืออธิบายว่าอย่างนี้มันดีอย่างไร ส่วนคนโลกอื่นอาจจะสนใจมาอยู่ อาจจสนใจเอาไปสร้างโลกของเขาแบบนี้ หรือไม่สนใจ หรือไม่เชื่อ ก็จะเป็นสิ่งที่เหนือความควบคุมของผมอย่างสิ้นเชิง



Posted by : Phoenix , Date : 2006-04-16 , Time : 00:19:40 , From IP : ppp-124.120.217.140.

ความคิดเห็นที่ : 44


   เรียนอาจารย์ Phoenix

มีแบบทดสอบที่มาถึงเร็วอย่างเหลือเชื่อเชียวค่ะ น่าลองอยู่เหมือนกันว่าหนูจะเข้าใจ เนื้อความใน debate นี้สักเท่าไร อยู่ถัดลงไปเป็นกระทู้ที่ 6 นะคะ ถ้าอาจารย์สนใจ


Posted by : Lucifer , Date : 2006-04-17 , Time : 23:07:01 , From IP : 172.29.4.152

ความคิดเห็นที่ : 45


   ประเด็นที่น่าสนใจคือการหลงอยู่ในทะเลแห่งสื่อจนยากจะแยกแยะหาความเป็นจริง เพียงแต่เห็นอักษรและแปลมันบนพื้นฐานของตัวเองก็เท่านั้น


Posted by : check mated!!!!! , Date : 2006-04-23 , Time : 13:55:49 , From IP : 172.29.4.127

ความคิดเห็นที่ : 46


   หรือจะใช้ข้อความสาดเทสาดเสียให้ผู้อื่นเป็นไปตามความคิดตัวเองเป็นในแบบที่ตัวเองเห็น อันนี่น่ากลัวจริงๆ

Posted by : check mated!!!!! , Date : 2006-04-23 , Time : 13:57:58 , From IP : 172.29.4.127

ความคิดเห็นที่ : 47


   ในปัจจุบันนี้เรา "ทุกคน" อยู่ในทะเลของข้อมูลจริงๆครับ ประเด็นนี้เราจำเป้นต้องรู้ และตระหนักถึงผลกระทบให้ได้

5-star doctor ที่ WHO บอกคุณสมบัติมาคือแพทย์ต้องสามารถมี life-long learning ได้ เพราะความรู้ ข้อมูลใหม่ๆมาอย่างรวดเร็ว หมดสมัยที่ใครจะเรียนอะไรโดยวางเป้าหมายว่า "รู้ให้หมด" ไปแล้ว ตอนนี้สิ่งสำคัญคือจะเรียน "อย่างไร" ไปตลอดชีวิตมากกว่า

ทุกคนมีประสบการณ์ที่แตกต่างกันไป และมีผลทำให้ "แปล" อะไรแตกต่างกันไป เราอาจจะ "ยืม" ประสบการณ์ความคิดของคนอื่นมาบ้างก็จริง แต่เรามักจะ "ปรับ" ให้เข้ากันได้กับที่เรามีอยู่ ยกเว้นเป็นบางอย่างเท่านั้นที่ของใหม่มันเปลี่ยนของเดิมเพราะมันลบล้างตรรกะเดิมไปหมดสิ้น ส่วน "พื้นฐานของคนอื่น" นั้น คงต้องให้คนอื่นเผยออกมาก่อน นำมาแลกเปลี่ยนกัน เราจึงจะสามารถ "มองเห็น เข้าใจ" ได้

ผมเพียงหวังว่า "ความจริง" ที่พวกเราแต่ละคน "ยึดว่าจริง" นั้น ได้ผ่านการไตร่ตรอง ใช้วิจารณญาณเป็นอย่างดีก่อนเสมอ มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้



Posted by : Phoenix , Date : 2006-04-23 , Time : 14:02:57 , From IP : ppp-124.120.220.138.

