ความคิดเห็นทั้งหมด : 9

Debate XXXII: Help me one more thing, doctor? An Ethical Debate


   Active Euthanasia or Assisted suicide

การแพทย์ปัจจุบันสามารถทำได้อย่างหนึ่งคือ maintain vital signs ของผู้ป่วย

ผลก็คือข้อดีมากมายที่เราสามารถ "ซื้อเวลา" หาคน หาของ หาช่องทางที่จะรักษาผู้ป่วยได้มากขึ้น แต่บางครั้งนั่นเป็นแค่ rosy road ที่คนส่วนใหญ่มองเห็นหรือ "อยากจะเห็น" แค่นั้น

มีโรคหรือภาวะหลายๆโรคที่ "ความทรมาณ" นั้น indescribable และไม่ทำให้ผู้ป่วยตาย ทรมาณในที่นี้อาจจะมาในรูปความเจ็บปวด ความมี disability (log-in syndrome, for example, where a patient cannot use all the motor functions but all sensations are intact) ความซึมเศร้า ฯลฯ ผลก็คือ negative balance ที่มีแต่เพิ่มขึ้นต่อ "จิตใจ" จริงอยู่โรคเขาอาจจะรักษาได้ดีขึ้นในอนาคต หรือการ "ทำใจ" ก็อาจจะช่วยบรรเทา แต่ก็มีรายงานถึงผู้ป่วยกลุ่มหนึ่งซึ่งมีจำนวนไม่น้อยที่พิจารณาการฆ่าตัวตาย หรือการตายดูจะเป็นทางออกที่เหลืออยู่

บางคนก็อาจจะมีความสามารถจะฆ่าตัวตายด้วยตนเอง แต่ที่ที่ผมจะเปิดอภิปรายก็คือ หากมีผู้ป่วยอย่างที่ว่าขอร้องให้แพทย์ช่วย assist โดยทำให้ตายอย่างสงบ ไร้ความเจ็บปวด หรือ humane มากที่สุด แล้ว แพทย์ควรจะทำอย่างไร?

ที่สุดแล้วก็คงจะไปลงเอยที่กฏหมาย แต่ผมอยากจะให้พวกเราลองอภิปรายดูกัน ไม่ต้องสนว่ากฏหมายเป็นอย่างไรหรือควรจะเป็นอย่างไร พร้อมเหตุผลนะครับ

standard rules: be mature, be positive, be civilized

GAME ON



Posted by : Phoenix , Date : 2003-07-27 , Time : 01:50:35 , From IP : 172.29.3.237

