ความคิดเห็นทั้งหมด : 20

เด็ก ถอนฟัน ทันตแพทย์ จับมัด เด็ก ช็อค ทันตแพทย์ ผิด ศาลตัดสิน จ่ายตังค์ 4 ล้าน


   รายละเอียด ก็ ไม่ ค่อยรู้ ละครับ แต่ ประมาณว่า ฟัน เด็กผุ มาถอน เด็ก ร้อง ทันตแพทย์ จับมัน กับ เตียง เด็กร้อง แพทย์ อุดฟัน ทำฟันจนเสร็จ สังเกต เห็นว่าเด็กนิ่ง เด็กช็อค ส่งไป CPR กลายเป็น post arrest แล้ว ไปฟ้อง นี้ คือคำบอก จากแม่ เด็ ก แม่ เด็กบอกว่า หลังเกิดเหตุการณ์ ไปขอตังค์ หมอฟัน 3000 หมอฟัน บอกว่าใช้ให้ ประหยัด ๆๆ เป็นเหตุให้ แม่ เด็ก โกรธ เพราะคิดว่า เป็นหน้าที่ของหมอฟันต้องรับผิดชอบ กลับมาพูดแบบนี้ จึงฟ้องร้อง มาออกรายการเพราะ ไม่อยาก ให้ เกิดการอุทร อยากให้ จบ ๆ ๆไป พร้อม กับใช้เงิน

เท่าที่ฟังดู ก็ไม่เข้าใจ ว่าเด็กมันเกิดอะไรขึ้น แต่ ทันตแพทย์ คงไม่ได้ ไปแกล้งมัน ให้ มัน เป็น อย่างนั้น คงทำเหมือน กับที่เคยทำ อาจจะ มีบ้างที่ไม่ได้ เฉลียวใจ
แล้ว มัน ความผิดของใคร
ต่อไป นี้ ไม่เอา แล้ว กลัวแล้ว เด็ก มาถ้าร้อง ก็ ไม่ต้องทำ เอายา กลับบ้านไป แล้ว กัน


Posted by : สรยุทธ จัด รายการด่า หมอ อีก , E-mail : (ฟฟ) ,
Date : 2006-02-01 , Time : 00:12:14 , From IP : 203.170.228.172


ความคิดเห็นที่ : 1


   ในฐานะ "แม่" คนหนึ่ง อ่านข้อความนี้แล้ว ให้รู้สึกสงสารและสลดกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมากค่ะ ดิฉันเข้าใจความรู้สึกของคุณแม่ท่านนั้นดี และขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งไปยังคุณแม่ท่านนั้นด้วยค่ะ

เห็นสมควร investigate เพื่อให้เป็นบทเรียน เป็นความรู้ กับบุคคลากรทางการแพทย์ และคนไข้ อื่นๆ อันนี้ไม่ได้บอกว่าเป็นความผิดของใคร แต่ให้เอา fact มาเรียนกัน

ดิฉันก็มีประสบการณ์เชิงลบกับทันตแพทย์"บางท่าน"เหมือนกัน เช่นจะทำอะไรกับลูก ก็ไม่อธิบายให้ชัดเจน บอกว่า "ยุ่ง มีคนไข้รออยู่" ในการลงนามอนุมัติให้แพทย์ทำการรักษาลูก (consent) ระบุว่าถ้าเด็กเล็ก (จำไม่ได้ว่าอายุเท่าใด) ให้ผู้ปกครองอยู่ด้วย แต่เอาเข้าจริงๆ ถูกเชิญให้ออกไปนั่งรอข้างนอก ซึ่งดิฉันก้าวขาออกจากห้องทันตแพทย์ไม่ออก เนื่องจากยังไม่แน่ใจว่าลูกจะได้รับการรักษาอะไรบ้าง และลูกเริ่มมีอาการกลัว

ในที่สุด ดิฉันก็ยังยืนอยู่ในห้องทันตแพทย์ จนถูกถามว่า "มีปัญหาอะไร" ปัญหาในใจของดิฉันก็คือต้องการทราบว่า
- ลูกจะได้รับการรักษาอะไรบ้าง เห็นผู้ช่วยทันตแพทย์ จัดอุปกรณ์ไว้ชุดใหญ่ ดูแล้วไม่ธรรมดา คือดูน่ากลัว
-และดิฉันก็อยากทราบว่า การรักษาดังกล่าวจำเป็นมากน้อยแค่ไหน เพราะฟันเด็กยังเป็นฟันน้ำนม รอได้ไหม มีทางเลือกอื่นไหม
-ถ้าจำเป็นต้องทำ ต้องติดตามการรักษาบ่อยแค่ไหน มีภาวะแทรกซ้อนอะไรบ้าง
-และเหตุใดจึงให้ออกจากห้องไป ในเมื่อได้เซ็นเอกสารแล้วว่าจะอยู่กับลูกได้

และอื่นๆอีกมากมาย

แต่ ดิฉันไม่ได้ข้อมูลซักอย่างเดียวจากทันตแพทย์ท่านนั้น รู้เพียงว่า "อาจจะ" ต้องทำ dental root canal. รู้ไหมคะ เหตุการณ์เป็นอย่างไรต่อไป

ทันตแพทย์ท่านนั้นก็ไม่พอใจดิฉัน และเขียนอะไรบางอย่างลงในเอกสาร ส่งยื่นมาให้ดิฉันว่า ถ้าดิฉันไม่ "trust" เขา ให้ไปหา second opinion ได้ ดิฉันก็ตกลงตามนั้น

คราวนี้ ได้ใช้ความระมัดระวังมากขึ้นในการเสาะแสวงหา ทันตแพทย์คนใหม่ โดยต้องหาข้อมูลว่า nice ขนาดไหนกับเด็ก ใจเย็นไหม ต้องไปดูที่คลินิกก่อน ต้องไปคุย อื่นๆอีกมากมาย (ความจริงอยากรักษากับทันตแพทย์เด็ก แต่ค่อนข้างหายาก)

ในที่สุด ก็ได้พบกับทันตแพทย์หญิงใจดีท่านหนึ่ง ที่มีเวลาอธิบายสาระต่างๆ และอนูญาตให้อยู่เป็นเพื่อนลูกได้ นอกจากนี้ยังฝีมือดี ลูกไม่รู้สึกกลัวเลย แม้จะต้องนัดไปเจออีกก็ตาม แต่....ต้องใช้เวลาเดินทางไป-กลับประมาณ สอง ชั่วโมงต่อครั้งค่ะ