ความคิดเห็นที่ : 48


   "งานคือความดีที่หล่อเลี้ยงชีวิต"
อ่านจบแล้วค่ะ...แต่ยังนึกไม่ออกว่าจะเล่ายังไง ... แล้วก็...คือว่า...ยังไม่ได้คิดค่ะเลยยังไม่รู้สึกอะไรนอกจากเห็นด้วยกับคำที่พาดอยู่บนหน้าปก... "หนังตัวอย่าง"... เพราะเท่าที่เคยก็คือทุกๆคนต่างก็มีเรื่องราว เรื่องเล่าของตัวเอง เพียงแค่อยากจะฟังก็จะได้ฟัง ไม่จำกัดด้วยว่าเฉพาะเมื่อไปดูบ้านดูคนในบ้านเท่านั้น อยู่ที่รพ. round ทุกวันก็มีเรื่องเล่าทำนองนี้ทุกวัน ก็เลยไม่ตื่นเต้นเท่าที่หวังแต่แรก ส่วนบทวิเคราะห์เกี่ยวกับเรื่องที่คิดอะไรได้บ้างก็ผลัดไปสักหลายๆเดี๋ยวหน่อยนะคะ มีอีกเล่มคล้ายๆกัน "ความดีที่เยียวยา เรื่องเล่ากับการแพทย์ที่มีหัวใจความเป็นมนุษย์" แหล่งที่มาเดียวกัน

ปล1. คนขายหนังสือเค้าถามหนูว่า...น้องรู้จักอาจารย์...มั๊ยคะ?
ปล2. หนูก็ไม่ทราบว่าจะเล่าให้ฟังทำไม...ว่ามีคนถามถึง...แค่รู้สึก...ว่าอยากเล่าน่ะค่ะ

:O ZZZ



Posted by : Lucifer , Date : 2006-05-01 , Time : 00:58:58 , From IP : 172.29.4.152

ความคิดเห็นที่ : 49


   โอ้โห ตั้งนานแล้วนะนี่

อุตสา แอบมาโพสดู เหลือเชื่อว่ายังมีคนแวะมาอ่านอีก

ความคิดผมค่อข้างจะแย้งกับอาจารย์นิดหน่อย

ผมแค่ไม่อยากให้มองคุณค่าของการเป็นมนุษย์แค่นั้น

อีกอย่างผมเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนล้วนพัฒนาได้

การตีคุณค่าของคนเราแค่นั้นผมรู้สึกตะหงิดๆใจยังไงไม่รู้

"ค่าของคนอยู่กับสิ่งที่เขาได้ให้ ไม่ใช่อยู่กับสิ่งที่เขาได้แสวงหา"

ผมพูดไม่ค่อยเก่งครับ ที่อยากพูดก็แค่นี้ละครับ



Posted by : check mated!!!!! คร้าบ!!!!! , Date : 2006-05-06 , Time : 16:07:49 , From IP : 172.29.4.171

ความคิดเห็นที่ : 50


   สวัสดีครับ

เพิ่งเข้ามาเป็นครั้งแรก ไม่ได้จบมอ.หรอก แต่เห็นคุยกันสนุกดีขอร่วมวงด้วยนะครับ

ค่าของคนอยู่ที่ผลหรือการทำงาน ??? ผมว่าทั้งสองอย่างนะ ขาดอันใดอันหนึ่งไปคงไม่ได้ ผมคิดว่าทุกคนคงรู้จักคำว่า"ทางสายกลาง" ผลงานดี แต่วิธีการทำงานแย่ มันก็ไม่ค่อยดีใช่ไหมครับ หรือถึงวิธีการทำงานดี แต่ผลการทำงานแย่ อันนี้ก้ไม่ดี เพราะฉะนั้นผมคิดว่าดีได้ทั้งสองอย่าง ถึงจะถือว่ายอดเยี่ยม

