ความคิดเห็นทั้งหมด : 82

อึดอัดใจใน Human life cycle


   ผมรู้สึกเบื่อและอึดอัดมากกับเนื้อหาใน block นี้ขอแยกเป็นประเด็น
1. Lecture วิชาสังคม ที่เรียนกันมาตั้งแต่มัธยมจนถึงปี 1 อุตสาห์ดีใจที่ไม่ได้เจอกันมาตั้งนาน แต่จนแล้วจนรอดก็ต้องมาเรียนใน block นี้
2. ให้ไปเล่นกับเด็ก ๆ ยอมรับว่าพอได้ประโยชน์บ้าง แต่บอกตรง ๆ ว่าไม่คุ้มจริง ๆ
3. ดูหนังมนตรักฯ แล้วยังไม่พอก็ discuss กันในประเด็นที่รู้ ๆ กันอยู่ว่าเถียงอย่างไรก็ไม่จบ ทำไปไม่ได้ประโยชน์อะไร
เดี๋ยวจะมีอะไรเกี่ยวกับผู้สูงอายุอีกก็ไม่อาจทราบได้ ประมาณว่าต้องมานั่งทำรายงานอีก
จุดประสงค์ที่มา post เพื่อ......
1. ผมค่อนข้างเครียดกับการสอบ National Test พอสมควร แทนที่จะได้มีเวลาอ่านทบทวนของ Block อื่น ๆ แต่ต้องมาทำกิจกรรมแปลก ๆ แบบนี้ (แค่เอาเวลาไปอ่าน PBL ก็จะหมดอยู่แล้ว)
2. เผื่อเป็นเสียงเล็ก ๆ เสียงหนึ่งให้เบื้องบนได้รู้ สงสารน้อง ๆ ไม่อยากให้มีกิจกรรมอะไรแบบนี้ (คงจะไป comment อีกทีตอนจบ block)
ปล. ผมว่าการเน้นด้าน psycho-social นั้น มอ.มีกิจกรรมอื่นที่ค่อนข้างเยอะอยู่แล้ว ( Commed , Immersion , เยี่ยมบ้าน) เข้าใจว่าหมอ มอ.ต้องติดดิน แต่อย่าให้ความรู้ของผมมันติดเตี้ยเลี่ยดินไปด้วยเลย
อย่างน้อยที่สุดก็เอา block cardio (ทีผมเรียนแค่ 3 wks) คืนมาก็ยังดี
ขอบคุณครับ


Posted by : DogTor , Date : 2005-12-27 , Time : 17:35:55 , From IP : 172.29.4.134

ความคิดเห็นที่ : 1


   รับทราบความทุกข์ และความกังวลต่อการสอบและอนาคตที่มี แต่ขอไม่ตอบอะไรก่อน เพราะพี่ขอเวลาหาข้อมูลเพื่อการคิดก่อนนะ
แต่ที่สำคัญไม่อยากให้น้องมี negative thinking ต่อเรื่องอะไรก็ตามในตอนนี้ เพราะมันทำลายอารมณ์และบรรยากาศการเรียนในhere and nowนะ


Posted by : aries , Date : 2005-12-28 , Time : 07:57:33 , From IP : 172.29.7.48

ความคิดเห็นที่ : 2


   ลอง "สมมติ" ว่า assignment คือการหาข้อดีที่จะนำเอาวิชาพวกสังคมศาสตร์มีประโยชน์อย่างไรบ้างต่อวิชาชีพแพทย์ดูดีไหมครับ make a list ทั้งข้อดีและข้อไม่ดี ประเด็นที่น่าเบื่อ ประเด็นที่อาจจะสนุก เป็นต้น ผมคิดว่ามีเรื่องน่าสนใจทีเดียวในแง่ที่ว่าแพทยศาสตร์นั้นเป็น hard science หรือว่า social science หรือทั้งสองอย่างปนๆกัน และถ้าปนกันควรจะเป็นสัดส่วนเท่าไหร่ ตรงนี้เอาไว้คิดตอนที่ยังต้อง "ทน" เรียนไปก่อน เพราะยังไงๆรุ่นนี้ก็คงจะยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงทันตาเห็น ก็อาจจะเป็นทำให้ตนเองทุกข์น้อยลงหน่อย

