น่าสนใจในประเด็นของการวิเคราะห์ "เงื่อนไข" ของการเป็นคนที่สมบูรณ์ครับ ขอแยมด้วยคน
เมื่อวันก่อนมีโอกาสเชิญ อ. ธาดา มาบรรยายเรื่อง health promotion ในประเด็นการป้องกันอุบัติเหตุจราจร อ. ทอยคำถามธรรมดาๆมาว่าทำอย่างไร นักศึกษาเราจึงจะมี zero percent accident มีคำตอบหลากหลายมากมายจากนักศึกษา เช่น เพิ่มโทษให้รุนแรงขึ้น เพิ่มตำรวจ เพิ่มกล้องวงจรปิด มีระบบ register ทะเบียนรถกับเจ้าของ มีกล้องถ่ายรูป ฯลฯ เทคโนโลยีมากมายเหล่านี้ทำให้เกิด sense of security ว่าดีกว่า ทันสมัยกว่า มีประสิทธิภาพมากกว่า
จริงหรือไม่?
บางที "ราก" ของอุบัติเหตุ รากของความเป็นนักศึกษา นักค้นคว้า ที่ "สมบูรณ์" อาจจะไม่ได้อยู่ที่เครื่องมืออย่างเดียวหรือไม่? แต่อยู่ที่ "เจตคติ" ในการใช้ของที่มีอยู่อย่างเต็มที่ 100% ของที่เรามีอยู่ บวกกับแรงบันดาลใจที่เราจะทำอะไรอย่างจริงจัง
เราก้าวมาไกลเหมือนกันครับในการคิด ในการทำงาน ในการศึกษา คอมพิวเตอร์ยุคปัจจุบันมีประสิทธิภาพสูงมากจนน่าสงสัยว่ามีสักกี่เปอร์เซนต์ของ user ที่เป็น power user อย่างแท้จริง รีดพลังความสามารถในการใช้งานมาทั้งหมด คอมฯของ supervisor ผมใช้ระบบ operative system Amiga มี hard-drive 850 mb และ memory 128 MB แต่แกเขียน programme เอง ใช้ word processor รรมดาๆ สอนนักเรียน Ph.D. มาทั่วโลก และยังคิดว่า DOS ก้เป็น programme ที่ not too bad ในการที่จะใช้งาน
อืม.. แกก็ยังมีงานอดิเรก มีชีวิตส่วนตัว มีแหล่งบันเทิง ที่อยู่ในสังคมได้ มีเกียรติพอสมควร มีความมั่นคงในชีวิตพอสมควร
ความสมบูรณ์ในความเป็นคนนั้น ควรผูกพันกับเทคโนโลยีมากน้อยเพียงไร อันนี้คงจะแล้วแต่ "เงื่อนไข" ที่ปัจเจกบุคคลจะกำหนดไว้ คงจะไม่ใช่ของสากล หรือกฏเกณฑ์อะไร บางทีที่เราเป็นทุกข์มากๆนี่ มันก็เกิดจาก "เงื่อนไข" ที่เราเรียกร้องว่าเราจะสุข "ก็ต่อเมื่อ" มีเงื่อนไขดังต่อไปนี้ 1, 2, 3, 4.... ถ้าไม่มีก็จะขอเรียกร้อง
ไปเรื่อยๆ หรือในบางครั้งก้มีแล้ว แต่ก็จะมองเห็นว่าน่าจะได้ "มากกว่านั้น" อีก เงื่อนไขในการมีความสุข ในความสมบูรณ์ดูจะไม่เคย "เพียงพอ"
ความไม่เพียงพอนี้เองที่เป็นรากของความทุกข์ และกลับกันคือ "ความเพียงพอ" นี่เองทำไมจึงมีบรมปราชญ์แห่งชาติสอนว่าเป็นเคล็ดแห่งความสุข แห่งความสุขที่ยั่งยืน ทำอย่างไรเราจึงกำหนดความเพียงพอในปรัชญาการดำรงชีวิตของเราได้อย่างดี มีประสิทธิภาพ ทำอย่างไรเราจึงจะสอนลูกว่าของที่มีเราสามารถหาวิธีใช้อย่างเต็มที่ซะก่อน และให้มีความสุขได้ ถ้า generation ต่อๆไปไม่มีความเพียงพอ อีกหน่อยเทคโนโลยีจะนำการดำรงชีวิตไป ก็น่าเสียดายไม่น้อย
ผมเชื่อว่าพวกเราแต่ละคนมีเทคนิก เงื่อนไข และนิยามของ "ความสมบูรณ์" ของชีวิต ในการศึกษา ในการจินตนาการ ในการหาความสุขแตกต่างกัน เราคงจะ generalize ยากพอสมควรที่บอกว่าอะไรเป็น minimal technology แห่งความสุข แห่งความสมบูรณ์ บางทีความสามารถในการเป็นสมาชิกของสังคม เคารพในกฏระเบียบกฏหมายของสังคมก็เกี่ยวอยู่บ้างนิดหน่อย บวกกับมีโอกาสได้ใช้เทคโนโลยีโน่นนี่ (เทียบกับที่อื่น ผมว่าเราก็โชคดีที่มีคุณ garnet และทีมทำงานแบบนี้ให้เรา)
แหล่งข้อมูลอื่นนอกเหนือจาก internet ก็มีเยอะครับ และใน internet เองแหล่งข้อมูล แหล่งความบันเทิงที่ไม่ต้องใช้ power ระดับ ADSL ก็ยังมีพอสมควร บางคนก็ "เพียงพอ" แค่นั้น แต่บางคนยังไม่เพียงพอ ส่วนใครเจริญมากกว่ากันในด้านความสมบูรณ์ของจินตนาการ การศึกษา การสมดุลคงอยู่ในสังคม นั่นคงวเป็นปัญหาปรัชญาที่ยังไม่มีข้อสรุปกระมัง?
บางที Koan ของคำ "เพียงพอ" เป็นสิ่งที่บรมปราชญ์ของเราทิ้งไว้ให้เราศึกษา ตีความ พอที่จะศึกษาไปขั่วชีวิตและไปถึงรุ่นลูกหลานเราก็ได้
Posted by : Phoenix , Date : 2006-01-31 , Time : 06:34:24 , From IP : 58.147.116.93
|