ความคิดเห็นทั้งหมด : 30

เกียตินิยมน่ามี % มากหรือน้อย


   มีบางมหาวิทยาลัย เกิน 3.25 ถึงได้เกียตินิยม อันดับ 2 บางแห่ง 3.00 ขึ้นไป ก็ได้แล้ว ทำไม ไม่เท่าๆกันละ

Posted by : จจ , Date : 2006-02-11 , Time : 15:22:13 , From IP : 203.114.103.98

ความคิดเห็นที่ : 1


   ทำไมกับข้าวร้านพี่แพรว 3อย่าง 15 บาท
แต่ร้านป้าไร 3 อย่าง 30 บาทล่ะ


Posted by : คนไร้หน้ากาก , Date : 2006-02-11 , Time : 19:25:53 , From IP : 172.29.4.189

ความคิดเห็นที่ : 2


   ขึ้นกับจำนวนเกรด โดยทั่วไปสถาบันที่แบ่งเกรดเป็น A B C D F เกียรตินิย่มอันดับสองมักจะเริ่มต้นด้วย 3.00 ส่วนที่แบ่งเกรดเป็น A , B+, B, C+, C เกียรตินิยมอันดับสองมักจะเริ่มต้นที่ 3.25

Posted by : ส , Date : 2006-02-12 , Time : 00:57:33 , From IP : 172.29.7.174

ความคิดเห็นที่ : 3


    เกียรตินิยม.........จำเป็นสำหรับลูกจ้างชั่วกัปชั่วกัล
เพราะนายจ้างที่ไหนก็อยากจะรับพวกเขาไว้ทำงาน

มันบอกถึงความสำเร็จในชีวิตได้จริงหรือ.......
ถ้ามันเป็นตัวชี้วัดว่าประสบความสำเร็จทางด้านการศึกษาก็ โอเค
(แต่เป็นระบบการศึกษาของประเทศไทยนะ...มั่นใจได้จริงรึ)

แต่ทางด้านการงานและชีวิตแล้วหละก็ต้องดูกันต่อไป

ชีวิตจริงนั้นเกรดท่านใช้ได้แค่ครั้งเดียวเท่านั้นแหละครับ(ตอนสมัครงาน)
แต่หลังจากนั้นหละก็มันอยู่ที่ทักษะการใช้ชีวิตครับ

บางทีท่านอาจจะไม่รู้ว่าผู้ที่ถือหุ้นรายใหญ่บริษัทของท่านอาจจะจบเพียง ป.4 ก็ได้

ถ้าอยากได้เกียรตินิยม...........ก็ขอให้ปรับปรุง........เกียตินิยม....ด้วยนะครับ


Posted by : ไม้บรรทัดเหล็กไหล , Date : 2006-02-12 , Time : 15:36:37 , From IP : 210-86-223-221.stati

ความคิดเห็นที่ : 4


   เกียรตินิยมเป็นตัวเลขการวัดทางการศึกษาบอกว่าผ่านการประเมินผลการศึกษา ไม่ได้บอกว่าสามารถจบออกไปปฏิบัติงานได้ดีเพียงใด
บริษัทซีพี เคยกล่าวว่าเด็กที่จบจากมหาวิทยาลัยของรัฐที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งของรัฐ เมื่อจบไปแล้ว ไม่สามารถทำงานได้ ต้องไปนั่งสอนวิธีการทำงานให้ใหม่หมด
การศึกษาจบไปได้เพียงปริญญาบัตร ไม่ได้การันตีว่าทำงานได้ ปริญญาบัตรเป็นแค่ใบเบิกทางที่อาจจะไม่การันตีความสามารถของนักศึกษา


Posted by : อัญมณี , Date : 2006-02-13 , Time : 01:51:27 , From IP : 172.29.7.27

ความคิดเห็นที่ : 5


   ขึ้นอยู่กับ "เกียรตินิยม" นั้นๆ ผู้ให้ต้องการจะ "สะท้อน"อะไร

ถ้าเกียรตินิยมขึ้นกับเกรดอย่างเดียว ก็ต้องแปลว่าเอาเกรดเป็น surrogate outcome ของสิ่งที่เราจะแทนเกียรตินิยม ก็ต้องถามต่อว่า "เกรด" ของคณะนั้นๆสะท้อนอะไรของตัวนักศึกษาบ้าง ตรงนี้แหละคือที่ควรจะ define ให้ชัดเจน เพราะมันมีได้หลาย variations

รายวิชาระดับมหาวิทยาลัยนั้นมีสามรหัสตัวเลขที่บ่งชี้ว่าหน่วกิตทั้งหมดใน "แต่ละ" รายวิชาจะมาจากอะไรแค่ไหน เช่น รายวิชา X(1-2-3) ก็จะมีบรรยาย 1 หน่วยกิตประกอบกับกิจกรรม และ self-directed learning อีก 5 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ทั้งหมดรวมกันก็จะประมาณ 2 หน่วยกิต แต่ละส่วนก็จะมีวิธีการประเมินที่แตกต่างกันไปตามความเหมาะสม ปัญหาคือ "ตามความเหมาะสม" นี่บางทีมันยากพอสมควร

ปัญญาพิสัย หรือ cognitive เป็นส่วนที่การประเมินจะตรงไปตรงมามากที่สุด เช่น การสอบ MCQ, MEQ, CRQ ฯลฯ แต่อีกสองกิจกรรมที่เหลือ นักศึกษาจะได้อะไรหลายๆอย่างปะปนกันทั้งส่วนปัญญาพิสัย จลนพิสัย และเจตคติพิสัย ฉะนั้นในสองกิจกรรมที่เหลืออาจจะเกิดการละเลยหรือให้น้ำหนักไม่ดี ไปสนใจแต่ปัญญาพิสัยแต่ละเลยอีกสองส่วนไป ที่ที่นักศึกษาควรจะได้ทั้งหมดจากรายวิชานี้ ก็จะถูกประเมินแค่บางส่วน ที่บางคนได้คะแนนดีก็จะไม่ใช่คะแนนที่สะท้อนรายวิชานี้อย่างแท้จริง

สมมติตัวอย่างแพทยศาสตรบัณฑิต ถ้าการประเมินมีแต่การสอบ MCQ อย่างเดียว ตัดออกมาเป็นเกรด เป็นเกียรตินิยม มันก็จะไม่ครบทุกส่วนของ model บัณฑิตแพทย์ ส่วนที่ไม่ได้ถูกประเมินเช่น การซํกประวัติ การทำหัตถการเบื้องต้นที่สำคัญ เจตคติ มันก็หายไป ก็อาจจะเกิดปรากฏการณ์ที่นักศึกษาที่ได้เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง แต่ทำหัตถการไม่เป็น ซักประวัติพูดจากับคนไข้ไม่รู้เรื่อง ไม่มีเจตคติที่ดีในการเป็นแพทย์จบออกมาเดินเพ่นพ่านตามถนน ตามคลินิก

แต่ถ้าเกรดกว่าจะออกมาได้ นักศึกษาถูกประเมินความสามารถทุกๆด้าน หน้าที่ความรับผิดชอบ ความสามารถการซักประวัติตรวจร่างกาย เจตคติในการเป็นแพทย์ การทำงานเป็นทีม การทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งระดับ horizontal and vertical การสั่งสมบุคลิกความคิดที่มีรากฐานบนจริยธรรม ถ้า เกรดที่ตัดออกมาสามารถสะท้อนได้หมด คนที่ได้เกียรตินิยมก็จะประกอบด้วยองคฺรวมที่ใกล้อุดมคติมากที่สุดเช่นเดียวกัน เมื่อทำได้ถึงจุดนั้น ถามคำถามใหม่ว่าเกรดมีความหมาย หรือเกียรตินิยมมีความหมายหรือไม่ คำตอบคือ "มี"