เห็นใจเรื่องการเตรียมตัวสอบครับ แต่ผมพอจะบอกได้ว่าแต่ไหนแต่ไรมา นักศึกษาแพทย์ (รุ่นพี่ รุ่นผม หรือคิดว่ารุ่นน้องๆคงจะคล้ายกัน) จะไม่เคยรู้สึกว่าเรามีเวลา "เหลือเฟือ" ในการอ่านหนังสือสอบเลย เพราะ contents มันมากมาย ยิ่งสมัยก่อนด้วยแล้ว cognitive เป็นตัวหลักในการเรียนการประเมิน ตรงนี้อาจจะทำให้เราสังเกต profile ของ นศพ.ในแง่การบริหารจัดการเรื่อง "เวลา" ชัดเจน ยกตัวอย่างถ้าเรามีหนังที่อยากจะดู มันก็แปลว่าเวลาจะหายไปครึ่งคืน (เย็น มือค่ำ และภาพยนต์) คิดเป็นเวลาทบทวนตำราประมาณ 1 วิชาได้สบายๆ ถ้าอยากจะดูจริงๆก็คงจะต้องบริหารให้เราอ่านทันบวกดูหนังได้ด้วย ผมคิดว่าหลักสูตรเรามีข้อเสียเปรียบกว่าหลักสูตรอื่นๆด้าน spared time นี่แหละครับ ฉะนั้นไม่ว่าจะเป็น block ไหน rotation ไหน นศพ.ก็จะมีกิจกรรม การเรียน การสอบ การประเมิน "เต็มเวลา" ของตัว block เองอยู่ร่ำไป โดยลักษณะนี้เองทำให้ผมเคยสรุปว่าเรื่อง SDL นั้น นศพ.ต้องทำเป็นมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว รับรองว่าถ้าใครไม่ทำ SDL บังคับตัวเองให้มี discipline ในการทำงาน และทำให้ได้มีประสิทธิภาพจริง หางหมูมันก็จะหนักขึ้นอย่างรวดเร็ว (ที่พูดก็ไม่ได้แปลว่าผมไม่เคยไม่พอกหางหมู แต่อยากจะบอกว่าเคย "รับกรรม" ที่เผอเรอคิดว่าอยากจะ self-direct อย่างอื่น ที่ไม่ใช่ learning ก็ต้องชดใช้กรรม เครียดกว่าเพื่อนตอนสอบ)

Think positive เป็นเคล็ดในการทำให้เรา "อยู่รอด" ในสังคม ถ้าเมื่อไรก็ตามมีคนทำกิจกรรมเหมือนกัน อยู่ในสังคมเดียวกัน แล้วมีคนทุกข์ มีคนสุข ต่อสิ่งเดียวกัน แสดงว่ามีวิธี approach ต่อปัญหานั้นๆ มีวิธี "คิด" ต่อปัญหานั้นๆหลายวิธี ก็น่าสนใจว่าตรงนี้มันเป็น option หรือเป็น mandatory ว่าเราต้องสุข หรือต้องทุกข์ และถ้าเลือกได้ ควรจะเป็นแบบไหน


Posted by : Aquarius , Date : 2005-12-28 , Time : 08:25:24 , From IP : 172.29.3.110

ความคิดเห็นที่ : 3


   คุณDogTorยังไม่เท่าไหร่นะครับ
ผมยังนั่งวุ่นกับPBLโดยการFacilitateโดย อ.เกรียงศักดิ์
ตอนนี้กำลังนั่งทำPowerPointเพื่อไปPresent ไม่ใช่เพื่อDiscuss
ผมกำลังพยายามPositive Thinkอยู่ครับ อย่างที่คุณAquariusได้บอกไว้
ไม่ว่าจะต้องไปเรียนภาควิชาCommed
ไม่ว่าจะต้องนั่งรออยู่30นาที
ไม่ว่าจะต้องset LOเป็นประโยคงดงามและเรียงอย่างสวยงาม โดยทุกข้อขึ้นต้นด้วย To know
ไม่ว่าจะมีเรื่องอึดอัดใจอีกมากมาย
ผมหวังว่าผมจะอยู่รอดในBlogนี้และการสอบNTอย่างที่คุณAquariusกล่าวไว้

ผมอยากให้ทำช่องประเมินคะแนนเพิ่มอีกช่องคือ 0 คะแนนครับเพื่อความเหมาะสมในกรณีที่1คะแนนยังมากไป


Posted by : หัวเขียว , Date : 2005-12-28 , Time : 11:04:25 , From IP : 172.29.4.34

ความคิดเห็นที่ : 4


    profile ของ นศพ.ในแง่การบริหารจัดการเรื่อง "เวลา"?

