ความคิดเห็นทั้งหมด : 5

ขายหุ้นชินคอร์ป : ความไม่บกพร่องโดยไม่สุจริต


    ขายหุ้นชินคอร์ป : ความไม่บกพร่องโดยไม่สุจริต
Shin Corporation Share Selling: Corruption by Default

เมื่อห้าปีที่แล้ว เราคงจำได้เป็นอย่างดีเกี่ยวกับคดีซุกหุ้นอันโด่งดังของท่านนายกฯทักษิณ ชินวัตร แม้ว่า
ศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณาให้ท่านนายกฯพ้นความผิดจากกรณีดังกล่าว จนกลายเป็นที่มาของวลีที่ว่า "ความ
บกพร่องโดยสุจริต” ถึงแม้ว่าจะไม่มีใครทราบว่านายกฯบกพร่องโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม แต่คำพิพากษาดัง
กล่าวยังคงสร้างความเคลือบแคลงใจแก่ผู้ที่ไม่เห็นด้วยจนถึงทุกวันนี้
ห้าปีต่อมา ประเด็นที่เกี่ยวกับเรื่องหุ้นของครอบครัวท่านนายกฯ กลับมาเป็นข่าวโด่งดังอีกครั้ง นั่นคือการ
ที่ ตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ขายหุ้นกลุ่มชินคอร์ปทั้งหมดในมูลค่าถึงกว่า 7 หมื่นล้านบาท ให้กับกองทุนเท
มาเส็กของสิงคโปร์ การขายหุ้นครั้งมโหฬารครั้งนี้ถึงแม้ว่าจะไม่อาจหาความผิดในเชิงกฎหมายที่อาจทำให้ผู้
ที่เกี่ยวข้องต้องเข้าสู่กระบวนการพิจารณาคดีเหมือนในอดีต แต่ได้ทำให้เกิดข้อสงสัยอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับ
เจตนาอันไม่ชอบธรรม ซึ่งผมขอเรียกภาวะเช่นนี้ว่า “ความไม่บกพร่องโดยไม่สุจริต” ซึ่งเราสามารถเห็นได้
จาก
ความตั้งใจหลบเลี่ยงภาษี การขายหุ้นชินคอร์ปครั้งนี้เป็นความจงใจหลบเลี่ยงภาษีอย่างชัดเจน สังเกตได้
จากความพยายามโอนหุ้นที่ถือโดยนิติบุคคลทั้งหมดกลับมาอยู่ในมือของบุคคลก่อนที่จะทำการซื้อขายหุ้น โดย
การโอนหุ้นจากกองทุนในต่างประเทศที่ไม่ระบุชื่อผู้ลงทุนมาเป็นหุ้นของบุตรของท่านนายกฯ แล้วจึงทำการ
ซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ เพราะหากเป็นการขายหุ้นโดยนิติบุคคลจะต้องเสียภาษี แต่การขายหุ้นของ
บุคคลธรรมดาในตลาดหลักทรัพย์ไม่ต้องเสียภาษีอันเกิดจากกำไรจากการขายหุ้น ในความเป็นจริงหลักเกณฑ์นี้
ทางตลาดหลักทรัพย์ได้ตั้งไว้เพื่อสร้างแรงจูงใจให้คนทั่วไปเข้าไปลงทุนในตลาดหุ้น แต่กลับถูกใช้เป็นช่อง
ทางในการหลบเลี่ยงภาษี
ความตั้งใจเอาเปรียบผู้ถือหุ้นรายย่อย เทมาเส็กในนามของบริษัทลูก 2 แห่ง คือ บริษัท ซีดาร์ โฮลดิ้งส์
จำกัด และบริษัท แอสเพน โฮลดิ้งส์ จำกัด ร่วมกับนักลงทุนไทยเพื่อเข้ามาเป็นพันธมิตรร่วมซื้อหุ้นชินคอร์ป
ร้อยละ 49.595 ของทุนชำระแล้วของบริษัท ซึ่งทำให้บริษัทลูกแต่ละแห่งถือหุ้นไม่เกินร้อยละ 25 ซึ่งตาม
