ความคิดเห็นทั้งหมด : 16

มุมมองนักเรียนโอลิมปิควิชาการ วิทย์ คณิต คือทุกสิ่งจริงหรือ?


   มุมมองนักเรียนโอลิมปิควิชาการ วิทย์ คณิต คือทุกสิ่งจริงหรือ?
ได้ดูรายการที่เอานักเรียนจากโอลิมปิควิชาการมาพูดต่อ

ที่น่าสนใจคือมุมมองของเด็กพวกนี้คือ วิทยาศาสตร์ และ คณิตศาสตร์ คือทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ผู้บริหารประเทศปัจจุบันยังไม่ค่อยมีความรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ ควรส่งเสริมวิทยาศาสตร์ให้มากที่สุด
จำได้ว่าน้องอ้วนที่ขึ้น ม.1 พูดว่า วิทยาศาสตร์ควรมาก่อนอันดับแรก เรื่องศิลปะควรไว้ทีหลัง ให้ประเทศเจริญก่อนค่อยสนใจศิลปะ

ผมส่วนตัวไม่ค่อยเห็นด้วยเลยนะ รวมถึงความเห็นหลายๆคนด้วยที่ให้ความสำคัญกับวิทย์ คณิตเกินไป จนดูเหมือนศาสตร์ความรู้อื่นๆไม่ใช่สิ่งสำคัญ สังคม ศาสนา กฎหมาย หรืออะไร ไม่สำคัญเท่าวิทย์ คณิต ทั้งๆที่ทั้งหมดน่าสำคัญ และ ต่างกันไปตามความชอบแต่ละคน เหมือนวัดคนเก่ง วัดที่ตรงนี้ ถ้ามองอะไรเป็นวิทยาศาสตร์หมดคนจะเถียงไม่ได้ และ ถูกเสมอ ในขณะที่มีมุมมองเรื่องความเชื่อ สิ่งเหนือธรรมชาติเป็นเรื่องงมงาย

ที่น่าสนใจอีกจุดคือที่น้องผู้หญิงพูดเกี่ยวกับเกมออนไลน์ RO ว่า
เป็นเบ็ดที่ต่างชาติล่อให้เรางับ ไร้สาระ ไม่สร้างสรรค์ chat ไม่สร้างอะไร ควรปิดไปเลย หรือ ไม่ควรเอาเกมเข้าเมืองไทยเลย คุยโทรศัพท์ก็เสี่ยงต่อมะเร็ง และ เกมทำให้คน aggressive มีแต่ฆ่ากัน และ การฆ่ากันในเกม ตามหลักพุทธศาสนาถือว่าบาป แม้แต่ฆ่ากันในเกมก็ตาม

ก็แปลกใจที่เอาหลักพุทธศาสนามาโยงกับเกมว่าฆ่ากันในเกมนั้นบาป และ เกมเป็นสิ่งไร้สาระ

โอลิมปิควิชาการ เด็กไทยเราอาจเก่ง มีความรู้จริง แต่ผมสงสัยว่า สังคมที่ยกย่องคนเก่ง กับเด็กที่เก่งแต่ในแบบตำราที่รู้ จะสามารถเข้ากับชีวิตในสังคม เข้ากับคนอื่น และมีศีลธรรม คุณธรรมได้รึเปล่า?



Posted by : a , Date : 2003-07-28 , Time : 22:44:45 , From IP : 172.29.3.250

ความคิดเห็นที่ : 1


   ผมเห็นด้วยครับ ว่า วิทย์ คณิต ไม่ใช่ทุกสิ่ง

แต่ปัจจุบัน เทคโนโลยีส่วนใหญ่ต่างมาจากความคิด และหลักการทางวิทยาศาสตร์ ผมคิดว่า เป็นสิ่งสำคัญที่เราต้องเรียนรู้ ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ เราจะได้ตามทันเทคโนโลยีต่างๆ ที่ก้าวไปข้างหน้าเรื่อยๆทุกขณะ อย่างไรก็ตาม เราไม่สามารถปฏิเสธศิลปะได้ ผมคิดว่า มนุษย์ยังคงดำรงค์เผ่าพันธ์อยู่ได้ เพราะมีศิลปะ ทักษะทั้งสองอย่างสำคัญมากนะครับ อย่าลืมว่า ปัจจุบันนี้เราวัดกันที่ EQไม่ใช่ IQ