ตรงนี้น่าสนใจครับอาจารย์
ก็ด้วยที่ว่าทางคณะมีกิจกรรมให้ทำค่อนข้างเยอะ (แต่ได้ความรู้น้อยดังที่ได้กล่าวมาแล้ว) ไม่เว้นแม้แต่เสาร์-อาทิตย์ที่มีค่าของพวกผมก็โดนบังคับไปสวนโมกข์(เผื่อได้ทำใจไว้เวลาสอบ NT ตก)
ทางคณะน่าจะพิจารณา(หรือสอบถามตัวนักศึกษาก็ได้)ว่ากิจกรรมนี้ได้ประโยชน์อย่างไร เทียบกับผลเสีย(โดยเฉพาะเวลาของพวกผม)แล้วมันคุ้มหรือไม่

เพื่อน ๆ ตั้งใจอ่านหนังสือนะ ไม่มีใครช่วยท่านแล้วละนอกจากตัวท่านเอง


Posted by : DogTor , Date : 2005-12-28 , Time : 12:23:21 , From IP : 172.29.4.253

ความคิดเห็นที่ : 5


   ตรงนี้ผมยอมรับนะครับว่าหมอต้องมีทั้ง"ความรู้"และ"ความดี"ประกอบกัน
แต่ความจำเป็นในแต่ละช่วงเวลามันไม่เหมือนกันนะครับ ถ้าคณะอยากให้เราไปสวนโมกข์เพื่อที่จะได้รู้จักคุณค่าของการสงบจิตใจ ก็นับเป็นสิ่งที่ดีนะครับ เพียง
แต่ว่าในขณะที่จิตใจยังว้าวุ่นอยู่กับการสอบNT มันจะสงบได้อย่างไรครับ
อยากให้มีการประเมินอะไรหลายๆอย่างทั้งผู้เข้าร่วมกิจกรรมและคนจัดกิจกรรมด้วยครับ สำหรับBlock วงจรชีวิตมนุษย์ ผมว่ามันก็น่าเรียนนะครับ เพียงแต่มันนาน
ไปหน่อยครับ หลายๆอย่างก็ไม่แน่ใจว่ามันควรจะเสียเวลามาเรียนซ้ำกันอีกหรือไม่
เพราะว่าบางจุดเราก็เรียนกันต้องแต่มัธยมหรือBlockอื่นๆแล้ว
ไม่ได้ตั้งใจจะมาว่าหรือไม่พอใจอะไรหรอกนะครับ เพียงแต่อยากให้คณะลองปรับปรุงข้อดีข้อเสียให้มากกว่านี้


Posted by : Comets , Date : 2005-12-28 , Time : 13:32:17 , From IP : 172.29.4.244

ความคิดเห็นที่ : 6


   ถ้ามีการสอบถามว่าควรไปสวนโมกข์หรือไม่ โดยการสอบถามนักศึกษา
แน่นอนว่าเสียงส่วนใหญ่คงเลือกไม่ไป
อีกอย่าง
ไปสวนโมกข์วันที่7-8 และรายงานที่ชั่งน้ำหนักแล้วออกคะแนน(รุ่นพี่บอกมา)ส่งวันที่10 แล้วหลังจากนั้นต้องไปทำกิจกรรมวันเด็กอีกที่นครศรีฯ
หายไปแล้วครับครึ่งเดือนที่มีค่า เหลืออีกไม่ถึง2เดือนNTก็จะมาถึง
โดยส่วนตัวแล้วผมไม่เป็นไรเท่าไหร่เพราะผมได้"ทิ้ง"บล็อคนี้ไปเรียบร้อยแล้ว แต่สงสารหลายคนที่ปัจจุบันยังไม่ได้เริ่มอ่านNTหรือเพิ่งเริ่ม แต่ยังมีกิจกรรมบริโภคเวลาอีกครึ่งเดือน
ปีนี้คงจะปรับยากแล้ว แต่อยากให้ปรับปรุงในปีหน้าด้วยครับ เพื่อรุ่นน้องและเพื่อชื่อเสียงของคณะเพราะถ้าตกกราวรูดคงไม่ดีแน่


Posted by : หัวเขียว , Date : 2005-12-28 , Time : 13:49:10 , From IP : 172.29.4.34

