ความคิดเห็นทั้งหมด : 23

Big Brother


   คลายเครียดกันบ้างน่ะ ทั้งจากการเตรียมตัวสอบ และการเมืองร้อนระอุ

ใครได้ดู รายการ Big Brotherบ้างครับ คิดยังไงกับผู้เข้าแข่งขันในปีนี้บ้าง

ผมเองว่ามันเปลี่ยนไปน่ะ เหมือนประกวดนางแบบ นายแบบ ยังไงยังงั้นเลย ไม่เหมือนเกส์ชีวิต ของปีที่แล้วน่ะครับ


Posted by : สมพร , E-mail : (sompon@hotmail.com) ,
Date : 2006-02-05 , Time : 08:57:56 , From IP : 125.24.67.1


ความคิดเห็นที่ : 1


   มันเป็นธุรกิจ จูงใจผู้บริโภค ยิ่งโหวต ชินยิ่งรวย

Posted by : superman , Date : 2006-02-05 , Time : 09:43:20 , From IP : 203.188.15.184

ความคิดเห็นที่ : 2


   Big brother programme เกิดขึ้นครั้งแรกที่อังกฤษประมาณ 5-6 ปีก่อน แล้วก็ประสบความสำเร็จทันทีทันควัน ถ้ามองดูมุมนึง เป็นนวตกรรมทางสังคม หรือสะท้อน "ค่านิยม" ทางสังคมได้พอสมควร

ถ้ายังจำได้กรณี paparazzi ตามถ่ายรูป Lady Diana จนรถคว่ำเสียชีวิตที่ Paris นั่นก็เป็น extreme end ของการตลาดที่แสดงถึง "ค่านิยม" ที่คนอยากจะรู้ อยากจะวิจารณ์ เรื่องราวและการดำเนินชีวิตของคนอื่น ซึ่งแต่ก่อนเป็นเรื่อง privacy เป็นเรื่องส่วนตัว กฏหมายคุ้มครองสิทธิส่วนตัวเข้มข้นขึ้นเท่าไร หนังสือพิมพ์ tabloid ประเภทซุบซิบ นินทา ขุดคุ้ยชีวิตชองคน (ไม่ว่าจะเป็น celibrity หรือไม่) ก็ขายดิบขายดี จน idea กลายเป็นไหนๆก็ชอบอ่านเรื่องของคนอื่นมากนัก ก็จับมาใส่กรง เอ๊ย บ้าน นั่งดูมันทั้งวันทั้งคืนเลย ปรากฏว่า instant hit ทันที

programme ปัแรกที่จัด ยิ่งมีกรณีฉาว การมีฉาก love scene (ทั้งๆที่คนอยู่ในบ้านก็รู้ว่ามีกล้องจับ) ยิ่งทำให้ยอดชมสูงขึ้น คนเรามีนิสัยถ้าได้วิจารณื ได้ judge คุณค่าของคนอื่นอยู่แล้ว ยิ่งสนุก ได้ criticise ชีวิตคนโน้นคนนี้ ยิ่งได้มีโอกาส Vote out คนนี้ฉันเอา คนนี้ฉันไม่เอา คนนี้มันเลว คนนี้มันดี มี empowerment ให้คนชมสามารถ "ตัดสิน" ชีวิตคนอื่นได้ ยิ่งสนุก

น่าสนใจถ้าเรามองกลับมาในเรื่อง principle of autonomy สำหรับเรื่องนี้ Big Brother programme ก็เปรียบเสมือน anti-thesis ของจริยศาสตร์ การเชิดชูสนับสนุน judgemental mindset ในการ "ตัดสิน value" ของคนอื่น การชอบซอกซอนสนใจชีวิตของคนอื่นโดยจ้องจะให้คุณค่า ตีราคา และวิพากษ์วิจารณ์ที่ "บุคคล" ไม่ใช่ที่ "พฤติกรรม"

SMS นั้นเป็นแค่การ "ยื่นอำนาจ" หรือ empower การที่เสียง ความเห็น หรือ judgemental attitude ของคนส่งได้ air ออกไปสู่สาธารณะ ไม่แน่ใจว่าเป็น cause หรือเป็น effect กันแน่