ยกตัวอย่าง ใน ward ของ โรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง มีการ check direct laryngoscope ทุกครั้งว่าไฟสว่างดี แต่เวลาถึงเวลาใช้ๆจริงๆ ไฟกลับไม่ติด เพราะว่าเวลาง้าง contact ระหว่าง blade กับด้ามมันจะไม่ดี ถามว่าวิธีการดีไหม คือเช็คทุกวันและได้ผลลัพธ์ตามคาดหมใยด้วย แต่ out come ไม่ดี คือ ไฟไม่ติด อย่างนี้ถือว่าวิธีการดีแล้วผลงานจะเป็นอย่างไรก็ได้หรือเปล่า

เชื่อว่าไม่มีใครยอมรับได้หรอกครับ ไฟไม่ติดเวลาฉุกเฉินเนี่ย

หรืออย่างเวลาไป teaching round อ่านหนังสือมานะ แต่ว่าตอบอาจารย์ไม่ได้เลย จะโทษว่าไม่อ่านเลยก็คงไม่ได้ แต่ว่า เพราะว่าอ่านมาได้ไม่มากพอ ไม่ดีพอ out come จึงไม่ดี

ผมคิดว่า ในทุกๆเรื่อง process มีความสำคัญเป็นอันดับต้นๆครับ แต่ไม่ควรจะหยุดแค่นั้น มันไม่ใช่แค่ว่าแค่ฉันอ่านหนังสือก็พอแล้ว แต่อ่านแล้วต้องจับใจความและเอาไปใช้ได้ด้วย นั่นต่างหากถึงจะเรียกว่าของจริง การเรียนรู้ process แรกๆอาจจะไม่ได้ out come ที่ดี แต่การพัฒนา process เป็นสิ่งสำคัญมากกว่า เพื่อให้ได้end product หรือ out come ที่ดี และนั่นก็คือ goal

ขอบคุณที่อ่านครับ





Posted by : DoctorD , Date : 2006-05-06 , Time : 20:32:33 , From IP : 58.147.15.197

ความคิดเห็นที่ : 51


   Goodness is of the act of goodness itself

คัมภีร์ธรรมโยค บทหนึ่งในคัมภีร์ฮินดูที่มหาตมะคานธีถือไว้เกือบตลอดเวลา

การทำกิจอะไรโดยไม่เข้าใจถึง "หลักการและวัตถุประสงค์" ของกิจนั้นๆ เราคงจะยังไม่เรียกว่า "ได้ทำ" กิจกรรมที่ว่าอย่างถูกต้อง และในบางกรณีอาจจะเป็นตรงกันข้าม คือ ฝืนความถูกต้อง และตามมาด้วยผลที่ไม่ถูกต้อง

การตรวจเช็ค laryngoscope คงจะไม่ใช่แค่เอามือไปหมุนก้น scope เห็นว่ามีถ่านแล้วจบขั้นตอน เพราะ "การตรวจเช็ค" ไม่ได้เป็นแค่ action แต่เป็นการหวังเห็น output ที่แปลได้ว่า "อย่างที่ต้องการ" ฉะนั้นถ้า "ตรวจดี" หรือ "วิธีดี" ถึงจะเป็นกิจกรรมที่ครบถ้วนถูกต้อง

ในการเรียน PBL นั้น ถึงแม้ว่าเราไม่ได้กำหนด "กรอบ" ว่าจะสนใจอะไรได้แค่ไหน แต่ก็มีการกำหนด "minimal framework" ไว้ว่าอะไรคือ "อย่างน้อยที่สุด" ที่จะได้ครบตาม learning objective ถ้าเผอิญเราเกิดเผอเรออ่านมันไปหน่อยในเรื่องที่เราเองสนใจแต่อยู่นอกเหนือ LO อาจจะต้องรีบรู้ตัวหวนกลับมาทำตาม priority ที่เราตั้งใจไว้เป็นกรอบใหญ่ (เช่น เรียนจบ พ.บ. เป็นต้น)

เพราะ "กระบวนการ หรือกิจกรรม" สร้างอะไรที่อยู่นาน และเป็นต้นทุนที่ใช้ต่อไปอีกไกล ส่วน output นั้น บางทีมันเป็นอะไรที่อยู่สั้นๆ มีความหมายสั้นๆ (แต่ก็มีบางเรื่องที่ output เป็น once in a lifetime ที่เราต้องงัดผลออกมาให้ได้ก็มี นั่นคือที่มาของ controversial belief)

