ความคิดเห็นทั้งหมด : 63

ในหนึ่งวัน


   ข่าวสามข่าวต่อไปนี้ มีสิ่งที่น่าสนใจที่เหมือนกันอยู่ประการหนึ่งครับ ใครทราบมาร่วมคุยกันได้

หัวข้อข่าว "ญาติยืนยันเอาผิดหมอรพ.เดชาจนถึงที่สุด" (กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ ๕ มกราคม ๒๕๔๙)

คามคืบหน้ากรณีนางอัมพร เพียรเจริญรัตน์ อายุ 35 ปี เสียชีวิตพร้อมลูกในท้อง หลังเข้ารักษาที่โรงพยาบาลเดชา เมื่อบ่ายที่ผ่านมา นางวันดี ชนะวัฒน์ เดินทางมาติดต่อขอรับศพนางอัมพร น้องสาว ที่สถาบันนิติเวชวิทยา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งญาติแคลงใจและเชื่อว่าเกิดจากความบกพร่องของแพทย์ที่ไม่ยอมผ่าตัดเอาทารกออกเพื่อช่วยชีวิตแม่ ไปบำเพ็ญกุศลที่วัดสามชุก อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี


สำหรับการชันสูตรศพเบื้องต้น ไม่พบสิ่งผิดปกติ แพทย์จึงตัดชิ้นเนื้อที่ปอด ไปตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อดูว่าเนื้อปอดตายหรือไม่ หากพบว่าตาย คาดว่าเกิดจากน้ำคร่ำกระจายเข้ากระแสเลือด ไปอุดตันปอดทำให้หัวใจล้มเหลว ซึ่งจะทราบผลภายใน 5-7 วัน


นางวันดี พี่สาวผู้ตาย ยืนยันว่า จะดำเนินคดีกับแพทย์โรงพยาบาลเดชาถึงที่สุด เพราะแพทย์ที่สุพรรณบุรี แนะนำให้ฟ้องร้อง เนื่องจากแพทย์ทุกคนย่อมรู้ดีว่าเมื่อเด็กตายในครรภ์ต้องผ่าตัดเอาเด็กออก เพื่อไม่ให้น้ำคร่ำอุดตันในปอด อีกทั้งยังติดใจที่แพทย์ไม่ยอมผ่าตัดช่วยชีวิต ทั้งที่น้องสาวยินยอม กลับอ้างว่าไม่อยากให้น้องสาวเจ็บตัว หรือมีบาดแผล นอกจากนี้ ระหว่างเหน็บยารอปากมดลูกเปิดแพทย์ก็ไม่ใส่ใจที่จะติดตามอาการ



Posted by : Shonigega , Date : 2006-01-05 , Time : 20:36:37 , From IP : pedsurg.med.osaka-u.

ความคิดเห็นที่ : 1


   ข่าวที่สอง หัวข้อข่าว"หมอเย็บแผลปิดโดยไม่เอ็กซเรย์ ทิ้งมีดไว้ในท้อง"
(กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันเดียวกัน)

นายทองดี เบ้าคำ อายุ 34 ปี ช่างเจียรไนยพลอย บ้านอยู่ ต.เมืองพล อ.พล จ.ขอนแก่น เที่ยวงานปีใหม่ที่งานโรงเรียนบ้านสร้อย ต.จานลาน อ.พนา จ.อำนาจเจริญ ซึ่งมีผ้าป่าสามัคคีจาก กทม. ในงานมีหมอลำซิ่งฉลององค์ผ้าป่าสามัคคี มีวัยรุ่นเต้นอยู่หน้าเวทีอย่างสนุกสนาน ระหว่างนั้นเกิดเรื่องทะเลาะวิวาทและชกต่อยกับกลุ่มวัยรุ่นหน้าเวทีหมอลำซิ่ง ขณะชุลมุนรู้สึกเจ็บแปลบที่ชายโครงด้านซ้าย จากนั้นล้มฟุบลง กลุ่มวัยรุ่นทั้งหมดจึงแตกฮือหนีไป ชาวบ้านที่เห็นเหตุการณ์และญาติได้ช่วยกันพาตัวไปส่งโรงพยาบาลอำเภอพนา จ.อำนาจเจริญ ไปถึงเมื่อเวลาประมาณ 02.00 น.แพทย์ได้ตรวจดูบาดแผลซึ่งมีความกว้างประมาณ 1 ซม. จากนั้นได้เย็บบาดแผลให้โดยไม่มีการเอ็กซเรย์ โดยเสียค่ายาไปเป็นเงิน 625 บาท แล้วให้กลับบ้านได้

หลังจากกลับมานอนพักที่บ้านได้ 2 วัน รู้สึกปวดบาดแผลที่ถูกแทงรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ พี่ชายจึงนำส่งโรงพยาบาลตระการพืชพล อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี ในวันที่ 4 มกราคม แพทย์เอ็กซ์เรย์พบว่า มีปลายแหลมของมีดยาวประมาณ 10 ซ.ม.หักติดอยู่บริเวณซี่โครงด้านซ้ายเกือบแทงทะลุสันหลัง ทางโรงพยาบาลจึงได้รีบส่งตัวต่อมาที่โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี โดยนายแพทย์ชัยธัช รักราชการ ได้ผ่าที่บริเวณหน้าท้องเพื่อนำมีดที่หักติดอยู่ออกมาได้ จนอาการขณะนี้พ้นขีดอันตรายแล้ว จึงต้องการให้ทางโรงพยาบาลพนา ได้แสดงความรับผิดชอบด้วย



Posted by : Shonigega , Date : 2006-01-05 , Time : 20:38:50 , From IP : pedsurg.med.osaka-u.

ความคิดเห็นที่ : 2


   
ข่าวที่สาม หัวข้อ"โวยทำคลอดช้าลูกตาย หมอรีบขับรถหนีจากรพ." (ไทยรัฐ วันเดียวกัน)

เมื่อเวลา 10.00 น. วานนี้ (4 ม.ค.) ส.ต.ต.เศรษฐศักดิ์ ทิมินกุล อายุ 32 ปี อยู่บ้านเลขที่ 47 หมู่ 1 ต.หนองหลวง กิ่ง อ.เฝ้าไร่ จ.หนองคาย ตำรวจสังกัด สภ.กิ่ง อ.เฝ้าไร่ ได้เข้าร้องเรียนขอความเป็นธรรมต่อ น.พ.อิทธิพล สูงแข็ง สาธารณสุขจังหวัดหนองคาย โดยกล่าวหาว่า แพทย์โรงพยาบาลหนองคายทำคลอดให้นางผ่อนพันธ์ ทิมินกุล อายุ 22 ปี ภรรยา เป็นเหตุให้ทารกในครรภ์เสียชีวิต แต่เนื่องจาก น.พ.อิทธิพลติดราชการ จึงได้มอบหมายให้ น.ส.วราภรณ์ เนาวรังษี นักวิชาการสาธารณสุข 9 ด้านส่งเสริมพัฒนาสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย รับเรื่องแทน

ส.ต.ต.เศรษฐศักดิ์เปิดเผยว่า เมื่อคืนวันที่ 2 ม.ค. ที่ผ่านมา ระหว่างเข้าเวร ปรากฏว่านางผ่อนพันธ์ ภรรยาซึ่งตั้งครรภ์ลูกคนแรก เจ็บท้องคลอดกะทันหัน จึงได้ให้ญาตินำตัวส่งโรงพยาบาลโพนพิสัย แต่แพทย์ที่ทำคลอดไม่อยู่ รับแจ้งจากพยาบาลว่า น้ำคร่ำแตกแล้วทารกในครรภ์อยู่ในท่าผิดปกติ จึงได้ส่งตัวต่อไปที่โรงพยาบาลหนองคาย เนื่องจากเห็นว่ามีเครื่องไม้เครื่องมือที่ดีกว่า ถึงโรงพยาบาลหนองคาย เวลาประมาณ 02.30 น. ของวันใหม่ พยาบาลได้นำตัวเข้าไปนอนพักในห้องผู้ป่วย ตึกกุมารเวช โดยที่ไม่มีแพทย์มาดูอาการแต่อย่างใด ให้เพียงน้ำเกลือ 1 ขวด และบอกให้นอนรอ ทราบว่าตอนนั้นนางผ่อนพันธ์เจ็บท้องมากนอนร้องทุรนทุราย จนกระทั่งเวลา 07.30 น. ตนและญาติพี่น้องได้ตามไปที่โรงพยาบาลหนองคาย ทราบจากพยาบาลว่าแพทย์ได้นำตัวนางผ่อนพันธ์เข้าห้องทำคลอดแล้ว โดยมี น.พ.ศุภชัย อัศวชนานนท์ สูตินารีแพทย์โรงพยาบาลหนองคาย เป็นผู้ทำคลอด

ส.ต.ต.เศรษฐศักดิ์เปิดเผยว่า หลังเวลาผ่านไปนานประมาณ 20 นาที พยาบาลได้ออกมาเชิญญาติเข้าไปพบแพทย์ในห้องคลอด เมื่อเห็นตนอยู่ในชุดเครื่องแบบ ตำรวจ ปรากฏว่าแพทย์ที่ทำคลอดแสดงสีหน้าตกใจเอะอะโวยวาย ว่าปล่อยให้ตำรวจเข้าไปในห้องคลอดได้อย่างไร จึงได้แจ้งให้ทราบว่าเป็นสามีของคนไข้ แพทย์จึงเงียบไปแล้วทำคลอดต่อ ระหว่างนั้นสังเกตเห็นทารกในครรภ์ เอาส่วนขาออกมา พยาบาลและแพทย์พยายามดึงขาทารกออกจากช่องคลอด โดยที่ศีรษะยังติดอยู่ภายใน สังเกตเนื้อตัวทารกเขียวและไม่กระดุกกระดิก เชื่อว่าทารกคงจะเสียชีวิตในขณะนั้นแล้ว แต่หลังทำคลอดเสร็จปรากฏว่า น.พ.ศุภชัยเกิดเป็นลม พยาบาลต้องช่วยพยุงไปนอนพักที่เตียงชั่วคราว จากนั้น น.พ.ศุภชัยก็รีบเดินไปขึ้นรถยนต์ขับออกไปจาก รพ.ทันที มีเพียงพยาบาลเข้ามาแสดงความเสียใจแจ้งให้ทราบว่าทารกเสียชีวิตแล้ว เป็นเพศชาย แพทย์ได้พยายามช่วยชีวิตไว้เต็มที่แล้ว แต่ไม่ สามารถช่วยได้ ทำให้รู้สึกตกใจและเสียใจมาก

“แพทย์ปล่อยให้ผู้ป่วยนอนรอนานกว่า 5 ชั่วโมง โดยไม่ทำอะไรเลย ไม่ยอมผ่าตัดทำคลอด ทั้งที่ทราบว่าเด็กอยู่ในท่าที่ไม่ปกติ หลังคลอดแล้วแพทย์ยังได้ขับรถยนต์หนีไป ไม่ดูแล ไม่ชี้แจงให้ญาติที่ไปเฝ้าดูแลเข้าใจ ทั้งที่ผู้ป่วยหรือญาติมีสิทธิได้รับทราบข้อมูลการเจ็บป่วยจากแพทย์ ที่น่าเจ็บใจหลังเกิดเหตุได้ติดต่อขอประวัติผู้ป่วย และขอรับศพลูกชาย ปรากฏว่าทางโรงพยาบาล ไม่ยอมคืนศพอ้างว่าเรื่องยังคลุมเครืออยู่ จึงอยากให้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ตรวจสอบ เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ เช่นนี้กับผู้ป่วยรายอื่นอีก” ส.ต.ต.เศรษฐศักดิ์กล่าวด้วยความคับแค้นใจ

น.ส.วราภรณ์ เนาวรังษี กล่าวภายหลังรับเรื่องร้องเรียนว่า เบื้องต้นจะได้นำเรียน น.พ.อิทธิพล สูงแข็ง สาธารณสุขจังหวัดหนองคายให้ทราบก่อน จากนั้นจะตั้งคณะกรรมการขึ้นมาติดตามข้อเท็จจริง โดยให้นายสุภาพ โพนสิงห์ นิติกร 7 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย เป็นหัวหน้าทีม ซึ่งจะต้องสอบสวนข้อเท็จจริงจากเจ้าหน้าที่ ทุกฝ่ายภายใน 3 วัน ส่วนการจะทำคลอดแบบไหนนั้นขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์เจ้าของไข้ การที่แพทย์ ไม่ผ่าตัดทำคลอดคาดว่าอาจจะมีเหตุผลอื่นด้วย อย่างไร ก็ตาม จะให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย และจะแจ้งความคืบหน้าให้ผู้ร้องเรียนทราบเป็นระยะด้วย

ด้าน น.พ.ถาวร วิชาตรง ผอ.รพ.หนองคาย ชี้แจงว่า เพิ่งทราบเรื่องจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย ว่าเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้น เบื้องต้นต้องตรวจสอบหลักฐานในการยื่นเรื่องทั้งหมดว่ามีมูลข้อเท็จจริงแค่ไหน และต้องสอบสวนดูว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายถูก ฝ่ายผิด การร้องเรียนเป็นสิทธิของผู้ป่วยหรือญาติผู้ป่วยที่สามารถพึงกระทำได้ แต่ก็ต้องอยู่ในพื้นฐานความเป็นจริง หากเจ้าหน้าที่ รพ.หนองคาย กระทำผิดจริงก็ต้องดำเนินการไปตามกระบวนการ หากตรวจสอบแล้วไม่ผิดก็ต้องชี้แจงให้ญาติผู้ป่วยทราบต่อไป

อีกรายตอนสายวันเดียวกันนางสมพร วีระพันธ์ อายุ 43 ปี บ้านเลขที่ 124 ถนนหมากแข้ง ต.หมากแข้งอ.เมืองอุดรธานี เข้าร้องทุกข์ต่อ ท.พ.กวี วีระเศรษฐกุล เลขานุการคณะอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพจังหวัดอุดรธานี โดยกล่าวหาว่า รพ.นอร์ทอีสเทิร์นวัฒนา จ.อุดรธานี ไม่ยอมรับตัว ด.ช.ยุทธการ หรืออ็อฟ วีระพันธ์ อายุ 10 ขวบ นักเรียนชั้น ป.4 โรงเรียนเทศบาล 2 ลูกชายซึ่งป่วยเป็นไข้อาเจียนรุนแรงเข้ารักษาในทันที เป็นเหตุให้ลูกชายเสียชีวิต พร้อมให้รายละเอียดว่าเมื่อวันที่ 30 ธ.ค.ที่ผ่านมา ด.ช.ยุทธการเป็นไข้อาเจียนรุนแรง พาไปรักษาที่โรงพยาบาลดังกล่าว โดยแจ้งให้ทราบว่ามีบัตรทอง 30 บาท และมีประวัติการรักษา แต่เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลไล่ให้กลับไปเอาบัตรทองมาแสดง เมื่อนำบัตรมาแสดงก็อ้างว่าต้องนำทะเบียนบ้านมาด้วย ทำให้ตนต้องวิ่งกลับไปบ้านถึง 2 ครั้ง โดยที่ทางโรงพยาบาลไม่ยอมนำลูกชายเข้ารักษาในทันที ปล่อยให้นอนรอหลักฐานอยู่นานราว 50 นาที

หลังนำหลักฐานทุกอย่างมาแสดง เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลยังทำอิดออดไม่ยอมเปิดเครื่องดูประวัติ ระหว่างนั้นเห็นว่าลูกชายอาการหนักขึ้นเรื่อยๆจึงตัดสินใจพาไปที่คลินิกแห่งหนึ่ง แต่อาการไม่ดีขึ้น จึงพาย้อนกลับไปที่โรงพยาบาลเดิม แพทย์รับตัวแล้วพาเข้าห้องผู้ป่วยโดยห้ามญาติตามเข้าไปหลังเข้าไปนานประมาณ 10 นาที พยาบาลออกมาแจ้งให้ทราบว่า ด.ช.ยุทธการเสียชีวิตไปแล้ว โดยระบุสาเหตุเกิดจากหัวใจล้มเหลว ทำให้รู้สึกเสียใจมาก หากลูกชายได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีเชื่อว่าไม่เสียชีวิต แต่กลับปล่อยให้นอนเจ็บนานราวเกือบ ชั่วโมงโดยไม่ยอมรับตัวเข้ารักษา หลังเกิดเหตุผู้บริหารเชิญไปพบถามว่า คุณต้องการอะไร ต้องการเงินหรือไม่ ทำให้รู้สึกเจ็บใจเป็นอย่างมาก

ท.พ.กวี วีระเศรษฐกุล เลขานุการคณะอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพ จังหวัดอุดรธานี กล่าวว่า ตามจรรยาแพทย์หรือหน้าที่แพทย์หรือโรงพยาบาล จะต้องดูแลผู้ป่วยทุกคน ไม่สามารถปฏิเสธผู้ป่วยได้ ไม่ว่าจะเป็นโครงการบัตรทองหรือไม่ เรื่องนี้จะรายงานให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุดรธานีรับทราบ เพื่อตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อสอบสวนข้อเท็จจริง โดยจะเชิญผู้บริหารโรงพยาบาล มาชี้แจงด้วย

อย่างไรก็ตาม เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวผู้สื่อข่าวได้พยายามติดต่อไปยังผู้บริหาร ของโรงพยาบาลนอร์ทอีสเทิร์นที่ถูกกล่าวหาเพื่อขอทราบข้อเท็จจริง แต่ไม่สามารถติดต่อได้ ซึ่งข้อเท็จจริงจะได้ตรวจสอบให้ชัดเจนอีกครั้งหนึ่ง



Posted by : Shonigega , Date : 2006-01-05 , Time : 20:42:12 , From IP : pedsurg.med.osaka-u.

ความคิดเห็นที่ : 3


   ตีเหล็กต้องตีตอนที่ไฟยังแดง


Posted by : หมอกระจั้ว , Date : 2006-01-05 , Time : 23:26:58 , From IP : 172.29.7.200

ความคิดเห็นที่ : 4


   น่าสนใจครับ + กับความน่าวิตกกังวลด้วย แต่ยังมองไม่เห็นในประเด็นที่ท่านพี่ต้องการ เรีนเชิญท่านอื่นก่อนครับไม่แน่
ปกติผมคิดว่าข่าวอย่างนี้มีแต่บั่นทอนกำลังใจ จึงหลีกเลี่ยงที่จะไม่อ่าน แต่ท่าทางเรามาถึงจุดที่หันไปทางใหนไม่ได้แล้วและคงต้องเผชิญกับเรื่องเหล่านี้เต็มที่ ทุกวันนี้ผมต้องรับ Case จาก รพ.ต่างจังหวัดซึ่งเข้าใจว่าน่าจะมีศักยภาพในการรักษาได้ แต่ไม่ยอมทำเลือกที่จะส่งต่อ ด้วยเหตุผลเดียวกันนี้ใชหรือไม่ ทำมากมีโอกาสถูกฟ้องมาก refer ดีกว่า ถ้ายังรับ Load มาก ๆ อย่างนี้ต่อไปเราก็อยู่ไม่ได้ ก็คงต้องหาทางออกอยู่ดี



Posted by : Dhan , Date : 2006-01-06 , Time : 00:27:05 , From IP : 172.29.7.237

ความคิดเห็นที่ : 5


   พี่Shonigega ครับของผมยังมีจาก Manager online อีก เอามารวมกันด้วยแล้วกันครับ(www.manager.co.th วันเดียวกัน)

ลูกสาวผู้ป่วยนิ่วในกรวยไตที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลรามาธิบดีแล้วเสียชีวิต ประกาศเดินหน้าต่อสู้ให้ถึงที่สุด เตรียมทนายฟ้องทั้งแพ่งและอาญา ด้านโรงพยาบาลรามา ระบุ แพทย์ทำดีที่สุด รักษาถูกต้องไม่ได้ประมาทเลินเล่อ ย้ำอยากยุติเรื่องที่เกิดขึ้น จนให้กราบเท้าก็ยอม

จากกรณีที่วานนี้ (4 ม.ค.) นางสุมาลี นิกรเสน ลูกสาวของนางระเบียบ ชุ่ยหิรัญ อายุ 66 ปี ผู้ป่วยอาการนิ่วในกรวยไต และเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลรามาธิบดี และเสียชีวิตในเวลาต่อมา โดยแพทย์ผู้ทำการรักษาได้ชี้แจงสาเหตุการเสียชีวิต ว่า เป็นเพราะเสียเลือดมาก ได้เข้าร้องขอความเป็นธรรมกับสื่อมวลชน เพราะเชื่อว่ามารดาของเธอซึ่งก่อนหน้านี้เป็นคนสุขภาพแข็งแรง จนมารับการรักษากับแพทย์ที่โรงพยาบาลดังกล่าวแล้วเสียชีวิต โดยสงสัยว่ามารดาจะถูกทำให้ตายอย่างถูกกฎหมาย ตนเองและญาติสงสัยว่าจะมีเรื่องที่ไม่ชอบมาพากล เพราะขนาดแพทย์ยังกล่าวว่า "มีแม่คนเดียวที่มารักษานิ่วแล้วตาย" นั้น