Posted by : Phoenix , Date : 2006-02-05 , Time : 10:23:00 , From IP : 58.147.116.93

ความคิดเห็นที่ : 3


   ประมาณนั้น

Posted by : คนไร้หน้ากาก , Date : 2006-02-05 , Time : 10:49:08 , From IP : 172.29.4.195

ความคิดเห็นที่ : 4


   quote this:

SMS นั้นเป็นแค่การ "ยื่นอำนาจ" หรือ empower การที่เสียง ความเห็น หรือ judgemental attitude ของคนส่งได้ air ออกไปสู่สาธารณะ ไม่แน่ใจว่าเป็น cause หรือเป็น effect กันแน่
.......

ที่ต้องใส่ใจคือ "ที่มา" ของ SMS นั้น 1:1 จริงหรือไม่ จำกัดการส่งซ้ำหรือเปล่า
เสียงที่สนับสนุน หรือคัดค้าน ที่ส่วนหนึ่งกลายเป็นตัวเลข "สัดส่วน" ให้คนดู คล้อยตามนั้น ควรระวังให้ดี ควรฟังหูไว้หูเสมอ

ในความเป็นจริง ไม่น่าจะมีผลอ้างทางสถิติใดๆได้ แต่ ผู้บริโภค ก็ใช้มัน

ส่วนเรื่อง Big bother ผมไม่เคยดู



Posted by : OmniSci , Date : 2006-02-05 , Time : 11:01:36 , From IP : dhcp165.cc.psu.ac.th

ความคิดเห็นที่ : 5


   แก้นิด
brother หนะ


Posted by : OmniSci , Date : 2006-02-05 , Time : 11:02:08 , From IP : dhcp165.cc.psu.ac.th

ความคิดเห็นที่ : 6


   ในความดีก็มีความเลว ในความเลวก็ยังมีความดี
เปิดใจให้กว้าง มองให้หลายด้าน


Posted by : -- , Date : 2006-02-05 , Time : 16:00:43 , From IP : 172.29.5.232

ความคิดเห็นที่ : 7


   ต่อให้มันเป็น 1:1 (ด้วยระบบสมาชิก หรือ registered vote) ผมก็ยั
สงสับใน validation และ representability เพราะคนที่ vote เป็น segment ของคนที่ "ชอบตัดสินคุณค่าของคน" อื่น จาก face value

คุณค่าของคน quality of life, etc มีหลายมิติ รายการแบบนี้ เกณฑ์แบบนี้ มันทำให้ value มันตื้นเขินลงโดยไม่จำเป็น ตัดสินอะไรง่ายเกินไปโดยไม่จำเป็น จากรายการแบบนี้ ผมว่าถ้าจะมีอะไรนำมาใช้ได้ ก็คงจะเป็น phenomenal observation ว่า ณ ขณะนี้คุณค่าแบบนี้ การตัดสินแบบนี้ มัน hit ติดอันดับ เป็นวัฒนธรรมของชุมชน สังคมนั้นๆมากแค่ไหน นักประวัตืศาสตร์ นักจริยศาสตร์ นักสังคมศาสตร์คงจะได้ปีระโยชน์ ส่วนระดับปัจเจกบุคคลนั้นคงจะได้อะไรต่อมิอะไรที่หลากหลายมาก แต่คงจะไม่ควรที่จะ generalize อะไร



Posted by : Phoenix , Date : 2006-02-05 , Time : 16:00:56 , From IP : 58.147.116.93

ความคิดเห็นที่ : 8


   แต่ BB ปีที่แล้ว(ไม่รูปีนี้จะเหมือนเดิมเปล่า)ก็ยังดีท่ไชว์คะแนน เราว่าถ้าโชว์คะแนนแล้วใครที่ได้คะแนนน้อยก็ต้องรีบโหวตให้มากๆ แต่ม่โชว์คะแนนก็ต้องกะเอาว่าจะนำหรือยัง เอ...ตกลงมันดีหรือไม่ดีเนี่ย

Posted by : suppy , Date : 2006-02-05 , Time : 18:42:41 , From IP : gb.jb.204.179.revip.

