ความคิดเห็นทั้งหมด : 10

Debate XXXI: สิทธิผู้ป่วยและข้อมูลเพื่อการรักษา An Ethical Debate


   เร็วๆนี้ได้มีส่วนร่วมในการอภิปรายหัวข้อที่น่าสนใจอยู่เรื่องนึง ไม่ได้ข้อสรุป เลยอยากจะโยนลงเวทีกว้างมากขึ้น เผื่อใครมีความคิดเห็นอย่างไร

สิทธิผู้ป่วยเป็นเรื่องที่มีการอภิปรายหรือพูดถึงมากขึ้น เป็นเรื่องที่ Media ให้ความสนใจ เพราะสาเหตุสำคัญสองประการคือ หนึ่ง มันสำคัญจริงๆ และสอง เป็นเรื่องที่ "ขายข่าวได้" โดยเฉพาะถ้ามีตัวบุคคลหรือสถาบันที่จะตกเป็นจำเลยได้จริงๆ โจมตีใครก็ดูจะไม่มันเท่า สถาบันครู แพทย์ พระ อีกแล้ว รับรองว่ามีคนอ่าน คนฟัง คนติดตามแน่นอน สิ่งที่ตามมาก็คือกฏหมายที่พยายามจะ catch up กับ Mood ของ public ซึ่งบางครั้งเราเผชิญกับข้อเท็จจริงที่ไม่อยากฟังบางอย่างเช่น ความพร้อมของทุกคนในการที่จะได้รับ "สิทธิ์" อย่างถูกต้องหรือไม่

ขอเจาะจงให้แคบลง ผู้ป่วยกลุ่มหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับโรคติดเชื้อ เช่น HIV, Syphilis, Hepatitis, หรือ ล่าสุด SARS สมควรหรือไม่ (หรือถูกกฏหมายหรือไม่) ที่แพทย์ผู้ให้การรักษาจะส่งตรวจเพื่อการวินิจฉัย (และ plan การรักษา) โดยไม่ได้ consent จากผู้ป่วย?

ทั้งสองฝ่ายมีเหตุผลมาสนับสนุน ผมขออนุญาต "ไม่พูดถึง" ตัวกฏหมายโดยตรงนะครับว่าเป็นเช่นไร แต่ขอจำกัดวงอภิปรายในแง่ "หลักการและเหตุผล" ขออนุญาตไม่เริ่มให้ความเห็นด้านใดด้านหนึ่งก่อนก็แล้วกัน เพื่อจะได้รับฟัง fresh ideas

กติกามาตรฐาน Be mature, be positive, be civilised



Posted by : Phoenix , Date : 2003-07-25 , Time : 02:06:55 , From IP : 172.29.3.245