ความคิดเห็นที่ : 7


   ผมคิดว่าเวลาเหลือน้อยลงๆ ตอนนี้ผมและเพื่อนอีกหลายคนก็อ่านเพื่อเตรียมตัวสอบNTกันแล้ว วันเสาร์อาทิตย์หลังสอบเป็นเวลาเงินเวลาทองที่จะได้พักผ่อนจากการสอบและเตรียมตัวในบลอกต่อไปและยังเตรียมตัวสอบNT การไปทำกิจกรรมของคณะก็เป็นสิ่งที่ดี แต่ช่วงเวลาผมคิดว่าไม่ค่อยเหมาะสมเท่าที่ควร และผลที่ได้รับผมคิดว่ามันไม่คุ้มกับเวลาและเงินที่เสียไป ผมอยากเสนอให้เป็นการอาสาสมัครเพราะถ้ากิจกรรมมีประโยชน์จริงดีจริง นศพ.ก็ไม่พลาดอยู่แล้ว

Posted by : ปีสาม , Date : 2005-12-28 , Time : 15:07:24 , From IP : 172.29.4.170

ความคิดเห็นที่ : 8


   น่าสนใจในความคิดเห็นบางประการครับ ลองให้สโมฯทำแบบสอบถามนักศึกษาแพทย์เรื่อง "ประโยชน์ที่นักศึกษาแพทย์จะได้รับจากการไปสวนโมกข์" และหาสัดส่วนของคนที่คิดว่ามีหรือไม่มีประโยชน์หรือไม่อย่างไร ผมคิดว่า profile ตรงนี้จะมีประโยชน์ในการบริหารจัดการมากทีเดียว

Posted by : Aquarius , Date : 2005-12-28 , Time : 16:08:40 , From IP : 172.29.3.190

ความคิดเห็นที่ : 9


   จะสอบถามว่ามีประโยชน์หรือไม่มี แล้ว
น่าจะทำ อยากไปหรือไม่อยาก เพิ่มด้วย


Posted by : หัวเขียว , Date : 2005-12-28 , Time : 16:50:30 , From IP : 172.29.4.34

ความคิดเห็นที่ : 10


   ถ้าน้องๆเอาเรื่องคะแนนหรือการสอบเป็นที่ตั้งว่า นั่นคือชีวิตทั้งชีวิตของพวกเราที่จะเป็นหมอที่...ในอนาคต พี่คิดว่าคงไม่มีใครในกลุ่มนี้ที่จะตอบว่าอยากจะไปที่สวนโมกข์ แต่คงคิดว่าอยู่ที่นี่อ่านหนังสือน่าจะคุ้มกว่าดีกว่า.........

น้องๆลองคิดให้ดีสักหน่อยดีไหมว่า หมอที่น้องอยากเป็น คือ
มีIQดีอย่างเดียวคือเก่งหน่ะ แต่อาจไม่มีความสุขในชีวิตเลย เพราะมองชีวิตเต็มไปด้วยขวากหนาม หรือ
ต้องมีทั้งเก่งIQ แถมด้วยมีการแก้ปัญหาที่ดี มีEQเป็นเลิศด้วย หรือ
เอาแบบกลางๆหน่อย IQพอประมาณ สอบผ่านเกณท์ที่กำหนด ทักษะในการแก้ปัญหาชีวิตก็พอได้อยู่ ไม่เก่งนักมีพลาดบ้าง แต่คิดว่ายอมรับได้ เพราะอยู่ในวัยที่ค่อยๆเรียนรู้การใช้ทักษะของชีวิต แล้วจะค่อยเติบโตเอง มองโลกแง่บวก และมีความพยายามที่จะค้นหาความหมายที่ลงลึกของกิจกรรมทุกอย่างที่ได้รับassignมาว่า มันน่าจะมีปมความงามซ่อนอยู่

น้องๆว่า แบบไหนเหมาะสำหรับเราดี?????