ดิฉันคิดว่าบุคคลากรทางการแพทย์ที่เอาใจใส่คนไข้ เห็นใจคนไข้ ก็มีมาก ในขณะเดียวกันกับบุคคลากรทางการแพทย์ที่ "ขาด" ความเอาใจใส่ และความเห็นใจในคนไข้ ก็มีไม่น้อย

ในขณะที่เด็กร้องไห้ "มาก"นั้น การ "ขาด"ความเอาใจใส่ ความเห็นใจและเข้าใจของผู้ให้การรักษา ก็อาจจะคิดว่าเป็นเรื่องปกติ ธรรมดาของเด็ก แต่ถ้ามีการ "ถาม" ก็อาจจะมีการ "ทราบ" และแก้ไขให้เหมาะสมเป็นเรื่องๆ ไป เช่น ถ้ายัง เจ็บอยู่มาก ก็ให้ยาระงับความเจ็บปวดเพิ่ม ตามขนาดที่เหมาะสม ถ้าหายใจลำบาก ก็จะได้ผ่อนคลายลง ถ้ายังกลัว ก็ให้คุณพ่อ-คุณแม่มาปลอบ

เมื่อถึงจุดนี้ บุคคลากรทางการแพทย์บางท่านอาจจะไม่เห็นด้วย โดยเฉพาะที่ต้องให้คุณพ่อ-คุณแม่มาให้กำลังใจ หรือปลอบ และดิฉันก็อยากจะ remind ว่า "ท่านต้องการรักษา โรค หรือรักษา คน"

ดิฉันไม่เข้าใจในการตอบสนองของบุคคลากรทางการแพทย์บางกลุ่มว่า "ถ้าเกิดเหตุการณ์บุคคลากรทางการแพทย์ถูกฟ้องบ่อยๆ บุคคลกรทางการแพทย์ก็ไม่กล้าที่จะให้การรักษาพยาบาลกันอีกต่อไปแล้ว"

ความถูกต้องอยู่ที่ไหน ความยุติธรรมอยู่ที่ไหน และความรู้ทางวิชาการอยู่ที่ไหน เราก็ควรจะว่ากันไปตามนั้นไม่ใช่หรือคะ

ท้ายที่สุดดิฉันไม่ได้มองว่าเหตุการณ์นี้เป็นปัญหาระหว่างผู้ให้และผู้รับบริการ แต่มันคือปัญหาของระบบสาธารณสุขในประเทศไทย และภาวะสุขภาพของคนไทย รัฐบาล กระทรวงสธ บุคคลากรทางการแพทย์ และประชาชน ควรผลักดันให้เห็นระบบสธที่ดีกว่านี้ ในประเทศไทย


Posted by : คุณแม่คนหนึ่ง , Date : 2006-02-01 , Time : 01:35:15 , From IP : pool-71-106-161-85.l

ความคิดเห็นที่ : 2


   เห็นด้วย กับ คุณแม่คนหนึ่ง ครับ ว่า เป็น ระบบสาธารณสุข ของไทย แต่ ในกรณี นี้ ก็ ไม่ได้ เกี่ยว อะไร กับ นักข่าว มันเหมือน ประจาน กัน เกิน ไป แล้ว ต่อไป จะทำงาน กันยังไง ตอนนี้ เบื่อ ไอ้อ้วนใส่แว่น ที่ จัดรายการ 2 ช่อง แค่ได้ยิน ก็ รำคาญหู

Posted by : ฟฟ , Date : 2006-02-01 , Time : 07:25:40 , From IP : 203.170.228.172

ความคิดเห็นที่ : 3


   มันก็มองได้2มุม สำหรับข่าวนี้ ไม่ได้ว่าหมอฟันผิด แต่หมอที่ประสบการณ์น้อยในเหตุการณ์ฉุกเฉิน หรืออะไรแบบนี้ก็ต้องมามองกันว่า ต้องแก้ไขอย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้อีก ถ้าเป็นอย่างที่บอกว่า เด็กแน่นิ่งไปแล้วแต่ยังทำฟันต่อไปอีก ก็ควรจะมองว่าควรแก้ไขอย่างไร ปรับหลักสูตรการสอนอย่างไรให้มีการช่วยเหลือคนไข้เบื้องต้นได้
หมอก็เหมือนคนทั่วไป มีทั้งคนดี คนไม่ดี คนเก่ง คนไม่เก่ง หรือเหตุสุดวิสัย
ก็ต้องยอมรับฟังความเห็นกัน
แต่จะว่าไปเค้าก็ไม่ได้ว่าหรือประนามอะไรนี่นา เค้าก็มองในแง่ของเค้า ก็ฟังหูไว้หู


Posted by : มม , Date : 2006-02-01 , Time : 09:26:09 , From IP : 172.29.1.94

ความคิดเห็นที่ : 4


   เวลาเด็กกลัว ร้องแล้วก็หยุด ร้องแล้วก็หยุด เด็กแน่นิ่งไป ไม่ใช่ไม่เฉลียวใจหรอกค่ะ แต่ถ้าเป็นทันตแพทย์จะรู้ว่า หลังจากที่เราได้ปลอบเด็กแล้ว พยายามแล้ว การร้องและหยุด เป็นเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้ อย่างที่อาจารย์เลขาทันตแพทยฯ บอกก็คือ เวลาเด็กทำไปแล้วรู้ว่าไม่เจ็บก็หยุด พอทำไปอาจจะเจ็บอีก ก็ร้องได้
ทีนี้กรณีแบบนี้ ขนาดอุ้มเด็กออกมา แม่เด็กยังบอกเลยว่า นึกว่าน้องเต๋าหลับ แม่ยังคิดว่าหลับ แล้วหมอจะคิดว่าอะไรคะ เด็กเงียบไปก็ต้องทำต่อ อย่างที่รู้กันว่า ถ้าหมอมัวแต่กลัวเด็กร้องไห้ก็ไม่ต้องทำอะไรกันพอดี เด็กเงียบเราก็ต้องทำให้เร็วที่สุด เพื่อไม่ให้เด็กร้องขึ้นมาอีก เด็กบางคนร้องจนเหนื่อยแล้วหยุดไปเองก็มีค่ะ

