ความคิดเห็นทั้งหมด : 18

คน ม.อ. อ่อนแอเรื่องการเมือง


   เป็นเรื่องแปลกที่นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากร ม.อ. ของเราอ่อนแอเรื่องการเมือง

ดูเหมือนว่าองค์กรกิจกรรมของนักศึกษา ม.อ. ทุกวิทยาเขต ส่วนใหญ่ไม่ค่อยจะมีบทบาทในการวิพากย์วิจารณ์การเมือง ไม่มีการแสดงออก - ไม่มีการแสดงความคิดเห็นด้านการเมือง ชอบนิ่งเฉย ซึ่งเป็นมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน...

- จะเป็นไปได้ไหมครับว่า เป็นเพราะ "นักศึกษาส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ทางการเมือง และไม่เคยใส่ใจติดตามข่าวสารบ้านเมืองเลย"

- จะเป็นไปได้ไหมครับว่า เป็นเพราะ "นักศึกษา ม.อ. ยังเป็นเด็ก ๆ พ่อแม่ ครูบาอาจารย์อบรมสั่งสอนให้ใฝ่รู้ในสาขาวิชาตัวเองเพียงอย่างเดียว (และเรียนหนักด้วย) แล้วก็ยังต้องทำตามคำสั่ง ขาดการสั่งสอนให้เป็นคนรอบรู้ - เป็นตัวของตัวเอง"

- จะเป็นไปได้ไหมครับว่า เป็นเพราะ "ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น" อาจารย์ใหม่ ๆ ทั้งหลายก็จบจาก ม.อ. ก็เลยเคยชิน ทำตามอย่างที่อาจารย์ตัวเองสอนให้ดู

- จะเป็นไปได้ไหมครับว่า เป็นเพราะ "คน ม.อ. ส่วนใหญ่ ถูกกระบวนการ...!!! ทำให้เคยชินกับการทำตัวตรงข้ามกับพระราชดำรัสของพระราชบิดา

และ จะเป็นไปได้ไหมครับว่า เป็นเพราะ "ม.อ. ก็ไม่ชอบให้ใครมาแสดงความคิดเห็นมาก ๆ ...ถ้าหากคน ม.อ. เงียบเสียงมากเท่าไหร่ก็สบายใจ... และดีกว่าที่จะมีเสียงบ่น..."

แล้วท่านอื่น ๆ จะมีความคิดเห็นเป็นอย่างไรครับ


Posted by : คนไท , Date : 2006-02-09 , Time : 19:51:30 , From IP : 172.29.5.164

ความคิดเห็นที่ : 1


   เป็นกลางครับ

Posted by : ไทด้วยคน , Date : 2006-02-09 , Time : 20:34:55 , From IP : 172.29.4.148

ความคิดเห็นที่ : 2


    ผมไม่ใช่ศิษย์ที่นี่ครับ ขออนุญาตแสดงความคิดเห็นนะครับ.
สงสัยเหมือนกันครับ ว่าทำไมเราไม่มีการแสดงความคิดเห็นอะไรเลย

ผ่านไปทางประตู 109 ร้านอาหารเล็ก ๆ ร้านหนึ่งเขียนป้าย

ต่อต้าน FTA ระดมทุน กฟผ.


Posted by : FanFan , Date : 2006-02-09 , Time : 20:35:34 , From IP : 172.29.1.212

ความคิดเห็นที่ : 3


   เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ ดิฉันเองก็อึดอัดเหมือนกันบางที่อยากจะทำอะไร อยากจะพูดอะไร แต่หาคนคอเดียวกันยากมาก



Posted by : บุคลากร , Date : 2006-02-09 , Time : 20:49:41 , From IP : 172.29.7.225

ความคิดเห็นที่ : 4


   เห็นด้วยเหมือนกันว่าทำไมถึงได้เฉ้ย-เฉยกันจัง ดิฉันก็อึดอัดเหมือนคุณบุคลากร
หรือว่าเรางานหนักเกินไปสนไม่มีเวลาสังสรรค์สนทนากันเลย หรือว่าเราไม่มีแกนนำ หรือว่าเราเบื่อการเมือง