ความคิดเห็นที่ : 9


   ไม่ค่อยเข้าใจความเห็นคุณ Phoenix เลย


Posted by : คนมันเรียนมาน้อย , Date : 2006-02-05 , Time : 22:19:47 , From IP : 172.29.5.232

ความคิดเห็นที่ : 10


   ถ้าติดที่ศัพท์ แนะนำให้ใช้ dictionary ร่วมด้วยขณะอ่านค่ะ
ถ้าติดที่ sryle อยากให้ลอง "พยายาม" สักหน่อย


Posted by : คนเคยเรียนมาก่อน(Lucifer) , Date : 2006-02-05 , Time : 22:33:11 , From IP : 172.29.4.127

ความคิดเห็นที่ : 11


   จริงๆวังวนสุดท้ายของเรื่องทั้งหมดคือ เงินที่ได้จาก SMS มากกว่า

ใครจะไปสนผลที่ได้

แต่ละผู้บริโภคมีความสุข ที่ได้เห็น ได้โวต 5 บาท 10 บาท ไม่มาก ทำแล้วมีความสุข

เจ้าของรายการก็รอรับ เงินจาก SMS

ของรางวัลนั้น ถ้าเทียบ ก็น้อยนิด

ธุรกิจ ในยุค นี้

ใครใคร่เสพ ก็เสพเถิด


Posted by : OmniSci(เรียนแล้วลืมแล้ว) , Date : 2006-02-06 , Time : 05:33:41 , From IP : 172.29.5.191

ความคิดเห็นที่ : 12


   ไม่เคยดูเหมือนกันค่ะ
เท่าที่อ่าน...เรื่อง "Big bother" ก็เหมาะดีนี่คะ ...


Posted by : Lucifer , Date : 2006-02-06 , Time : 08:15:15 , From IP : 172.29.4.127

ความคิดเห็นที่ : 13


   ขณะที่คุณอ่านของอาจารย์ฟีนิกซ์ คุณกำลังใช้ internet อยู่ใช่หรือไม่ กรุณาใช้ให้เป็นประโยชน์ครับ ผมเองก็อ่านของอาจารย์ไม่ค่อยรู้เรื่อง แต่อาศัยเปิดเนตหาศัพท์เอา ถึงพอจะหยั่งถึงความหมายของอาจารย์

ปล อ่านทุกทีได้ศัพท์ทุกทีสิน่า


Posted by : ... , Date : 2006-02-06 , Time : 10:23:14 , From IP : 172.29.4.171

ความคิดเห็นที่ : 14


   ความเคยชิน กะความคุ้นเคย ที่ทำให้มองข้ามบางอย่าง..
จากบอร์ดบีบี http://www.bigbrotherthailand.com/board/viewtopic.php?t=1203

คำสอนของหลวงพ่อชา สุภัทโท

เธอจงระวัง ความคิด ของเธอ
เพราะความคิดของเธอ
จะกลายเป็น ความประพฤติ ของเธอ

เธอจงระวัง ความประพฤติ ของเธอ
เพราะความประพฤติของเธอ
จะกลายเป็น ความเคยชิน ของเธอ

เธอจงระวัง ความเคยชิน ของเธอ
เพราะความเคยชินของเธอ
จะกลายเป็น อุปนิสัย ของเธอ

เธอจงระวัง อุปนิสัย ของเธอ
เพราะอุปนิสัยของเธอ
จะกำหนด ชะตากรรม ของเธอชั่วชีวิต
........................................................
ถ้าหากเราพิจารณาจากคำสอนของหลวงพ่อชา
และเปรียบเทียบสังเกตจากเกมบีบี สังเกตจากผู้เล่นในบ้านแต่ละคน
เราจะเห็นว่าอุปสรรคสำคัญในชีวตของคนเรานั้น
คือ ความคิดที่กลายเป็นความเคยชิน จนกลายเป็นนิสัยนั่นเอง

ในบ้าน เราจะเห็นคนที่เราไม่ชอบใจ
ทำอย่างนั้นอย่างนี้ ขัดตา และอดตั้งคำถามไม่ได้ว่าทำไม..