ความคิดเห็นที่ : 1


   .......ที่ผมเคยได้ฟังมา......ผมยังเชื่อเรื่องของ Doctor-Patient Relationship ค่อนข้างมาก...ปัญหาที่ผมเห็นส่วนใหญ่มักเกิดจากการที่เราไม่ค่อยได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้.....ถ้าเราดูแลเอาใจใส่คนใข้ดี...ไป Round ทุกวัน...พุดคุยอธิบายและให้โอกาสซักถามสิ่งที่ไม่เข้าใจอย่างพอเพียงแล้ว.....ผมไม่เคยเห็นว่าจะมีปัญหาเลย.....บางคนก็บอกผมว่าไม่จริงหรอก...เพราะวันๆผมอยู่แต่ในโรงพยาบาลรัฐ....ไม่เคยออกไปอยู่เอกชนหรือดูแลผู้ป่วยแบบประเภทเรื่องมาก....เรียกร้องจะเอาโน่นจะเอานี่.....ผมก็ตอบกลับได้ว่า....ผมก็เคยเจอพวกเรื่องมาก....และผมก็ไม่เคยเห็นใครแน่จริงพอจะสั่งผมได้สักคน....ถ้าอธิบายให้เข้าใจ...ก็ไม่มีอะไรหรอกครับ....มีบ้างพวกส่วนน้อย...ไม่เป็นปัญหาหรอกครับ......:D
.......เอาหละก่อนจะเข้าเรื่อง.....คุณ Phoenix ลืมไปกลุ่มนึงครับที่หนังสือพิมพ์ชอบทำข่าว....มี 4 กลุ่มครับ....หมอ ครู พระ.....และ ตำรวจครับ...ที่กำลังดังอยู่ตอนนี้...:D...:D
..........ส่วนตัวผมแล้ว...คิดว่า Consent เป็นเรืองสำคัญครับ.....แต่คงไม่ได้มานั่งทำมันทุกคนเหมือนต่างประเทศหรอกครับ....ไม่งั้นแค่ผ่าฝีก็ต้องมี Consent อธิบายยาวยืดกว่าจะทำแต่ละที...ถ้าคนใข้อยากทำนักผมคงบอกว่าไปโรงบาลใกล้บ้านเถอะ.....ไม่ด่วนนิ...ผมอต้องไปผ่าคนอื่นที่ด่วนกว่า....ไปทำ Consent ใกล้บ้านหละกัน....:D...:D.....บางคนบอกผมว่าอธิบายดีๆพูดให้เข้าใจแค่นี้พอแล้ว.....แต่ยังไงๆผมว่ามีไว้กันเหนียวก็ไม่เสียหายอะไรหรอก....สรุปคือถ้าคนใข้ไม่ยินยอมให้ตรวจ...ผมก็ไม่ตรวจ....ถ้าสิ่งที่ตรวจจะมีผลต่อการรักษาคงต้องอธิบายให้เข้าใจ.....ถ้ายังไม่ยินยอม....ผมคงต้องถือว่าคนใข้มี Risk แล้วก็ต้องป้องกันตัวผมและบุคคลากรในโรงพยาบาลไปตาม Universal Precaution.......ส่วนถ้าถามว่าแอบเจาะตรวจโดยไม่บอกได้ไหม.....ผมว่าไร้สาระครับ...ถ้าทำแบบนั้นก็แสดงว่าคุณไม่จริงใจพอต่อคนใข้....ถ้าเกิดปัญหาขึ้นแล้วเขาฟ้องเอาก็สมน้ำหน้าครับ....จะมีหน้าไปบอกคนใข้ได้ไงว่าหมอบังเอิญเจาะมาแล้วผลเลือดเป็นโง้นเป็นงี้....ทำเป็นไม่รู้เรื่องไม่บอกก็ไม่ได้....แล้วเมียคนใข้หละ....ลูกคนไข้หละ....ถ้าไม่รู้แล้วเกิดไปติดขึ้นมาหละ....ถ้าคนใข้จะไม่ให้เจาะก็เรื่องของคนใข้ครับ....แต่นั่นคือเขาต้องรู้อย่างเข้าใจว่าจะเกิดปัญหาอะไรขึ้นแก่คนรอบข้างได้ถ้าไม่ระวัง......แต่ส่วนใหญ่แล้วคนที่ปฎิเสธ....ก็มักจะรู้อยู่แล้วว่าเป็นและมักจะมีการศึกษาและความรู้พอที่รับผิดชอบตัวเองอยู่แล้ว....เราก็ป้องกันตัวเราและเพื่อนร่วมงานแค่นั่นก็พอแล้วครับ......ส่วนกฎหมายเป็นเรื่องที่คงจะผิดค่อนข้างแน่ถ้าไปยุ่งกับสิทธิผู้ป่วย......เฮ้ออออ.....เมื่อไหรจะมีสิทธิแพทย์บ้างนะ....แพทย์ก็คนนะ.....แพทย์ก็มีครอบครัวที่จะต้องดูแลเหมือนกันนะ.......แย่....แย่.....
......แค่นั้นหละครับ....ยังมีอะไรที่คิดจะเขียนอีก....แต่รอดูคนอื่นว่าคิดอย่างไร.....ขอไปดู Tomb Raider ก่อนนะครับ....:D....:D



Posted by : Death , Date : 2003-07-25 , Time : 20:21:09 , From IP : 172.29.3.118

ความคิดเห็นที่ : 2


   มีข้อยกเว้นเหมือนกันนะ แต่ข้อยกเว้นที่ให้ไว้ โดยส่วนตัวแล้วคิดว่าไม่ค่อยจะ workเลย เช่น ในเรื่อง CONFIDENTIALLY เราสามารถเปิดเผยข้อมูลได้....ถ้า Pt. รับรู้และยินยอม แต่เท่าที่เห็นมีเหมือนกัน...หมอครับอย่าบอกให้ภรรยาผมรู้นะครับว่าผมเป็นเอดส์ ผมกลัวถูกทิ้ง กลัวเค้ารังเกียจ...ถ้าเจออย่างนี้ จะทํายังงัย?