Posted by : Phoenix , Date : 2006-02-13 , Time : 02:15:41 , From IP : 58.147.98.203

ความคิดเห็นที่ : 6


   
ไม่เถียง ว่า เกรด ไม่ได้บอก ความเป็นคนดี มีน้ำใจ เอือเฟื้อมีเจตคติดี หรือไม่
แต่ เกรด บอก ความสามารถ ในการ ผ่านการทดสอบด้วย ปัญหาที่สมมุติ ( ข้อสอบ ) การที่ได้เกรดดี อาจ ไม่ได้ประสบความสำเร็จในการทำงาน ก็เพราะ ระบบการสอน ของเรา สอน คนละเรื่องกับที่ จะเอาไปใช้
แล้วช่วยตอบที่ถามด้วย ว่า เกียรตินิยม ควร มี กี่% ของจำนวน นักศึกษาที่จบ ละ


Posted by : จจ , Date : 2006-02-13 , Time : 12:26:10 , From IP : 125.25.7.240

ความคิดเห็นที่ : 7


   อยากจะรบกวนขอให้ช่วยยกตัวอย่างระบบการสอนที่สอนคนละเรื่องกับที่จะนำไปใช้นะครับ คณะคงจะสนใจนำไปปรับปรุง

ถ้าเกรด "สะท้อน" ความเป็นอุดมคติของบัณฑิตจริง ก็จะเป็นเกรดประเภท "อิงเกณฑ์" ไม่ใช่ "อิงกลุ่ม" คำตอบของสัดส่วนแบบอิงเกณฑ์ก็คือมันเป็นไปได้ทั้งสิ้นครับตั้งแต่ 0-100 %

ถ้าเกรดไม่ได้สะท้อนถึงอุดมคติของบัณฑิต มันจะเป็นกี่เปอร์เซนต์ผมว่าไม่สำคัญพอที่จะนำเอามาอภิปราย



Posted by : Phoenix , Date : 2006-02-13 , Time : 12:36:53 , From IP : 58.147.112.215

ความคิดเห็นที่ : 8


   - อ ข



Posted by : พี่ med , Date : 2006-02-14 , Time : 02:02:17 , From IP : 203.188.20.108

ความคิดเห็นที่ : 9


   ที่ถามว่า เกรด ควร อิงเกณท์ หรือ อิงกลุ่ม มันก็ดีกันคนละแบบ ถ้าตัดสินเกณท์ ผ่านขึ้นต่ำที่มีความสามารถให้ ผ่านเป็น บัณทิต ได้ ก็ อิงเกณท์ ได้ แต่การ อิงกลุ่ม เพื่อ หาคนที่เก่งกว่าคนอื่น ก็เป็นการตัดสินแบบอิงกลุ่ม
ที่เคยเห็นบางแห่ง เกียตินิยม ได้กันมาก จนรับปริญญาที่ เขาจะ ปรบมือให้ คนที่ได้เกียตินิยมเท่านั้น ( ไทฃม่รู้เฉพาะสถาบันผมหรือเปล่า ) มันเยอะ จนคนได้ เกียตินิยม ที่หลังๆ ไม่ได้ยินเสียง ปรบมือ เลย สงสัยเมื่อยมือ มั้ง
เรื่องการสอน กับ การทำงาน นั้น คนเก่ง คือ คนที่ ปรับตัวได้ดี มีความอดทน คนที่ได้เกรด ดี น่าจะมีความอดทนกว่า คนที่เกรด น้อยกว่า นะ
แล้ว การให้เกรดเยอะๆไว้ก่อน ผลดี หรือ ร้าย คงเหมือน แม่ที่ใจดีเกินไป ลูกย่อม เป็นยังไง


Posted by : จจ , Date : 2006-02-14 , Time : 19:18:59 , From IP : 203.188.28.132

ความคิดเห็นที่ : 10


   แล้วอิงเกณฑ์หาความเปรียบเทียบไม่ได้หรือครับ? คะแนนดิบยังคงอยู่ในทั้งสองระบบ เพียงแต่เกรดจะออกมาโดยคนละวิธีแค่นั้น หรือว่าเราพูดกันคนละ reference (อิงเกณฑ์/อิงกลุ่ม)?

เกรดดีกับความอดทนเกี่ยวข้องกันหรือไม่มากน้อยแค่ไหน และความอดทนกับความปรับตัวดีเกี่ยวกันรึเปล่า และการปรับตัวกับการทำงานดีคู่กันเสมอไหม สามชุดความสัมพันธ์นี้ผมเองยังไม่แน่ใจนะครับ

เกรดแต่ละรายวิชาเน้นไม่เหมือนกัน พวก cognitive มากๆ คน bright ก็จะได้เปรียบ เพื่อนอ่านสองวัน ตานี่อ่านครึ่ง ชม. ความอดทนที่ใช้อาจจะไม่ correlate กับ output outcome หรือความอดทนอาจจะแปลว่าทนได้ทุกอย่าง อย่างนี้ก็ไม่เรียกว่าปรับตัวดีนะครับ เป็น passive เกินไป อาจจะเป็นลูกไล่ไปตลอด การพัฒนาอาจจะไม่ค่อยดี หรือปรับตัวได้ดีมากจนกลายเป็นกะล่อน ทำงานแบบเอาตัวรอด เอารัดเอาเปรียบเพื่อน เห็นแก่ตัว ใช้ระบบเป็นข้ออ้าง ไม่มีเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ก็จะกลายเป็นการทำงานแบบกิ้งก่าเปลี่ยนสี ผมว่ามันคงจะเป็นทางสายกลางซะมากกว่าเป็น all or none rule

ให้เกรดเยอะหรือน้อยไว้ก่อน ถ้ามันไม่ได้สะท้อนผลงานจริงๆมันก็ไม่ดีแน่ๆไม่ว่าจะทางไหนก็ตาม ฉะนั้นคำว่าดี หรือเหมาะสม ไม่ได้ขึ้นกับคำ มากหรือน้อย แต่เป็นตามความรู้ความสามารถที่แท้จริง ถ้าเก่งจริงทั้งชั้นก็ได้เกียรตินิยมไปเลยทั้งชั้น หรือห่วยทั้งชั้นก็ตกไปเลยทั้งชั้นก็ได้



Posted by : Phoenix , Date : 2006-02-14 , Time : 22:03:40 , From IP : 58.147.112.215

ความคิดเห็นที่ : 11


   อ่านะ

มันก็แค่ตัวชี้วัดบอกราคาค่าตัวของท่านต่อบุคคลอื่น
ค่าของมันจะน่าเชื่อถือก็ต่อเมื่อเครื่องมือที่นำมาใช้วัดค่านั้นถูกต้อง
แล้วท่านมั่นใจในเครื่องมือที่นำมาวัดราคาของท่านได้จริงหรือ

ก็อย่างที่ผมบอกมันเป็นตัวบอกประสิทธิภาพในการเรียนของท่าน

แต่ไม่ได้บอกว่าท่านจะเอามันไปใช้ไนชีวิตจริงได้

เพราะปัจจุบันมีคนโง่มากมายที่ยัง---เรียน---อยู่
คนฉลาดจำนวนน้อยเท่านั้นที่เขา--ศึกษา--กัน