ความคิดเห็นที่ : 1


   ผมเข้าใจว่าหมายถึงประเด็นของ Euthanasia ใช่ไหมครับ.....ว่าควรทำแค่ไหนในกรณีเช่นไร...:D..:D.....ที่ผมเคยเรียนมานะครับ(นานแล้ว..ไม่รู้ป่านนี้ไปถึงไหนแล้ว)......การทำ Euthanasia มี 2 แบบคือ Active และ Passive........Active ก็อย่างที่เข้าใจกัน...คือลงมือทำ....บางกรณีรวมถึงการลงมือช่วยด้วย.....ดังเช่นที่มีอยู่ในหลายๆประเทศ....ที่ไม่ใช่ประเทศไทย....และก็มีคณะกรรมการตรวจสอบหลายขั้นตอน....และมี Consent มากมายก่ายกอง...แบบว่าจะตายทั้งที่ไม่ง่ายหรอกนะ.....หนีออกจากโรงพยาบาลไประเบิดหัวที่บ้านเร็วกว่าเยอะ....ซึ่ง Active นั้น....ไม่น่าจะได้รับการสนใจเท่าใดนัก....เพราะเราเรียนมา....เรามีหน้าที่รักษาคน....ไม่ใช่มาฆ่าใคร....ถามผม..ผมก็ไม่เอาด้วยหรอกครับ.....ถ้ามีคนใข้ขอร้อง.....คงแนะนำให้ไปหาคนอื่นหละครับ......ผมไม่พูดถึงแง่ของศีลธรรมและทางศาสนานะครับ...ไม่ค่อยมีความรู้...แต่ผมว่าก็น่าจะเป็นบาปค่อนข้างมากเหมือนกัน....เพราะอย่างน้อยเราไม่ใช้พระเจ้า....ไม่มีสิทธิใดๆมาสั่ง..หรือเลือกว่าใครควรจะอยู่หรือตาย........เอาหละ.........ส่วนด้านของ Passive......หมายรวมถึงหลายๆแนวทาง......ไม่ได้ช่วย....แต่ไม่ขัดขวางเช่น....ญาติจะพากลับบ้าน.....BP drop หรือ HR ช้าลงเรื่อยๆ.....แต่ไม่ให้ Medication....อะไรทำนองนี้....เหมือนกับยืนดูเฉยๆว่างั้นก็ได้......DNAR ก็เป็นส่วนนึงของ Passive.....แบบนี้คงมีให้เห็นกันค่อนข้างบ่อย.....ถ้าถามผมว่าคนใข้ขอร้องว่าไม่ต้องช่วย....ผมจะทำไหม...ก็คงไม่เหมือนกัน.....นอกเสียจะว่าจนปัญญา.....รักษาไม่ได้จริงๆ....อาจารย์บางท่านก็แนะนำผมว่า.....บางทีทำอะไรมากไปคนไข้จะยิ่งทรมาณมากกว่าไม่ทำอะไรเสียอีก.....ผมว่าจริงนะ......:D...:D
......แต่ถ้าคนอื่นจะว่าทำ.....ถามผมว่าผิดไหม...ไม่หรอกครับ....ถ้ามีเหตุผล...เราไม่ได้มานั่งฆ่าคนเป็นอาชีพนะ......M.D. นี่ไม่ได้มาจาก Murder Degree สักหน่อย.......คนบางคนไม่เคยเจ็บปวดแบบคนไข้ไม่เคยเข้าใจหรอก......บางคนที่มีชีวิตอยู่อย่างทรมาน......ความตายอาจจะดีเสียกว่าก็ได้......แต่จะดีจริงหรือเปล่า...และเมื่อไหร....ใครเป็นคนตัดสิน....ผมตอบไม่ได้หรอกครับ...สักวันนึงผมอาจจะต้องอยู่ในสถานการณ์อย่างที่ต้องตัดสินอะไรแบบนี้ก็ได้.....ถามผมถ้าเลี่ยงได้.....ผมคงพยายามเลี่ยง.....:D....:D
.......ผมนึกถึงหนังเรื่องนึง....The Cider House Rule.......พูดถึงมุมมองของการทำแท้งของแพทย์รายนึง....ว่าทำไปเพราะว่า.....คนไข้ที่มาขอร้องให้ทำ....ถ้าไม่ทำไห้....คนไข้เหล่านี้ก็จะไปหาหมอคนอื่นที่ยอมทำให้....และก็จะเจอกับหมอที่ทำไม่เป็น....และเกิด Complication ทำไห้คนไข้เหล่านี้ต้องตายทั้งๆที่ไม่ควรจะตาย......หมอคนนี้เลยต้องทำเสียเอง.....เพราะตนเองเป็นผู้เชี่ยวชาญ.....คล้ายๆกับยอมเสีย 1 ดีกว่าเสียทั้ง 2.....หนังไม่พูดถึงประเด็นของการ Coucelling หรอกครับ.....เพราะผมเชื่อว่าคนบางคนพอตัดสินใจแล้วเนี่ย....ไม่มีอะไรเปลี่ยนใจได้หรอกครับ......หนังมีอะไรอีกมาก.....ค่อนข้างดี.....เข้าชิง Oscar ปีนั้นตั้งหลายสาขา...........ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นนี้คงมีแค่ว่า....บางอย่างที่เราคิดว่าเป็นสิ่งที่ผิด...เป็นบาปกรรม....เราจะไม่ทำ...แต่มีบางเหตุผลในโลกนี้ที่จะรองรับการกระทำเหล่านี้......เพียงแต่ว่าเราจะเข้าใจและเปิดกว้างกับมันแค่ไหน......:D....:D