ไม่รู้เหมือนกัน มองอีกมุมมั้ยคะ ถ้ากลับกันคุณไม่ได้พาลูกมาหาหมอ ลูกร้องไห้ปวดฟันแล้วหยุด ร้องแล้วหยุด ร้องแล้วหยุด แล้วก็เงียบไป แม่บางคนก็ต้องคิดว่าลูกหลับเหมือนกัน คุณอาจจะไปทำอย่างอื่นด้วยซ้ำ กลับมาอีกทีลูกคุณก็อาจเป็นแบบนี้ได้ ทีนี้เมื่อมาร้องแล้วหยุดตอนอยู่กับหมอ หมอก็ต้องรับผิดชอบไป ซวยจริงเป็นหมอ หมอฟันเนี่ยนะคะ การรักษาฟันให้คนไข้เป็นหน้าที่ จะถอนฟันออกไปซี่นึงยังรู้สึกแย่ นี่ถ้าต้องทำให้ลูกเค้าเป็นอย่างนี้ตลอดชีวิต คิดว่าไม่รู้สึกหรอคะ

2 ชีวิต ได้ตายไปแล้วตั้งแต่วันนั้น ทั้งหมอ ทั้งเด็ก


Posted by : เบื่อสังคม , Date : 2006-02-01 , Time : 10:59:45 , From IP : 203.147.55.211

ความคิดเห็นที่ : 5


    ปกติเป็นคนที่มีทัศนคติกับหมอฟันดี แต่เคยเจอกับตัวเองครั้งหนึ่งคือไปทำฟันกับ อาจารย์หมอฟัน อ.คงเห็นว่าเป็น case ที่หน้าสนใจจึงผลัดมือให้นักศึกษาเข้ามาทำแทน โดยที่ไม่ได้บอกกล่าว หรือขออนุญาตเลย และปล่อยให้นักศึกษากรอฟันแทน ปรากฏว่านักศึกษาเลือกวิธีกรอฟันผิด โดยใช้วิธีที่ทำให้เสียเนื้อฟันไปมาก แล้วอาจารย์หมอฟันก็เข้ามาตำหนินักศึกษาแต่เราซึ่งเป็นคนไข้นอนอ้าปากค้างประมาณ 2 ชั่วโมงทำอะไรไม่ได้ ได้แต่นอนฟังที่เขาสนทนากัน และคิดในใจวาต่อไปนี้คงไนกับอาจารย์คนนี้อีก และคิดไปถึงระบบการสอนในคณะว่าเขาได้สอนนักศึกษาเรื่องการ appoarch ผู้ป่วยรึเปล่า

Posted by : จากคนที่ขาดความเชื่อมั่นในทันต , Date : 2006-02-01 , Time : 14:34:17 , From IP : 172.29.3.250

ความคิดเห็นที่ : 6


   ทำงานมากไปก็ไม่ได้เงินเพิ่มขึ้น ลองทำงานช้ามาก ละเอียดมาก คุยดีมาก พูดเล่นออกนอกเรื่อง ถามสารทุกข์สุกดิบ เช่น บ้านอยู่ใหน ลูกเรียนอะไร ขายของดีใหม งานอดิเรกสะสมอะไร คนจะสรรเสิรญว่า เป็นคนดีมีน้ำใจ
แล้วงานที่เหลือ ต่อจากเวลาราชการ อย่าไปคิดมาก ใครทำมากก็เสี่ยงมา คติคือ ปากเป็นเอก เลขเป็นโท ดีที่สุด


Posted by : จจ , Date : 2006-02-01 , Time : 19:28:19 , From IP : 203.188.55.114

ความคิดเห็นที่ : 7


   ดิฉันไม่คิดว่าผู้รับบริการทางการแพทย์ต้องการให้ท่านเหล่านั้นมาพูดเล่นออกนอกเรื่องนอกราวหรอกค่ะ พวกเรามีความเคารพในท่านเหล่านั้นอยู่แล้ว และเข้าใจเป็นอย่างยิ่งว่า ท่านมีภารกิจมากมายรออยู่ เพราะมีความขาดแคลนบุคคลากรทางการแพทย์อยู่มากโดยเฉพาะในสถานบริการของรัฐ

เรา...คนไข้ หรือญาติคนไข้ อยากได้รับ "ความรู้" และ "ข้อมูล" ที่สำคัญต่อสุขภาพของเรา การดูแล การป้องกันโรค รายละเอียดการรักษา ทางเลือก และภาวะแทรกซ้อน เพื่อว่าจะได้ไม่เป็นภาระของบุคคลากรทางการแพทย์มากเกินไปนัก

ความรู้ในการดูแลสุขภาพของคนไทยมีน้อยมาก และเมื่อพูดถึงการปฏิบัติตัวด้วยแล้วยิ่งแย่ลงไปใหญ่ ยกตัวอย่างที่ดิฉันยังไม่เข้าใจจนถึงทุกวันนี้ก็คือ เมื่อลูกอายุ 0-5 ขวบ ดิฉันไม่ให้ลูกดื่มน้ำอัดลม ขนมหวาน ท๊อฟฟี่ หรือช็อคโกแล็ตเลย และคอยพาไปตรวจฟันอย่างสม่ำเสมอ สุขภาพภายในช่องปากและฟันของลูกดีมาก จนกระทั่งเมื่อลูกเข้าโรงเรียน ลูกก็ได้ลูกอม เป็นของขวัญมาจากคุณครูและโรงเรียน ????? และทุกวันนี้ก็ยังได้เช่นนี้อยู่ทุกเทศกาล ปัจจุบันลูกก็ทานของเหล่านั้นเป็นปกติ เหมือนเพื่อนๆคนอื่น และดิฉันก็ไม่สามารถต้านสภาพสิ่งแวดล้อมอย่างนี้ได้ ได้แต่บอกว่าให้บ้วนปาก แปรงฟัน หลังทานของหวาน ตอนนี้ฟันกรามผุและต้องอุดประมาณสาม สี่ ซี่ มันน่าปวดหัวจริงๆ (ปรากฎการณ์นี้เป็นปรากฎการณ์ของโลกเลยค่ะ ไม่ใช่เฉพาะในประเทศไทย)

ในวันนี้ก็ต้องการจะบอกคุณหมอๆ ว่า ไม่ต้องเสียเวลาพูดคุยนอกเรื่องนอกราวกับพวกเราหรอกค่ะ เอาที่เป็นความรู้ วิชาการ จะเป็นมงคลกับพวกเรามากกว่า แล้วช่วยใช้ภาษาที่พวกเราฟังกันรู้เรื่องด้วย จักเป็นพระคุณยิ่ง ขอบคุณค่ะ


Posted by : อยากได้ความรู้ , Date : 2006-02-02 , Time : 02:23:14 , From IP : pool-71-106-185-184.