ความจริงมีงานวิจัยที่พูดเรื่องนี้เยอะเหมือนกัน.แต่..ขี้เกียจพิมพ์จังเลย
อยากรู้เรื่องราวที่เป็นจริง ใครเจออะไรมาบ้าง แล้วทํายังงัย


Posted by : M&M , Date : 2003-07-26 , Time : 03:49:16 , From IP : 172.29.3.205

ความคิดเห็นที่ : 3


   .....ผมเคยเจอมาคล้ายๆแบบนั้น......คนไข้มาผ่า Appendicitis ...... Staff ที่ผมอยู่ด้วย.....ให้เจาะเลือด.....ผลก็คงทายกันได้......ผ่าตัดเรียบร้อย....มาติดปัญหาที่ว่า.....คนไข้ไม่ได้กลับบ้านมา 5 ปีแล้ว....กะว่าหลังผ่าตัดจะกลับไปหาลูกเมียที่บ้าน......ซักประวัติเรื่ิอง Risk แล้วเพิ่งมีหลังออกจากบ้านมาทำงาน....ทำให้ประเมินได้ว่าภรรยาน่าจะไม่เป็น......แล้วจะทำไงหละครับ.....จะให้กลับบ้านไปโดยไม่บอกไม่ได้....จะทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ไม่ได้.....ก็ดันไปเจาะเลือดเขามาแล้ว....นี่หละครับ..เหตุการณ์ที่ผมเคยเจอตอนเป็น Extern.....ผมไม่ค่อยคิดว่ามันจำเป็นที่จะต้องแอบไปเจาะเลย....เพราะยังไงเราก็ผ่าอยู่ดี.....แต่ดีที่เราได้ป้องกันตัวและผู้ร่วมงานได้มากขึ้น....แต่.....จะไปบอกคนไข้ยังไงหละ???.......ข้อสรุปของเรื่องนี้คือ Staff ผมไปคุยเอง.....คนไข้ก็ O.K........ลองคิดดูสิถ้าคนไข้ไม่ O.K. จะเป็นไง?????...........ส่วนเรื่องได้ผลเลือดมาแล้วห้ามบอกนี่.....อาจารย์อาวุโสท่านนึงของผมเคยให้คำแนะนำไว้ว่าแกเคยเจอกรณีนึง.....จะแต่งงาน....มาเจาะเลือดทั้ง 2 คน....ผู้ชายมี Risk มามาก....เจาะแล้วบอกอาจารย์ผมว่าห้ามบอกว่าที่ภรรยาถ้าผลเลือดเป็นบวก......แล้วผลเลือดก็เป็นบวกจริงๆ.....สมัยนั้นเรื่องการรักษาความลับของผู้ป่วยเป็นเรื่องสำคัญ....แต่จะปล่อยให้คนอีกคนมารับเคราะห์ก็ไม่ได้.....รู้ไหมครับอาจารย์ผมทำอย่างไร.....แกเรียกมาทั้ง 2 คนตอนบอกผล....ของผู้หญิงได้กระดาษใบlabขาวๆ....ปั๊มตัวโตๆว่า Negative.....ส่วนฝ่ายชายใส่ซองกระดาษสีขาวปิดผนึกเรียบร้อย.....อาจารย์ผมแนะนำว่าเป็นทางออกที่ดี....ไม่ต้องเปิดเผยความลับคนไข้ด้วย...ตามที่ฝ่ายชายเรียกร้องเลย.....:D....:D



Posted by : Death , Date : 2003-07-26 , Time : 12:37:26 , From IP : 172.29.3.169

ความคิดเห็นที่ : 4


   ย้อนกลับไปสมัย Hippocrates การแพทย์เราทราบมานานแล้วว่าวิธีที่จะรักษาโรคให้สำเร็จได้นั้น ผู้ป่วยต้องไว้เนื้อเชื่อใจแพทย์ซะก่อน จึงสามารถเล่าอาการเจ็บไข้ได้ป่วยและประวัติต่างๆที่เกี่ยวข้อง (หรืออาจจไม่เกี่ยวข้องในสายตาของผู้ป่วยแต่แพทย์ถาม) ให้ฟังอย่างเป็นจริงและหมดเปลือก ฉะนั้น Doctrine ที่ว่าเรื่องราวของผู้ป่วยที่เล่ามาจะถูกเก็บไว้เป็นความลับนั้นเป็นสิ่งเดียวที่จะการันตีความไว้เนื้อเชื่อใจอันนี้ องค์กรแพทย์อเมรกาประชุมเมื่อปี 1946 ก็ยัง confirm doctrine ที่ว่านี้ และขยายออกไปถึงแม้ว่าผู้ป่วยได้เสียชีวิตไปแล้วด้วย

