อุ่นเครื่อง world cup 2006
ดูเรื่องเกี่ยวกับสนามที่ใช้รองรับในแต่ละเมืองดีกว่า
สังเวียนแข้งที่เป็นเจ้าภาพทั้ง 12 สนาม จึงล้วนแต่เป็นสนามของสโมสรชั้นนำแทบทั้งสิ้น โดยเฉพาะ
1. สนามอัลลิอันซ์ อารีน่า ของบาเยิร์น มิวนิก และ 1860 มิวนิก ที่สร้างขึ้นใหม่ด้วยความจุผู้ชมที่มากถึง 66,000 ที่นั่ง และจะใช้เป็นสังเวียนเปิดการแข่งขันในวันที่ 9 มิถุนายนระหว่าง เยอรมนี กับ คอสตาริกา ในนัดเปิดสนามด้วย หลังจากเปิดใช้ครั้งแรกไปเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม ปี 2005 ในเกมที่บาเยิร์น ชนะ โบรุสเซีย มึนเช่นกลัดบัก 3-0 ซึ่ง โอเว่น ฮาร์กรีฟส์ เป็นผู้ที่ทำประตูแรก ณ สนามใหม่แห่งนี้
2. สนาม "โอลิมปิค สเตเดี้ยม" (เบอร์ลิน) ความจุ 76,000 ที่นั่ง เป็นสนามเหย้าของทีมแฮร์ธ่า เบอร์ลิน เคยใช้เป็นสังเวียนแข่งโอลิมปิค ปี 1936 ,ใช้แข่งฟุตบอลเยอรมัน คัพ รอบชิงชนะเลิศมาตั้งแต่ปี 1985 และเคยจัดฟุตบอลโลก ปี 1974 มาแล้ว 3 นัด ก่อนจะบูรณะใหม่ด้วยงบประมาณสูงถึง 242 ล้านยูโร เมื่อช่วงปิดฤดูกาล 2002 ซึ่งแมตช์ชิงชนะเลิศฟุตบอลโลก 2006 จะจัดขึ้น ณ สนามแห่งนี้ด้วย
3. สนาม "เวสต์ฟาเล่น" (ดอร์ตมุนด์) ความจุ 60,000 ที่นั่ง สนามเหย้าของทีมโบรุสเซีย ดอร์ตมุนด์ เป็นสปอร์ต คอมเพล็กซ์ขนาดใหญ่ที่รวมภัตตาคารและโรงละครเอาไว้ด้วย สร้างครั้งแรกเพื่อใช้ในศึกฟุตบอลโลก ปี 1974 และเคยใช้เป็นจัดศึกยูฟ่าคัพ นัดชิงชนะเลิศ ปี 2001 อีกทั้งเคยสร้างสถิติมีคนดูไม่น้อยกว่า 1.4 ล้านคนในฤดูกาล 2004-05 ซึ่งเฉลี่ยต่อนัดมากกว่า 77,000 คน ซึ่งถือเป็นสถิติสูงสุดในศึกบุนเดสลีก้า และฟุตบอลยุโรปด้วย
4. สนาม "ก๊อตลีบ-เดมเลอร์ สเตเดี้ยม"(สตุ๊ตการ์ท) ความจุ 54,500 ที่นั่ง สนามเหย้าของทีมสตุ๊ตการ์ทที่ใช้งานมาตั้งแต่ปี 1933 ออกแบบโดยสถาปนิกชื่อดัง พอล โบนาตซ์ ซึ่งมีการเพิ่มที่นั่งคนดูฝั่งตรงข้ามอัฒจันทร์หลักในช่วงระหว่างปี 1949-51 และขยายขนาดอัฒจันทร์อีกครั้งในช่วงระหว่างปี 1971-73 ก่อนที่ปี 1974 จะเพิ่มที่นั่งในฝั่งอัฒจันทร์หลักให้มากขึ้น จนกระทั่งในปี 1999-2001 ได้ยกระดับให้สนามเป็นไปตามมาตรฐานของฟีฟ่า ด้วยเงินทุน 54 ล้านยูโร เพื่อทำที่นั่งสำหรับเหล่าผู้บริหารและนักธุรกิจ และมีชั้นอาคารจอดรถที่มีทางเข้าสู่อัฒจันทร์ได้โดยตรงด้วย
5. สนาม "เฟลทินส์ อารีน่า" - ชื่อเดิม "อัล์ฟชาลเก้ อารีน่า (เกลเซนเคอร์เชิน) ความจุ 52,000 ที่นั่ง สนามเหย้าของทีมชาลเก้ ใช้งบประมาณสร้างใหม่ถึง 192 ล้านยูโร ก่อนจะเปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 13 สิงหาคมปี 2001 เป็นหนึ่งในสนามที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งในยุโรป และได้มาตรฐานระดับ 5 ดาวจากยูฟ่า ถึงขั้นที่เซปป์ แบล๊ตเตอร์ ประธานสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ(ฟีฟ่า) เอ่ยปากว่าสนามแห่งนี้อยู๋ในระดับที่ดีเกินมาตรฐาน จนน่าจะได้รับการรับรองให้เป็นสนามที่ได้ 6 ดาวเสียด้วยซ้ำ