ล่าสุด ในวันนี้ (5 ม.ค.) เมื่อเวลาประมาณ 16.00 น.ผู้สื่อข่าวรายงานจากโรงพยาบาลรามา ว่า นางสุมาลี ได้ให้สัมภาษณ์ภายหลังการเข้าเจรจากับทางโรงพยาบาล ว่า ทางโรงพยาบาลรามาธิบดี ได้นัดตนเองและญาติไปเจรจา เกี่ยวกับเรื่องการเสียชีวิตของมารดา โดยมีผู้อำนวยการโรงพยาบาลรามาธิบดี ประธานองค์กรแพทย์โรงพยาบาลรามาธิบดี พร้อมแพทย์อีก 1 ท่าน เข้าร่วมการเจรจา

โดยทางโรงพยาบาลรามาธิบดี ได้ชี้แจงว่า ได้ทำการรักษามารดาของตนอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการแล้ว และไม่ได้ทำการประมาทเลินเล่อ จึงอยากให้ญาติเข้าใจ และอยากให้เรื่องนี้จบลงเสียที โดยพูดว่าจะให้กราบเท้าก็ยอม แต่โดยส่วนตัวแล้วตนก็คลางแคลงใจ และเชื่อว่าแพทย์รักษาโดยความประมาทเลินเล่อ หลังจากนี้ จะปรึกษาทนายความเพื่อยื่นฟ้องโรงพยาบาลรามาธิบดีในทางแพ่งและอาญาต่อไป ยืนยันเอาเรื่องถึงที่สุด



Posted by : Dhan , Date : 2006-01-06 , Time : 00:28:25 , From IP : 172.29.7.237

ความคิดเห็นที่ : 6


   อันนี้ Manageronlin ของเมื่อวาน น่าจะเกี่ยวข้องกัน ถึงจะไม่ได้เป็น Case คดี

นายกแพทยสภา ยัน เวชระเบียนต้องเป็นสิทธิของแพทย์ แจงไม่มีเจตนาปกปิดข้อมูล ผู้ป่วยมีสิทธิขอดูและแพทย์มีสิทธิสกรีนข้อมูลที่ไม่เกี่ยวกับบุคคลที่ 3 ก่อนให้ หากให้ทั้งหมดแพทย์เสี่ยงถูกฟ้องร้อง ชี้วงการแพทย์มีปัญหาเชิงระบบ แต่ตอนนี้กดดันแพทย์จนไม่กล้าทำงาน ส่งผลเสียต่อประชาชน เผย เตรียมยื่นเรื่องให้กฤษฎีกาตีความ ย้ำ นี่เป็นเรื่องวิชาการไม่ใช่การหาเสียง ด้านผู้ป่วยยืนยันเวชระเบียนต้องเป็นของผู้ป่วย ถ้าไม่ทำผิดทำไมต้องปกปิด ชี้ “พินิจ” ทำถูกต้องแล้ว


สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 30 ธ.ค.ที่ผ่านมา นายพินิจ จารุสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รับปากกับเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ว่าจะดำเนินการให้เวชระเบียนเป็นสิทธิของผู้ป่วยนั้น เนื่องจากเห็นว่า ข้อมูลการรักษาไม่ควรมีการปกปิด และต้องมีการเปิดเผยแก่ผู้ป่วยนั้น

นางดลพร ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ กล่าวว่า ตามกฎหมายแล้ว ข้อมูลในเวชระเบียนเป็นสิทธิของผู้ป่วยโดยสมบูรณ์ ถึงแม้ตัวเอกสารจะเป็นของโรงพยาบาลก็ตาม แพทย์ไม่มีสิทธิที่จะมาคัดกรองข้อมูลก่อนให้ ตอนนี้ถึงขั้นที่ว่าผู้ป่วยไม่สามารถขอดูเวชระเบียนได้เลย จึงเป็นที่สงสัยว่าถ้าไม่มีอะไรผิดปกติทำไมต้องปกปิด แทนที่จะให้ตรวจสอบโดยดี ในเมื่อข้อมูลเป็นของผู้ป่วย เมื่อขอดูก็ต้องให้ การที่รัฐมนตรี สธ.รับปากว่าจะดูแลเรื่องนี้ทำให้มีความหวังขึ้นมา เพราะไม่เคยมีรัฐมนตรี สธ.คนไหนที่จะกล้าชนกับหมอ จึงน่าจะมีความหวัง และอยากฝากให้ทำเรื่องเวชระเบียนไปพร้อมกันกับการดำเนินการให้แพทยสภามีคนนอก และการตั้งกองทุนชดเชยผู้เสียหายไปพร้อมกันด้วย

ด้าน นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา กล่าวว่า ปัจจุบันนี้ผู้ป่วยมีสิทธิในการขอข้อมูลในเวชระเบียนได้ และแพทย์มีสิทธิที่จะคัดกรองข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องกับบุคคลที่ 3 ก่อนให้ผู้ป่วย โดยไม่สามารถให้ไปทั้งหมดได้ เนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะถูกฟ้อง เพราะการเขียนเวชระเบียนบางครั้งมีการเขียนพาดพิงบุคคลที่ 3 เวชระเบียนจึงยังต้องเป็นสิทธิของโรงพยาบาล ไม่สามารถเป็นสิทธิของผู้ป่วยได้ และที่ผ่านมา ยืนยันได้ว่า ข้อมูลในเวชระเบียนที่เกี่ยวข้องกับการตรวจร่างกาย ผลเลือดผู้ป่วย และวิธีการรักษาอย่างไร เป็นข้อมูลของผู้ป่วยที่แพทย์ให้ได้ และก็ปฏิบัติมาตลอด แต่การเรียกร้องของเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ที่จะให้เวชระเบียนเป็นสิทธิของผู้ป่วยนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง

“ต้องถามกลับว่า เวลาเขียนหนังสือเรื่องชีวประวัติประธานาธิบดีท่านหนึ่ง ใครเป็นเจ้าของหนังสือเล่มนั้น ก็เป็นคนเขียนใช่หรือไม่ เวชระเบียนก็เช่นกัน แพทย์เป็นคนเขียนที่เกี่ยวกับการรักษาแพทย์ก็เป็นเจ้าของ ไม่ใช่ผู้ป่วย ที่ผ่านมา เมื่อผู้ป่วยร้องขอดูเวชระเบียน แพทย์ก็ให้ดู เราไม่รู้จะเก็บไว้ทำไม แต่บางอันที่ให้ไม่ได้ เพราะการเขียนเวชระเบียนเกี่ยวข้องกับบุคคลที่ 3 ถ้าให้ไปก็เกิดการฟ้องร้องขึ้นมา ทั้งที่แพทย์เขียนไว้เพื่อการทำงาน ไม่ได้ต้องการให้เปิดเผยแล้วมาจ้องจับผิดฟ้องร้องแพทย์ ตอนเขียนเวชระเบียนใช้เวลาไม่นาน คนเดียวตัดสินใจ แต่พอคนเอาไปดู ก็หาช่องทางจะฟ้องแพทย์ ความเป็นธรรมสำหรับแพทย์มีหรือไม่ ”

นพ.สมศักดิ์ กล่าวต่อว่า การที่นายพินิจรับปากว่าจะให้เวชระเบียนเป็นสิทธิผู้ป่วยนั้น สะท้อนว่านายพินิจยังไม่เข้าใจความหมายของคำว่าสิทธิผู้ป่วยกับการทำการรักษาของแพทย์ นี่เป็นเรื่องวิชาการ ไม่ใช่การหาคะแนนเสียง ยืนยันว่า แพทย์ไม่มีเจตนาทำร้ายผู้ป่วยแน่นอน ขณะนี้ทางแพทยสภากำลังยื่นเรื่องให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตีความหมายเกี่ยวกับเรื่องเวชระเบียน สิทธิผู้ป่วย และสิทธิในการรักษา

“ปัจจุบันแพทย์มีความกดดันในการทำงานมาก รักษาอย่างดีที่สุด พอตายแพทย์ก็ถูกฟ้องร้อง กำลังใจในการทำงานไม่มีเลย ค่าตอบแทนน้อย นี่เป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง แพทย์กับประชากรไม่สมดุลกัน เราทำดีที่สุด ตอนนี้แพทย์ในโรงพยาบาลชุมชนหยุดการผ่าตัดทั้งหมด เพราะกลัวถูกฟ้องเมื่อมีปัญหา แล้วใครเดือดร้อนถ้าไม่ใช่ประชาชน นี่เป็นปัญหาทั้งระบบการแพทย์ การแก้ปัญหาก็ต้องแก้ทั้งระบบด้วย ไม่ใช่แค่หาเสียง”นพ.สมศักดิ์ กล่าวในที่สุด



Posted by : Dhan , Date : 2006-01-06 , Time : 00:32:15 , From IP : 172.29.7.237

ความคิดเห็นที่ : 7


   ไม่แน่ใจว่ามาทำให้กระทู้ของพี่มั่วหรือเปล่านะครับ ไม่รู้ออกนอกประเด็นของพี่ไปหรือยัง แต่คิดว่าเราคงต้องมานั่งพูดกันเรื่องนี้อย่างป็นเรื่องเป็นราวแล้วครับ

Posted by : Dhan , Date : 2006-01-06 , Time : 00:33:40 , From IP : 172.29.7.237

ความคิดเห็นที่ : 8


   ถึงว่าไง

นักข่าว กำลัง โหมไฟ ให้ลุกโชติช่วง

กระหนำตีเหล็กที่กำลังร้อนอยู่

ญาตคนไข้/คนไข้ vs. หมอ
นายพินิจ vs. หมอ

แต่จริงๆ นักข่าวแหละโหมมันอยู่ ทั้งลีลาการพาดหัว

ไม่ว่าอย่างไร พวกเขาไม่ได้มองแล้วว่าอะไรสมควรเล่น
บางกรณี นักข่าวน่าจะเป็นตัวแก้ต่างแทนแพทย์ได้ อย่างกรณีหมอรามา นั้น แค่ตีแผ่ข้อเท็จจริง เรื่องก็น่าจะจบ แต่เขากลับนำเสนอ เพื่อไม่ให้เรื่องจบ

กรณีพวกนี้ผมว่า หมอ กำลังทำ "สงคราม" กับสื่อมากกว่า

มองว่าถ้าสื่อ จะช่วยหมอ ในกรณีที่หมอถูก ทำไมจะทำไม่ได้ เสนอข่าวให้มันเบาลง เป็นตัวกลางในการปรับความเข้าใจกัน ระหว่างคู่กรณี และผู้รับสื่ออื่นๆ

แต่คำถามก็มีอีกแหละ ว่าทำไม่ สื่อไม่เข้าข้างฝ่ายถูกที่แท้จริง ความสำพันธ์อันดีไม่มีแล้วหรือ


ส่วนกรณี หมอผิดจริง ก็ต้องว่าไปตามผิด


Posted by : หมอกระจั้ว , Date : 2006-01-06 , Time : 01:23:04 , From IP : 172.29.7.200

ความคิดเห็นที่ : 9


   Breakdown in doctor-patient relationship



Posted by : Phoenix , Date : 2006-01-06 , Time : 10:26:13 , From IP : 172.29.3.242

ความคิดเห็นที่ : 10


   ทำไมเอาข่าวแย่ๆมาทั้งนั้นเนี้ย แล้วเคยมีกับแพทยืมอ.บ้างมั้ยหละ ก็ไม่มีหนิ

Posted by : นศ. , Date : 2006-01-06 , Time : 11:35:51 , From IP : 172.28.1.29

ความคิดเห็นที่ : 11


   ทำไมเอาข่าวแย่ๆมาทั้งนั้นเนี้ย แล้วเคยมีกับแพทยืมอ.บ้างมั้ยหละ ก็ไม่มีหนิ

Posted by นศ.() 2006-01-06 , 11:35:51 , 172.28.1.29
------------------------------------------------------------------------------
น้อง นศ. กำลังจะสื่อว่าอะไรครับ
ไฟยังลามไม่ถึงก้นน้องใช่มั้ยครับ


Posted by : the kop , Date : 2006-01-06 , Time : 13:19:17 , From IP : 172.29.3.130

ความคิดเห็นที่ : 12


   ขอให้กำลังใจแพทยสภาที่กำลังพยายามที่จะสื่อสารเกี่ยวกับเรื่องราวต่างๆที่ถูกต้องเกี่ยวกับหลักการแพทย์ให้กับท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและสื่อมวลชนทราบ แต่ผมคิดว่าเป็นเรื่องยากที่บุคคลอื่นที่ไม่ใช่แพทย์จะเข้าใจได้ เรื่องราวที่เกิดขึ้นในทุกวันนี้ทำให้เกิดการระแวงระหว่างแพทย์และผู้ป่วยมากขึ้น จึงเป็นความหนักของแพทย์และโรงพยาบาลต่างๆของรัฐที่จะต้องดูแลผู้ป่วยจำนวนมากในขณะที่ศักยภาพและจำนวนบุคลากรจำกัดในสถานการณ์อย่างนี้

Posted by : Top Secret , E-mail : (..............................) ,
Date : 2006-01-06 , Time : 19:32:39 , From IP : 203.188.13.62


ความคิดเห็นที่ : 13


   ข่าวสามข่าวต่อไปนี้ มีสิ่งที่น่าสนใจที่เหมือนกันอยู่ประการหนึ่งค่ะ แต่ไม่ทราบว่าจะตรงประเด็นที่คุณ Shonigega คิดไว้หรือเปล่า

ข่าวแรก เมื่อ 4 ปีก่อนจำได้ว่าเคยเจอผู้หญิงท้องโตๆ คนหนึ่งนอนร้องไห้รอคลอดในห้องคลอด ก็ถามเค้าว่าเจ็บมากเหรอ เค้าบอกว่าไม่ได้เจ็บ ที่ร้องน่ะเพราะนอนรอคลอดลูกในท้องที่เสียแล้ว แต่เนื่องจากยังไม่เรียนเลยไม่แน่ใจว่า "เมื่อเด็กตายในครรภ์ต้องผ่าตัดเอาเด็กออก" จริงหรือไม่ และคิดว่าประเด็นสำคัญที่ญาติผู้ป่วยติดใจน่าจะมาจาก "ระหว่างเหน็บยารอปากมดลูกเปิด -แพทย์ก็ไม่ใส่ใจที่จะติดตามอาการ" มากกว่า

ข่าวที่สอง "หมอเย็บแผลปิดโดยไม่เอ็กซเรย์ ทิ้งมีดไว้ในท้อง"
อันนี้ตลกร้ายๆ ค่ะ ถ้าอ่านตามเนื้อข่าวดีๆ เค้าก็เขียนเองว่า "ระหว่างนั้นเกิดเรื่องทะเลาะวิวาทและชกต่อยกับกลุ่มวัยรุ่นหน้าเวทีหมอลำซิ่ง ขณะชุลมุนรู้สึกเจ็บแปลบที่ชายโครงด้านซ้าย" คนที่ทิ้งมีดไว้ในท้องของคุณทองดีก็ต้องเป็นกลุ่มวัยรุ่นหน้าเวทีหมอลำซิ่งสิคะ ไม่ใช่หมอซะหน่อย - -"
ประเด็นที่ญาติติดใจก็คงจะเป็น -แพทย์ไม่ใส่ใจ- ที่จะหามีดให้เจอก่อนเย็บปิด ซะมากกว่า...เช่นกัน

ข่าวที่สาม "โวยทำคลอดช้าลูกตาย หมอรีบขับรถหนีจากรพ."
ประเด็นที่เหมือนกับ 2 ข่าวแรกคือ “แพทย์ปล่อยให้ผู้ป่วยนอนรอนานกว่า 5 ชั่วโมง โดยไม่ทำอะไรเลย" และที่เพิ่มมาอีกคือ "หลังคลอดแล้วแพทย์ยังได้ขับรถยนต์หนีไป ไม่ดูแล ไม่ชี้แจงให้ญาติที่ไปเฝ้าดูแลเข้าใจ"

และข่าวที่ 4
เรื่องก็น่าจะอยู่ที่ "หากลูกชายได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีเชื่อว่าไม่เสียชีวิต แต่กลับปล่อยให้นอนเจ็บนานราวเกือบ ชั่วโมงโดยไม่ยอมรับตัวเข้ารักษา"

ส่วนข่าวของคุณ Dhan คงเป็นคนละเรื่องกับ "แพทย์ไม่ใส่ใจ" น่าจะเป็นเรื่องของ emotional crisis มากกว่าค่ะ



Posted by : Lucifer , Date : 2006-01-07 , Time : 18:18:10 , From IP : 172.29.4.154

ความคิดเห็นที่ : 14


   อ่านความเห็นของเธอ (หรือเขา) แล้ว ทำให้รู้สึกว่าที่ผมชื่นชมคุณ Lucifer de Ciber และเป็นแฟนเธอมาตั้งนานนั้นไม่เสียแรงข้าวต้ม

ผมตั้งคำถามโปรยลงไปโดยที่ตัวเองก็ยังไม่ทราบคำตอบ กระทั่งมาอ่านความเห็นของคุณ Lucifer และเห็นคล้อยตามนั้น ว่า สิ่งที่ผู้รับบริการต้องการอย่างมากเมื่อเข้ารับบริการทางการแพทย์ บางครั้งไม่ใช่ความรู้ความชำนาญที่ดีที่สุด แต่เป็น "ความเอาใจใส่" หลายครั้งคนไข้ หรือตัวเราเอง ญาติของเราเองที่ถึงคราวป่วย มองข้ามหมอที่เขาลือกันว่า เก่งที่สุด และเลือกหาหมอที่สามารถจะให้เวลาและความเอาใจใส่ได้มากกว่า

ประเด็นอีกประการที่อยากให้ลองย้อนกลับไปอ่านเล่น ๆ มีตัวอย่างเช่น "นางวันดีกล่าวว่าจะเอาเรื่องให้ถึงที่สุด เพราะแพทย์ที่สุพรรณบุรีบอกให้ฟ้องร้อง..."

"ท.พ.กวี วีระเศรษฐกุล เลขานุการคณะอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพ จังหวัดอุดรธานี กล่าวว่า ตามจรรยาแพทย์หรือหน้าที่แพทย์หรือโรงพยาบาล จะต้องดูแลผู้ป่วยทุกคน ไม่สามารถปฏิเสธผู้ป่วยได้ ไม่ว่าจะเป็นโครงการบัตรทองหรือไม่ เรื่องนี้จะรายงานให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุดรธานีรับทราบ เพื่อตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อสอบสวนข้อเท็จจริง" ความเห็นย้อนหลังเหล่านี้ มักจะถูกและฟังดูดีเสมอ

ลองเขียนนิยายดัดแปลงกรณีสองเรื่องต้นดูเล่น ๆ

ก. แพทย์ผู้ดูแลได้รีบนำผู้ป่วยเข้าห้องคลอด และกล่าวกับพี่สาวผู้ป่วยว่า แม้เด็กจะตายในท้องแต่ก็ยังไม่มีความจำเป็นต้องทำผ่าตัดนำทารกออก แต่จะใช้วิธีเปิดปากมดลูกด้วยยา และกระตุ้นให้คลอดโดยเร็วที่สุด แพทย์ยังกล่าวอีกว่าการรักษาตามแผนการนี้มีความเสี่ยงอยู่บ้าง แต่ก็เป็นวิธีมาตรฐานที่ยอมรับกันโดยทั่วไป
...นางวันดีกล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า แม้จะรู้สึกเสียใจอย่างมากที่น้องสาวต้องเสียชีวิต แต่ก็เข้าใจว่าเป็นเหตุสุดวิสัย...

ข. แพทย์เวรได้บันทึกในเวชระเบียนว่าได้พยายามซักประวัติผู้ป่วยถึงสาเหตุของแผล แต่ไม่สามารถทราบรายละเอียดเนื่องจากผู้ป่วยอยู่ในอาการมึนเมา ผลการชันสูตรแผลพบก้นแผลอยู่ลึกลงไปในชั้นกล้ามเนื้อ เลือดหยุดไหลแล้ว หลังจากล้างแผล แพทย์ได้เย็บปิดและนัดให้มาดูอาการในสองวันถัดมา...

หากบริบทเป็นเช่นนี้ พี่ Dhan พี่ Phoenix และน้อง ๆ คงเห็นคล้ายกันว่า สถานการณ์-เปลี่ยน-

ว่าง ๆ มาคุยกันต่อในเชิงมหภาคเรื่อง "ฟ้องหมอ" เถอะครับ ผมว่ามีเรื่องน่าคิดน่าคุยอีกเยอะ


Posted by : Shonigega , Date : 2006-01-07 , Time : 20:31:25 , From IP : pedsurg.med.osaka-u.