Posted by : Death , Date : 2003-07-27 , Time : 03:49:15 , From IP : 172.29.3.243

ความคิดเห็นที่ : 2


   ขอบคุณครับคุณ Death ที่กรุณาให้ความเห็น แต่ว่าศีลธรรมหรือจริยธรรมไม่เกี่ยวกับความรู้ครับ เป็นเหตุและผลเท่านั้นเอง ถ้าหากเรื่องนี้ต้องให้คนระดับอุดมศึกษาหรือ Postgraduate เท่านั้นจึงอภิปรายได้ สังคมนั้นคงจะย่ำแย่แน่ๆ จริยธรรมเป็น common sense บวก concern แค่นั้นเอง ว่าเราอยากอยู่ในสังคมที่ CARE มากน้อยแค่ไหน

เห็นด้วยครับว่า active euthanasia นั้นมีเอกสารและผู้เกี่ยวข้องมากมายจริงๆ ล่าสุด case ที่ดังที่สุดรู้สึกจะเป็น case multiple sclerosis ที่ advance มากของอังกฤษที่ Law Lord (ศาลสูงสุดของอังกฤษ) ruled ไม่ให้ทำ และผู้ป่วยเธอทำเรื่องฟ้องศาลโลก โดยใช้ทนายขององค์กร Human Right ช่วย น่าเสียดายที่รอไปรอมาผู้ป่วยตายซะก่อน!!!

ปัญหาเรื่องบาปหรือไม่บาปถ้าตีความตามหลักพุทธศาสนาว่า กรรมะ คือ การกระทำ (หรือการไม่กระทำ) โดยเจตนา ที่จะก่อให้เกิดวิบาก เป็นที่อภิปรายกันว่าถ้าทั้งๆที่รู้ว่าผู้ป่วยทนทุกข์ทรมานเจ็บปวดโดยที่ยาบำบัดทั้งหมดไม่ work แล้ว ปฏิเสธที่จะช่วยผู้ป่วยเพราะกลัว "ตนเอง" จะบาปนั้น ค่อนข้างจะคลุมเครือและล่อแหลมต่อการตีความพอสมควร ตกลงว่าการ "ไม่กระทำ" ของแพทย์นั้นเพื่อตนเอง (แพทย์) หรือเพื่อผู้ป่วยกันแน่? และที่สุดแล้วการที่หมอนิ่งเงียบแล้วปล่อยให้ญาติทนไม่ไหวหอบหิ้วผู้ป่วยกลับไปตายอย่างทรมานที่บ้านนั้นเป็นการหลีกเลี่ยงบาปจริงหรือๆไม่?

ข้อเท็จจริงที่หมอไม่ใคร่อยากจะมองก็คือแพทย์มีความรู้ที่จะ maintain ชีวิตได้ และมีความรู้ที่จะทำให้ผู้ป่วยตายโดย "ไม่เจ็บปวดทรมาน" ได้เช่นกัน ความรู้ประการหลังนี่แหละที่ผู้ป่วยกลุ่มนี้กำลังวิงวอนขอร้องให้ใช้เพื่อช่วยเหลือเขา

ผมมีข้อโต้แย้งของฝ่าย Against active euthanasia เหมือนกัน แต่ตอนนี้ขอฟังความเห็นเพิ่มเติมก่อนนะครับ






Posted by : Phoenix , Date : 2003-07-27 , Time : 22:51:55 , From IP : 172.29.3.240

