ความคิดเห็นทั้งหมด : 7

ความแปลกประหลาด 10 ประการ ของการเลือกตั้ง 2 เมษายน


   ความแปลกประหลาด 10 ประการ ของการเลือกตั้ง 2 เมษายน
โดย ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง
หลังจากไปใช้สิทธิเลือกตั้งในตอนเช้า 2 เมษายน ผมก็เดินทางกลับ นั่งคิดทบทวนว่า ตนเองเพิ่งจะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการอะไร

ต่อไปนี้ เป็นสิ่งที่ผมคิดและประมวล เกี่ยวกับการเลือกตั้งครั้งนี้

1) การเลือกตั้งครั้งนี้ เกิดขึ้นเพราะนายกรัฐมนตรี 1 คน ต้องการแก้ข้อกล่าวหาว่าไร้จริยธรรม ไม่น่าเชื่อถือ ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย จึงไพล่ไปยุบสภา เพื่อให้เลือกตั้ง ส.ส.ขึ้นมาใหม่จำนวน 500 คน
นึกถึงธรรมเทศนาของพระอาจารย์ “พุทธทาสภิกขุ” ที่ว่า

“ไม่มีธรรมแล้ว การเลือกตั้งผู้แทนก็โกง
ผู้แทนที่ได้มา ก็เป็นผู้แทนโกง
ประกอบขึ้นเป็นรัฐสภา ก็เป็นรัฐสภาโกง
แม้สภาที่ตั้งรัฐบาลขึ้นมา ก็เป็นรัฐบาลโกง
ประชาธิปไตยจึงไม่มีวันจะเต็มใบ...”

2) การเลือกตั้งครั้งนี้ ใช้งบประมาณแผ่นดิน 2,200 ล้านบาท และประชาชนที่ไปเลือกตั้งก็มีต้นทุนค่าใช้จ่ายส่วนตัวรวมกันกว่า 8,000 ล้านบาท รวมแล้วสังคมมีต้นทุนต้องสูญเสียไปกับการเลือกตั้ง ไม่ต่ำกว่า 10,000 ล้านบาท
ทั้งหมด เพื่อแก้ข้อกล่าวหาให้ตัว พ.ต.ท.ทักษิณคนเดียว

3) การเลือกตั้งครั้งนี้ มีพรรคการเมืองขนาดใหญ่ลงสมัครรับเลือกตั้งเพียงพรรคเดียว โดยพรรคการเมืองอื่นๆ พร้อมใจกันประกาศคว่ำบาตร ไม่ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งเพื่อประท้วงการเลือกตั้ง ในขณะที่ปรากฏข่าวว่า มีการว่าจ้างผู้สมัครพรรคเล็ก แอบสนับสนุนพรรคเล็กให้ลงสมัคร เป็นไม้ประดับ เพื่อเป็นข้ออ้างความชอบธรรม และหลบเลี่ยงกฎหมายการเลือกตั้งที่กำหนดว่า หากเขตใดมีผู้สมัครรายเดียวจะต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่า 20% ของจำนวนผู้มีสิทธิทั้งหมด
การเลือกตั้งครั้งนี้ ปรากฏว่า เป็นครั้งแรก และครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ชาติไทย และอาจจะเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของโลกประชาธิปไตย ที่มีเขตเลือกตั้งกว่า 171 เขต มีผู้สมัครเลือกตั้งเพียงคนเดียว โดยไม่มีคู่แข่ง

4) การเลือกตั้งครั้งนี้ ปรากฏว่า คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ถูกข้อกล่าวหาครหาจำนวนมากที่สุด มัวหมองที่สุด ไม่ว่าจะเป็น กรณีที่ กกต.ออกระเบียบขึ้นเงินค่าตอบแทนให้แก่ตนเองในลักษณะเดียวกับ ป.ป.ช. ซึ่งบัดนี้ ป.ป.ช. ได้ถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิพากษาลงโทษในความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ ต้องโทษจำคุก เป็นเหตุให้พ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ กรณีออกระเบียบและการเบิกจ่ายงบลับอย่างน่าเคลือบแคลงสงสัย, กรณีจงใจไม่ดำเนินการตามรัฐธรรมนูญในการสรรหา กกต.คนใหม่ หลังจากที่นายจรัล บูรณะพันธ์ศรี หนึ่งใน กกต.ได้เสียชีวิตลง, กรณี กกต.แบ่งพื้นที่ดูแลตามภาค ในขณะที่ กกต.ชุดที่แล้วแบ่งกันรับผิดชอบตามหน้าที่ จึงมีข้อกังขาว่า กกต.เจ้าของพื้นที่จะให้ใบแดง ใบเหลือง กับใครก็ได้ เกิดช่องว่างในการวิ่งเต้น, กรณี กกต.กำหนดวันเลือกตั้งโดยร่วมกันกับหัวหน้าพรรครัฐบาลและที่ปรึกษากฎหมายเพียงฝ่ายเดียว, กรณีข้อสงสัยในเรื่องการพิมพ์บัตรเลือกตั้งเกิน รวมไปถึงกรณี กกต.เคยมีมติให้ใบเหลืองใบแดงแก่ผู้สมัครรับเลือกตั้ง แต่ประธาน กกต.กลับมีการประกาศใบเหลืองใบแดงไม่ตรงกับมติของคณะกรรมการ กกต. ฯลฯ