ความคิดเห็นที่ : 15


   "การเอาใจใส่" นั้นเหมือนกับ "การสื่อสาร" อยู่หลายด้าน ในกรณีนี้ก็คือ ผู้ให้ ผู้รับ และบริบท

ความสำเร็จของการสื้อสารนั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเจตนาที่ดี พูดจาเหมาะสม ตรวประเด็น กระจ่างแจ้งเท่านั้น ถ้าอีกสององค์ประกอบสำคัญบกพร่อง ที่ทำมาทั้งหมดก็จะล้มเหลว การเอาใจใส่ก็เหมือนกัน

เพราะการเอาใจใส่นั้น เป็น "ภาพรวม" เพียงชื่อก็บอกแล้วว่า เรากำลัง "เอาใจใส่" ซึ่งเริ่มจากความรู้สึกเป็นห่วง กังวล ใส่ใจใน well-being ของเป้าหมาย แสวงหาว่าเขาเธอกำลังทุกข์จากอะไรหนอ ทุกข์จากโรค ทุกข์จากคนที่รักกำลังป่วย ทุกข์จากความไม่รู้ ทุกข์จากสถานการณ์ที่เหนือความควบคุมของตนเอง ทุกข์จาก.... ฯลฯ เสร็จแล้วเราก็แสวหากลวิธีต่างๆเพื่อบรรเทาคลายทุกข์เหล่านี้ให้ เช่น ซักประวัติตรวจร่างกายอย่างละเอียด เราจะได้วินิจฉัยได้อย่างถูกต้อง โดยผู้ป่วยเจจ็บปวดน้อยที่สุด อันตรายน้อยที่สุด ให้ข้อมูลไปเท่าที่จำเป็น จะได้มีอะไรไปคิดต่อ ไม่เคว้งคว้าง มีการให้กำลังใจและพนากรณ์ผล ให้ความหวัง จะได้เพิ่มอำนาจการควบคุมสถานการณ์บางส่วน (หมอที่กำลังรักษาสามีเรา น่าจะรู้เรื่องนี้ดีพอควรจากที่แกได้กรุณาเล่าให้ฟัง) ไปจนถึงการแจ้งข่าวร้าย การมีส่วนร่วมและเข้าใจใน phase ต่างๆของการรับรู้ข่าวร้าย และการถืออุเบกขา เข้าใจในอารมณ์ที่ญาตๆจะเกิด จะมี จะกระทำ

ที่กล่าวมาข้างบนเป้นการกระทำฝ่าย "ผู้ให้" โชคร้ายที่ทำไปเยอะขนาดนั้น ครบถ้วนอย่างดี มันก็ไม่อาจจะชดเชยข้อบกพร่องอีกสองส่วนประกอบ คือ ผู้รับ และบริบท

ผู้รับที่ตกอกตกใจมาก อยู่ใน mode ของอารมณ์กำลังท่วมท้น สติสัมปชัญญะทางตรรกะจไม่สมบูรณ์ ข้อมูลที่เข้ามาจะเป็น super-selective และ บางทีก็ random เลือกบางจุดที่ตอนนั้นอารมณ์กำลังพาไป บางจุดก็จะขาดหายไป รับไม่ได้อย่างสิ้นเชิง

บริบทบางอย่างทำให้การสื่อตกหายไป เช่น เพิ่มมีการสูญเสียพ่อ แม่ ลูก ภรรยาไป บรรยากาศ ER ที่ฉุกละหุก ยุ่งเหยิง วุ่นวาย เซ็งแซ่

เรื่องนี้เป็น ศาสตร์ ศิลป์ และ "ดวง" ครับ เตรียมพร้อมไว้ให้ดีที่สุด แต่อย่าคิดว่าทุกอย่าง "การันตี"



Posted by : Phoenix , Date : 2006-01-08 , Time : 00:49:41 , From IP : 58.147.112.132

ความคิดเห็นที่ : 16


   ความเป็นหมด สร้างความเจ็บปวดมากขึ้มเรื่อยๆ ความสัมพันธ์ระหว่างหมอและคนไข้ยามนี้เหมือนแก้วที่กำลังร้าว ความจริงสาเหตุของการร้าวดูจะเป็นปัจจัยภายนอกมากกว่าที่ชอบแทรกแซงจนเสียเรื่อง ทั้ง ญาติและนักข่าวซึ่งไม่เข้าใจจริงแต่ขอออกมาพูดไวก่อน และอาจมีเจตนาเคลือบแคลง เช่น อยากได้ค่าทำศฑเหมือนรายที่เพิ่งผ่านมา
แต่สุดท้ายสิ่งที่น่าเสียใจและเจ็บปวดที่สุดคือการที่หมอยุยงและฟ้องหมอดวยกัน อย่าทำเช่นนั้นเลย เราเองต่างก็เป็นพี่น้อง ในเมื่อความสัมพันธ์กับกลุ่มอื่นกำลังเสื่อมสลาย ไยเราจักแตกพ้องกันเอง ฆ่าศึกจักรบชนะเราก็คราวนี้
ถามถึงความลำบากใจในการปฏิบัติงาน แม้นมีมากจนจุกอยู่ที่ลำคอ ไม่กล้ากระดิกตัวไปไหน แต่อยากให้กำลังใจ คนไขที่รักเรามีอีกมาก จนเติมน้ำในแก้วเหล่านั้นต่อไป ทำให้ดีที่สุด ตามคำปฏิญาณที่ให้ไว้กับพระบิดา หากสุดแล้วมิอาจรั้งเหตุการณ์ร้ายๆได้ ก็จะได้สบายใจว่าอย่างไรก็ยังเป็นลูกที่ดีของพระบิดา
ให้กำลังใจทุกๆคน เราทั้งตัวเอง


Posted by : a missing peace , Date : 2006-01-08 , Time : 15:50:46 , From IP : 172.29.7.146

ความคิดเห็นที่ : 17


   เห็นต้นเรื่องคุณ Shonigega เริ่มด้วย "ข่าวสามข่าวต่อไปนี้ มีสิ่งที่น่าสนใจที่เหมือนกันอยู่ประการหนึ่ง" ก็เลยคิดว่าคุณ Shonigega คงมีคำตอบอยู่ในใจแล้ว หนูว่าจะลองเดาใจดู ปรากฏว่าคงจะไม่ถูกทั้ง 2 เรื่อง ลองใหม่แล้วกันนะคะ
ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ ความเห็นย้อนหลังของผู้ที่ไม่ใช่แพทย์เจ้าของไข้ จนในที่สุดก็นำไปสู่การ "ฟ้องหมอ"
หนูยังไม่เคยเป็นหมอค่ะ ยังไม่มีประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยมากพอที่ให้ความเห็นเรื่องนี้ ไม่แน่ใจที่จะอภิปรายว่าอะไรควรหรือไม่อย่างไร ก็เลยอยากจะขอความเห็นพี่ๆ ที่เป็นหมอแล้ว ว่า...จะเห็นว่าอย่างไรคะ

ส่วนนิยาย 2 เรื่องของคุณ Shonigega นอกจากจะรู้สึก...ดี...แล้วก็ยังเป็นคำตอบของสิ่งที่สงสัยอยู่ ขอบคุณค่ะ


Posted by : Lucifer , Date : 2006-01-09 , Time : 16:34:26 , From IP : 172.29.4.154

ความคิดเห็นที่ : 18


   เหรียญมีสองด้านเสมอ ผมไม่เคยมองว่า ใครถูกใครผิด แต่ผมชอบที่จะมองว่าต้องรับผิดชอบด้วยกันทุกฝ่าย

เรื่องที่หมอยุคนไข้ให้ฟ้อง เป็นเรื่องที่ไม่ควรกระทำ เราอาจมองได้ว่าคนที่ยุต้องการแสดงให้ญาติหรือคนอื่นมองว่าตนเองเก่งกว่ามีคุณธรรมกว่า นั่นเป็นเรื่องที่ควรประนามอย่างยิ่ง แต่ในขณะเดียวกันก็อาจต้องมองในรายละเอียดด้วยว่าแพทย์เจ้าของไข้ได้ดูแลผู้ป่วยสุดความสามารถที่พึ่งกระทำหรือไม่ อันนี้เจ้าตัวตอบได้คนเดียวคนอื่นมาคิดแทน ตอบแทนไม่ได้ เพราะบริบทไม่เหมือนกัน

ระหว่างคนไข้กับหมอ อาจมองได้ว่าญาติหรือคนไข้ฟ้องเพราะต้องการได้เงินค่าชดเชย เพราะโกรธเคือง แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องมองถึงความสัมพันธ์ที่แพทย์สร้างขึ้นด้วยว่าเป็นอย่างไร ผมคิดว่าเราไม่มีสิทธิขึ้นเสียงหรือแสดงท่าทีที่ไม่สุภาพต่อคนไข้ ไม่ว่าเขาจะอยู่ในภาวะเช่นไร(ยกเว้นมีเจตนาจะทำร้ายเราหรือเราต้องป้องกันตัว) เขาอาจจะเมา เขาอาจจะโกรธ เขาอาจการศึกษาไม่ได้สูงฟังหมอไม่รู้เรื่อง แต่เราไม่มีสิทธิ์โกรธ หรือด่าว่าเขา โดยเฉพาะกรณ๊คนเมากับแพทย์ที่ห้องฉุกเฉินผมเข้าใจว่าน่าโมโหที่คุยกันไม่รู้เรื่อง หรือเอะอะโวยวาย แต่เราก็มีมารตการอย่างอื่นมากมาย ไม่ต้องไปดุด่าหรือใช้กำลัง ถ้าเขาไม่ศรัทธาเรา เขาอย่างได้ second opinion เขาอาจลังเล เราก็ไม่ควรโกรธ เข้าใจว่าเราเป็นคนธรรมดาเวลาเหนื่อย ๆ ยุ่ง ๆ ก็อาจมีหลุดได้ แต่จะมากจะน้อยก็ต้องระมัดระวัง ท่าทางเหล่านั้นจะกลับมาทำร้ายเราครับ

ระหว่างหมอกับเพื่อนร่วมงาน เลิกเข้าใจผิดว่าตัวเองเป็นเทวดาได้แล้วครับ เท่าที่เขาให้ความยกย่อง ไว้วางใจเราก็มากพออยู่แล้ว ผมไม่ค่อยสบายใจเวลาที่มีการมานั่งคุยกันแล้วภูมิอกภูมิใจว่าวันนี้กินหัวคนนั้นคนนี้มา หรือดูถูกเพื่อนร่วมงานว่าโง่ งี่เง่า ผมว่าเลิกได้แล้วครับสิ่งเหล่านี้ ช่วย ๆกันทำงานทำในหน้าที่ของตัวเอง บรรยากาศในการทำงานจะดีขึ้นอีกเยอะ

ลองคิดใหม่ครับว่าความสัมพันธ์ที่แย่ลงของหมอกับคนไข้ เกิดจากอะไร จากคนไข้อยากได้เงิน อยากได้มาตรฐานการรักษาแบบAmerican standard ในภาวะที่ประเทศกำลังจะล้มละลาย จากความไม่เข้าใจกัน จากสื่อมวลชนไม่มีจรรยาบรรณ จากนโยบายประชานิยมและทุนนิยมสุดโต่งของรัฐ จากภาระงานที่มากเกินคนธรรมดาจะทนไหว หรือจากมาตรฐานวิชาชีพ เป็น Multifactorial ครับแต่เราสามารถเริ่มต้นจากสิ่งที่เราแก้ไขได้ก่อนใช่ใหมครับ


Posted by : Dhan , Date : 2006-01-10 , Time : 20:50:42 , From IP : 172.29.3.130

ความคิดเห็นที่ : 19


   ขออนุญาตสนับสนุนคุณ Dhan อีกเสียงนึง "เหรียญมี(อย่างน้อย)สองด้านเสมอ"

อตฺตานํ อุปมํกเร ที่จริงๆแล้วเมื่อคนๆหนึ่งสูญเสียญาติไป จะเป็นพ่อ แม่ ลูก ภรรยา คนที่รักและห่วงใย ก็ตาม มันไม่ยากเกินจินตนาการว่า ณ ขณะนั้น "อารมณ์" ของเขาจะไม่ปกติ จะค่อนข้างอยู่ในวิกฤติซะด้วยซ้ำ ปฏิกิริยาของแพทย์ในสถานการณ์แบบนี้ควรจะถือสาเอาความ หรือควรจะเห็นใจ และเข้าใจ พวกเราลองใคร่ครวญดู

เมื่ออยู่ในวิกฤติการณ์ คนเราก็จะใช้ต่างกลไกในการพยายามผ่านเหตุการณ์นั้นๆ ในขณะที่มีอารมณืโกรธ อาฆาต สับสน ท้อแท้ เสียใจ กลัว ผสนมผสานกัน เราจะคาดหวัง "normal response" ได้สักแค่ไหน? และที่ว่านี้ applied ทั้งสองฝ่ายนะครับ หมอเองที่พึ่งรักษาและคนไข้เสียชีวิตไปหมาดๆ หรือบางครั้ง "คามือ" หลังปั๊มนวดหัวใจ หรือคาโต๊ะผ่าตัด ปฏิกิรกยาของหมอคนนั้นจะผิดเพี้ยนไปบ้าง พวกเราพอจะ "เข้าใจ" ได้หรือไม่ว่ามันสามารถเกิดกับทุกคน รวมทั้งตัวเราเอง ก็อาจจะมี lapse ของช่วงเวลาที่เราไม่ได้ in-control 100% ได้

นั่นเป็นนอกเหนือจากแรงผลักอื่นๆ เช่น ต้องการเงิน ต้องการล้างแค้น ต้องการอะไรก็ได้มาชดเชย ฯลฯ อย่างที่คุณ Dhan listed มาข้างต้น

ขอเพียงให้เราได้ "เรียนรู้" จากประสบการณ์ ความรู้สึกเหล่านี้และเอาไปใช้ ก็จะได้ไม่เสียหาย เสียดาย เสียเวลา ถ้าเราคิดว่าหน้าที่หนึ่งของแพทย์คือชี้นำอะไรให้คนทั่วๆไปมีคุณภาพชีวิตที่ดี ทางที่ดีเราก็ต้องทำความเข้าใจซะก่อนไหมว่า "อะไร" คื่อ "ปฏิกิริยาปกติของชีวิต ต่อเหตุการณ์ประเภทต่างๆ" พยายามลดการ "ครอบ" งำเอาคุณค่าส่วนตัวของเราไปเป็นสิ่งที่ดีที่สุดด้วยของคนอื่น เพราะมันอาจจะไม่ใช่ เผลอๆส่วนใหญ่ "จะไม่ใช่"

ของบางอย่าง อย่างเช่น "ความสัมพันธ์ relationship" ที่ดีนั้น จะได้มาก็จากเราได้ "ให้" ไปก่อน ไม่เสียหายอะไรที่เราจะเป็น "คนเริ่ม" เรื่องแบบนี้ จะดีกว่ารอเป็นคนตอบรับอย่างเดียว หลังจากที่เราเริ่มเข้าใจ และ "รับได้" ถึงความคิดเห็น อารมณ์ของคนอื่น บางทีนี่ก็เป็นจุดริ่มต้นที่คนอื่นก็จะ "ยอมรับเรา" ตอบบ้างก็ได้



Posted by : Phoenix , Date : 2006-01-10 , Time : 21:49:04 , From IP : 58.147.115.164

ความคิดเห็นที่ : 20


   คุณลุซิเฟอร์ครับ

เป็นการดีเสียอีกที่คุณลุซิเฟอร์ยังไม่มีโอกาสประกอบวิชาชีพเวชกรรม แต่ก็ได้มีโอกาสตั้งคำถาม เฝ้าสังเกตรุ่นพี่พวกเราที่กำลังเวียนว่ายอยู่ในวงการขายบริการทางการแพทย์ และเตรียมตัวเองสำหรับวันหนึ่งข้างหน้า ที่คุณลุซิเฟอร์จะก้าวเข้ามา"ขายบริการ"อย่างมืออาชีพ

การรู้จักเรียนจากความผิดพลาดของคนอื่น เป็นวิชามารอย่างหนึ่งที่ผมแนะนำ

การเตรียมตัวที่ดีประการหนึ่งก็คือ การมีความรู้ที่ว่า ณ ขณะเวลาที่คุณลุซิเพอร์จะก้าวเข้ามาเป็น "หมอ" เต็มตัวนั้น รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์ผู้ให้บริการและผู้ป่วยผู้รับบริการนั้น อาจเปลี่ยนไป ไม่ต้องตรงกับสิ่งซึ่งปรมาจารย์รุ่นเก่า ๆ สอนคุณลุซิเฟอร์ไว้ ปลูกฝังไว้

สิ่งเหล่านี้ลดลง; ความศรัทธาและไว้เนื้อเชื่อใจ การฝากผีฝากไข้ การยอมอภัยเมื่อพลาดหวัง การให้โอกาสสำหรับความผิดพลาด

สิ่งเหล่านี้มากขึ้น; การตรวจสอบ ความคาดหวัง การเรียกร้องการตอบแทน ฯลฯ

กระแสการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มิได้เกิดขึ้นเฉพาะวงการของเรา คุณลุซิเฟอร์อยู่ในโลกไซเบอร์ คงจะเคยอ่านกระทู้ที่ ลูกค้าร้านข้าวแกงเขียนตำหนิแม่ค้า ลูกค้าร้านโดนัทอยากกินไก่ คุณลุซิเฟอร์อาจจะจำเหตุการณ์เมื่อปีกลายที่แพทย์โรงพยาบาลจุฬาฯราวครึ่งโหลผู้เป็นเจ้าของรถยี่ห้อซีอาร์วี รวมตัวประท้วงผู้ผลิตรถยนต์เพราะพลาดหวังในสินค้า

อาชีพของเรามิได้วิเศษไปกว่าการขายข้าวแกงหรอกครับ ศักด์ศรีของเรามิได้ต่างจากแม่ค้าที่ทำอาหารขายด้วยความสำนึกในวิชาชีพ ในยุคที่กระแสสังคมยอมรับให้มีการเรียกร้องและตรวจสอบเช่นนี้ ผมเห็นเป็นการโง่ที่จะไปร้องตระโกนบอกใคร ๆ ว่า "จงศรัทธา อย่าสงสัย" หรือเขียนประโยคยอดนิยมของพวกเราว่า "หมอทำงานหนักนะ เราเหนื่อยนะ อย่ามาว่าหมอนะ" "ตรวจคนไข้ตั้งหลายสิบคน ก็ต้องพลาดกันบ้าง"

สิ่งที่น่าจะมีประสิทธิภาพในการลด"ความเสี่ยงในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม"มากกว่าการเรียกร้องให้ผู้รับบริการนั้น "เชื่อง" หรือเอาความสัมพันธ์แบบเดิมคืนมาคือ ความเอาใจใส่ที่คุณลุซิเฟอร์สอนผม ผมขอเติมอีกอย่างสองอย่างคือ การสื่อสารทำความเข้าใจ และความไม่ประมาทในการจดบันทึก

ไว้ว่าง ๆ เรามาคุยกันต่อเรื่องเหล่านี้ และกฏของผมในการคุยคือ ผมไม่คุยคนเดียว ผมแลกเปลี่ยน ถ้าไม่มีมาแลก ก็อย่าหวังจะได้ไปเปลี่ยน


Posted by : Shonigega , Date : 2006-01-11 , Time : 16:43:41 , From IP : pedsurg.med.osaka-u.

ความคิดเห็นที่ : 21


   "อาชีพของเรามิได้วิเศษไปกว่าการขายข้าวแกงหรอกครับ ศักด์ศรีของเรามิได้ต่างจากแม่ค้าที่ทำอาหารขายด้วยความสำนึกในวิชาชีพ"

ชอบจังเลยครับและเห็นว่าสิ่งนี้เป็นปัญหา สำหรับคนที่เป็นแพทย์(ที่คิดว่าตัวเองเป็นเทวดา)ไปแล้วคงต้องยอมทำใจว่าอาจแก้ไขอะไรไม่ได้มาก แต่คนที่ยังคงมีความเป็นมนุษย์อยู่โดยเฉพาะสำหรับนักเรียนแพทย์ผมคิดอยู่เสมอว่าทำอย่างไรเมื่อผ่านหลักสูตร พบ. 6 ปี เขาจะยังคงความเป็นมนุษย์ ไม่กลายเป็นเทวดาไปก่อน ทำอย่างไรเราจะหลอมเขาออกมาเป็น หมอที่รู้จักรักษาทั้ง คนและไข้

ตอนนี้ผมยังใหม่ในเวทีนี้ผมยังนึกไม่ออกว่าทำยังไงดี แต่ผมเชื่อว่าถ้าตั้งหลักได้โดยไม่ล้มหายตายจากไปก่อน เราน่าจะทำได้ แต่ยังไงเมื่อไหร่ ยังตอบไม่ได้ครับ


Posted by : Dhan , Date : 2006-01-12 , Time : 13:05:31 , From IP : 172.29.3.130

ความคิดเห็นที่ : 22


   รื้อฟื้นเทคนิกเดิมๆที่มัน work สมัยพ่อหมอ ปู่หมอดีไหมครับ สมเด็จพระราชบิดาทรงมีพระราชดำรัสว่า "I not only want you to be a doctor, but I also want you to be a man" ท่านได้ทรงเน้นความสำคัญในการ เป็นมนุษย์ มาแต่ไหนแต่ไร ไม่ได้สอนให้แพทย์กลายเป็นเทวดาเลย

เพิ่มหลักสูตรการเป็นมนุษย์ (มน = ใจ, อุษย = สูง) ดีไหมครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2006-01-12 , Time : 16:21:20 , From IP : 172.29.3.107

ความคิดเห็นที่ : 23


   quote this..