ความคิดเห็นที่ : 3


   เหตุใดจึงมีเรื่องราวของผู้ป่วยที่ตองการตาย มากกว่าทรมานจากความเจ็บป่วยมากขึ้นล่ะฮะ
เป็นเพราะการแพทย์สมัยนี้ สามารถยืด(เยื้อ)ชีวิตได้นานขึ้นหรือเปล่า โรคหรือความเจ็บป่วยมีความซับซ้อน สร้างความทรมาน(ทั้งทางกายและสังคม)ได้มากขึ้นหรือเปล่า
อันที่จริงมันก็สร้างกรรมตั้งแต่การยืดชีวิตให้ทรมานมากและนานขึ้น โดยที่โอกาสจะหายนั้นน้อยมากหรือไม่มี
แพทย์ก็ไม่ใช่บุคคลที่มีหน้าที่ในการ"ฆ่า"ผู้ป่วย แต่แพทย์มีความรู้ที่จะทำได้ แต่ก็อีกนั่นล่ะ ความรู้นั่นไม่ใช่สิ่งที่แพทย์จะนำมาใช้ อาจเพราะด้วยจรรยาบรรณหรือความรู้สึกเป็นบาป (คนตายไปแล้วไม่รู้สึกอะไรหรอกฮะ แต่คนที่ยังอยู่นี่สิ จะต้องทนกับสิ่งที่ตัวเองกระทำลงไป)

ทำไมผู้ป่วยจึงต้องการตาย เพราะความทรมานนั่นหรือ
อย่างนั้น แพทย์หาวิธีลดความทรมานให้ผู้ป่วยไม่ดีกว่าหรือ วิธีอะไรก็ได้ น่าจะดีกว่าไหม
(ป่วยมากๆก็ฉีดยานอนหลับไปเลย หึหึ)


Posted by : ArLim , Date : 2003-07-28 , Time : 18:01:51 , From IP : dial-13.ras-2.ska.s.

ความคิดเห็นที่ : 4


   แล้วเราต้องฉีดยานอนหลับไปนานแ่ค่ไหน ก็จะเป็นประเด็นใหม่ที่จะตามมานะครับ arlim

Posted by : เหอๆๆ , Date : 2003-07-28 , Time : 21:31:19 , From IP : 172.29.2.133

ความคิดเห็นที่ : 5


   คุณ ArlIM คิดว่าเราจะประเมิน quality of life ของคนที่จะ free จากความเจ็บปวดต่อเมื่อถูดฉีดยานอนหลับเท่านั้นเป็นเช่นไรครับ? ดี ดีมาก ดีที่สุด?



Posted by : Phoenix , Date : 2003-07-29 , Time : 01:21:49 , From IP : 172.29.3.196

ความคิดเห็นที่ : 6


   เรื่องฉีดยานอนหลับ ผมคิดเรื่องนี้แตกมาจากที่เคยได้ยินมาเรื่อง การแช่แข็งคนที่เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาหายได้ แล้วค่อยทำให้ฟื้นในอนาคต ในเวลาที่สามารถรักษาได้ ... ซึ่งเขาก็ทำกันในต่างประเทศกันแล้ว (ทำกันตอนตายใช่ไหม หรือตอนที่ยังไม่ตาย ผมไม่มีข้อมูลนะฮะ)
ทำไมเราต้องประเมิน quality of life ของเขาล่ะฮะ ถ้าหากว่าเขาต้องการอย่างนั้น แล้วเราไม่มีทางเลือกอื่นให้เขาเลือกอีก บางครั้งคนเราก็ขอให้พ้นหรือทำเป็นไม่รู้จากความทรมานนั้นเป็นพอ
แต่ส่วนมากคนที่ตื่นอยู่นี่สิ มักจะเป็นเดือดเป็นร้อนแทนไม่ใช่หรือ


Posted by : ArLim , Date : 2003-07-29 , Time : 18:04:54 , From IP : dial-14.ras-2.ska.s.

