ความคิดเห็นทั้งหมด : 53

Debate XCII: New paradigm of Health Care


   ช่วงเวลาที่ผ่านมาได้รับฟังบรรยายและอภิปรายจากอาจารย์อาวุโสและไม่อาวุโสหลายท่านในประเด็นเรื่อง "กระบวนทัศน์ใหม่" (New Paradigm) ของระบบสาธารณสุข รู้สึกน่าสนใจ อยากจะนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
(ขโมยมาจาก อ.ประเวศ บ้าง อ.โกมาตรบ้าง อ.สิวลี บ้าง แต่ผู้เรียบเรียงขอรับผิดเพียจงผู้เดียว ความดีเป้นของเจ้าของความคิด)

แต่เดิมสาธารณสุขไทยตั้งกระบวนทัศน์คือ Modernized Health Care และการกระจายบริการให้ทั่วถึง เป็นอย่างนี้มาหลายสิบปี คำว่า modernized ไม่ได้หมายความเพียงแต่แพทย์แผนปัจจุบัน แต่หมายถึงการนำเอาหลักฐานเชิงประจักษ์ การตรวจสอบเชิงวิจัย เชิงการศึกษา และการทบทวนองค์ความรู้ ของทั้งเก่าและใหม่ให้ได้มีประสิทธิภาพดีที่สุด การณ์ก็เป็นไปด้วยดี แต่ปรากฏว่า modernized นั้น มันเป็น package ที่จะเลือกแต่อย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ มันมี "ของพ่วง" ตามมา ในที่นี้ก็คือวิทยาการการแพทย์แผนใหม่นั้น จะต้องใช้วิทยาการเทคโนโลยีด้านอื่นๆประกอบด้วย และเป็นสัดส่วนที่มากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป้นด้านวิศวกรรม คอมพิวเตอร์ ชีววิทยา อณูวิทยา รวมถึงอีกด้านนึงที่เราไม่ได้ anticipate มาก่อนคือ Marketing, Globalization, New Economy ที่กลายเป็นแรงผลักของเกือบจะทุกสิ่งทุกอย่างในขณะนี้

วิทยการความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีนั้นดีแน่ ช่วยให้อะไรต่อมิอะไรง่ายขึ้น เร็วขึ้น สัดส่วน output:input สูงขึ้น แต่พอมาประสานกับ marketing, globoalization, new economy มันเริ่มมีคำ ugly terms หลายๆคำที่เคยอยู่แต่วงนอกการสาธารณสุขเข้ามา เช่น customer, competition, rivalry คำต่างๆเหล่านี้มันน่าเกลียดอย่างไร? มันเป็น anti-thesis ของปรัชญาที่เป้นจิตวิญญาณของวิชาชีพของเรา มันจึงน่าเกลียด การสาธารณสุขเมื่อถูกทำเป็น profitable หรือ trading มันก็ไม่ใช่ professionalism อีกต่อไป

ดังนั้นจึงเกิดแรงผลักดัน กระบวนทัศน์ใหม่ (New paradigm) ขึ้นมาสวมรอยสานตะเข็บต่อจากกระบวนทัศน์เดิม อ.ประเวศ ตั้งชื่อว่า Humanized Health Care หรือ ระบบบริการสุขภาพที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์ ที่เราควรจะรีบช่วยกันสร้างขึ้น เพราะประโยชน์หลายอย่างได้แก่ คุณภาพการบริการจะสูงขึ้น ค่าใช้จ่ายจะลดลง และการฟ้องร้องแพทย์จะไม่เกิดขึ้น

บอกว่าเป้นของใหม่ แต่จริงๆแล้วเป็นการตั้งสมาธิจุดสนใจให้ลึกซึ้งมากขึ้น ในพระราชดำรัสของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร์ อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกที่ว่า "I not only want you to be a doctor, but I also want you to be a man" พระราชบิดาแห่งวงการแพทย์เรา ได้ทรงมีพระเมตตาตักเตือนล่วงหน้ามานานแล้วว่าจะเป็นหมอ เป็นพยาบาล อยู่ในวงการวิชาชีพสุขภาพ เราต้องเป็นมนุษย์ที่เข้าใจในชีวิตด้วย จึงจะทำงานนี้ได้

อ.หมอโกมาตร ผู้อำนวยการสำนักวิจัยสังคมและสุขภาพเขียนหนังสือออกมาเล่มหนึ่งชื่อ งานคือความดี ที่หล่อเลี้ยงชีวิต เอาไว้เป็นที่ยึดเหนี่ยว เพราะเดิมมีคติพจน์ของคนทั่วๆไปว่า "งานคือเงิน เงินคืองาน บันดาลสุข" กระบวนทัศน์ การมอง "งาน" ของคนก้ถูกปรับเป็นมองเงิน การมองหาความสุขก็คือการมองหา "เงิน" ไปซะ เกิดในคนทั่วๆไปอาจจะยังไม่เท่าไร แต่เกิดขึ้นในวงการแพทย์ วงการบริการสุขภาพ มันมีผลร้ายอย่างมากมายเกินจินตนาการ

โจทย์ ก็คือ "อะไรที่เรียกว่า ระบบบริการสุขภาพที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์" แล้วจะต้องทำอย่างไรบ้างจึงจะเกิด จำเป็นแค่ไหน ต้องรับแค่ไหน

จึงเรียนมาเพื่อเรียกร้องให้สมาชิกกระดานข่าว ชุมชนที่นับถือช่วยกรุณาร่วมออกความเห็นครับ

Be Mature, Be Positive, and Be Civilized



Posted by : Phoenix , Date : 2006-03-19 , Time : 18:27:07 , From IP : 58.147.119.161

ความคิดเห็นที่ : 1


   ทำนองเดียวกับ "ทำไมจึงไม่ชอบ ฉ.ฉิ่ง แทนที่จะไม่ชอบ ว.แหวน

อาจารย์จะทำอย่างไรบ้างเพื่อให้นักเรียนแพทย์ มีความเมตตากรุณา ต่อ ผู้ป่วย
จำเป็นแค่ไหนที่ต้อง "สอน" ให้นักเรียนแพทย์มีความเมตตากรุณาต่อ ผู้ป่วย

ด้วยความเคารพนะคะ หนูไม่ได้ตั้งใจจะกวนตั้งแต่เปิดกระดาน แต่ด้วย database ที่กำลังตีกันวุ่นวายและยังไม่ตกตะกอนดีนักในสมองของหนูในเวลานี้น่ะค่ะ


Posted by : Lucifer , Date : 2006-03-19 , Time : 23:26:03 , From IP : 172.29.4.152

ความคิดเห็นที่ : 2


   แล้วนักเรียนมีหรืออยากจะมีความเมตตาต่อผู้ป่วยหรือไม่ล่ะครับ?



Posted by : Phoenix , Date : 2006-03-20 , Time : 00:54:32 , From IP : 58.147.119.161

ความคิดเห็นที่ : 3


   เมื่อน่าจะนานมาแล้ว หนูเคยพยายามทำความเข้าใจประโยคที่ว่า “จงเรียนรู้อดีต เพื่อจะเข้าใจปัจจุบันและทำนายอนาคต” ก็ลองแล้วบ่อยครั้งที่พบว่า เป็นจริงดังนั้น และเห็นด้วยอย่างไม่มีข้อโต้แย้งสำหรับคำกล่าวที่ว่า “เป็นความเข้าใจผิดอย่างแรงที่คิดว่าการแพทย์นั้นเป็น hard science เพราะจริงๆแล้วการแพทย์เป็น social science ไม่น้อยกว่า 50% ทีเดียว”

หนูกำลังศึกษาเพื่อตอบคำถามที่สรุปเองในทัศนะส่วนตัวว่า สิ่งที่กำลังทำอยู่นี้คือ “วิธีการ “สอน” ให้นักศึกษาแพทย์มีความเมตตากรุณา” จากการ review literature พบว่าประเด็นที่ “เรา” ต้องการคำตอบนั้นมีส่วนซ้อนทับกันอยู่มาก เรื่องที่ว่าเป็นสิ่งที่ “จำเป็น” ต้องสอนหรือ? ทั้งที่เราก็รู้ๆกันอยู่แล้วด้วย common sense อาจจะได้คำตอบในการอภิปรายและการศึกษาครั้งนี้

ส่วนที่ว่า "อยาก" หรือไม่ อาจจะเป็นประเด็นที่ไม่จำเป็นต้อง.... ค่ะ


Posted by : Lucifer , Date : 2006-03-20 , Time : 01:03:31 , From IP : 172.29.4.152

ความคิดเห็นที่ : 4


   แล้วคำตอบของคำถามที่ถามมาคืออย่างไรบ้าง?



Posted by : Phoenix , Date : 2006-03-20 , Time : 01:22:57 , From IP : 58.147.119.161

ความคิดเห็นที่ : 5


   มันก็มีสิ่งที่จำเป็นต้อง "เข้าใจ" อยู่หลายเรื่องค่ะ ส่วนมากก็เกี่ยวกับพวก social science แทบจะทั้งหมดเช่น "เมื่อ free market demodracy มันกะจะรับประทานคนทั้งโลกนี่" มันไม่ได้เพิ่งจะอยากรับค่ะ คือมันกะมาตั้งแต่ 4-5 ชั่วคนก่อนที่จะมีเราแล้ว ทั้งศาสตร์และศิลป์แขนงใดๆในโลกมันก็เกี่ยวกันอย่างไม่น่าเชื่อ เพื่อจะตอบคำถามที่ว่า ทำไม เพราะ เพื่อ หรือ อย่างไร ใน "เมตตา และ กรุณา" เราต้องเข้าใจทั้งประวัติศาสตร์ ระบบการเมือง การปกครอง ระบบเศรษฐกิจ มานุษยวิทยา ระบาดวิทยา สังคม ประเพณี วัฒนธรรม ภาษาศาสตร์ ฯลฯ !!?!!? ^ ^"

นี่คือที่มาของความวุ่นวายที่หนูยังจัดโครงสร้างจัดหมวดหมู่ไม่ได้เสียที ลำพัง..เข้าใจ..ยังไม่รู้จะใช้เวลาเท่าไรเลย แล้วชั่วชีวิตหนูจะมีโอกาสได้ "เมตตา หรือ กรุณา" ใครหรือเปล่าก็ไม่รู้ ลำพัง "อยาก" อย่างเดียวอาจจะไม่ค่อยช่วยแล้วล่ะค่ะ


Posted by : Lucifer , Date : 2006-03-20 , Time : 01:49:06 , From IP : 172.29.4.152

ความคิดเห็นที่ : 6


   "ทำไม?" จะเมตตาใครสักคน ต้องจบปริญญา social science มาก่อน หรือทำวิทยานิพนธ์สังคมศาสตร์สำเร็จก่อนหรือ? จึงใช้คำว่า "จำเป็นต้องเข้าใจ"

ผมนึกว่านักศึกษาแพทย์เข้ามาเรียนแพทย์นั้น มีเมตตา กรุณาผู้ป่วยอยู่เป็นทุน ตรงนี้ ทำให้สนใจในสังคมศาสตร์เพิ่มเติม ไม่ใช่กลับกันคือศึกษาสังคมศาสตร์เพื่อให้เกิดความเมตตากรุณา

ถ้าเราได้รับความเอ็นดู เลี้ยงดูจากพ่อแม่ผู้ปกครอง เราจะรู้สึกกตัญญูรู้คุณ อยากจะทำอย่างนั้นต่อๆไปให้คนอื่นหรือไม่? และที่บุพการีเหล่านี้มีเมตตากรุณาต่อเรา เป็นเพราะ" ท่านศึกษาสังคมศาสตร์ หรือเพราะอะไร?

คุณเข้าใจว่า "อะไร" คือประโยชน์ของการศึกษาสังคมศาสตร์สำหรับแพทย์ครับ? ทำไมผมถึงเคยบอกว่าแพทยศาสตร์อาจจะนับเป็นสังคมศาสตร์ซะกว่า 50%?





Posted by : Phoenix , Date : 2006-03-20 , Time : 02:16:53 , From IP : 58.147.119.161

ความคิดเห็นที่ : 7


   "ทำไม?" จะเมตตาใครสักคน ต้องจบปริญญา social science มาก่อน หรือทำวิทยานิพนธ์สังคมศาสตร์สำเร็จก่อนหรือ? จึงใช้คำว่า "จำเป็นต้องเข้าใจ"

การจะเมตตาใครสักคน "จำเป็นต้องเข้าใจ" ค่ะ

ส่วนความจำเป็นต้องจบปริญญา social science หรือทำวิทยานิพนธ์สังคมศาสตร์ให้สำเร็จก่อนหรือไม่จึงจะเข้าใจ หนูไม่แน่ใจค่ะ ถ้าอ้างจากสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขาของอาจารย์ประเวศ องค์ความรู้จะมีผลต่อเจตคติซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในที่สุด แต่จำเป็นถึงขนาดต้องจบปริญญา social science หรือไม่ ก็...น่าจะไม่... เพราะเราเพียงแต่เข้าใจเพื่อจะใช้เป็นเครื่องมือ ไม่ได้เข้าใจเพื่อจะเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านสังคมศาสตร์เท่านั้น นอกจากกระบวนทัศน์ใหม่ที่อาจารย์ประเวศตั้งชื่อว่า Humanized Health Care ก็ยังมี กระบวนทัศน์แบบบูรณาการที่บอกว่า สุขภาพคือดุลยภาพที่เกิดจากความเชื่อมโยงของกาย จิต สังคม และปัญญา(เว้นการอภิปรายเรื่องปัญญา กับ spiritual ไว้ก่อนนะคะ) จึงเห็นได้ว่า การเข้าใจสังคมเป็น "ส่วนหนึ่ง" ใน 4 ที่ยังมี 3 ส่วนที่เหลือที่ตัองเข้าใจอีก
"ความเชี่ยวชาญเฉพาะส่วนจึงไม่สามารถดำรงดุลยภาพได้"

การที่ "นักศึกษาแพทย์เข้ามาเรียนแพทย์นั้น มีเมตตา กรุณาผู้ป่วยอยู่เป็นทุน ตรงนี้ ทำให้สนใจในสังคมศาสตร์เพิ่มเติม" อาจารย์แน่ใจหรือคะ?

ไม่เพียงแต่นักเรียนแพทย์ในบ้านเราหรอกค่ะ ที่มีความโน้มเอียงจะคิดและให้คุณค่ากับเหตุและผลทางวิทยาศาสตร์มากกว่าคุณค่าทางสังคม นักเรียนแพทย์ชาติตะวันตกเค้าก็มีลักษณะคล้ายกัน(หรือจะเป็นเราที่คล้ายเขา?)จึงเกิดปัญหาเนื่องมาจากการปฏิเสธความรู้ความเข้าใจทางสังคมศาสตร์ เห็นว่าเป็นเรื่องไร้สาระ เสียเวลาที่จะศึกษา อะไรทำนองนั้น อาจจะเป็นเพราะ วิทยาศาสตร์มักจะเป็นเหตุเป็นผล เป็นความจริงที่พิสูจน์ บันทึก และนำกลับมาทำซ้ำได้ผลเที่ยงและตรง "กว่า" เมื่อเทียบกับ "องค์ความรู้ทางสังคมซึ่งจะเปลี่ยนไปตามบริบทของแต่ละยุคแต่ละสมัย" (หนูไม่แน่ใจเลยค่ะที่จะสรุปอย่างนี้) ดังนั้นความสนใจที่จะศึกษาสังคมศาสตร์เพิ่มเติมจึงมีโอกาสที่จะเกิดขึ้น น้อยกว่าที่น่าจะ ด้วยเหตุผลนี้ค่ะ

ในทางกลับกันคือศึกษาสังคมศาสตร์เพื่อให้เกิดความเมตตากรุณา ดูจะมีโอกาสเป็นไปได้มากกว่าด้วยแนวคิดสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขาดังที่กล่าวมา

ถ้าเราได้รับความเอ็นดู เลี้ยงดูจากพ่อแม่ผู้ปกครอง เราจะรู้สึกกตัญญูรู้คุณ อยากจะทำอย่างนั้นต่อๆไปให้คนอื่นหรือไม่?