================================

คุณ Checkmated ครับ

คุณค่าที่ผมอยากจะให้มีการประเมิน คือคุณค่าจากการ ประเมินตนเอง ครับ ไม่ได้เป็นคุณค่าที่ใครก็ไม่รู้เป็นคนประเมิน เราคงจะทราบดีที่สุดในบรรดาคนทั้งปวงว่าวันนี้เราทำอะไรไป พูดอะไรไป คิดอะไรไป สิ่งต่างๆเหล่านั้นเสริมสร้างให้เราเป็นคนแบบไหน เป็นสัมมาวาจาหรืออวิชชา เป็นมงคลต่อตนเองและคนรอบข้าง หรือเป็นอัปมงคลต่อตนเองและตระกูล เหล่านี้เป็นต้น

แต่ละวันตอนเย็น อาจจะมีประโยชนือยู่บ้างถ้าเรามีเวลาสัก 4-5 นาที สะท้อนตนเองว่าตัวเราตอนเย็นนี้ต่างจากตัวเราเมื่อเช้านี้อย่างไร รู้มากขึ้นไหม ฉลาดเฉลียวมากขึ้นไหม เข้าใจคนไข้ที่ได้รับในการดูแลมากขึ้นไหม มีประโยชน์หลายอย่างครับ จะเรียกหรือไม่เรียกก็ตามที แต่สิ่งเหล่านี้ทำให้ "ประสบการณ์" นั้น ได้มีการเรียนรู้ ไม่สูญเปล่า จะเรียกว่า "คุณค่า" ก็คงไม่ถึงกับเสียหาย



Posted by : Phoenix , Date : 2006-05-06 , Time : 21:33:40 , From IP : ppp-124.120.223.123.

ความคิดเห็นที่ : 52


   ขอบคุณอาจารย์ครับ
เห็นด้วยครับว่าเป็นกลอุบายที่ดีครับ
อาการ "ลืมตัว" มันเกิดกับผมบ่อยมากเหมือนกัน
หากได้ตั้งคำถามว่าแต่ละวันทำอะไรไปบ้าง นับว่าดีทีเดียว ผมว่าไอเดียนี้ดีนะ
ก็อย่างว่าละครับ ผมเป็นพวก "ขี้ลืมตัว" ค่อนข้างเป็นเอาหนักเลย
อาจารย์ลองแนะคำถามที่แพทย์และ/หรือคนทั่วไปควรถามตัวเองในแต่ละวันหน่อยได้ไหมครับ
จะเอาไปแปะหน้าห้องน้ำหน่อยตอนอาบน้ำจะได้คิดทบทวนไปด้วย
วิธีนี้น่าจะworkนะ ดูเหมือนแต่ละวันของชีวิตมี learning objective ดี
เข้าท่า เข้าท่า แฮะๆๆ



Posted by : check mated!!!!! , Date : 2006-05-07 , Time : 15:11:55 , From IP : 172.29.4.171

ความคิดเห็นที่ : 53


   การสะท้อนตนเอง เป็นศิลปในการดำรงชีวิตอย่างหนึ่ง เพื่อเข้าใจ "ตนเอง" ให้มากขึ้น ใช้ได้กับทั้งทางโลกย์และทางธรรม

สะท้อนอะไรบ้าง? คงแล้วแต่คนครับ เพราะแต่ละคนมีเป้าหมาย คุณค่า ในการดำรงชีวิตไม่เหมือนกัน มิกล้าก้าวก่ายบังอาจให้คำแนะนำใดๆได้ ผมคิดว่าการได้รู้จักตัวเองมากขึ้นวันละเล็กละน้อยไม่ว่าเรื่องอะไร เป็นสิ่งที่ดีทั้งสิ้น