แต่ค่านิยมของคนไทยปัจจุบัน มองว่า เด็กจะเก่งได้ ต้องเก่งคณิตศาสตร์ ต้องเก่งวิทยาศาสตร์ ซึ่งผมเองก็เคยถูกความกดดันดังกล่าวมาตลอด ตั้งแต่เรียนชั้น ม.ต้น แถมทางฝ่ายนักการศึกษาก็สนับสนุนหลายๆอย่าง โดยการจัดแข่งขันความรู้ จัดกันเหลือเกินทั้ง สอบแข่งขันคณิตศาสตร์สมาคม สอบ Pre-ent แข่งขันตอบคำถามในงานสัปดาห์วิชาการ แม้กระทั่งโอลิมปิกวิขาการผมก็เคยสอบ ฯลฯ ตอนนั้นผมก็รู้สึกว่า สนุกดีที่ได้ไปแข่งกับคนอื่น ไม่ได้รู้สึกว่าต้องเอาจริงเอาจัง ต้องชนะๆๆ หรือตอนั้นผมยังเด้ก ยังไม่ค่อยมีความคิดเท่าไหร่ ยอมรับว่าตอนนั้นมีคนที่เก่งกว่าผมอยู่อีกมาก บางคนนี่มีวุฒิภาวะสูงกว่าวัย เลยมุ่งอ่าน มุ่งพัฒนาความรู้วิขาการจนเก่งเวอร์ แต่ผมก็ยังชอบไปแข่งอยู่ดี เหมือนได้ทดสอบตัวเอง เด็กจึงถูกปลูกฝังให้เน้นไปที่วิทย์ คณิต ถึงจะเก่ง ถึงจะน่าภูมิใจ แต่ตอนนี้ผมคิดว่า คณิตอย่างเดียว วิทย์อย่างเดียว วิชาการอย่างเดียว อาจเข้าทำนองความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอดก็ได้

เรื่องเกมนี้ผมคิดว่าเอาไว้พักผ่อนสมองอ่ะครับ ไม่ได้เอาจริงเอาจังอะไรมาก เล่นแต่ก็ไม่เคยเก่งซักที เงินในเกมยังไม่เคยถึง 100,000 เซนี เลย แหะ แหะ ไม่เห็นด้วยที่มาหาว่า เกมเป็นสิ่งไร้สาระ เพราะ มันขึ้นกับเรารู้จักเก็บเอาสาระในเกมมาพิจารณามากแค่ไหน และผมเองไม่เชื่อว่าน้องๆที่ได้รางวัลเหรียญต่างๆในการแข่งขันโอลิมปิกวิชาการครั้งนี้ไม่เล่น RO หรือเกมออนไลน์อื่นเลย ผมไม่ทราบครับว่ามี Evident อะไร แค่ไหนที่แสดงให้เห็นว่า เกมทำให้คน Aggressive อย่างมีนัยสำคัญ คน 7 แสนคน แต่มีคนที่ Agressive 1 คน นี่ถือว่า มีนัยสำคัญอย่างไร มี Study ที่ใหญ่พอไหม ขอถามครับเปิดประเด็นเพิ่มครับ อยากทราบ



Posted by : โบทซึมุ , Date : 2003-07-28 , Time : 23:56:12 , From IP : 172.29.2.141

ความคิดเห็นที่ : 2


   ทางสายกลางดีที่สุด

ใครก็ตามที่ศึกษาศาสตร์ทาวโลกมามากพอ จะเริ่มมีความรู้สึกเหมือนๆกันว่ามีอะไรบางอย่างที่ไม่สามารถ "พิสูจน์" แต่มีอยู่จริง และมีอิทธิพลอย่างมากมายต่อชีวิต เช่น Faith หรือความศรัทธาเป็นต้น

บ่อยครั้งที่ "Just Belief" jsut makes many things happen ถ้าใครปฏิเสธที่ว่าก็คงไม่สามารถเป็นได้งนักวิทยาศาสตร์ หรือผู้ศรัทธาสักอย่างหนึ่ง

ถึงแม้ว่าผมจะ voice ว่าเป็นเรื่องน่ายินดีที่เยาวชนจะ Pro-Logic อย่างที่ express ออกมาในบทความข้างบน ความรู้และความเข้าใจเรื่อง spiritual นั้นใช้เวลาและประสบการณื ซึ่งผมเชื่อว่าไม่มีอะไรจะเตรียมตัวเยาวชนเหล่านี้ในการก้าวสู่อีก phase หนึ่งของ perception of knowledge ได้ดีกว่าการถูก equipped ด้วย logical thinking ไว้ก่อน