5) การเลือกตั้งครั้งนี้ เป็นการเลือกตั้งที่รู้ผลการเลือกตั้งล่วงหน้า เพราะมีพรรคใหญ่พรรคเดียว บรรยากาศการเลือกตั้งก็เงียบเหงา ไม่คึกคักเหมือนที่ผ่านๆ มา ไม่มีการนำเสนอนโยบาย มีแต่การยึดเอานโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรคเป็นตัวประกัน หรือข่มขู่ว่าถ้าทักษิณไม่ได้เป็นนายกฯ ประเทศจะต้องไปกู้ไอเอ็มเอฟ อีกรอบ ไม่มีการให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนอย่างรอบด้าน ไม่ใส่ใจการมีส่วนร่วมของประชาชน
กระทั่งรัฐบาลรักษาการณ์เอง ยังพยายามทำให้สังคมเข้าใจผิดว่า “การเลือกตั้งคือประชาธิปไตย” จงใจละทิ้งการมีส่วนร่วมของประชาชนซึ่งเป็นหัวใจที่แท้จริงของระบอบประชาธิปไตย

6) การเลือกตั้งครั้งนี้ มีภาคประชาสังคม สถาบันวิชาการที่มีชื่อเสียง และผู้ทรงคุณวุฒิในสังคม ออกมารณรงค์ให้ประชาชนไปใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้ง โดยกาช่องไม่ประสงค์จะลงคะแนนให้ใคร มากที่สุดเป็นประวัติการณ์
สะท้อนความไร้คุณภาพของการเลือกตั้งในครั้งนี้

7) ระหว่างการรณรงค์เลือกตั้งครั้งนี้ ปรากฏว่ามีการใช้ความรุนแรงในสังคม โดยเฉพาะการใช้ความรุนแรงกับสื่อ เพื่อประสงค์ต่อการข่มขู่ คุกคาม แทรกแซงการทำงานของสื่อมวลชน โดยเฉพาะกรณีการปิดล้อมบริษัทเนชั่นฯ และบริษัทในเครือผู้จัดการ
นอกจากนี้ ยังมีการวางระเบิดที่ทำการพรรคประชาธิปัตย์ และการใช้กำลังบุกป่วนและทำลายการเปิดปราศรัยชี้แจงสาเหตุที่ไม่ลงเลือกตั้ง ณ จังหวัดเชียงใหม่ น่าสังเกตว่า ความรุนแรงที่เกิดขึ้นเหล่านั้น ได้เกิดกับฝ่ายที่ไม่สนับสนุนรัฐบาล ไม่ว่ารัฐบาลจะอยู่เบื้องหลังการกระทำนอกกฎหมายเหล่านี้หรือไม่ก็ตาม แต่รัฐบาลในฐานะผู้ดูแลรักษาความสงบของประเทศจะต้องรับผิดชอบโดยตรง

8) ในการเลือกตั้งครั้งนี้ ได้เกิดความแปลกประหลาดหลายประการ เช่น มีการจัดคูหาเลือกตั้งโดยให้ผู้ใช้สิทธิหันหลังให้แก่ประชาชน กรรมการเลือกตั้ง และผู้สังเกตการณ์ในหน่วยเลือกตั้ง ทำให้ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งถูกละเมิดสิทธิส่วนบุคคล เพราะคนอื่นสามารถจะสังเกตเห็นว่าผู้ใช้สิทธิแต่ละคนใช้สิทธิอย่างไร กาคะแนนช่องใด ไม่คุ้มครองให้การลงคะแนนเป็นความลับ จึงเป็นการกระทำผิดรัฐธรรมนูญมาตรา 104 อย่างชัดเจน ถึงขนาดว่าประชาชนทั่วประเทศยังดูผ่านโทรทัศน์ก็ทราบได้ว่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และคนดังคนอื่นๆ กาช่องอะไร
นอกจากนี้ ยังมีการติดประกาศรายชื่อผู้สมัครและเบอร์ของผู้สมัครในคูหาเลือกตั้ง ทั้งๆ ที่ มีการติดประกาศอยู่ในบริเวณหน่วยเลือกตั้งอยู่แล้ว และในหลายหน่วยเลือกตั้งก็มีผู้สมัครเพียงคนเดียว การติดประกาศไว้ในคูหาจึงเป็นการโฆษณาจูงใจ ตอกย้ำให้ผู้มีสิทธิลงคะแนนให้ผู้สมัครรายเดียว โดยไม่ได้มีการติดประกาศอธิบาย “ทางเลือก” ของประชาชนด้วยว่ายังสามารถกาช่อง “ไม่ประสงค์จะลงคะแนนให้ใคร” ก็ได้

น่าสงสัยว่า วิธีการเหล่านี้ จะเกี่ยวข้องหรือเกี่ยวพันกับกระบวนการโกงเลือกตั้งอย่างครั้งที่ผ่านๆ มาหรือไม่ เพราะการเลือกตั้งที่ผ่านมา มีทั้งการซื้อหน่วยเลือกตั้งแบบยกหน่วย การเปลี่ยนบัตรเปลี่ยนหีบเลือกตั้ง การเอาบัตรเลือกตั้งที่กาไว้แล้วเข้ามาสวมรอยแทนบัตรเลือกตั้งของประชาชน ฯลฯ

9) การเลือกตั้งครั้งนี้ มีการแสดงออกเพื่อประท้วงการเลือกตั้งไม่ชอบธรรมอย่างหลากหลาย เช่น รศ.ดร.ไชยยันต์ ไชยพร หัวหน้าภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ได้หยิบบัตรเลือกตั้งของตนเองขึ้นมาฉีกต่อหน้าสื่อหน้ามวลชน เพื่อแสดงออกถึงการต่อต้านโดยสันติวิธี ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 65 นอกจากนี้ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ยังถึงกับประท้วงด้วยการเอาไม้จิ้มฟันเจาะปลายนิ้ว เพื่อใช้เลือดแทนหมึกปากกา ทำเครื่องหมายลงในบัตรเลือกตั้ง
สะท้อนความรู้สึกของสังคมว่า ประชาชนกำลังรู้สึกเหมือนถูกมัดมือชก