ผมอาจจะเรียนแพทย์เพราะเป็นสิ่งที่ผมมิอาจหลีกเลี่ยงได้(ก็ยังโง่อยู่)
แต่ผมก็ไม่ลืมที่จะศึกษาเรื่องอื่นที่ผมสนใจเพราะอยากรู้จริง(อย่างน้อยผมก็รู้ว่าในหัวของผมก็ยังมีส่วนที่ฉลาดอยู่บ้าง)



Posted by : คนขวางโลก , Date : 2006-02-14 , Time : 22:24:01 , From IP : 210-86-223-221.stati

ความคิดเห็นที่ : 12


   อ่านะ
แต่ถ้าเกรดกว่าจะออกมาได้ นักศึกษาถูกประเมินความสามารถทุกๆด้าน หน้าที่ความรับผิดชอบ ความสามารถการซักประวัติตรวจร่างกาย เจตคติในการเป็นแพทย์ การทำงานเป็นทีม การทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งระดับ horizontal and vertical การสั่งสมบุคลิกความคิดที่มีรากฐานบนจริยธรรม ถ้า เกรดที่ตัดออกมาสามารถสะท้อนได้หมด คนที่ได้เกียรตินิยมก็จะประกอบด้วยองคฺรวมที่ใกล้อุดมคติมากที่สุดเช่นเดียวกัน เมื่อทำได้ถึงจุดนั้น ถามคำถามใหม่ว่าเกรดมีความหมาย หรือเกียรตินิยมมีความหมายหรือไม่ คำตอบคือ "มี"
Posted by Phoenix() 2006-02-13 , 12:36:53 , 58.147.112.215

จริงอะ
ผมแย้งนะไม่ทุกคนหรอกครับ
ที่ผมเห็นมามันไม่ได้สะท้อนอะไรให้เห็นเลย
ผมรู้แค่ว่าก็ยังมีพวกที่ได้เกียรตินิยม ครึ่ง ต่อ ครึ่ง
ที่ fake ต่อหน้าอาจารย์
ลองไปถามเพื่อนคนอื่นเขาก็รู้ไส้กันหมด
ผมประทับใจกับการทำงานของเพื่อนหลายๆคนแม้เขาจะไม่ได้มีเกรดที่สูงส่ง
และก็ไม่พอใจกับการทำงานของบางคนที่ได้เกียรตินิยมแต่เห็นแก่ตัวพูดจาไม่ดีกับทั้งคนไข้และเพื่อนร่วมงาน
หรือพวกหน้าไหว้หลังหลอกที่ไม่ค่อยรับผิดชอบแต่เลียจนได้ดี
วันวันแค่อ่านตำราและคิดว่าแค่นี้ข้าก็ได้เกีรตินิยมข้าเก่งที่สุด

เกียรตินิยมได้ไม่ยากหรอกครับ
แค่นั่งขลุกอ่านหนังสือหนักๆจำเอาไว้เยอะๆซ้อมบทพูดบ่อยๆ
อย่าเข้าไปช่วยงานสังคมมากแค่นี้ก็ได้แล้ว
ที่สำคัญสำหรับผมแล้วคิดว่าคุณธรรมจริยธรรมมนุษยสัมพันธ์ต่อผู้ป่วยเพื่อนร่วมงานและอาจารย์มีความสำคัญมากกว่าแยะ

ผม...แม้จะได้เกียรตินิยม...แต่ก็ไม่ได้ภูมิใจอะไรกับมันเลย
ผมภูมิใจกับความคิดในหัวของผมมากกว่าแยะ
ไม่ต้องเอาไปประกาศให้ใครรู้หรอกว่าข้าเก่ง
เพราะคนที่รู้ดีที่สุดก็คือตัวเราเอง


Posted by : ไม้บรรทัดเหล็กไหล , Date : 2006-02-14 , Time : 22:41:18 , From IP : 210-86-223-221.stati

ความคิดเห็นที่ : 13


   สิ่งที่ผมคิดว่าเป็นอุปสรรคในการทำแบบฝึกหัดวิจารณญาณก็คือ judgemental attitude และจะพยายามเตือนน้องๆนักศึกษาเสมอว่า judgemental นั้น เราทำอยู่ทุกวี่วัน และไม่ได้ห้ามที่จะไม่ทำเพราะมันเป็นไปได้ยากมากที่จะหลีกเลี่ยง แต่ข้อสำคัญคือเราต้อง "ร้ตัว" ว่าเรากำลังทำอยู่ มันจะได้ไม่ cloud our mind

แต่ละวันที่ผ่านไป เราใช้ประสบการณ์เก่า ผนวกกับวิจารณญาณมาช่วยกัน "เดา" หรือ "คาด" เหตการณ์ใหม่ที่เรามีข้อมูลจำกัด และชี้นำพฤติกรรมของเราเสมอๆ ซื้อผงซักฟอก อ้าว ยี่ห้อที่เคยใช้ไม่มีขาย จะ "ลอง" อะไรดี เคยไปแต่ lotus อ้าววันนี้ไม่มีที่จอด "ลอง" ไปคาร์ฟูดูหน่อย ฯลฯ

การที่บัณฑิตที่ได้เกียรตินิยม "บางคน" อาจจะไม่ได้ผ่านการประเมินบางพิสัยที่เป็นส่วนสำคัญของวิชาชีพ ไม่ได้โดยอัตโนมัติแปลว่าเขาจะ "ขาด" ส่วนนั้นเสมอไป ก็คงต้อง "รอดูกันไป" ว่าความรู้ความสามารถอื่นๆที่ระบบไม่ได้ประเมินนั้นเขามีหรือไม่มี แต่ก่อนหน้านั้น เรายังบอกไม่ได้ และไม่ควรอย่างยิ่งที่จะสรุปว่าเขาเป็นอย่างไร

และไม่ว่าได้หรือไม่ได้เกียรตินิยมนั้น ไม่ได้เกี่ยวกับ attitude ในการเรียนรู้ต่อไปแม้แต่นิดเดียว โดย demand ของอาชีพแพทย์ ที่เราต้องการคือ "ประสบการณ์ความเข้าใจชีวิต" มีนักศึกษา มีบัณฑิตสักกี่คนที่จบแพทย์ตอนอายุ 23-24 ปี สามารถ claim ได้ว่าเขาเป็น "บัณฑิตวิชาชีวิต"? แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคนที่เกียรตินิยมจะ "ไม่เข้าใจ" ในเรื่องนี้หมดทุกคนเหมือนกัน เพราะฉะนั้น trait ว่าคนได้หรือไม่ได้เกียรตินิยมจะมีทัศนคติที่ถูกต้องต่อชีวิต ต่อการศึกษาตอ่เนื่องนั้น คงจะทำไม่ได้ คงจะสรุปไม่ได้ แต่ไปๆมาๆจะมีคนตำหนิหรือด่วนสรุปพวกเกียรตินิยมว่าจะต้อง "ขาด" ในส่วนต่างๆเหล่านี้ไปซะหมด