หลักเกณฑ์ของคณะกรรมการกำกับตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) หากผู้ซื้อถือหุ้นไม่เกินร้อยละ 25 ไม่จำเป็นต้องทำ
ต้องทำคำเสนอซื้อ (tender offer) แก่นักลงทุนรายย่อย เราจะเห็นได้ว่าท่าทีของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่ร่วมมือ
กับเทมาเส็กออกแบบข้อตกลงการซื้อขายเช่นนี้ น่าจะเป็นความพยายามปิดโอกาสไม่ให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยเสนอ
ขายหุ้นกับเทมาเส็ก เพราะเกรงว่าเทมาเส็กจะไม่ตกลงดีลซื้อขายครั้งนี้ เพราะหากต้องทำคำเสนอซื้อ เทมาเส็ก
จะต้องใช้เงินเข้ามาซื้อมากกว่านี้หลายเท่า จึงนับว่าเป็นความตั้งใจร่วมมือกับต่างชาติเพื่อเอาเปรียบผู้ถือหุ้น
รายย่อยในประเทศไทย
ความตั้งใจแก้ไขกฎหมายเพื่อประโยชน์ส่วนตัว การซื้อขายหุ้นครั้งนี้มีการเตรียมการมาเป็นเวลานาน
สังเกตได้จากการแก้ไขพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 โดยออก พ.ร.บ.การ
ประกอบกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549 ที่แก้ไขให้ต่างชาติเข้ามาถือหุ้นในกิจการโทรคมนาคม
ได้เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 25 เป็นร้อยละ 49 ประเด็นที่น่าสังเกตคือ พ.ร.บ.มีผลบังคับใช้ในวันเสาร์ที่ 21 ม.ค.
2549 และการขายหุ้นเกิดขึ้นทันทีในวันจันทร์ที่ 23 ม.ค. 2549 ซึ่งเป็นวันแรกที่ตลาดหุ้นเปิดทำการซื้อขาย
หลังจากวันที่ พ.ร.บ.มีผลบังคับใช้ ซึ่งไม่น่าจะเป็นเหตุบังเอิญ แต่น่าจะเป็นความตั้งใจของผู้ซื้อและขายหุ้น
ครั้งนี้
ด้วยเหตุนี้วัตถุประสงค์หลักที่รัฐบาลออก พ.ร.บ.ฉบับนี้จึงมิใช่เพื่อประโยชน์ของประชาชนในการได้รับ
บริการที่ดีขึ้นตามที่ระบุไว้ท้าย พ.ร.บ.ฉบับนี้ แต่เป็นความตั้งใจแก้ไขกฎหมายเพื่อเปิดทางให้ผู้ถือหุ้นราย
ใหญ่ของชินคอร์ปสามารถขายกิจการโทรคมนาคมให้ต่างชาติได้โดยสะดวก เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่านักลง
ทุนในประเทศไม่มีเงินเพียงพอจะซื้อหุ้นจำนวนมากเช่นนี้ได้ การแก้ไข พ.ร.บ.ดังกล่าวจึงทำให้ต่างชาติ
สามารถเข้ามาใช้ประโยชน์จากทรัพยากรคลื่นความถี่ของประเทศไทย รวมทั้งได้รับประโยชน์จากสัมปทาน
และเงื่อนไขที่ทำให้เอไอเอสได้เปรียบผู้ให้บริการรายอื่นด้วย
ผมคิดว่า ผู้ที่อยู่ในฐานะของผู้นำประเทศ ไม่ควรแม้แต่จะเกิดภาวะ "ความบกพร่องโดยสุจริต” อย่างไรก็
ตาม หากเป็นความผิดพลาดโดยสุจริตจริง อาจเป็นสิ่งที่ให้อภัยได้ แต่ในกรณีที่ผู้นำประเทศเกิดภาวะ “ความ
ไม่บกพร่องโดยไม่สุจริต” เป็นสิ่งที่ให้อภัยไม่ได้เลย