10) การเลือกตั้งครั้งนี้ เป็นการเลือกตั้งที่กระทำไปโดยที่รู้ทั้งรู้ว่า จะไม่สามารถเปิดประชุมสภาได้ เพราะจำนวน ส.ส.ไม่ครบ 500 คน เนื่องจากผู้สมัคร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อของพรรคไทยรักไทยมีแค่ 99 คน และยังมีเขตเลือกตั้งอีกจำนวนมาก ที่ส่อว่าผู้ชนะเลือกตั้งจะได้ไม่ถึง 20% ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง น่าติดตามว่า ต่อจากนี้ไป จะมีความพยายามบิดเบือนกฎหมาย แหกกฎกติกา แหวกธรรมเนียมปฏิบัติ ทำลายหลักการประชาธิปไตย และละเมิดบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ เพื่อหาทางเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร ทั้งๆ ที่ยังมี ส.ส.ไม่ครบ 500 คน เพื่อจัดตั้งรัฐบาล เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีชื่อทักษิณ ชินวัตร
นั่นจะเป็นเครื่องตอกย้ำว่า กระบวนการทั้งหมดนี้ ความแปลกประหลาดและพิสดารของการเลือกตั้งในครั้งนี้ ถูกจัดให้มีขึ้นก็เพื่อสถาปนาอำนาจของคนคนเดียว
เพื่อฟอกตัวให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร!!!


Posted by : อ่านกันเล่น ๆ , Date : 2006-04-04 , Time : 11:12:51 , From IP : 203.188.0.195

ความคิดเห็นที่ : 1


   

เลือกตั้งซ่อมวันที่ 9 เมษายน 2549

จาบร้า เดือนนี้สงสัยไม่ได้ไปไหนแน่เลือกตั้งทุกสัปดาห์



แล้วจัดเลือกตั้งเร็วโคตร ไม่มีการรับสมัครใหม่ สงสัย จะพิมพ์บัตรเหลือเอาไว้เยอะ



Posted by : @^0^@ , Date : 2006-04-04 , Time : 11:40:00 , From IP : 172.29.1.236

ความคิดเห็นที่ : 2


   สรุปแล้วต้องฆ่าอ๋าย ท๊าากสินอย่างเดียวครับถึงจะแก้ปัญหาได้สำเร็จผล ร่วมกันลงขันฆ่า ท๊ากสินดีกว่า ครับ

Posted by : คนผ่านทาง , Date : 2006-04-04 , Time : 11:43:14 , From IP : 172.29.1.252

ความคิดเห็นที่ : 3


   ลงขันจ้างซุ้ม ทุกซุ้มใครทำสำเร็จเอาไปเลย น่าจะแจ๋ว เห็นด้วยอย่างแรง

Posted by : ร่วมด้วยช่วยกัน , Date : 2006-04-04 , Time : 12:52:05 , From IP : 172.29.1.126

ความคิดเห็นที่ : 4


   การเลือกตั้งครั้งนี้ แม้คะแนน 3000 กว่า ๆ ก็ได้เป็นสส อย่างพรรคคนขอปลดหนี้ และชนะ no vote ที่มีคะแนนตั้ง 30000 กว่า ของนครศรี ฯ (เจ็บใจจัง) ไม่รวมเขตอื่น ๆ อีกทางภาคใต้ที่มีคู่แข่ง ก็ได้พรรคไทยรักไทยไป ทั้งที่แพ้ no vote ชักไม่อยากออกไปใช้สิทธิ์ออกเสียงแล้วล่ะสิ

Posted by : บุคลากร , Date : 2006-04-04 , Time : 21:09:25 , From IP : 172.29.7.228

ความคิดเห็นที่ : 5


   น้อยกว่าบัตรเสียอีกครับ 7,000 คน

Posted by : Bigboss8 , Date : 2006-04-04 , Time : 23:03:45 , From IP : 203.113.71.201

ความคิดเห็นที่ : 6


   น่ามีช่องให้กาทักษิณออกไป

ไม่ว่ากี่ครั้งก็ตามเราก็กาช่องไม่ลงคะแนนกว่าพี่แม้วะออกไป


Posted by : เบื่อแม้ว , Date : 2006-04-05 , Time : 21:33:23 , From IP : 203.113.80.13