ความคิดเห็นที่ : 8


   ผมได้มีโอกาสอ่านหนังสือเล่มหนึ่ง เป็นรวบรวม excerpt จากการสัมมนาเชิงวิชาการของศูนย์กฏหมายสุขภาพและจริยศาสตร์ เรื่อง "การเป็นศูนย์กลางสุขภาพของไทยในเอเชียกับผลกระทบด้านกฏหมายและจริยธรรม" (Thailand Health System for the Medical Hub of Asia: Legal & Ethical Cobsideration) ในวันอังคารที่ 31 พฤษภาคม 2548 ณ ห้องประชุมจิตติ ติงศภัทิย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีประเด็นหนึ่งในหัวข้อ "ความหมายของปัญหาจริยธรรม" โดย รศ.สิวลี ศิริไล ค่อนข้างตรงกับเนื้อหาในกระทู้นี้ จึงอนุญาตเรียบเรียงลงมาบางส่วน

Ethical Problem ของบริการสุขภาพมีความหมายสองความหมาย ความหมายแรกเป็นความหมายแบบดั้งเดิมที่รู้กันทั่วไป (traditional meaning) หมายถึงการกระทำที่ผิดจรรยาบรรณ ผิดมาตรฐานวิชาชีพ ผิดกฏหมาย ก่อให้เกิดผลเสียร้ายแรงแก่ผู้ป่วย สามารถตรวจสอบได้ด้วยองค์กรวิชาชีพและมีบทลงโทษ ส่วนอีกความหมายหนึ่งที่อาจจะไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร หรือเกิดความเข้าใจไม่ตรงกันก็คือการพิจารณาว่าอะไรควรทำ ไม่ควรทำ เมื่อเผชิญสถานการณ์บางอย่างที่ต้องตัดสินใจ ปัญหาแบบหลังนี้อาจจะไม่ใช้คำว่าถูกหรือผิดเหมือนความหมายแรก แต่เป็นเรื่องของ "ความไวทางจริยธรรม (moral sensitivity)"

ปรากฏว่าตัวอย่างที่ออกมาในสังคมบ่อยขึ้นๆ กลายเป็นส่วนที่สอง หรือ combined ทั้งสองส่วนซะเยอะ

หัวใจของจริยศาสตร์ข้อแรกคือ principle of autonomy นั้น ในทางปฏิบัติต้องขยายรวมถึง "การเคารพ" ต่อ autonomy และการ "ปกป้อง" autonomy ของผู้ที่ตกอยู่ในสภาพไม่สามารถแสดงเจตจำนงค์ศักดิ์ศรีของตนเองได้ตามปกติ ข้อแรกสุดที่เป็น "หลักปฏิบัติ" คือเรื่องของ veracity ได้แก่ ความสำคัญของการพูดคุยอธิบายบอกความจริงแก่ผู้ป่วยอย่างตรงไปตรงมา ตรงนี้เป็น moral right หรือ "สิทธิทางศีลธรรม" ที่ผู้ป่วยพึงได้รับคำอธิบายเพื่อไม่ให้เกิดความวิตกกังวลตามวิสัยของประชาชนที่ไม่มีความรู้ทางการแพทย์

อีกส่วนหนึ่งก็คือแนวปฏิบัติที่เกิดจากแพทย์ หรือผู้ให้บริการสุขภาพมี "ความไว (sensitivity)" มากน้อยแค่ไหนต่อสถานการณ์ ที่จะรับทราบว่า ณ ขณะนั้น "ทุกข์" ของผู้ป่วยและญาติอย่างมหาศาลนั้นได้เกิดขึ้นแล้ว จริงอยู่ที่เมื่อมี complications เกิดขึ้น แพทย์ก็มีความเครียด มีความรู้สึกผิดมากเกิดขึ้นอยู่แล้ว แต่เมื่อคำนึงถึงทุกข์ของคนที่พึ่งเสียลูก เสียมารดา เสียคนที่เป็นที่รักไป ทุกข์ทางวิชาชีพของเรานั้นมันเปรียบเทียบกันยาก คนที่ต้องการประคับประคองในที่นี้ น่าจะเป็นคนที่เกิดทุกข์เวทนาอย่างมาก ได้แก่ผู้ป่วยและญาติ การแสดงออกที่เหมาะสม ที่เป็นการแสดงความเห็นอกเห็นใจ ไม่เพียงแต่จากฐานะของ professional แต่โดยฐานะของระหว่างคนต่อคนที่ทราบว่าอีกฝ่ายเกิดทุกข์อย่างหนักช่วยได้

ตรงนี้คือความเอื้ออาทรที่จะพูดคุยให้เข้าใจ และมี background การพูดที่มีความเห็นใจ Hippocrates เขียนเตือนไว้ใน Hippocratic Collection 2.201 ไว้ว่า
"The patietns does not know what his illness is nor what causes it, neither does he know what to expect. He is given orders, suffering his illness at the time and afraid of the future : hoping for immediate relief rather than long term health : frightened of death but unable to endure his illness."
ถ้าเราไม่เข้าใจตรงนี้ การแสดงออกของเราก็จะ "ไม่เผื่อ" ช่องทางที่จะ "ช่วย" ผู้ป่วยและญาติในภาวะวิกฤตแบบนี้ ซึ่งก็คือหลักการของมหาวิทยาลัยมหิดลและของสงขลานครินทร์ ได้แก่ "อตฺตานํ อุปมํ กเร" การเอาใจเขามาใส่ใจเรา empathy and caring นั้นเอง



Posted by : Phoenix , Date : 2006-02-02 , Time : 07:31:44 , From IP : 58.147.116.93