ข้อสำคัญคือตัวเราเองนั้นได้มี "วัตถุประสงค์" อะไรไว้เป็นเป้าบ้างหรือไม่? หรือว่ามีชีวิตอยู่ไปเรื่อยๆ เน้นทำกิจเฉพาะหน้าเท่านั้น คำว่า Here and Now ไม่ได้หมายถึงใช้ชีวิตแค่ตรงหน้า แต่เป็นชีวิตที่ไตร่ตรองแล้วจนสามารถวางเป้าของสิ่งที่กำลังจะทำว่ามันทำให้เรา "ใกล้" คุณค่าที่เราได้วางไว้ก่อน อาจจะเป็นเรื่องเล็กๆน้อยๆ แค่กำลังล้างจานชามในครัว เสร็จแล้วจะได้ไปทำอะไรอย่างอื่น ถ้าใจเราวอกแวก มันจะรู้สึกว่าจานชามมันไม่รู้จักหมดสิ้น เมื่อไหร่จะได้ทำอย่างอื่น กิจกรรมที่ทำมันก็จะไม่ได้ "ใส่ใจ" (จิตตะ วิมังสา)

มีคำพูดประโยคหนึ่งน่าสนใจ "We are learning when you least expect it" โดย anonymous medical student ผมว่าประโยคนี้น่าสนใจ (มากๆ) บางทีอาจจะต้องตั้งกระทู้ใหม่สำหรับเรื่องนี้



Posted by : Phoenix , Date : 2006-05-07 , Time : 17:31:12 , From IP : ppp-124.120.218.169.

ความคิดเห็นที่ : 54


   อ่านะ
ค่าตัวของใครๆมันก็มี 2 ด้าน
ด้านที่เรามองตัวเอง
ด้านที่คนอื่นมองคุณ
คนอื่นก็แบ่งได้เป็นคนที่รักคุณ
คนที่เกลียดคุณ
คนที่เป็นแค่คนรู้จัก
คนที่เพียงได้ยินชื่อคุณ

มันเป็น Subjective และ Individual


Posted by : ไม้บรรทัดเหล็กไหล , Date : 2006-05-08 , Time : 20:17:56 , From IP : 61.7.157.63

ความคิดเห็นที่ : 55


   ที่ผมพยายาม promote ให้เราค้นหานั้น คือ "คุณค่าของตัวเราเอง" ครับ เอาเวลาที่เราว่างๆ เอาเวลาที่เราสามารถ "ซื่อตรง" ต่อตนเอง แล้ว "สะท้อนตนเอง" ของคนอื่นนั้นเขาตีค่าตามบริบท ตามเบื้องหลัง "ของเขา" ฉะนั้นเราน่าจะใช้ของเรา คิดให้ถ่องแท้ว่า นี้คือตัวตนของเรา เราได้ทำดี ได้มีสัมมาวาจา หรือเราได้ทำไม่ดีไป ได้มีวาจาอัปมงคลไปมากน้อยแค่ไหนวันๆ

สิ่งเหล่านี้เราไม่คิด ไม่สะท้อน มันตามกลับมาทันตอนที่เราไม่คาดฝัน เคยมีครูใหญ่ท่านหนึ่ง ทำความดีมาตลอดทั้งชีวิต ตอนใกล้จะเสีย พยายามเชียร์ มีลูกศิษย์ลูกหามาเยี่ยมมากมาย แต่ท่านเกิดสำนึกเสียใจที่เคยดูด่า ผรุสวาทใส่เด็ก เสียใจจนวาระสุดท้าน น่าเสียดายนักแต่ก็ไม่มีใครจะช่วยอะไรได้ ของมันจะทัน มันหลีกหนีไปไหนไม่ได้ ที่ว่าเราว่าฝังไว้ลึกซึ้งหรือลืมสนิทไปแล้วนั้น มันไม่จริงเสมอไป

เป็นที่น่าเสียดาย และน่าสงสารญาติพี่น้องที่เฝ้าเป็นกำลังใจยิ่งนัก



Posted by : Phoenix , Date : 2006-05-08 , Time : 22:05:07 , From IP : ppp-124.120.220.151.

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.014 seconds. <<<<<