ความคิดเห็นที่ : 7


   เรื่องดีๆของบ้านเมืองมีสื่อไหนสนใจบ้างคะ (ศึกษา เจิมศักดิ์ให้ถ่องแท้ หาข้อมูลให้ชัดเจน)
สภาพัฒน์ เผย ปี48 การว่างงานลดลงต่ำสุดในรอบ 3 ปี เหลือ 1.22%
ของกำลังแรงงานทั้งหมด จาก 1.53%ในปี46 และ 1.47% ในปี47
สภาพัฒน์ เผย ปี48 คนไทยเข้าถึงหลักประกันทางสุขภาพมากขึ้นเป็นกว่า 96%
สภาพัฒน์ เผย ปี48 คนมีงานทำเพิ่มขึ้นเป็น 36.1 ล้านคน จาก 35.8 ล้านคนในปี47
มาตามสัญญา เงินกู้พม่า ที่อยากรู้ ที่สื่อไทยไม่เคยสนใจลงข่าวและท่านนายกถูกกล่าวหาในเวทีสนธิ
"เอ็กซิมแบงก์" แจง ปล่อยกู้พม่าโปร่งใส จากกรณีที่กระทรวงการสื่อสารและไปรษณีย์ของประเทศพม่า ทำหนังสือถึงรัฐบาลไทย เพื่อขอกู้เงินดอกเบี้ยต่ำไปลงทุนในโครงการพัฒนาการสื่อสารและโทรคมนาคมของพม่านั้น ใน 3 โครงการ คือ 1.โครงการพัฒนาการสื่อสารผ่านดาวเทียมระบบบรอดแบนด์(Myanmar Telecommunication Development Plan via Broadband Satellite) 2.โครงการถ่ายทอดสัญญาณผ่านเคเบิลใยแก้ว ระยะทาง 1,500 กิโลเมตร(Myanmar Nationwide Transmission Project : 1,500 Km Optical Fiber) และ 3.โครงการพัฒนาเทคโนโลยีข่าวสารและการสื่อสาร หรือ MICT Project(Myanmar Information and Communication Technology Development Project) โดยเป็นการขอความร่วมมือในลักษณะรัฐบาลต่อรัฐบาล(จีทูจี)ต่อมารัฐบาลไทยได้อนุมัติให้รัฐบาลพม่ากู้เงินจากธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า(เอ็กซิมแบงก์) วงเงิน 4,000 ล้านบาท โดยวงเงินกู้ดังกล่าว ส่วนหนึ่งถูกนำไปใช้ลงทุนใน 3 โครงการข้างต้น ซึ่งสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลพม่า ได้ระบุให้บริษัทสื่อสารขนาดใหญ่รายหนึ่งจากประเทศไทยเป็นผู้ได้สิทธิซัพพลายเออร์(ผู้ให้คำปรึกษา และจัดหาอุปกรณ์ป้อน) ทั้ง 3 โครงการ เมื่อวันที่ 24 สิงหาคมที่ผ่านมา ที่ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย(ธสน.) ได้เปิดแถลงข่าว โดยนายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา ประธานคณะกรรมการ ธสน. เป็นผู้แถลงร่วมกับ นายสถาพร ชินะจิตร กรรมการผู้จัดการ นายสถาพรกล่าวว่า จากการที่ น.ส.พ.มติชนฉบับวันที่ 23 สิงหาคม 2547 ได้เสนอข่าวโครงการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ที่รัฐบาลพม่าขอกู้จากรัฐบาลไทย มีส่วนโยงใยกับผลประโยชน์ของบริษัทสื่อสารยักษ์ใหญ่ของประเทศไทยนั้น ธสน.ขอชี้แจงว่าเอกสารดังกล่าวไม่ได้เป็นเอกสารที่นำเสนอต่อรัฐบาลไทยหรือใช้กู้ในโครงการเงินกู้ระยะยาวจำนวน 4,000 ล้านบาท ระยะเวลา 12 ปี ที่เอ็กซิมแบงก์ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการแต่อย่างใด และอาจจะทำให้มีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนได้เอกสารเหล่านั้นพวกเราไม่มีใครเคยเห็น และไม่ใช่เอกสารที่ใช้ในสัญญาต่างๆ ที่เอ็กซิมแบงก์ลงนามกับรัฐบาลพม่าแต่อย่างใด และยืนยันได้ว่าเอกสารสัญญาเงินกู้ระหว่าง เอ็กซิมแบงก์และ Myanma Trade Bank(MFTB) ที่มีการลงนามไปเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2547 ไม่ได้มีการระบุชื่อเอกชนรายใด เพราะการคัดเลือกเป็นหน้าที่ของรัฐบาลพม่าเป็นผู้ดำเนินการ ส่วนเอ็กซิมแบงก์มีหน้าที่เพียงตรวจดูว่าเงินกู้ดังกล่าวถูกนำไปใช้ถูกวัตุประสงค์และตรงตามเงื่อนไขหรือไม่เท่านั้นโดยโครงการเงินกู้ดังกล่าวเป็นไปตามนโยบายรัฐบาลในการสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งเริ่มมีการเจรจากันมาตั้งแต่ปฏิญญาพุกาม และเอ็กซิมแบงก์ก็ได้รับมอบหมายจากกระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงการคลังให้ดำเนินการ ซึ่งผมและประธานคณะกรรมการ ธสน.ได้เริ่มเดินทางไปเจรจาที่พม่าตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยดำเนินการตามระเบียบขั้นตอนทุกอย่าง มีการนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี และขออนุมัติจากระทรวงการคลังที่กำกับดูแลในทุกขั้นตอน จนเชื่อมั่นได้ว่ามีความโปร่งใสที่สุดแล้ว
