ความคิดเห็นทั้งหมด : 7

สิทธิของผู้รับบริการ ลูกค้าถูกเสมอ การณีช่องทางด่วยชำระเงิน ไม่เกิน 10 ชิ้น ห้างคาร์ฟรู์


   เมื่ิอคืนไปซื้อของที่ห้างคาร์ฟรู์กับน้องชาย 2-3 อย่าง คงเป็นคืนวันพฤหัส คนไม่เยอะมาก ช่องชำระเงินจึงเปิดไม่กี่ช่อง แต่วันนี้คิวจ่ายเงินหนาแน่นพอสมควร เนื่องจากของเรามีไม่กี่ชิ้นก็เลยเดินหาช่องทางด่วน ก็พอดีเลยเห็นมาแต่ไกล ว่าคิวกำลังจะว่าง ก็เลยเดินตรงไป ปรากฎว่ามีคุณพ่อกับคุณลูกชายเข็นรถเข็นเข้าเสียบคิวช่องทางด่วนนั้นพอดี ของเต็มรถเข็นเกิน 10 ชิ้นแน่ๆ ก็นึกในใจว่าเดี๋ยวก็ต้องถูกพนักงานเก็บเงินปฏิเสธแน่ เพราะนี่คือช่องทางด่วน แต่เปล่าเลยเธอก็ยอมให้เขาจ่าย ผมก็เห็นว่าแค่คิวเดียวไม่เป็นไร พอถึงตอนกำลังคิดเงินของผม ไอ้น้องเราไม่รู้ไง มันก็ถามคนที่คิดเงินว่า ทำไมถึงยอมให้คนเมื่อกี้จ่าย นี่มันทางด่วนเขาจำกัด 10 ชิ้นไม่ใช่หรือ แล้วจะมีทางด่วนไว้ทำไม น้องที่คิดเงินก็แสยะยิ้มตอบไปว่า เรื่องปฏิเสธการชำระเงินกรณีของ เกิน 10 ชิ้นในช่องทางด่วนนี้เดิมก็เป็นกฎที่ทำมาตลอด แต่เมื่อไม่นานเกิดกรณีนี้อีก พนักงานปฏิบัติตามกฏ แต่เรื่องกลับถูกร้องเรียน ผมก็ไม่ได้ถามรายละเอียดมาก แต่ทำให้มีการอนุโลมให้สามารถชำระเงินกรณีของเกิน 10 ชิ้นที่ช่องทางด่วนได้


ไม่มีอะไรมาก แค่อยากบอกว่า

1. ลูกค้าถูกเสมอ แม้จะไม่พอใจกับกฏที่ตั้งไว้เพื่อความเป็นระเบียบก็ตาม
2. วันหลังถ้าคิวอื่นยาว ก็ใช้บริการช่องทางด่วน ที่คาร์ฟูร์ได้ (แต่ Lotus นี้รู้สึกว่ากฎยังไม่เปลี่ยนแปลง)
3. ผมว่า ผู้ให้บริการ อย่าง รพ. มอ. เรา ก็คงเคยมีเรื่องร้องเรียนอย่างนี้อยู่เหมือนกันนะ ไม่รู้ว่าเราจะตามใจผู้รับบริการกันขนาดไหน


Posted by : OmniSci , Date : 2006-01-20 , Time : 08:09:43 , From IP : 172.29.7.200

ความคิดเห็นที่ : 1


   รีบไปหน่อย "ทางด่วน" คงเข้าใจ

Posted by : OmniSci , Date : 2006-01-20 , Time : 08:12:56 , From IP : 172.29.7.200

ความคิดเห็นที่ : 2


   น่าสนใจตอนที่ห้างถูกร้องเรียนครั้งแรกครับ เพราะต่อๆมานั่นเป็นผลจากการที่รอ้วเรียนครั้งนั้นแหละ nullify ความศักดิ์สิทธิ์ของ "ช่องทางด่วน" ไปเรียบร้อย

น่าสนใจว่าคนที่ร้องเรียน เขาร้องเรียนว่าอย่างไร "ว่าเขามีสิทธิใช้ facility ที่ห้างบอกว่าไม่ใช่สำหรับเขาเพราะ...." หรือว่าห้างไม่มีสิทธิกำหนดว่า facility ของห้างต้องใช้อย่างไร (อันนี้คงวุ่น เพราะอีกหน่อยก็คงมีผู้ชายเดินเข้าไปใช้ห้องน้ำหญิงได้ ก็สิทธิลูกค้านี่หว่า หรืออาจจะบอกว่าฉันเป็นเกย์นะยะ จะใช้ห้องน้ำหญิง) หรือป้ายห้ามสูบบุหรี่ที่ปั๊มน้ำมันก็คงจะติดโชว์ไว้เฉยๆเพราะลูกค้ามีสิทธิทุกอย่าง

จริงๆแล้วสิทธินั้นเป็นสิ่งที่ "ตามหลัง" หน้าที่ หน้าที่เป็นสิ่งที่ต้องกระทำ สิทธิเป็น status เป็นสถานภาพ ตามบริบท คำว่าลูกค้าโดยทั่วไปได้สิทธิมากมายอยู่แล้วจากห้างร้าน แต่ก็ไม่เท่ากันได้ เช่น ขึ้นเครื่องบินก็ยังมีชั้นหนึ่ง ชั้นธุรกิจ ชั้น economy ขึ้นรถเมล์ก็ยังมี "ที่สำหรับสตรีมีครรภ์และผู้สูงอายุ"



Posted by : Phoenix , Date : 2006-01-20 , Time : 10:54:27 , From IP : 172.29.3.120