วิทย์คณิตนั้นดีแน่ แต่ไม่สามารถทดแทนการเอาใจเขามาใส่ใจเรา การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความเมตตากรุณา Instinct ของสัตว์โลกนั้นเห็นแก่ตัว เพียงแต่ soft science of social เท่านั้นที่เป็น fundamental fabric of society และนี่ไม่มีสูตรหรือสมการทางคณิตหรือฟิสิกส์กำหนดไว้ใน theorem ไหนๆ หากมีความสำคัญมากในการที่ทำให้คนเป็นคนเต็มคน



Posted by : Phoenix , Date : 2003-07-29 , Time : 01:18:18 , From IP : 172.29.3.196

ความคิดเห็นที่ : 3


   ศาสตร์ใดๆนั้นย่อมมีความสำคัญและหลายๆศาสตร์นั้นมีความสัมพันธ์กัน
การเรียนวิทย์และคณิต มีส่วนสำคัญในการคิดคำนึงถึงสิ่งต่างๆว่าเป็นจริง
หรือไม่จริง สิ่งที่เป็นหรือไม่เป็นนั้นมี่โอกาสสักเท่าไร จะได้ไม่งมงาย รู้จัก
แยกแยะรู้ความหนักเบาของปัญหา ไหนๆพูดถึงเรื่องการสอบวิชาการโอลิมปิค
แล้ว ใครช่วยตอบทีว่า ปีๆหนึ่งเขาตัดสินเหรียญทองกันอย่างไร ประเทศต่างๆที่เข้าแข่งขันได้รางวัลกันไปเท่าไร


Posted by : ศิษย์เก่า , Date : 2003-07-29 , Time : 12:55:31 , From IP : 172.29.3.34

ความคิดเห็นที่ : 4


   อันที่จริงทุกศาสตร์ก็ช่วยการพัฒนาความเป็นมาและเป็นไปของมนุษย์ มันเป็นเรื่องธรรมดาที่คนชอบและถนัดในสิ่งที่ไม่เหมือนกันแต่ไม่ควรไป blame คนอื่นที่ความเชื่อความชอบไม่เหมือนเรา
น้องคนนั้นโลกเค้ายังแคบ เค้ายังเด็ก ให้อภัยเค้าเถอะค่ะ
บางทีโตขึ้นถ้าสมองเค้ายอมซึมซับศาสตร์อย่างอื่นเข้าไปบ้าง
เค้าอาจไม่พูดอย่างนี้ก็ได้


Posted by : vivi , Date : 2003-07-29 , Time : 14:39:40 , From IP : 172.29.3.102

ความคิดเห็นที่ : 5


   เท่าที่เคยทราบมานะครับ การแข่งขันคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์โอลิมปิก ตัดสินเหรียญอิงตามเกณฑ์ครับ ผมไม่ทราบเกณฑ์ที่แน่นนอนนะครับ ยกตัวอย่างเช่น ทำได้ 90% ก็จะได้เหรียญทองทุกคน ทำได้ 80% ก็ได้เหรียญเงินทุกคน ส่วนคนที่ทำคะแนนไม่ได้ตามเกณฑ์ได้เหรียญก็จะได้ประกาศนียบัตรทุกคนครับ (อิงตามที่เตยไปสอบมาครับ เพราะ ตอนผมสอบคัดเลือกใครได้คะแนนตามเกณฑ์เขาก็ให้ไป สอบรอบแรกกันทุกคนครับ)

ฉะนั้น ในแต่ละปีจะมีคนได้เหรียญไม่เท่ากันครับ บางปีได้คนเดียว บางปีได้ 4-5 คนหรือบางปี ถ้ายากมากอาจไม่ได้เลย แล้วแต่ว่าข้อสอบออกมาตรงกับที่เก็งไว้หรือไม่

ส่วนข้อมูลเท็จจริงเรียนผู้ทราบเรื่องมาตอบหน่อยนะครับ



Posted by : โบทซึมุ , Date : 2003-07-29 , Time : 14:40:22 , From IP : 172.29.2.112