Posted by : กระปุก , Date : 2006-02-09 , Time : 20:59:47 , From IP : 172.29.5.198

ความคิดเห็นที่ : 5


   
พูดถึงคำว่า "การเมือง" ผมนึกถึง "นักการเมือง"
ซึ่งแต่ละคนน่ารังเกียจชะมัด อยากให้ใช้คำว่า "เรื่องของบ้านเมือง" มากกว่า


Posted by : FanFan , Date : 2006-02-09 , Time : 21:04:50 , From IP : 172.29.1.212

ความคิดเห็นที่ : 6


   ผมว่าก่อนที่จะมาบอก หรือสรุปเอาว่า เรา อ่อนแอ เรื่องการเมือง

น่าจะบอกให้ได้ก่อน ว่าอะไรทำให้ คุณคนไท คิดหรือรู้สึกเช่นนั้น

เป็นเพราะ ไม่ได้ "มีการแสดงออก" ซึ่งบทบาททางการเมืองใช่ไหมครับ

ผมไม่เชื่อว่าเราอ่อนแอ ผมว่าเกือบทุกคน ใน มอ. ติดตาม และวิจารณ์ เหตุการณ์ทั้งหมดอยู่

แต่ต้องถึงกับไปร่วมการชุมนุมหรือเปล่า อันนี้ก็คงมีหลายปัจจัย

ดังนั้น เรามาคุยกันถึง "วิถีทางการแสดงออก ซึ่งบทบาททางการเมืองของชาว มอ." ดีไหมครับ

เป็นต้นว่า องค์กร หน้าจะมีหน้าที่อะไรบ้าง หรือถ้าไม่ถึงกับหน้าที่ ก็เป็นวิธีการแสดงออกให้เห็นว่า เรากำลังมีบทบาท เราอยากแสดงความเห็นกัน แบบนี้ แบบนี้

ร้านอาหารที่ติดป้ายก็เป็นการแสดงออก

ติดธงสีเหลืองที่รถ ดีไหม เขียนตัวหนังสือพอให้รู้ว่าเราคิดอย่างไร โดยมีผู้จัดทำให้มีรูปแบบเดียวกัน

อะไรทำนองนั้น (something like that..)


Posted by : OmniSci , Date : 2006-02-09 , Time : 23:08:41 , From IP : 172.29.5.191

ความคิดเห็นที่ : 7


   การสรุปว่าคนมอ.ทำตัว "ตรงกันข้าม" กับพระราชดำรัสสมเด็จพระราชบิดา นี่ มายังไงนะครับ?




Posted by : Phoenix , Date : 2006-02-10 , Time : 02:46:19 , From IP : 58.147.97.91

ความคิดเห็นที่ : 8


   มีเวทีการเมืองอยู่บ่อยครั้งที่มหาวิทยาลัยวันศุกร์ เมื่อ 4 กพ. ก็มีถ่ายทอดสด ส่วนมากที่เข้าร่วมจะเป็นบุคคลากร ไม่ทราบว่าเคยไปร่วมกันบ้างมั๊ย ส่วนนักศึกษาก็ไม่ทราบว่ามีการเคลื่อนไหวอย่างไร แต่รู้สึกว่าจะมีบทบาทน้อยมากสำหรับคนรุ่นใหม่

Posted by : Bamboo , Date : 2006-02-10 , Time : 09:05:45 , From IP : 172.29.3.80

ความคิดเห็นที่ : 9


   มีเวทีการเมืองอยู่บ่อยครั้งที่มหาวิทยาลัยวันศุกร์ เมื่อ 4 กพ. ก็มีถ่ายทอดสด ส่วนมากที่เข้าร่วมจะเป็นบุคคลากร ไม่ทราบว่าเคยไปร่วมกันบ้างมั๊ย ส่วนนักศึกษาก็ไม่ทราบว่ามีการเคลื่อนไหวอย่างไร แต่รู้สึกว่าจะมีบทบาทน้อยมากสำหรับคนรุ่นใหม่