คนเราจะภูมิใจในสิ่งที่ "ตนเอง" ทำได้ เป็นผลงานของตนนั้น ไม่ใช่เรื่องบาป หรือความผิดร้ายแรง achievement ในการที่เราทำวิชา cognitive ได้ 3.99 หรือ 4.00 ก็เป็นเรื่องน่าภาคภูมิใจ ไม่เห็นจะแปลกอะไร ส่วนใครจะภูมิใจหรือไม่นั้นเป็นเรื่องส่วนบุคคล ไม่ได้ distinguish ออกจากเพื่อนตรงไหน ยิ่งในปัจจุบันนี้การประเมินกำลัง shift weight ไปหากิจกรรมบน ward การทำงานกับผู้ป่วย การทำงานเป็นทีมมากขึ้น ยุคที่นั่งกบดานอ่านหนังสือก็จะได้เกียรตินิยมนั้นกำลังจะ fade out ไปเรื่อยๆ นี่คือทิศทางพัฒนาการของแพทยศาสตรศึกษาของ มอ. มองเผินๆมองไม่เห็น ต้องตั้งอกตั้งใจมองความแตกต่างที่ subtle เหล่านี้จึงจะพอบอกได้ ที่มันไม่ชัดเพราะเรื่องเหล่านี้เป็น "คุณค่าทางนามธรรม" เป็นประสบการณ์เรียนรู้ที่ "ซึมซับ" ที่ osmosis เข้าไป ไม่ได้เป็นการบริโภคแบบซด ดื่ม ชัดๆแบบ domain อื่น เรากำลัง "หวังว่า" เกียรตินิยมในอุดมคติจะเกิดขึ้นให้ได้ในสถาบัน แต่จะเกิดคนมองจะต้อง optimistic ละวาง pessimistic และ prejudice และ pre-judgemental attitude ออกไปให้ได้ก่อน

สร้างคุณค่า สร้างค่านิยม จรรยาบรรณวิชาชีพแบบดั้งเดิมของเราให้เข้มแข็งต่อไป



Posted by : Phoenix , Date : 2006-02-15 , Time : 00:59:09 , From IP : 58.147.112.215

ความคิดเห็นที่ : 14


   ที่มาของระบบคิดว่าเกียรตินิยม "ขาด" อะไรไป

นั้นมาจาก old school system ที่เชื่อว่า cognitive knowledge is everything ซึ่งจะเห็นได้จาก classical IQ measurement ที่วัดแต่ linguistic, mathematic & logistic สอง domains เท่านั้นก็เชื่อว่าสามารถพยากรณ์ความสำเร็จในชีวิตของมนุษย์ได้แล้ว

ปัจจุบันนี้ความเชื่อใน old-school IQ system ก็ยังมีอยู่เพราะมันฝังรากมาเป็นเวลากว่าร้อยปีแล้ว ฝ่ายการศึกษาต้องการหา "อะไรบางอย่าง" มากำหนดช่วยพยากรณ์ หรือวางแผนการสอนการเรียนที่เป็น outcome predicting paramater เอ้า นี่เด็กห้อง King ห้อง Queen เอ้านี่เด็กห้องบ๊วย การจัดระบบนี้ใน รร.ยุคผมเองก็มีทั่วไป เด็กกว่า 800 คนเข้า รร.ปุ๊บก็ถูก ranked ทันทีเป็นที่หนึ่งถึงที่แปดร้อย จนต่อมาวิชาศึกษาศาสตร์มีการผนวกกับจิตวิทยา ผนวกกับ neuro-psychology เป็นศาสตร์ที่ผสมผสานมากขึ้น ความเข้าใจใน "ศักยภาพ" ที่แท้จริงของมนุษย์เริ่มดีมากขึ้น คนก็เริ่มสนใจในพิสัยอื่นๆของความสามารถมนุษย์ เกิด terms ทางการศึกษา เช่น multiple intelligence theory ของ Howard Gardner และอื่นๆอีกมากมาย

แต่รากของ narrow-spectrum IQ นั้นมีอยู่นานและยังใช้อยู่ในทางปฏิบัติ ที่มีการพูดว่าจะได้เกรดสูงๆก็ไปซุ่มอ่านหนังสือ ไม่ต้องเกี่ยวข้องกับกิจกรรม อ่านๆเอาความรู้คนเดียวก็จะทำข้อสอบได้ สมัยก่อนเป็นอย่างนี้จริงๆ กิจกรรมเสริมภายนอกนั้นเป็นแค่ทางผ่านและ "นับ" น้อยมาก สอบ final เท่านั้นที่บอกค่านิยมถึงนิยามความสำเร็จ ดูอย่างระบบการสอบ entrance ก็ยังได้ พวก aptitude tests อะไรเนี่ยเพิ่ใจมีทีหลังเมื่อไม่กี่ปีนี้เอง สมัยผมนั้นสอบห้าวิชาก็บอกเลยว่าคนๆนี้ เด็กคนนี้สมควร ไม่สมควรเรียนอะไรได้หรือไม่ คือ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ เลข และภาษาอังกฤษ เป็น pure cognitive-oriented examination

ก็ไม่แปลกอะไรที่มีนักศึกษา นักเรียน ที่พอรู้ว่า รร.จะประเมินยังไง ก็เลยมีพฤติกรรมที่สอดคล้องกับการประเมิน (เหมือนๆกับที่เด็กปัจจุบันใช้โพยนั่นแหละครับ รู้ว่าอ่านโพยมันไม่ได้เพิ่มความเข้าใจอะไรมาก แต่ก็มีโอกาส "ได้คะแนน" สูงในเวลาสั้นๆ พฤติกรรมมันจะสอดคล้องกับเงื่อนไขเสมอ) ก็จะมีส่วนหนึ่งจริงๆที่ถือปรัชญาเรียนแบบนี้เป็นสรณะ ละเลย life skill, team skill, communication skill, social responsibility ไป จบออกมาเป็นตู้หนังสือเคลื่อนที่ achievement ทางด้านการเรียน การศึกษาเด่นกว่าเพื่อน แม้แต่เพื่อนที่ bright พอๆกัน แต่ทุ่มเทกับตำราน้อยกว่า ทำกิจกรรมมากกว่า ก็ดู relative under-achievement ไป ยิ่งเมื่อสังคมเทอดทูนเชิดชูเกรด (ปลอมๆ) แบบนี้ด้วย ในระยะต้นก็ดูเหมือนทำอย่างนี้มัน "ประสบความสำเร็จในชีวิต" จริงๆ เลื่อนขั้น เลื่อนเงินเดือน ฯลฯ แต่ defect of life skill, team skill, communication skill นั้น มันจะส่งผลตอนเวลาต่อมาที่พวกนี้ไปเป็นผู้นำ คุมงาน เพราะขาด skill ที่เป็นนามธรรมเหล่านี้ ขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ที่ไม่ได้มีอยู่ในหมวดการประเมิน ผลกระทบมันแสดงออกมาช้า ยิ่งถ้าโชคร้ายคนเหล่านี้เผอิญหลุดไปมีอำนาจ ยิ่งจะพยายามกดการประเมินพิสัยที่ตนเองไม่ถนัด ไม่ชอบ ไม่เข้าใจ ให้เหลือน้อยที่สุด (พยายามจะล้มเลิกนิทานอีสปนั่นก็เป็นตัวอย่างที่ดี)

ผมคิดว่าเรายังพอช่วยกันทำอะไรได้บ้างครับ ยิ่งถ้าเรา "รุ้" กันอยู่ว่า cognitive alone มันไม่ดีสมบูรณ์แบบ เราคงจะไม่ทำแค่นั่ง moaning เฉยๆ หรือขบเขี้ยวเคี้ยวฟัน bitter อยู่ข้างๆ แต่ถ้าจะเอา model ที่เราคิดว่าน่าจะดี น่าจะทำ ออกมาใช้ในทางปฏิบัติให้มากที่สุด ให้เร็วที่สุดอย่างไรมากกว่าหรือไม่?