ถ้าเป็นความเห็นส่วนตัว จะตอบว่า "ใช่" อย่างแน่นอนที่สุดค่ะ แต่คนอื่นก็คงให้ความเห็นแทนไม่ได้ เพราะในบริบทของความเอ็นดู และการเลี้ยงดูที่อาจจะทำให้เกิดการ "ตีความ" ต่างกัน
ความจำเป็นของการ "เข้าใจตนเอง" เป็นอีกประเด็นที่จำเป็นต้องรู้ เพื่อที่จะ "เข้าใจผู้อื่น" บทความของ Brenda Beagan (assistant professor in medical sociology) ว่าไว้อย่างนั้นค่ะ ในรายละเอียดก็คือ เราไม่ค่อยตระหนักถึงความเป็นตัวตนของเรา บริบทของเรา เนื่องเพราะเรามักจะเป็น "คนส่วนใหญ่" จึงไม่ค่อยจะรู้สึกถึง "ความแตกต่าง" ในขณะที่ยังมีคนส่วนน้อยซึ่งต่างจากเราอยู่ โดยที่เราไม่รับรู้ถึงความต่างนั้น ก็เพราะเราไม่รู้จักตำแหน่งแห่งที่ที่ของตัวเอง เราก็เลยไม่รู้ว่า ความแตกต่างเป็นอย่างไร

เมื่อ technology ก้าวหน้าไปกว่านี้ วันหนึ่งอาจารย์อาจจะสอนเด็ก ??? กี่ขวบนะคะ ให้รักษา Pneumonia ได้เพียงแค่การมี pocket PC อยู่ในมือ

เท่านี้ก่อนนะคะ ดึกเกินไป สติชักจะไม่เต็ม

(อันนี้เตือนตัวเองค่ะ....ต่อเรื่อง ตัวแบบกับการส่งผ่านทางวัฒนธรรม)


Posted by : Lucifer , Date : 2006-03-20 , Time : 03:54:55 , From IP : 172.29.4.152

ความคิดเห็นที่ : 8


   ผมคิดแตกต่างออกไป

ผมไม่คิดว่าความเมตตาเป็นตรรกะ แต่เป็น "ความรู้สึก" สองส่วนนี้ใช้สมองคนละ area กัน ตรรกะนั้นใช้ frontal lobe แต่ส่วนความรู้สึกนั้นใช้ hippocampus และ amygdala

เมื่อเราเห็นสุนัขข้างถนนเดินกะผลกกะเผลก หิวโซ เรามีเศษข้างเหลืออยู่ก็เอาให้มันไป เป็นกระบวนการที่ simple และเกือบจะเหมือน reflex จำเป็นหรือไม่ที่เราต้องพิจารณาก่อนว่า เอ... หมาตัวนี้อยู่ใน criteria ที่จะถูกเมตตาหรือไม่ มีใครกำลังดูเพื่อชื่นชมเรากี่คนถ้าเราจะเอาอาหารไปให้หมา เอาไปให้แล้วเราจะทำอะไรต่อกับหมาตัวนี้ จะเอาไปเลี้ยง หรือแจ้งเทศบาลดี การเอาอาหารให้หมาอยู่ใน category ความเมตตารึเปล่า ฯลฯ ผมไม่คิดด้วยว่าที่พ่อแม่ครูบาอาจารย์ "เมตตา" ลูกหรือลูกศิษย์เป็นกระบวนการผ่าน "ความเข้าใจ" แต่อยู่ใน instinct หรือจิตสำนึกสามัญธรรมดาของความเป็นมนุษย์

แม้แต่คนปัญญาอ่อน ก็ยังมีเมตตาต่อลูกตนเองได้ แม้แต่สัตว์เดรัจฉานก็มีเมตตาต่อลูกมันเองได้

Emotion เป็น powerful motivation เพราะกิจกรรมที่เราทำอยู่ทุกวี่วันนี้ ประมาณ 96% เป็น emotion ไม่ใช่ส่วนตรรกะ หรือ guideline ถ้าเรา shift เมตตาไปอยู่ส่วนตรรกะ ผมเกรงว่านั่นจะเป็นเมตตาหลอกๆ เหมือนมีกฏหมายมาสั่งให้ประชาชนมีเมตตากรุณา มันไม่มีทางจะ work ได้

นักศึกษามาเรียนแพทย์เพราะอะไรบ้างนั้น ผมไม่ทราบ แต่มีสิทธิ์ "คาดหวัง" ได้ ใครตั้งแต่เกิดมาไม่เคยมีเมตตากรุณาหรือถูกเมตตากรุณามาเลยนั้น จะหวังเข้ามาเรียน "วิธี" เมตตากรุณาตอนนี้ คงจะเป็นภาระมากพอสมควรต่อทั้งผู้เรียนและผู้สอน เหมือนกับที่มีคน assess ไว้แหละครับว่า มีประสบการณ์ไปวัดมามากมายหลายครั้ง ไม่ได้รู้สึกพัฒนาอะไรมาเลย ไปอีกกี่ครั้งๆก็คงอีหรอบเดิม เป็นเพราะ "บุคลิก" หลายๆส่วนมันได้ formed มาเรียบร้อยแล้วก่อนจะเข้าอุดมศึกษา ยิ่งสามารถตั้งแง่ ตั้งอุปสรรคว่า "ต้องเข้าใจก่อน" หรือ "ขอเรียนก่อน" จึงจะทำใจให้มีเมตตากรุณาต่อคนไข้ได้ ผมว่าอาจจะทุกข์ในการปรับตัวพอสมควร

ความเมตตากรุณานั้นเป็น "ต้นทุน" ครับ ขอให้มี ขอให้ฝึกไว้ "อีกหน่อย" ที่เราหว่านมันจะเกิดงอกงามขึ้นมาเอง ไม่ต้องไป artificially สร้างหรือเสแสร้งว่ามี หรืออ้างว่าไม่เข้าใจจึงไม่ทำ ไม่ปฏิบัติ ความเมตตานั้นถูก install มาให้อยู่ genetics แล้ว ไม่งั้นสัตว์ไม่มาประคบประหงมดูแลลูกที่เกิดใหม่ เมตตาไม่ใช่ศาสตร์ใหม่ที่พึ่งค้นพบในศตวรรษนี้ ที่จะทำให้คนมาตื่นเต้นว่ามีวิชานี้ด้วยหรือ ที่จะทำให้คนมาตื่นเต้นว่า อืม... เราไม่เคยพบประสบการณ์อันนี้มาก่อนเลย ขอมาเรียนวิชาเมตตาตอนจบม.6 มาเรียนตอนอยู่อุดมศึกษา

ถ้าเป็นเช่นนั้น ยุค humanized health care คงจะอยู่อีกไกลหลายชั่วอายุคน



Posted by : Phoenix , Date : 2006-03-20 , Time : 09:01:16 , From IP : 172.29.3.244

ความคิดเห็นที่ : 9


   จำเป็นด้วยหรือที่ marketing, globalization, new economy ต้องมากับความเป็น modernization

เข้าใจว่าในช่วง 7 ปีมานี้ ทางคณะก็เปลี่ยนหลักสูตรให้มีความ modern ด้วยการใช้ระบบ PBL และสอนให้มี evidence-based practice เป็น และแพทย์ที่จบออกไป ก็สามารถนำติดตัวไปใช้ได้ทุกสถานที่และเวลา ไม่ว่าจะอยู่รพ.หนองหมาว้อ หรือ รพ.ขนาด 10 เตียงที่ไหนๆก็ตาม

ugly term อย่างที่อาจารย์ว่า ผมเห็นว่ามันมากับ globalization
คนไข้ต่างต้องการการปฏิบติจากหมอที่มีคุณภาพ และสิ่งที่คิดว่าทำให้ตัวเขาเองปลอดภัย อาจจะมาจากความไม่เชื่อใจ เชื่อถือหมอที่รักษา ข่าวสารข่าวลือที่ประดังประเดเข้ามาทางสื่อต่างๆมากมาย
หมอในปัจจุบันจึงต้องทำการ ตรวจสอบคุณภาพการให้[b]บริการ[/b] ส่ง investigate อย่างไม่จำเป็นตามที่คนไข้ต้องการ หรือทำ marketing เพื่อให้คนไข้รู้สึกเชื่อถือรพ.มากขึ้น

New paradigm อย่าง humanization health care ก็คงเป็นสิ่งที่ถูกยกขึ้นมา (ทั้งที่เคยมี เคยเป็นมาแล้วในอดีต) เพื่อแก้ปัญหานี้

. . .

โจทย์ ก็คือ "อะไรที่เรียกว่า ระบบบริการสุขภาพที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์" แล้วจะต้องทำอย่างไรบ้างจึงจะเกิด จำเป็นแค่ไหน ต้องรับแค่ไหน

ปกติ เมื่อหมอรักษาคนไข้ มี doctor-patient contact ความเป็นมนุษย์ก็ยังคงอยู๋ในตัวหมอ
แต่เมื่อมีคำว่า "ระบบบริการ" ด้วยความที่เป็นระบบ ซึ่งผมเข้าใจว่าหมายถึง การบริหารจัดการ รูปแบบแผนที่เป็นมาตรฐาน (system & process ?)
อันนี้ก็เหมือนมองลงจากที่สูง ความเป็นมนุษย์ ก็มองไม่ค่อยเห็นแล้ว เห็นแต่ จำนวนผู้รับบริการ ความเสี่ยง การฟ้องร้องที่เกิด ต้นทุน รายได้ ฯลฯ
เมื่อหมอทำงาน ก็จะถูกความเป็นระบบวางกรอบเอาไว้
เป้าหมายของระบบ อาจจะเป็น ... การรับรองมาตรฐานการบริการ, การรักษาที่ดีที่สุด, คนไข้ได้รับการรักษาอย่างทั่วถึงอย่างเท่าเทียม, หรือ การประกันรายได้ของรพ. ฯลฯ

จะใส่หัวใจความเป็นมนุษย์ให้กับระบบ ... ก็อาจต้องตั้งเป้าหมายการทำงานสูงสุดใหม่ เรื่องอื่นๆเป็นเรื่องรอง

ผมก็ยังนึกภาพไม่ออกในตอนนี้

ตอนนี้ผมนึกออกแต่ว่า หมอที่จะรักษาคนไข้ด้วยความเมตตา เข้าใจในชีวิตคนไข้ ... และต้องปรับให้เข้ากับระบบ 30 บาท เอ๊ย.. ระบบบริการที่เป็นอยู่
ก็ต้องมีความอดทน ความยืดหยุ่น และความมองโลกในแง่ดี เป็นส่วนประกอบสำคัญ
เพราะหมอก็มีหัวใจเช่นกัน

. . .

เขียนมา ก็ชักงงเล็กน้อย

แล้วระบบบริการสุขภาพในตอนนี้ ไม่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์ตรงไหนหรือครับ (หากตัดพวก ugly termทั้งหลายแหล่นั้นออกไปแล้วนะครับ)

ช่วยยกตัวอย่างหน่อยได้ไหม


Posted by : ArLim , Date : 2006-03-20 , Time : 11:18:44 , From IP : 203.113.16.250

ความคิดเห็นที่ : 10


   คำศักดิ์สิทธิ์หนี่งของ "ระบบบริหารธุรกิจ" ที่มีคนนำมาดัดแปลงใช้กันเยอะของ Kaplan & Norton (เจ้าของระบบ Balanced Scorecard) คือ

"What cannot be defined, cannot be measured; what cannot be measured cannot be improved, and what cannot be improved will eventually deteriorate." Quality axiom

ปัญหา อยู่ที่ของบางอย่างมันเป็นของที่ defined ยาก ดังนั้นวัดยาก จาก axiom ข้างบนพลอยทำให้กระบวนจะ improve มันยิ่งยากหรือออกแบบยากไปตามๆกัน ทีนี้การแก้ปัญหา "ความยาก" ของแต่ละองค์กรมันไม่เหมือนกัน ถ้าแก้ปัญหาความยากโดยการไม่ไปสนใจมัน หรือหาอะไรมาวัดแทน (surrogate or proxy measurement parameter) แต่วัดได้ไม่ดี ไม่ตรง ไม่สะท้อน สิ่งที่ตามๆกันมา ไม่ว่าจะเป็นผลการประเมิน หรือแผนการพัฒนา มันก็จะเบี่ยงเบนไปตามดีกรีของความไม่ตรง ยิ่งถ้าบางครั้งการวัดคุณภาพมันเกิดสวนทางกับของที่เป็นปริมาณ แล้วไปให้น้ำหนักของปริมาณซะเยอะกว่า เพราะมันวัดง่ายกว่า ควบคุมง่ายกว่า มันจะยิ่งไปกันใหญ่

ยกตัวอย่างง่ายสุด ปริมาณผู้ป่วยที่มาที่ OPD ที่ถูกสั่งยา สัมพันธ์โดยตรงกับ profit ของโรงพยาบาล ซึ่ง account for majority of income ขององค์กร มีคนไข้มาเยอะก็น่าจะดี วัดง่าย และแม่นยำ แต่จำนวนที่มาตรวจกับเวลาที่คนไข้ "แต่ละ" คนเจอหมอ คุยกับหมอ ทำความเข้าใจ สร้างความสัมพันธ์ สร้าง doctor-patient relationship ที่จะเข้าใจถึง "องค์รวม" แห่งคุณภาพชีวิตก็จะผกผันกับจำนวนที่ตรวจได้อย่างแน่นอน หลีกเลี่ยงไม่ได้ ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขบอกว่าเวลาเฉลี่ยแพทย์พบผู้ป่วยในอเมริกาคือ 20 นาที ในอังกฤษคือ 15 นาที ส่วนในไทยคือ 5 นาที ก็เป็นข้อมูลที่น่าสนใจที่จะนำมาวัด มาวางแผน

ในมุมมองของคนไข้แต่ละคนนั้น โรงพยาบาลจะตรวจได้ยอดกี่คนต่อวัน คงจะไม่กระทบต่อความสนใจเท่าไรนัก แต่หลังจากที่รอตรวจอยู่ 2-3 ชั่วโมง แล้วจะได้อยู่กับหมอกี่นาทีน่าจะมีน้ำหนักพอประมาณ การประเมินความพึงพอใจในคนไทยนั้นต้องออกแบบดีๆ เพราะคนไทยเป็นคนขี้เกรงใจ ถามว่าบริการดีรึเปล่ามักจะได้ว่าดี อาจจะต้องหลอกล่อถามว่าอยากจะตรวจกับหมอสักกี่นาทีจึงจะคุยเรื่องที่อยากคุยได้ทั้งหมด แล้วเราค่อยนำมาเปรียบเทียบกับเวลาจริงที่เกิดขึ้น อาจจะเห็น gap ที่ชัดเจนระหว่าง "ความต้องการ" กับ "ข้อเท็จจริง" ได้ดีกว่าการถาม verdict ให้เขาตัดสินฟันธงว่าดีหรือไม่ดี เราค่อยไป scale ว่า ideal timing ที่ผป.อยากอยูกับแพทย์ ห่างจาก reality เป็น category เช่น อยู่นานกว่าคาดหวัง ได้ไปเลยเต็มสิบ อยู่เท่าคาดหวัง 8 คะแนน น้อยกว่าคาดหวัง 6 คะแนน 4 คะแนน 2 หรือ 0 คะแนนลงมา

การฟ้องร้องที่ติดค้างอยู่ในแพทยสภาปัจจุบันนี้เกือบร้อยเปอร์เซนต์มีส่วนของ communication failure แทรกเป็นยาดำเสมอ จะ communicate ได้นั้นต้องมี "เวลา" ต้องมี "บริบท" ต้องมีผู้สื่อและผู้ถูกสื่อและวิธีสื่อ มีเจตคติ มีเจตนาที่จะสื่อ มีความเมตตากรุณาที่จะสื่อ มีความเมตตากรุณาที่จะตั้งใจ "ฟัง"

ส่วน "นิยาม" หรือคำจำกัดความของการบริการสุขภาพที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์นั้น ถ้าจะให้ดี ถ้าจะให้ใช้ได้ น่าจะออกมาจากคนให้บริการเองส่วนหนึ่ง ดีไหมครับ ดีกว่ามีนิยามจากเบื้องบน จากไหนๆ เพราะเราเองก็เป็นมนุษย์ เพียงแต่อาจจะลืมไปเป็นครั้งคราวว่าเรานั้นเป็นแค่แพทย์อย่างเดียว



Posted by : Phoenix , Date : 2006-03-20 , Time : 11:57:37 , From IP : 172.29.3.244