ทั้งๆที่เขารู้ว่าอยู่ต่อหน้ากล้อง..
และรู้ว่าจะต้องรักษากริยาอาการที่ไม่ดี ไม่เหมาะสม ไม่ให้ออกมา
เพราะย่อมมีผลต่อความรู้สึกของคนดูที่มีต่อตัวเขา
อยู่แก่ใจ..

นั่นเป็นเพราะว่าความคิด ที่กลายเป็นความเคยชิน
ทำให้เราไม่ทันรู้สึกตัว..

บางทีพูดคำหยาบจนชินเคยปาก
อยู่บ้านก็ไม่เป็นไร อยู่กับเพื่อนก็ไม่เป็นไร
ไม่เป็นไรจนเคยชิน จนสั่งสมเป็นตัวตนของเรา
มันก็ทำให้มองข้ามไปว่านี่ไม่เหมาะสม
หรือไม่ทันคิด..

สิ่งที่เราทำตัวตามสบาย ตามความเคยชิน และเห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดา
ย่อมไม่รู้สึกว่ามันผิดแปลกโดยไม่รู้ตัว

กลายเป็นคนอื่นเห็น แต่ตัวเองไม่เห็น

กลายเป็นอุปสรรค และปัญหาที่มีผลต่อตนเอง โดยที่ตนเองไม่ทันคิดไม่ทันรู้ตัว

ดูบีบี แล้วใช้ความคิดครับ
เราจะเห็นตัวอย่างเปรียบเทียบที่เอามาใช้เตือนสติการใช้ชีวิตของตนเองได้
อย่างไม่น่าเชื่อ

ลองพิจารณาตัวเองกันครับว่า มีอุปนิสัยแบบไหนที่เราเคยชินจนไม่รู้ตัว
และเป็นที่น่ารำคาญ ขัดตาคนอื่น

การรู้จักตัวเองในมุมอับ ย่อมรู้จักจุดดีจุดด้อยของตนเองมากพอ
มากพอที่จะรู้ว่า บางอย่างคือข้อเสียที่ตนเองเปลี่ยนไม่ได้ และพึงระวังเมื่อเข้าไปอยู่ในที่อื่น
มากพอที่จะรู้ว่า นิสัยบางอย่างที่เป็นความเคยชิน แก้ไขได้ ปรับได้

ดูบีบี แล้วย้อนกระทบดูตัวเองครับ..
ก่อนสอนใคร เรามาสอนตัวเอง รู้จักตัวตนภายในตัวเองกันไปด้วยกันครับ


_________________
`G`rA`NUN`


Posted by : . , Date : 2006-02-12 , Time : 01:55:01 , From IP : 172.29.7.70

ความคิดเห็นที่ : 15


   "เจตนา" สำคัญ และ "การคำนึงถึงผลกระทบ" ก็สำคัญ ก่อนตัดสินใจ

ผมไม่แน่ใจว่าการวิเคราะห์ชีวิตจากความเคยชินนั้น อยู่ใน learning objective ของการดู BB ของผู้ชมส่วนใหญ่หรือไม่ แต่ผมกำลังคิดว่าประเด็นนี้อาจจะนำมาใช้ไม่ได้เสมอไป

ถ้าการชม "พฤติกรรมที่ไม่ดี" เป็นสิ่งมีประโยชน์ได้ อีกหน่อยเราก็คงจะมีรายการหนัง X การโฆษณาประชาสัมพันธการพนัน หรือหนัง violence รุนแรงออกมาได้อย่างไม่มีขีดจำกัด โดยอ้างว่าที่นำมาเป็นการจะสะท้อนถึงสิ่งที่ "ไม่ควร" ทำ และเป็นความรับผิดชอบของคนดูเองที่จะต้องดูแบบดีๆ

แต่ broadcaster นั้น ผมคิดว่าน่าจะมี "ความรับผิดชอบ" ต่อสิ่งที่ตนเองทำ และควรจะคิดในด้านบวกและด้านลบก่อน