ความคิดเห็นที่ : 15


   ที่มาของระบบคิดว่าเกียรตินิยม "ขาด" อะไรไป

นั้นมาจาก old school system ที่เชื่อว่า cognitive knowledge is everything ซึ่งจะเห็นได้จาก classical IQ measurement ที่วัดแต่ linguistic, mathematic & logistic สอง domains เท่านั้นก็เชื่อว่าสามารถพยากรณ์ความสำเร็จในชีวิตของมนุษย์ได้แล้ว

ปัจจุบันนี้ความเชื่อใน old-school IQ system ก็ยังมีอยู่เพราะมันฝังรากมาเป็นเวลากว่าร้อยปีแล้ว ฝ่ายการศึกษาต้องการหา "อะไรบางอย่าง" มากำหนดช่วยพยากรณ์ หรือวางแผนการสอนการเรียนที่เป็น outcome predicting paramater เอ้า นี่เด็กห้อง King ห้อง Queen เอ้านี่เด็กห้องบ๊วย การจัดระบบนี้ใน รร.ยุคผมเองก็มีทั่วไป เด็กกว่า 800 คนเข้า รร.ปุ๊บก็ถูก ranked ทันทีเป็นที่หนึ่งถึงที่แปดร้อย จนต่อมาวิชาศึกษาศาสตร์มีการผนวกกับจิตวิทยา ผนวกกับ neuro-psychology เป็นศาสตร์ที่ผสมผสานมากขึ้น ความเข้าใจใน "ศักยภาพ" ที่แท้จริงของมนุษย์เริ่มดีมากขึ้น คนก็เริ่มสนใจในพิสัยอื่นๆของความสามารถมนุษย์ เกิด terms ทางการศึกษา เช่น multiple intelligence theory ของ Howard Gardner และอื่นๆอีกมากมาย

แต่รากของ narrow-spectrum IQ นั้นมีอยู่นานและยังใช้อยู่ในทางปฏิบัติ ที่มีการพูดว่าจะได้เกรดสูงๆก็ไปซุ่มอ่านหนังสือ ไม่ต้องเกี่ยวข้องกับกิจกรรม อ่านๆเอาความรู้คนเดียวก็จะทำข้อสอบได้ สมัยก่อนเป็นอย่างนี้จริงๆ กิจกรรมเสริมภายนอกนั้นเป็นแค่ทางผ่านและ "นับ" น้อยมาก สอบ final เท่านั้นที่บอกค่านิยมถึงนิยามความสำเร็จ ดูอย่างระบบการสอบ entrance ก็ยังได้ พวก aptitude tests อะไรเนี่ยเพิ่ใจมีทีหลังเมื่อไม่กี่ปีนี้เอง สมัยผมนั้นสอบห้าวิชาก็บอกเลยว่าคนๆนี้ เด็กคนนี้สมควร ไม่สมควรเรียนอะไรได้หรือไม่ คือ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ เลข และภาษาอังกฤษ เป็น pure cognitive-oriented examination

ก็ไม่แปลกอะไรที่มีนักศึกษา นักเรียน ที่พอรู้ว่า รร.จะประเมินยังไง ก็เลยมีพฤติกรรมที่สอดคล้องกับการประเมิน (เหมือนๆกับที่เด็กปัจจุบันใช้โพยนั่นแหละครับ รู้ว่าอ่านโพยมันไม่ได้เพิ่มความเข้าใจอะไรมาก แต่ก็มีโอกาส "ได้คะแนน" สูงในเวลาสั้นๆ พฤติกรรมมันจะสอดคล้องกับเงื่อนไขเสมอ) ก็จะมีส่วนหนึ่งจริงๆที่ถือปรัชญาเรียนแบบนี้เป็นสรณะ ละเลย life skill, team skill, communication skill, social responsibility ไป จบออกมาเป็นตู้หนังสือเคลื่อนที่ achievement ทางด้านการเรียน การศึกษาเด่นกว่าเพื่อน แม้แต่เพื่อนที่ bright พอๆกัน แต่ทุ่มเทกับตำราน้อยกว่า ทำกิจกรรมมากกว่า ก็ดู relative under-achievement ไป ยิ่งเมื่อสังคมเทอดทูนเชิดชูเกรด (ปลอมๆ) แบบนี้ด้วย ในระยะต้นก็ดูเหมือนทำอย่างนี้มัน "ประสบความสำเร็จในชีวิต" จริงๆ เลื่อนขั้น เลื่อนเงินเดือน ฯลฯ แต่ defect of life skill, team skill, communication skill นั้น มันจะส่งผลตอนเวลาต่อมาที่พวกนี้ไปเป็นผู้นำ คุมงาน เพราะขาด skill ที่เป็นนามธรรมเหล่านี้ ขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ที่ไม่ได้มีอยู่ในหมวดการประเมิน ผลกระทบมันแสดงออกมาช้า ยิ่งถ้าโชคร้ายคนเหล่านี้เผอิญหลุดไปมีอำนาจ ยิ่งจะพยายามกดการประเมินพิสัยที่ตนเองไม่ถนัด ไม่ชอบ ไม่เข้าใจ ให้เหลือน้อยที่สุด (พยายามจะล้มเลิกนิทานอีสปนั่นก็เป็นตัวอย่างที่ดี)

ผมคิดว่าเรายังพอช่วยกันทำอะไรได้บ้างครับ ยิ่งถ้าเรา "รุ้" กันอยู่ว่า cognitive alone มันไม่ดีสมบูรณ์แบบ เราคงจะไม่ทำแค่นั่ง moaning เฉยๆ หรือขบเขี้ยวเคี้ยวฟัน bitter อยู่ข้างๆ แต่ถ้าจะเอา model ที่เราคิดว่าน่าจะดี น่าจะทำ ออกมาใช้ในทางปฏิบัติให้มากที่สุด ให้เร็วที่สุดอย่างไรมากกว่าหรือไม่?



Posted by : Phoenix , Date : 2006-02-15 , Time : 08:49:37 , From IP : 172.29.7.125

ความคิดเห็นที่ : 16


   ให้เกียตินิยม ทั้งชั้น ถ้าเด็กเก่งจริง หรือ ตกทั้งชั้น ถ้า ไม่ฉลาดจริง
สงสัย ต้องสอบรวมทั้งประเทศ ใช้ ข้อสอบเดียวกัน และ ต้องไม่มีการแอบ ติวข้อสอบ ให้ลูกศิษย์ ตัวเอง ถึงจะมีข้อสอบที่มีมาตราฐาน


Posted by : จจ , Date : 2006-02-15 , Time : 09:07:49 , From IP : 61.19.24.122

ความคิดเห็นที่ : 17


   ผมคิดว่าไม่จำเป็นครับ และผมคิดว่าไม่ควรซะด้วยซ้ำ

สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาจะ better off ถ้าคงความ unique ของตนเองไว้ "เกณฑ์มาตรฐานเบื้องต้น" ต้องเป็นของส่วนรวมก็จริง แต่ excellency ควรจะเปิดกว้างให้จินตนาการและความทะเยอทะยานเป็นอิสระ ใครจะ set เกียรตินิยมไว้สูงมากจน 10 ปีมีคนนึงก็ยังได้ หรือปีละ 100 คนก็ยังได้ ขึ้นอยู่กับวิสัยทัศน์ของสถาบันนั้นๆ อย่าง Oxford, Cambridge ก็อาจจะตั้ง aim ไว้ว่าจะผลิต Nobel Prize laureate ทุกๆ 5 ปีก็ยังได้