Posted by : aries , Date : 2005-12-28 , Time : 17:39:26 , From IP : 172.29.7.34

ความคิดเห็นที่ : 11


   อยากจะเป็นแบบที่อาจารย์ว่าแหละครับ
แต่ปัญหาคือผมไม่เก่งและบ้านไม่ได้รวยไงครับ โอกาสตกมีมาก(เคยพบอาจารย์ที่ชั้น7หลายครั้ง) และไม่อยากเสียเงินสอบใหม่ด้วย
และจากที่ผมประเมินตัวเองแล้ว ผมว่าตอนนี้การที่ได้ไปหรือไม่ได้ไปสวนโมกข์ ไม่มีผลต่อ EQ ผมสักเท่าไหร่
และผมไม่คิดว่าการบังคับให้ไปทั้งๆที่มีกังวลเรื่องสอบอยู่ ไม่ได้เป็นการเพิ่มEQเลย อาจจะลดซะงั้น
ทั้งหมดนี้เป็นความเห็นของผมคนเดียวครับ คนอื่นอาจจะไม่คิดอย่างนี้
แต่ถ้า"ต้องไป"หรือถ้าไม่ไปแล้วจะมีผลกรรมหรือบทลงโทษตามมา ผมก็จะไปครับ
ปล เรื่องกิจกรรมสารพัดในBLockนี้ มันยิ่งกว่าไปสวนโมกข์อีก


Posted by : หัวเขียว , Date : 2005-12-28 , Time : 18:07:12 , From IP : 172.29.4.34

ความคิดเห็นที่ : 12


   กิจกรรมของคณะฯมีสองกลุ่มใหญ่ๆคือที่เป็นกิจกรรมภาคบังคับ และที่เป็นกิจกรรมวิชาเลือกอิสระ (ที่จริงอาจจะมีอีกกลุ่มคือวิชาเลือกไม่อิสระ คือมีตัวเลือกที่ทางคณะฯจัดให้) กิจกรรมภาคบังคับทุกอย่างเป็นประสบการณ์การเรียนที่อิงตามคุณสมบัติแพทย์ตามเกณฑ์มาตรฐานแพทยสภา กับคุณสมบัติบัณฑิตแพทย์ที่คณะแพทย์เราวางไว้ว่านี่คือบัณฑิตที่พึงประสงค์

การจัดกิจกรรมภาคบังคับนั้น ทุกกิจกรรมมีคณะกรรมการที่จัดประชุมและปรึกษาอารือกันมากพอสมควรก่อนที่จะคิดออกมาว่ามันจะมีอะไรบ้าง ทำอะไรบ้าง และข้อสำคัญคือทำแล้วน่าจะได้อะไรเป้นอย่างน้อย แต่อาจจะมีบางคนที่ได้มากกว่าที่กำหนดไว้ก็ได้ กิจกรรมพวกนี้อาทิ การทำ PBL การขึ้นปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วย รวมทั้งทุกอย่างที่คณะฯจัดไว้แล้วให้พวกเราลงชื่อ หรือสมุดคู่มือกำหนดไว้ว่าเราต้อง attend นั่นแหละครับ

ถ้าพิจารณาให้ดี "ภายใน" กิจกรรมภาคบัคับเหล่านี้ก็ยังมี "อิสระ" ปนอยู่บ้าง ทำให้เกิดความ "หลากหลาย" ในรายละเอียดของที่นักศึกษาจะได้ แต่ก็ได้ประเด็นหลักเหมือนกัน เช่น SDL นศพ.อาจจะได้ skill การ search ใน internet หรือการอ่านหนังสือในห้องสมุด หรือการไปคุยกับเพื่อน พี่ หรือ อาจารย์

ถ้าจะเอาโจทย์คือ "ความอยากทำ" ของนักศึกษาแพทย์มาเป็นตัวตั้งหลัก ตรงนี้จะทำให้เกิดความยากลำบากในการตั้งเป้าหมายปลายทีเดียว การแก้ปัญหาที่ทำอาจจะไม่ค่อยเหมือนกัน ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณหัวเขียวยัง "ไม่อยาก" ไปสวนโมกข์ เพราะคิดว่ามันจะไม่ช่วยอะไรด้าน EQ เราจะมาเริ่มคุยกันประเด็นว่า "ไปสวนโมกข์ช่วยอะไรด้าน EQ ได้หรือไม่" ก่อนดีกว่าหรือไม่? เหมือนกับถ้ามีนักศึกษาคนหนึ่งบอกอาจารย์ว่า "อาจารย์ครับ ผมคิดว่าผมจบแพทย์โดยไม่ต้องรู้อะไรด้านสังคมศาสตร์เลย จึงขอไม่เรียนเรื่องนี้ๆ" สิ่งแรกที่เราทำน่าจะเป็นการอภิปรายคุยกันว่า "ทำไม" จึงได้ข้อสรุปที่ว่า เพราะเห็นได้ชัดว่ากิจกรรมที่คณะฯคิดว่ามีทางที่นักศึกษาจะได้ประโยชน์ นักศึกษายังมองไม่เห็นว่าได้ประโยชน์อย่างไร ทำให้ไม่อยากเรียน ไม่อยากทำ สาเหตุส่วนใหญ่ในการได้มาซึ่ง "ข้อสรุป" ก็คือ past experience เราจะได้ทราบว่า past experience ที่ได้มาซึ่งข้อสรุปของนักศึกษานั้นเป็น universal rule หรือเป็นปัจเจกเหตุการณ์กันแน่