6. สนาม "ฮัมบวร์ก สเตเดี้ยม" (ฮัมบวร์ก) ความจุ 50,000 ที่นั่ง สนามเหย้าของทีมฮัมบวร์ก เป็น 1 ในสนามที่ได้รับการยอมรับว่าดีที่สุดแห่งหนึ่งในยุโรป หลังสร้างขึ้นใหม่แทนที่สนาม "โฟล์กพาร์ก สเตเดี้ยม" และได้รับการรับรองมาตรฐาน 5 ดาวจากสหพันธ์ฟุตบอลยุโรป(ยูฟ่า) โดยเปิดใช้ครั้งแรกในเกมที่เยอรมนีลงเตะกับกรีซ เมื่อวันที่ 2 กันยายน ปี 2000
7. สนาม "นีแดร์ซาชเซิน สเตเดี้ยม"(ฮันโนเวอร์) ความจุ 50,000 ที่นั่ง สนามเหย้าของทีมฮันโนเวอร์ 96 ที่ใช้มาตั้งแต่ปี 1959 และเคยเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก ปี 1974 ในนัดระหว่างบราซิลกับเนเธอร์แลนด์ด้วย ก่อนจะบูรณะใหม่ในเดือนมีนาคม ปี 2003 ด้วยงบประมาณ 64 ล้านยูโร แล้วเสร็จในเดือนเมษายน ปี 2005 โดยสร้างหลังคาใหม่ และอัฒจันทร์ใหม่ เพื่อเพิ่มความจุคนดูให้มากขึ้น
8. สนาม "ฟริตซ์-วัลเทอร์ สเตเดี้ยม" (ไกเซอร์สเลาเทิร์น) ความจุ 48,500 ที่นั่ง สนามเหย้าของทีมไกเซอร์สเลาเทิร์น ตั้งชื่อตามกัปตันทีมชาติเยอรมนี ชุดฟุตบอลโลก 1954 ซึ่งหลังจากเยอรมนีได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกปี 2006 ได้มีการบูรณะสนามเพื่อให้รองรับจำนวนคนดูได้มากขึ้น โดยใช้งบประมาณมากกว่า 48 ล้านยูโร
9. สนาม "วาลด์ สเตเดี้ยม" (แฟร้งก์เฟิร์ต) ความจุ 48,000 ที่นั่ง สนามเหย้าของทีมไอน์ทรัก แฟร้งก์เฟิร์ต สร้างตั้งแต่ปี 1920 และบรูณะใหม่ถึง 2 ครั้ง เพื่อใช้ในศึกฟุตบอลโลกปี 1974 และฟุตบอลยูโรเปี้ยนแชมเปี้ยนชิพส์ ปี 1988 ซึ่งโครงสร้างใหม่ที่เพิ่มเข้ามาคือหลังคาที่เลื่อนเปิด-ปิดได้ หลังจากที่ในแมตช์รองรองชนะเลิศฟุตบอลโลกปี 1974 น้ำท่วมขังในสนามจนต้องแรงลมจากเฮลิคอปเตอร์เพื่อช่วยทำให้สนามแห้ง
10. สนาม "เซ็นทรัล สเตเดี้ยม" (ไลป์ซิก) ความจุ 45,000 ที่นั่ง ซึ่งในอดีตเคยเป็นสนามกีฬาที่ใหญ่ที่สุดในเยอรมนี จุคนดูได้ถึง 100,000 คน แต่ในปี 1997 ทางสภาเมืองไลป์ซิกได้ลงมติสร้างสนามเพื่อใช้เล่นฟุตบอลเพียงอย่างเดียว จึงเริ่มก่อสร้างขึ้นใหม่ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2000 ทำให้ความจุลดน้อยไปกว่าครึ่ง
11. สนาม "แฟรงเคิน" (เนิร์นแบร์ก) ความจุ 45,500 ที่นั่ง สนามเหย้าของทีมเนิร์นแบร์ก สร้างเสร็จสมบูรณ์เมื่อปี 1991 ก่อนจะปรับปรุงและเพิ่มอัฒจันทร์ใหม่ในปี 2002 ด้วยงบประมาณ 56 ล้านยูโร เพื่อรองรับการแข่งขันฟุตบอลโลก 2006 แล้วเสร็จเมื่อเดือนกรกฎาคม ปี 2005
12. สนาม "มึนแกร์ดอร์ฟ สเตเดี้ยม" (โคโลญจ์) ความจุ 45,000 ที่นั่ง สนามเหย้าทีมโคโลญจ์ สร้างขึ้นตั้งแต่ปี 1975 และปรับปรุงใหม่ให้ทันสมัยขึ้นและจุคนดูได้มากขึ้น ในเดือนมิถุนายน ปี 2002 เพื่อให้เป็นสนามฟุตบอลที่สมบูรณ์แบบอีกแห่งหนึ่ง โดยใช้งบประมาณไปทั้งสิ้น 110 ล้านยูโร
ข้อมูลจาก
http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01spo30020149&day=2006/01/02
http://fifaworldcup.yahoo.com/06/en/
Posted by : Eset , Date : 2006-01-02 , Time : 18:47:09 , From IP : 172.29.4.192
|