ความคิดเห็นที่ : 6


   เขาตัดสินให้เหรียญกันตามเกณฑ์ถูกต้องแล้วครับ
แต่ที่ผมรู้สึกแปลกใจทุกครั้งเลย ที่มักได้ยินเขาวัดความสามารถของเด็กกันผ่านทางเหรียญโอลิมปิก ถ้าเป็นแต่ก่อนก็มักจะได้ยินว่า เด็กเวียดนามเก่งกว่าเด็กไทยเพราะได้เหรียญทองโอลิมปิกกัน มาในตอนนี้ก็ได้ข่าวว่า เด็กไทยเก่งกันมากขึ้นเพราะได้เหรียญทองกันหลายคน
ฟังสัมภาษณ์คนที่ได้เหรียญมาว่าทำอย่างไรถึงเรียนเก่ง เด็กทุกคนก็จะตอบว่า ตั้งใจเรียนในห้องสิ แล้วกลับมาทบทวนเองที่บ้าน โอ้ สบาย ไม่ยากเลย แต่จริงๆแล้วเด็ก 70-80 % ตามโรงเรียนต่างจังหวัดทำอย่างนั้นได้จริงหรือ การจะเรียนคณิต ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ให้เข้าใจในห้องเรียนนั้น สามารถสนุกและเข้าใจไปกับมันได้งั้นเหรอ เปล่าเลย ครูที่สอนโดยใช้เกณฑ์ความสามารถของเด็กเป็นตัวตั้งนั้น หาได้ยากเต็มที (ไม่งั้นอาจารย์อุ๊จะดังเหรอ)
อีกอย่าง ผมเพิ่งรู้ว่า น้องผมโดนระบบควายเซ็นเตอร์เข้าเต็มๆเลย เพิ่งขึ้นชั้นม.ปลาย นะครับ ฟิสิกส์ อย่างนี้ ให้ไปอ่านและทำรายงานกันมาส่ง อะไรก็ได้ ไม่มีอะไรเลย เด็กเดี๋ยวนี้มันมีพื้นฐานเรียนรู้ด้วยตนเองซะที่ไหนล่ะครับ ก็เดือดร้อนพ่อแม่พี่น้องอีก
...ขอบ่นเท่านั้นล่ะครับ


Posted by : ArLim , Date : 2003-07-29 , Time : 17:49:53 , From IP : dial-14.ras-2.ska.s.

ความคิดเห็นที่ : 7


   "Imagination is more important than knowledge."

Posted by : Albert Einstein , Date : 2003-07-29 , Time : 17:59:30 , From IP : 172.29.2.25

ความคิดเห็นที่ : 8


   จากที่บุคลเหล่านี้พูดในรายการถึงลูกถึงคน ว่าประเทศไทยยังต้องพัฒนาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์อีกเยอะ ผมคิดว่า ประเทศไทยไม่ได้ล้าหลังทางด้านวิทยาศาสตร์เลย ปํญหาต่างๆของประเทศไทยตอนนี้ไม่ได้เกิดจากเราล้าหลังในด้านนี้ แต่เกิดจากที่เราไม่พัฒนาคนให้ตามทันวิทยาศาสตร์ต่างหาก

Posted by : สารภี , Date : 2003-07-29 , Time : 18:01:46 , From IP : 172.29.2.122

ความคิดเห็นที่ : 9


   น้องอ้วยที่ขึ้น ม. 1 คือใครครับ?

Posted by : Nut , Date : 2003-07-29 , Time : 18:25:07 , From IP : 203.113.71.165

ความคิดเห็นที่ : 10


   ขอ comment เวลาพูดว่า "เด็กไทย เด็กเวียดนาม ฯลฯ" อะไรหน่อย โดยทางนัยแห่งสถิติถ้าเด็กที่มาสอบ "ถูกคัด" เอามาแต่ cream เด็กเหล่านี้จะ "ไม่ represent" เด็กในชาติตัวเอง เพราะ bias ในการคัดเลือก ถ้าจะเอากันจริงๆต้องใช้เด็กที่อยู่ตรง peak of normal distribution ของผลการเรียน มาสอบแข่งกัน ซึ่งก็ยัง assume อีกหลายขั้นตอน เช่น ภาษาอังกฤษอาจจะมีผลกระทบทั้งๆที่สอบเลขหรือฟิสิกส์



Posted by : Phoenix , Date : 2003-07-29 , Time : 18:47:24 , From IP : 172.29.3.160

ความคิดเห็นที่ : 11


   ก็แค่ tip of the iceberg
มองสูงๆ ไม่เห็นรายละเอียด
แต่มองต่ำๆ ก็ไม่เห็นอะไรกว้างๆ
ต้องทั้งกว้าง ทั้งลึก ทั้งสูง ทั้งต่ำ
ได้แล้วจึงจะครบถ้วน


Posted by : ไกลบ้าน , Date : 2003-07-29 , Time : 19:22:09 , From IP : mugwback.mahidol.ac.