ดังนั้นประเด็น "ไปสวนโมกข์" นี้ ไม่ทราบว่าถ้าผมขอเชิญคุยกันขยายความกันต่ออีกสักนิดจะดีไหมครับ เราจะได้ share กันว่ามุมมองของเราจะช่วยเสริมความเข้าใจซึ่งกันและกันได้อย่างไร ผมรู้สึกเห็นใจที่ว่าการไปสวนโมก๘นั้นดูจะเป็นทุกข์มากสำหรับน้องพอสมควร มีทางไหนไหมครับที่เราจะช่วยให้การไปสวนโมกข์นี้มันไม่ทรมานเกินไป หรือดีกว่านั้นคือได้ประโยชน์อย่างที่หลายคน (จริงๆ) คิดว่าน่าจะได้?


Posted by : Aquarius , Date : 2005-12-28 , Time : 18:45:37 , From IP : 58.147.55.22

ความคิดเห็นที่ : 13


   ผมแยกประเด็นเรื่องการสอบ NT ออกมา เพราะคิดว่าเป็นประเด็นแยก และผมเองยังไม่เข้าใจ logic หรือข้อมูลของน้องหัวเขียวอย่างเต็มที่เท่าไรนัก

การสอบ comprehensive นั้น ไม่ว่าจะเป็น paper I หรือ II, III ก็ตาม รับรองได้ว่ามันจะไม่ได้ตัดสินได้ตกจาก performance ที่นักศึกษาจะได้จากการอ่านหนังสือ 1-2 วันแน่ๆครับ เพราะ comprehensive เป็นการสอบ "ประมวลความรู้" ที่เรียนมาทั้งสามปี ความมั่นใจในการสอบแบบนี้จะมาจากสิ่งที่เราได้สั่งสมมา 3 ปี และเราจะไม่ได้ตกเพราะว่าเราต้องทำ PBL มากขึ้นหนึ่งวัน ไปสวนโมกข์สองวัน หรือ เผลอหลับไม่ได้อ่านหนังสือไปสองคืนหรอกครับ

คนที่จะเกณฑ์อะไรอย่างมีนัยสำคัญในเวลาสั้นแค่วันสองวัน หรือคืนสองคืนนั้น ต้องพวก severe CR ที่ bright มากๆ อ่าน text จบและจำและเข้าใจในเวลาสั้นๆ แต่คุณหัวเขียวบอกว่านั่นไม่ใช่ category ของคุณหัวเขียวเอง

การที่นักศึกษาไม่อยากตกนั้น ไม่น่าจะขึ้นกับบ้านรวยหรือจน หรือใครที่มีเงินพอจะจ่ายค่าสอบใหม่ได้ก็จะแปลว่าตกก็ไม่แปลก ใช่ไหมครับ การประเมินนั้นเป็นการ "สะท้อน" ว่าเราได้เรียนรู้อะไรมาในระยะเวลาที่หลักสูตรกำหนดว่านักศึกษา "ควร" หรือ "ต้อง" รู้ในช่วงเวลาที่ผ่านมา



Posted by : Aquarius , Date : 2005-12-28 , Time : 18:58:42 , From IP : 58.147.55.22