รื้อฟื้นเทคนิกเดิมๆที่มัน work สมัยพ่อหมอ ปู่หมอดีไหมครับ.....


บริบทเปลี่ยนไปเยอะเลย

1. สิ่งแวดล้อม สังคมยุค internet เด็กไม่มีสัมมาคารวะ มีการเรียกร้องสิทธิที่เขาี่คิดว่า ต้องมี (ผมเข้าใจว่า สิทธิ บางอย่าง น่าจะถูกจำกัด ในบางสถานการณ์) นี่คือ generation ใหม่ที่แตกต่างจากรุ่นอาจารย์ปู่ อาจารย์พ่อเราอย่างสิ้นเชิง
2. ระบบ ในปัจจุบัน ทำให้ ความใกล้ชิด ระหว่างศิษย์ กับอาจารย์ ห่างไกลเกินกว่าจะถ่ายทอดสิ่งที่ Dhan อยากให้มี ไม่ว่าจะเป็นระบบการศึกษา พึ่งตนเอง การมี internet ที่ผมคิดว่า เด็กสมัยนี้เชื่อ มากกว่าการฟังอาจารย์พูด แล้วท่านคิดหรือว่า ท่านแค่พูดออกไปแล้ว เด็กจะ ฝัง สิ่งนั้นไป
ระบบ การทำงานของ อาจารย์แพทย์ ที่ผมคิดว่า มันเปลี่ยนไปเยอะเลยจากเมื่อก่อน ไม่อยากใช้คำว่า บีบบังคับ จนบทบาทที่พึงมีต่อลูกศิษย์ถูกจำกัด
3. ปริมาณเด็กที่เพิ่มมาก และจะเพิ่มไปอีก

ไม่ใช่เรื่องง่าย

ทำให้ดีที่สุดก็แล้วกัน

กลัวว่า อาจต้องจำใจ ยอมรับ กับ ความเป็น แพทย์ แบบใหม่ generation ใหม่ ที่ต่างจาก อาจารย์ปู้ อาจารย์พ่อ เราอย่างสิ้นเชิง

ืงานหนักก็ไม่ชอบ อยากทำงานสบาย ได้เงินเยอะๆ เร็วๆ ขายบริการกันจริงๆ หมอแบบนี้จริงๆคงมีมานานแล้ว แต่ผมคิดว่าสัดส่วนมันจะเพิ่มขึ้น จาก someone ในยุคปู่เป็น most ในยุคถัดไป

เหมือนดูถูก หรือดูว่าน่าจะถูก ที่จะต้องยอมรับความเปลี่ยนแปลง

เห็นความสำคัญเช่นกัน และคิดว่าสำคัญมากๆด้วย อาจสำคัญกว่าตัวความรู้ที่เกินจำเป็นด้วยซ้ำ ปัญหา "หมอใหม่" มีแน่นอน

แต่มีคนดำริ จะทำให้เป็นเรื่องจริง เป็นรูปธรรมไหม

พร้อมๆกับการที่เราจะมี นศพ. เกือบปีละ 200 คน topic นี้น่าให้ความสำคัญ ไม่น้อยไปกว่าคุณภาพความรู้ความสามารถ

ก็อยากฟังเหมือนกันครับ ว่าเทคนิกเดิมๆนั้น มีความเป็น "อมตะ" รึเปล่า


Posted by : คุนิมุตซึ , Date : 2006-01-12 , Time : 22:14:31 , From IP : 172.29.7.236

ความคิดเห็นที่ : 24


   เทคนิกเดิมๆที่มีพูดกันถึงบ้างในกระทู้นี้ได้แก่การเน้นว่า "หน้าที่" ของแพทย์ควรจะเริ่มจากการ "เอาใจใส่" ผู้ป่วย ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี

แต่โบราณ แพทย์ทำงานโดยอาจจะมียาแค่ฝิ่นเพื่อแก้ปวด อัลกอฮอล์สำหรับล้างแผลสด รักษาไปๆตายบ้างรอดบ้าง แพทย์ยุคแรกนี้ก็ยังทนทู่ซี้ดูแลคนไข้ที่คนอื่นๆยอมรับทำใจแล้วว่าตายแน่ๆ รวมทั้ง case อย่างเหยียบโดนเปลือกหอย ทอ้งเสีย แต่สิ่งที่แพทย์ยุคนั้นทำก็คือ เฝ้าดูแล และจดบันทึกว่ามีอาการยังนี้มา รักษาไปแบบนี้ ดีขึ้นนิดหน่อย ต่อมากำเริบมากขึ้น ฯลฯ ถ้าพวกเราได้มีอกาสอ่านหนังสือดีเล่มนึง ชื่อ Medicine, The Forgotten Art ที่เรียบเรียงเอาบางบทจากบันทึกของ Hippocrates มาให้อ่านดู จะพบว่าตอนจบส่วนใหญ่ของแต่ละ case ตัวอย่าง ผป.ก็เสียชีวิตซะเยอะ

แต่ Hippocrates ก็ยังคงใช้เวลาดูแลผป.อยู่ต่อไป จดบันทึกต่อๆไป ก็ยังมีคนที่ "ไว้ใจ" และศรัทธาในคนๆนี้ ศรัทธาและไว้ใจลูกศิษย์ลูกหาคนที่เดินตามศึกษา ส่วนหนึ่งวก็คงจะเป็นเพราะมันไม่มีทางเลือกอื่นที่ดีกว่านี้ แต่ผลจากการที่ดคนไข้ศรัทธาและไว้ใจ เริ่มมีการร่วมมือในการให้ประวัติ ในการยอมให้ตรวจร่างกายอย่างละเอียด องค์ความรู้ทางการแพทย์จึงเริ่มสั่งสมมาทีละเล็กน้อย จวบจนปัจจุบัน

การศึกษาประวัติศาสตร์ที่ละเอียดและอย่างไตร่ตรองนั้น บางทีเราจะมองเห็น pattern อะไรบางอย่างที่เกิดซ้ำแล้วซ้ำอีก ข้อสำคัญคือมันพิสูจน์มาแต่โบราณกาลว่ามัน "ได้ผล" และบ่อยครั้งที่ concept โบราณหรือเก่าๆนี่แหละที่มัน simple แต่ได้ผลมาทุกยุคทุกสมัย เป็น "คุณค่า" ที่แท้จริง การศึกษาประวัตศาสตร์ที่ถ้าไม่ได้เอามามองดูว่ามัน work อย่างไร หรือที่ผ่านมาอะไรที่เรา "เริ่ม" ออกนอกลู่นอกทางและทำให้ล้มเหลวอย่างไร ก็คงเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย

เมื่อปี 2002 มีการประชุมใหญ่ที่ Geneva เรื่อง Medical Professionalism จัดโดยองค์กรแพทย์สองทวีป ได้แก่ ABIM (American Board of Internal Medicine), ACP (American College of Physician) และ European Federation of Internal Medicine เพื่อค้นหาว่า "อะไร" คือจิตวิญญาณของวิชาชีพแพทย์ อะไรคือ commitment ที่สำคัญของอาชีพแพทย์ ลงเอยสรุปออกมาเป็น 3 principles และ 10 commitments ลองพิจารณา 3 Principles ดู
1. Primacy of welfare of patients
2. Principle of autonomy
3. Principle of Justice

ข้อแรกนั้นใจความสั้นๆคือ แพทย์จะต้องคำนึงถึงประโยชน์ของผู้ป่วยเป็นอันดับหนึ่ง ฟังคุ้นๆไหมครับ จะกี่ร้อยพันปี จะให้พูดกันกี่ชาติ กี่ภาษา อะไรที่บ่งบอกถึง "พื้นฐาน" ความเป็นแพทย์ไม่เคยเปลี่ยน

เพราะอะไร?

เพราะความสำเร็จที่เราจะทำให้เกิดได้ นั่นคือการรักษาโรคหาย การสร้างเสริมสุขภาพแก่ประชาชนนั้น คนเหล่านี้เขาต้อง ไว้ใจแพทย์ ได้ก่อน เขาถึงจะให้ความร่วมมือ ร่วมมือที่จะให้ประวัติที่ละเอียดถูกต้อง ร่วมมือที่จะยอมให้เราตรวจร่างกายได้อย่างละเอียดเท่าที่จำเป็น เราถึงจะมีข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำวินิฉัยได้ เราถึงสามารถให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวและเขา "เชื่อ" นำเอาไปปฏิบัติ และมีสุขภาพที่ดีขึ้น

ผมเห็นด้วย 100% ว่า เราต้อง "ทำ" ไม่ใช่แค่พูดเฉยๆ เมจากเผยแพร่ concept โบราณเหล่านี้แหละครับ เมื่อสงสัยใน CPG ในกฏระเบียบ ในกฏหมายอะไรก็แล้วแต่ นำเอามาตรวจสอบว่ามันยังสอดคล้องกับ "ปรัชญา" เดิมของเราหรือไม่ การร่วมกันทำนั้นหมายความว่าเราไม่ได้เป้นแค่คน "Observe" อยู่วงนอก เฝ้าดูมวยว่าจะน็อคเขาหรือถูกเขาน็อค เชื่อหรือไม่การจะสร้าง attitude นั้น สามารถเริ่มได้จากการ appraise ในสิ่งที่เราคิดว่าดี บวกกับการ reprimand สิ่งที่เราคิดว่ามันสวนกับหลักปรัชญา เพียงเพราะคิดว่ามันเป็นสิ่งที่ยากจะทำ หรือหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ได้หมายความว่า "value" ดั้งเดิมจะเปลี่ยน แต่เราน่าจะเกิดความตระหนักมากกว่าว่าเราควรจะทำอะไรซักอย่างที่รักษา value เหล่านี้ให้ได้

มิเช่นนั้น อีกไม่นาน Principle ข้อที่หนึ่งอาจจะกลายเป็น Primacy of welfare of doctor & family ไปจนได้



Posted by : Phoenix , Date : 2006-01-13 , Time : 01:36:04 , From IP : 58.147.118.94

ความคิดเห็นที่ : 25


   ผมเข้าใจว่า "หลักการ" น่าจะเป็น "อมตะ" และเห็นด้วยกับหลักการครับ
แต่ด้วยจุดอ่อนที่ผมมีอยู่ตอนนี้ ผมยังไม่เห็นว่า "เทคนิก" ที่จะทำได้นั้น คืออะไร


Posted by : คุนิมุตซึ , Date : 2006-01-13 , Time : 02:15:58 , From IP : 172.29.7.196

ความคิดเห็นที่ : 26


   เริ่มจาก "เทคนิกที่ล้มเหลว" ก่อน

ถ้าพิจารณา "บันได" ของสิ่งที่เราต้องการ ก็จะเริ่มจาก "หลักการ" ที่ว่าเป็นอมตะ นั่นคือ
1. หมอต้องการให้คนไข้หาย คนธรรมดาสุขภาพดีแข็งแรง
2. ดังนั้นหมอจึงต้องวินิจฉัยโรคให้ถูก และให้คำแนะนำอันเป็นประโยชน์กับคนไข้
3. จะทำอย่างนั้นได้ คนไข้ต้อง "เชื่อและศรัทธา" ว่าหมอกำลัง "พยายาม" ทำอย่างที่ว่านี้อยู่ จึงจะให้ความร่วมมือ จึงจะตัดสินใจเชื่อฟังคำแนะนำ

ตรงประเด็นข้อสามนี้เองทำให้เกิดสาขาแตกแยกขึ้น ขึ้นอยู่กับเรา "ตีความ" และคิดว่าคนเราจะ "เชื่อและศรัทธา" ด้วย mechanism อะไรสำคัญที่สุด

เราเชื่อเพราะว่าพ่อแม่บอก ครูบอก เชื่อเพราะเห็นใบปริญญาที่แขวนไว้บนฝา เชื่อเพราะมีกฏหมาย reinforce ไว้ว่าถ้าเขาไม่ทำอย่างนั้นๆ เขาจะถูกฟ้องล้มละลาย เชื่อเพราะว่ามี vision & mission เขียนไว้อย่างนั้นให้อ่าน ฯลฯ

หรือเชื่อเพราะว่าคนที่เคยมารักษาที่นี่ เขารู้สึกว่าหมอดีเอาใจใส่ ก็เอาไปเล่าต่อๆกันไป เชื่อเพราะวจนภาษาและอวจนภาษาเวลาหมอสื่อสารกับเขา มันได้ "สื่อ" ไปด้วยว่าหมอคนนี้ trust-worthy เชื่อเพราะบุคลิก เชื่อเพราะคนๆนี้ "เป็นหมอ"

ถ้าตาม paragraph แรก มันมี "กระบวนการ" ที่สัมผัสจับต้องได้ทำให้เกิด เช่น มีกฏหมาย มีกฏโรงพยาบาล มีลายลักษณ์อักษร ถ้าตาม paragraph ที่สอง มันเป็นนามธรรม มันเป็นความรู้สึก มันไม่มีลายลักษณ์อักษร ตาม paragraph แรกนั้นเป็น "กระบวนการทำให้เชื่อ" ตาม paragraph


Posted by : Phoenix , Date : 2006-01-13 , Time : 02:37:39 , From IP : 58.147.118.94

ความคิดเห็นที่ : 27


   เริ่มจาก "เทคนิกที่ล้มเหลว" ก่อน

ถ้าพิจารณา "บันได" ของสิ่งที่เราต้องการ ก็จะเริ่มจาก "หลักการ" ที่ว่าเป็นอมตะ นั่นคือ
1. หมอต้องการให้คนไข้หาย คนธรรมดาสุขภาพดีแข็งแรง
2. ดังนั้นหมอจึงต้องวินิจฉัยโรคให้ถูก และให้คำแนะนำอันเป็นประโยชน์กับคนไข้
3. จะทำอย่างนั้นได้ คนไข้ต้อง "เชื่อและศรัทธา" ว่าหมอกำลัง "พยายาม" ทำอย่างที่ว่านี้อยู่ จึงจะให้ความร่วมมือ จึงจะตัดสินใจเชื่อฟังคำแนะนำ

ตรงประเด็นข้อสามนี้เองทำให้เกิดสาขาแตกแยกขึ้น ขึ้นอยู่กับเรา "ตีความ" และคิดว่าคนเราจะ "เชื่อและศรัทธา" ด้วย mechanism อะไรสำคัญที่สุด

เราเชื่อเพราะว่าพ่อแม่บอก ครูบอก เชื่อเพราะเห็นใบปริญญาที่แขวนไว้บนฝา เชื่อเพราะมีกฏหมาย reinforce ไว้ว่าถ้าเขาไม่ทำอย่างนั้นๆ เขาจะถูกฟ้องล้มละลาย เชื่อเพราะว่ามี vision & mission เขียนไว้อย่างนั้นให้อ่าน ฯลฯ

หรือเชื่อเพราะว่าคนที่เคยมารักษาที่นี่ เขารู้สึกว่าหมอดีเอาใจใส่ ก็เอาไปเล่าต่อๆกันไป เชื่อเพราะวจนภาษาและอวจนภาษาเวลาหมอสื่อสารกับเขา มันได้ "สื่อ" ไปด้วยว่าหมอคนนี้ trust-worthy เชื่อเพราะบุคลิก เชื่อเพราะคนๆนี้ "เป็นหมอ"

ถ้าตาม paragraph แรก มันมี "กระบวนการ" ที่สัมผัสจับต้องได้ทำให้เกิด เช่น มีกฏหมาย มีกฏโรงพยาบาล มีลายลักษณ์อักษร ถ้าตาม paragraph ที่สอง มันเป็นนามธรรม มันเป็นความรู้สึก มันไม่มีลายลักษณ์อักษร ตาม paragraph แรกนั้นเป็น "กระบวนการทำให้เชื่อ" ตาม paragraphที่สองนั้นเป็น "การกระทำทำให้เชื่อ" ในทางปฏิบัติเราก็ใช้ปนๆรวมๆกันไป ปัญหาที่ว่า "ล้มเหลว" นั้นจะเกิดจากการหนักไปทางใดทางหนึ่ง ละทิ้งอีกทางไปจนเกือบหมด สมดุลที่เกิดจะไม่มั่นคงถาวร ถามว่าตอนนี้กำลัง "เอียง" ไปทางไหน? และถามต่อไปว่าถ้าจะเอียงแล้ว "ควร" จะเอียงไปทางไหน?

ถ้าดูสิ่งที่เกิดขึ้นในขณะนี้ accountability ของแพทย์ "ดูเหมือน" จะถูกตรวจสอบโดยสื่อ โดยนักการเมือง โดยสังคม โดยสภากาแฟ จาก "ข่าว" ที่เป็น unilateral ดังตัวอย่างในกระทู้นี้ อ่านข่าวจบ "ถ้า" คนฟังรู้สึกว่า แหมขณะนี้ integrity ของวิชาชีพมันแย่ลง มันสั่นคลอน แปลว่า unilateral news นั้นมีน้ำหนักมากต่อ integrity ของวิชาชีพ ถ้าจะแก้โดย ban การออกข่าวไม่ดีซะก็อาจจะ work แก้โดยออกกฏหมายปรับให้ล่มจม ถอนใบอนุญาต สาธารณชนก็อาจจะรื้อฟื้นความเชื่อใจ เพราะมีบทลงโทษค้ำหัวอยู่ แก้โดย "มี" คณะกรรมการตรวจสอบมาตรฐาน สิ่งเหล่านี้เป็น "กระบวนการทำให้เชื่อ" ปัญหาก็คือมัน sustainable หรือไม่? หรือว่ามันมีแต่จะต้องการ process เหล่านี้มากขึ้นเรื่อยๆ? และไอ้การที่เรามี กระบวนการทำให้เชื่อ เหล่านี้เต็มไปหมดนั้น มันเป็น confidence หรือว่ามันเป็นการสร้าง false sense of confidence กันแน่ว่า ถ้ามีกรรมการตรวจสอลมาตรฐาน เราจะมีมาตรฐาน ถ้ามีกฏหมาย จะมีคนไม่ละเมิดกฏหมาย หรือว่าปัญหาในขณะนี้ สมดุลมัน "เอียง" ไปฝั่งหนึ่งมากเกินไปแล้ว?

อีกฝั่งของ "การกระทำทำให้เชื่อ" นั้น fix ปัญหาได้ช้ากว่าแน่นอน ไม่ทันใจเหมือนการออกหนังสือพิมพ์ ออกทีวี ออกกฏหมาย ตั้งคณะกรรมการ แต่ถ้าลองคิดดู พวกกระบวนการทั้งหลายแหล่ที่กล่าวมา การ "มี" กระบวนการยังไม่ทำให้เกิดความเชื่อความศรัทธาอยู่ดี ลงท้ายกระบวนการดังกล่าวทั้งหมดก็ต้องถูก "พิสูจน์ว่าไว้ใจได้" โดยผ่านทาง "การกระทำทำให้เชื่อ" เหมือนเดิม ก็จะเป็นการพิสูจน์สองเด้ง เด้งแรกพิสูจน์กระบวนการตรวจสอบผดุงความมาตรฐาน เด้งที่สองพิสูจน์ว่ามาตรฐานของสิ่งที่พิสูจน์นั้นถูกกระทำจริงๆในกรณีทั่วๆไป ไม่ใช่เฉพาะ case ที่มีปัญหา



Posted by : Phoenix , Date : 2006-01-13 , Time : 02:52:24 , From IP : 58.147.118.94

ความคิดเห็นที่ : 28


   “อาชีพแพทย์นั้นมีเกียรติ แพทย์ที่ดีจะไม่ร่ำรวย แต่ไม่อดตาย
ถ้าใครอยากร่ำรวยก็ควรเป็นอย่างอื่นไม่ใช่แพทย์ อาชีพแพทย์นั้น
จำต้องยึดมั่นในอุดมคติ เมตตากรุณาคุณ”

เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดชฯ พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบัน

Notebook ถูกยึดไป 3 วัน กลับมาอีกทีหลายเรื่องเลยแฮะ ^ ^”
เริ่มที่คุณ Shonigega ..... เงื่อนไขเริ่มน่าสนใจค่ะ และเห็นแก่ความกรุณาผสมกับอุตสาหะจะให้มาก่อน หนูเองก็เห็นแก่อยากได้อยู่เหมือนกัน ถ้าจะไม่ยอมแลกไม่ยอมเปลี่ยนอะไรด้วยเลย ก็คงจะ....ไม่ได้...ตามกฏสินะคะ

แต่เริ่มเดิมทีเลย ไม่เคยตั้งใจว่าจะ...ขาย...บริการ ค่ะ ถึงแม้จะมีหลายๆคนพยายามยั่วยุ เช่น ลูกสาวหรือจ๊ะ เรียนหมอใช่มั้ย เออดีๆ จบมาพ่อแม่จะได้สบาย เปิดคลินิกอยู่บ้าน นั่งนับแต่เงิน ซึ่งได้ฟังแล้วรู้สึกแปลกๆอย่างไรชอบกล อยากตอบไปว่า ยืนขายก๋วยเตี๋ยวหน้าบ้าน ก็นั่งนับเงินอยู่บ้าน ค่ะ ก็คง...ไม่น่ารัก... เลยตัดใจสงบปากสงบคำไว้ท่าจะน่ารักกว่า และเข้าเรื่องเลยคงจะดีกว่า...

