การเรียน PBL น่ะค่ะขอแนะนำตัวนะค่ะ หนูเป็นเด้กนัเรียนชั้น ม.5 น่ะค่ะ กำลังเอนทรานปีนี้ หนูได้ยินมาว่าที่ คณะแพทย์ ม.อ. มีการเรียนแบบ PBL เลยอยากทราบว่า 1. การเรียนแบบ PBL เป็นอย่างไรค่ะ ขอคำตอบเข้าใจง่ายๆ แบบที่เด็ก ม.5 ฟังแล้วเข้าใจน่ะค่ะ 2. เขาจะเริ่มเรียนแบบ PBL ตอนปีไหนค่ะ ปีหนึ่งเลยหรือเปล่า 3. มันแตกต่างจากการเรียนแบบที่ มหาลัย อื่นจัดอย่างไรค่ะ ขอบคุณล่วงหน้าน่ะค่ะ สำหรับคำตอบ และหวังว่าจะได้เข้ามาเป็นรุ่นน้องที่ ม.อ. น่ะค่ะ Posted by : น้องม.6 , E-mail : (sutita@hotmail.com) , Date : 2006-01-06 , Time : 21:27:16 , From IP : 203.114.106.111 |
พี่ก็พูดไม่ค่อยเก่งอ่ะครับ เอาเป็นว่าเข้าประเด็นเลยแล้วกัน 1. การเรียน PBL (Problem-based Learning) ถ้าแปลตามตัวก็คือการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ซึ่งในที่นี้หมายถึงการเรียนโดยให้ปัญหาของผู้ป่วย (Case ผู้ป่วยจำลองที่เค้าสมมุติขึ้น) แล้วให้กลุ่มของเราช่วยกันคิด ถ้าตามstepที่ได้เรียนมาคือ ขั้นแรก : definition คำศัพท์เพื่อที่ให้กลุ่มของเราเข้าใจความหมายของคำศัพท์นั้นตรงกัน เพื่อที่ความคิดของคนในกลุ่มจะได้ไปในทางเดียวกัน ขั้นที่สอง : เขียน Fact ของผู้ป่วย เช่นปวดท้องบริเวณลิ้นปี่ เป็นมานานกี่วัน อะไรทำนองนี้แหละครับ เพื่อที่จะให้เราเข้าใจถึงปัญหาของผู้ป่วยได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ขั้นที่สาม : ขั้นตอนนี้ถือว่าสำคัญครับ เป็นการตั้งปัญหาว่าจาก Case ของผู้ป่วยที่เค้าให้มาเนี่ย เราสงสัยตรงไหนบ้าง ถึงขั้นนี้น้องๆสามารถแสดงความคิดเห็นและสงสัยได้อย่างเต็มที่ พร้อมทั้งตั้งสมมติฐานไปด้วยว่าที่เราตั้งปัญหาอย่างนี้ มันน่าจะเป็นอย่างไร เพื่อที่ว่าหลังจากที่เราได้มาอภิปรายกันแล้ว ความเข้าใจของเราถูกต้องหรือไม่ ขั้นที่สี่ : เมื่อเราตั้งปัญหากันเสร็จแล้ว ทีนี้เราก็มาเริ่มตั้งหัวข้อว่าเราจะเรียนรู้เรื่องอะไรบ้าง เช่น กายวิภาคบริเวณลิ้นปี่ การทำงานของกระเพาะ เป็นต้น หากหัวข้อไหนที่ทางคณะต้องการให้เราเรียนรู้ขาดหายไป ทางอาจารย์ที่คุมPBLก็จะเป็นคนชี้นำว่าเรายังขาดหัวข้อเรียนรู้เรื่องนี้อยู่นะ ให้ไปศึกษามาด้วย ขั้นที่ห้า : ไปค้นคว้าข้อมูลครับทีนี้ ไม่ว่าจากหนังสือหรือ internet ที่ทางคณะจะมีการจัดคอมพิวเตอร์ให้เราได้ไปสืบค้นกัน แล้วนำมาอภิปรายกันเพื่อสรุปปัญหาของผู้ป่วยรายนี้ครับ อาจจะอ่านแล้วงงไปบ้างนะครับ บางครั้งอาจไม่ต้องทำตามขั้นตอนนี้ตลอด แล้วแต่ว่ากลุ่มPBL ไหนจะสะดวกและตกลงกันยังไงครับ น้องจะเห็นว่าการเรียนแบบ PBL ก็เหมือนกับการตั้งสมมติฐาน ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ครับ เพราะการเรียนแบบนี้ทำให้เราได้เรียนแบบมีระบบ สามารถคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาตามสถานการณ์ได้ 2. เริ่มเรียนตอนไหน ถ้าให้พูดกันจริงๆก็คงปี 2 แหละครับ แต่ปี1จะมีการเรียนแบบเรียกน้ำย่อยเพื่อให้เราได้เตรียมพร้อมรับมือกับการเรียนที่เปลี่ยนไปตอนปี2 ประมาณ 2-3 ครั้งครับ 3. แตกต่างกับมหาลัยอื่นอย่างไร จากที่พี่เล่ามาทั้งหมด พี่คิดว่าน้องพอที่จะสังเกตได้แล้วว่าต่างกันอย่างไร มหาลัยอื่น : จะเป็นการเรียนแบบท่องจำ จำ จำ จำ แล้วก็จำ อาจจะดีหน่อยตรงที่พวกนี้เนื้อหาจะแน่นมาก เรียนเครียดนะพี่ว่า จะไม่ค่อยได้ฝึกการเรียนแบบวิเคราะห์ปัญหาของผู้ป่วย ทำให้บางทีตอนที่เราต้องไปตรวจคนไข้อาจตรวจผิดๆถูกๆหรือตรวจแบบไม่เป็นระบบได้(อาจจะนะ) แต่ขอยอมรับครับว่าการเรียนแบบนี้จะได้เนื้อหาที่แน่นมากๆ พื้นฐานแน่นจริงๆ มอ. : จะเป็นการเรียนเน้นไปในทางวิเคราะห์สามารถแก้ปัญหาได้อย่างเป็นระบบ ได้ฝึกการหาข้อมูลทางการแพทย์เพราะถ้าเราจบไปจะไม่มีคนมาคอยสอนเราตลอด เราต้องมีการเรียนรู้ด้วยตัวเองอยู่เสมอ ซึ่งการเรียนแบบนี้ก็ช่วยเราได้เยอะเลยครับ การวิเคราะห์ปัญหาทำให้เรารู้รอบด้านครับซึ่งบางครั้งอาจไม่เกี่ยวกับการแพทย์แต่เป็นความรู้รอบตัว ซึ่งพี่ก็คิดว่าดีไปอีกอย่างนะครับ อ้ออีกอย่างพี่คิดว่ามันเป็นการเรียนที่พี่ว่าถ้าตั้งใจหาข้อมูลมาจริงและทำความเข้าใจกับมันดีๆล่ะก็ วิธีการเรียนแบบนี้จะทำให้เราจำได้แม่นมากครับ เพราะเราต้องคิดวิเคราะห์อย่างเป็นขั้นตอน ทำให้เรามองภาพรวมของเนื้อหานั้นๆได้ง่ายขึ้น ข้อเสียการเรียนแบบนี้คือเนื้อหาไม่แน่นเท่ากับมหาลัยอื่นครับ ยิ่งถ้าขี้เกียจด้วยล่ะก็เสร็จแน่นอน อีกอย่างการเรียนที่นี่จะมีเรียน anatomy (ผ่าอาจารย์ใหญ่)น้อยมากถ้าเทียบกับมหาลัยอื่นทำให้เรามีความรู้ตรงส่วนนี้เทียบกับที่อื่นไม่ได้เลย น้องพอจะเข้าใจ concept แล้วนะครับ สงสัยตรงไหนถามได้ครับ หวังว่าเราคงจะได้เป็นรุ่นพี่ รุ่นน้องกันนะครับ Posted by : ปี2ครับ , E-mail : (nakhonpcc@hotmail.com) , Date : 2006-01-07 , Time : 03:42:50 , From IP : 172.29.4.85 |
ช่วยหาการทำงานของกระเพาะให้หน่อย Posted by : จิราพร , E-mail : (41757) , Date : 2006-01-25 , Time : 17:11:15 , From IP : p2758-adslbkksp7.C.c |
ความเห็นจาก Social Network : Facebook |
|
>>>>> Page loaded: 0.003 seconds. <<<<< |