ความคิดเห็นที่ : 14


   สำหรับผมนะครับ ไม่ทราบว่าจะเป็นความคิดสั่วๆหรือเปล่า
แต่ผมจะโอเคมากกว่าถ้าเลื่อนไปหลังสอบNTและCompreครับ
ถามว่าสวนโมกข์ผมอยากไปหรือเปล่า?
ผมตอบว่าอยากครับ อันนี้ไม่ได้โม้ เพราะผมค่อนข้างสนใจตั้งแต่กระทู้เซ็นในสวนโมกข์แล้ว(จำได้หรือเปล่าครับว่าผมไปขอให้อาจารย์ช่วยดำเนินseriesนั้นต่อ)
แต่สาเหตที่ผมไม่อยากไปนั้นผมได้กล่าวไปแล้วคือ Backgroundทั้งด้านความรู้และฐานะนั้นไม่ค่อยดีครับ และยิ่งใกล้สอบขึ้นทุกวันมันก็ยิ่งเครียดมากขึ้นๆ และเสียดายเวลา ถึงแม้ว่าจะเพียง2วันก็ตาม สำหรับผมมันหมายถึงการผ่านหรือไม่ผ่าน หรือการต้องเสียเงินเพิ่มหรือไม่ ฉะนั้นแล้ว ถ้าสำหรับผมแล้ว การเลื่อนไปสวนโมกข์นั้น จะเป็นการcompromiseมากทีสุดแล้ว
ปล ทั้งหมดนี้เป็นความคิดของผมคนเดียว


Posted by : หัวเขียว , Date : 2005-12-28 , Time : 19:04:30 , From IP : 172.29.4.34

ความคิดเห็นที่ : 15


   สิ่งหนึ่งที่น้องหัวเขียวควรจะเริ่มทำความคุ้นเคยในการเป็นแพทย์ในอนาคตอันใกล้นี้คือ อาชีพเรานั้นมันจะมี crisis หรือ วาระสำคัญๆมากๆมาเป็นระลอกอย่างต่อเนื่อง หมดอย่างหนึ่งก็จะมีอีกอย่างหนึ่งตามมา หลังสอบ NT เสร็จ ผมรับรองได้ว่าคณะฯก็จะมี "กิจกรรมอื่นๆ" จัดมาให้อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเราจะต้องเรียนรู้ที่จะดำเนินกิจกรรม "ปกติ" ที่ไม่ใช่ crisis หรือวาระสำคัญในระหว่างเหตุการณ์เหล่านี้ให้ได้ครับ วิธีหนึ่งก็คือถ้าเราทราบว่าเราได้พยายามเต็มที่อย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดเป็นเดือนเป็นปี เราจะไม่ต้องมาให้ความสำคัญกับ 24 ชั่วโมง หรือ 48 ชั่วโมง ซึ่งเป็นแค่เสี้ยวหนึ่งของเวลา collectively

ผมทราบและจำได้ครับว่าคุณหัวเขียวสนใจเรื่องเซ็น นั่นยิ่งทำให้ผมเกิดความไม่เข้าใจในข้อสรุปว่าการไปสวนโมกข์จะไม่มีส่วนพัฒนา EQ ได้ หรือยิ่งสงสัยว่าคุณหัวเขียวหมายความว่าอยากไปสวนโมกข์แต่ยังมั่นใจว่าการไปไม่มีส่วนเพิ่ม EQ ได้นั้นเป็นยังไงครับ?


Posted by : Aquarius , Date : 2005-12-28 , Time : 19:23:49 , From IP : 58.147.55.22

ความคิดเห็นที่ : 16


   ผมเครียดและกลัวน่ะครับ นี่เป็นเหตุผลเดียวเลย
มันเป็นครั้งแรกทั้งของผมและของประเทศไทย
ไม่มีคำแนะนำที่สามารถเอาแน่นอนหรือยึดถือเป็นสรณะ ยกเว้นเล่มเขียวเล็กที่เต็มไปด้วยหัวข้อมากมายซึ่งผมไม่เคยรู้จักบางอันด้วยซ้ำ

เอางี้ครับ ผมไม่เรียกร้องอะไรแล้ว พยายามทำตัวไปตามระบบ เพราะดูเหมือนตอนนี้ ผมกำลังเป็นตัวปัญหา(ตัวเดียว)เลย

ขออภัยที่เรื่องมาก


Posted by : หัวเขียว , Date : 2005-12-28 , Time : 19:40:41 , From IP : 172.29.4.34

ความคิดเห็นที่ : 17


   ผมไม่คิดว่าคุณหัวเขียวเป็นตัวปัญหาหรอกครับ ผมคิดว่าทุกๆเมื่อมีปัญหา เราก็หาวิธีแก้ไขปัญหาเท่านั้นเอง