เมื่อตั้งต้นว่าจะ...ขาย...เราจะคิดถึงอะไรบ้าง...ลูกค้า กำไร ขาดทุน ได้เปรียบ เสียเปรียบ อะไรอีก
แน่นอนว่าถ้าเมื่อไรตั้งใจจะขาย ก็คงต้องเตรียมใจที่จะยอมรับว่า ความศรัทธา ความไว้เนื้อเชื่อใจ การฝากผีฝากไข้ การยอมให้อภัยเมื่อพลาดพลั้ง การให้โอกาสสำหรับความผิดพลาด ...เหล่านี้ลดลง
จากคุณค่าซึ่งถูกแทนที่ด้วยราคา จะเหลืออะไรให้ซาบซึ้งสักเท่าไร เราคงไม่รู้สึกขอบคุณแม่ค้าขายข้าวแกงกันบ่อยๆ ใช่มั้ยคะ ถึงแม้จะตระหนักดีว่า อาชีพนี้ก็มีศักดิ์ศรี ไม่ต่างจากอาชีพของเรา

ในขณะที่ เราบางคนยังคงศรัทธาอยู่ว่า เมื่อตั้งต้นที่...ให้...รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และผู้ป่วยอาจจะไม่เปลี่ยนไป ซึ่งจะให้อะไร อย่างไร ก็คงเริ่มที่ เรามองเขาอย่างไร เห็นผู้ป่วยเป็นลูกค้า พฤติกรรมจะพ้นไปจากการแสวงหากำไร ก็คงไม่ เห็นผู้ป่วยเป็นคนมีทุกข์ จะเมตตา จะกรุณา ก็คงได้

คงไม่ปฏิเสธว่า เราอยู่ในกระแสของการเปลี่ยนแปลงค่ะ เนื่องจากรู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลง(ด้วยตัวเอง)อย่างชัดเจนเมื่อราว 2-3 ปี ที่ผ่านมา คือแต่ก่อนแต่ไรก็ไม่เคยทราบหรือสัมผัสได้ว่า ความสัมพันธ์ระหว่าง แพทย์กับคนไข้เป็นแบบ Paternalism เพราะเกิดมา 20 กว่าปี มันก็เป็น Authoritarianism มาตลอด หมอทุกคนที่เคยเจอทำท่าราวกับจะตะโกนใส่หน้าครอบครัวเราว่า “จงศรัทธา อย่าสงสัย” ยังโชคดีอยู่มากที่ยังไม่มีหมอคนไหนบอกเราว่า "ตรวจคนไข้ตั้งหลายสิบคน ก็ต้องพลาดกันบ้าง" หนูไม่แน่ใจเหมือนกันว่า ถ้าเกิด “โชคไม่ดี” ขึ้นมา ... หนูจะมีปฏิกิริยาอย่างไร



Posted by : Lucifer , Date : 2006-01-16 , Time : 16:42:43 , From IP : 172.29.4.254

ความคิดเห็นที่ : 29


   ความเห็นในกรณี คุณ Dhan ยกขึ้นมาเรื่อง
“ความสัมพันธ์ที่แย่ลงของหมอกับคนไข้ เกิดจากอะไร จากคนไข้อยากได้เงิน อยากได้มาตรฐานการรักษาแบบAmerican standard ในภาวะที่ประเทศกำลังจะล้มละลาย จากความไม่เข้าใจกัน จากสื่อมวลชนไม่มีจรรยาบรรณ จากนโยบายประชานิยมและทุนนิยมสุดโต่งของรัฐ จากภาระงานที่มากเกินคนธรรมดาจะทนไหว หรือจากมาตรฐานวิชาชีพ เป็น Multifactorial ครับแต่เราสามารถเริ่มต้นจากสิ่งที่เราแก้ไขได้ก่อนใช่ใหมครับ”
ให้ความเห็นว่า ใช่ค่ะ ... เห็นด้วย
เริ่มจากที่ ก่อนที่จะเกิด “เรื่อง” ดีมั้ยคะ ?
คนไข้อยากได้อะไร?
อาจารย์ Phoenix เคยสอนตอน Palliative Round ว่า...อยากรู้ว่าเขารู้สึกอย่างไรก็ให้ถามค่ะ เพราะเมื่อเดาเอาเองแล้วจะแน่ใจอย่างไร ว่าจะ...ตรง...กับที่...คิดเอาเอง
คุณ Dhan และ คุณ Shonigega คงเป็นศัลยแพทย์ (หนูแน่ใจว่ามี solid evidences มากพอที่จะเดาค่ะ)
เมื่อครั้งที่ round ศัลย์ ก็เดินตามศัลยแพทย์เข้าห้องผ่าตัดบ่อยๆ แต่ไม่ค่อยเห็นว่าจะมีใครชำเลืองตามองญาติคนไข้ที่รอระเกะระกะอยู่หน้าห้องผ่าตัดสักเท่าไร นั่งดีๆ บ้าง นอนบนเก้าอี้บ้าง นอนกับพื้นบ้าง หรือหนูจะสายตาไม่ค่อยดีก็ไม่ทราบ แต่อยากทราบว่า คุณ Dhan และ คุณ Shonigega เคยนึกอยากจะเดาดูบ้างมั้ยคะ ว่าเขาเหล่านั้น รอ...คาดหวังหรือ...อยากได้ อะไร


Posted by : Lucifer , Date : 2006-01-16 , Time : 16:43:19 , From IP : 172.29.4.254

ความคิดเห็นที่ : 30


   กรณีคุณคุนิมุตสึเรื่อง....บริบทเปลี่ยนไปเยอะเลย

ระบบ ในปัจจุบัน ทำให้ ความใกล้ชิด ระหว่างศิษย์ กับอาจารย์ ห่างไกลเกินกว่าจะถ่ายทอดสิ่งที่ Dhan อยากให้มี ไม่ว่าจะเป็นระบบการศึกษา พึ่งตนเอง การมี internet ที่ผมคิดว่า เด็กสมัยนี้เชื่อ มากกว่าการฟังอาจารย์พูด แล้วท่านคิดหรือว่า ท่านแค่พูดออกไปแล้ว เด็กจะ ฝัง สิ่งนั้นไป

หนูเคยพยายามจะใกล้ชิดอาจารย์อยู่ค่ะ แบบว่า ไปไหน ไปด้วย เวลา round ก็ไม่อู้หลบไปอ่านหนังสือ ทำใจอยู่ว่าสอบตกช่างมัน ไว้ไปอ่านสอบซ่อมตอนไม่ต้อง round เพื่อนมาเล่าว่า อาจารย์ถามว่า เธอเป็นอะไรน่ะ แปลก เกิดมาไม่เคยเจอคนอย่างนี้ ชอบเดินตามด้วย เค้าไม่ชอบให้เธอตามรู้มั้ย หนูก็ยังสงสัยมาจนทุกวันนี้ เวลา round ไม่ตามอาจารย์จะตามใคร??? วันร้ายคืนร้ายก็ไล่ให้ไปซื้อที่เตรียมไว้ไถนา หนูล่ะปวดใจ ถ้าเอาแต่กระแทกแดกดันแล้วไม่สอนเนี่ย จบไปหนูคงได้ไปไถนา แทนที่จะรักษาคนไข้อย่างที่ปราถนาค่ะ

เด็กอย่างหนูเนี่ยช่างไม่มีสัมมาคารวะเลยนะคะ ช่างเรียกร้องสิทธิบางอย่างซึ่งน่าจะถูกจำกัด ในบางสถานการณ์ จะคิดจะทำอย่างไรดีล่ะคะที่เพียงแค่ท่านพูดออกมาแล้ว หนูก็ยังจะฟัง เชื่อ แล้วยัง ฝัง สิ่งนั้นไป
ระบบการทำงานของอาจารย์แพทย์ ถูกบีบบังคับ จนบทบาทหน้าที่ที่พึงมีต่อลูกศิษย์ถูกจำกัดจนถึงเพียงนี้เลยหรือคะ

ถ้าเป็นการเรียกร้องมากไป หนูก็อยากจะขอความกรุณาอาจารย์แพทย์ช่วยชี้แนะว่า หนูต้องปฏิบัติตัวอย่างไรจึงจะได้...เรียน เท่าที่เคยเห็นนะคะว่าเพื่อนทำอย่างไรแล้วได้เรียน ก็...อ่านหนังสือ ใน OR ยืนพิงฝา นั่งเล่น คุยบ้าง เวลามีเรื่องน่าตื่นเต้นเดี๋ยวอาจารย์ก็เรียกไปดูเอง การเขย่งยืนดูจนขาแทบหลุดเนี่ย อาจจะเป็นการก้าวก่ายสิทธิส่วนบุคคลจนเกิดความไม่อยากจะ สอนได้ หรือหายหน้าหายตาไปบ้าง เวลามี case พี่ก็โทรเรียกเอง ไม่ต้องตามขอให้เกิดความ ไม่เอ็นดู เพราะขอมาก เพื่อนยังไม่ได้ ก็ไม่รู้จักแบ่ง หนูยังดื้อที่จะไม่เชื่ออยู่ค่ะ ว่าทำอย่างข้างต้นแล้ว...จะได้เรียน ไม่แน่ค่ะ ว่าจะพยายามอีกหน่อยถ้ายังคงไม่ได้เรียนอีก ก็อาจจะเลือกเปลี่ยนพฤติกรรม



Posted by : Lucifer , Date : 2006-01-16 , Time : 23:02:45 , From IP : 172.29.4.254

ความคิดเห็นที่ : 31


   น่าเห็นใจ Lucifer ครับ
แต่ผมอ่านแล้วก็งง งง ครับโดยเฉพาะ paragraph สุดท้าย อาจเป็นเพราะ ว่าผมสื่อไม่ดีเสียมากกว่า


สิ่งที่จะถ่ายทอดยากคือ "ความเอาใจใส่คนไข้" ครับ คงไม่ใช่แค่ "พูด" ว่าต้องเอาใจใส่ แล้ว ก็จะ "ฝัง" ในหัวเด็กไปเลยง่ายๆ ยิ่งอะไรๆ ทำให้การอยู่ใกล้กันระหว่างศิษย์กับอาจารย์นั้นน้อยลง ผมกำลังคุยอยู่ว่าเรามีวิธีไหน ให้เด็กรู้สึกถึงความสำคัญของการเอาใจใส่ และ เป็นห่วงคนไข้ "ในมือ" เรา ให้สอดคล้องกับ ระบบการศึกษา ในปัจจุบัน (ทำนองเน้น SDL แต่ให้รู้ว่า "คนไข้" เป็นคน ต้อง "เอาใจใส่" ไม่ใช่แค่ "case" ที่แ้ก้ปัญหาเป็นส่วนๆ)
ผมลองยกตัวอย่าง

เด็กน้อยมาด้วย UTI ที่มี VUR ด้วย หลัง D/C นัด follow up เพื่อ investigate แต่ด้วยเหตุผลที่เด็กไม่มีอาการอะไรแล้ว พ่อแม่เลยไม่พามาตามนัด เรามีความรู้สึกว่าต้อง "ตาม" เด็กน้อยกลับมาตรวจไหม หรือมันก็เป็นหน้าที่ของผู้ป่วยเอง ที่ต้องรับผิดชอบ ภาวะต่างๆที่อาจตามมาเนื่องจาก loss follow up...

มีวิธี "สอน" ไหม ว่าเป็น "หน้าที่" ของเราที่ต้องตามเขามา และจะรู้สึกผิดไหม หรือ "ต้อง" รู้สึกผิดไหม ถ้าเราไม่ตามกลับมา แล้วไปเจออีกทีหนึ่ง หลายปีต่อมา เด็กน้อยกลับมา ดวย renal failure

หรือตัวใครตัวมัน

(ตัวอย่างนี้ผมว่า่เกิดน้อยมากใน มอ. เพราะ อาจารย์ ที่ดูแลเด็ก กลุ่มนี้ มี "ความเอาใจใส่" คนไข้เป็นอย่างดี ครับ)

นั้นสินะครับ เราจะทำให้น้องๆ รู้สึกอย่างนี้ได้อย่างไร

หรือจำเป็นขนาด เอาใจใส่ ญาติคนไข้ที่รอผ่าตัด อย่าง Dhan หรือ Shonigega ผ่านายสมชายเสร็จ ก็เดินออกมาจากห้องผ่าตัด เรียกหาญาติของนายสมชาย เข้ามาอธิบายผลการผ่าตัด ให้ญาติๆที่เฝ้ารอผล และคงลุ้น น่าดู "ผมนายแพทย์ ... เพิ่งผ่าคุณสมชาย การผ่าตัดราบลื่นดีครับ พ้นขีดอันตรายแล้ว เราขอให้เขาอยู่ในห้องพักฟื้นสักระยะ แล้วจึงส่งกลับห้องพักครับ" เหมือนในหนัง (ผมคาดว่ามี บางคนทำอย่างนี้ ซึ่งน่าจะดี)

...............
เคยได้ยินไหม ที่มีเสียงสะท้อนว่า extern รุ่นหนึ่งของเรา "ไม่รัก" คนไข้

คาดว่า Lucifer คงไม่ได้อยู่ในกลุ่มนั้น
และคิดว่าเพื่อนๆ ของ Lucifer หลายคนก็ไม่อยู่ในกล่มนั้น

แต่มีความรู้สึกไหมว่า หลายคน นั้น เป็นส่วนน้อย หรือ ส่วนใหญ่..

เอ หรือ ผม เข้าใจผิดหมด ผมตีตนไปก่อนไข้หรือเปล่า น้องๆไม่ได้เป็นอย่างที่คิดสักหน่อย


Posted by : คุนิมุตสึ , Date : 2006-01-16 , Time : 23:51:12 , From IP : 172.29.3.88

ความคิดเห็นที่ : 32


   นิสัยเสียอย่างนึง (ในหลายๆอย่าง) ของผมคือ ชอบ blame ชาวบ้านไปทั่วครับ แต่อย่าถามนะว่าผมดีพอแล้วหรือ

ประเภท ด่าคนสูบบุหรี่ ทั้งๆที่ตัวเองก็สูบ ทำนองนั้นแหละครับ :-P


ดีใจที่กระทู้ดีๆ เคลื่อนไหวอีกครั้ง


Posted by : คุนิมุตสึ , Date : 2006-01-16 , Time : 23:57:46 , From IP : 172.29.3.88

ความคิดเห็นที่ : 33


   ความจำเป็นของการเอาใจใส่ ญาติผู้ป่วยที่เสนอไป หนูคงให้ความเห็นในมุมมองของศัลยแพทย์ไม่ได้ค่ะ คุณคุนิมุตสึคงต้องหวังเอาไว้ว่า คุณ Dhan และ คุณ Shonigega จะเข้ามาตอบเอง แต่ในฐานะคนถูกผ่าเสียเอง(คือหนูป่วยค่ะ) พ่อกับแม่ไม่ยอมรออยู่ที่บ้านดีๆ หนูก็เพียรจะบอกแล้วว่า เนี่ยอยู่กับหมอทั้งโรงพยาบาลแล้วอาจารย์ก็ไม่ปล่อยให้หนูเป็นอะไรหรอก ก็ยังอยากจะมาฟังกับหูมาดูกับตา หนูก็เลยเดาว่า ครอบครัวใครก็คงจะเหมือนๆ กัน จะน่าเสียดายมั้ยคะ ถ้าผู้ป่วยและญาติเห็นความสำคัญและจำเป็นของหมอแต่หมอกลับไม่เห็นความสำคัญและจำเป็นของตัวเอง

ใครๆเค้าว่า คนแก่จะชอบเล่าความหลัง หนูไม่อยากอยู่นานๆ เกินจำเป็นสักเท่าไรเลยค่ะ เดี๋ยวเรื่องเล่ามันจะเยอะ


Posted by : Lucifer , Date : 2006-01-17 , Time : 00:50:27 , From IP : 172.29.4.254

ความคิดเห็นที่ : 34


   ส่วนความเห็นของอาจารย์ Phoenix หนูเห็นด้วยและกะว่าจะไม่เถียงสักคำเลยค่ะ

แล้วก็หนูเปล่าโดด Physical fitness นะคะ เวลาในเครื่องเนี่ยมันเร็วกว่าบนข้อมืออยู่ประมาณ 15 นาทีเห็นจะได้


Posted by : Lucifer , Date : 2006-01-17 , Time : 00:54:43 , From IP : 172.29.4.254

ความคิดเห็นที่ : 35


   คุณคุนิมุตสึเชื่อไหมครับ ว่าผมทำอย่างที่ว่านั้นจริง ๆ อาชีพของผมมีงานหลักคือการซ่อมไส้เลื่อนกับตัดหนังกระจู๋ให้เด็ก ๆ ครับ หลังผ่าตัด ผมเดินออกมาเรียกผู้ปกครองมาพูดประโยคซ้ำ ๆ ที่ว่า "ผ่าตัดเรียบร้อยแล้วนะครับ เดี๋ยวน้องสมพรจะอยู่ในห้องพักฟื้นสักครู่ พอคุณหมอดมยาเห็นว่าเรียบร้อยดี ก็จะให้กลับบ้านได้" วันไหนครึ้มแดดขึ้นมา ผมโทรไปถามอาการหลังผ่าตัดถึงบ้านด้วยซ้ำ ที่ทำนี่ไม่ใช่เพื่อมนุษยชาติครับ

ผมทำงานด้วยเห็นแก่เงินครับ

คนเหล่านี้จ่ายเงินให้ผม ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ไม่จ่ายเงินสดให้พนักงานการเงิน(หน้าบูด)หน้าโรงพยาบาล เขาก็จ่ายภาษีให้รัฐบาลเอาเงินมาจ้างผม หรือหากเขาไม่จ่ายเลย เขาก็ยังใช้สิทธิ์ในการเป็นพลเมืองของประเทศนี้ ประเทศที่จ่ายเงินเดือนให้ผมทำงาน

ผมทำงานเพื่อเงินครับ และในขณะเดียวกันนั้น ด้วยจำนวนเงินเท่ากันนั้น ผมจะหาทางทำให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ ให้บริการที่ดีและน่าประทับใจขึ้นเรื่อย ๆ สำรวจหาข้อบกพร่อง ปัญหา และพยายามแก้ไขให้น้อยลงเรื่อย ๆ สิ่งเหล่านี้ผมทำเพื่อสนองความสุขส่วนตน ผมรู้สึกว่ากำลังเสพความสุขจาก "ความเป็นมืออาชีพ" จากการทำงาน ผมจึงทำ

ผมทำงานเพื่อความสาแก่ใจ และความสุขส่วนตนครับ และก็เชื่อว่าหลายคนที่ขายบริการผ่าตัดเหมือนผม ก็กำลังทำสิ่งที่คล้ายกันนี้ และเรื่องเหล่านี้ไม่ต้องอธิบายด้วยสารัตถะทำนองเพื่อประโยชน์ของมวลมนุษยชาติ หรืออัครคุณธรรมเอวังมังก้าอันใด มันอธิบายได้ง่ายเพียงเรื่องของ "ผลประโยชน์ต่างตอบแทน"

เวลาผมไปตัดผมร้านเท่ห์ (ห้าสิบบาท) ผมก็รู้สึกว่าคุณเท่ห์แกมีความสุขทำนองเดียวกับที่ผมมีเวลาทำงาน เวลาผมเอามอเตอร์ไซค์ไปซ่อมร้านพี่ปรีชา ผมเดาเอาจากรอยยิ้มของแก ระหว่างที่ถอดล้อรถไปแช่น้ำ ว่าแกก็คงมีความสุขทำนองเดียวกับตอนที่ผมซ่อมกระจู๋เด็ก นี่แหละ

จะว่าแกทำเพื่อเงิน ผมก็ทำเพื่อเงิน จะว่าผมรักษาไข้เพื่อมนุษยชาติ พี่ปรีชาแกคงซ่อมมอเตอร์ไซค์เพื่อมนุษยชาติ เช่นเดียวกัน

สัญญาว่าพรุ่งนี้ผมจะมาคุยกับคุณลุซิเฟอร์ในประเด็นที่เอามาแลกเกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติตนเพื่อเป็นนักเรียนแพทย์ผู้น่ารัก ขอติดไว้ก่อนขอรับ


Posted by : Shonigega , Date : 2006-01-17 , Time : 19:55:21 , From IP : pedsurg.med.osaka-u.