ความคิดเห็นที่ : 9


   ผมว่าความเห็นของคุณ จจ และคุณอยากได้ความรู้น่ะ มันคือการมองคนละมุมน่ะครับ

จจ "พูดเล่นออกนอกเรื่อง ถามสารทุกข์สุกดิบ เช่น บ้านอยู่ใหน ลูกเรียนอะไร ขายของดีใหม งานอดิเรกสะสมอะไร คนจะสรรเสิรญว่า เป็นคนดีมีน้ำใจ"

อยากได้ความรู้ "ดิฉันไม่คิดว่าผู้รับบริการทางการแพทย์ต้องการให้ท่านเหล่านั้นมาพูดเล่นออกนอกเรื่องนอกราวหรอกค่ะ"

คือว่าคุณ "จจ" คงหมายถึงการคุยเพื่อผ่อนคลาบความเครียดของผู้ป่วยระหว่างการทำฟัน ซึ่งก็ทราบกันดีว่าเวลาถอนฟันเรากลัวกันแค่ไหน ผมเองไม่ได้ถูกถอนฟันนานแล้วแต่ทุกครั้งที่เข้าไปมือ เท้าเย็นทุกที การคุยนอกเรื่องก็จะช่วยเหลือเราตรงนี้ได้ ส่วนของ คุณ "อยากได้ความรู้" นั้น ผมมองว่าทันตะแพทย์ทุกคนต้องให้ความรู้เกี่ยวกับ ฟันผุและการดูแลรักษาอยู่แล้วน่ะครับ มันเป็นหน้าที่โดยตรง

แต่เราซึ่งเป็นบุคลกรทางการแพทย์ (รวม แพทย์ เภสัช ทันตแพทย์ พยาบาล และอื่น) ควรจะให้ความรู้ และพูดนอกเรื่อง ในระดับที่เหมาะสมน่ะครับ และสมดุลกันทั้งคู่

และขอบอกอีกนึดนึงน่ะครับ อย่างประโยคนี้ "ดิฉันไม่คิดว่าผู้รับบริการทางการแพทย์ต้องการให้ท่านเหล่านั้นมาพูดเล่นออกนอกเรื่องนอกราวหรอกค่ะ" คนเราไม่ควรตอบคำถามแทนคนอื่น ไม่ควรคิดแทนคนอื่นน่ะครับ เพราะเราไม่ใช่เขา และไม่มีใครแทนใครได้เสมอหรือครับ


Posted by : สมพร , E-mail : (sompon@hotmail.com) ,
Date : 2006-02-02 , Time : 08:52:54 , From IP : 125.24.19.1


ความคิดเห็นที่ : 10


   ประโยคของคุณ "อยากได้ความรู้" ที่ว่า "ดิฉัน "ไม่คิดว่า..."" นั้น เป็นการออกตัวอยู่แล้วว่าเป็น "ความคิดส่วนบุคคล" ซึ่งไม่ได้ฟันธงว่าผู้รับบริการคิดว่าอย่างไร แตเป็นแค่การแสดงว่าผู้พูด "คิดว่า" ผู้บริการคิดอย่างไรเท่านั้น

จะต่างจากถ้าหากละคำ "คิดว่า..." ไป เป็น "ผู้รับบริการทางการแพทย์จะไม่ต้องการ....." ซึ่งเป็นการฟันธง และ generalize ความคิดของตนเองเป็น universal facts ดังนั้นบทวิเคราะห์ของคุณสมพรที่สรุปว่าคุณ "อยากได้ความรู้" คิดแทนคนอื่นนั้น ไม่น่าจะตรงกับการแสดงออกที่คุณอยากได้ความรู้ได้เขียนไว้ชัดเจนว่านี่เป็น "ความคิด" ของเธอ

จะว่าไปที่เรากำลังทำนี่ก็เป็นการ "คิดแทน" คุณอยากได้ความรู้อยู่เหมือนกันว่า จริงๆแล้ว เรา "คิดว่า" เธอกำลังคิดอะไรอยู่ เพียงแต่เราสองคน (ผมกับคุณสมพร) ตีความจากหลักฐานคำพูดที่ใช้ออกมาได้ตรงกันข้ามกัน อันนี้ก็เป็นหลักฐานที่ดีของการมีความเสี่ยงในการรับรู้เรื่องเดียวกันที่ไม่เหมือนกัน

ดูเหมือนจะเรื่องมาก แต่นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งของความยาก และละเอียดอ่อนของการสื่อสาร การที่เราละคำว่า "โดยส่วนตัวแล้ว...., ผมคิดว่า....., ผมเชื่อว่า......, ฯลฯ" แล้วแสดงออกมาเป็น fact ห้วนๆของเนื้อหาความคิดของเราที่เกิดปัญหาการ generalize ความคิดส่วนตัวของเรา "แทน" คนอื่น ทราบว่าคนอื่นคิดว่าอย่างไร

ผมเคยถาม นศพ. เสมอๆว่าประโยคที่พูดเมื่อสักครู่นี้ เป็นเรา "ทราบว่า" หรือว่าเรา "คิดว่า" ซึ่งมักจะปนสับสนระหว่างสิ่งที่เราคิด กับสิ่งที่เรารู้ (ส่วนหนึ่งเป็น "เราคิดว่าเรารุ้") นี่ขนาดคุณ "อยากได้ความรุ้" เขียนไว้ชัดเจนว่าเป็นสิ่งที่เธอคิด ก็ยังถูกเข้าใจว่าที่พูดมาเป็นสิ่งที่เธอ "ทราบ"



Posted by : Phoenix , Date : 2006-02-02 , Time : 09:13:34 , From IP : 172.29.3.112

ความคิดเห็นที่ : 11


   บางครั้งคำพูดที่เข้าใจยาก ไม่ได้ทำให้ เนื่้อหา นั้น ดีขึ้นมา กลับทำให้ งง


Posted by : ด , Date : 2006-02-02 , Time : 14:10:53 , From IP : pool-isdn-114.microt

ความคิดเห็นที่ : 12


   คุณ phoenix พูดเข้าใจอีกแล้ว ฟังแล้วไม่เข้าใจเลย เหมือนจับต้องไมได้ยังไงไม่รู้ค่ะ เอาแบบคนธรรมดา ฟังเข้าใจได้มั้ยค่ะ

Posted by : ผมทราบ ผมว่า , Date : 2006-02-02 , Time : 14:24:39 , From IP : rx178.pharmacy.psu.a