ความคิดเห็นที่ : 11


   ขอแจมด้วยคนค่ะ
ปัจจุบัน สถานการณ์เปลี่ยนไป การแพทย์ปัจจะบัน เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด ก็ต้องอาศัยการบริหารจัดการ ทุกๆอย่างให้ดีขึ้น ต้อง management ทั้งในเรื่องๆ เงิน กำลังคน ทำให้คิดว่าจะต้องอาศัยระบบเกี่ยวกับ margeting เศรษฐศาสตร์ มาเกี่ยวข้อง โดยส่วนตัวคิดว่าไม่ผิดที่จะมีเรื่องนี้มาเกี่ยว เพียงแต่ว่าจะต้องอยู่ภายใต้หลักของมนุษยธรรม เนื่องจาก การสาธารณสุข เป็นอะไรที่เกี่ยวข้องกับ ชีวิต ซึ่ง คุณภาพชีวิต สุขภาวะอนามัยที่ดี นั้นไม่สามารถเปรียบเทียบกับเงินทองได้

โจทย์ที่ว่า "อะไรที่เรียกว่า ระบบบริการสุขภาพที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์"
แล้วจะต้องทำอย่างไรบ้างจึงจะเกิด จำเป็นแค่ไหน ต้องรับแค่ไหน

Humanized Health Care หรือ ระบบบริการสุขภาพที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์ หนูคิดว่า ในส่วนตรงนี้ มีอยู่รากฝังลึกอยู่ในระบบ สาธารณสุขของไทยมานานแล้ว เพียงแต่ไม่มีการแสดงออกเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน แต่ถ้าดูจากผลจริงๆ ส่วนใหญ่ก็จะเห็นได้ชัดจาก Communication skill เป็นอย่างแรก เพราะ ในส่วนของความคิดเบื้องลึกของแต่ละคน ซึ่งผ่านครอบครัวอบรมกันมาแตกต่างกัน แต่ สิ่งที่ ผู้ป่วย ได้รับจริงๆ ก็ต้องผ่าน Communication skill ของแต่ละคนต่อๆไป

ส่วนคำว่า หัวใจของความเป็นมนุษย์ จริงๆแล้ว โดยส่วนตัวคิดว่า น่าจะหมายถึง ความรักคนไข้ ซึ่ง หนูคิดว่า บุคลากรทางสาธารสุขแต่ละคนน่าจะมีความรู้สึกในจุดนี้อยู่แล้ว เพราะ ความสุขจากการรักษาผู้ป่วย ความสุขจากทำให้ผู้อื่นไม่มีความทุกข์ สิ่งเหล่านี้ก็น่าจะเป็นสิ่งผลักดัน ให้เราทำอาชีพ สาขานี้ได้อย่างมีความสุขอยู่แล้วเพราะถ้าหากเรายึด economic เป็นหลัก ก็คงทำอาชีพสายนี้อย่างมีความสุขไม่ได้

ถ้าหากจะมีการให้มีการจำกัดความ หรือให้มีนิยามนั้น คิดว่า คงจะเป็นประโยชน์สำหรับการที่ทำให้ นำไปใช้ให้มีความเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน หากเมื่อ อะไรที่เป็นรูปธรรม ขึ้นมาแล้ว คงจะสามารถ นำไปสานต่อ พัฒนา ในอนาคตได้ง่ายขึ้นต่อไปค่ะ

ยิ่งพิมยิ่งงงค่ะ ไม่รู้ว่าตรงคำถามรึเปล่า


Posted by : กระป๋องน้อย มือให้หัด discuss , Date : 2006-03-20 , Time : 16:15:13 , From IP : 172.29.4.54

ความคิดเห็นที่ : 12


   ส่วนหนึ่ง....

สิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน คือนักเรียนของเราห่างจากการ "คลุกคลี" กับผู้ป่วย ทั้งหน้าที่ความรับผิดชอบที่เรากำหนดให้ ทั้งสังคมสิ่งแวดล้อม ของเด็กยุคใหม่ ทำให้เข้าใจว่า การ "คลุกคลี" กับผู้ป่วยไม่จำเป็นมาก เพราะแหล่งข้อมูลให้บริโภคมีมากเหลือเกิน และการ "คลุกคลี" กับผู้ป่วย เพื่อให้ได้รู้นั้น มันใช้เวลามากกว่าที่จะใช้ ไปค้นเอาจากแหล่งอื่นๆ และ "เรา" ก็ให้ "อิสระ" ในการได้มาซึ่งความรู้ของเด็กๆ แล้วเราใช้อะไรเป็นตัววัด ตัวประเมิน? แล้วตัววัดตัวประเมินนั้น ได้วัดสิ่งที่ อาจารย์ Phoenix อยากให้มีหรือเปล่า เมื่อไม่ได้วัด และไม่ได้กำหนดให้ประเมิน ความสมบูรณ์พร้อม ของการเป็น นศพ. และแพทย์ ของ มอ. ก็เลยพอแค่ที่มีอยู่

ระบบบริการสุขภาพที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์ น่าจะอยู่ไม่ไกลจากความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นที่ไม่ใช่ตัวเอง ถ้าจะให้ใช้อะไรเป็นหลัก ผมคงเลือก อริยะสัจ 4 เป็นหลักการ และให้ความสำคัญ กับ "การคลุกคลี" กับผู้ป่วยเป็นการช่วยปรับ


Posted by : 2จุด , Date : 2006-03-20 , Time : 16:21:19 , From IP : 172.29.1.183

ความคิดเห็นที่ : 13


   ขอบพระคุณที่ช่วยกันอภิปรายกันต่อครับ น่ายินดี น่ายินดี

คุณกระป๋องน้อยที่น่ารัก

เห็นด้วย 100% ครับว่า economy เป็นของสำคัญ เป็นของจำเป็น เป็นเครื่องมือหลักที่เป็นรากฐานของ "การอยู่ได้" ของการบริหารจัดการ ของประสิทธิภาพองค์กร ขอเพียงเราเข้าใจและใช้ economy เป็นศาสตร์ เป็นหลักการ เป็นเครื่องมือ ไม่ได้ใช้เป็น primary target ก็พอ จริงๆแล้วตาม Balanced Scorecard เองก็มีฉบับ Advanced คือ Balanced Scorecard for Government and Nonprofit Agencies ที่เขาจะสลับที่พิสัยหลักคือ F(inance) ไม่ได้อยู่บนสุดตามปกติ แต่เอา C(ustomer) มาไว้บนสุดแทน เพราะองค์กรเหล่านี้ไม่ได้หวังผลกำไรทางธุรกิจ แต่มีหน้าที่เอื้ออำนวยทำให้ชุมชนมีสุขภาพที่ดี มีความรู้ มีคุณธรรม ได้เล่าเรียนหนังสือตามเกณฑ์ มีความปลอดภัยในการดำรงชีวิตตามบริบทอันควร ตามสิทธิของประชาชนในประเทศที่เท่าเทียมกัน เมื่อองค์กรเหล่านี้ทำให้ customer ที่อยู่ top of the foodchain บรรลุเป้า ก็จะมี financial reward ในรูปของรัฐบาลจัดงบประมาณสนับสนุน หรือ donation จาก NGO ที่สนใจในการพัฒนาชุมชนมาเกื้อกูลต่อเนื่อง

การถกกันเรื่อง resource allocation ระหว่างแพทย์และผู้ป่วยควรจะเป็นสิ่งที่สามารถทำได้อย่างเปิดเผยและไม่ตะขิดตะขวงใจ ระบบ 30 บาท หรือระบบหลักประกันสุขภาพนั้น ไม่ได้เป็นการทำให้มีมาตรฐานเดียวกันหมดของ health care แต่เป็นการมี minimal guarantee ว่าอะไรคือมาตรฐานเบื้องต้นที่เป็นสิทธิของคนทั้งประเทศ ยากดีมีจน สามารถ access เข้าถึงบริการสุขภาพของรัฐเหมือนกันหมด ตรงนี้รัฐบาลมีหน้าที่ที่จะต้องตีความ basic health care หรือ health ของประชาชนนั้นประกอบด้วยอะไรบ้าง คุณภาพชีวิตที่จะทำให้ประเทศชาติรุ่งเรืองเข้มแข็งนั้นประกอบด้วยอะไรบ้าง อะไรที่เป็น "ต้อง" หมายความว่าจะมีการ "การันตี" รวมไปถึงสิทธิเบื้องต้นแห่งความเป็นมนุษย์ ได้แก่ การตายอย่างมีศักดิ์ศรี การมี autonomy ที่จะเลือกการดำเนินชีวิตในสังคม

จะ "รัก" คนไข้ได้ดีนั้น จะเริ่มกันอย่างไรดี?

อาจจะต้องเริ่มจากสนใจใน "ชีวิต" ก่อนรึเปล่า? อะไรบ้างที่เป็นต้นทุน หรือทุนรอนที่น่าจะเป็นจุดเริ่มต้น อาทิ ความเมตตา กรุณา กตัญญูกตเวที ความรัก ความผูกพัน ไปจนถึงสิ่งที่ควรจะสร้าง ควรจะพัฒนาเช่น ความเข้าใจในคุณภาพชีวิต มิติต่างๆของคุณภาพชีวิต การศึกษาปรัชญาความดีงาม คุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ

และอื่นๆ เช่น.......



Posted by : Phoenix , Date : 2006-03-20 , Time : 17:00:48 , From IP : 172.29.3.103

ความคิดเห็นที่ : 14


   ความเมตตานั้นถูก install มาให้อยู่ genetics แล้ว ไม่งั้นสัตว์ไม่มาประคบประหงมดูแลลูกที่เกิดใหม่

สิงโตตัวผู้สามารถทำร้ายหรือแม้กระทั่งฆ่าลูกสิงโตได้เพียงเพื่อให้แม่สิงโตว่างเว้นจากการประคบประหงมลูกน้อยมามีกิจกามกับตัวผู้ตัวเดียวในฝูง

นี่คือความเมตตาที่ถูก install มาให้อยู่ genetics ?


Posted by : Lucifer , Date : 2006-03-20 , Time : 18:17:39 , From IP : 172.29.4.152

ความคิดเห็นที่ : 15


   แล้วทำไมสิงโต "ตัวผู้" ต้องทำถึงขนาดฆ่าเพื่อให้แสงโตเลิกสนใจลูก? นั่นเป็น observation อันที่หนึ่ง

สองคือ ใครที่เป็นคน "สรุป" ว่าสิงโตตัวผู้ฆ่าลูกเพราะอะไร และที่ทำเป็น instinct ของสิงโต?

สามก็คือถ้าเราศึกษาแล้วเรามี free will ที่จะ "เลือกเชื่อ" ทำไมเราจึงเลือกเชื่อว่าเมตตาไม่ได้มีอยู่ หรือทำไมบางคนจึงเลือกเชื่อว่าเมตตานั้นมีอยู่?

พฤติกรรมนั้นมี nature versus nurture แต่ instinct นั้นน่าสงสัยในงานวิจัยที่สรุปว่าสิงโตหรือสัตว์ใดๆก็ตามมี natural self-inflicting ฆ่าลูกตนเองแบบนั้น น่าสนใจมากกว่าว่าสิงโตที่เติบโตมาในครอบครัวและการเลี้ยงดูแบบไหนจึงได้มี behavior ออกมาแบบนั้น แทนที่จะสรุปว่านี่เป็น norm ของพ่อสิงโต in general

แต่ที่ relevant มากกว่าสำหรับหัวข้อกระทู้ก็คือ ในคนนั้นความเมตตาของพ่อแม่เป็นตรรกะหรือเป็นความรู้สึก และน่าสนใจว่าถ้ามีคนคิดแตกต่างกันไป เพราะอะไร



Posted by : Phoenix , Date : 2006-03-20 , Time : 21:10:55 , From IP : 58.147.26.69

ความคิดเห็นที่ : 16


   ประเด็นเริ่มดุเดือดขึ้นทุกที

ย้อนกลับมาเรื่อง
จะ "รัก" คนไข้ได้ดีนั้น จะเริ่มกันอย่างไรดี?

หนูคิดว่าการที่มีความรัก เจตนคติที่ดีต่อผู้ป่วย คงต้องอาศัยสองส่วน คือ
1.ในส่วนของ Base line เดิม ของตัวแพทย์เอง การปลูกฝัง การเห็นคุณค่าของชีวิตอย่างที่อาจารย์บอก รวมทั้งพื้นฐานของครอบครัว ความรักพ่อแม่ อันรวมไปถึง การทราบถึง ความสมบูรณ์พร้อม ความสุข ความมีสุขภาพดีเป็นอย่างไร เพราะ เมื่อเรารู้ว่าสิ่งที่ดีเป็นอย่างไร จึงจะทำให้เกิดความรู้สึกอยากให้ผู้อื่นรู้สึกไปด้วย

2.อีกส่วนคือ สถานการณ์ที่กระตุ้นให้เกิดความรู้สึกรักคนไข้ขึ้นมา ตัวหนูเอง คิดว่า กิจกรรมพวกการเยี่ยมบ้าน การได้ออกชุมชน ส่วนใหญ่หากคิดฉาบฉวยเอาช่วงนั้นก็มักจะคิดว่าไม่ได้อะไร แต่มันคือการได้ออกไปสัมผัสจริงๆ ได้คุย ได้พบโดยไม่มีข้อจำกัดของเวลา ( คนละเรื่องกับเวลาออกOPD ที่ต้องตรวจคนละ 10-20 นาที) ทำให้เราสัมผัสกับชีวิตได้อย่างเต็มที่ (แล้วก็ในสภาพที่สติสัมปชัญญะสมบูรณ์ด้วยค่ะ เพราะตอนนั้นยังไม่ต้องอยู่เวร)

ในที่สุดพอได้ขึ้นชั้นคลีนิก เอาทั้งสองส่วนมา รวมกับการที่เจอเคสบนเตียงหรือOPD ก็นำเอาความคิดลักษณะเป็นองค์รวมเริ่มมาใช้ ความรัก ทัศนคติที่ดีก็น่าจะมาเอง

(เอ แล้วนี่มันจะคล้ายๆกับคำว่า จิตวิญญาณมั้ยเนี่ย?)

หนูคิดว่าคณะได้จัดสรรค์หลักสูตรออกมาได้อย่างเหมาะสมในส่วนของความรู้สึกตรงนี้อยู่แล้ว แต่ อาจจะเปลี่ยนความคิดของคนได้ยาก ถ้าหากในส่วนของข้อ 1 ในคนนั้นๆขาดไป

มีตรงไหนไม่เหมาะสม แนะนำได้ค่ะ เพราะนี่เป็นแค่มุมมองหนึ่งของคนสไตล์หนูเท่านั้นเอง แต่ก็คงมีคนอื่นคิดแบบอื่นได้กว้างไกลกว่านี้

เพิ่งคิดได้อีกเรื่องค่ะ ว่าถ้าหากว่ามีการจัดตั้งนิยาม Humanized Health Care กันจริงๆ และตั้งเกณฑ์อุดมคติไว้สูงๆ ก็น่าจะดีนะคะ เพราะว่า จะได้มีการผลิต แพทย์เพิ่ม จะได้ให้บริการอย่างทั่วถึง และพยายามให้เป็น ระบบบริการสุขภาพที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์ จริงๆ ถ้าทำได้จริงๆ น่าจะดีค่ะ เพราะปัญหาทั้งหมดก็มีสาเหตุอย่างหนึ่งคือ แพทย์น้อยเกินไป ถ้าเทียบกับชุมชนค่ะ



Posted by : กระป๋องน้อย , Date : 2006-03-20 , Time : 21:44:58 , From IP : 172.29.4.54

ความคิดเห็นที่ : 17


   ยังไม่ได้สะท้อนคุณ 2 จุดเลย ขอเอาซะก่อนที่จะห่างเกินไป

ผมเห็นด้วยว่าระบบประเมิน หรือการประเมินไม่ได้ หรือไม่ได้ประเมิน มีผลต่อพฤติกรรมของนักศึกษาอยู่บ้างทีเดยว มากหรือน้อยแล้วแต่คน ตรงนี้ไม่ได้เกี่ยวกับเด็กไม่เด็ก mature ไม่ mature เพราะเจอได้ทุกอายุเพศ วัฒนธรรมโพยนั้นจึงยากเย็นที่จะสูญสลายหายไป เพราะการรู้ข้อสอบ การได้คะแนน นั้นมันเป็น reward ที่สมัผัสได้ สัมผัสง่าย ง่ายกว่าอะไรที่เป็นนามธรรมเยอะ ระบอบประชาธิปไตยที่ ideal คือประชาชนมีความรู้ เข้าใจ และทราบถึงความต้องการของตนเอง ของชุมชน ของประเทศ ทั้งในระยะสั้น ระยะยาว ออกไปลงคะแนนเสียงตามหลักปรัชญาของพรรคการเมือง ที่หาเสียงโดยปรัชญาความเชื่อทางการเมือง จึง "อาจจะ" ไม่ได้สะท้อนลงมาในระดับปฏิบัติมากเท่าที่เราอยากจะให้เป็น เอาเป็นว่าเอาคะแนนให้มากที่สุดลงไปอยู่ให้ถูกกล่องเป็น primary end-point ก็พอเพียง

การเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงน่าจะดี มีประสิทธิภาพ แต่เราต้องย้อนกลับมาถามใหม่ว่าระบบไหนจึงจะ expose นักศึกษากับผู้ป่วยจริงบนหอผู้ป่วย ที่ OPD ที่ห้องเฝือก ห้องผ่าตัด ห้องฉุกเฉิน หรือดีกว่านั้นอย่างในกิจกรรมของ clinical immersion การไปคลุกคลีกับหมอ กับพยาบาล ณ รพ.ชุมชน กับชาวบ้านเวลาไปเยี่ยมบ้านหลังจาก discharge ออกจาก รพ. หรือการไป elective ไปช่วยผู้ป่วยและญาติที่วัดโคกนาว หรือการเป็นอาสาสมัครข้างเตียงที่เราจัดอบรมเป็นประจำทุกปี

ใช้ virtual classroom หรือ internet "เท่าที่จำเป็น" แต่ resource ใหญ่ที่สุดยังคงเป็นบน ward ยังคงเป็นผู้ป่วยจริงที่ยินดีจะเล่าอะไรต่อมิอะไรให้ฟังอย่างมากมาย

นักศึกษาแพทย์จบมาอายุ 24-25 ปีหรือน้อยกว่านั้น กำลังจะต้องออกไปแนะนำคุณลุง คุณป้า พระครู บาทหลวงอายุ 60-70 ปีว่าควรจะ "ใช้ชีวิต" อย่างไรจึงจะเป็นการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพชีวิต แค่งานชิ้นนี้ชิ้นเดียว ผมว่าก็พอจะให้เรารู้สึกถึงภาระที่จะต้องขวนขวายเสาะแสวงหาประสบการณ์ "ชีวิต" ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โชคดีที่บริบท รร.แพทย์ มันพอจะเป็นมหาวิทยาลัยชีวิตที่ใกล้เคียงความเป็นจริง เพียงพอที่จะรีบเรียนรู้

ของพันนี้ไม่มีใครจะบังคับให้ทำ ให้เรียนได้ คงจะต้องเป็น andragogy หรือ adult learning ที่นักศึกษาต้องรู้ว่าเรื่องไหนจำเป็นแค่ไหน เพียงไร และจะหาโอกาสเรียนอะไรได้ที่ไหนอย่างไร



Posted by : Phoenix , Date : 2006-03-20 , Time : 22:22:32 , From IP : 58.147.26.69

ความคิดเห็นที่ : 18


   น้องกระป๋องน้อยที่น่ารัก

กิจกรรมนั้นเป็น "ตัวช่วย" แต่ที่สำคัญที่สุดก็คือการ "ตั้งใจมองหา" แลอกประสบการณ์มาขบคิดต่อรึเปล่าครับ?

ถ้าเป็นการ "ตั้งใจมองหา" ผมคิดว่าอยู่ที่ไหน มีหรือไม่มี elective ก็สามารถจะเรียนรู้ได้ ไม่ว่าจะจากผป.ใน ของ รพ.เรา ที่ OPD หรือ ER

แต่ก็เห็นด้วยว่าการ "สร้างบริบท" ที่เหมาะสมช่วยส่งเสริมบรรยากาศให้ขบคิดไปในทิศทางที่เราตั้งใจได้ดีกว่าการที่ไม่ควบคุมบริบทเลย บางทีบทเรียนที่เราต้องการคือวิธีการที่เราจะ "สะท้อนตนเอง" ในแต่ละวันว่าวันนี้เราดีกว่า เราต่างจาก หรือเรารู้อะไรเพิ่ม จากเมื่อวันวานบ้าง ถ้าค้นไม่พบเลยชีวิตเราวันนี้ก้คือชีวิตที่ idle อยู่กับที่ สะสมไปหลายๆวัน หลายๆปี ก็จะกลายเป็น "แก่เพราะกินข้าว เฒ่าเพราะอยู่นาน" ไป

การมองหา "อุปสรรค" ในความคิด หรือเจตคติแบบนี้ก็สำคัญ เผลอๆเป็นด่านแรกซะด้วยซ้ำ

ถ้ายังมีคนคิดว่าแพทยศาสตร์ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับสังคมศาสตร์ กับจริยศาสตร์ กับมนุษย์วิทยา ทิศทางการมองหาสุนทรียศาสตร์ moral sensitivity หรือเข้าใจเห็นใจในความทุกข์ก็คงยากที่จะเกิด ไปเน้นการท่อง criteria การวินิจฉัย การท่อง guideline step การให้ยา การรักษา เน้นรักษาโรค ไม่ได้รักษาคน ในที่สุดของพวกนี้มันจะกลายเป็น computer programme ที่จะทดแทนคนได้ modernized, robotic, algorithmic medicine วางขายใน PDA ก็อาจจะมาทดแทนแพทย์

เพราะ humanized medicine นั้น ใช้ algorithm ใช้สมการไม่ได้ เราจึงต้องศึกษาสังคมศาสตร์ จริยศาสตร์ มีที่ว่างพอที่จะศึกษาสุนทรียศาสตร์ รักได้ ชอบได้ ทุกข์ได้ เห็นอกเห็นใจได้ ร้องไห้ได้ ในที่สุดก็จะสามารถ "เข้าใจชีวิต" ได้



Posted by : Phoenix , Date : 2006-03-20 , Time : 22:37:36 , From IP : 58.147.26.69

ความคิดเห็นที่ : 19


   หน้าที่ของสถาบันการศึกษา ก็ควรจะให้การศึกษา
ถ้าจะหวังแต่ว่า "born to be" ก็คงจะแล้วแต่ค่ะ

อย่างไรก็ดี หนูคงจะ "ไม่มีหน้าที่" ที่จะสอนใคร เป็น free will ค่ะ
แต่ถ้าการเป็นหมอ จะต้องสอนคนไข้ นั่นก็เพราะว่า หนูจะเป็นหมอค่ะ


Posted by : Lucifer , Date : 2006-03-20 , Time : 23:08:17 , From IP : 172.29.4.152

ความคิดเห็นที่ : 20


   แล้วก็ ช่วงปีที่ผ่านมานี้หนูไม่ค่อยจะ "รู้สึก" อะไรเกือบจะเป็น absolutely emotionless อย่างที่พยายามฝึกตัวเองให้ "เป็นเช่นนั้นเอง"กับพยายามจะหาเหตุผลมาจนเริ่มจะ ชิน ถ้าจะอภิปรายเพื่อให้ "รู้สึกโดยไม่เข้าใจ" ไม่ได้ให้เหตุผลว่า ทำไม เพราะ หรือเพื่ออไร จึงเป็นเช่นนั้น ก็คงจะต้องขอหยุดตัวเองจากการอภิปรายไว้ก่อน เพื่อจะทบทวนว่า "จะเป็นเช่นนั้น" หรือไม่

Posted by : Lucifer , Date : 2006-03-20 , Time : 23:50:02 , From IP : 172.29.4.152

ความคิดเห็นที่ : 21


   การศึกษาระดับอุดมศึกษานั้น key player

Posted by : Phoenix , Date : 2006-03-21 , Time : 00:47:04 , From IP : 58.147.26.69

ความคิดเห็นที่ : 22


   การศึกษาระดับอุดมศึกษานั้น key player ไม่ได้อยู่ที่คนสอนหรือสถาบันเลย แต่อยู่ที่ตัวผู้เรียน การมี positive attitude ที่จะเรียนรู้ ไม่ใช่ชาล้นถ้วย

การแพทย์เชิงรุกนั้น เราหวังจะกระตุ้น empowerment เกิดขึ้นในตัวประชาชน ในตัวผู้ป่วยเอง แพทย์นั้นเป็น "ผู้เรียน" มากกว่าเป้นผู้สอน หากแพทย์ทรนงตัวเป็นผู้สอน การเรียนรู้ชีวิตนั้นจะไม่เคยเกิดขึ้นเลย เมื่อไม่เคยเรียน จะฝันเป็นคนสอน ก็เปรียบเสมือนดักแด้ที่จะดักดานไม่เคยเป็นผีเสื้อ

หากจะเป็น absolute emotionless ที่แท้จริงนั้น หมายความว่าสามารถปล่อยให้ emotion สัมผัสได้แต่ปล่อยวางได้ดังใจปราถนา มิฉะนั้นแล้วจะเข้าใจในความทุกข์ที่แท้จริงของผู้ป่วยได้อย่างไร?

เรียนอยู่ที่คนเรียน มิใช่ตนสอนหรือโรงเรียน
จะเป็นคนสอนต้องเรียนให้เยอะก่อน
จะรักษาความนิ่งของอารมณืได้ มิใช่หลีกเลี่ยงแต่รู้ว่าอารมณ์นั้นเป็นเช่นไร

ของบางอย่างถ้าไม่ได้พกพามาแต่กำเนิด คงต้องโทษบารมีสะสมมาไม่พอ พยายามอย่างไรก็จะเปรียบเสมือนขุดหลุมรอบๆตัวเอง รังแต่จะลึกลงไปเรื่อยๆ



Posted by : Phoenix , Date : 2006-03-21 , Time : 00:57:48 , From IP : 58.147.26.69

ความคิดเห็นที่ : 23


   หากจะเป็น absolute emotionless ที่แท้จริงนั้น หมายความว่าสามารถปล่อยให้ emotion สัมผัสได้แต่ปล่อยวางได้ดังใจปราถนา มิฉะนั้นแล้วจะเข้าใจในความทุกข์ที่แท้จริงของผู้ป่วยได้อย่างไร?

จะรักษาความนิ่งของอารมณืได้ มิใช่หลีกเลี่ยงแต่รู้ว่าอารมณ์นั้นเป็นเช่นไร

Posted by Phoenix


ฮืมใช่เลย กำลังหาอยู่พอดี
ผมคนหนึ่งนะที่มีปัญหาเรื่องอารมณ์ครับ คือดูเหมือนว่าตังเองจะไปมีอารมณ์ร่วมเยอะ แต่ปล่อยว่างไม่เป็น แล้วหนีไปเปลี่ยนเป็นหลบเลี่ยงการเผชิญกับอารมณ์เหล่านั้นนะ จนบางครั้งสิ่งเหล่านี้มันกลายเป็นความเครียดกับตัวผมไปเลยนะครับ
ผมสนใจวิธีการปล่อยวางอารมณ์กับความคิดนะครับคือมันทำยังไง?



Posted by : kasparov , Date : 2006-03-21 , Time : 13:14:08 , From IP : 203.147.28.163

ความคิดเห็นที่ : 24


   ปกติพี่จะพยายามหา เหตุ พิจารณาผล เพื่อจะเข้าใจที่มาที่ไปของเรื่อง จากนั้นก็ค่อย "รู้สึก" แต่สงสัยคงจะไม่ค่อยเข้าท่าสักเท่าไร ส่วนของอื่นก็ไม่รู้เหมือนกันว่าเค้าวางกันยังไง

ทำไมเปลี่ยนชื่อบ่อยจังล่ะ


Posted by : Lucifer , Date : 2006-03-21 , Time : 15:26:49 , From IP : 172.29.4.152

ความคิดเห็นที่ : 25


   ลืมไป บอกว่าจะหยุดแล้วนี่นะ จะเข้ามาทำไมอีกเนี่ย

รู้สึกเสล่อจัง ไปดีกว่า


Posted by : Lucifer , Date : 2006-03-21 , Time : 15:32:21 , From IP : 172.29.4.152

ความคิดเห็นที่ : 26


   "ระบบบริการสุขภาพที่มีหัวใจแห่งความเป็นมนุษย์"

นั่นคือโจทย์ดั้งเดิม คุณ Kasparov (Delpiero??) มีอารมณ์นั้นไม่ใช่เรื่องแปลก แต่ถ้าอารมณ์กลายเป็นตัวอุปสรรคก็คงไม่ค่อยดี

การ "ปล่อยวาง" นั้นเป็นความสามารถในการ "ควบคุม" ครับ ซึ่งอันนี้เป็น psychomotor อย่างหนึ่งที่การฝึกฝนเป็นประจำช่วยได้ และกลับกันคือการขาดการฝึกฝนเป็นประจำยิ่งทำให้เตลิดเปิดเปิงหรือควบคุมยากขึ้นเรื่อยๆ

การควบคุมอารมณ์ ก็ "คล้าย" กับการฝึกสมาธิ ฝึกสมาธิ หรือวิปัสสนา จะได้ทั้งการควบคุมอารมณ์ ความคิด และจิตวิเคราะห์ไตร่ตรอง การฝึกสมาธิคือการ focus กิจกรรมหรืออะไรสักอย่างเดียวเป็นระยะเวลานาน ไม่ว่าจะเป็นอ่านหนังสือ ปลูกต้นไม้ เดิน ฯลฯ ไม่จำเป็นต้องนั่งสมาธิ ยุบหนอ พองหนอ แต่เพียงอย่างเดียว

เพราะในที่สุดถ้าเรายังอยู่ใน worldy environment ไม่ได้ไปทางวิปัสสนา สำเร็จมรรคผล การมีสมาธิในความหมายของ focus ก็มีประโยชน์อย่างยิ่งพอสมควร การตั้งสมาธิไปที่อารมณ์ (ซึ่งก็แปลว่าเรารู้ตัวว่ากำลังเกิด หรือมีอารมณ์) บางครั้งเคยมีคนบรรยายว่าเหมือนตัวเราหลุดออกมาจากร่างแล้วพิจารณาร่างที่กำลัง "ทรง" อารมณ์นั้นๆอยู่ก็มี พอเรารู้ว่าร่างนั้นกำลังถูกครอบงำด้วยอารมณ์อยู่ จิตสมาธิที่ออกมาเพ่งเล็งอยู่ก็เป็นอิสระเพียงพอที่จะสังเกตและควบคุมสถานการณ์ใหดีขึ้น

ในการดูแลผู้ป่วย เราต้องพยายาม "เข้าใจ" ในบริบทของผู้ป่วยแลญาติ บางทีระหว่างที่ทำอย่างนั้นเราเผลอไผลเกิด sympathy แทนที่จะเป็น empathy คือเกิดเศร้าโศกเสียใจ depress ไปกับคนไข้ก็มี การวางเฉยได้ สำรวจอารมณ์และควบคุมให้อยู่จะช่วยในการครองสติและตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้น

คงจะแนะนำให้ "พยายาม" ฝึกครับ ให้มองเหมือนการ train เล่นบอล เล่นเกม ฯลฯ เพราะการฝึกสมาธินั้นเป็น psychomotor อย่างนึงเช่นกัน



Posted by : Phoenix , Date : 2006-03-21 , Time : 16:21:53 , From IP : 172.29.3.175

ความคิดเห็นที่ : 27


   
เราบอกถูกสอนว่า เราควรให้เวลาคนไข้ให้มากๆ
3 นาทีแรกให้คนไข้พูด ระบายความทุกข์ อย่าไปขัดขวางเขา
ตรวจคนไข้ คนละ 12 นาที ( รวมซักประวัติ ตรวจร่างกาย คิดวินิจฉัยแยกโรค เขียนใบสั่งยา แนะนำกับคนไข้เล็กๆน้อยๆ ) ชั่วโมงนึงช่วยคนไข้ได้ 5 คน
วันนึงทำงาน 7 ชั่วโมง( 8.30 - 12.00 และ 13.00 - 16.30น.
ไม่นับเวลา เข้าห้องน้ำ ไปฉี่ ไปอึ ลุกไปล้างมือ ทีนะ ) วันนึงตรวจได้ 35 คน

แล้วถ้าคนไข้มาวันนั้นเกิน 35 คนละ
ก. มาใหม่วันพรุ่งนี้
ข. ไปห้องฉุกเฉินตอนเย็น

แล้วทำไม เราต้องปิดรับบัตร ตรวจคนไข้ ตั้งแต่เวลา 9 โมงเช้า
ทำไมเราไม่สงสาร คนที่มาเวลา 9.01 แล้วไม่ได้ตรวจละ