ความคิดเห็นที่ : 12


   อย่างไรก็ดี ผมว่า การที่เด็กนักเรียนไทยได้รับเหรียญรางวัลจากการแข่งขันนี่ ก็เป็นเรื่องน่ายินดีนะครับ ถึงแม้ไม่สามารถบอกได้ว่า เด็กไทยทั้งหมดมีความสามารถ หรือช่วยสะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาด้านการศึกษาของประเทศก็ตาม คิดในทางบวก อย่างน้อยเราอาจได้ยอดนักวิทยาศาสตร์ในอนาคต ที่สามารถคิดค้น สร้างสรร ความรู้ใหม่ๆเพิ่มขึ้นก็ได้

ผมเห็นด้วยกับ ArLim ในเรื่องการเรียนให้เก่ง ผมว่า มันเป็น Ideal มากเลย ใครที่ทำเช่นนั้นได้ ย่อมประสบความสำเร็จในด้านการเรียนแน่ๆ ผมเองปัจจุบันก็ยังไม่เคยทำได้เลย

สำหรับผมซึ่งเรียนในโรงเรียนต่างจังหวัด ผมว่าสามารถทำได้นะครับ ที่จะเรียนอย่างมีความสุข ในวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ แต่เฉพาะบางวิชา ในบางปีด้วยครับ เพราะ อาจารย์แต่ละท่านมีแนวทางการสอนไม่เหมือนกัน บางท่านสอนสนุก บางท่านก็สอนแล้วไม่สนุกไม่มีใครรู้สึกพอใจกับสไตล์การสอนในทุกๆแบบ ลางเนื้อชอบลางยาครับ ไม่รู้ว่าเรื่องนี้จะแตกประเด็นไปสู่เรื่องของ สถาบันติวเตอร์ ด้วยไหมครับ?

เรื่อง child center น่าสนใจมากครับ ขยายความเรื่องนี้กันซักหน่อยดีไหมครับ เพราะผมไม่ข้อทราบข้อมูลนี้เท่าไหร่ น้องผมก็จบชั้น ม.ปลาย มาแล้วด้วยสิ


Posted by : โบทซึมุ , Date : 2003-07-29 , Time : 20:07:12 , From IP : 172.29.2.171

ความคิดเห็นที่ : 13


   Child center ให้เด็กไปทำรายงานมา เรื่องอะไรก็ได้ ไปหาจากอินเตอร์เน็ตได้ก็ยิ่งดี (ทั้งที่ไม่มีอินเตอร์เน็ตให้เด็กทุกคนใช้ และก็ใช่ว่าเด็กทุกคนจะใช้เป็น) บางครั้งก็บอกให้ในเชิงไปหาซื้อหนังสือมา แล้วเอามาวิเคราะห์(ลอก)ข้อมูลส่งครู นี่ไม่ใช่วิชาฟิสิกส์นะครับ
ที่ผมเพิ่งกลับบ้านไปสอนฟิสิกส์สอนเลขให้น้อง ผมก็พบอีกอย่างว่า อาจารย์(ม.อ.)ที่ไปสอน พยายามออกข้อสอบพลิกแพลงแบบยากชิบ..หาไม่เจอ เด็กก็ทำไม่ได้กัน โดยบอกกับเด็กๆว่า ทำยากๆให้ได้ เดี๋ยวง่ายๆก็ทำคล่องเอง
เด็กพื้นยังไม่แน่นเลยครับ ถ้าสังเกตุดีๆ ยังไม่แน่นมาตั้งแต่ม.ต้นแล้วครับ
...ผมก็ไม่รู้หรอกครับว่าโรงเรียนอื่นเขาเรียนยังงัย แต่โรงเรียนของน้องสาวผมนี่ ยอมรับเลยครับ ว่าคิดผิด ไม่น่าให้เข้าเรียนเลย
...เฮ้อ


Posted by : ArLim , Date : 2003-07-30 , Time : 02:49:48 , From IP : dial-121.ras-2.ska.s