ความคิดเห็นที่ : 3


   เอ... แล้วมันแตกต่างจากกรณีนี้หรือเปล่า

ที่เราไปกินข้าวที่คาเฟต ตอนเที่ยงคนเต็มไปหมด แต่ที่ว่างสำหรับ "ภิกษุสงฆ์" ว่างอยู่ มองซ้ายมองขวาก็ไม่มีสงฆ์สักรูป ผมว่าหลายคนก็คงไปใช้ ที่สำหรับ "ภิกษุสงฆ์" เหมือนกัน


Posted by : OmniSci , Date : 2006-01-20 , Time : 12:15:25 , From IP : 172.29.3.88

ความคิดเห็นที่ : 4


   ผมว่า LOTUS ฉลาดกว่าคาร์ฟูตรงนี้นิดนึงครับ เพราะเคยเห็นเขายุบ fast-tract cashier เป็น counter ธรรมดาเวลาที่คนแน่นมากๆและ counterfast-track คนน้อยมากอยู่หลายครั้งเหมือนกัน แต่ supervisor ที่เดินไปเดินมาต้องหูตากว้างไกลและบริหารจัดการเก่ง

ถ้าห้าง take over ตรงนี้ไป ก็จะเกิด win-win situation ขึ้น ลูกค้าที่ดูเหมือนทำผิดกฏก็กลายเป็นถูก ห้างที่จะดูเหมือนงี่เง่าไม่รู้สถานการณ์ก็ดูฉลาดขึ้น บริหารเก่ง ไม่เกิดการฟ้องร้อง แถมคนยังมีแนวโน้มเชื่อป้าย เชื่อกฏที่แขวนไว้ เพราะไว้ใจว่าถ้าจำเป็นห้างก็จะปรับให้เข้ากับเหตุการณ์ได้

ไม่รู้เกี่ยวกันรึเปล่า ถ้าแพทยสภาเอาจริงกับการดูแลเอาใจใส่มาตรฐานการรักษา และรีบจัดการกันก่อนตามหลักวิชาการแต่เนิ่นๆ ผู้บริโภคอาจจะใจเย็นกับวิชาชีพเรามากขึ้นไหม เป็นสมมติฐานนะครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2006-01-20 , Time : 16:08:26 , From IP : 172.29.3.131

ความคิดเห็นที่ : 5


   โลตัสมีดันไม่ใช้ ดันไปคาร์ฟูร์

Posted by : strep , Date : 2006-01-20 , Time : 17:36:49 , From IP : 172.29.4.52

ความคิดเห็นที่ : 6


   สาเหตุของปัญหาช่องทางด่วนนี้ คิดว่าน่าจะเกิดจาก "ความเห็นแก่ตัว" ของลูกค้า (บางคน) ที่ไม่ยอมปฏิบัติตามระเบียบข้อกำหนดของสถานที่นั้นๆ เอาแต่ความสะดวกสบายเข้าหาตัวเอง ทั้งๆ ที่อาจทำให้คนอื่นเดือดร้อน (แม้ไม่มากก็เถอะ) ทางห้างเค้าออกระเบียบนี้ขึ้นมาก็เพื่อเฉลี่ยความสะดวกสบายแก่ลูกค้าทุกๆ ตามจำนวนสินค้าที่ซื้อ (เค้าคงมี concept หรือเหตุผลที่ต้องทำช่องทางด่วน) แต่บางคนนั่นแหละ ที่เอาแต่ความสะดวกสบายเข้าหาตน ไม่ปฏิบัติตามกฎ และยังไปเรียกร้อง ร้องเรียน แต่เรื่องสิธิของตัวเองอีก ไม่รู้ว่าคนเหล่านั้นจะคิดถึงหัวอกลูกค้าคนอื่นหรือไม่ ตัวเองก็เคยประสบเหตุการณ์คล้ายๆ กัน และคิดว่าบุคคลเหล่านั้นควรจะได้รับการตอบสนองกลับไปบ้างว่าสังคม (คนอื่นๆ) นั้นไม่ยอมรับพฤติกรรมเช่นนี้

Posted by : หงุดหงิด , Date : 2006-01-21 , Time : 17:41:19 , From IP : 172.29.4.71

ความคิดเห็นที่ : 7


   มันเป็นเรื่องความซื่อสัตย์ / ความละอายใจต่อตนเองของผู้บริโภคแต่ละคนด้วยค่ะ อย่างลิฟท์สำหรับคนพิการบนสถานีรถไฟฟ้า หรือห้องน้ำคนพิการในห้างสรรพสินค้า ก็เห็นคนปกติ แต่ต่อมความละอายใจเสื่อมใช้กันเต็มไปหมด ถึงมันจะว่างก็ไม่ควรจะใช้ คุณรู้ได้อย่างไงว่าช่วงที่คุณใช้ (ห้องน้ำ) จะไม่มีคนพิการมารอจะเข้า หรือลิฟท์มันอาจจะน้ำหนักเกินตอนคนพิการจะก้าวขาเข้า แต่ต้องเสียเวลารอเที่ยวใหม่เพื่อให้คนปกติที่นิสัยแย่ ๆ พวกนั้นไปก่อน ขนาดเราแขนหักคล้องแขนอยู่ไปแย่งใช้บรรไดเลื่อนไม่สะดวกเพราะคนจะเบียด ไปยืนรอจะเข้าลิฟท์ ยังโดนคนปกติ(แต่ภายนอก แต่จิตใจเห็นแก่ตัวเกินมาตรฐาน) แย่งเราเข้าลิฟท์บ่อย ๆ เลย พวกนี้แย่มาก ๆ เราเห็นบ่อยจนหน่ายสังคมแล้ว



Posted by : คน กทม. แวะผ่านมา , Date : 2006-01-24 , Time : 13:10:19 , From IP : 202.12.118.36

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.005 seconds. <<<<<