Posted by : ร่วมด้วยช่วยกัน , Date : 2006-01-27 , Time : 10:28:44 , From IP : 172.29.1.126

ความคิดเห็นที่ : 1


   ร่วมแจม copyมานะ
********************
เกมเศรษฐีภาคขยาย
Extended Monopoly Game

ปี ค.ศ.1934 เป็นช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำที่สุดของอเมริกา ในปีนั้น นาย
Charles B. Darrow ซึ่งกำลังตก
งานอยู่นั้นได้ให้กำเนิดเกมกระดาน (Board game)
ซึ่งเป็นที่แพร่หลายที่สุดเกมหนึ่งของโลก ซึ่งเขาตั้งชื่อ
ว่า “Monopoly game” หรือที่คนไทยรู้จักกันในนาม “เกมเศรษฐี”
ซึ่งได้แนวคิดบางส่วนมาจากการ
ดำเนินธุรกิจของกลุ่มทุนในอเมริกาในสมัยนั้น
เกมเศรษฐีเป็นเกมที่มีจุดมุ่งหมายคือการเป็นผู้เล่นที่เหลืออยู่คนสุดท้ายในกระดาน
โดยระหว่างการเล่น ผู้เล่น
จะต้องซื้อที่ดินเก็บไว้พร้อมทั้งสร้างบ้านและโรงแรม
เพื่อรอให้ผู้เล่นคนอื่นเดินหมากมาตกในที่ดินของตน
และเก็บค่าเช่า
ยิ่งมีที่ดินหรือสร้างบ้านหรือโรงแรมมากเท่าไรจะยิ่งเก็บค่าเช่าจากคู่แข่งได้มากเท่านั้น ดังนั้นผู้
เล่นจะต้องซื้อที่ดิน สร้างบ้านและโรงแรมเก็บไว้ให้มากที่สุด เพื่อจะ
“รีด” ค่าเช่าจากคู่แข่งจนกระทั่งคู่
แข่ง “ถังแตก” ในที่สุด เพื่อจะเป็นผู้ชนะของเกม
โดยที่เกมจะมีคนกลางทำหน้าที่เป็นนายธนาคารเพื่อจ่ายเงิน
แก่ผู้เล่นต่าง ๆ และควบคุมเกมให้เป็นไปตามกติกา
เวลาผ่านไป 70 ปี ในประเทศไทย
มีผู้ผลิตนวัตกรรมใหม่ที่พัฒนาจากเกมเศรษฐีเดิมมาเป็น “เกมเศรษฐีภาค
ขยาย” (Extended Monopoly game) ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อ “ฆ่า”
คู่แข่งให้หมดเพื่อเหลือตนเองให้เป็น
ผู้เล่นรายสุดท้าย แต่ต่างกันที่กลยุทธ์ของธุรกิจที่พัฒนาไปมาก
ทั้งฉลาดขึ้น แนบเนียนขึ้นและโหดเหี้ยมยิ่ง
ขึ้น
กลยุทธ์ในการเล่นในเกมเศรษฐีภาคขยายนั้น
แทนที่ผู้เล่นจะพยายามครอบครองทรัพย์สินให้มากที่สุดเพื่อรีด
ค่าเช่าจากคู่แข่งอย่างแต่ก่อน
แต่กลยุทธ์กลับกลายเป็นผู้เล่นสามารถตีคู่แข่งให้แตกพ่ายก่อนแล้วจึงครอบครอง
ทรัพย์สินได้ เนื่องจากเกมเศรษฐีภาคขยายนี้ผู้เล่นสามารถเข้าไปควบตำแหน่ง