Posted by : Bamboo , Date : 2006-02-10 , Time : 09:05:50 , From IP : 172.29.3.80

ความคิดเห็นที่ : 10


   "บทบาท" ทางการเมืองนั้น ผมคิดว่ามีหลากหลายรูปแบบ

คำว่าบทบาทฟังดูเเหมือนเรากำลังเล่นละครหรือแสดงอะไรอยู่ ผมคิดว่าจริงๆแล้วน่าจะย่อมาจาก "บทบาทหน้าที่" อาจจะได้ใจความและครอบคลุมว่าจะทำอะไรกันได้บ้าง จึงจะเรียกว่า "มี" หรือว่า "ได้ทำ"

แม้แต่ในละครเอง ละครที่สมบูรณ์ก็ไม่ได้แปลว่าทุกๆคนเป็นดารานำ แต่ความสมบูรณ์ของละครนั้น มันมีตั้งแต่การมีบท การมีผู้กำกับ การมี backstage ที่ดี มีคนเขียนระบายฉากที่สวยงามสมจริง มีระบบเสียงแสงที่เกื้อกูล ผมว่า backstage เหล่านี้บางทีอาจจะสำคัญมากกว่าคนที่กระโดดโลดเต้นเป็นดารานำซะด้วยซ้ำ เพียงแต่ glamour หรือ limelight ดูจะจับเฉพาะที่ดารานำบนเวที จนคิดว่าคำว่าละครที่สมบูรณ์นั้น ขึ้นอยู่กับคนบนเวทีเท่านั้น คนอื่นๆไม่เกี่ยว

ในบางประเทศที่การเมือง "mature" เป็นที่ยอมรับกัน เช่น อังกฤษ การมีบทบาทการเมืองไม่ได้เน้นที่ street wanderers แต่เป็น awareness ของชุมชนทุกระดับ การตระหนักที่นำไปสู่ "ความเข้าใจ" ในระบอบระบบการเมืองของชุมชนตนเอง และในความเห็นส่วนตัวของผม "ความไม่เข้าใจ" ในระบอบระบบนี่แหละที่เป็น "สาเหตุสำคัญ" ของ apathy ที่เป็นรากเหง้าของความไม่ประสบความสำเร็จ การ delay growth & development ของการเมือง

ชาวบ้านใน pub ในร้านกาแฟ หรือนักศึกษาตาม cafeteria สามารถดำเนิน "บทบาทหน้าที่" ทางการเมืองได้ โดยเริ่มจากมี awareness และสนใจจนเข้าใจว่าอะไรมันทำงานกันอย่างไร และอะไรเป็นรากของปัญหา การนำเอาข้อมูลจากหลากหลายแหล่งมาคุยกัน มาถกกัน มาวิเคราะห์กัน เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการทำให้พัฒนาการก้าวหน้า สื่อเป็นสิ่งสำคัญและสามารถใช้เป็นเทอร์โมมิเตอร์วัดความก้าวหน้าทาวการเมืองของชุมชนนั้นได้ และถ้าจะแก้ที่สื่อ สิ่งที่เราทำได้คือการพยายาม "สื่อสาร" อย่างมีประสิทธิภาพ ให้ข่าวสารนั้นๆไปถึงกลุ่มเป้าหมายของเราให้ได้

การสื่อที่มีประสิทธิภาพ ไม่ได้แปลว่าการด่ากัน การเน้นอารมณ์ การแสดงความรุนแรง เพราะเราต้องการให้ข่าวสาระของเรานั้น ถูกยอมรับ จากคนที่เรากำลังสื่อด้วย อุปสรรคอย่างหนึ่งของการสื่อที่ไม่ดีคือบางครั้งคนสื่อ discredit ตนเองไปก่อนแล้วโดยวิธีหลายๆวิธี เช่น การสื่อแบบใช้อารมณ์โดยไม่มีเหตุผล ข้อมูลรองรับ การสื่อที่ส่อถึงความ immature ทางวุฒิภาวะ วัยวุฒิ คุณวุฒิ (เช่นการใช้ภาษากเฬวรากในที่สาธารณะ ไม่เหมาะต่อสถานะตนเอง) การสื่อที่แสดงถึงความไม่เข้าใจในสิ่งที่ตนเองกำลังพูด (เช่น ประชาธิปไตยคือการช่วยเหลือคนที่ vote ให้พรรคตนเองก่อนกลุ่มอื่น) การสรุปข้อมูลอย่าง stereotyping หรือ generalization