ความคิดเห็นที่ : 13


   "การรับรู้" นั้นมีหลายแบบครับ รับรู้แบบตรรกะใช้เหตุผล รับรู้แบบอารมณ์ รับรู้แบบจินตนาการ

ปกติเราใช้ปนๆกันไป

แต่ละสถานการณ์ถ้าใช้แบบที่ต่างกัน จะมีผลต่อพฤติกรรม ความคิด และปฏิกิริยาได้ ยกตัวอย่างการเสนอข่าว ถ้าเป็นการเสนอแค่ "ข้อเท็จจริง" ก็จะชี้นำให้ใช้เหตุ ใช้ผล มาวิเคราะห์ แต่บางทีกลัวจะไม่ตื่นเต้น ก็ต้องสอดแทรกอารมณ์ให้สะเทือนใจมากขึ้น การเสนอข่าวแบบตื่นเต้นใช้อารมณ์นี้ก็จะก่อกวนให้คนรับฟังใช้เหตุผลน้อยลง ใช้อารมณ์มากขึ้น

ปกติถึงแม้ว่าเราไม่ทราบเรื่องราวในรายละเอียดของเหตุการณ์หนึ่งๆ คนเราก็ยังสามารถใช้ประสบการณ๋เก่ามาประกอบ เติมลงไปใน jigsaw ให้เรื่องราวมันครบมากขึ้น เช่น พอดูหนังเปิดตัวว่าเป็นนายแบงค์ คนดูโดยอัตโนมัติก็จะนึกถึงคนรวย หรือตัวละครหน้าเหี้ยม หัวเราะกวนโทสะ กักขฬะ เราก็เดากันต่อได้ว่าตัวนี้น่าจะเป็นตัวร้าย แต่นักทำหนังก็สามารถนำเอาการตีความอัตโนมัติเหล่านี้มาทำเป็นพล็อตหักมุมให้ประหลาดใจได้บ่อยๆ คือคนดูเดาผิด

กลับมาเข้าเรื่อง "คิดว่า" กับ "รู้ว่า"

ประโยค "ผู้รับบริการจะไม่ต้องการรับฟังข้อมูลอะไรที่ไร้สาระ ไม่เกี่ยวกับโรคที่เป็น" จะต่างจากประโยค "ผมไม่คิดว่าผู้รับบริการต้องการฟังข้อมูลอะไรที่ไร้สาระ ไม่เกี่ยวกับโรคที่เป็น" คล้ายๆนี่เป็นข้อเท็จจริงที่ผู้พูด "ทราบ หรือรู้" ว่าเป็นจริง

ประโยคแรกนั้น คล้ายๆเป็นการประกาศ "ข้อเท็จจริง" ความหมายในเชิง generalize คือใช้ได้กับ "ผู้รับบริการ" ทุกคน จะไม่ค่อยได้แบ่งปันความเป็นไปได้ว่าผู้รับบริการบางคนอาจจะไม่ได้คิดแบบนั้น แต่ประโยคที่สองนั้นบอกที่มาว่า บทสรุปที่ว่านั้นมาจาก "คนพูดคิดเอง"

เรื่องนี้เป็นปัญหาอย่างไร?

ปัญหาคือถ้าเราสับสนสิ่งที่เราคิดว่าจริง กับสิ่งที่เรา "ทราบ" ว่าจริง เราจะประหลาดใจได้บางครั้งว่าที่เราคิดว่าทราบนั้น มันผิดได้เหมือนกัน นี่คือประเด็นของ "การคิดแทนคนอื่น" นำเอาความคิดของเราไปทดแทนหรือสวมแทนคนอื่นว่าคิดอย่างไร บางทีมันก็หักมุมได้เหมือนดูหนัง เวลาเราฟังข่าว อ่านข่าว แล้วคล้อยตามเรื่องที่เสนอซึ่งบางทีเป็นแง่มุมเดียว มาจากมุมมองฝ่ายเดียว เราก็จะได้บทสรุปจากมุมมองฝ่ายเดียวนั้น แต่เรื่องหลายๆเรื่องเมื่อมองต่างมุม มันเห็นได้หลายแบบ ได้ข้อสรุปได้หลายแง่ ฉะนั้นเรื่องนี้จึงเกี่ยวกับการวิเคราะห์ การสรุป ข้อมูลข่าวสารที่เราได้รับ ในยุคที่ข่าวสารแพร่สะพัดรวดเร็ว และมีแนวโน้มชี้นำพฤติกรรม เรายิ่งจะต้องฝึกฟังหูไว้หู รับฟังสื่อจากหลายแหล่งข่าวเพื่อเปรียบเทียบ ก่อนตัดสินใจลงมือทำอะไรจากข้อมูลนั้นๆ ทางการแพทย์เราก็ต้องมีการรวบรวมข้อมูลทั้งจากประวัติ ตรวจร่างกาย ผลห้องปฏิบัติการ นำมาประกอบการวินิจฉัย การรักษา แค่นั้นเราก็ยังไม่วางใจ 100% ยังต้องติดตามการรักษาที่ให้ไปว่าน่าจะได้ผลอย่างที่คาดหรือไม่ บางทีเราก็ได้ข้อมูลเพิ่มเติมทีหลัง ทำให้การวินิจฉัยเปลี่ยน การรักษาเปลี่ยน

ถ้าแพทย์ "ปักใจ" เชื่ออะไรง่าย ใช้ข้อมูลไม่ระมัดระวัง คิดว่า "ทราบ" ทั้งๆที่เป็นแค่คิด หรือจินตนาการเท่านั้น เราก็จะประหลาดใจทีหลังได้ ทีนี้หมอเป็นอาชีพที่ไม่ควรประหลาดใจบ่อยเกินควร เพราะคนรับเคราะห์กว่าเราคือคนไข้

มันจึงสำคัญด้วยประการฉะนี้



Posted by : Phoenix , Date : 2006-02-02 , Time : 14:49:29 , From IP : 172.29.3.144