เอ่อ
การพูดง่ายนั้นง่าย กว่าการลงมือทำ

การสอนที่ดีที่สุด คือ ทำในสิ่งดี ให้เขาลอกเลียนแบบ

การปฏิบัติบูชา
พระพุทธเจ้า ตรัสว่า เป็นการบูชายิ่งกว่า การจุดธุปเทียนเครื่องหอม หรือ การสวดมนต์ใดๆ ทั้งหมดทั้งสิ้น


Posted by : จจ , Date : 2006-03-21 , Time : 18:22:22 , From IP : 203.114.127.102

ความคิดเห็นที่ : 28


   คนไข้แต่ละคน "ไม่เหมือนกัน" ฉะนั้นมาตรการเวลา "เฉลี่ย" คงจะไม่ค่อยเป็นธรรมชาติเท่าไรนัก

คนไข้บางคนมารับยาเดิม ต้องการปฏิสันถารกับคุณหมอคนสนิท บางคนรีบลากลับเพราะเกรงใจคนอื่นที่รอก็มี ใช้เวลาแค่ 1-2 นาทีก็เสร็จ การบริการสุขภาพแบบใช้หัวใจของความเป็นมนุษย์นั้น ส่วนหนึ่งก็คือไม่ได้มองคนไข้แต่ละคนเป็น "ค่าเฉลี่ย" ที่ควรจะเป็น แต่เป็นไปตามความเหมาะสม ตามบริบท

การเร่งตรวจเพื่อ "คนต่อไป" นั้น ถ้าไม่ได้พิจารณาบริบทประกอบเลยนั้น แปลว่าแทบจะ "ไม่มีสักคนหนึ่ง" ข้างหน้าเราที่ได้รับการดูแลตามบริบทของเขา เพราะเราเพ่งเล็งที่การดูแลที่ "คนต่อไป" แทน!!! ฉะนั้นการแก้ปัญหาแบบเพื่อคนต่อไปนั้น ไม่ได้ทำให้บริการ "ดีทั่วถึง" แต่เป้นการเฉลี่ยบริการที่ "ไม่ดีให้ทั่วถึง" แทน

เหมือนๆกับการรอคิวจ่ายเงินที่แคชเชียร์หรือรอบริการที่เคาเตอร์ธนาคาร ลูกค้าแต่ละคนต่างก็คาดหวังว่าเมื่อถึงคิวตนจะได้รับการบริการอย่างถูกต้อง สมศักดิ์ศรี คุ้มค่าที่รอคอย หรือว่าลูกค้าจะหวังว่าคนให้บริการอย่างลวกๆ ผิดพลาด กระแทกกระทั้นห้วนๆ เพราะเห็นคิวรออีกยาว?

อะไรเป็นตัวกำกับที่ดีที่สุด?

สถิติโดยเฉลี่ย? หรือว่าบริบทของแต่ละ case?

ถ้ามีผู้ป่วยที่หนัก ที่ซับซ้อน เราจะยังคงใช้ "เวลาเฉลี่ย" เป็นตัวกำกับหรือไม่?

ตรงนี้แหละที่เป็นส่วนหนึ่งของ computerized health care กับ humanized health care การใช้ computerized นั้นมันไม่ยืดหยุ่น แข็งกระด้าง ไร้จิตวิญญาณ ไม่เหมาะกับการทำงานกับมนุษย์ ลองเปลี่ยนคนไข้เป้นญาติพี่น้องของเรา อาจจะได้ความรู้สึกที่ชัดเจนมากขึ้น วัฒนธรรมการ "รอคิว" จึงสามารถบ่งบอกถึง "คุณค่า" ของสังคมหนึ่งได้พอประมาณ คนที่รอคิวเป็นนั้นจะไม่ว่าอะไรมากถ้าเขาได้สิ่งที่คุ้มค่าแห่งการรอคอย เมื่อไหร่ก็ตามที่เราเองทำให้ไม่มีใครสักคนรู้สึก "คุ้มค่า" ที่รอต่างหาก ที่ทำให้เกิด attitude ที่ว่ารีบๆเจอรีบๆกลับดีกว่า อยากจะพูดอะไรหมอพยาบาลก็ไม่มีกะใจจะฟังอยู่แล้ว การสื่อสารจึงหายหกตกหล่น กรณีฟ้องร้องจึงมากขึ้นเป็นดอกเห็ด

ตรงนี้คงจะบังคับใจใครไม่ได้ว่าควรจะปฏิบัติอย่างไร แต่ละคนต่างก็พยายามจะทำให้ "ดีที่สุด" ซึ่งคำดีที่สุดนี้เป็น relative term แต่ละคนจะมี frame of value แตกต่างกันออกไป บางคนเน้นจำนวน (เช่น 19 ล้าน) บางคนเน้นคุณธรรม จริยธรรม สิ่งเหล่านี้ในที่สุดมันจะออกมาเป้นพฤติกรรม คุณค่า และแนวทางในการดำรงชีวิต

แล้วที่สุดเราอยากอยู่ในสังคมแบบไหน อยากให้ลูกหลาน พ่อแม่พี่น้องครอบครัวเราได้แบบไหน เราก็จะต้องรณรงค์กันเองครับ สังคมนั้นต้องสร้างอย่างเดียว ไม่มีได้มาฟรีๆ ต้อง "ลงมือทำ" แน่นอน

PS: ผมยังไม่ทราบความเห็นคุณ จจ เกี่ยวกับ humanized health care ว่าเป็นอย่างไร เห็นด้วยไม่เห็นด้วย ไม่ทราบพอจะให้เกียรติออกความเห็นหรือไม่ครับ?



Posted by : Phoenix , Date : 2006-03-21 , Time : 23:07:18 , From IP : dynamic-203-107-196-

ความคิดเห็นที่ : 29


   ขอบคุณ อาจารย์ มากครับ จะลองฝึกดูครับ



Posted by : kasparov , Date : 2006-03-22 , Time : 09:21:44 , From IP : 203.147.28.133

ความคิดเห็นที่ : 30


   ดีมากครับ key word อยู่ที่การขอ "ลองทำดู" นี่แหละครับ

การอภิปราย โต้เถียง logic ทางปรัชญาดูสนุกดี (หรือเท่ห์ดี) จริง แต่เรื่องของเรื่องมันลงเอยที่ "ขอลอง" ทำจึงสำคัญที่สุด ลองดูวิง่าไอ้ปรัชญาที่ดี มันเป็นอุดมคติ หรือทำได้จริงมากน้อยแค่ไหน ก่อนที่จะสรุปว่าทำไม่ได้หรอก มันเป็นอุดมคติ มันเป็นสังคมไทย มีคนเคยพูดมากมายหลายครั้งว่า เด็กไทยเรียนไม่เป็นหรอกแบบค้นคว้าเอง แบบ mature หรือ adult learning ผมคิดว่ามันเป็นการพูด "แทนตนเอง" ที่จะทำให้อุ่นใจขึ้นที่เราจะแทนคำว่า "ตนเอง" ด้วย "เด็กไทย" หรือ "สังคมไทย"

อาจารย์ธาดาเคยโยนคำถามในนักศึกษาว่าทำอย่างไร จึงจะมีการร่วมมือในการขับขี่จกรยานยนต์ให้ถูกต้องตามกฏจราจร ตามกฏหมาย มีคนตอบว่าต้องเพิ่มบทลงโทษ ต้องเพิ่มตำรวจ ต้องเพิ่มโฆษณาประชาสัมพันธ์ แต่จริงๆแล้วเหตุผลหลักที่มันไม่ work ที่บอกว่าบทลงโทษเบาไป ตำรวจไม่พอ ความไม่รู้ไม่เข้าใจเป็นเพียง "ข้ออ้าง" ที่จะไม่ทำเท่านั้น

จะคุยกับคนไข้ที่นั่งตรงข้างหน้านี้อีกสักสองสามนาทีก็ไม่ได้เพราะมีคนไข้ "ข้างหน้าห้อง" เขาจะได้ตรวจช้า ตรวจน้อย ผลก็คือ "ทุกคนๆ" จะได้ตรวจน้อยเหมือนกันหมด ทุกๆคนจะไม่ได้พูด ไม่ได้คุยเหมือนกันหมด เพราะที่นั่งข้างหน้านั้นมันแทบจะไม่เคยหมดเลย

ผลประเมินดูเหมือนจะดีเพราะยอดคนไข้อาจจะเพิ่ม เราอาจจะกำลัง underestimate จำนวนบุคลากรที่ต้องการอย่างแท้จริง ที่สามารถให้การบริการชั้นหนึ่ง ที่ให้เวลาคนไข้เพียงพอ ถ้าเราไม่เริ่มสะสมข้อมูลว่าการพูดคุยที่เพียงพอจริงๆนั้น น่าจะใช้เวลาที่เหมาะสมที่สุด "ประมาณ" เท่าไร



Posted by : Phoenix , Date : 2006-03-22 , Time : 12:47:03 , From IP : ppp-58.11.70.78.revi

ความคิดเห็นที่ : 31


   ผมไม่มีความเห็น มรเรื่อง humanize heath care อะไรนั่นหรอกครับ เพราะรู้สึก ศัพท์มันสูง จนยากจะเข้าใจ ถ่องแท้ และไม่ได้คิดว่า จำเป็นอย่ายิ่งที่ จะต้องเข้าใจ
เหมือน ตอนทำ เอชเอ ก็ไม่เห็น ต้องไปทำตามหนังสือ ศัพท์เฉพาะ ก็มีมากมาย
4คนอ่าน 3 คนทำ หนังสือเล่มนั้น ก็ไปคนละทาง ถามไป ตอบมาคนละเรื่องกัน

แต่ ผมมองย้อนกลับไปสมัยก่อน หมอมีน้อย และไม่ได้จบ เฉพาะ ของ เฉพาะทาง ทุกคน เรียนจบ 6 ปี ทำคลอด ผ่าตัด ดมยา แทงน้ำเกลือ ย้อมสไลด็ เอกซเรย์ เองหมดทุกอย่าง
ไม่ได้เขียน แอดมิสชั่น โปรเกรส โน๊ต ออพ โน๊ต ดิส ชาร์ต โนต
เพราะ ทั้ง โรงพยาบาล มี หมอ คนเดียว ทุก อย่างอยู่ ในหัวหมอคนนั้น
รวมทั้งการบริหาร โรงพยาบาล ด้วย
ทำงานได้ไม่มีการ ฟ้องร้องมากมาย ( ผมก็เกิดไม่ทัน ยุคนั้น ฟังและ อ่านจากหมออาวุโส รุ่นก่อนๆ )

สมัยนี้ นักเรียนทำงานเป็นจาก คอมพิวเตอร์ หรือการอ่านและ ดิสคัสอย่างเดียว
ฝีมือ ไปหัด ตอน อินเทอร์น
แล้ว พอเป็น เอกเทอร์น อินเทอร์น งานหนัก ก็ไม่มีใครชอบ
เพราะ ไม่ได้ฝึกให้ทนงานหนัก ตั้งแต่เด็ก
เด็กก็ชอบอ่านหนังสือ แบบ สบายๆ
ให้ตรงข้อสอบมากที่สุด ก็ คือ การอ่านข้อสอบเก่า
และ จะขอบคุณ อาจารย์อย่างมาก ที่ สอนได้ ตรงข้อสอบจริงๆๆ



Posted by : จจ , Date : 2006-03-22 , Time : 13:03:21 , From IP : 203.114.104.167

ความคิดเห็นที่ : 32


   สงสัยตรงนี้ต้องขอมาทำความเข้าใจกันใหม่

Humanized "แบบมนุษย์" หรือที่พระราชบิดาทรงมีพระราชดำรัสว่าหมอต้อง "เป็นคน" ด้วยนี่ เป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่เราต้องทำความเข้าใจครับ

ศัพท์มันก็ไม่ได้สูงอะไรมาก เพราะเราทุกคนก็เป็นคน เป็นมนุษย์ ทำไมการถกกันว่าการเป็นหมอและเป็นมนุษย์คืออะไร เป็นอย่างไร จะกลายเป็นของสูงส่งเกินเอื้อมไปได้ ผมว่าน่าสนใจมากกว่าด้วยซ้ำว่าหมอที่ไม่เป็นมนุษย์ หรือ non-humanized นี่เป็นอย่างไร ทำไมจึงจะเป็นกัน

การเป็นมนุษย์นี่ไม่ได้อยู่ใน HA ครับ อยู่ในหน้าที่ศีลธรรม อยู่ในการที่เราจะอยู่กับคนไข้ ทำงานเป็นทีม และเพื่อสังคมอย่างไร ก็แค่นั้น ถ้าเราไม่สามารถเข้าใจการอยู่กับคนไข้ ไม่เข้าใจการทำงานเป็นทีม ไม่เข้าใจบทบาทของเราในสังคมต่างหากที่จะก่อให้เกิดปัญหา

ถ้าคุณ จจ จะยอมลด barrier ในการพยายามคิด ลองให้ความเห็นว่าหมอที่เป็นคนด้วยคืออย่างไร ไม่ต้องเอาสูงส่ง ไม่ต้องใช้ศัพท์อะไรที่ไม่อยากจะใช้ แล้วเราลองมาคิดต่อยอดจากตรงนั้นดู จะดีหรือไม่?

ยังไงๆก็น่าสนใจว่าทำไมสมเด็จพระราชบิดา ท่านจึงทรงมีพระราชดำรัสให้ความสำคัญของการเป็นคน นอกเหนือจากการเป็นแพทย์ ประเด็นนี้ผมว่านักศึกษาแพทย์ แพทย์ อาจารย์แพทย์ หรือแม้แต่คนในวงการสาธารณสุขน่าจะได้ประโยชน์จากการใช้เวลาไตร่ตรองในเรื่องแบบนี้สักหน่อย



Posted by : Phoenix , Date : 2006-03-22 , Time : 13:16:31 , From IP : ppp-58.11.70.78.revi

ความคิดเห็นที่ : 33


   เอาว่า Barrier ( แผ่นกั้น ) มันกั้น ความเป็นคนที่สมบูรณ์
กับ คนอีกกลุ่มหนึ่ง ใครเป็นคนตัดสินว่า คนนี้ มี หรือ ตนเองไม่มีละ
ผมเคยได้ยินเพื่อนผม ที่จบใกล้ๆ แถวนี้ พูดว่า ผมเป็น มนุษย์ ผมจึงอยาก รวย เพราะ เงินทำให้อยากทำอะไร ก็ได้ทำ
อ้อ แล้วเรื่องการ ปิดรับบัตร ตรวจแบบพอเพียง ที่เหลือ ก็รอไป
หรือ ไปโรงพยาบาลเล็กๆ ใกล้บ้าน คิดว่า เป็นความคิดแบบ คนแล้วหรือไม่

ผมไม่อยากพูดมาก เพราะ พูด ง่ายกว่า ทำ
คนที่พูดมาก เวลาทำงาน ก็เสียไป กับการคิดคำพูดสวยๆ


Posted by : จจ , Date : 2006-03-22 , Time : 17:41:02 , From IP : 203.114.116.76

ความคิดเห็นที่ : 34


   เราคงจะใข้กระบวนการสะท้อนตนเองเป็นหลัก อาจจะมีประโยชน์บางส่วนครับ

เวลาเราอยู่คนเดียว ไม่มีความจำเป้นต้อง guarding อะไรจากใคร น่าจะเป็นโอกาสที่ดีที่จะสำรวจความคิดของตนเอง

ผมเคยกล่าวถึงการมี non-judgemental attitude ว่าสำคัญ เพราะการตัดสินใครต่อใครนั้น ถ้าเรามิได้รู้บริบท หรือรู้แค่บางส่วนที่เราเผชิญหน้า ก็จะไม่รู้ว่าเหลืออีกกี่เปอร์เซนต์ที่ไม่รู้

และจริงครับที่มนุษย์อยากรวยก็มี แต่ผมอยากจะเข้าใจว่า "เป็นคน" ในความหมายของสมเด็จพระราชบิดาแห่งการแพทย์ไทยนั้น อาจจะไม่ใช่แบบนั้นทีเดียว ก็เลยถามๆกันดูว่านักศึกษาแพทย์ แพทย์เราคิดว่าหมายความว่าอย่างไรกันบ้าง