ความคิดเห็นที่ : 14


   สิ่งที่ ArLim บอกเกี่ยวกับการเรียนแบบ child center นั้น เป็นสิ่งที่หลายๆโรงเรียนทำ รวมทั้งในหาดใหญ่ด้วย การที่ให้เด็กสอนกันเอง ค้นคว้ากันเองก็มีประโยชน์ระดับหนึ่ง แต่สิ่งที่บรรดาอาจารย์ยังลงมาดูแลไม่ได้ ก็คือ Process นักเรียนช่วยกันค้นหรือทำกันแค่ไหน มีส่วนร่วมทุกคนไหม ใครทำ บางครั้งน่าจะมีพ่อแม่นักเรียนช่วยทำด้วย นักเรียนทั้งกลุ่มมีส่วนรับรู้เนื้อหาไหม ส่วนใหญ่ที่เห็นแยกกันทำเป็นส่วนๆแล้วมารวมกันโดยต่างคนต่างไม่รู้ของคนอื่น อาจารย์ได้มีโอกาสตรวจงานที่ส่งจริงหรือ แต่ละกลุ่มส่งมาเป็นปึก แล้วมีกันกี่กลุ่มที่ต้องตรวจ และที่สำคัญมีอาจารย์ช่วยสรุปเนื้อหาที่นักเรียนส่งงาน ให้นักเรียนทั้งชั้นได้รูเรื่องไหม แล้วนักเรียนทุกคนจะได้เรียนรู้เท่ากันจริงหรือ เด็กที่เก่งจะเรียนวิธีใดก็สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ แต่เด็กอีกกลุ่มละจะเอาตัวรอดจากวิธีการเรียนนี้หรือ

Posted by : ศิษย์เก่า , Date : 2003-07-31 , Time : 16:00:30 , From IP : 172.29.3.131

ความคิดเห็นที่ : 15


   ไม่ว่าเรียนระบบไหนก็ตาม "หน้าที่ของครู" ไม่เคยลดลงเลย (แม้แต่ Virtual classroom ยิ่งใช้ความอุตสาหะพยายามของครูคนคุม project ไม่น้อยกว่าเดิมเลย)

จะเป็นการ miss concept อย่างมโหฬารถ้าครูจะทำงานน้อยลงๆ แต่น่ากลัวอยู่เหมือนกันว่าจะได้ยินคนพูดว่า facilitator role นี่คือนั่งเฉยๆเงียบๆแค่นั้น การประเมิน process ของกลุ่ม PBL นั้น ผมเคยอภิปรายไปแล้วว่าคุมไปประเมินไปนั้นเป็นการ compromise accuracy ของการประเมิน หรือพูดให้สวยขึ้นคือถ้าแยกบทบาทได้ จะสามารถ improve การประเมินขึ้นได้อีก ลงทุนอีกนิดเช่น taping closd circuit camera เพื่อที่ให้เจ้าหน้าที่ประเมิน full-time มาดูตอนไหนก้ได้ จะได้ประโยชน์สองด้านคือ facilitator จะ focus on process ได้ดีขึ้น และ individual assessment จะ accurate มากขึ้น ไม่ได้ based on group and break-down into item แบบปัจจุบัน

อย่างที่ข้างบนว่าไว้ ถ้าอยากจะให้เด็ก "ได้กระบวนการ" เราก็ต้องมี quality assurance ว่าเขาได้จริงๆ ไม่ใช่การเซ็นมอบหมายงานให้ทำแปลว่าเด็กจะได้โดยอัตโนมัติ



Posted by : Phoenix , Date : 2003-08-01 , Time : 00:18:03 , From IP : 172.29.3.196

ความคิดเห็นที่ : 16


   ผมชอบความคิดของคุณ phoenix มากตรง taping closd circuit camera

ผมสนับสนุนเต็มที่เลยครับ แต่ว่าผมสงสัยนิดนึงตรงที่ ถ้า staff ที่คุมมาเปิดเทปดูทีห่ลังแล้วเด็ก ทำไม่ได้ตามที่ตั้งวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้(โดยเฉพาะ process) เมื่อไหร่นักศึกษาจะได้รับการแก้ไขสิ่งเหล่านั้น หรือว่าต้องเรียกมาครั้งหน้าอีกครั้งหนึ่ง

แต่โดยสรุปแล้วผมเห็นด้วยอย่างยิ่งที่จะสนับสนุนให้มีกล้องติดเอาไว้ทุกห้อง เพื่อการประเมินจะได้ถูกต้องและรัดกุมยิ่งขึ้น


Posted by : เหอๆๆ , Date : 2003-08-01 , Time : 22:11:23 , From IP : 172.29.2.158

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.011 seconds. <<<<<