ตัวอย่างที่เห็นชัดที่สุดก็การ์ตูนเดนมาร์กที่จุดชะนวนประท้วงจากมุสลิมทั่วโลกกว่า 20 ประเทศ มีคนตายไปแล้วมากมาย มีทรัพย์สินถูกทำลายเยอะแยะ "ราก" ของปัญหาคืออะไร? โคฟี อานาน เคยบอกว่าชะนวนมันมาจากแค่ 1 cartoonist, 1 editor, 1 publisher ที่ต้องการจะขายหนังสือพิมพ์เท่านั้น สถานการณ์ก็สามารถ spiral ออกไปจนควบคุมไม่ได้ ถามว่าการ์ตูนนั้นจะมองเป็นการศึกษาว่าเป็นสิ่งไม่ควรทำ เอามาสะท้อนตนเองได้หรือไม่ ก็อาจจะได้ แต่ "วิธี" การที่เลือกมานำเสนอนั้น reckless และ arrogant อย่างมาก

คนที่พิจารณษชีวิตได้ถ่องแท้อย่างหลวงพ่อชานั้น ท่านมองจาก "ชีวิตจริง" รอบๆตัวก็ได้ครับ โดยไม่ต้องศึกษา "ชีวิตจริง" จากกลุ่มคนที่ไปนั่งๆนอนๆหน้ากล้องทีวี แสดงพฤติกรรมที่ "ธรรมชาติ" เพื่อที่จะมีคนทางบ้าน vote out และชิงรางวัลใหญ่ตอนจบ เงื่อนไขเหล่านี้มันทำให้ชีวิตที่เห็น "จริง" ได้แค่ระดับหนึ่งเท่านั้น เพียงพอที่จะสอนความจริงแห่งชีวิตแค่ไหนหรือไม่?



Posted by : Phoenix , Date : 2006-02-12 , Time : 06:16:16 , From IP : 58.147.98.203

ความคิดเห็นที่ : 16


   www.bigbrotherthailand.com


Posted by : nui , Date : 2006-02-12 , Time : 11:49:04 , From IP : 172.29.7.233

ความคิดเห็นที่ : 17


   ไม่มีสีดำหรือสีเทา จะรู้จักสีขาวได้อย่างไร

Posted by : . , Date : 2006-02-13 , Time : 13:11:00 , From IP : 172.29.7.26

ความคิดเห็นที่ : 18


   ในบ้าน เราจะเห็นคนที่เราไม่ชอบใจ
ทำอย่างนั้นอย่างนี้ ขัดตา และอดตั้งคำถามไม่ได้ว่าทำไม..

“ทำไมเขาจึงทำอย่างนั้น หรือ ทำไมจึงขัดตาเรา?”

นั่นเป็นเพราะว่าความคิด ที่กลายเป็นความเคยชิน
ทำให้เราไม่ทันรู้สึกตัว..

“เรา คือ คนที่เป็นผู้มอง หรือ ผู้ที่กำลังถูกมอง?”

ไม่เป็นไรจนเคยชิน จนสั่งสมเป็นตัวตนของเรา
มันก็ทำให้มองข้ามไปว่านี่ไม่เหมาะสม
หรือไม่ทันคิด..

“ไม่เหมาะสม จาก บรรทัดฐาน ของผู้ที่กำลังมอง หรือ ผู้ที่กำลังถูกมอง?”

สิ่งที่เราทำตัวตามสบาย ตามความเคยชิน และเห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดา
ย่อมไม่รู้สึกว่ามันผิดแปลกโดยไม่รู้ตัว

“มีกรณีโต้แย้งหรือไม่?”