ประเด็นที่ว่านั้นเป็นตัวบทที่มีมาก่อนเรื่อง "สิทธิส่วนบุคคล" หรือ personal right จะมีการพูดถึงและกลายเป็นส่วนหนึ่งของกฏหมายเกือบทุกประเทศ

เหมือนกับทุกๆครั้งที่มนุษย์คิดว่าเรามี Universal rule ที่ใช้ได้ทกๆกรณี (หรือ เหมือนกับที่ Isaac Asimov เคยคิดว่า..หรือทำให้เราคิดว่า กฏสามข้อของหุ่นยนต์จะ eliminate Frankenstein"s Complex จากความกลัวของมนุษย์ได้ในตอนแรก) นั่นก็คือทุกๆเรื่องมีข้อยกเว้น

Individual Right สามารถและถูก overridden โดย other individual right, Public Right หรือ Public safety ได้ คำว่า public ในที่นี้เป็น"สาธารณชน" หรือ "ประเทศ", "เผ่า", หรือ "มนุษยชาติ" นั่นทำให้ที่ประชุม Medical council ของอเมริกา และ Psychiatrists committee ของอเมริกาได้เพิ่ม clause เข้าไปใน Absolute rule of Confidentiality ว่ามีกรณียกเว้นที่ความลับของ Individual จะถูกเปิดเผย ถึงแม้จะ against the patient view ถ้าข้อมูลนั้นถูกเก็บไว้เป็นความลับแล้ว จะเป็นอันตรายต่อผู้อื่น ตัวอย่างที่ยกอย่างชัดเจนได้แก่กรณี HIV ที่ Sexual partner จะ "มีสิทธิ์" ทราบว่าสามีหรือภรรยาเป็น (พูดให้ชัดเจนคือ "แพทย์" มีสิทธิ์แจ้งให้ทราบ) รวมทั้ง sexual transmitted diseases อื่นๆด้วย ตัวอย่างเร็วๆนี้เช่น SARS ระบาด รัฐบาลสิงคโปร์ออกกฏหมาย override ว่าใครที่ "suspected" จะต้องถูก admit and observe ในโรงพยาบาลที่กำหนดไว้จนกว่าจะ proved ว่าไม่ใช่ ผ้ป่วย "ไม่มีสิทธิ์" แม้แต่จะปฏิเสธการรักษา!!!! เนื่องจากเรื่องนี้มีผลต่อประชาชนโดยรวมและ economy ของทั้งประเทศ กฏหมายสูบบุหรี่ในที่สาธารณะก็อาศัย escape clause เดียวกันที่ force individual right and overrule และจำกัดสถานที่ที่สามารถจะสูบบุหรี่ได้

ปัญหาก็คือเรากำลังพูดถึงเรื่องเดียวกันหรือไม่ ในการตรวจเช็ค HIV ในคนไข้เป็น precaution เมื่อ suspect และแค่ไหนคือ erasonable suspect parameter?



Posted by : Phoenix , Date : 2003-07-26 , Time : 13:06:26 , From IP : 172.29.3.203

ความคิดเห็นที่ : 5


   โรค AIDS ก็เป็นอันตรายต่อ public เช่นกันการที่ไม่รู้ว่าใครเป็นบ้าง ทำให้โรคนี้มีการแพร่กระจายอยู่อย่างต่อเนื่อง
แต่อีกด้าน ผู้ป่้วย AIDS ก็ยังเป็นที่รังเกียจของ public อยู่ดี
ถ้าตรวจเช็ค เปิดเผย ให้การรักษา (เหมือนโรค SARS) ผู้ป่วยก็อาจอยู่ในสังคมหรือแม้แต่ครอบครัวไม่ได้
ถ้าไม่ตรวจ ไม่รักษา ก็เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ทุกอย่างก็เลวร้ายต่อไป (แต่สุดท้ายผู้ติดเชื้อและคนรอบข้างก็ต้องรู้อยู่ดี)