ความคิดเห็นที่ : 7


   คุณ ArLim misses the point ไปแล้วครับ

ผู้ป่วยใน category ที่ขอให้แพทย์ terminate นั้น ไม่ต้องการเป็นเจ้าหญิงหรือเจ้าชายนิทราตลอดไป เขาต้องการ quality of life แต่ทุกครั้งที่เขาตื่น จะอยู่กับความเจ็บปวดที่ไม่มีการรักษาใดๆทำให้ทุเลาลงได้ นั่นเป็นความทรมาน ส่วนผู้ป่วยที่ยินดีจะถูกฉีดยานอนหลับ knock down ไปเรื่อยๆนั้น คงไม่มีแพทย์ที่ไหนอยู่ดีๆไปฆ่าเขาหรอกครับ

แช่แข็งนั้นเป็นคนละเรื่องเหมือนกัน เพราะโรคพวกนี้จะ progress ไปเรื่อยๆ จึงไม่สามารถบรรเทาด้วยยานอนหลับ แต่ต้องด้วยการ freezing ขณะนี้ยัง deabtable ว่าสามารถ recover จาก frozen state ได้อย่างปลอดภัยหรือไม่ เราทำได้ในระดับเซลล์ ซึ่งแต่ละครั้งที่ recovery จะมีเซลล์ตายไปเยอะพอสมควร ระดับอวัยวะนั้นน่าสงสัย ระดับทั้งตัวคนไข้ไม่มีใครทดลองได้



Posted by : Phoenix , Date : 2003-07-29 , Time : 18:56:28 , From IP : 172.29.3.160

ความคิดเห็นที่ : 8


   ไม่ใช่ว่าการที่ผู้ป่วยต้องการ life quality ที่ดีแล้วแต่ไม่สามารถได้มานั้น การตายหรือการนอนหลับไม่รู้เรื่อง พ้นความทรมาน เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้ป่วยงั้นหรือครับ
แต่ถ้าหากสามารถทำให้ความทรมานของเขาทุเลาลงได้ และมีความสุขกับชีวิตที่เหลืออยู่ ก็คงจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดแล้ว (แต่กว่าคนเราจะทำใจยอมรับกับเวลาของชีวิตที่สั้นลงไปนั้นได้ ก็ไม่เท่ากันในแต่ละคนอีก)
อืม วิธีที่ดีที่สุดก็คงเป็น ทำอย่างไรให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตที่เหลือโดยไม่เป็นทุกข์สินะฮะ

แล้วฝ่าย against เขาว่าอย่างไรบ้างล่ะครับ


Posted by : ArLim , Date : 2003-07-30 , Time : 03:06:44 , From IP : dial-121.ras-2.ska.s

ความคิดเห็นที่ : 9


   อย่างที่ผมบอกถ้าคนไข้ happy กับยานอนหลับ เขาก็จะได้ยานอนหลับอย่างแน่นอน

ผู้ป่วยบางคนยังมีความเป็นห่วงใยและเห็นใจญาติพี่น้องลูกหลานและครอบครัวที่ดูแลตนเองอยู่ ยิ่งถ้ารู้ว่าเขากำลังใช้ค่าใช้จ่ายที่สูงมาก และเขาเป็นคนหาเงินเพียงคนเดียวหรืออะไรทำนองนี้ ผู้ป่วยที่ทำใจได้และเข้าใจโรคตนเองว่ามีแต่ทรุดไม่มีวันหาย (จากความรู้การแพทย์ปัจจุบัน) ก็อาจจะสามารถชั่งน้ำหนักและตัดสินใจอย่างที่ว่า

เน้นอีกครั้งว่าแพทย์หรือญาติจะไม่มีสิทธิ์เสนอ active euthanasia หรือ assisted suicide ให้แก่ผู้ป่วยเด็ดขาด "ทางเลือก" นั้นเป็นของผู้ป่วย และแพทย์จะต้องประเมิน MDC คือ Making-Decision Capability ก่อนอย่างถี่ถ้วนเพื่อ make sure ว่าที่ผู้ป่วยตัดสินใจแบบนั้น สติสัมปชัญญะยังสมบูรณ์ดีอยู่ไม่ได้ถูก กระทบจากโรคที่เป็น

ขอยกเหตุผลของพวก against ไว้ก่อน หนังสือ reference ไม่ได้อยู่ที่บ้าน



Posted by : Phoenix , Date : 2003-08-01 , Time : 00:26:38 , From IP : 172.29.3.196

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.004 seconds. <<<<<