ความคิดเห็นที่ : 36


   การบ้านครับ คุณลุซิเฟอร์ลองเข้าใน site ของ pubmed และพิมพ์คำว่า generation-X หรือ generation-X and medical profession เพื่อสืบค้นดูนะครับ หากเห็นบทความไหนน่าสนใจ ลองหามาอ่านสิครับ

เรากำลังจะสำรวจและเรียนรู้ร่วมกันในประเด็นเรื่อง "การเปลี่ยนแปลงในทัศนคติและวิถีชีวิตของเยาวชนยุคปัจจุบัน" กับ วิชาชีพเวชกรรม กันครับ


Posted by : Shonigega , Date : 2006-01-17 , Time : 19:59:34 , From IP : pedsurg.med.osaka-u.

ความคิดเห็นที่ : 37


   อ่านมายืดยาว 30 กว่าตอน

ผมว่าคุณ Shonigega น่าใช้คำว่าทำเพื่อตัวเอง มากกว่าทำเพื่อเงิน (ผมคิดว่า ตอนที่ทำ คงไม่ได้คิดถึงเงินจริงๆ)

ผมเห็นด้วยกับหลักการคิดที่ว่า ทำเพราะสนุก ท้าทาย มีความสุข ที่ได้ทำ และทั้งหมดคือเพื่อตัวเอง

อ่านความคิดเห็น โดยเฉพาะอันก่อนสุดท้ายนี่ ผมยิ่งคุ้นๆ ว่า คุณ Shonigega มีแนวคิด แนวปฏิบัติ เหมือนเจ้านายผมตอนนี้จริงๆ แถมแนวประชดประชัน นี่ก็คล้ายๆกัน

เป้าหมายที่คุณคุนิมุตซึ กับคุณ Shonigega น่าจะเป็นอันเดียวกัน แต่วิธีคิดต่างกัน อย่างคนแรกคิดนั้นพื้นๆ น่าจะเหมือนกับหลายๆคนคิด ทำนองเหมือนนางงามเขาคิดกัน แต่ยิ่งทำจะยิ่งเครียด เผลอๆ ไม่มีความสุขเอา อย่างคนถัดมาแนวคิดนั้นยิ่งทำผู้ทำก็คงยิ่งมีความสุข ทั้งที่จุดมุ่งหมายน่าจะเป็นที่เดียวกัน

มันอยู่ที่วิธีมองจริงๆด้วยสิ



Posted by : OmniSci , Date : 2006-01-17 , Time : 23:22:25 , From IP : 172.29.1.148

ความคิดเห็นที่ : 38


   ผมคิดว่าตรรกะของคุณ shoni มีนัยยะที่ต้องตีความ และผมก็คือข้อสรุปที่ไม่ได้เข้ากันกับเรื่องเล่าเร้าพลังเท่าไร

คุณ Shoni บอกว่าทำงาน "เพื่อเงิน "และ "เห็นแก่เงิน" เราลองมา apply ใช้ absolute condition หรือ value-related condition ดู

คุณ Shoni กรุณาออกมาอธิบายชี้แจงกับญาตคนไข้ตอนออกจาก OR กิจกรรมนี้ไม่ได้เพิ่มค่าตัวของคุณ Shoni ทำหรือไม่ทำ โดยเฉพาะอย่างในโรงพยาบาลรัฐคือ มอ. ไม่ได้เพิ่มค่าตัว ไม่ได้เพิ่มเบี้ยเลี้ยงพิเศษ แต่อย่างใด มองตามเนื้อผ้า การออกมาอธิบายคุณพ่อคุณแม่ของเจ้าเดกที่พึ่งถูกตัดหนังหุ้มเจี๊ยวไปนั้น น่าจะเป็น self-less มากกว่ากิจกรรมที่เห็นแก่เงิน เห็นแก่อามิส

คุณ Shoni มีจำนวนงานวิจัยท่วมท้นมากกว่าใครๆในภาควิชาฯ ผมสงสัยว่าตอนที่คุณ Shoni มีคำถามที่สนใจจะตอบนั้น นึกถึงเงินที่จะได้เพิ่มมาสักเท่าไหร่ เพราะคณะไม่ได้ relate ค่าตอบแทนกับเรื่องแบบนี้

คุณ


Posted by : Phoenix , Date : 2006-01-18 , Time : 19:10:54 , From IP : 58.147.31.6

ความคิดเห็นที่ : 39


   ผมคิดว่าตรรกะของคุณ shoni มีนัยยะที่ต้องตีความ และผมก็คือข้อสรุปที่ไม่ได้เข้ากันกับเรื่องเล่าเร้าพลังเท่าไร

คุณ Shoni บอกว่าทำงาน "เพื่อเงิน "และ "เห็นแก่เงิน" เราลองมา apply ใช้ absolute condition หรือ value-related condition ดู

คุณ Shoni กรุณาออกมาอธิบายชี้แจงกับญาตคนไข้ตอนออกจาก OR กิจกรรมนี้ไม่ได้เพิ่มค่าตัวของคุณ Shoni ทำหรือไม่ทำ โดยเฉพาะอย่างในโรงพยาบาลรัฐคือ มอ. ไม่ได้เพิ่มค่าตัว ไม่ได้เพิ่มเบี้ยเลี้ยงพิเศษ แต่อย่างใด มองตามเนื้อผ้า การออกมาอธิบายคุณพ่อคุณแม่ของเจ้าเดกที่พึ่งถูกตัดหนังหุ้มเจี๊ยวไปนั้น น่าจะเป็น self-less มากกว่ากิจกรรมที่เห็นแก่เงิน เห็นแก่อามิส

คุณ Shoni มีจำนวนงานวิจัยท่วมท้นมากกว่าใครๆในภาควิชาฯ ผมสงสัยว่าตอนที่คุณ Shoni มีคำถามที่สนใจจะตอบนั้น นึกถึงเงินที่จะได้เพิ่มมาสักเท่าไหร่ เพราะคณะไม่ได้ relate ค่าตอบแทนกับเรื่องแบบนี้

คุณ Shoni ไปฝึกฝีมือ ณ ทะเลตะวันออกอยู่หลายปี แรงบันดาลใจนั้นเป็นเรื่องเงินสักเท่าไหร่?

ไม่ได้จะจับผิดอะไร แต่เด็กเรามีแนวโน้มจะจับอะไรต่อมิอะไรฉาบฉวยและรีบด่วนสรุป เกรงว่า Koan จะไม่ได้ถูกตีความ



Posted by : Phoenix , Date : 2006-01-18 , Time : 19:13:37 , From IP : 58.147.31.6

ความคิดเห็นที่ : 40


   ครบ 24 ชั่วโมงที่ "รอ" คุณ shonigega มาทำตามสัญญาที่ให้ไว้เมื่อวานค่ะ หนูจะสรุปได้ว่า คุณ shonigega ไม่ทำตามคำสัญญาได้หรือยังคะ แต่หนูคงไม่ตีความเลยเถิดไปถึงขนาดที่จะคิดว่า คุณshonigega เป็นคนไม่รักษาสัญญา เพราะหนูกำลังคิดเผื่อว่า คุณ shonigega คงมีความจำเป็นอะไรก็ตามที่หนูยังไม่ทราบ ณ ขณะนี้ ซึ่งความจำเป็นนั้นอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้หนูรอคุณนานกว่า "พรุ่งนี้" ที่สัญญา

Posted by : Lucifer , Date : 2006-01-18 , Time : 20:10:57 , From IP : 172.29.4.136

ความคิดเห็นที่ : 41


   ผมอาจจะไม่ได้เรียนอะไรมากนักในปีสองปีที่ผ่านมา แต่สิ่งหนึ่งที่คุณแม่บ้านซึ่งมากวาดขยะตรงเวลาทุกเช้าและพนักงานขายของชาวญี่ปุ่นสอนผมไว้ก็คือ หากเรายอมให้วินัยในชีวิตอย่างใดอย่างหนึ่งเป๋ไปง่าย ๆ ความล้มเหลวในเรื่องอย่างอื่นมันก็จะตามมาอย่างไม่อาจแยกกันได้ การรักษาคำพูดและเวลานัดเป็นวินัยประการหนึ่งที่ผมจะไม่ยอมให้มันล้ม

เหลือเวลานัดอีกสองชั่วโมงครับคุณลูซิเฟอร์ อย่ามาปรักปรำกันง่าย ๆ

ผมตั้งใจจะหยิบโจทย์ของคุณลุซิเฟอร์มาคุยครับ ย้อนความเดิมของโจทย์ก็คือ คุณลุซิเฟอร์อาจจะกำลังตัดสินใจลำบากว่าจะยึดแนวใดดี ในการที่จะประสบความสำเร็จในการเตรียมตนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมได้ ระหว่างแนว "เด็กตู้" แนว"ขาราวด์" ระหว่างแนว "สิงห์ตำราต่างประเทศ" หรือแนว "เกาะติดโพย"

ลำบากนะครับที่จะตอบ คำตอบทำนองที่ว่า "หนูทำอย่างนี้สิจ๊ะ หนูต้องมาราวด์ให้สม่ำเสมอ หนูต้องอ่านหนังสือให้มาก หมั่นตอบปัญหาของพี่ ๆ และอาจารย์ให้ได้" นั้นคุณลุซิเฟอร์คงหาได้ตามชั้นบรรยากาศทั่วไป คำตอบทำนอง "ตอบไม่ได้หรอกครับ แนวการเรียนนี่ของใครของมัน ต้องค้นตัวเองให้พบ" นี่ออกจะฟังคุ้นหู แต่ก็ดูลอยตัวหนีคำถามไปหน่อย เอาอย่างนี้ครับ เอาคำตอบของเด็กหลังห้องอย่างผมไป

ก. ความรู้ที่ใช้ในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมพื้นฐานทั่วไป ผมเรียนรู้จากการเลียนแบบเป็นส่วนใหญ่ครับ ผมหมายถึงความรู้ในการรักษาหวัด รักษาอาการปวดหัว ท้องเสีย เบาหวาน ความดันสูง เหล่านี้เด็กหัวขี้เลื่อยอย่างผม เรียนจากการเลียนแบบคณาจารย์และแพทย์รุ่นพี่ เห็นเขาสั่งยาชื่ออะไร ให้กินวันละกี่เม็ด ก็จำและทำตามนั้น ทำบ่อยเข้าก็เกิดอัตตาว่าเราก็เป็นเหมือนกันแฮะ
ความรู้แบบครูพักลักจำทำนองนี้ หากต้องการจะมีให้มาก ก็ให้ทำตนเป็นขาราวด์ครับ ตามดูให้มาก ทั้งการดูแลคนไข้ในวอร์ด การออกตรวจผู้ป่วยนอก การเข้าห้องผ่าตัด ทำตัวเป็น scut monkey ที่ซุกซนใฝ่รู้ใฝ่ดู ขอลองทำเมื่อมีโอกาส ไม่นานพี่ "ชำนาญ" ก็ไม่หนีหนูไปไหน พ้นหกปีไป แสดงบทแพทย์ได้คล่องแน่

ข. กระนั้นความรู้จากการเลียนแบบเพียงอย่างเดียว เสี่ยงครับ ในกรณีที่สถานการณ์ทางคลินิก ไม่ใช่สถานการณ์ทั่วไป แต่เป็นสถานการณ์ที่ต้องการดัดแปลงความรู้เดิม การผสมผสานความรู้ หรือแม้กระทั่งการหาความรู้ใหม่ (ผมหมายถึงการวิจัย) การจะทำเรื่องเหล่านี้ได้จะต้องมีความรู้ทางบุ๋นกำกับอย่างเพียงพอ ผมหมายถึงความรู้ในเชิงทฤษฎีทั้งทางกว้างและลึก ความรู้เหล่านี้ได้จากการอ่านตำรา ถามผู้รู้

แต่กุศโลบายที่จะทำให้ความรู้เชิงทฤษฎีไหลเข้าสมองส่วน cortex ได้ดีที่สุดคือการตั้งคำถาม เพื่อที่จะกระตุ้นให้ตนเองหาความรู้

และคำถามที่ "มีความหมาย" ต่อการเรียนแพทย์มากที่สุดนั้น แขวนลอยอยู่บนหอผู้ป่วยครับ

ทำเรื่องสองอย่างนี้ให้สมดุลย์ให้ได้ ขึ้นวอร์ดเพื่อฝึกตนให้คุ้นชินกับวิถีของงานคลินิก ทั้งการดูแลในเชิงเวชกรรม และปฏิสัมพันธ์กับตัวละครบนนั้น เก็บเอาคำถามจากบนวอร์ด มาหาคำตอบที่ลานใต้หอ หรือห้องสมุด ตั้งคำถามจากตรงนั้น เพื่อไปหาคำตอบต่อบนวอร์ด ตั้งเป้าหมายจากตรงนั้น ว่าจะไปเรียนรู้อะไรต่อบนวอร์ด

เพื่อที่จะคุยต่อ ผมขอหยุด "ฟัง" ครับ หวังว่าจะได้รับการสั่งสอนบ้าง



Posted by : Shonigega , Date : 2006-01-18 , Time : 22:15:46 , From IP : pedsurg.med.osaka-u.

ความคิดเห็นที่ : 42


   ขอโทษค่ะ หนูผิดเองที่ไม่ได้ทำให้เข้าใจก่อนว่า เริ่มนับเวลาตั้งแต่ 19:55:21 ซึ่งเป็นเวลาที่คุณ Shonigega "สัญญา" และต่อให้รวม 15 นาทีที่เครื่องเร็วกว่านาฬิกาข้อมือ ที่เวลา 20:10:57 ก็ครบ 24 ชั่วโมงที่เป็น "พรุ่งนี้" ในการรับรู้ของหนูอยู่ดี นี่นับเป็นความผิดพลาดจากการฉาบฉวย ด่วนสรุป ตีความไปเองมั้ยคะ?

หนูว่าจะหยุด "ฟัง" เช่นกันค่ะ และจะไม่ไห้ความเห็นอีกจนกว่าจะแน่ใจว่า...จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง ไม่มีการขยับของกระทู้อีก
หนูจะ "รอ" จนกว่าจะได้ข้อมูลทั้งหมดมาเพื่อทำความเข้าใจและสรุปความ
คุณ Shonigega คาดการณ์ได้มั้ยคะ ว่า...เมื่อไร...
และ ขอบคุณนะคะ ที่กรุณาทำให้เห็นว่า ได้พยายามที่จะ..รับได้..และ...เข้าใจ...


Posted by : Lucifer , Date : 2006-01-18 , Time : 23:48:47 , From IP : 172.29.4.136

ความคิดเห็นที่ : 43


   แล้วก็....

หนูรักอาจารย์ที่นี่หลายท่านก็ด้วยเหตุที่รู้สึกว่าท่าน ...รับได้...และ...เข้าใจ...เช่นกันค่ะ คงจะมีสักวันที่หนูจะมีโอกาสได้..รัก..คุณ Shonigega นะคะ



Posted by : Lucifer , Date : 2006-01-19 , Time : 00:10:47 , From IP : 172.29.4.136

ความคิดเห็นที่ : 44


   koan


a paradoxical anecdote or riddle, used in Zen Buddhism to show the inadequacy of logical reasoning and provoke enlightenment.


Japanese, lit. matter for public thought from Chin. gōngàn official business

Oxford University Press, 2004


Posted by : คุนิมุตซึ , Date : 2006-01-19 , Time : 10:14:45 , From IP : 172.29.3.88

ความคิดเห็นที่ : 45


   การทำงานเพื่อ เงิน มันผิดตรงไหน

การทำงานเพื่อเงินแต่เพียงอย่างเดียว จนลืมคุณธรรม ไม่รู้จักผิดชอบชั่วดีและนำผลร้ายแก่ส่วนรวมต่างหาก ที่ควรประนาม การมีอาชีพสุจริตและมีรายได้อย่างพอเพียงก็เป็นเรื่องปกติของคนในสังคมอยู่แล้ว

การที่ท่านหมอ (โชนิ)เกะกะ ทำวิจัย ได้มีโอกาสคุยกับญาติคนไข้ และอื่นๆ(ที่ดี)อีกมากมาย นั้นก็เป็นเรื่องปกติที่หมอควรทำ หมอที่ดีคนอื่นๆในโลกเขาก็ทำ หรือว่าสิ่งที่ควรเป็นนอร์ม กลับเป็นเรื่องพิเศษในสถาบันแพทย์แห่งนี้

การทำวิจัยเชิงคลินิก เพื่อให้ได้องค์ความรู้ในการรักษาที่ดีขึ้นนั้น ถ้าแพทย์ไม่ทำแล้วใครจะทำ ดังนั้นเรื่องนี้ แพทย์ควรจะต้องมีส่วนร่วมอยู่มาก เป็นเรื่องตรงไปตรงมา การคุยกับคนไข้และญาติคนไข้ เป็นเรื่องที่ท่านหมอๆทั้งหลายต้องทำอย่างยิ่ง คงไม่ต้องอธิบายเหตุผลกันแล้ว ในสมัยบุราญ เคยได้ยินอาจารย์แพทย์ท่านหนึ่งที่เน้นเรื่องนี้มาก นามว่า Dr. Expensive Silk (นามแฝง) อย่างไรก็ตามนักศึกษาแต่ละวอร์จะมีโอกาสเห็นของจริงได้น้อยมาก เพราะ.....
-เวลาแพทย์ราวด์คนไข้ ญาติคนไข้ ไม่มีสิทธิอยู่ในวอร์ดนั้น
-คนไข้เยอะมาก ราวด์กันจริงๆ เอาแบบได้คุยกับคนไข้ และญาติตามความเหมาะสม อาจจะได้ราวด์กันครึ่งค่อนวัน แต่สถานการณ์หาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะ ต้องไปเข้า คอนเฟอร์เรนซ์ ต้องไปออกตรวจโอพีดี ต้องไปเข้าโอ อาร์ เล็ก โอ อาร์ ใหญ่ อื่นๆอีกมากมาย

....จนกระทั่งวันหนึ่ง สิ่งดีๆ ที่เป็น เดอะ มัสท์ (ต้องทำ) เหล่านี้สูญหายไปจนกลายเป็นนอร์ม และ/หรือ ข้อแก้ตัว หลายปีผ่านไป เมื่อพบท่านหมอบางท่านกระทำสิ่งเหล่านี้ ก็บูชากันใหญ่ว่า โอ้ ใช่แล้ว ถูกแล้ว ดีแล้ว

คำถามสำหรับวันนี้ก็คือ จะทำอย่างไรให้การทำวิจัย การให้ข้อมูลกับคนไข้และญาติคนไข้ เป้นข้อปฏิบัติปกติของแพทย์ในสถาบันแห่งนี้และประเทศนี้ หากใครละเลยถือว่าเป็นเรื่องไม่สมควร ควรตำหนิ บริบทและเงื่อนไขคือ อัตราส่วนของหมอกับคนไข้ไม่พอเหมาะ คนไข้มาก งานสอนเพียบ งานขยะเยอะ "ไม่มีเวลา"คุย "ไม่มีเวลา"ทำวิจัย" หากแต่...ถ้าเราพัฒนาได้ตามโจทย์นี้ แพทย์มีเวลาอธิบาย หรือ เอ็ดดุเข็ด คนไข้และญาติ ปัญหา ความเชื่อเก่าๆ เชยๆ แบบต้องมีศรัทธาในแพทย์ ห้ามสงสัย ห้ามถามหมอ คงจะค่อยๆ หมดไป และอาจรวมถึงการฟ้องหมอ หรือความเข้าใจผิดระหว่างแพทย์กับคนไข้

คติสำหรับวันนี้ "ผู้ใดมีความรัก "อย่างไม่มีเงื่อนไข" หัวใจจะกว้างใหญ่"



Posted by : เวลากลืนกินทุกอย่าง , Date : 2006-01-20 , Time : 02:07:41 , From IP : pool-71-105-99-190.l

ความคิดเห็นที่ : 46


   ภาษาไทยนี้เป็นภาษาที่ละเอียดอ่อนจริงๆครับ บางทีแค่ไม้ยมก หรือเว้นวรรค ก็สามารถสื่อผิดไปได้ไกล ไม่ต้องพูดถึงสื่อผ่านการพิมพ์ที่ไม่ได้ยินน้ำเสียงและอวจนภาษาร่วมด้วย

ไม่เคยมีคนบอกว่าการทำงานเลี้ยงชีวิตเป็นเรื่องไม่ดีเลยครับ ในกระทู้นี้ และเราไม่เรียกคนที่ทำงานเลี้ยงชีพปกติว่าเป็นคนเห็นแก่เงินด้วย (ถ้าผมยังใช้คำว่า "เห็นแก่เงิน" อย่างมีมิติถูกต้องหรือตรงกันอยู่นะครับ นั่นคือ "เป็นหลัก หรือเป็นสัมบูรณ์ หรือเป็นเหตุผลอย่างเดียว")