ความคิดเห็นที่ : 14


   อ่านง่ายออกค่ะ รอบเดียวรู้เรื่อง
เป็นภาษาธรรมดาๆ ที่อาจารย์แพทย์ใช้สอนนักศึกษาแพทย์ ซึ่งจะได้ยินได้ฟังบ่อยๆ ใน palliative round ถ้าไม่คุ้น รู้สึกว่าเข้าใจยาก อาจจะต้องใช้ความสามารถในการจับใจความสักหน่อย บวกกับความพยายามทำความเข้าใจอีกนิด
ขั้นต้นก็เริ่มทีละประโยคก่อนก็ได้ค่ะ

ดิฉันกำลัง "คิดว่า" อาจารย์ Phoenix คงจะมีแนวการสื่อและสอนแบบเฉพาะตัว
โดยเฉพาะ

"ทฤษฎี andragogy หรือ adult learning ที่ว่าผู้เรียนต้องเป็นผู้เริ่มก่อน (รากฐานของ SDL = Self Directed learning) นั้นตรัสรู้และสอนโดยพระพุทธเจ้าในอิทธิบาทสี่คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา กิจทั้งปวง (รวมเรื่องเรียนด้วย) ต้องเริ่มจากการที่เรามี "ฉันทา" ก่อน มีความพึงพอใจที่จะทำก่อน ความเพียร ความอะไรต่อมิอะไรมันถึงจะตามมา ผนวกกับพุทธภาษิตอีกบทได้แก่ อตฺตาหิ อตฺโนนาโถ ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน ศาสนาพุทธจึงไม่ใคร่ออกไป recruit สานุศิษย์หรือพุทธมามกะ อย่าง active มาก ศิษย์ต้องมาหาอุปัชฌาย์ และต้องมีความพึงพอใจจะเรียน จะเพียร จะคิด จะไตร่ตรองเอง จึงจะมาอยู่บนมรรคาได้"

หากใคร่รู้ใฝ่เรียน ... เริ่มที่ "ฉันทะ" น่าจะดี แต่คง ...ไม่พอ...


Posted by : Lucifer , Date : 2006-02-02 , Time : 14:51:11 , From IP : 172.29.4.127

ความคิดเห็นที่ : 15


   เอาอีกสักตัวอย่างหนึ่งก็ได้ครับ

เมื่อเร็วๆนี้มีกรณีที่เป็นข่าว เด็กมีไข้ ไม่ admit แล้วเสียชีวิต รมต.ออกมาประกาศตูมว่าอันนี้หมอผิด แพทยสภาก็ออกมาสวนทันทีว่า มันต้องตัดสินเป็นรายๆไป ไม่มี guideline ที่ไม่ flexible

ทั้งสอง actions มันเป็น traditional moral คือ เน้น "ถูก-ผิด" แล้วก็ฟันธงเลยว่าถูกหรือผิด ตามบริบทที่มาความรู้ด้านจริยธรรมของแต่ละฝ่าย ผมขออนุญาตข้ามไปก็แล้วกันว่าใคร ill-informed ใคร immoral แต่จะขอเชิญมาคิดกันในความหมายของ moral sensitivity หรือความหมายจริยธรรมอย่างที่สอง และขอวิจารณ์เฉพาะของแพทยสภาเท่านั้น

ในสถานการณ์เช่นนี้ คิดว่า victim เขา care มากน้อยแค่ไหนว่าใครถูกผิดครับ? หรือแม้แต่เรื่องทำฟันแล้วเด็กเสียชีวิตก็ตาม

"ข้อเท็จจริง" คือ แม่เด็ก พ่อเด็ก พึ่งเสียลูกไป

ถ้าคิดตาม moral sensitivity นั้น การแสดงออกแบบไหนขององค์กรแพทย์ น่าจะทำให้เกิด win-win situation (อืม... ใช้คำนี้อาจจะไม่ดี เปลี่ยนเป็น "ศักดิ์ศรี" ของผู้ป่วยและญาติถูกเคารพนับถือดีกว่า)?

การสูญเสียญาติพี่น้องอย่างไม่ได้คาดฝันนั้นเป็น major crisis อย่างหนึ่งครับ ขนาดคนไข้โรคมะเร็ง โรคเรื้อรัง เสียชีวิต ญาติๆก็ร้องห่มร้องไห้กันขรมถมเถไป น่าสลดใจ แต่ถ้าเป็นการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ จากโรคปัจจุบัน ไม่ต้องรวมไปถึงจากความประมาท จากของที่ป้องกันได้พวกนั้น emotional crisis มันยิ่งรุนแรงมากกว่ากัน เวลาเรามี "อารมณ์" แบบนั้น เราไม่ค่อยใช้ตรรกะ หรือรับฟังเรือง logic ได้ชัดเจนเท่าปกตินะครับ และอะไรที่เข้ามาตอนนั้น มันจะออกไปทาง negative ได้ง่ายดาย อะไรนิดหน่อยยิ่งถูก aggravate ได้รุนแรงเป็นทวีคูณ ง่ายต่อการฉวยโอกาสของพวกที่หากินโดยการ "ขาย" อารมณ์ เช่นนักข่าวบางคน นักจัดรายการบางท่าน หรือนักการเมืองที่ willing จะ take side ตาม emotion ของชาวบ้าน

ในเรื่องแบบนี้นั้น คนที่ชิง moral highground ได้ ก็จะเป็นคนควบคุมสถานการณ์ ในที่นี้ก็คือ คนที่แสดงความเป็นคน แสดงความ sensitive ในความเป็นมนุษย์ ในความเข้าอกเข้าใจสถานการณ์ก็จะสามารถชี้นำเรื่องราวฝ่ายตนเองได้มากที่สุด ซึ่งโดยเทคนิกแล้ว แพทย์น่าจะเป็นฝ่ายที่ง่ายที่สุดที่จะยึดหัวหาดทาง moral sensitivity ได้ง่ายที่สุดโดยเนื้องานของเราเอง

โชคไม่ดีที่ รมต. บุ่มบ่ามไปแล้ว เราก็ตื่นเต้นตาม เขาฟันธงมา เรารีบฟันดาบกลับไป ผลก็คือพอ รมต. กลับตัวทันมาใช้ไม้นุ่มยึด victim เป็นพวกได้ พวกเรากลับเป็นผู้ตั้งรับ ซวนเซไปมาตามกระแส ที่จริงถ้าองค์กรตัวแทนของแพทย์ออกมาแสดงความเห็นอกเห็นใจ ถูกผิดว่าทีหลังสัญญาว่าจะมีการสอบสวนให้ความยุติธรรม และแถลงการให้สาธารณชนเข้าใจโดยเร็วที่สุด ข้อสำคัญคือต้องแสดง sensitivity ว่าเรื่องนี้ถ้าจะมีคนสูญเสีย คนแรกที่ควรได้รับการช่วยเหลือก็คือครอบครัวที่รับเคราะห์นั่นแหละครับ อย่าพึ่งรีบปกป้องพวกเดียวกัน หรือรีบหาเสียง