“นายธนาคาร” เพื่อเปลี่ยน
กฎเกณฑ์กติกาได้เอง !!!
เช่น หากต้องการจะทำกำไรในกิจการโรงพยาบาล ผู้เล่นในฐานะ “นายธนาคาร”
สามารถที่จะออก
นโยบาย “30 บาทรักษาทุกโรค” พร้อมให้งบประมาณสนับสนุนอย่างจำกัด
เพื่อให้หมอและโรงพยาบาลของ
รัฐต้องรักษาคนไข้ด้วยคุณภาพต่ำ
ทำให้ประชาชนที่พอจะมีรายได้แต่ไม่อยากรอคิวเข้า ร.พ.ของรัฐ จึงยอม
จ่ายแพงขึ้นเพื่อใช้บริการของโรงพยาบาลเอกชน
ซึ่งผู้เล่นได้เข้าไปซื้อกิจการ (take over) ไว้แล้วก่อนหน้า
นั้น
หรือหากต้องการจะครอบครองกิจการสายการบิน
ผู้เล่นในฐานะนายธนาคารสามารถสั่งให้สายการบินประจำ
ชาติปิดเที่ยวบินที่ทำกำไร และตั้งสายการบินแบบต้นทุนต่ำ (Low cost)
ขึ้นมาให้บริการในเที่ยวบินนั้นแทน
ได้
ในเกมเศรษฐีแบบเก่า หากผู้เล่นซื้อที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างไปเรื่อย ๆ
จะทำให้หมดเงินที่จะซื้อต่อ และต้องทอย
ลูกเต๋าเพื่อเดินให้ครบรอบกระดานเสียก่อนจึงจะสามารถรับเงินเดือนเพื่อนำมาลงทุนในทรัพย์สินอื่นเพิ่มขึ้น
ได้ แต่เกมเศรษฐีภาคขยายนี้ผู้เล่นไม่จำเป็นทอยลูกเต๋าจนเดินครบรอบ
แต่สามารถขายหุ้นที่ถือไว้อยู่แล้วให้แก่
บริษัทต่างชาติ เพื่อแปลงหุ้นเป็นเงินทุนเพื่อรอการลงทุนในกิจการใหม่ ๆ
ที่ทำกำไรมากกว่ากิจการเดิม จึง
สามารถระดมเงินได้จำนวนมาก อาจเป็นตัวเลข 100 ล้าน หรือ 1,000 ล้าน
หรืออาจถึง 73,000 ล้านบาท
เนื่องจากผู้เล่นในฐานะนายธนาคารได้แก้กติกาให้ต่างชาติเข้ามาถือหุ้นไม่เกินร้อยละ
50 (จากเดิมไม่เกินร้อย
ละ 25) ไปเรียบร้อยแล้ว
อีกทั้งภาษีจากการขายหุ้นยังไม่ต้องเสียแม้แต่บาทเดียว
ผมคิดว่า หากปัจจัยอื่น ๆ ยังคงที่ (Ceteris Paribus) เช่น
ไม่มีผู้ใหญ่มาล้มกระดานเพื่อไล่เด็กไปทำ
การบ้านก่อน หากผู้เล่นดำเนินการตามกลยุทธ์นี้
เขาอาจสามารถนำเงินที่ได้นี้รุกคืบเข้าไปในกิจการอื่น ๆ ที่มี
อนาคตมากกว่ากิจการเดิมได้ โดยดำเนินกลยุทธ์ดังเดิม และอีกไม่นาน
ผู้เล่นคนนี้อาจสามารถครอบครอง
ทรัพย์สินได้ (เกือบ) หมดทั้งกระดาน
มิตรสหายที่รัก คงพอจะทราบว่า ใครเป็นผู้คิดเกมนี้ขึ้น ?


ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์



Posted by : รักประเทศไทย , Date : 2006-01-27 , Time : 15:33:07 , From IP : 172.29.3.117

ความคิดเห็นที่ : 2


   น่ากลัวนะ

Posted by : Beckham , Date : 2006-01-28 , Time : 02:22:35 , From IP : 203.188.35.44

ความคิดเห็นที่ : 3


   นายกทำแบบนี้ แล้วต่อไปประเทศไทยจะอยู่ได้อย่างไร นายกเตรียมตัวออกนอกประเทศแล้วหรือ เฮ้อ สงสารประเทศไทยจังเลย

Posted by : 112 , Date : 2006-01-28 , Time : 19:59:00 , From IP : 172.29.7.227

ความคิดเห็นที่ : 4


   อีกบทความนะ
ประเทศนี้คนไทยทุกคนเป็นเจ้าของ ถ้าเรารู้ว่าผู้ปกครองประเทศทำผิด เราต้องช่วยกันกำจัดนะเราว่า อย่ารอว่าใครจะมาช่วย
********************************

ตั้งเพดานกำไรหุ้น…หากเกินต้องจ่ายภาษี
The need for stock profit ceilings: Tax must be paid on excess profit

จากกรณีการขายหุ้นของกลุ่มชินคอร์ปมูลค่ากว่า 7
หมื่นล้านที่ผู้ขายหุ้นไม่ต้องจ่ายภาษีเลยแม้แต่บาทเดียวนั้น
เป็นผลสืบเนื่องมาจากโครงสร้างภาษีกำไรจากการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ที่ไม่เป็นธรรมและมีการเปิด
ช่องให้หลบเลี่ยงภาษีได้โดยง่าย
นับเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทบทวนแก้ไขอย่างเร่งด่วน
แม้ว่าการยกเว้นภาษีกำไรจากการซื้อขายหุ้น (capital gain tax)
สำหรับบุคคลธรรมดาที่ซื้อขายหุ้นใน
ตลาดหลักทรัพย์เป็นไปเพื่อสนับสนุนการลงทุนของผู้ลงทุนรายย่อยในตลาดหลักทรัพย์
แต่การใช้คำ
ว่า ‘บุคคลธรรมดา‘ ไม่ได้เป็นนิยามที่ชัดเจนของนักลงทุนรายย่อย
เพราะบุคคลธรรมดาอาจได้กำไรมากกว่า
การที่นิติบุคคลบางส่วนซื้อขายหุ้นด้วยซ้ำ
และยังทำให้เกิดช่องทางในการหลบเลี่ยงภาษีโดยการซื้อขายหุ้นใน
นามบุคคลธรรมดา รวมทั้งยังทำให้โครงสร้างภาษีไม่เป็นธรรม
เพราะบุคคลธรรมดาที่ได้กำไรมากหรือน้อยก็
ไม่เสียภาษีเหมือนกัน
ต่างจากหลักการเก็บภาษีรายได้บุคคลธรรมดาที่เป็นอัตราก้าวหน้า และมีการยกเว้นภาษี
ให้ผู้มีรายได้น้อยกว่าเกณฑ์
นอกจากนี้ กรณีที่ราคาหลักทรัพย์เพิ่มขึ้นจากผลของนโยบายรัฐ
ผู้ที่ได้ประโยชน์จากหลักทรัพย์นั้นควรเสีย
ภาษีรายได้ที่เกิดจากการถือทรัพย์สินด้วย
ยกตัวอย่างที่ดินที่มีถนนตัดผ่านทำให้ราคาที่ดินสูงขึ้น เจ้าของที่ดิน
ควรจะต้องจ่ายภาษีจากส่วนต่างราคาที่ดินที่สูงขึ้นด้วย
เพราะได้รับประโยชน์จากโครงการของรัฐ และที่ผ่าน
มากลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ในกลุ่มชินคอร์ปได้รับประโยชน์จากนโยบายของรัฐจำนวนมาก
เช่น ดาวเทียมไอพีสตาร์ที่
ได้รับการส่งเสริมการลงทุนยกเว้นภาษีเงินได้ 8 ปี
เอไอเอสได้รับประโยชน์จาก พ.ร.ก.ภาษีสรรพสามิต เป็น
ต้น
ทำให้ผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทได้กำไรจากราคาหุ้นที่เพิ่มขึ้นแต่กลับไม่เสียภาษีเลย
ผมขอเสนอว่า รัฐบาล ตลาดหลักทรัพย์
และกลต.จำเป็นต้องร่วมกันทบทวนและปรับโครงสร้างภาษีทั้งระบบ
ที่สร้างความไม่เป็นธรรมในสังคม และทำให้เกิดช่องว่างในการหลบเลี่ยงภาษี
โดยผมขอเสนอมาตรการหนึ่ง
ที่อาจช่วยแก้ปัญหาการหลบเลี่ยงภาษีที่เกิดขึ้น
โดยกำหนดให้มีเพดานรายได้ของบุคคลธรรมดาที่ได้กำไรจาก
การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ หากเกินเพดานนี้
เขาจะต้องเสียภาษีในอัตราก้าวหน้า เหมือนกับการเก็บ
ภาษีรายได้บุคคลธรรมดา
และหากท่านนายกฯต้องการจะนำรายได้จากการขายหุ้นเพื่อช่วยเหลือสังคม
สิ่งที่ทำได้ดีที่สุด ประการแรกคือ
การจ่ายภาษีอย่างที่ควรจะจ่าย
เพราะจะทำให้ประชาชนทุกคนในประเทศได้รับประโยชน์ ประการต่อมาคือ
แก้กฎระเบียบที่ไม่เป็นธรรมและเป็นช่องว่างในการหลบเลี่ยงภาษี
เพื่อไม่ให้คนอื่นหลบเลี่ยงภาษีได้อีก และ
ประการสุดท้าย
คือไม่นำเงินไปใช้ในทางที่อาจก่อให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อนอีก

ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์


Posted by : รักประเทศไทย , Date : 2006-01-28 , Time : 23:18:58 , From IP : 172.29.7.141

ความคิดเห็นที่ : 5


   "ทักษิณ"รวยกว่า"บิล เกตส์"

โดย ประสงค์ วิสุทธิ์

กลับมาเรื่องที่กำลัง "ทอล์ค ออฟ เดอะทาวน์"คือการขายหุ้นบริษัทชิน คอร์ปอเรชั่น หรือชินคอร์ป จำนวน1,487.7 ล้านหุ้น มูลค่ากว่า 73,300 ล้านบาท
ของครอบครัวชินวัตร-ดามาพงศ์ให้แก่กองทุนเทมาเส็กของสิงคโปร์
ซึ่งมากที่สุดในประวัติศาสตร์ตลาดหุ้นไทย

ผมมีข้อมูลชุดหนึ่งซึ่งผมไม่รับรองความเป็นวิชาการดังนั้น นักวิชาการไม่ว่าด้านไหนๆ ไม่ต้องมาโต้แย้งใดๆเพียงแต่ต้องการนำเสนอให้ขบคิดเล่นๆ

เมื่อปลายปี 2548วารสารการเงินการธนาคารรายข้อมูลเศรษฐีหุ้นไทย
ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าวพบว่า ครอบครัวชินวัตร-ดามาพงศ์ถือครองหุ้น (หลายบริษัทไม่เฉพาะชินคอร์ป) รวมกันประมาณ49,781 ล้านบาท ยังไม่รวมหุ้นชินคอร์ปในส่วนที่บริษัท Ample Rich Investments Ltd. ถืออยู่ 329.2 ล้านหุ้น

ถ้ารวมแล้วมีมูลค่าประมาณ 63,000 ล้านบาท

แต่ปรากฏว่า การขายหุ้นครั้งนี้ครอบครัวชินวัตร-ดามาพงศ์ได้เงินสดๆ มาถึง 73,300 ล้านบาท มากกว่ามูลค่าหุ้น(ที่เป็นเพียงตัวเลข) เมื่อปลายปี 2548 ถึง 10,300ล้านบาท

แม้จะเป็นเงินจำนวนมหาศาลแต่ก็ไม่มีทางเป็นไปได้ที่ครอบครัวพ.ต.ท.ทักษิณจะรวยกว่าบิล เกตส์ เจ้าพ่อไมโครซอฟท์อัครมหาเศรษฐีอันดับหนึ่งของโลก

ครับ ถ้าคิดเทียบกันตัวต่อตัว
พ.ต.ท.ทักษิณแม้จะร่ำรวยชนิดที่เกิดมาจากท้องพ่อท้องแม่ไม่เคยเห็นหรือแม้แต่ตายไปแล้วอีกสิบชาติก็ไม่มีวันพบแต่ก็ไม่มีทางติดฝุ่นเจ้าพ่อไมโครซอฟท์