น่าจะมีการตรวจเช็คเป็น precaution เสียก่อน แล้วก็ให้คนไข้มีวินัยในการรักษาตัวเองไม่ให้ติดผู้อื่น

แต่จริงๆถ้าจะทำ ก็ต้องแก้ไขทัศนคติของคนหมู่มากเสียก่อน (ซึ่งคิดว่ายากเหลือเกิน)
แค่เรื่อง SARS ว่าติดกันยากแล้วนะ แต่กว่าจะซา ก็นานเหลือเกิน


Posted by : ArLim , Date : 2003-07-26 , Time : 18:35:31 , From IP : maliwan.psu.ac.th

ความคิดเห็นที่ : 6


   เรื่องความรู้สึกว่าคนอื่นจะรู้สึกอย่างไรนี่ คงยากแก่การออกกฏหมายคุ้มครองนะครับ

เมื่อสองสามปีก่อน มีเด็กสาววอเมริกันถูกฆ่าข่มขืนโดย paedophile (พวกกามวิปริตชอบเด็ก) ที่เคยมีประวัติยาวเหยียด แต่ออกจากคุกมาอาศัยอยู่ในชุมชนโดยเป็น anonymous และเด็กที่ถูกฆ่าก็อาศัยเป็นเพื่อนบ้านใกล้เคียงนั่นเอง คดีนี้ก่อให้เกิด Outrage โดยญาติพี่น้องและประชาชนส่วนใหญ่ มีการเดินขบวน ปราศัยกันยกใหญ่ถึงสิทธิของประชาชนในชุมชนที่ควรจะรู้ว่า convicted criminal ที่มีโอกาสจะก่อกรรมทำเข็ญอีกย้ายมาอยู่ใกล้ๆเพื่อการระมัดระวัง กล่าวหาว่ากฏหมายที่ปิด identity ของ convicted criminal นั้นคุ้มครองสิทธิของโจรมากกว่า innocent public ผลสุดท้ายก้มีกฏหมายออกมา ถูกเรียกเป็น Megan"s Law ตามชื่อเด็กคนนั้น ว่า convicted paedophile ที่ออกจากคุกต้อง registered กับสถานีตำรวจท้องถิ่น ต้องรายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่สังคม (Social service) ทุกเดือน ถูก ban ไม่ให้เข้าใกล้หรือทำงานที่เกี่ยวข้องกับเด็ก เช่น โรงเรียน สวนสาธารณะ ห้องสมุด (สงสัยว่าห้องสมุดถือเป็นแหล่งเด็กในไทยรึเปล่า!!!) แต่กฏหมายยังคง reluctant ที่จะเปิดเผยต่อชุมชนโดยตรง เพราะกลัวว่าทำอย่างนั้น paedophile จะไม่สามารถหาที่อยู่อาศัยได้เลย และถูก forced ลงใต้ดินทำให้ trace ยากยิ่งขึ้น

ย้อนกลับมากล่าว ถ้าเราจะรอให้ public ได้รับการศึกษาและรู้ว่าไม่ควรจะ discriminate จึงจะสมควรได้คุ้มครองโดยกฏหมาย มันก็จะเกินไปหน่อย พอๆกับหาดใหญ่ไม่สามารถใช้กฏหมายจราจรคุ้มครองได้ จนกว่าทุกคนจะเปิดไฟเลี้ยวเวลาออกจากวงเวียนเป็นนั่นแหละ

ยุคสมัยนี้ liberal left กำลังเปนที่นิยม คือการคุ้มครอง minority ซึ่งจริงๆแล้วเป็นเรื่องดี แต่เป็นดาบสองคม คนที่จะ exploit กฏต่างๆได้มักจะไม่ใช่ Innocent majority แต่เป็น convicted criminal และโชคไม่ดียิ่งขึ้นที่พอลงมาถึงการแยกแยะระหว่างประโยชน์ของตนเองกับผู้อื่นแล้ว "majority" trend นั้นอาจจะไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุด ตัวอย่างที่ยกมาเรื่องเป็นเอดส์แล้วไม่บอกคู่ครองเพื่อกันถูกทิ้งนั้นเห็นได้ง่ายที่สุด เป็นการเปรียบเทียบระหว่าง "ถูกทิ้ง" กับโอกาสที่อีกฝ่ายจะติดโรค FATAL