ทำอะไรโดยเห็นแก่เงินนั้น มันจะปลิ้นไปอยู่ในย่อหน้าที่สองของคุณเวลากลืนกินทุกอย่างนั่นแหละครับ

แต่ถ้าเห็นแก่เงิน (อีกแบบนึง แปลแค่ "ตามตัวอักษร" ไม่ได้มีมิติลึก หรือ "โดยนัย") เพื่อนำเงินเพียงพอไปเลี้ยงดูบุตรธิดา สนองคุณบิดามารดาตามอัตภาพ ปกติผมคิดว่าเราไม่ได้เรียกการทำงานแบบนี้ว่าเห็นแก่เงินนี่นา? หรือว่าเราควรจะทำให้คำว่า "เห็นแก่เงิน" นี้ไม่มีมิติลึกดี ใช้ได้กับทุกกรณี ใช้ได้กับทุกงานที่มีเงินเป็นค่าตอบแทน ผมคิดว่านั่นทำให้ภาษาเราขาดมิติลึกไปเปล่าๆ ลดพลังของภาษาไปอย่างน่าเสียดาย

คุณ Shonogiga ได้สร้างนิสัยน่ารักที่พึงกระทำขึ้นอย่างที่กล่าวถึงนั้น เป็นการกระทำที่ selfless และไม่เห็นแก่เงิน ประเด็นนี้ผมว่าน่าเรียนครับ น่าเรียนและน่าเลียน ผมคิดว่าของที่น่าเรียนและน่าเลียน ต้องทำให้ซับซ้อนน้อยลงนิดนึง นำมาพิจารณาว่ากระบวนการสอนนั้นทำให้เกิดความ "เข้าใจผิด" ของ target group เราได้หรือไม่

ขออนุญาตยกตัวอย่าง ใน session teaching medical interview เรามี scenario ว่าผป.เป็นผู้ป่วยระยะสุดท้าย ที่ทางการแพทย์ไม่ได้ให้อะไรมากแล้วที่จะบรรเทาอาการลง ผป.จะค่อยๆทรุดลงและเสียชีวิตลงในที่สุด เมื่อไหร่ไม่ทราบ แต่ ณ ขณะนี้อาการก็ stable และไม่ได้ on IV หรือ medication อะไร แต่พอแพทย์จะ discharge ผป. ลูกชายที่มาเฝ้าไม่ยอมให้ discharge เราก็จัดให้มีคนแสดงเป็นลูกชาย แสดงเป็นหมอ แล้วจัดในสนทนาไปเรื่อยๆตาม theme นี้ และนักศึกษาที่เหลือก็ observe สนทนากันอยู่ประมาณ 30 นาที คนทำก็ทำได้ดีมากทีเดียว ถามให้เข้าใจว่าทำไมลูกชายจึงไม่อยากให้ discharge มีความไม่สบายใจ ไม่มั่นใจเรื่องการดูแลอะไรหรือไม่ ต้องการให้รพ.ช่วยเหลืออะไรอย่างไรบ้าง ฯลฯ เพื่อเป็นการแสดงความเคารพต่อ autonomy ของผป.และญาติและ beneficence ของผป.และญาติให้มากที่สุด

แต่ปรากฏว่ามีนักศึกษาที่ observe วิจารณ์ว่า สิ่งที่เขาเห็นก็คือ หมอพยายามเกือบครึ่งชั่วโมงเพื่อที่จะไล่คนไข้กลับบ้านให้ได้

น่าสนใจไหมครับ

เราเคยทราบมาก่อนแล้วครับว่า บริบท สามารถมีผลต่อปริมาณและเนื้อหาการรับรู้ เราทราบด้วยว่า learning style ก็มีผลต่อรูปแบบการสื่อและความมีการเลือกคัดกรองสิ่งที่คนต้องการจะรู้ ตัดทิ้งสิ่งที่ไม่ต้องการรู้ และบางที backgroud ของความคิด ของความเป็นมา ของความเชื่อ หรือของสิ่งที่เขาเห็นมาทุกวัน เกิดขึ้นทุกวัน สิ่งเหล่านี้มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ ต่อการแปลผล ต่อการสรุป และแตกต่างกันออกไปได้อย่างมากมาย

ลองคิดดูว่าที่นักศึกษาแพทย์นั่งตาแป๋วที่ OPD ดูอาจารย์ตรวจ ดูอาจารย์ซักประวัติ คิดในใจว่าวันนึงฉันจะเก่งแบบนี้ จะทำให้ได้แบบนี้ เมื่อท่านได้ฟังเรื่องที่ผมเล่าให้ฟัง ท่านแน่ใจหรือไม่ว่านักศึกษาเห็น เรียน ได้ยิน สิ่งที่ท่านหวังว่าเขาควรจะเห็น เรียน หรือได้ยินจริงๆ?

ยากที่สุดโดยเฉพาะอย่างยิ่งสาระที่เป็นนามธรรม ที่เป็นเจตคติครับ เพราะของพวกนี้ถ้าไม่ตั้งใจจะเสาะแสวงหา จะเรียนเรื่องนี้ๆจริงๆ มันมองไม่เห็นทั้งๆที่คาตาอยู่ ผมเคยพากลุ่มนักศึกษาแพทย์ไปดูผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อนที่หอผู้ป่วย ถามคำถามไปว่าคนที่เป็นโรคนี้นี่เขาทุกข์เรื่องอะไร? ลองไปหาคำตอบดู ปรากฏว่ากลุ่มแยกย้ายไปหาหนังสือ หาตำราจากชั้นหนังสือ จากโต๊ะกลาง จาก notebook บ้าง ไม่มีใครเดินไปถามผู้ป่วยว่าเขาทุกข์เรื่องอะไร

แปลกดีไหมครับ? แล้วนี่ถ้าที่เขาค้นมา อ่านมาจากตำรา "มาตรฐาน" เกิดไม่ตรงกับที่คนไข้บอก เขาจะเชื่อใครดี?

การเรียนแบบ Koan เรียนแบบคิด วิเคราะห์ แบบ shock-therapy นั้นดีครับ สนุกดีด้วย enlightening ดีด้วย แต่ในนิกายเซ็นนั้น ยังต้องมีอาจารย์เซนเซดูแล อยู่ใน environment ที่ control เป็นอย่างดี เซนเซประเมินลูกศิษย์ แล้วเลือก koan ให้เหมาะกับวุฒิภาวะ ท้าทายต่อวุฒิภาวะ เราทำอย่างนั้นยากในกระดานข่าวสาธารณะ จริงไหมครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2006-01-20 , Time : 09:39:45 , From IP : 172.29.3.120

ความคิดเห็นที่ : 47


   น่าสนใจค่ะ

ในฐานะนักเรียนแพทย์ หนูก็เคยได้ยินและพอจะมีความรู้เรื่อง "ความเคารพต่อ autonomy และ beneficence ของผู้ป่วยและญาติ" อยู่บ้าง และมีข้อสงสัยที่จะขอความกรุณาอาจารย์ Phoenix ชี้แจงเพิ่มเติมสักหน่อย
1. จากตัวอย่าง ใน session teaching medical interview ที่ยกมา
ก่อนเริ่ม session อาจารย์ได้ประเมินก่อนหรือไม่ว่า นักศึกษาที่ observe บทละครซึ่งถูกแสดงอย่างดีนั้น เคยได้ยิน รู้จักและเข้าใจ autonomy,beneficence ของผู้ป่วยและญาติหรือไม่ ถ้าเคยได้ยิน หรือรู้จัก เขาเข้าใจว่า...อย่างไร... คะ

ถ้านักศึกษาที่ observe วิจารณ์ว่า สิ่งที่เขาเห็นก็คือ "หมอพยายามเกือบครึ่งชั่วโมงเพื่อที่จะไล่คนไข้กลับบ้านให้ได้"

หนูสงสัยต่อไปว่า
2. ในสถานการณ์เดียวกันนี้ ผู้ป่วยและญาติจะเข้าใจ อย่างไร

หนูยังไม่ให้ความเห็นนะคะ...เพียงแต่...สงสัย และจำเป็นต้องได้ข้อมูลเพิ่มเติมค่ะ


Posted by : Lucifer , Date : 2006-01-22 , Time : 16:11:39 , From IP : 172.29.4.31

ความคิดเห็นที่ : 48


   "นักศึกษา" ในบริบทข้างต้น อยู่ในระดับ post-graduate ครับ เนื่องจากไม่ได้ทราบประวัติการศึกษาโดยละเอียดของ individual เลยต้อง assume ว่า principle of ethics นั้นรู้มาแล้ว (ระดับนศพ. เอง ผมคิดว่าเรื่องนี้ covered มาตั้งแต่ปีต้นๆเลย ก่อนจะขึ้นชั้น clinic ซะด้วยซ้ำใช่ไหมครับ)

คำถามที่สอง คำตอบคงจะ "ไม่ใช่ universal"
ถ้าสื่อสารได้ effective คือครบทั้งผู้สื่อ ผู้รับ และบริบท ก็ไม่น่าจะมีปัญหา การส่อผิดหรือสื่อไม่ครบมากน้อยแค่ไหน เข้าป่าแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับสมดุลสุดท้ายของตัวแปรทั้งสามเสมอ หวังว่าถ้า factor ใด factor หนึ่งที่ optimize ไม่ได้ อีกสองอย่างที่เหลือก็น่าจะต้องมีการ boost เป็นอย่างดี ในสามอย่างเรา "อยาก" จะ assume ว่า factor "ผู้สื่อ" เป็นการันตีไว้ซักอย่างนึง อีกสองอย่างนั้นบางทีมันยากแก่การควบคุม (เช่น ตามข่าวที่เสนอมา) แต่ถ้าผู้สื่อก็เกิดสติแตก หรือไม่เคยเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับการแจ้งข่าวร้าย การคุยกับผู้ป่วยและญาติ หรือว่าไม่เข้าใจ principle of autonomy มาเลยในชีวิต ก็มีโอกาสสูงครับที่จะไปลงเอบที่ศาล หน้าหนังสือพิมพ์ (ลงเป็นข่าว หรือถูกคลุมหน้า?)

จะเห็นได้ว่าการ assume ว่าใครรู้อะไร มากน้อยแค่ไหน จาก "สถานะ" อย่างเดียว มีโอกาสพลาดได้ สะท้อนถึงวิธีการสอนการเรียนและการประเมิน เรื่องเหล่านี้ที่เราคิดว่าเป้นสิ่งที่ "ต้องรู้" คือ "ติดตัวตลอด ใช้ได้ตลอด" มันไม่ใช่อย่างนั้น defect อาจจะอยู่ที่บางเรื่องไม่เคยมีการประเมินซะด้วยซ้ำ เพราะมันทำยาก (เช่น altruism หรือ principle of primacy of welfare of patient ที่สำคัญเป็นอันดับหนึ่ง) หรือทำได้แค่ระดับ cognitive เบื้องต้น (ความจำ) จำง่าย ก็ลืมง่ายครับ มีอีกกระทู้นึงรุ่นน้องของคุณ Lucifer เสนอให้รีบๆสอน "พวกไม่ใช่วิทยาศาสตร์" เหล่านี้ให้เสร็จๆ จะได้เรียนแต่วิชา "หมอๆ" จริงๆซะที ซึ่งเข้าใจผิดอย่างแรงคิดว่าการแพทย์นั้นเป็น hard science เพราะจริงๆแล้วการแพทย์เป็น social science ไม่น้อยกว่า 50% ทีเดียว



Posted by : Phoenix , Date : 2006-01-22 , Time : 20:12:17 , From IP : 58.147.117.168

ความคิดเห็นที่ : 49


   ถ้า....

"ความสำเร็จของการสื่อสารนั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเจตนาที่ดี พูดจาเหมาะสม ตรงประเด็น กระจ่างแจ้งเท่านั้น ถ้าอีกสององค์ประกอบสำคัญบกพร่อง ที่ทำมาทั้งหมดก็จะล้มเหลว"

แต่...เรา

"assume ว่า factor "ผู้สื่อ" เป็นการันตีไว้ซักอย่างนึง" เนื่องจาก "อีกสองอย่างนั้นบางทีมันยากแก่การควบคุม"

ดังนั้น

"การเริ่มด้วยเจตนาที่ดี พูดจาเหมาะสม ตรงประเด็น กระจ่างแจ้ง ก็น่าจะเป็นปัจจัยส่งเสริมอันสำคัญที่ทำให้การสื่อสารประสบความสำเร็จ"

เป็นตรรกะที่สมเหตุสมผลมั้ยคะ?


Posted by : Lucifer , Date : 2006-01-22 , Time : 23:40:20 , From IP : 172.29.4.31

ความคิดเห็นที่ : 50


   สมเหตุสมผลครับ

ถึงแม้ว่าเรื่องราวอาจจะไม่ "ลงเอย" ในแบบที่สมเหตุสมผลเสมอไป!!

อย่าลืมว่าเรากำลังทำงานอยู่กับคน คนที่ทั้ง emotion และ ตรรกะ ที่ส่วนใหญ่เป็น emotion ซะด้วย อาชีพเรา expose ต่อการสื่อสารในแบบที่มี emotion สูง เตรียมสถานการณ์ได้ยาก ผู้รับยิ่งมีความเสียงที่จะไม่ค่อยรับ หรือมีความ compromise ในการรับ

"การเริ่มด้วยเจตนาที่ดี พูดจาเหมาะสม ตรงประเด็น กระจ่างแจ้ง " เป็นปัจจัยเสริม แต่สำหรับผู้สื่อนั้น มี "ความพร้อมภายใน" อีกนิดนึง คือ เข้าใจปฏิกิริยาของคน เข้าใจชีวิต และให้เกียรติชีวิต ประเด็นที่เติมเข้าไปนี้ มันจะออกมาในรูปของอวจนภาษาครับ ส่วนปัจจัยแรกที่ยกมา มันออกมาทางวจนภาษา พูดง่ายๆก็คือหัดเป็นคนที่ sensitive มองรอบกายและ "ตระหนักรู้" ว่าอะไรได้เกิดขึ้น กับใคร ที่ไหน อย่างไร มันมีผลอะไรต่อ "คน" ที่เรากำลังจะไปสื่อบ้าง เปิดสมองเราให้รับทราบเรื่องราวชีวิตจริงๆ อย่าอยู่แต่ในโลกของงานแคบๆ เห็นแต่อวัยวะ เห็นแต่ตัวเลข vital signs lab investgiation หรือ หมกมุ่นเตรียมตัวป้องกันการถูกฟ้อง

ดังนั้นการเตรียม "คนสื่อ" ต้องมีทั้งสองด้าน ภายใน และภายนอก ภายนอกดูง่ายๆ บางคนท่องบท (บางทีก็ห่วย) จากหนัง hollywood มาคล่อง แต่ภายในนี่มีทางเดียวก็คือเป็นคนดี เข้าใจชีวิต และเห็นอกเห็นใจคนอื่น



Posted by : Phoenix , Date : 2006-01-23 , Time : 01:54:56 , From IP : 58.147.117.168

ความคิดเห็นที่ : 51


   จน ณ เวลานี้ หนูก็ยังไม่แน่ใจว่า กระทู้มันจะหยุดหรือไม่
ดังนั้น...หนูก็ยังคงจะไม่ให้ความเห็น...ค่ะ

ว่าแต่.... อาจารย์นึกอยากจะเดาดูบ้างมั้ยคะ...
ว่า 2 คำถามล่าสุดนั้น "เพื่อ" อะไร

ด้วยความเคารพนะคะ หนูไม่ได้ตั้งใจจะยียวนกวนอารมณ์แต่อย่างใด


Posted by : Lucifer , Date : 2006-01-23 , Time : 08:48:41 , From IP : 172.29.4.31

ความคิดเห็นที่ : 52


   AS เขาไม่เดากันครับ ไร้สาระ



Posted by : Phoenix , Date : 2006-01-23 , Time : 09:03:42 , From IP : 172.29.3.131

ความคิดเห็นที่ : 53


   คุณ Shonigega เป็น AS ด้วยหรือเปล่าคะ?

Posted by : Lucifer , Date : 2006-01-23 , Time : 12:17:48 , From IP : 172.29.4.31

ความคิดเห็นที่ : 54


   AS นี่ แปลว่าอะไรครับ

Posted by : เด็กโง่ , Date : 2006-01-23 , Time : 12:22:33 , From IP : 172.29.3.130

ความคิดเห็นที่ : 55


   ทีแรกหนูก็กะว่าจะไม่เถียงอาจารย์ Phoenix นะคะ เนื่องจากกลัวว่าจะ "ไม่น่ารัก" อยู่เหมือนกัน แต่ตอนนี้ไม่แน่ใจ ...ว่าจะตัดใจยอม "ไม่น่ารัก" ... เสียที

เริ่มจากการเห็นด้วยว่า
นิสัยน่ารักที่คุณ Shonigega กระทำขึ้นอย่างที่กล่าวถึงนั้น เป็นตัวอย่างของประเด็นที่น่าเรียนและน่าเลียนค่ะ และยิ่งเห็นด้วยมากๆ กับการคิดว่า "ของที่น่าเรียนและน่าเลียน ต้องทำให้ซับซ้อนน้อยลงหน่อย และต้องพิจารณาด้วยว่ากระบวนการสอนนั้นจะทำให้เกิดความ "เข้าใจผิด" ของ target group ได้หรือไม่"

บทวิเคราะห์ต่อไปนี้ก็คงจะไม่ Universal นะคะ แค่ private opinion
ขออนุญาตอ้าง Debate LXXXVI: Application of Changing Minds Theory (ที่ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่อาจารย์กรุณาจะเปลี่ยนมนุษย์ชนิด extreme AR ให้ “รู้จักหัดใช้เหตุผลบ้าง” นั่นแหละค่ะ)
ว่าด้วย 7 parameters ที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ “การเปลี่ยนความคิด” ที่ไม่ใช่แค่ "เปลี่ยนใจ" ในความหมายทั่วๆไป แต่เป็นการเปลี่ยนระดับ "กระบวนทัศน์ (Paradigm shift)"
7 parameters ประกอบด้วย
Reason ในกลุ่มที่พิจารณาตนเองว่าเป็นนักวิชาการหรือคนมีการศึกษา หลักการและเหตุผลจะเป็นสิ่งที่เข้มแข็ง และมีผลต่อการคิดการสรุป ดังนั้นถ้าจะอภิปรายเรื่องอะไรให้กลุ่มที่ใช้วิธีนี้เป็นหลัก “การนำเสนอต้องมาในทางที่มีการเชื่อมโยงทางตรรกะ”
Research ขยายลึกและกว้างและจำเพาะขึ้นจาก reasoning คือ research สำหรับคนที่ต้องการ verify reason อย่างมี methodology
Resonance ถ้าจะกล่าวว่า reasoning กับ research เป็นสำหรับ cognitive aspect ของจิตใจคน resonance ก็จะเป็นตัววัดของเจตคติหรือ affective components ของการรับรู้ มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่า cognitive aspect ในการที่ใครจะเกิด "ความเชื่อ" หรือเปลี่ยนความเชื่อ มักจะเกิดในระดับ subconscious และสามารถเกิด conflict กับ cognitive ซะด้วยซ้ำ การไปถาม "ความเห็น" จากคนที่เราแคร์ (relation, reliable, respect อีกสาม "re_" words) บางครั้งมีอิทธิพลในการจูงใจอย่างมาก คนที่มี "ความสัมพันธ์ เชื่อถือได้ และเรานับถือ" อาจจะเป็น role model ของเรา คนที่เรารัก เราแคร์ ความเห็นที่คนพวกนี้ "สะท้อน" ให้เราจะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ
Representational Redescription คำนี้หมายความว่า concept ของแนวความคิดใหม่นั้นสามารถแปลออกมาเป็นโมเดลต่างๆได้หลากหลายหรือๆไม่ ดีกว่านั้นคือการแปลมาในชีวิตจริง ไม่ใช่ทฤษฎี ยิ่งถ้านำมาแปลเป็นโมเดลที่ชีวิตจริงเราสนใจได้ และตรง ยิ่งดี “ตรงนี้อาจจะใช้เยอะเวลาเราสอนอะไรที่เป็นนามธรรมแก่เด็กๆ” เช่น ความดี ความงาม การยกตัวอย่างที่หลากหลาย หลายมุม แต่พูดถึงเรื่องคล้ายๆกันจะช่วย reinforce thought ได้
Resources and Rewards ในทางปฏิบัติ หัวข้อนี้เป็นไปได้สองทาง เช่น การมีทรัพยากรหรือ "ไม่มี" การมี reward หรือการมี punishment เช่น ถ้าทำระบบนี้เราจะมีเงินสนับสนุนจาก funders ไม่จำกัด แต่ถ้าทำอีกแบบเราจะล่มจม บางทีประเด็นนี้สามารถมีความสำคัญแปรเปลี่ยนได้อย่างมากหรือแค่นิดหน่อยก็ได้ (ภาษิตจีนว่า "มีเงินสามารถใช้ผีโม่แป้งได้")
Real World Events หรือผลกระทบทางสังคมใหญ่ๆ
Resistances เป็นประเด็นสำคัญมาก การเปลี่ยนแปลงนั้นบางทีเป็นการโจมตีความเสถียรของจิตใจของคนได้อย่างรุนแรง ปกติมนุษย์ไม่ใคร่ชอบความไม่เสถียรของจิตใจอยู่แล้ว ตรงนี้คนอาจจะเรียกเป็น bias ความเชื่อ ความงมงาย ความไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง ล้วนแต่เป็น challenge สำหรับผู้ที่มีหน้าที่หรืออาชีพในการเปลี่ยนแปลงความคิดคนทั้งสิ้น

ถ้าอาจารย์จะ การันตี “ผู้สื่อ” ไว้ เนื่องจากอีกสองปัจจัยที่เหลือมันยากแก่การควบคุม
ก็จะมี 2 parameters ที่ถูกอ้างถึง คือ Resonance และ Representational Redescription

ในฐานะที่เป็นผู้รับ ถ้าหนูใส่ใจจะมอง หนูก็การันตีความรู้สึกนึกคิดของตัวเองว่าจะ “แคร์” สิ่งที่สะท้อนออกมาจากคนที่หนูมองแน่ๆ ในฐานะที่เป็นผู้สื่อ หนูจึงมักจะสะท้อนออกไปด้วยแนวคิดเดียวกัน ก็คือ “ทำ” ใครสงสัยใคร่ถาม จึง “อธิบาย”

สาระที่เป็นนามธรรม ที่เป็นเจตคติ ความดี จริยธรรม คุณธรรม สิ่งที่เป็นนามธรรมอันจับต้องไม่ได้ การแสดงละครคงจะไม่ช่วยให้ผู้เรียนได้เข้าใจ “ความจริง” ดีไปกว่า บทบาทหน้าที่อันพึงกระทำในชีวิตจริง
ถ้าเราไม่เคยเห็น บทชีวิตจริง เราสามารถคาดหวังว่า จะ “เข้าใจปฏิกิริยาของคน เข้าใจชีวิต และให้เกียรติชีวิต” ได้จากบทละคร หรือ case conference หรือคะ?