อย่างที่ Einstein ว่าไว้ Imagination is even more important than intelligence



Posted by : Phoenix , Date : 2006-02-15 , Time : 09:41:26 , From IP : 172.29.7.125

ความคิดเห็นที่ : 18


   ขอถามว่า ถ้าข้อสอบไม่มาตราฐาน การตัดสิน จะเป็นธรรมได้อย่างใร คนที่ควรได้คะแนนดี แต่เจอ ข้อสอบแย่ กับ คนไม่เก่ง ได้ข้อสอบง่าย ต่อไปใครเขาจะเชื่อในปริญญา
แล้ว ที่ อ่านมานะ ผมรู้แค่ว่าก็ยังมีพวกที่ได้เกียรตินิยม ครึ่ง ต่อ ครึ่ง
ที่ fake ต่อหน้าอาจารย์
ลองไปถามเพื่อนคนอื่นเขาก็รู้ไส้กันหมด
ก็เป็นเพราะ คะแนน มันไปอยู่ในกิจกรรม เล่นละคร ซ้อมบท ก้อปปี้ คำพูดสวย อาจารย์ ก็ชอบ


Posted by : จจ , Date : 2006-02-15 , Time : 18:55:10 , From IP : 203.114.112.180

ความคิดเห็นที่ : 19


   ผมชักสับสนในประเด็น

ในเบื้องต้น โดยไม่ต้องพูดถึงเกียรตินิยมอะไรนั่นเลย ข้อสอบ "ต้อง" ได้มาตรฐานก่อนอยู่แล้วครับ ข้อสอบที่ไม่ได้มาตรฐานกระทบหมดทั้งคนได้และไม่ได้เกียรตินิยม แปลว่า "ทุกคน" ที่สอบผ่านอาจจะไม่สมควรจะผ่านเลยแม้แต่คนเดียว ข้อสอบแบบไหนที่คุณ จจ บอกว่าคนที่ "ควร" ได้คะแนนดีแล้วได้คะแนนไม่ดี คนที่ไม่ควรคะแนนดีกลับทำได้? ถ้าข้อสอบไม่ได้มาตรฐานล่ะก็ บัณฑิต "ทุกคน" ที่จะหมดความเชื่อถือลงทันที ไม่เพียงแต่เฉพาะคนที่ได้เกียรตินิยม

ผมขอแหล่งข้อมูลที่คุณ จจ อ่านมาได้ไหมครับว่างานวิจัยแบบไหนที่ได้ข้อสรุปว่าพวกที่เกียรตินิยมครึ่งหนึ่ง "ได้เพราะ" fake ต่อหน้าอาจารย์? และผลงานวิจัยนี้กล่าวถึงพวกที่ไมได้เกียรตินิยมหรือไม่ว่า fake ในกลุ่มนี้มีกี่เปอร์เซนต์ ขนาดพยายาม fake แล้วก็ยังซ่อม ยังตกกี่เปอร์เซนต์ ที่ถามเพราะว่าเราจะได้มี reference เดียวกันเวลาอ้างอิงข้อสรุป

คะแนนกิจกรรมนั้นมันประมาณ 50% และบนหอผู้ป่วยมันไม่ได้เป็น PBL อีกต่อไป คุณ จจ ฃ่วย ขยายความนิดนึงว่า "กิจกรรมอะไร" ที่ทำให้ระบบการประเมินในชั้นคลินิกบิดเบี้ยวขนาด reverse หรือกลับขั้วเกรดได้ ผมเริ่มสงสัยว่า reference frame ของระบบตัดเกรดในชั้นคลินิกที่เรากำลังพูดถึงนี่มันเป็นของระดับชั้นไหนกันแน่ เพราะแต่ละ block (ถ้าเป็นนักศึกษาคลินิก) มันค่อนข้าง unique ยากแก่การตัดสินแบบ universal ว่าระบบให้คะแนนทั้งสามปีเป็นอย่างเดียวกันตลอดทั้งปี

แต่ถ้าพูดถึงแค่ชั้นปรีคลินิก คะแนนของปรีคลินิกกับคลินิกไม่จำเป็นต้องสัมพันธิเป็นแบบ _linear ตรงกันข้ามหลายๆคนที่สนใจปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วยเยอะๆ จะเรียนอย่างมีความสุขขึ้น และเกรดก็ดีขึ้นด้วยเมื่อเปรียบเทียบกับตอนปรีคลินิก

คำพูดหรือ presentation แบบที่อาจารย์ทุกคนจะชอบ (ไม่ว่า fake หรือไม่) คือคำพูดที่เคารพในเกียรติและศักดิ์ศรีของผู้ป่วย คนที่ไม่ทำ (ไม่ว่าโดยจงใจ หรือโดยกมลสันดานไม่เคารพผู้ป่วยอยู่แล้ว) ก็จะไม่ถูกนิยมชมชอบแน่นอน ฉะนั้นคนที่จะได้คะแนนดีจะมีกลุ่มเดียวแน่ๆ คือ คนที่ "แสดงออก" อย่างเหมาะสมกับผู้ป่วย คนที่ไม่ได้เกียรนิยมหรือคะแนนไม่ดีเพราะปฏิบัติต่อผป.ไม่ดี ยังไงๆก็ไม่สมควรจะเป็นแพทย์อยู่แล้ว อย่าว่าถึงจะได้เกียรตินิยมเลยครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2006-02-15 , Time : 22:26:01 , From IP : 58.147.112.215

ความคิดเห็นที่ : 20


   ขอแหล่งข้อมูลที่คุณ จจ อ่านมาได้ไหมครับว่างานวิจัยแบบไหนที่ได้ข้อสรุปว่าพวกที่เกียรตินิยมครึ่งหนึ่ง "ได้เพราะ" fake ต่อหน้าอาจารย์? และผลงานวิจัยนี้กล่าวถึงพวกที่ไมได้เกียรตินิยมหรือไม่ว่า fake ในกลุ่มนี้มีกี่เปอร์เซนต์ ขนาดพยายาม fake แล้วก็ยังซ่อม ยังตกกี่เปอร์เซนต์ ที่ถามเพราะว่าเราจะได้มี reference เดียวกันเวลาอ้างอิงข้อสรุป
ผมอ่าน จาก ความเห็น ของ คุณไม้บรรทัดเหล็กไหล ต่างหาก ครับ ไม่ใช่ ผมรู้มาเอง เขาเองก็ได้เกียตินิยม แต่ไม่ภูมิใจ ใน ความที่ได้เกียตินิยม
อ้อ ผมก็ไม่เคยรู้มาก่อนว่า เด็ก ไม่เก่ง อยากได้เกียตินิยม มากจริงๆ


Posted by : จจ , Date : 2006-02-17 , Time : 19:25:26 , From IP : 203.114.118.225

ความคิดเห็นที่ : 21


   เราคงจะ "เข้าใจและรู้" ความรู้สึกแน่ๆ ก็ของเราเองเท่านั้นกระมังครับ ใช่หรือไม่?