ลองพิจารณาตัวเองกันครับว่า มีอุปนิสัยแบบไหนที่เราเคยชินจนไม่รู้ตัว

The 2 nd quote:

อย่างไรก็ดี

“สิ่งที่คนอื่น "สะท้อน" ตัวเราก็คงจะสำคัญ ไม่ถึงกับที่เรามั่นใจว่าเราถูกต้องแล้วจะไม่ concern อะไรเลย”

“ สฬายตนะของเรานั้นมีขีดจำกัด ลำพัง concrete actions ต่างๆอย่างเดียว เมื่อมารวมกับพื้นฐาน คติ อคติ ของความคิดของเรา ลักษณะพฤติกรมการใช้เหตุผลของเรา ความเชื่อ ศรัทธาของเรา ในที่สุดก็จะออกมาเป็นระบบความคิดและบุคลิกตัวตนของเราเอง (ใส่หรือไม่ใส่หน้ากากก็เถอะ)”

“ด้วยข้อจำกัดดังกล่าวจะเห็นว่า feedback หรือ reflection ก็ตาม น่าสนใจจากมุมมองและข้อจำกัดที่ว่านี้เสมอ นั่นคือสิ่งที่เราคิด รู้สึก หรือเชื่อนั้น ไม่จำเป็นที่ "ผู้อื่น" จะรับรู้ได้ถูกต้องแม่นยำ แต่นั่นคือสิ่งที่คนเขารับรู้กัน ในขณะเดียวกันเรื่องที่เรารับรู้ หรือเชื่อว่าคนอื่นเขาเชื่อ เขาทำอย่างนั้นเพราะอย่างนั้น เพราะคิดอย่างนี้ บ่อยครั้งที่เรากำลัง "เลย" ขีดจำกัดของเราไปในการเดา”

“สิ่งที่คนอื่นเขาคิดและคาดหวังจากเรา ถึงมันไม่ได้ถูกต้องตรงตามที่เราคิด เราศรัทธา เรากระทำจริงๆ แต่มันมีผลต่อ "outcomes" ที่ตัวเราเองคิดว่าสำคัญหรือไม่? ถ้ามี ไม่ว่ามันถูกหรือผิดก็น่าจะเป็นเรื่องที่ concern เช่น มันมีผลต่อความไว้วางใจในอาชีพการงานเราหรือไม่ หรือมีผลต่อภาพพจน์ ภาพลักษณ์โดยรวมของวิชาชีพทั้งหมดรึเปล่า?”


และเป็นที่น่ารำคาญ ขัดตาคนอื่น

บางกรณีอาจจะ “เป็นburdenทางใจที่ผู้สูญเสียจะต้องจัดการความรู้สึกเศร้าเสียใจกันเอาเอง”

คงไม่น่าแปลกใจถ้าคนบางคน “มักจะ” เสียใจกับวันที่ผ่านๆ มา เช่น ถ้ารู้อย่างนี้แล้วฉันจะ........ ในขณะที่คนบางคนไม่ค่อยจะรู้สึกเช่นนั้น

ขออนุญาตไม่มาต่อกระทู้ มีกำหนดถึงวันที่ 14 มีนาคม ค่ะ ถ้าท่านใดรีบ เชิญอภิปรายก่อนได้ ตามสะดวก และตามสบาย








Posted by : Lucifer , Date : 2006-02-13 , Time : 20:56:21 , From IP : 172.29.4.127

ความคิดเห็นที่ : 19


   [เรื่องของกระจก

ภาพสะท้อนของตัวเรา
อีกบทความที่อยู่ถัดลงไป และไม่ได้ถูกลอกมาไว้ด้วยกันค่ะ

มีสามีภรรยาคู่หนึ่ง อาศัยอยู่บ้านหลังหนึ่ง ทุกๆเช้า
ภรรยาจะแอบมองดูเพื่อนบ้าน จากหน้าต่างชั้นบนบ้าน
และวิ่งกลับมารายงานให้สามีฟัง