เรื่องระบบสาธารณสุขที่เหมาพสมพอเพียงนั้นเคยอภิปรายมาครั้งหนึ่งหลายปีแล้ว สรุปคือโรคบางโรคถ้าสามารถกระจายไปให้ PCU ให้รพ.อำเภอ สถานีอนามัย รักา "ตามบริบท" ได้ ปัญหาส่วนหนึ่งจะถูกแก้ไขได้ ความจริงการ "ปิดรับบัตร" มีความหมายได้หลายประการ และถ้าดูจาก criteria ของแต่ละรพ.ใช้ ที่ปิดเพราะว่าคนที่เหลือนั้น ยังไงๆก็คงจะตรวจไม่ทันจากคิวที่เหลืออยู่ ดังนั้นจะปิดหรือไม่ปิดก้ต่างแค่ว่า รพ.จะบอกให้คนที่รอนั้นทราบหรือไม่แค่นั้นว่าทำไม่ทัน พอบอกแล้วที่คนรู้ตัวจะได้วางแผนอะไรต่อไปว่าจะทำอย่างไรดี ส่วนแพทย์ที่ตรวจนั้นต่างก็ทำอย่างเต็มที่เต็มเวลาอยู่แล้ว ไม่ใช่แปลว่าปิดบัตรแล้วหมอตรวจเสร็จก่อนเวลา ซึ่งแบบนั้นคงจะผิดมนุษยธรรม

ผมคิดว่าคนไทยนี้โชคดี มีพระบรมปราชญ์อย่างสมเด็จพระราชบิดา อย่างพระเจ้าอยู่หัว พระราชดำรัส พระบรมราโชวาทของพระองค์ท่านนั้นมีค่าควรแก่การพยายามทำความเข้าใจและตีความอย่างยิ่ง เพราะท่านทรงให้ด้วยความเมตตาและปราถนาดี คงจะไม่ได้มีเจตนาทำให้ใครอึดอัดที่จะต้องคุยเรื่องนี้



Posted by : Phoenix , Date : 2006-03-22 , Time : 20:09:00 , From IP : 58.147.24.152

ความคิดเห็นที่ : 35


   
คนที่มีโอกาศ พูดมาก มักเป็นคนที่ เรียนมาเยอะ เรียนสูง
แต่ คนที่ทำงาน มักโดนงานสุม จนไม่มีเวลาพูด
คนจึง พูด ได้มาก เพราะ คน พูด ไม่จำเป็นต้องทำงานเอง
เห็นด้วย ว่า ความคิด ความฝัน ในเรื่องที่ดี ถูกต้อง แต่ ก็ไม่ควร คิด อย่างเดียว
คนที ทำไม่ใช่ ข้าพเจ้า


Posted by : จจ , Date : 2006-03-23 , Time : 13:21:53 , From IP : 203.147.36.34

ความคิดเห็นที่ : 36


   บางทีถ้าเรา focus อยู่ที่ประเด็น โดยไม่เอาตัวตนมาเกี่ยวข้องมากนัก จะอภิปรายกันใน "หลักปรัชญา" ง่ายขึ้นบ้างก็เป็นไปได้นะครับ

communication skill สำหรับอาชีพแพทย์นั้นจำเป็นอย่างยิ่งยวด งานอาชีพแพทย์นั้นไม่ได้แค่ "ทำ" เท่านั้นจึงเพียงพอ แต่การสื่อสารมีความสัมพันธ์เกี่ยวโยงกับสัมฤทธิผลอย่างแนบแน่น

การฟ้องร้องทางการแพทย์มักจะเกิดขึ้นใน field ที่มีหัตถการ เช่น สูตินรีเวช ศัลย์สาขาต่างๆ เดี๋ยวนี้ก็เริ่มมีทันตกรรม แต่ปัจจัยสำคัญที่ถูกจำแนกว่ามีส่วน และเป็นสาเหตุด้วยเสมอคือ การสื่อสาร

นักศึกษาแพทย์เรียนวิธีการซักประวัติตรวจร่างกาย เรียนจริยศาสตร์ เรียนการสร้างเสริมสุขภาพ เรียนการทำ counseling ทุกขั้นตอนที่เกี่ยวกับการดูแลรักษาผู้ป่วย จะมีองค์ประกอบของการสื่อสารทั้งวจนภาษาและอวจนภาษาด้วยเสมอ งานของหมอ ของครูอาจารย์ ที่เป็นส่วนสำคัญของมาตรฐานสังคมก็มีรากฐานวางอยู่บนการให้การศึกษา การสื่อสารสิ่งที่มีประโยชน์ การคิดวิเคราะห์สังเคราะห์องค์ความรู้ใหม่ จะเผยแพร่อะไรสิ่งที่ดีๆแก่สังคมก็ต้องผ่านการสื่อสารทั้งสิ้น โดยเริ่มจากมีเจตคติที่ดีในสิ่งที่จะสื่อเสียก่อน แล้วมันดีจนกระทั่งอดรนทนไม่ไหว ต้องไปชักชวนใครๆมารวมสังฆกรรมกัน

การอยู่ร่วมในสังคม การทำความเข้าใจ "มนุษย์" นั้นเป็นกิจกรรมของทุกคน และมีส่วนที่จะสร้างรอย หรือสร้างกรอบ สร้างทิศทางของสังคมที่เราอยู่ ที่ลูกหลานเราจะอยู่อย่างแน่นอน บางทีงานของทุกคนมารวมกัน ไม่ว่าจะเป็นการกระทำทางกาย วาจา ใจ มันจึงออกมาเป็นองค์รวม งานของนักวิชาการก็คือรวบรวมองค์ความรู้ วิเคราะหสังเคราะห์และเผยแพร่ งานของผู้ปฏิบัติก็เอาหลักฐานเชิงประจักษ์มาเป็นแนวทาง รวบรวมผล วิเคราะห์สังเคราะห์ใหม่ ฉะนั้นบทบาทที่แตกต่างกันมันก็จะเสริมซึ่งกันและกัน คนทุกคนไม่จำเป็นต้องทำงานเหมือนกันหมด แต่ผลกระทบของงานอีกคนหนึ่งก็สามารถส่งเสริมของส่วนอื่นๆ ดังนี้เป็นระบบสังคมที่ก็มีการพัฒนาอย่างที่ว่ามาโดยตลอด

คณะแพทย์ได้มีการจัดอบรมอาสาสมัครทั้งในและนอกโรงพยาบาล วิทยากรก็มีจากทั้งในและนอก รพ. เพื่อที่จะดูแลผู้ป่วยและครอบครัวทั้งในและนอก รพ. การทำงานอย่างนี้ต้องอาศัยสหสาขา มีความรู้ ความชำนาญ และวิธีในการทำงานที่แตกต่างกัน คุณค่าของแต่ละคนนั้นไม่สามารถเปรียบเทียบได้กับคุณค่าโดยรวม ซึ่งมันจะออกมาในระดับสังคม ระดับหมู่บ้าน ระดับประเทศ





Posted by : Phoenix , Date : 2006-03-23 , Time : 13:49:41 , From IP : 172.29.3.79

ความคิดเห็นที่ : 37


   อย่าตีความ ว่า ทำงานมากกว่าพูด คือ ทำแบบ ลวกๆ ให้พ้นๆตัว เอาปริมาณ มาก่อน
ยอมรับว่า สุภาษิต ปากเป็นเอก เลขเป็นโท หนังสือเป็นตรี ใช้ได้ดีมากๆ


Posted by : จจ , Date : 2006-03-24 , Time : 18:04:37 , From IP : 203.188.52.104

ความคิดเห็นที่ : 38


   คิดว่าต้องขยายความอีกนิดนึง

กำลังพยายามสื่อว่างานของแพทย์นั้น "การสื่อสาร" เป้นส่วนหนึ่งของงานด้วยที่สำคัญมาก

การพูดเป็นการสื่อสารที่คณะแพทยศาสตร์ทุกมหาวิทยาลัยมีความเห็นพ้องต้องกันว่าเป็น skill ที่ต้องมีการเสริมสร้าง และ "เร่ง" เสริมสร้างด้วยความจำเป็น ในการรักษาโรค ตั้งแต่กระบวนการวินัจฉัย กระบวนการตรวจร่างกาย กระบวนการส่งตรวจพิเศษ ไปจนถึงการรักษาไม่ว่าจะหายหรือไม่ก็ตาม แพทย์ "ไม่สามารถ" ก้มหน้าก้มตาทำโดยไม่พูด ไม่สื่อสารกับผู้ป่วยและญาติตลอดเวลา

ผู้ป่วยและญาติต้องการทราบเหตุผลว่าทำไมเราจึงทำนี่ ทำโน่น แม้แต่ตอนซักประวัติ บางครั้งก่อนจะเปลี่ยนเรื่องซักเรายังควรบอกเลยว่าทำไมมันเกี่ยวอย่างไร เช่น ซักผป.ที่มาด้วยเรื่องก้อนที่เต้านม เรายังต้องถามเกี่ยวกับการเริ่มมีประจำเดือนครั้งแรก แม้ผป.จะอายุ 60 ปีแล้วก็ตาม จริงอยู่หมอถามอะไรไปคนไข้ก็คงจะตอบ แต่ถ้าเรา "อธิบาย" ประกอบไปด้วย นั่นเป็นการให้เกียรติความเป็นมนุษย์ของคนที่นั่งให้ข้อมูลเราอยู่ แสดงว่าเรา concern ว่าเขาอาจจะสงสัยว่าเราซักไปเพื่ออะไร คนไข้มาด้วยเรื่องก้อนที่ thyroid ถ้าเราจะตรวจร่างกายโดยละเอียด ฟังปอด เคาะหน้าอก เราก็ต้อง "พูดอธิบาย" ผป.ว่าเราทำอะไรไปตอนนี้เพราะอะไร เพื่ออะไร แทบจะไม่มีตอนไหนที่ การพูดอธิบาย ไม่ควรจะมีประกอบการกระทำของแพทย์กับ ผป. แต่มีขั้นตอนมากมายที่เราไม่ได้ "ทำ" อะไรเลยนอกจากพูดคุยกับ ผป.

ต่อให้เรามี manual skill ดีแค่ไหน แต่ถ้าเราไม่สามารถสื่อสารพูดจากับผป.และญาติจนเข้าใจได้ ให้เกียรติผป.และญาติว่าการอธิบายนั้นมีค่ามีความหมาย ก้จะมีโอกาสสูงที่เกิดการล้มเหลวของการสื่อสาร ในที่สุดเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น ก็จะตามมาด้วยการฟ้องร้อง หรือการไม่เข้าใจ และความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และผู้ป่วยล้มเหลวลง

การทำงานบริการสุขภาพนั้น ตราบใดที่มีผป.อยู่เบื้องหน้าเรา (และ conscious) การพูดคุยจะเป็นส่วนสำคัญที่สุดเสมอ ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนไหน และวัตถุประสงค์อะไร เพราะผป.และญาติ ไม่ใช่วัตถุ ที่หมอจะก้มหน้าก้มตาขะมักเขม่นทำอะไรต่อมิอะไรโดยไม่พูดไม่จา ไม่สื่อสาร ไม่อธิบาย

สุภาษิตที่ว่าปากเป็นเอก เลขเป็นโท นั้น ความจริงมีความหมายที่ลึกซึ้ง สัมมาวาจาอยู่ในมรรคแปดก้มีเหตุผลที่ลึกซึ้ง เหมือนๆกับการตีความ "ความเป็นคน" หรือ "การเป้นหมอด้วย เป้นคนด้วย" นั่นแหละครับ เป็นคำพูดธรรมดาๆ ที่ลึกซึ้ง ควรค่าแห่งการตีความหมาย ค้นหาคุณค่า และนำมาเป็นสรณะยึดถือปฏิบัติ มนุษย์นั้นเป็นสัตว์สังคม สังคมต้องมีการสื่อสาร อะไรก็ตามที่ช่วยในการสื่อสารจะยังประโยชน์อย่างยิ่ง การพูดจาสื่อสารที่ดี มีคุณภาพจะมีแต่เสริมการทำงาน การทำหัตถการ นักศึกษาแพทย์ แพทย์ บุคลากรบริการสุขภาพทุกคนจะได้ประโยชน์ในการทำงานด้วยการเพิ่มความชำนาญในการสื่อสารให้ดีขึ้น จะทำอย่างนั้นได้ ต้องเริ่มจากการ ให้ความสำคัญกับการพูด คุย สื่อสาร ก่อนว่าสิ่วเหล่านี้เป็นเนื้อเดียวกัน เป็นส่วนหนึ่งของงานที่เราก้มหน้าก้มตาทำ



Posted by : Phoenix , Date : 2006-03-24 , Time : 20:55:09 , From IP : 58.147.119.234

ความคิดเห็นที่ : 39


   ไม่เถียงครับ
ที่ทำแล้ว ต้องพูด อถิบาย ให้ ผู้ป่วยรู้ว่า หมอ กำลัง คิด วางแผน จะทำอะไร
แต่ ที่เจอ คือ พูด คิด ให้ คนอื่นทำและ ตัวเอง ไม่ต้องทำ
หรือ
ตอนที่ตนเอง เคยทำ ก็ทำไม่ได้
คล้าย อาจารย์ สอนว่าจะส่งแลบ ต้องมี ข้อบ่งชี้ ชัดเจน
แล้วที่ส่งแลบ ก่อน ผ่าตัด เช่น
ตรวจ ปัสสาวะ มีความจำเป็น ทุกรายใหม
ช่วยให้ ลดวันนอน ลงได้ หรือเปล่า



Posted by : จจ , Date : 2006-03-25 , Time : 10:19:48 , From IP : 125.25.5.211

ความคิดเห็นที่ : 40


   ดังที่เห็นจากวัตถุประสงค์ของกระทู้นะครับ เรากำลัง "รณรงค์" หรือ campaign กันว่าทิศทางของการให้บริการสาธารณสุขที่ดีนั้นควรเป็นอย่างไร ถ้าจะรักาประเด็นในที่นี้ เราพิจารณาว่าอะไร "ควร" หรือ "ไม่ควร" หรือว่าอะไรสามารถ "ปรับปรุง" ได้น่าจะเป็น constructive debate จริงไหมครับ

สาเหตุที่เราควรจะ focus ที่พฤติกรรม "แทนที่" จะนึกถึงปัจเจกบุคคลที่เราทุกคนก็มีประสบการณ์ต่างๆกันเพราะ reference ที่เรากำลังนึกนั้น เป็น reference ที่ unreliable มาก คุณ จจ อาจจะลองถามเพื่อนๆรอบตัวดูว่าเพื่อนๆ "เข้าใจ" ว่าคุณ จจ ทำอะไรบ้างในแต่ละวัน ทำไปเพราะอะไร และทำไมจึงทำ แล้วลองเปรียบเทียบดูว่าตรงกับที่ตัวเองคิดมากน้อยแค่ไหน จะพบว่า "บางที" สิ่งที่เพื่อนคิด สิ่งที่เพื่อนมองเห็น (หรือจริงๆแล้ว "มองไม่เห็น" เพราะใครเลยจะเฝ้าสนใจชีวิตของคนอื่นจนกระทั่งบอกได้ว่าวันๆเขาทำอะไรบ้าง หรือไม่ทำอะไรบ้าง) นั้นมันไม่ตรงกับทีตัวเองวาดภาพไว้

คุณ จจ บอกว่า "เคยเจอ" คนที่พูด ที่คิด ให้คนอื่นทำ แต่ตนเองไม่ทำ นั้น มีโอกาสที่จะเข้าใจผิดพอๆกัน ลองตรวจสอบตนเองอีกทีก็ได้ครับ ลองพยายามบอกให้ได้ว่าเพื่อนรักที่สุดของคุณ จจ ทำและไม่ทำอะไรบ้าง ตลอด 24 ชั่วโมงในอาทิตย์ที่ผ่านมา ในเดือนที่ผ่านมา ในปีที่ผ่านมา แล้วลองสรุปว่าเรา "สามารถรู้จัก" คนอื่นๆจริงๆจากพฤติกรรมที่เรา observe ได้กี่เปอร์เซนต์ของช่วงชีวิตจริงของเขา?