บางทีเมื่อเรามีสาระอะไรที่สำคัญต้องการจะสื่อ สิ่งแรกที่พึงกระทำคือการสร้างความ "น่าเชื่อถือ" ของบุคลิก ของภาษา ของวิธีการสื่อของเราให้ได้ น่าเสียดายที่ข้อมูลสำคัญๆถูกทำลายความน่าเชื่อถือโดยความรู้เท่าไม่ถึงการของคนสื่อ อีกฝ่ายไม่ต้องทำอะไร ไม่ต้องแก้ไขอะไรมากก็ปล่อยให้คนสื่อ shoot themselves in the foot ไปเรียบร้อย

วิเคราะหฺจากสถารการณ์ที่แล้วมา พวกเราคิดว่าระดับปัญหาด้าน credibility ของคุณสนธิ มีผลมากน้อยแคไหนต่อ good course? และถ้าเปลี่ยนเป็นคนอื่น (ใส่ชื่อเอาเอง) ทำเรื่องเดียวกัน ใช้ข้อมูลเดียวกัน "อาจจะ" ได้ผลเป็นเช่นไร?



Posted by : Phoenix , Date : 2006-02-10 , Time : 09:52:31 , From IP : 172.29.3.58

ความคิดเห็นที่ : 11


   ฉันมั่นใจว่าหลายคน รวมถึงนักศึกษา ติดตามข่าวการเมือง พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน แต่อาจไม่มีถึงกับเปิดเวทีหรือวิจารณ์ผ่านสื่อ ไม่แน่ใจเหมือนกันว่า "ต้องทำ" หรือเปล่า เหมือนกับที่มหาวิทยาลัยอื่นออกโรง ใครรู้ตอบทีสิคะ
และ ก่อนที่จะวิจารณ์ได้ ต้องรู้ระบบที่ถูกต้องก่อน ไม่ใช่ว่าฟังคนนั้นคนนี้พูดก็เออออตามกันไป ไม่อยากพูดไปแล้วกลายเป็นว่า เราเข้าใจไม่ถูกต้อง ลองจัดดูเป็นการเป็นงาน หัวข้อน่าสนใจดูสิคะ จะได้รู้กันว่าชาว ม.อ. มีการตอบสนองอย่างไร


Posted by : โนอิจัง , Date : 2006-02-10 , Time : 22:04:45 , From IP : 172.29.4.189

ความคิดเห็นที่ : 12


    คน มอ.มีทั้งที่สนใจและไม่สนใจการเมือง มันเป็นเรื่องของปัจเจกชน แต่จะว่าทั้งหมดไม่สนใจ ก็ไม่ได้นะคะ เพราะดิฉันเป็นคนหนึ่งที่สนใจการเมืองและติดตามการเมืองมาตลอดและเข้าร่วมกิจกรรมของวิทยาลัยวันศุกร์เกือบทุกครั้ง
แต่ยังค่อนข้างเห็นด้วยกับ จขกท นะที่ มอ. ยังไม่มีบทบาททางการเมืองที่ชัดเจน กลุ่มคนที่สนใจการเมืองมีน้อยมากๆๆ ส่วนมากจะหาคนคุยเรื่องเหตุการณ์บ้านเมืองยากมากๆๆถึงกับหาไม่ได้เลย
อีกทั้งกลุ่มคนที่ไปฟังวิทยาลัยวันศุกร์ มีบุคลากรในมหาวิทยาลัยบ้างแต่เป็นส่วนน้อย นักศึกษาไม่ต้องพูดถึงเลย แต่ละครั้งที่เข้าฟังแทบจะไม่มีนักศักษาเลย