Posted by : Phoenix , Date : 2003-07-26 , Time : 22:30:34 , From IP : 172.29.3.237

ความคิดเห็นที่ : 7


   ทีนี้ว่ากันถึงเหตุผลฝ่ายผู้ป่วยเจ้าของความลับนั้นบ้าง

ภาวะหรือโรคที่เปนภัยอันตรยต่อผู้อื่นมากๆนั้น นำมาซึ่งความรังเกียจจากสังคมได้อย่างแน่นอน มากหรือน้อย หรือ generalized แค่ไหนขึ้นอยู่กับ media, information, and perception ของสาธารณะและสถานการณ์นั้นๆ โชคร้ายที่เรื่องข่าวร้ายทั้งหลายแหล่เป็นข่าวที่ "ขายได้" โอกาสที่สื่อจะไม่ "เล่นข่าว" (ตอนนี้คำที่ hot อยู่ในหน้าหนังสือพิมพ์ขณะนี้คือ sex-up ว่าถึงการที่รัฐบาลอังกฤษ sex up ข่าวสืบราชการลับว่าซัดดัมสามารถยิงขีปนาวุธถล่มได้ภายใน 45 นาทีเท่านั้น จงเป็นเหตุให้ต้องรีบบุก แต่ปรากฏว่าผู้เชี่ยวชาญอาวุธไม่เห็นด้วยกับรายงานฉบับนี้) ทำนองนี้รู้สึกจะยาก

ฉะนั้นประเด็นจึงอยู่ที่ว่ามีโอกาสสูงแค่ไหนที่เมื่อ "ข้อมูล" ถูกเปิดเผยต่อบุคคลอื่นแล้ว ผู้ป่วยเจ้าของเรื่องจะถูก discriminate และดีกรีของ discrimination นั้นรุนแรงแค่ไหน ถ้าเป็นโรคร้ายแรงที่ผู้ป่วยจะตายในเวลารวดเร็วอาจจะไม่เท่าไหร่ แต่ถ้าเป็นโรค chronic เช่น HIV หรือ Syphilis แบบนี้ ผู้ป่วยยังจะมีชีวิตต่อไปอีกนาน การถูก public discriminating ก็น่าจะเป็นทุกข์ทรมานที่สุดอย่างนึงได้เหมือนกัน

มันคงไม่มีดีกรีชัดเจนว่า suffering ของคนหนึ่งคนเมื่อไหร่จะ overrule suffering of two or three อันนี้ทำให้การออกกฏหมายมา support การเปิดเผยข้อมูลจำเป็นต้องมีการคิดหน้าคิดหลังคิดข้างๆคิดข้างล่างคิดข้างบนให้รอบคอบอย่างยิ่ง





Posted by : Phoenix , Date : 2003-07-28 , Time : 00:58:16 , From IP : 172.29.3.240

ความคิดเห็นที่ : 8


   แล้วมีคนคิดมั้ยล่ะครับ
หรือเมืองไทยต้องรอให้เมืองนอกคิดก่อนแล้วค่อยเอามาทำตาม


Posted by : ArLim , Date : 2003-07-28 , Time : 18:34:47 , From IP : dial-13.ras-2.ska.s.

ความคิดเห็นที่ : 9


   เห็นว่าการตรวจ HIV ต้องแจ้งผป.ทราบก่อนเจาะเป็นอย่างยิ่ง แต่มิใช่แค่บอกว่า "ขอเจาะเลือดตรวจเอดส์นะ" เนื่องจากประเด็นโรคเอดส์ไม่ใช่แค่เรื่องโรคทางคลีนิก แต่มีปัญหาทางสังคมตามมาอีกมากมาย WHO จึงกำหนดว่า ต้องมี "การให้การปรึกษา (HIV counseling)" ทั้งก่อนและหลังการตรวจ การให้การปรึกษา ไม่ใช่แค่บอกว่าต้องเจาะเลือด คิดว่าผป.ที่ผ่านกระบวนการมาแล้ว อย่างน้อยๆก้รู้ตัวเองดีว่ามีความเสี่ยงหรือไม่ มีโอกาสติดเชื้อหรือไม่ รู้จักและเข้าใจโรคมากขึ้น มีการเตรียมตัวเตรียมใจระดับหนึ่งที่จะรับรู้ผลการตรวจ ฯลฯ แน่นนอน ประการแรกเป็นสิทธิปกติของผู้ป่วยที่จะได้รับรู้ว่าตัวเองจะถูกทำอะไรบ้าง ประการต่อมาจะง่ายต่อการแจ้งผล เมื่อพบการติดเชื้อ การจัดการอื่นๆและการให้ความร่วมมือจากผป.ในการดูแลตนเอง ดูแลสังคม และเมื่อผ่านกระบวนการปรึกษาหลังการตรวจ ผป.ก็จะได้ร่วมคิดว่าถ้าติดเชื้อจะเกิดอะไรต่อไปบ้าง ควรทำอะไรบ้าง ไม่ใช่แค่รู้ว่าติดเชื้อ

ยังเชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่ สามารถพูดคุยกันได้ และให้ความเชื่อถือบุคคลากรทางการแพทย์อยู่ การใช้ท่าทีที่สุภาพ คำพูดที่ฟังง่าย ช่วยให้อะไรต่ออะไรดีขึ้นได้ไม่ยาก เท่าที่มีประสบการณ์ แม้จะวัดไม่ได้ว่าผป.ที่มารับบริการแคร์ตัวอเง ครอบครัว สังคม แค่ไหน แต่ส่วนใหญ่ก็ให้บอกคู่ อาจจะจำใจ แต่ก็ให้บอกเพราะยอมรับว่าสำคัญ จริงอยู่สังคมไทยยังมีปัญหาทัศฯคติที่ผิดๆอยู่สูง การแก้ไขตรงนั้นคงไม่ง่าย แม้แต่หมอ พยาบาลก็ยังกลัวจนไร้เหตุเลย การแก้ปัญหาเฉพาะหน้านั้น สิ่งสำคัญคือทำอย่างไรให้คนที่รู้ว่าติดเชื้อยอมรับและตระหนักในการไม่แพร่เชื้อต่อ น่าจะมีประโยชน์ไม่น้อย ตรงนี้แหละที่เราคิดว่า บุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องสามารถทำได้ และการที่ผป.รู้ว่าเขาติดเชื้อเท่านั้น เราจึงจะทำหน้าที่ได้จริงมั้ย

ส่วนทางด้าน กม.นั้น เคยคุยกับอัยการ เขาบอกว่า กม.จำต้องเขียนไว้กว้างๆ แต่โดยนัยยะทาง กม.แพทย์สามารถบอกคู่ผป.ได้ แม้ ผป.ไม่ยอม เพราะจะเกิดผลเสียหายรุนแรงต่อคู่ ต่อสู้ในศาลก็ชนะ เขาว่างั้น แต่เราว่า ประเด็นนี้ การฟ้องร้องในบ้านเราคงอีกนาน...

เราคิดว่าเอาใจเขามาใส่ใจเรานะ ลองคิดว่าตัวเองเป็นผป.ดู อยากให้แพทย์ทำอย่างไร


Posted by : ผู้ให้บริการคนหนึ่ง , E-mail : (lekpsu@yahoo.com) ,
Date : 2003-08-01 , Time : 15:33:55 , From IP : 172.29.3.136


ความคิดเห็นที่ : 10


   ที่เสนอไม่ได้ให้แอบเจาะครับ ทุกรายควรจะแจ้งให้ทราบ ประเด็นอยู่ที่ผู้ป่วยมีสิทธิ์ "ไม่ให้ตรวจ HIV" แต่สามารถเจาะจงว่าแพทย์ควรจะตรวจแค่ไหนหรือไม่

กรณีที่พูดจากันรู้เรื่องนั้นไม่ว่าทำอะไรก็คงจะไม่มีปัญหา ปัญหาที่จะเกิดในประเด็นนี้คือ conflect of individual"s right กับ safety of others or public รวมทั้งบริบทในการกำหนด guideline of treatment ของแพทย์ ถ้าให้ exaggerate เช่นไม่ยอมให้ X-ray ปอดก่อนผ่าตัดเพราะกลัวเพิ่ม risk ในการ exposure to radiation หรือแม่ที่ตั้งครรภ์ไม่ยอมให้ตรวจ STD ต่างๆโดยไม่คำนึงถึงการป้องกันหรือความปลอดภัยของเด็ก concerned only personal"s secret



Posted by : Phoenix , Date : 2003-08-02 , Time : 00:21:56 , From IP : 172.29.3.217

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.005 seconds. <<<<<