ปีที่แล้ว ผมเข้าใจว่าบัณฑิตคณะแพทย์ได้เกียรตินิยม 1-2 รวมหลายสิบคน reference ว่าเป็นว่าได้จาก "fake" ซะ 50% นี่ คงต้องถามวิธี หรือเวลาเรารับฟังคงจะตั้งข้อสงสัยไว้ก่อนว่าผลสรุปมัน valid หรือไม่

"ถ้า" เกียรตินิยมเป็นสิ่งที่ดี ผมคิดว่า "ใครๆ" ก็มีสิทธิอยากได้ รวมทั้งคนที่อาจจะไม่มีโอกาสเข้าเรียนหนังสือเลยก็ยังได้ ทำไมถึงจะ "สงวนสิทธิ์" ไว้สำหรับคนเก่งเท่านั้น จึงจะอยากได้?



Posted by : Phoenix , Date : 2006-02-18 , Time : 00:08:12 , From IP : 203-118-123-152.stat

ความคิดเห็นที่ : 22


   ความอยากได้ เกียตินิยมเป็นสิ่งไม่ผิด คล้าย กับ อยากได้เงิน ไม่ผิด แต่ อย่า งก และ ขยัน หาความรู้ ดีกว่า มาเรียนแบบ เล่นๆ
อ้อ ผมขอเสริม เรื่องที่มี คนเขียน ข้างบน ว่า ก้าเกรดมี 4 ค่า A B C D เริ่มเกยตินิยม ที่ 3.00แต่ถ้ามีเกรดย่อย A+ B+ เกยตินิยม เริ่มที่ 3.25 ผมว่า มันน่า จะกลับกันนะ เพราะเมื่อ ตัดเกรด ย่อยมากขึ้น พวกที่ได้เกรด B หรือ 3.00 ขึ้นไป ยิ่งมีมากขึ้นอีก จริงหรือไม่ครับ
หวังว่า ความเห็นผม คงทำให้ คนบางคนที่เคยได้เกียตินิยม จะภูมิใจใน การเรียนรู้ที่ได้มาจริงๆ ของตนเองมากขึ้น
ยังไง การแก้ความเห็นคนที่สอนคนอื่นๆมายาวนาน คงไม่ใช่จะปรับได้ในคืนเดียว



Posted by : จจ , Date : 2006-02-18 , Time : 12:20:32 , From IP : 203.114.117.133

ความคิดเห็นที่ : 23


   ถ้าผมเข้าใจถูกว่าคุณ จจ อยากจะแก้ความเห็นอะไรของผม ผมยินดีที่จะรับฟังครับ แต่ไม่แน่ใจว่าประเด็นไหนที่คุณ จจ ไม่เห็นด้วยจนกระทั่งอยากให้แก้

ปกติเวลามีความขัดแย้งทางความคิด ก็จะมีทางออกหลายรูปแบบ
agree to disagree
you must change and agree with me
I will change and agree with you
ฟังดูคุณ จจ อยากจะพยายาม category 2 ซึ่งผมว่าน่าสนใจว่ามันคือประเด็นไหน

ผมรู้จักเด็กเกียรตินิยมมาก็ไม่น้อย มีทุกแบบเหมือนๆคนธรรมดาๆทั่วๆไป จนเราไม่สามารถ judge ได้ว่าถ้าเป็นเกียรตินิยมปุ๊บ แปลว่า..... ถ้าไม่ได้เกียรตินิยมแปลว่า.....



Posted by : Phoenix , Date : 2006-02-18 , Time : 12:40:20 , From IP : 203-118-113-235.stat

ความคิดเห็นที่ : 24


   ผมไม่ได้อยากแก้ความคิดใคร แต่ เมื่อความคิดเห็นไม่ตรงกัน ย่อมมีการแสดงความรู้ หรือ แสดงข้อโต้แย้งกัน บ้าง
ผมเคยได้ยิน อาจารย์ บางคนพูดว่า เกียตินิยม โหล ฟัง แล้วมันเกินจริง ไปหน่อย


Posted by : จจ , Date : 2006-02-18 , Time : 13:31:01 , From IP : 125.25.2.114

ความคิดเห็นที่ : 25


   อ่านะ

ทุกคนก็ต่างมีโลกส่วนตัวครับ
คิดยังไงก็ได้
แต่ความจริงนั้นมีแค่หนึ่งเดียว
ผู้ที่เข้าใจโลกและสามารถปรับตัวให้เข้ากับมันได้
ยอมรับไม่ปฏิเสธว่ามันไม่มีจริง
เท่านี้ท่านก็ดำรงชีวิตได้อย่างผู้ที่ประสบความสำเร็จทั้งสังคมของตนเองสังคมบ้านสังคมโลก
บางคนอาจพอใจอยู่แค่คนเดียวก็ช่างเขาปะไร ปล่อยเขาไป
ถ้าเช่นนั้นเขามีสุขแล้ว ก็ถือว่าเป็นบุญของเขา
ตัวผมเองมันพวกมีกรรม ยังต้องไขว่คว้า ค้นหาสิ่งสนองความอยาก คนต้องเวียนว่ายดิ้นรนกันต่อไป

คติประจำตัวของผม
ความเพียงพอ เป็นเส้นทางนำไปสู่ ความไม่พอเพียง
คนรวย อาจไม่ได้เป็นคนที่มีความสุข แต่บางคนก็มีความสุขได้
คนจน อาจจะมีสุขได้ไม่มีทุกข์ แต่ก็ไม่ใช่ทุกคน

ถ้าเลือกได้ผมขอเป็นคนรวยที่มีความสุข
แต่อย่างเลวสุดผมขอเป็นคนรวยที่ทุกข์
ไม่ขอนำหน้าด้วยคำว่าจนเป็นพอ

เพราะสุขทุกข์/controlได้
แต่ จนมันง่าย รวยมันยาก

ผมมันเลวครับ


Posted by : ไม้บรรทัดเหล็กไหล , Date : 2006-02-21 , Time : 02:40:51 , From IP : 210-86-223-221.stati

ความคิดเห็นที่ : 26


   คุณไม้บรรทัดเหล็กไหลจะรวยด้วย...เงิน...ที่ได้มาจากไหนคะ?
ถ้าจากภาษีประชาชนโดยรัฐบาลจ้าง...หนูไม่ค้านอะไร
ถ้าจากเงินออมของประชาชน...หนูก็ลังเลอยู่

หนูเคยเห็น...
คนป่วย ไปหาหมอ เอาเงินออมจากรายได้ไปจ่ายค่าซ่อมร่างกายที่เจ็บป่วย บางคนออมจากเงินเดือน บางคนเก็บจากค่าแรงงานรายวัน บางคนไม่มีออม ก็ต้องไปกู้ ไปยืมมา เอาเงินมาให้ "หมอ" ที่ไหนว่าเก่ง ว่าดี ขอให้หมอ "ช่วย" รักษา บางคนขอเพื่อตัวเอง บางคนขอเพื่อ พ่อ แม่ ลูก ผู้ซึ่งเป็น "ที่รัก" ของเขา
ครั้งที่เคยเห็น....หนูไม่แน่ใจ

จนวันหนึ่ง "เรา" เป็น
แม่ป่วย น้องป่วย พ่อป่วย ตัวเองป่วยเอง
ไม่มีรายได้เข้าบ้าน เพราะไม่ได้ทำงาน ต้องเอาเงินออมมาใช้ "ค่ารักษา ค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ฯลฯ" ของคนป่วย และคนเฝ้าคนป่วย
ครั้งที่เคยเป็น...หนูจึงแน่ใจ

ว่าไม่อยาก...เลว...ค่ะ

แต่ก็ด้วยหนูยังไม่เห็น และไม่รู้จัก "ความเป็นจริงของชีวิต" มากนัก
ก็เลยได้แต่หวังว่า เมื่อเวลาผ่านไป เมื่อเติบโตขึ้น เมื่อได้เห็นและได้รู้จัก "ความเป็นจริงของชีวิต" ที่ใครๆเล่า แล้ว ...หนูจะไม่เปลี่ยนไป...