นี่คือที่มาของ non-judgemental attitude ที่แพทย์พึงตระหนักว่าทำไมเราจึงมีข้อมูลไม่เพียงพอเกือบตลอดเวลาที่จะ "ตัดสิน" ใครสักคนหนึ่ง ดังนั้นเวลาเราจะ campaign จะ advocate หลักการหรือปรัชญาอะไรสักอย่างหนึ่ง บางทีเอาตัวอย่างที่ตัวเราเอง "รับรู้" อาจจะไม่พอ เราอาจจะต้องวิเคราะห์โดยเหตุผลกว้างกว่านั้น พิจารณาถึง "ดี" หรือ "ไม่ดี" แทนที่จะเป็น "ใคร" ทำได้หรือไม่ได้

ยกตัวอย่างเช่น มีพ่อแม่ครูบาอาจารย์หรือผู้ที่เราเคารพนับถือบอกว่า เรียนหนังสือเป็นเรื่องที่ดี แต่เผอิญพ่อแม่เราด้อยโอกาส ไม่ได้เรียนสูงๆเอง เราจะใช้ข้ออ้างจากประสบการณ์ตรงนี้ มาขัดแย้งกับสิ่งที่ท่านสั่งสอนหรือไม่? อาจารย์แพทย์สอนให้มี indication ในการส่ง lab ทุกครั้ง ถ้าเกิดมีบางครั้ง "เรา" ไม่ทราบว่า indication คืออะไร และรู้สึกว่าส่งไปไม่มีเหตุผล เราควรจะคิดอย่างไรครับ? คิดว่า
"อืม.... ส่ง lab ไม่มี indication" ก็ย่อมได้ หรือว่า
"เอ... อาจจะมีเหตุผลที่เราเองมองไม่เห็น ไม่ทราบ น่าจะลองถามดู" หรือว่า
"อาจารย์คนนี้ไม่ได้ทำดีมีเหตุผลอย่างที่สอน เราเองก็น่าจะลองทำอะไรไม่มีเหตุผลอย่างงั้นก็ได้ซิ" หรือว่า
"อ้อ.... อาจารย์นี่ไม่ทำสมเหตุสมผลแฮะ ถ้าเป็นเรา เราจะต้องมีเหตุผลในการสั่ง lab ทุกครั้งตามหลักการ"

กระบวนการวิธีคิดข้างต้นก็จะก่อมให้เกิดพฤติกรรมที่แตกต่างกันออกไปในนักเรียนคนนี้
คนแรกก็จะกลายเป็นคนส่ง lab ตาม routine ไม่มีเหตุผล
คนที่สองก็จะสนใจ มองหาคำอธิบายที่สอดคล้องกับหลักการที่ตนเคยเชื่อ
คนที่สามก็จะอ้างความไม่สมบูรณ์ของอาจารย์ (ตามที่ตนเองรับรู้) มาอ้างเวลาจะทำอะไรที่ไม่มีเหตุผล
คนที่สี่ยังคงยึดมั่นในเหตุผลและหลักการเดิมที่ตนเองวิเคราะห์แล้วว่าดี

อะไรเป็น constructive rationalizing มากที่สุด?



Posted by : Phoenix , Date : 2006-03-25 , Time : 12:29:09 , From IP : 172.29.3.242

ความคิดเห็นที่ : 41


   ผมเคยอ่าน หนังสือ เล่มหนึ่ง ชื่อ ความคุ้มค่า ทางการแพทย์ ( ชื่ออาจผิดพลาดบ้าง)
น่าอ่าน มากครับ

เรื่องที่ คุณ ยกตัวอย่างมา ผมไม่เถียง อีกเหมือนกันว่า ควร สอนเด็กแบบใหน ถึง จะดี ผมเอง ก็ สอน ในแนวทางนี้ เช้นกัน

แต่จะ ขอยกตัวอย่าง บางเรื่องที่ คนพูด ที่เป็นคน ระดับ อาวุโส ในมหาวิทยาลัย
แต่ทำไม่ได้
เช่น

การให้หมอ อาวุโส น้อยที่สุด หรือ เพิ่งจบ มาอยู่ ประจำ ห้องฉุกเฉิน หรือ
ไปอยู่ในโรงพยาบาล ชุมชน ไม่ดี เพราะ ประสพการณ์ น้อย
ตัดสินใจในเรื่องยาก เร่งด่วน ไม่ได้ดี ทำให้ อัตราเสี่ยงเพิ่มขึ้น
ควรเอา ผู้มีอาวุโส กลางๆ มาอยู่ จะดีที่สุด
เพราะ อาวุโส มาก อดนอน ไม่ไหว ไม่ควร มาอยู่ เดี๋ยว งัวเงีย ทำอะไรไม่ถูก

พูดแบบนี้ ดีมั๊ยครับ

หมอเด็กๆ ชอบ
หมออาวุโส ชอบ
เกิดผลดีกับการรักษา ด้วย


Posted by : จจ , Date : 2006-03-25 , Time : 15:33:03 , From IP : 203.188.39.226

ความคิดเห็นที่ : 42


   ตกลงผู้อาวุโส "พูดว่าอะไร" ครับ? และอะไรที่ทำไม่ได้?

New Paradigm of Health Care System: Humanized Health Care ผมสงสัยว่าเรายังอยู่ใน theme ของกระทู้นี้หรือไม่ ถ้าคุณ จจ สนใจ เราอาจจะแตกหน่อออกไปเป็นกระทู้ใหม่กัน

ขอสะท้อนนิดเดียว เพราะโจทย์ไม่ค่อยเคลียร์

การให้หมออาวุโสน้อยที่สุดอยู่ห้อง "ฉุกเฉิน" ฟังดูไม่ค่อยเป็นตรรกะเท่าไร
การไม่ให้หมออาวุโสน้อยที่สุดออกไปอยู่ชุมชน ซึ่งเป็น primary health care ฟังดูไม่ค่อยเป็นตรรกะเท่าไร
การมีผู้อาวุโสกลางๆมาอยู่ช่วย มีเหตุผล
อาวุโสมาก อดนอนไม่ไหว ประเด็นนี้ผมคิดว่า "ถ้าหมอคนไหนก็ตาม หนุ่มก็แก่ รู้สึกว่าไม่ไหว" ก็ไม่ควรต้องอยู่ทำงาน เพราะมันเกิดความผิดพลาดสูงขึ้น แปรตามความ fitness อายุก็คงจะเกี่ยว แต่ไม่ทั้งหมด บริบทอื่นเช่น หนุ่มๆแต่อดนอนทั้งคืนเพราะ.... ก็บ้อลัด โทรมได้เช่นกัน

พูดว่า "อะไร?" ที่ว่าดีหรือไม่ดี?

สรุปคือผมไม่ค่อยเข้าใจในประเด็นซะทีเดียว จนรู้สึกว่าเราน่าจะตั้งกระทู้ใหม่ เพื่อคงรักษาประเด็นในกระทู้นี้ไว้ จะดีไหมครับ?



Posted by : Phoenix , Date : 2006-03-25 , Time : 15:57:08 , From IP : 172.29.3.242

ความคิดเห็นที่ : 43


   เอาเป็นว่า ผม ยกตัวอย่าง
การที่ให้แพทย์อินเทอร์น หรือ เด้นท์ 1
เป็น ด่านหน้า ที่ อีอาร์ ผิดพลาดง่าย เพราะ ประสพการณ์ น้อยสุด
ควร เอา เด้นท์ 3ที่กำลังจะสอบบอร์ด + สตาฟ มาอยู่ที่ อีอาร์ ดีมั๊ย

และ เคส ผ่าตัด จาก อุบัติเหตุ มักมีปัญหา รุนแรง หลายระบบ โอกาศ เสียคนไข้
เยอะมากหาก ไม่มีประสพการณื ในการผ่าตัดที่มากพอ
ดังนั้น การผ่าตัด นอกเวลา ควรเป็น สตาฟ อาวุโส ที่มีความ ชำนาญมากๆ ดีมั๊ย

ลองพูดแบบนี้ จะมี สตาฟ มาสมัคร มี เด้นท์ มาสมัครเรียน เพิ่มขึ้น กี่เท่า

และ โรงพยาบาลชุมชน ก็ควร เอาหมอที่ จบมานาน ซัก 2 ปีขึ้นไปแล้ว มาประจำ
เพื่อจะได้มี ความชำนาญ ในการ ตรวจ รักษา ดีขึ้น
( แต่ถ้า ไม่มี คนมาอยู่แทน คนเก่า ไม่ให้ ย้าย ออก )
คนพูด บางที ไม่เคยอยู่ใน โรงพยาบาล อำเภอ ด้วย
และ ตอนนี้ ก็เป็น ผู้บริหาร เพียงอย่างเดียว
พุดแบบมองโลกนี้ มี แต่ สีขาว สวยหรู


และ ถ้า มี นศพ. คนใหน ที่ Manner ไม่เหมาะ กับ การเป็น แพทย์ ( ขอใช้ศัพท์ภาษา ชั้นสูง หน่อยเถอะ)
ถือเป็น หน้าที่ อาจารย์ ต้องสอน
อย่าไปคิดว่า เด็ก รู้เองได้ หมด ทุกคน

( แต่เด็กบางคน ที่ผมสอนไม่ ได้
คุณ อาจารย์ ที่เด็ก คนนั้น นับถือ ช่วยสอนด้วย แล้วกัน )


Posted by : จจ , Date : 2006-03-26 , Time : 10:44:45 , From IP : 203.114.121.188

ความคิดเห็นที่ : 44


   หลุดประเด็นไปไกลจัง

Posted by : ... , Date : 2006-03-26 , Time : 12:09:10 , From IP : 172.29.4.254

ความคิดเห็นที่ : 45


   อืม... ผมมองไม่เห็นความขัดแย้งหรือประเด็นในแง่ humanistic health care เหมือนเดิม คุณ จจ อาจจะกำลังพูดถึง theme อื่นๆ เช่น การบริหาร รพ. หรือการเรียนการสอนรึเปล่า?

รพ.ที่คุณ จจ ยกตัวอย่างมาคงจะไม่ใช่ที่ มอ. เพราะเรามี full-time board ประจำอยู่ที่ ER ฉะนั้นผมคิดว่าเราขาด "บริบท" ที่จะอภิปราย

บริบท นั้นสำคัญมากครับที่เราจะตีความ มิฉะนั้นโอกาสที่เราจะแปลผิดจะเยอะ มันจะกลายเป็นเรื่องเดิมคือ judgemental attitude คือยังไม่ทันเข้าใจอะไรทั้งหมด ก็รีบตีค่า ตีความหมายว่าดีหรือไม่ดี

ในที่นี้ก็แนะนำว่าหาข้อมูลเพิ่มเติมว่าทำไม รพ.ที่ว่าจึงจัดคนที่มีประสบการณ์น้อยที่สุดไปอยู่ ณ สถานที่นั้นๆ มีแหล่งปัจจัยอะไรบ้าง หรือ staff ไม่พอ ทำงานอื่นอยู่ หรือถึงอยู่ที่อื่นก็ยังสามารถมาที่ ER ในเวลาอันสั้น หรือความถี่ของ case ที่ ER ต่ำ ทำให้ความเสี่ยงที่อื่นสูงกว่า ฯลฯ ข้อสำคัญคือระบบอะไรที่รองรับถ้าใช้คนประสบการณ์น้อยประจำที่ ER ตรงนี้คงจะนำมาประกอบการ criticism ด้วย

การผ่าตัดนั้นคงจะเป็นประเด็นแยกออกมา เพราะหมอ ER ที่เป็น specialist ER อาจจะไม่ได้มีหน้าที่ตามไปผ่าตัด ขึ้นอยู่กับขนาดของ รพ. และแหล่งบุคลากรแหละครับว่าจะ consult traumatic surgeons, general surgeons หรือ neuro, plastic ตามความเหมาะสม ส่วนจะมีผลต่อ "คนมาสมัคร" เป็น staff หรือ resident สักเท่าไร ผมว่าประเด็นนี้เป็น multi-factorial ครับ เช่น โฆษณาว่าสมัครเป็น staff เป็น residents ที่ รพ.นี้ๆ จะมีโอกาสทองได้อยู่ ER full-time การันตีกี่วัน กี่เวร ต่อเดือน มันก็คงต้องไป match กับความต้องการของผู้สมัครด้วย ซึ่งคงจะแตกต่างกันออกไป

คือผมรู้สึกว่าตัวอย่างที่คุณ จจ ยกมามันกระจัดกระจายอย่างไรไม่ทราบเหมือนกัน มันเป็น response ที่เป็นระบบ หรือเป็น endemic ขนาดไหนใน concept ที่ว่า การตั้ง ideology หรืออุดมคตินั้นดีแน่ครับ แต่เมื่อมาถึงเวลาใช้ มันต้องเป็นตามบริบทอย่างแน่นอน ฉะนั้นสิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือเราสามารถช่วยกันทำได้ใกล้เคียงกับ ideology มากน้อยแค่ไหน ตามสติกำลังปัจจัยที่เรามี

ส่วนเรื่องการสอน นศพ. ให้เป็นแพทย์ที่ดีนั้น ผมคิดว่าเป็นประเด็นที่เรายืนยันว่าควรทำมาตั้งแต่แรก ไม่ใช่ประเด็นที่ขัดแย้งกัน แต่ในฐานะที่เราผ่านการอบรมแพทยศาสตรศึกษามาแล้ว (assume นะครับ เพราะคุณ จจ บอกว่าเป็น staff) ผมว่าเจตคติว่าสอนได้ ไม่ได้ สำหรับ นศพ. คนไหน หรือจะขอเลือกสอนนั้น ฟังดูแปลกๆนะครับ พวกเราถ้ามาเป็นอาจารย์แล้วยอมแพ้ไม่สอนเอาดื้อๆ เอาง่ายๆก็ไม่ค่อยดีต่อนักเรียน ต่อระบบ ต่อสิ่งที่เราสัญญาตั้งใจจะมาทำงานเหมือนกัน ใช่หรือไม่

การเป็นแพทย์ที่ดีนั้นอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานแพทยสภา อยู่ใน table of specification และอยู่ใน learning objective ของหลักสูตรแน่ๆ ถ้าอาจารย์ท่านใดคิดว่าใน learning objective ไหน ไม่สามารถจะสอน หรือจัดประสบการณ์การสอนให้ นศพ. ได้ น่าจะนำมา ยกมาเป็นประเด็นหารือกัยในแพทยศาสตรศึกษา แทนที่จะมอบหมายให้อาจารย์คนอื่นทำแทน

ผมคิดว่าไม่ว่าการเป็นแพทย์ด้วยและเป็นคนด้วย หรือว่าการทำประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์ เป็นลำดับความสำคัญอันดับหนึ่งนั้น ไม่ใช่ศัพท์สูงหรือสวยหรูเท่านั้น แต่เป็นจิตวิญญาณของวิชาชีพที่สำคัญยิ่งไปกว่าการอ่าน EKG ได้ อ่าน film ได้ตอนสอบ comprehensive ซะด้วยซ้ำ เพราะของเหล่านั้น อาจจะไปศึกษาเพิ่มเติมที่หลังได้ แต่จิตวิญญาณวิชาชีพที่จะเป็นตัวการันตีว่าหมอจะไปพัฒนาตนเองในเรื่องที่ว่าทีหลังอย่างแท้จริง ผมอยากจะเข้าใจว่าอาจารย์แพทย์ทุกท่านที่ตั้งใจมาสอน นศพ. ต่าวก็มีความปราถนาที่จะคงไว้ซึ่งหลักปรัชญาที่ว่านี้ของสมเด็จพระราชบิดา และพยายามทำให้มันออกมาเป็นรูปธรรมให้ได้มากที่สุด จึงสมัครเป็นอาจารย์แพทย์ใช่ไหมครับ?