Posted by : นศพ , Date : 2006-02-10 , Time : 23:33:45 , From IP : 172.29.4.111

ความคิดเห็นที่ : 13


   ต้องการหนังสือลงลายมือชื่อเพื่อขับไล่ทักษิณได้ที่นี่ค่ะ

http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vboard.php?user=tuthaprajan


Posted by : รักเมืองไทย , Date : 2006-02-11 , Time : 00:39:55 , From IP : 172.29.1.192

ความคิดเห็นที่ : 14


   รู้สึกเหมือนกัน

Posted by : -- , Date : 2006-02-11 , Time : 00:50:32 , From IP : 172.29.1.94

ความคิดเห็นที่ : 15


   ผมยังไม่เข้าใจเลยครับว่า ทำไมเหล่าบรรดาอาจารย์คณะรัฐศาสตร์จุฬาฯถึงพยายามแสดงบทบาทเรื่องการเมืองเช่นนั้น

ทั้งๆที่ ผมเชื่อว่า ยังมีประชาชนอีกมาก ที่ไม่เข้าใจเรื่องการเมือง


. . .

นศ.ม.อ.ยังมีอะไรให้คิดและให้ทำอีกเยอะครับ

. . .


Posted by : ArLim , Date : 2006-02-11 , Time : 01:35:38 , From IP : 172.29.4.180

ความคิดเห็นที่ : 16


   ".....นศ.ม.อ.ยังมีอะไรให้คิดและให้ทำอีกเยอะครับ "

ใช่ค่ะ นศ.ม.อ.ยังมีอะไรให้คิดและให้ทำอีกเยอะ และการเมืองก็เป็นหนึ่งในนั้นด้วย


Posted by : นศ.มอ. , Date : 2006-02-11 , Time : 09:40:49 , From IP : 172.29.7.219

ความคิดเห็นที่ : 17


   
กลับมานึกอีกทีนะครับ.
ผมแทบไม่อยากเชื่อว่า คนชื่อทักษิณ จะทำให้บ้านเมือง
เราเปลี่ยนไปขนาดนี้ เปลี่ยน...

1. ค่านิยม
2. ความคิด
3. การดำเนินชีวิต

ฯลฯ

ตัวอย่าง สมัครตำหนิ ป๋า... ผมไม่เคยคาดคิดว่าจะมีใครกล้าทำ (ตำหนิใช้กำคนที่ทำผิดพลาด)
ผมใช้คำว่า "ตำหนิ" เพราะว่า สมัครพูดเหมือนป๋า ทำผิด (ถ้าสงสัย ไปหาอ่านดูว่าป๋าพูดว่าไง..)

จริง ๆ แล้วแค่ได้ชูคออยู่หน้าจอทีวี ก็ "ทราม" พออยู่แล้ว


แต่ละอย่างไม่สามารถประเมิณค่าเป็นเงินได้ ตามที่ ทักษิณ ถนัด
..(นิยมประเมินเป็น % หรือ ล้านบาท)


Posted by : FanFan , Date : 2006-02-11 , Time : 09:55:38 , From IP : 172.29.7.220

ความคิดเห็นที่ : 18


   ผมว่า มอ ไม่อ่อนเรื่องการเมืองนะ
การเมืองมันอยู่ในเลือดคนใต้อยู่แล้วนะ

ผมว่าปัญหาคือ เราอ่อนการประชาสัมพันธ์
ผมว่าในที่นี่มีคนไม่ทราบว่า มีการติดตามการเมืองอย่างต่อเนื่องที่ วิทยาลัยวันศุกร์
ผมว่าหลายคนยังไม่ทราบ ไม่เคยไปวิทยาลัยวันศุกร์ด้วยซำ



Posted by : แปะ , Date : 2006-02-11 , Time : 22:24:59 , From IP : 172.29.4.51

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.008 seconds. <<<<<