Posted by : Lucifer , Date : 2006-02-21 , Time : 11:18:38 , From IP : 172.29.4.127

ความคิดเห็นที่ : 27


   ถ้า พอใจในที่เรามี และไม่หวังในสิ่งที่ไม่สมควรได้ ก็รวยแล้ว
แต่ถ้า ไม่รู้จัก พอ มีเท่าใหร ก็ไม่รวย
ดูคนมีเงิน เจ็ดหมื่นล้านซิ อีกกี่ชาติ ถึงจะรวยเท่าเขา
อ้อ เคยมีเพื่อนสองคน คนนึงได้เกรด 3.24เคยเสียใจมาก ที่ไม่ได้เกียตินิยม แต่ก็เห็นได้เป็น อาจารย์ในมหาวิทยาลัย แต่คนที่ได้เกรด 3.6 กว่า เป็นอาจารย์ มหาวิทยาลัย แต่ก็ไม่ได้แตกต่างกันมากนัก เพราะ อย่างนั้น อย่างก คะแนน แต่ก็อย่าขี้เกียจ จนเกินไป


Posted by : จจ , Date : 2006-02-21 , Time : 21:13:04 , From IP : 210-86-223-221.stati

ความคิดเห็นที่ : 28


   อ่านะ

ผมต้องการรวยครับ
และคนที่รวยในความคิดผมเป็นดังนี้ครับ
1.มีเงินใช้ไม่ขาดมืออยากได้อะไรก็สามารถซื้อได้เลยไม่ต้องคิดมาก
2.มีเวลาอยากทำอะไรก็ทำได้ตามความพอใจไม่ต้องไปทำงานก็มีเงินใช้
3.ไม่ต้องคิดถึงวันพรุ่งนี้ว่าจะต้องไปหาเงินจากไหนดี
4.ไม่ต้องคิดว่าแก่ไปแล้วใครจะมาจ่ายเงินเลี้ยงดูตัวเรา

แล้วคุณคิดว่าผมจะรวยจากการเป็นหมอได้จริงหรือ
อาชีพที่ต้องทำงาน งกๆ เพื่อจะได้ค่าจ้างมาจากผู้อื่นที่จ่ายให้ ชาตินี้ไม่มีวันรวย

คนที่คิดว่าเรียนเก่งๆจะได้เป็นหมอมีเกียรติ มั่นคงและ รวย มันก็พวกโง่ดีๆนี่เอง
ตราบใดที่ยังเป็นลูกจ้างเขามันก็จนตลอดไป

ผมคิดว่านะ ใครไม่เห็นด้วยก็ไม่ได้ว่านะ
ต่อไปคนที่เรียนหมอก็จะมีแค่สองประเภท
1.คนดี
2.คนโง่

ผมเป็นพวกคนโง่ครับ(ตอนเริ่มมาเรียน)
ตอนนี้กำลังคิดวิธีที่จะทำให้หายโง่หน่อย

คนเลวอย่างผมมันต้องทำเพื่อตนเองก่อนครับไม่ใช่เพื่อผู้อื่น


Posted by : ไม้บรรทัดเหล็กไหล , Date : 2006-02-22 , Time : 23:31:24 , From IP : 210-86-223-221.stati

ความคิดเห็นที่ : 29


   ความคิดแบบ ขอให้รวย อย่าง อื่นเอาไว้ก่อน รวยก่อน ย่อมได้เปรียบ
น่านับถือจริงๆๆๆ


Posted by : จจ , Date : 2006-02-23 , Time : 11:42:26 , From IP : 61.19.24.122

ความคิดเห็นที่ : 30


   WHO เสนอความเห็นว่า "คุณภาพชีวิต" นั้นเป็นองค์รวม ประกอบด้วยหลาย "มิติ" ได้แก่ กาย จิต สังคม จิตวิญญาณ

แต่ละขณะ ของแต่ละคน ก็จะอยู่ที่ "สมดุล" ของทั้งสี่มิติที่เปลี่ยนแปลงได้

จะเห็น "จุดร่วม" ก็ตอนที่เริ่มมีการแสวงหา "จิตวิญญาณ" เพื่อความสงบทางใจ ตรงนี้อาจจะลำบากหน่อยสำหรับบางท่าน อาจจะง่ายหน่อยสำหรับบางคน เพราะคำว่า "จิตวิญญาณ" นี้คืออะไร นิยามก็ดูจะเลื่อนลอย และจับต้องยาก เป็นนามธรรม รศ.สิวลี ศิริไล อาจารย์ด้านปรัชญาเคยว่าไว้ว่ามันเป็นอะไรที่ละเอียดอ่อน ลึกซึ้งของแต่ละบุคคลที่บ่งบอกถึงความหมายสูงสุด เป้าหมายแห่งชีวิต การคงอยู่ของเขา เป็นเครื่อง "ยึดเหนี่ยว" จิตใจ จิตวิญญาณ

ของบางอย่างเราคิดว่ามันมั่นคง ยึดไว้ก่อนไม่เสียหาย แต่สิ่งที่เราแลกไปโดยไม่รู้ตัวคือความยึดติด ความต้องการที่มากขึ้น จนกระทั่งละเลยของบางอย่างไป พระบรมปราชญ์แห่งประเทศไทยทรงมีเมตตาให้พระบรมราโชวาท "เพียงพอ" นั่นลึกซึ้งยิ่งนัก มีคุณค่าพอที่จะใคร่ครวญอย่างจริงจัง ไม่เข้าข้างตนเอง ว่า "เพียงพอ" อย่างไร ที่พระองค์ทรางมีพระราชดำรัสถึง พสกนิกรทุกคนจึง "สามารถทำได้"

ผมคิดว่าถ้าใครต้องประกาศย้ำเสมอๆว่า "ผมเลวๆ" ดังนั้น ผมถึงมีสิทธิ์ทำยังงี้ๆ อันนี้ยังไม่เป็นวิธีที่ชัดเจนครับ เพราะการประกาศแบบ anonymous นั้น มันไม่มีความหมายอะไรเลย ถ้าจะสะท้อน "ตนเอง" เป็นการส่วนตัวจริงๆแล้ว ไม่ต้องประกาศให้คนอื่น แต่กระซิบในใจตนเองดีกว่าว่า "เราเลวๆ" ไปเรื่อยๆ พิจารณาว่าสุขหรือไม่ อย่างไร ที่จะทดสอบให้แน่กว่านั้นก็คือ หาคนที่เรารัก ห่วงใยอย่างแท้จริง เช่น พ่อ แม่ ลูก ไปกราบเท้าท่าน หรืออุ้มเข้าที่ตัก บอกว่า "ลูกเลวๆ" หรือ "พ่อเป็นคนเลวๆ" ขอเห็นแก่ตัวก่อนคนอื่น ขอรวยๆ ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะทดสอบจิตวิญญาณหรือคุณภาพชีวิตที่เราแสวงหาอย่างแท้จริง



Posted by : Phoenix , Date : 2006-02-25 , Time : 22:50:06 , From IP : 172.29.7.24

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.014 seconds. <<<<<