Posted by : Phoenix , Date : 2006-03-26 , Time : 13:43:54 , From IP : 172.29.3.242

ความคิดเห็นที่ : 46


   ผมว่า ที่ คุณ แปล คำพูด ของพระบิดา แห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย
( ผมไม่ชอบเรียก พระบิดาเฉยๆ เพราะ รู้สึก อาจเอื้อมอย่างยิ่ง ว่า
คนพูดเป็น ลูกของท่าน ทั้งๆ ที่ ไม่ได้เป็นจริงๆ หรือ
คนพูด assume เอาเอง ว่า ตนเองเป็นลูกท่าน )

คำที่ว่านั้น คือ Human แปลว่า คน ผมขอเห็นแตกต่าง จากคนแปล หน่อยนะ

ที่ผมเคยอ่าน หนังสือ ของ ท่านอาจารย์ พุทธทาส ภิกขุ
( ท่านไม่เคยได้สอนผมตรงๆ แต่ ผมอ่านหนังสือท่าน แล้ว นับถือ ท่านเป็นอาจารย์ ทางจิตใจ )
ท่าน แปล human ว่า ความเป็น มนุษย์
มนุษย์ ต่างจากคน ตรงใหน
คิดว่า คงต้องอ่านเอง ครับ ผมขี้เกียจอธิบาย
และ ความเป็นมนุษย์ นี่ ก็ไม่ได้ แปลเหมือน กับ มนุษย์ คำเดียว อีก

เลิกเอาชนะ คะคาน ทางความคิด ดีกว่า ครับ
คิดต่างกันได้ แต่ ไม่ใช่เป็นศัตรูกัน และ
ก็ไม่ใช่คนที่พูดจน อีกคน สู้ทางคำพูดไม่ได้ ตนเองจะฉลาดกว่า ครับ

ผมยังยินดีที่จะสอนเด็กทุกคน ในเวลา และ เนื้อหา ที่ได้รับมอบหมาย
แต่นอกเวลา เช่น ในเวบนี้ ได้แต่เตือน เด็ก ไม่อยากสอนแล้ว เพราะ

คือเด็กส่วนมาก ติด หวาน เสียแล้วครับ
ยาขม เด็กส่วนใหญ่ ไม่ชอบ และ ไม่รับฟัง

มาตรวัด ความเก่ง ของ อาจารย์ คือ จำนวนที่ลูกศิษย์ เก่งกว่า อาจารย์
ไม่ใช่ จำนวน ที่เด็ก สอบผ่าน หรือ
เด็กที่ ได้คะแนน เหนือ กว่า เด็ก จากโรงเรียนอื่น เท่านั้น

มิฉะนั้น อาจารย์ ก็ ทำหน้าที่ คล้าย ติวเตอร์ อย่างเดียว


Posted by : จจ , Date : 2006-03-26 , Time : 15:43:57 , From IP : 203.188.61.17

ความคิดเห็นที่ : 47


   มาตรวัด ความเก่ง ของ อาจารย์ คือ จำนวนที่ลูกศิษย์ เก่งกว่า อาจารย์

เห็นด้วยคร้าบบบบ...

แต่ผมต้องการอาจารย์ที่ดี มากกว่าอาจารย์ที่เก่งนะ


Posted by : มาแหย่หนวดเสือ , Date : 2006-03-26 , Time : 15:59:41 , From IP : 172.29.4.254

ความคิดเห็นที่ : 48


   โจทย์ดั้งเดิมที่ผมเขียนไว้ตั้งแต่กระทู้แรกก็คือ ระบบสาธารณสุขที่มีหัวใจแห่งความเป็นมนุษย์ น่าจะพอใช้ได้กระมังครับ

มนุษย์ มน + อุษย (ใจสูง) เห็นด้วยครับว่าความหมายดีกว่าคนเฉยๆ ผมคิดว่าถ้าเราตั้งโจทย์อย่างที่ว่านี้ แล้ว trace ตามรอยตั้งแต่แรก ไม่ได้เบี่ยงเบน ประเด็นก็ยังคงเดิม ที่จริงอ. ประเวศ เขียนหนังสือ pocket book ไว้ค่อนข้างละเอียดว่าปรัชญา หรือ กระบวนทัศน์ใหม่นี้ท่านคิดว่าเป้นอย่างไร ทำอย่างไรอยู่แล้ว แต่โดยกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองว่า "ควร" จะเป็นอย่างไรนั้น ก็มีประโยชน์อย่างยิ่ง นั่นเป้นสาเกหตุที่ผมพยายามรณรงค์ให้พวกเราหันมาสนใจประโยคอย่างเช่น "ระบบสาธารณสุขที่มีหัวใจแห่งความเป็นมนุษย์" หรือ "I not only want you to be a doctor, but I also want you to be man" นั้น ควรค่า คุ้มค่า และเป็นสิริมงคล ต่อตนเองครับที่จะศึกษา ทำความเข้าใจ และพยายามหาความหมาย

หัวใจของการอภิปรายคือ "แลกเปลี่ยน" แน่นอนครับ ไม่ใช่การประชันการแข่งขัน การประชัน การแข่งขันนั้นทำให้เกิดการแพ้ชนะ การอภิปรายแบบนั้นจะเกร็งไปเสียเปล่าๆ แต่ความพยายามแลกเปลี่ยนเพื่อให้ได้เรีบนรู้ว่าความเห็นที่ผิดแผกแตกออกไป มีความเป็นมาอย่างไร ผมคิดว่ามีส่วนช่วย skill ในด้าร principle of autonomy อย่างมีนัยสำคัญ ถ้าการอภิปรายที่ผ่านมาทำให้เกิดความรู้สึกเป็นการแข่งขันไป ต้องขออภัยเพราะนั่นไม่เคยอยู่ใน theme ของการอภิปรายมาก่อน

ถ้าเราค้นพบอะไรใหม่ ที่น่าสนใจ ที่แตกแขนงออกไปจากสิ่งที่เคยเชื่อ เคยรู้ ประสบการณ์นั้นไม่น่าจะเรียกว่าพ่ายแพ้ด้วยคารม แต่น่าจะเป็นการเรียนรู้เพิ่มเติม จิรงหรือไม่ คงแล้วแต่ลักษณะการรับรู้ครับ เราไม่ได้ "สู้" กันด้วยคารม เท่าที่ผ่านมาเราแค่ "แลกเปลี่ยน" ด้วยเหตุผล ตรรกะนั้นไม่ใช่คารมที่สวยหรู แต่เป็นศาสตร์แห่งเหตุและผลที่แห้งแล้ง ตรงไปตรงมา คิดตามได้มากกว่า

ส่วนอาจารย์จะต้อง "วัดความเก่ง" หรือไม่นั้น ก็คงจะแล้วแต่ วัดไปทำไมก้ไม่ทราบเหมือนกัน วัดแล้วใครจะยินดี หรือใครจะยอมรับ ทั้งของตนเองหรือของคนอื่นหรือไม่ ฯลฯ ผมคิดว่าอาจจะไม่ใช่ค่านิยมสากลของคนเป็นอาจารย์ก็เป็นไปได้ "จำนวน" ลูกศิษย์จะบอกถึงอะไรได้แค่ไหน? หรือว่ามีลูกศิษยหนึ่งคนที่เติบโตเป็นอภิชาติศิษย์ เป็นศาสดา ยังประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์ได้อีกมากมายก็อาจจะยิ่งใหญ่ "พอๆ" กับมีลูกศิษย์สำเร็จหลายคน หรือมีลูกศิษย์ที่ "กลายเป็นครู" ได้ต่อๆไป ยิ่งดีใหญ่ก็ได้ แต่ทำไมเราถึงต้องเปรียบเทียบความเก่งหรือความยิ่งใหญ่ของครู อาจารย์ด้วยเล่า?



Posted by : Phoenix , Date : 2006-03-26 , Time : 16:28:39 , From IP : 58.147.24.224

ความคิดเห็นที่ : 49


   วันนี้ได้อ่านหนังสือเรื่อง "บันทึกเวชกรรม" ของอ.ประเวศ วะสี หลังจากที่เคยอ่านครั้งแรกเมื่อตอนม.ปลาย
มาอ่านอีกครั้งตอนจบปี 6 แล้ว ก็ได้ความคิดเพิ่มขึ้นอีกหลายอย่าง

อ่านความคิดเห็นของคุณ จจ แล้วผมก็อยากจะถามว่าได้อ่านหนังสือเล่มนี้หรือยัง ถ้ายังก็อยากจะแนะนำให้อ่านครับ
(ผมว่าเป็นหนังสือดีที่นศพ.และแพทย์ควรได้อ่าน แม้ว่าจะเก่าประมาณ 20 ปีแต่ผมก็คิดว่าทันบุคสมัยดีจริง)

. . .

ประเด็นหลักของกระทู้นี้ "ระบบบริการที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์"
ท้ายๆลงมา เริ่มกลายเป็น แพทย์ที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์

แต่อย่างที่อ.Phoenix ว่าล่ะครับ การจะไม่มีหัวใจความเป็นมนุษย์นั้นยาก
ใครๆก็มีหัวใจ

แพทย์จบใหม่ ต้องเจอคนไข้ OPD จำนวนมาก ก็ย่อมตรวจไม่ทัน (แม้จะตรวจเก่งก็ไม่มีทางทันหมด)
ต้องเป็นด่านแรกที่ ER ก็กลัวว่าจะไม่ชำนาญพอ
ต้องกลัวกับการถูกฟ้องร้อง
ต้องการอยากเป็น specialist (ผมเชื่อว่า ค่านิยม เป็นสาเหตุหนึ่ง)
ผิดที่ใคร คนไข้หรือแพทย์
ไม่มีใครผิด

แต่ปัญหาอยู่ที่ระบบ ระบบมันไม่เอื้อ

เอาล่ะ ระบบบริการที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์ มันเป็นยังงัยหรือครับ
มา debate กันต่อดีกว่า

. . .

ผมคิดว่า ความเป็น "แพทย์" นั้นรวมความถึงความเป็นมนุษย์ที่เข้าใจมนุษย์ด้วยกันแล้ว

หัวใจของความเป็น"แพทย์" จึงน่าจะถูกกว่าความเป็นมนุษย์
(เพราะอย่างที่บอก ทุกคนก็มีหัวใจ ไม่อยากลำบากหรอกครับ แต่ใครล่ะ อยากจะเสียสละ อยากจะอดทน)

. . .


Posted by : ArLim , Date : 2006-03-27 , Time : 23:36:24 , From IP : 203.113.16.250

ความคิดเห็นที่ : 50


   ขอร่วมตีปริศนาต่อนะครับ

"มีหัวใจแห่งความเป็นมนุษย์" ของแพทย์นั้น ไม่เพียงแต่เกี่ยวกับการปรับ "ใจ" ของตัวแพทย์เอง แต่ต้องยังคงความเป้น "ปุถุชน" คนธรรมดา หรืออย่างน้อยก็ "เข้าใจ" หรือ "จำได้" ว่าคนโดยทั่วๆไป คนธรรมดาๆ เขาจะมีความรู้สึกนึกคิด หรือปฏกิรกยาตอบสนองในเรื่องราวต่างๆอย่างไร

ฟังดูเหมือน paradox แต่จริงๆก็คือการปรับเข้าหากันระหว่าง ideal กับ reality หรืออุดมคติและความเป็นจริงนั้นเอง แต่มันไม่ถึงกับ paradox เพียงแต่เกิดการ compromize ตามบริบทเท่านั้น

เช่น สูงสุดของ equanimity หรืออุเบกขานั้น เกิดการละวางได้เพราะเข้าใจ หมอพึงฝึกฝนจิตใจที่จะเกิดมุทิตา เพราะเราทำงานที่มีการสูญเสีย เกี่ยวกับการพรากจากเยอะ แม้แต่หมอสูติที่อาจจะทำงานเกี่ยวกับการเกิด แต่ความปิติที่ยิ่งมากความผิดหวังเมื่อเกิดความผิดพลาดยิ่งรุนแรง แต่แพทย์ที่ทำอุเบกขาได้ดี จนกลายเป็นนิสัย ยังคงต้องเข้าใจและมีเมตตาต่อคนทั่วๆไปว่าเขายังอาจจะมีความรู้สึกเศร้าเสียใจ ไม่สามารถปล่อยวางได้ จะได้มี compassion และพฤติกรรมที่จะรับฟังหรือรับรู้การแสดงออกที่เศร้าเสียใจนั้นเป็นไปอย่างสมบูรณ์แบบ

แพทย์จึงควรเป็น man จะเป็นมนุษย์หรือคนก็แล้วแต่ แต่อาจจะไม่ถึงขั้นอรหันต์เจ้า หรือหลุดพ้นรึเปล่า อันนี้ก็น่าสนใจ ไม่ได้หมายความว่าพระอรหันต์จะทำงานเป็นแพทย์ไม่ได้ ในนิกายมหายาน พุทธมามกะผู้บำเพ็ญวิปัสนาสมาธิสั่งสมฌาน ยังอาจจะเลือกได้เลยที่จะมาเกิดในโลกมนุษย์ ถ้ามาเกิดแล้วจะได้ช่วยเหลือคนอื่นต่อๆไป (บทปวารณาตนจะดำรงชีวิตเยี่ยงโพธิสัตว์ คือ อยู่เพื่อช่วยสัตว์โลก Bodhisattava Vow) บทที่ว่านี้แทบจะถอดออกกลายเป็น Principle of Altruism หรือกฏแห่งการอุทิศตนเพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์

แต่แพทย์โดยทั่วๆไปก็คงจะ observe philosophy นี้แปรไปตามบริบทของตนเอง ของครอบครัว ของที่ทำงาน ขึ้นอยู่กับว่าตอนที่เราพยายาม "ปรับ" ideal เข้ากับ reality นั้น เราทำด้วยจิตใจแบบไหน ด้วยความโกรธ หงุดหงิด frustrate หรือ ด้วยความมานะตั้งใจ มีสมาธิ และมีสัมมาทิฎฐิ ผมคิดว่าตรงนี้เองที่อาจจะส่งผลให้บารมีแห่งสติสมาธิปัญญาเกิดการพัฒนาขึ้นไปในแต่ละทิศทางที่ไม่เหมือนกัน หน้าที่ของเราคงเป็นพิจาณนาว่าแบบไหนจึงจะดี เป็นสิริมงคล เป็นทางเดินที่เหมาะสม

ในที่ประชุม พรพ. ที่เมืองทองธานีเมื่อกลางเดือนนี้ อ.ประเวศ ก็พึ่งกล่าวถึงหนังสือเล่มที่คุณ ArLim ว่ามาพอดีเลยครับ ท่านบอกว่าเขียนไว้หลายสิบปีแล้ว ปรากฏว่าวัฏจักรมันวนเวียนมาทำให้ทันสมัย ทันยุคอีกครั้ง (แต่จริงๆจากเนื้อความในหนังสือ ผมคิดว่าอาจารย์ถ่อมตัวมาก เพราะมันเป็นหนังสือประเภท Forever contemporary คือ ทันสมัยตลอดกาล)



Posted by : Phoenix , Date : 2006-03-28 , Time : 11:04:22 , From IP : ppp-124.120.224.46.r

ความคิดเห็นที่ : 51


   
ขอเลือกที่จะไม่คุยต่อในประเด็นนี้ เพราะ เบื่อแล้วครับ
ได้แต่หวังว่า คนที่เรียนจบ จะอยากไปใช้ทุน มากขึ้นๆๆ


Posted by : จจ , Date : 2006-03-28 , Time : 12:56:55 , From IP : 203.114.101.228

ความคิดเห็นที่ : 52


   เสียดายเวลาที่แพทย์ืมาถกเถียงกันเรี่องค่าตอบแทนและความเมตตาดิฉันไม่ได้เรียนแพทย์ค่ะ
เลยไม่ค่อยเข้าใจว่าทำไมจะต้องมาเสียเวลาคุยกันเรื่องนี้เพราะชีวิตของแพทย์น่าจะเปี่ยมไปด้วยความเมตตาอยู่แล้วเพราะ
อย่างน้อยคุณก็อยู่กับคนไข้ไม่เิกิน 5 วินาทีหรืออาจมากกว่านั้นในบางเวลาและสิ่งที่มีค่าที่สุดคุณได้บุญเป็นกำไรของชีวิตอย่างสบาย ๆ


Posted by : ดวงแก้ว , Date : 2006-04-22 , Time : 17:52:55 , From IP : p172-rasbkkst4.C.csl

ความคิดเห็นที่ : 53


   ผมไม่เคยคิดว่าการมีการสนทนาแลกเปลี่ยนเป็นการเสียเวลาเลยครับ ตรงกันข้ามผมว่าปัญหาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน เกิดจากการ "ไม่มี" การสนทนาแลกเปลี่ยนกันอย่างศิวิไลซ์

ชีวิตแพทย์ก็เหมือนกับชีวิตคนปกติครับ มีช่วงเวลาที่บทบาทหน้าที่และความคิดความรู้แตกต่างกัน การได้สะท้อนตนเองในด้านต่างๆเป็น valuable time เพื่อตรวจสอบว่าเราได้ออกนอกลู่นอกรอยไปไกลแค่ไหนแล้วในช่วงเวลาที่ผ่านมา

อืม.. แล้วขยายความที่ว่าแพทย์อยู่กับคนไข้ไม่เกิน 5 วินาทีให้หน่อยก็ดีครับ บริบทมันเป็นเช่นไร



Posted by : Phoenix , Date : 2006-04-22 , Time : 19:49:51 , From IP : ppp-124.120.220.183.

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.025 seconds. <<<<<