บางทีเราก็ปล่อยอารมณ์เป็นนาย ไปโกรธญาติที่นำเอาเรื่องไปออกทีวี ทำให้วงการเสียชื่อเสียง เรื่องของเรื่องก็คือองค์กรวิชาชีพของเราได้ช่วยเหลือ จัดการ ผู้รับเคราะห์แบบไหน รวดเร็วแค่ไหน หรือเน้นที่ traditional moral อย่างเดียว พอหมอถูกต้อง ปฏิบัติตาม clinical practice guidline ก็จบ ปิดคดี ไม่ต้องพูดมากยืดเยื้ออีกนะ ฉันรำคาญ (นี่ก็คำพูดแบบกวนอารมณ์เหมือนกัน) มันก็จะได้ฝ่ายเดียวคือ traditional moral แต่สอบตกในหมวด moral sensitivity ครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2006-02-02 , Time : 15:25:14 , From IP : 172.29.3.144

ความคิดเห็นที่ : 16


   วันนั้นมีโอกาสได้ดูด้วย ก็อย่างว่าแหละ หมออาจจะผิดที่ไม่รอบคอบ แต่ว่า เหตุการณ์แบบนี้คงไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น เมื่อเกิดขึ้นแล้ว แทนที่จะโยนความผิดให้คนโน้นคนนี้ ควรจะร่วมมือกันแก้ปัญหาดีกว่า ส่วนเรื่องเงิน ก็เป็นส่วนที่เค้าควรจะได้ คนที่เสียลูกไปทั้งคน ยังไงเค้าคงไม่คิดเรื่องเงินอยู่แล้ว ไม่ว่าปาฏิหาริย์จะมีจริงหรือไม่ ก็ขอให้เป็นกรณีศึกษาก็แล้วกัน

Posted by : xxxxx , Date : 2006-02-02 , Time : 18:46:38 , From IP : 192.168.58.242

ความคิดเห็นที่ : 17


   เฮ๋อ ย้าวยาว

Posted by : คนไร้หน้ากาก , Date : 2006-02-02 , Time : 19:50:49 , From IP : 172.29.4.195

ความคิดเห็นที่ : 18


   ไม่น่าอุทรณ์เลย สงสารแม่เด็ก

Posted by : tikky , Date : 2006-03-23 , Time : 05:52:03 , From IP : 172.29.3.140

ความคิดเห็นที่ : 19


   เมื่อประมาณ 3 เดือนก่อนได้พาลูก 6 ขวบไปทำฟันที่เซนต์หลุยส์ ลูกเข้าไปก่อนพอ ตามเข้าไปเห็นลูกถูกมัดโดยเอาผ้ารัดรอบตัว ใจหายมาก หมอบอกว่าต้องมัดไว้เพราะเด็กจะดิ้นแล้วอันตรายกว่า แต่ตอนนั้นก็เห็นลูกร้องไห้ ทำใจไม่ได้เลย
ขอให้หมอเอาออก หมอกลับพูดจาห้วนๆปนขู่ว่า ฟันผุมากหมอกรอลงไปแล้วจะกลับทั้งแบบนี้เลยก็ได้ ตอนนั้นแม่ต้องระงับอารมณ์ไว้มากเพราะลูกเราก็อยู่ในมือเขาแล้ว เลยเข้าไปกอดลูกไว้ ลูกก็ร้องสะิือื้นเรียกแม่จ๋าตลอด บอกให้หมอปล่อยหนู ปล่อยหนูก่อน แล้วหนูจะไม่ดิ้น หนูร้อนมากเลย รัตแน่นอึดอัดไปหมดแล้ว ได้ยินอย่างนั้นแม่ก็ทนไม่ไหวแ้ล้ว แต่คุณหมอหญิงคนนั้น กลับพูดว่าไม่เคยเจอเด็กอะไรอย่างนี้พูดไม่รู้เรื่อง คุณแม่ไม่่ได้บอกเค้าหรือคะว่าจะต้องมาทำอะไรบ้าง

บอกซิคะ แม่บอกว่าลูกต้องมาทำฟันเพราะฟันผุแต่แม่ได้บอกว่าจะต้องมาถูกหมอทรมานทั้งทางร่างกายและวาจาแบบนี้

คุณแม่เลยถามคุณหมอว่าทำไมทำฟันเด็กถึงเจ็บอย่างนี้ คุณหมอพูดหน้าตาเฉยว่า
รักษารากฟันก็เป็นอย่างนี้แหละ เฮ้ย! ฟันน้ำนมนี่นะต้องรักษารากฟันด้วย

หมอเดี๋ยวนี้คงเห็นเงินเป็นพระเจ้า ไม่มีจิตใจ ไร้คุณธรรม..จะมีหมอคนไหนไหมที่เป็นหมอด้วยใจที่อยากให้จริงๆ



Posted by : ไม่ชอบหมอ , Date : 2006-04-02 , Time : 13:45:36 , From IP : ppp-124.121.37.182.r

ความคิดเห็นที่ : 20


   หมอบางคนก็ดีหมอบางคนก็ไม่ดี มันแล้วแต่ที่เราจะคิดอ่ะครับ แต่ไม่เข้าใจทำไมพอทำฟันให้เสร็จแล้วต้องให้ลูกอมหรืออมยิ้มมารับประทาน อย่างที่'ไม่ชอบหมอ' บอกมาตรงประโยคสุดท้ายนี้ผมก็เห็นด้วยนะครับเพราะบางคลีนิค ก็ไม่สนใจคนไข้ และรักษาคนไข้ไม่มีคุณภาพที่เพียงพอ รับเงินมาหน้าตาเฉย

Posted by : ... , E-mail : (lucky_yayee@hotmail.com) ,
Date : 2006-09-04 , Time : 18:52:07 , From IP : ppp-58.8.33.63.revip


ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.013 seconds. <<<<<