เรายืนยันว่ามีการให้กู้กับพม่าจริง โดยมอบหมายให้ MFTB เป็นผู้กู้ และกระทรวงการคลังของสหภาพพม่าเป็นผู้ค้ำประกัน วงเงิน 4,000 ล้านบาท ระยะเวลา 12 ปี อัตราดอกเบี้ย 3% มีระยะปลอดเงินต้น 5 ปีแรก โดยเงินกู้ดังกล่าวรัฐบาลพม่าจะนำไปใช้ในการพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐานต่างๆ ซึ่งมีเงื่อนไขว่าจะต้องจ้างบริษัทไทยเป็นผู้ดำเนินการ แต่จะเลือกบริษัทใดนั้นเป็นกระบวนการของประเทศพม่าที่จะผู้ตัดสิน ซึ่งก็ต้องให้เกียรติกับประเทศผู้กู้ และเคารพกติกาในการคัดเลือกของประเทศนั้นๆ ซึ่งรัฐบาลพม่าได้จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อจัดสรรวงเงินกู้และอนุมัติการจัดซื้อแก่กระทรวงและหน่วยงานต่างๆ (Procurement Committee of the Prime Minister’s Office) ขึ้นมาเพื่อพิจารณาว่าเอกชนรายใดจะเป็นผู้รับงานในโครงการต่างๆ และหลังจากนั้นก็จะส่งเอกสารมาให้ ธสน.เพื่ออนุมัติเงินกู้ ซึ่งหากเราดูว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์และเงื่อนไขก็อนุมัติเงินกู้ไปสำหรับโครงการเงินกู้วงเงิน 4,000 ล้านบาท ได้มีการลงนามไปเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2547 ปัจจุบันได้เบิกเงินกู้ไปแล้ว 13 โครงการ คิดเป็นเงิน 2,100 ล้านบาท ประกอบไปด้วยการกู้เงินเพื่อซื้อยางมะตอย 19% เครื่องจักร 41% โทรคมนาคม 15% และที่เหลือเป็นการกู้เพื่อปรับปรุงโรงงานและรัฐวิสาหกิจอื่นๆส่วนเงินกู้ในส่วนที่ตกเป็นข่าวนั้น เป็นเงินกู้สำหรับการพัฒนาระบบโทรคมนาคมในโครงการ Broadband Satellite System มูลค่า 15 ล้านเหรียญ หรือ 600 ล้านบาท รัฐบาลพม่าได้คัดเลือกคู่สัญญา ซึ่งก็คือ บริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด(มหาชน) และได้มีการลงนามในสัญญาลงวันที่ 30 ก.ค.47 หลังจากนั้นได้ส่งสัญญามาให้ ธสน.วันที่ 5 สิงหาคม 2547 และ ธสน.ได้อนุมัติเงินกู้ไปเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม ที่ผ่านมาแม้ว่าการกู้เงิน 4,000 ล้านบาท จะเป็นเป็นเรื่องที่ดำเนินการตามนโยบายสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศเพื่อนบ้าน แต่ในรายละเอียดการจัดซื้อเป็นขั้นตอนของรัฐบาลพม่าเป็นฝ่ายตัดสินใจว่าจะซื้อจากผู้ใด เราได้ตรวจดูเงื่อนไขแล้วว่า เป็นบริษัทไทยตามเงื่อนไขและเป็นสัญญาที่มาตรฐาน สมเหตุสมผล และมีความเป็นมืออาชีพ ตรงตามวัตถุประสงค์ จึงให้ความเห็นชอบและอนุมัติเงินกู้ ซึ่งการปฏิบัติดังกล่าวเป็นไปตามภารกิจของเอ็กซิมแบงก์ในการสนับสนุนให้ผู้ส่งออกและนักลงทุนไทยไปรับงานในต่างประเทศอยู่แล้วผู้สื่อข่าวถามว่าขั้นตอนการประมูลงานของพม่าเอื้อให้กับบริษัทที่มีเส้นสายกับรัฐบาล และนำไปสู่เรื่องของผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่ และเอ็กซิมแบงก์ใช้มาตรฐานอะไรในการอนุมัติเงินกู้ดังกล่าวเพื่อให้มีความโปร่งใส นายสถาพรกล่าวว่า "คุณมีสิทธิสงสัยได้ แต่ผมบอกได้ว่าเท่าที่เราได้ตรวจสอบเอกสารสัญญาตามมาตรฐานของการเป็นพนักงานธนาคาร ผมคิดว่าโครงการนี้มีมาตรฐานและสมเหตุสมผลมากที่สุดแล้ว และตรงตามวัตถุประสงค์ รวมทั้งมีความสามารถในการใช้คืนได้ในอนาคต แต่ขั้นตอนการประมูลของรัฐบาลพม่าจะเป็นอย่างไรเราต้องเคารพเขา เพราะเขาเป็นผู้ใช้เงิน และชำระเงินกู้ ซึ่งโครงการให้ความช่วยเหลือประเทศอื่นๆ ก็มีเงื่อนไขเดียวกัน"
นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา
ประธานคณะกรรมการ เอ็กซิมแบงก์
"คงไม่สามารถเปิดเผยสัญญากู้ระหว่างเอ็กซิมแบงก์กับ MFTB เมื่อวันที่ 25 มิถุนายนที่ผ่านมาให้สาธารณชนทราบได้ เพราะเป็นสัญญาระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นเรื่องที่อ่อนไหวมาก และแม้แต่ พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารก็ไม่ครอบคลุมถึง แต่ผมสามารถที่จะยืนยันได้ว่าสัญญาดังกล่าวไม่ได้ระบุเรื่องของบริษัทเอกชนรายใดเข้าไปในสัญญา และแม้กระทั่งเอกสารแนบท้ายสัญญาก็จะมีเพียงรายการสินค้าที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์เงินกู้เท่านั้นการพิจารณาอนุมัติเงินกู้ก็จะดูว่าสินค้าตรงตามเอกสารแนบหรือไม่ ส่วนบริษัทเอกชนรายใดจะได้รับงานในส่วนใดนั้น คณะกรรมการเพื่อจัดสรรวงเงินกู้และอนุมัติการจัดซื้อแก่กระทรวงและหน่วยงานต่างๆ (Procurement Committee of the Prime Minister’s Office) ของประเทศพม่า ซึ่งมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมของพม่าเป็นประธาน และรัฐมนตรีอื่นๆ เช่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และผู้ว่าการธนาคารชาติของพม่าเป็นกรรมการด้วย จะเป็นผู้กำหนดวิธีการประมูลและคัดเลือก และส่งรายชื่อผู้ชนะกับสัญญามาให้ ธสน.