"เพื่อนบ้านเรานี่ ซักผ้าไม่เป็นเลย
เสื้อผ้าสกปรกเหลือเกิน ไม่รู้เขาใช้ผงซักฟอกยี่ห้ออะไร
หรือใช้วิธีซักอย่างไร" สามีก็ตอบว่า
“อย่าไปสนใจคนอื่นเขาเลย
เราซักผ้าของเราให้สะอาดก็แล้วกัน”
แต่ภรรยาก็ยังไปแอบดูเพื่อนบ้านอยู่ทุกเช้าจากหน้าต่างข้างบนบ้าน
และวิ่งกลับมารายงานสามีทุกเช้า
“ เสื้อผ้าของเขาสกปรกอีกแล้ว…”
ต่อมาวันหนึ่ง ภรรยาวิ่งลงมารายงานสามี ด้วยความแปลกประหลาดใจ
“ไม่เข้าใจจริงๆ ว่าวันนี้เกิดอะไรขึ้น เสื้อผ้าของเขาขาวสะอาด
อยากจะรู้เหลือเกินว่า เขาเปลี่ยนมาใช้ผงซักฟอกยี่ห้ออะไร
หรือทำอย่างไร..” สามีหัวเราะและกล่าวว่า
“นี่..ฉันรำคาเธอเหลือเกิน
เมื่อเช้าฉันตื่นแต่เช้ามืด และไปเช็ดกระจกหน้าต่างให้ใสสะอาด..
ก่อนหน้านี้ กระจกมันสกปรก เธอมองออกไป ก็เห็นแต่ความสกปรก..”

มนุษย์เราชอบมองคนอื่น โดยผ่านจิตใจของเราออกไป เมื่อจิตใจของเราสะอาด
เราก็จะเห็นแต่ความดีงามรอบๆตัว แต่ถ้าจิตใจของเราสกปรก
เราก็จะเห็นแต่ความสกปรกรอบตัว การที่เราเห็นแต่ความเลวรอบๆ ตัวเรา
เราต้องเข้าใจว่า แท้ที่จริงแล้ว… สิ่งที่เราเห็น
มันเกิดขึ้นในจิตใจของเรา และเราจะต้องหาทางฝึกจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์
ถ้าเราเห็นแต่สิ่งที่เลว จิตใจก็ไม่สงบ เราก็จะกลุ้มอกกลุ้มใจ
มีความทุกข์ แต่ถ้าเราหัดมองในแง่ดี เราก็จะคิดแต่สิ่งที่ดี
จิตใจก็จะเบิกบานและมีความสุข…


หมายเหตุ.. บทความบทนี้ เขียนโดย.. ดร. อาจ-อง ชุมสาย ณ อยุธยา
จากหนังสือ ชีวิตงาม เล่มที่ ๘ หน้าที่ ๔๑ ... ล


Posted by : Lucifer , Date : 2006-02-13 , Time : 21:11:39 , From IP : 172.29.4.127

ความคิดเห็นที่ : 20


   ความรู้ที่เข้าสฬายตนะเรานั้น ยังไม่เป็น "ของเรา" จนกว่าเราจะทำ elaboration ได้แก่การย่อย ดูดซึม metabolize แล้วใช้งาน

ทางที่ดี quote เสร็จแล้วต้อง "คิดต่อ" ไม่งั้นก็จะเหมือนคนที่สะสมแสตมป์เพื่อขายอย่างเดียว ไม่ได้สนใจในประวัติศาสตร์ เหตุการณ์ ศิลปของแสตมป์

อย่าลืมจัด "ลำดับความสำคัญ" ของตนเองด้วย ถ้าจนป่านนี้ยังไม่รู้ จบเป็นหมอไปยิ่งน่าเป็นห่วงยิ่งขึ้นว่าอะไรจะเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด



Posted by : Phoenix , Date : 2006-02-13 , Time : 22:05:06 , From IP : 58.147.112.215

ความคิดเห็นที่ : 21


   ตั้งกระทู้ อย่างนึง พอตอนท้าย ไง มาจบอย่างนี้ได้ล่ะ

Posted by : มันมาได้ไง , Date : 2006-02-14 , Time : 10:37:42 , From IP : 172.29.3.251

ความคิดเห็นที่ : 22


   http://www.bigbrotherthailand.com/board/viewtopic.php?t=1254

Posted by : ไม่ลองไม่รู้ , Date : 2006-02-15 , Time : 00:59:34 , From IP : 172.29.7.184

ความคิดเห็นที่ : 23


   5555++กระทู้กลายพันธ์
เจ้าของกระทู้ตั้งคลายเครียดกลายเป็นเครียดหนัก


Posted by : สองคนยลตามช่อง , Date : 2006-02-15 , Time : 01:02:30 , From IP : 172.29.7.184

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.009 seconds. <<<<<