ในขณะที่สาระเหล่านี้มีให้เห็นอยู่คาตา ตลอด 24 ชั่วโมง บนหอผู้ป่วย ถ้า service round ตอนเช้าต้องรีบ เนื่องจากมีภาระอีกมากมายรออยู่ ไหนจะ case conference ตรวจOPD OR เล็ก OR ใหญ่ สิ่งที่ได้เห็นในโรงพยาบาลชุมชน(ที่ซึ่ง...เรา...ส่วนมากจะต้องไป ) ก็ไม่ได้ต่างจากนี้ค่ะ ตอนเช้าต้องรีบตรวจให้เสร็จ เพราะหมอมีภาระ(?????) ตั้งมากมายรออยู่ พอตกเย็นก็เป็น เช้า round ไปแล้ว ตามไปcheck lab ก็พอก็แล้วกัน จริงๆแล้ว ในโลกแห่งความเป็นจริงเรื่องราวมันเป็นอย่างไรคะ หนูก็เพียงแค่มอง คิดเอง สรุปเอง จริงๆแหละค่ะ ทั้งที่ไม่ได้รู้แน่ด้วยว่ามันมีข้อจำกัด เงื่อนไขอะไรบ้าง หรือ ....จริงๆแล้ว.... เป็นอย่างไร หนูเดินตามอาจารย์ มองอาจารย์....อย่างเอาใจใส่.... ก็คาดว่าสิ่งที่เห็นนั้นคงเป็นของจริง ไม่ได้เคยสงสัยว่าจะมีละครซ้อนมาให้เป็นเรื่องราวที่ซับซ้อนซ่อนเงื่อนอะไร

ถ้าอาจารย์จะ assume/overestimate วุฒิภาวะ ความรู้และทักษะ จาก “สถานะ” เพียงอย่างเดียว ก็คงจะเป็นที่น่า
เสียใจสำหรับอาจารย์ และเป็นที่น่าเสียดายสำหรับหนู ดังนั้นถ้าจะ assume ก็น่าจะ underestimate ไว้อย่างที่ติว่าหนูชอบทำคงจะเป็นประโยชน์สำหรับ “เรา” มากกว่าค่ะ Assume นี่มันก็คนละกรณีกับ expect นะคะ เพราะถ้าสอนแล้ว บอกแล้ว หนูก็คงไม่มีอะไรต้องเสียดายจากการ ถูกคาดหวัง และคงจะรู้สึกผิดเอาด้วยซ้ำ ถ้าจะไม่ได้อย่างที่ควรจะได้



Posted by : Lucifer , Date : 2006-01-24 , Time : 19:20:25 , From IP : 172.29.4.194

ความคิดเห็นที่ : 56


   คนเราไม่จำเป็นต้องมี direct experience ก็สามารถเรียนรู้ได้ จริงๆแล้วแม้แต่สัตว์ก็ทำได้ เพราะความจำเป็น สิ่งนี้เรียก power of generalization หรือความสามารถในการ make assumption หาข้อสรุป หรือข้อน่าจะเป็นของการกระทำที่ไม่เคยทำ ไม่เคยเห็น โดยการใช้ประสบการณืเก่า ความรู้เก่า เป็น action เบื้องต้นของ PBL ธรรมดาๆ ที่เราใช้หลังการ declare term, identify fact แล้วก็เริ่มตั้งสมมติฐานได้เลย โดยยังไม่ต้องเรียนเรืองนั้นๆมาก่อน

เพียงแต่เราต้องมี mechanism ในการตรวจเช็คว่าที่ได้ assume ไปนั้น มันถูกต้องเพียงไร และจากการทำอย่างนั้นเอง ในตัวอย่างที่ยกมาเรา "จึงทราบ" ว่ามีคนเข้าใจผิด ก็ไม่สายเกินไปที่จะแก้ ไม่งั้นเราก็จะไม่มีเรื่องมาเล่าให้ฟัง จริงหรือไม่?

ถ้าเราไม่เคยกล้าที่จะ make assumption อะไรเลย เราคงจะยังอยู่ตามถ้ำ ตามภูเขาอยู่ แต่จากการใช้ rational และ deduction ความรู้ออกไปใช้กับสิ่งที่เราไม่รู้ จะว่าไป ที่ครูปล่อยเรามาได้จนถึงระดับมหาวิทยาลัยนี่ เขาก็ make assumption จากผลการสอบของเราว่าเรา "รู้เรื่อง" ที่สมควรจะรู้มาก่อน แต่เขาไม่ได้ "แน่ใจ" หรอกนะครับ หรือการที่พ่อแม่เราปล่อยให้เรามาอยู่ที่หอ ได้เงินเบี้ยเลี้ยงมาทุกวันๆนี่ ท่านก็ make assumption ว่าเราคงจะมาเรียน ตั้งใจทำอะไรอย่างที่ท่านคาดหวัง ถึงแม้ว่าท่านจะไม่ได้ทราบ for sure ว่าเรากำลังทำอย่างนั้นอยู่หรือไม่ เรื่องบางเรื่องที่เรา make assumption ไม่มีแม้กระทั่งกลไกตรวจสอบ ใช้แต่ความไว้วางใจและบุญกรรมเก่าเท่านั้น

ใครเลยจะมีประสบการณ์ชีวิตโดยตรงได้หมดทุกแบบ? ประชากรโลกมี 6000 ล้านคน แต่ละคนมีประสบการณ์ชีวิตกี่สิบปี ปัจเจกบุคคลใดที่จะเป็นตัวแทนจะ claim เป็น expert แห่งชีวิต มีเรื่องอะไรหรือไมที่เราจะประกาศว่า "ฉันแน่ใจ" ถ้าเปนเช่นนั้น impermanence law ของพระพุทธเจ้าก็ไม่เป็นจริง อนิจฺจํ ก็ไม่จริง ทุกอย่างเป็น นิจฺจํ แทนกระนั้นหรือ?

คนที่ไม่ assume คงจะมีสองกลุ่มเท่านั้นครับ หนึ่งก็คือผู้ที่ตื่นแล้ว ตรัสรู้แล้ว อีกพวกหนึ่งคือพวกที่หลงอยู่ในอวิชฺชา ที่คิดว่าตนเองรู้แล้ว เข้าใจแล้ว จากกระพี้ จากเปลือกที่ทรนงว่าเข้าใจ จากคำพูดที่คิดว่าลึกซึ้ง จากจักรวาลใบเดียวกับกะลาของยักษ์ภายนอกนั้น





Posted by : Phoenix , Date : 2006-01-24 , Time : 21:26:32 , From IP : 58.147.116.93

ความคิดเห็นที่ : 57


   "AS เขาไม่เดากันครับ ไร้สาระ"

กำลังสงสัยว่า เราใช้ assume ในความหมายเดียวกันอยู่หรือเปล่าคะ?


Posted by : Lucifer , Date : 2006-01-24 , Time : 21:49:06 , From IP : 172.29.4.194

ความคิดเห็นที่ : 58


   หนูไม่ค่อยได้ใช้วิชามารที่คุณ Shonigega แนะนำสักเท่าไรเลยค่ะ
ตั้งแต่เกิดมา หนูมักจะเรียนรู้จาก "ความผิดพลาดของตัวเอง" เสมอ เมื่อไรที่พลาดแล้วเจ็บ ก็พยายามจะจำ ว่าถ้าไม่อยากเจ็บก็อย่าทำอีก อย่างที่เคยเรียนให้ทราบตั้งนานมาแล้วว่า หนูเป็นพวกขี้แพ้ ดังนั้นจึงไม่ค่อยได้ positive reinforcement เป็นสิ่งเสริมแรงในการเรียนรู้สักเท่าไร หนูไม่ใช่มนุษย์ใจประเสริฐที่รู้จักเห็นใจคนอื่นเพราะมันเป็นคุณธรรม จริยธรรม หรือศัพท์หรูๆ ที่เอามาใช้แทนความหมาย ของสิ่งที่จำเป็นต้องมี ต้องเกิดในสังคมเพื่อให้เราอยู่ร่วมกันอย่างสงบและสันติ หนูเป็นเพียงแค่อดีตคนที่ถูกรังแก เจ็บปวดจากการถูกรังแก ก็เลยไม่อยากให้คนด้อยโอกาสคนอื่น ถูกทำ หรือรู้สึกว่าถูกทำ หรือแม้แต่มีความรู้สึกแย่ๆจากการถูกกระทำ อย่างที่หนูเคยรู้สึก หนู "เกลียด" คนที่รังแกคนที่ไม่มีทางสู้ เกลียด คนเอาเปรียบ อยากมี อยากได้โดยไม่เห็นแก่ความสำคัญและจำเป็นของคนอื่น นั่นก็ไม่ใช่เพราะหนูวิเศษมาจากไหน มันก็แค่ ความรู้สึกเก่ามันย้อนกลับมาเสียดแทงหัวใจชวนให้รู้สึกว่าทนเห็นเพื่อที่จะรู้สึกอีก ไม่ได้แค่นั้นเอง จริงๆแล้วหนูคงไม่ได้ทำเพื่อใครอย่างที่ชอบอ้างหรอกค่ะ เป็นความเห็นแก่ตัวเท่านั้นเอง
หนูไม่เคยรู้จักตัวเอง ไม่เคยรู้สึกว่าอยู่ในที่ทางที่ถูกที่ควรเลย จนกระทั่งเมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเริ่มมี delusion ว่า "ใช่"

เห็นด้วยค่ะว่า ไม่มีใครมีประสบการณ์ชีวิตโดยตรงได้หมดทุกแบบ หนูไม่เคยกล้าที่จะ claim ว่าตัวเองเป็น expert แห่งชีวิต ดังนั้น หนูจึง "ไม่สอน" ใคร เพียงแต่ใครอยากรู้ มาถาม หนูจะ "แบ่งปัน"

ปฏิสัมพันธ์ระหว่างหนูกับอาจารย์ มันเริ่มเมื่อ "หนูอยากเป็นอย่างที่อาจารย์เป็น" บ้าง หนูก็เลยเริ่มเรียนรู้โดยการเลียนแบบ หนูอยากเป็นคนมีเหตุผลเพราะเป็นทุกข์จากความรู้สึกว่า mode ของ emotion มันท่วมท้นเหลือเกิน ช่างรู้สึกรู้สากับใคร กับอะไร จน ทำให้รู้สึก เป็นทุกข์ จนหนูเบื่อจะร้องไห้ เบื่อจะฝันร้าย เบื่อจะปวดใจ เลยคิดว่าเอาแต่รู้สึกคงไม่ช่วย เห็นแต่คนเจ้าเหตุผลช่างไม่เคยจะรู้สึกรู้สมอะไรถึงขนาดประกาศว่า absolutely emotionless ดูจะเป็นสุขกับชีวิตดี เลยว่าจะเอาบ้างก็นึกว่าจะหลุดจะพ้น กลายเป็นว่ากลับมาอยู่ในกะลาของยักษ์ใบใหม่

ก็รู้สึก "เสียดาย" ที่อุตส่าห์ปรับกันมาตั้งร่วมปี มันมาลงเอย ...เท่านี้...
ถึงหนูจะร้องไห้ ก็จะไม่ได้แปลว่า เสียใจ ค่ะ หนูไม่ค่อยเสียใจกับวันที่ผ่านๆ มา แต่ละวันมันมีเรื่องราวและบทเรียนที่สอนให้เข้มแข็งมากขึ้น อดทนมากขึ้น บางทีก็หลงว่า “เจริญ และ เติบโต” มากขึ้น

หนูเคยเรียนให้อาจารย์ทราบมั้ยคะว่า หนู....หลง.... รักอาจารย์มานานเท่าไรแล้ว


Posted by : Lucifer , Date : 2006-01-24 , Time : 22:52:27 , From IP : 172.29.4.194

ความคิดเห็นที่ : 59


   ตั้งใจเรียน จบเป็นแพทย์ที่ดี เพื่อคุณพ่อแม่ คุณแม่ ประชาชน และเพื่อตนเองไปเถอะครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2006-01-25 , Time : 00:06:09 , From IP : 58.147.116.93

ความคิดเห็นที่ : 60


   น้องลู

คนเรามีความรักได้ไม่จำกัด รักเถิดถ้าใจอยากรัก ชื่นชมเถิด เท่าที่ใจอยากชื่นชม แต่อย่าเก็บ "ความหลง" ไว้ เพราะมันเป็นอวิชชา

น้ำตาก็เป็นธรรมชาติของชีวิต ให้เขามาเยือนเราได้ยามที่ต้องการเถิด เขาอาจจะเป็นเพื่อนที่ดีที่สุดในเวลาที่เราอยากอยู่คนเดียวและทำความเข้าใจกับชีวิต

ความสัมพันธ์ที่ดี จงเก็บไว้ เพื่อว่าซักวันหนึ่งเราจะยิ้มกับตัวเองเมื่อเรานึกถึงมัน

พี่เป็นคนที่เต็มไปด้วยอารมณ์หลากหลาย พี่คอนซิเดอร์ตัวเองว่าเป็น "ศิลปิน" และพี่ก็ไม่เห็นด้วยที่เราจะต้องพยายามเป็นคน "ไร้อารมณ์" และเต็มไปด้วยเหตุผล ตรรกกะเท่านั้นในชีวิต แต่สิ่งหนึ่งที่ต้องมีควบคู่กันไปก็คือ การเฝ้ามองดูอารมณ์ของเราอย่างเข้าใจ และ ไม่ยึดติดกับมัน ถึงที่สุดแล้ว อารมณ์ และตรรกกะ ก็ควรจะไปด้วยกัน มีอยู่ด้วยกัน

พี่กำลังดูน้อง "เจริญ และ เติบโต" อยู่ หนทางยังอีกยาวไกล พี่เชื่อว่าน้องจะเป็นแพทย์ที่ดี เป็นลูกที่ดี เป็นอาจารย์ที่ดี และเป็นคนดี ได้โดยไม่ต้องเลียนแบบใคร เป็นตัวของน้องเองเถิด ธรรมชาติสวยงานเพราะมีความแตกต่างที่กลมกลืนและสมดุลย์

พี่เป็นกำลังใจให้นะ


Posted by : แด่ ลูซิเฟอร์ , Date : 2006-01-25 , Time : 04:24:24 , From IP : pool-71-106-176-20.l

ความคิดเห็นที่ : 61


   ขอบคุณค่ะพี่....ช้าไปหน่อยแต่หนูรอให้กระทู้นี้มันหมดความน่าสนใจที่ใครๆจะเข้ามาอ่านก่อน ไม่ว่าพี่จะเป็นใครจะเข้ามาเห็นหรือไม่แต่หนูอยากบอกพี่ว่า "ขอบคุณ" ค่ะ

ข้อความที่พี่ฝากไว้ เป็นกำลังใจให้หนูพยายามจะ "เจริญและเติบโต" ต่อไปค่ะ
หนูอยู่กับคำกล่าวหา ว่า "แปลก แตกต่าง " มาตลอดเท่าที่จำได้ก็มากกว่า 10 ปีแน่ๆ การพยายามเป็นตัวของตัวเองที่มันไม่ค่อยเหมือนใครก็เป็นความลำบากอย่างหนึ่งซึ่งหนูก็ไม่ค่อยคิดที่จะพยายามเปลี่ยน หนูไม่แน่ใจว่ามันคือ "ความนับถือตัวเอง" เล็กๆที่หนูพอจะมีหรือเป็นความหยิ่งไม่เข้าเรื่อง อย่างไรก็ดีขอบคุณมากๆสำหรับการ "ยอมรับ" ในสิ่งที่หนูเป็นซึ่งแตกต่างจากการ "ให้อภัย" นะคะ

ส่วนเรื่องความรัก...หนูแน่ใจว่าเจ็บมากพอ....ค่ะ



Posted by : Lucifer , Date : 2006-02-12 , Time : 01:00:54 , From IP : 172.29.4.127

ความคิดเห็นที่ : 62


   ........ผมนั่งอ่านมาตั้งนาน....ว่าจะไม่เขียนอะไรแล้วเชียว...เพราะผมเองไม่ค่อยมีความเห็นอะไรเข้าท่านัก....บวกกับเรื่องดูเครียดๆ....ช่วงนี้ก็เครียดพออยู่แล้วเลยไม่ค่อยอยากใส่ใจ....ผมมาติดใจประโยคสุดท้ายของคุณ Lucifer เท่านั้นหละครับ......:D...:D

.....ผมเชื่อแน่ว่าคุณอาจจะรู้สึกเจ็บมากพอกับความรัก....แต่สิ่งที่ผมไม่ทราบคือคุณรู้สึก"เข็ด"แค่ไหน....ผมอยากจะบอกคุณว่า....ผมเองก็เคยรู้สึกแบบนี้ [ไม่ใช่กรณีแบบคุณนะครับ..:D...]....บางทีผมบอกกับตัวเองว่า....ผมเข็ดแล้ว....ไม่เอาอีกแล้ว.....แต่ท้ายที่สุดแล้ว....ความรักก็เป็นหลายๆสิ่งหลายๆอย่างของผม....เราเจ็บกับมันได้.....แต่อย่าท้อใจ....ให้คิดว่าเราได้อะไรจากการเจ็บสักครั้ง....แล้วเก็บมันไว้เป็นประสบการณ์....เพื่อที่เราจะได้โตขึ้น....เข้มแข็งมากขึ้น.....แต่อย่าสิ้นหวังในรัก...หรือหมดหวังกับการรักใครสักคน.....ไม่ต้องเชื่อผมมากหรอกครับ...แต่เชื่อมั่นในสิ่งที่คุณเป็น....บางทีเรื่องเหล่านี้อาจจะเป็นเรื่องเล็กๆน้อยๆในชีวิตคุณเมื่อคุณแก่ตัวลงและมองย้อนกลับมา.....:D...:D

.....ยังไงช่วงนี้ก็ยังถือได้ว่าอยู่ในสัปดาห์แห่งความรัก....บางทีบรรยากาศดีๆรอบๆตัวช่วงนี้อาจจะทำให้คุณรู้สึกดีขึ้นมาบ้างก็ได้....ขอให้มีความสุขนะครับ....:D..:D

[แนะนำว่าอย่าไปหาหนังดูเลยช่วงนี้....ไม่มีอะไรเข้าท่าฉายเลย....Brokeback mountain และ Walk the line ก็ไม่เข้าฉาย..ถ้ามีไม่รู้ผมต้องไปลุ้นกับพากย์ไทยแปลกๆอีกหรือเปล่า....ผมละเบื่อแถวนี้จริงๆ.....เฮ้ออออ.....:D...:D....]



Posted by : Death , Date : 2006-02-16 , Time : 23:46:29 , From IP : 172.29.7.68

ความคิดเห็นที่ : 63


   อ้ากกกกก ตรรกะและความรู้สึกต้องดีขึ้น ทั้งความหมายโครงสร้างและการเป็นส่วนกับสังคม

Posted by : 123 , Date : 2006-12-12 , Time : 08:52:44 , From IP : 222.123.108.254

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.027 seconds. <<<<<