ตรวจดูเท่านั้น ซึ่งที่ผ่านมาทุกอย่างก็เป็นไปตามระเบียบ"ส่วนเอกสารแนบท้ายสัญญาที่ระบุรายการสินค้าต่างๆ ที่จะจัดซื้อจัดจ้างตามโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาลพม่านั้น รายการประกอบด้วย รถแทรกเตอร์ รถบรรทุก รวมถึงบรอดแบนด์ แซทเทลไลท์ ซิสเต็ม แต่ไม่มีการระบุว่าจะต้องซื้อจากบริษัทใด ซึ่งในทางปฏิบัติฝ่ายบริหารของ ธสน.จะพิจารณาเฉพาะสัญญาเงินกู้ในวงเงินรวม 4,000 ล้านบาท หลังจากนั้นเมื่อผู้กู้คือรัฐบาลพม่า จะเบิกเงินกู้ในแต่ละรายการ ก็จะส่งสัญญาซื้อขาย พร้อมทั้งรายการสินค้ามาให้ ธสน. ซึ่งคณะกรรมการบริหาร ธสน.จะอนุมัติให้กรรมการผู้จัดการ ธสน.อนุมัติเงินกู้ดังกล่าวได้เลย หากว่าหากการเบิกเงินกู้ตรงตามกรอบสัญญาและเงื่อนไขในเอกสารแนบ แต่ถ้ามีสิ่งอื่นสิ่งใดที่นอกเหนือ เราก็จะไม่อนุมัติวงเงินกู้ ซึ่งที่ผ่านมาทุกอย่างเป็นไปตามระเบียบปฏิบัติทั้งหมด "ผมและกรรมการผู้จัดการใหญ่เป็นคนเดินทางไปเจรจากับรัฐบาลพม่าหลายต่อหลายครั้ง ยืนยันได้ว่าเงินกู้ในสัญญานี้ทำโดยโปร่งใส และการที่รัฐบาลพม่าตั้งคณะกรรมการร่วมในระดับรัฐบาลขึ้นมาพิจารณา เมื่อคณะกรรมการชุดนี้ตัดสินให้ใครได้รับงานก็เป็นเรื่องของรัฐบาลพม่าที่เราต้องเคารพ เพราะเราเชื่อว่ากระบวนการที่เขาวางไว้ได้ให้โอกาสแก่เอกชนเท่าเทียมกันแล้ว"
ธสน. ให้เงินกู้ 4,000 ล้านบาทแก่พม่าเพื่อซื้อสินค้าทุนและบริการจากไทย
นายสถาพร ชินะจิตร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) และ U Than Ye, กรรมการผู้จัดการ Myanma Foreign Trade Bank (MFTB) ร่วมลงนามในสัญญาเงินกู้ระยะยาว 12 ปี จำนวน 4,000 ล้านบาท เพื่อใช้ซื้อสินค้าทุนและบริการที่เกี่ยวข้องจากไทย โดยมีนายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา ประธานกรรมการ ธสน. เป็นประธานในพิธี เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2547 ณ อาคารเอ็กซิม สำนักงานใหญ่ นายสถาพร ชินะจิตร กรรมการผู้จัดการ ธสน. เปิดเผยว่าสืบเนื่องจากการหารือทวิภาคีด้านความช่วยเหลือทางการเงินระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลพม่าในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนเมื่อเดือนตุลาคม 2546 ซึ่งรัฐบาลไทยได้ให้ความเห็นชอบในหลักการคำขอเงินกู้ของรัฐบาลพม่าในการซื้อสินค้าทุนและบริการจากไทยสำหรับใช้ในการปรับปรุงถนนและสาธารณูปโภคต่างๆ ล่าสุดเมื่อวันที่ 25 มิถุนายนที่ผ่านมา โดยมอบหมายให้ ธสน. ในฐานะธนาคารตัวแทนของไทยลงนามในสัญญาอนุมัติวงเงินกู้ระยะยาว 12 ปี จำนวน 4,000 ล้านบาท แก่รัฐบาลพม่าผ่าน MFTB ธนาคารตัวแทน โดยมีนายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา ประธานกรรมการ ธสน. เป็นประธานในพิธี เพื่อให้พม่านำเงินไปใช้ในการซื้อสินค้าทุนที่มีแหล่งกำเนิดจากไทย อาทิ เครื่องจักร อุปกรณ์ วัสดุก่อสร้าง รวมไปถึงบริการจากบริษัทของไทย เพื่อพัฒนาสาธารณูปโภคต่างๆ ของประเทศ ซึ่งผู้ส่งออกไทยจะได้รับชำระเงินที่เบิกจ่ายจากเงินกู้โดยรับเงินจาก ธสน. โดยตรง ธสน. เห็นว่าการสนับสนุนเงินกู้ในครั้งนี้ เนื่องจากพม่าเป็นประเทศที่มีศักยภาพในการเจริญเติบโตได้อีกมากและจะสามารถพัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้นได้ ควบคู่ไปกับการพัฒนาการเมืองไปสู่ระบอบประชาธิปไตยมากขึ้นซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของพม่าต่อไปนอกจากนั้น ในฐานะประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกัน การพัฒนาเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ในพม่าจะเป็นประโยชน์มาถึงประเทศไทยในการบรรเทาปัญหาแรงงานพม่าลักลอบเข้าประเทศไทย และจะเป็นการขยายบทบาทของไทยในฐานะศูนย์กลางธุรกิจและการลงทุนในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขงที่จะมีผลต่อการขยายตลาดและฐานการผลิตของไทยในระยะต่อไป
25 มิถุนายน 2547
ส่วนประชาสัมพันธ์ สำนักบริหาร
ธสน. ชี้แจงโครงการเงินกู้พม่า 4,000 ล้านบาท