แต่ถ้าเปรียบเทียบโดยเอาปัจจัยทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศอย่างง่ายๆ
และที่มาแห่งความร่ำรวยมาประกอบแล้ว ผมยืนยันว่า พ.ต.ท.ทักษิณรวยกว่าบิล เกตส์แน่

ปัจจัยที่ว่านี้คือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือจีดีพีที่พ.ต.ท.ทักษิณยึดเป็นสรณะในการบริหารประเทศนั่นแหละ

บิล เกตส์ ทรัพย์สินอยู่ประมาณ 51,000 ล้านดอลลาร์หรือประมาณ 2.04 ล้านล้านบาท (ปี 2005)ขณะที่จีดีพีสหรัฐอเมริกาปี 2004 เท่ากับ 11.6 ล้านล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 464 ล้านล้านบาท

เมื่อเทียบทรัพย์สินของบิล เกตส์กับจีดีพีสหรัฐแล้วจะมีสัดส่วนเพียง 0.43%

ขณะที่ครอบครัว พ.ต.ท.ทักษิณมีเงินสดๆ ในมือ 73,300 ล้านบาท (ยังไม่รวมสินทรัพย์ในบริษัทธุรกิจอื่น เช่น เอสซี แอสเสท,โรงพยาบาลต่างๆ และที่ดินจำนวนมหาศาล) ขณะจีดีพีของประเทศไทยประมาณ 7 ล้านล้านบาท

เมื่อเทียบทรัพย์สินของครอบครัว พ.ต.ท.ทักษิณกับจีดีพีของสหรัฐแล้ว มีสัดส่วนกว่า 1%

ดังนั้น ครอบครัว พ.ต.ท.ทักษิณจึงรวยกว่าบิล เกตส์ กว่า 2 เท่าตัว

ปัจจัยต่อมาคือ ที่มาแห่งความมั่งคั่งของบิล เกตส์
คือทรัพย์สินทางปัญญาหรือซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ที่ขายได้ทั่วโลก
จึงกล่าวได้ว่า ความร่ำรวยของบิล เกตส์ มาจากการดูดเงินจากคนทั่วทั้งโลก

ขณะที่ครอบครัว พ.ต.ท.ทักษิณร่ำรวยจากธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่
ซึ่งเป็นสัมปทานที่ได้จากรัฐซึ่งขายได้ขอบเขตจำกัดเฉพาะประเทศไทย
(ส่วนชินแซทเทลไลท์อาจมีลูกค้าในต่างประเทศบ้างแต่เป็นส่วนน้อย)

ครอบครัวพ.ต.ท.ทักษิณจึงดูดความร่ำรวยจากคนไทยทุกชนชั้นโดยเฉพาะจากรากหญ้าที่รัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณเอาเงินของรัฐไปแจกจ่ายในรูปแบบต่างๆ เช่น
กองทุนหมู่บ้าน เป็นต้น

อาจมีผู้คนถามว่า ที่มาของความร่ำรวยมีความหมายอะไร บางครั้งที่มาและวิธีการที่ได้มาของความร่ำรวยอาจสะท้อน "จิตเดิมแท้" ได้เป็นอย่างดี

ไปดูเส้นทางของเงินที่ผันลงชนบทรากหญ้าให้ดีๆว่าสุดท้ายไหลไปรวมอยู่ที่ไหน?

ไปดูเงินที่ลงเมกกะโปรเจคต่างๆ
ให้ดีว่าสุดท้ายไหลไปรวมไหลไปกองอยู่ที่ไหน?

ถ้าอยู่ครบเทอมหรือต่ออีกสมัย คงเหลือเศษๆกระเด็นให้พวกตัวฮังเลเยอะเลยกระมัง.......จึงออกโรงปกป้องข่มขู่ฝ่ายตรงข้ามและปรามอดีตพลพรรคเดียวกันได้อย่างอัปลักษณ์เป็นที่สุด....




Posted by : รักประเทศไทย , Date : 2006-01-28 , Time : 23:31:17 , From IP : 172.29.7.141

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.015 seconds. <<<<<