จากการที่หนังสือพิมพ์มติชนฉบับวันที่ 23 สิงหาคม 2547 ได้เสนอข่าวว่า โครงการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำที่รัฐบาลพม่าขอกู้จากรัฐบาลไทยมีส่วนโยงใยกับผลประโยชน์ของบริษัทสื่อสารยักษ์ใหญ่ของประเทศไทยนั้น นายสถาพร ชินะจิตร กรรมการผู้จัดการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) ขอชี้แจงว่า เอกสารที่หนังสือพิมพ์มติชนนำมาอ้างอิงนั้นมิได้เป็นเอกสารที่นำเสนอต่อรัฐบาลไทยหรือใช้ในการขอกู้ในโครงการเงินกู้ระยะยาวจำนวน 4,000 ล้านบาทระยะเวลา 12 ปีที่ ธสน. ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการให้กู้แก่สหภาพพม่า การนำเสนอเอกสารดังกล่าวจึงอาจจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิด หรือกระทบกระเทือนต่อความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านได้ กรรมการผู้จัดการ ธสน. ชี้แจงต่อไปว่า โครงการเงินกู้ดังกล่าวเป็นไปตามนโยบายรัฐบาลในการสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้าน โดย ธสน. ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดำเนินการให้กู้ และสหภาพพม่าได้มอบหมายให้ Myanma Foreign Trade Bank (MFTB) เป็นผู้กู้ โดยมีกระทรวงการคลังของสหภาพพม่าค้ำประกัน รัฐบาลพม่าจะนำเงินกู้ดังกล่าวไปจัดสรรให้หน่วยงานต่างๆ ใช้ซื้อเครื่องจักร อุปกรณ์ วัสดุก่อสร้าง และบริการที่เกี่ยวข้องจากประเทศไทยเพื่อนำไปพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐานและพัฒนาเศรษฐกิจของสหภาพพม่า ทั้งนี้ รัฐบาลพม่าได้จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อจัดสรรวงเงินกู้และอนุมัติการจัดซื้อแก่กระทรวงและหน่วยงานต่างๆ (Procurement Committee of the Prime Minister’s Office) โดยจัดสรรวงเงินจำนวน 600 ล้านบาท หรือ 15 ล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับการพัฒนาระบบโทรคมนาคมในโครงการ Broadband Satellite System มิได้มีมูลค่า 30.42 ล้านดอลลาร์สหรัฐดังที่ระบุในหนังสือพิมพ์มติชน และขณะที่ ธสน. ทำสัญญาเงินกู้กับ MFTB เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2547 ฝ่ายพม่ายังไม่ได้มีการตกลงว่าจะจัดซื้อจากผู้ใด รัฐบาลพม่าเป็นผู้พิจารณาจัดซื้อจัดจ้างโครงการนี้ตามขั้นตอนของรัฐบาลพม่าเองในภายหลัง นายสถาพร กล่าวว่า แม้การให้กู้ยืมเงิน 4,000 ล้านบาทจะเป็นเรื่องที่ดำเนินการตามนโยบายสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศเพื่อนบ้าน แต่รายละเอียดการจัดซื้อเป็นขั้นตอนที่รัฐบาลพม่าเป็นฝ่ายตัดสินใจว่าจะซื้อจากผู้ใด โดย ธสน. จะตรวจสอบเอกสารและให้ความเห็นชอบเพื่อให้การจัดซื้อนั้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของเงินกู้และขั้นตอนที่กำหนดเป็นเงื่อนไขไว้ในสัญญาเงินกู้ ซึ่งการปฏิบัติดังกล่าวเป็นขั้นตอนในการสนับสนุนผู้ส่งออกไทยตามปกติอยู่แล้ว
24 สิงหาคม 2547
ส่วนประชาสัมพันธ์ สำนักบริหาร
ธสน. ชี้แจงผลกระทบความเปลี่ยนแปลงการเมืองในสหภาพพม่า
นายสถาพร ชินะจิตร กรรมการผู้จัดการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) ชี้แจงถึงผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในสหภาพพม่าต่อโครงการเงินกู้ของ ธสน. ว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองภายในสหภาพพม่าที่ยังไม่ส่งผลกระทบต่อโครงการของลูกค้าหรือเงินกู้เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจแก่สหภาพพม่าที่ ธสน. ให้กู้ผ่านธนาคารเพื่อการค้าของสหภาพพม่า ทั้งนี้ ธสน. ยังเฝ้าติดตามสถานการณ์ในพม่าต่อไปว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงในนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลสหภาพพม่าอย่างไรหรือไม่กรรมการผู้จัดการ ธสน. กล่าวว่า ปัจจุบัน ธสน. มีสินเชื่อที่ให้กู้แก่เอกชนและรัฐบาลสหภาพพม่าจำนวน 6,157 ล้านบาท ประกอบด้วยโครงการรัฐบาล 3,339 ล้านบาท โครงการรัฐวิสาหกิจ 1,898 ล้านบาท และโครงการเอกชน 920 ล้านบาท ยอดสินเชื่อจากโครงการเงินกู้ 4,000 ล้านบาทที่ ธสน. ให้กู้แก่ Myanma Foreign Trade Bank (MFTB) โดยมีกระทรวงการคลังของสหภาพพม่าเป็นผู้ค้ำประกัน เพื่อใช้ซื้อสินค้าทุนและบริการที่เกี่ยวข้องจากไทย ซึ่ง ธสน. ได้ให้ความเห็นชอบการจัดซื้อตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวไปแล้วเป็นเงิน 2,377 ล้านบาท ล่าสุดมีการเบิกจ่ายไปแล้ว 339 ล้านบาท นายสถาพรกล่าวว่า ไทยและสหภาพพม่าเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีความสัมพันธ์อันดีต่อกันทั้งในระดับประเทศและระดับท้องถิ่น จึงเชื่อได้ว่าสถานการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างทั้งสองประเทศ และเชื่อว่านโยบายในการพัฒนาเศรษฐกิจของสหภาพพม่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงจนกระทบกระเทือนต่อเงินกู้ต่างๆ ที่ดำเนินการอยู่แล้ว20 ตุลาคม 2547 ส่วนประชาสัมพันธ์ สำนักบริหาร โครงการที่ไทยให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ประเทศเพื่อบ้านลำดับ ชื่อโครงการ งบประมาณ ระยะเวลาดำเนินการ(ปี) ได้รับการจัดสรรแล้ว ปี 2546 ปี2547 งบประมาณที่ขอตั้งในปี 2548 ปี2549 ปี2550 ผลที่จะไดัรับเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ
1 โครงการก่อสร้างเส้นทางเชียงราย-กุนหมิง ผ่าน สสป.ลาว ( R3) 1,385 2547-2550 300 175 209 316.00 614.0 269.00 เส้นทางนี้จะทำให้การเดินทางไปประเทศจีนทางรถยนต์มีความสะดวกมากขึ้น และเป็นการเสริมสร้างการค้าขาย การลงทุนและการท่องเที่ยวในภูมิภาค และยังเป็นการเชื่อมโยงเส้นทางตามแนวเหนือ-ใต้ ภายใต้กรอบความร่วมมืออนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
2 โครงการปรับปรุงและลาดยางผิวจราจร ตราด-เกาะกง-สะแรอัมเปิล(R48)ประเทศกัมภูพูชา 567.8 2547-2549 50.2 103.90 413.7 เส้นทางนี้เมื่อได้รับการพัฒนาให้สามารถใช้การได้สะดวกแล้วย่อมเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมทางบกของไทย กัมพูชาและเวียดนามเข้าด้วยกัน อันเป็ฯการเปิดโอกาศให้ไทยสามารถระบายสินค้าและนำเข้าวัตถุดิบต่างๆ ที่เป็นประโยชน์สำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจของประทเศ และยังบเป็นการเกื้อกูลอย่างยิ่งต่อการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างไทย-กัมพาในภาพรวม
3 โครงการปรับปรุงถนนสายห้วยโก๋น/เมืองเงิน-ปากแบ่ง 840 2548-2550 126.00 33.06 378.00 เส้นทางนี้จะสนองต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาประทศไทยกับ สปป.ลาว และ ประเทศ อื่น ๆ ในอนุภูมิภาค( ไทย ลาว จีน และเวียดนาม) หากโครงการแล้วเสร็จจะเป็นทางที่จะช่วยอำนวยความสะดวกด้านการคมนาคมขนส่งสินค้า และการท่องเที่ยว
4 โครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟเชื่อมต่อ ระหว่างจังหวัดหนองคาย-ท่านาแล้ว สปป.ลาว 197 2548-2550 29.55 77.6 89.85 รถไฟสายนี้จะทำให้ต้นทุนการส่งสินค้าอุปโภคบริโภคเข้าไปยังเวียงจันทน์ ( สปป.ลาว) ลดลงเนื่องจากบ้านท่านาแล้ง เป็นที่ตั้งของโกดัง จัดเก็บสินค้าขนาดใหญ่ ของสปป.ลาว ก่อนที่จะมีการขนส่งไปยังเมืองต่าง ๆ ใน สปป.ลาว
5 โครงการปรับปรุงสนามบินระหว่างประเทศวัดไต สปป.ลาว320 2547-2548 192 128.00 ช่วยเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจให้แก่ สปป.ลาวอีกทั้งยังเป็นการสนับสนุนเป็นเจ้าภาพของสปป.ลาวในการประชุม ASEAN Highway ที่จะมีขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2547
6 โครงการก่อสร้างร่องระบายน้ำและปรับปรุง ถนน T2 ในนครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว 160 2548-2549 96 4.00 ช่วยเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจให้แก่ สปป.ลาว อีกทั้งยังเป็นการสนับสนุนการเป็นเจ้าภาพของสปป.ลาวในการ
ประชุม ASEAN SUMMIT ที่จะมีขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2547
7 โครงการก่อสร้างเส้นทางสายเมียวดี-กอกะเร็ก-ผาอัน 1,900 2549-2551 5.75 190.00 760 การพัฒนาเส้นทางดังกล่าวจะเป็นการพัฒนาเส้นทาง สาย ASEAN Highway ซึ่งจะเป็นการสนับสนุตการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ และการค้าระหว่างไทยกับสหภาพพม่า เพราะเส้นทางนี้จะเป็นการเชื่องไปยังเมืองหลวง ( ร่างกุ้ง) ของสภาพพม่า
8 โครงการปรับปรุงสนามบินปากเซ สปป.ลาว 320 2548-2550 32.00 128.00 128 ทำให้การเชื่อมโยงเครือข่ายคมนาคมทางอากาศระหว่างประเทศไทย และสปป.ลาวมีความสะดวกยิ่งขึ้น อีกทั้งเมืองปากเซยังเป็นเมืองที่อยู่ใกล้แหล่งทอ่งเที่ยวของสปป.ลาว ดังนั้นการปรับปรุงสนามบินดังกล่าว จะทำให้สามารถรองรับเครื่องบินขนาดใหญ่เชิงพาณิชย์ได้รวม 5,689.8 300 175 547.2 805.20 1,561.30 1,624.85
เรื่องเงินกู้พม่าก็พยายามไปหาว่าที่เขาแก้ข้อกล่าวหาเขาได้เคยแก้กันไหมก็ปรากฏว่าทั้งนายกและหน่วยงานก็ออกมาแก้ช่วงนั้นๆแทบจะทุกเรื่องแต่เป็นที่น่าสังเกตุว่าบางสื่อเท่านั้นที่เอาลงและก็แค่ครั้งเดียวแต่พวกกล่าวหาส่งไปทุกเว็บซ้ำๆซาก ค้นหามาเจอแต่คำกล่าวหากว่าจะเจอคำชี้แจงเหมือนนั่งงมเข็มในมหาสมุทร




Posted by : ห่วงลูก , E-mail : (5555) ,
Date : 2006-04-08 , Time : 10:54:27 , From IP : ppp-124.120.149.155.


ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.006 seconds. <<<<<