มีนักศึกษาแพทย์ปีสามทั่วประเทศที่ตกอยู่ในสภาวะการณ์เดียวกันในขณะนี้ แต่ life goes on และในปีถัดๆไปก็เหมือนกัน จนอีกหน่อยการสอบนี้ก็เป็น "ส่วนหนึ่ง" ของ facts of life ไป ความแปลกใหม่ก็หายไป แต่ "นัยสำคัญ" ของการสอบหรือผลการสอบก็เหมือนเดิม ความเครียดเมื่อเผชิญกับอะไรที่แปลกใหม่ และสำคัญมันเป็นเรื่องธรรมดาครับ และผมคิดว่าถ้าเราหัดทำตัวให้เคยชินกับมันได้ จะเป็นประโยชน์อย่างมหาศาลในอนาคต อีกหน่อยน้องเป็นแพทย์เต็มตัว "วาระสำคัญ" นี้จะเปลี่ยนจากการสอบ ไปเป็นการดูแลผู้ป่วยหนัก การ counseling คนที่พึ่งเสียลูก เสียภรรยา เสียบุพการี "นัยสำคัญ" มันจะมีแต่มากขึ้นตามความรับผิดชอบที่มีแต่จะมากขึ้น แต่น้องก็ยังคงต้องมี normal life ให้ได้ในระหว่าง "วาระสำคัญ" เหล่านี้ให้ได้ ยังต้องไปรับส่งลูกไปโรงเรียน ไปจ่ายกับข้าว และพักผ่อนให้เพียงพอตามปกติ

"วัตถุประสงค์การเรียน" นั้นยึดเป็นสรณะในการเตรียมตัวสอบได้อย่างแน่นอน และดีกว่า "โพย" ซะอีก คำแนะนำ routine ก็คือเรียนทุกอย่างที่อยู่ใน learning objectives นั่นก็เพียงพอ (จริงๆ) แล้วครับ


Posted by : Aquarius , Date : 2005-12-28 , Time : 19:56:49 , From IP : 58.147.55.22

ความคิดเห็นที่ : 18


   น้องหัวเขียว ...พี่ว่าตอนนี้น้องคงตกอยู่ในห้วงแห่ง emotional crisissคือภาวะวิกฤติทางอารมณ์ ทำให้ดูเหมือนความคิดและอารมณ์ของน้องจะสับสนสักหน่อยหรือเปล่า
ถ้าอยู่ในจุดนี้ การอ่านหนังสือเพื่อเตรียมสอบ NTก็คงทำไม่ได้ และไม่มีสมาธิ จะตั้งใจเรียนในblockให้ดีก็คงไม่สำเร็จ เมื่อถึงจุดที่ต้องไปสวนโมกข์ก็คงไปแบบไม่เป็นสุขอีก เพราะเต็มไปด้วยความกังวลในเรื่องที่ยังมาไม่ถึง ไม่อยู่กับhere and now
ตามปกติ ..ความกังวลน้อยๆในตัวคนเราทุกๆคนเป็นเรื่องที่ดี เพราะจะเป็นสัณญาณเตือนให้เราควรระแวดระวัง ใช้ชีวิตไม่ประมาท...คือเราอาจจะลุกขึ้นเพื่อสู้กับเรื่องนั้น ถ้าเราคิดว่าเรามีโอกาสจะชนะหรือรอด หรือไม่ก็เราอาจจะหลีกหนีไม่เผชิญอันตรายนั้น ถ้าคิดว่าสู้ไปแล้วอาจจะบาดเจ็บ..... ชัดๆถ้าเรื่องเรียน ก็จะทำให้เราพยายามตั้งใจเรียน และอ่านหนังสือเพราะกลัวสอบตก ...ถ้าเป็นเรื่องการดูแลคนไข้ เราก็อาจจะส่งต่อคนไข้ของเราไปให้หมอคนอื่นที่มีทักษะมากกว่าเราดูแลผู้ป่วยแทน ถ้าเรารู้สึกเป็นกังวลว่าจะดูแลผู้ป่วยคนนั้นได้ไม่ดีเพียงพอ... แบบนี้ก็ดีใช่ไหม
แต่ถ้าความกังวลนั้นมันมีมาก ท่วมท้นจนเกินไป คนๆนั้นจะเกิดอารมณ์วิตกกังวล และตรงนี้แหล่ะ อารมณ์ที่ท่วมท้นมันจะมามีผลต่อความคิดของเรา ทำให้ตาพร่ามัว มองทุกอย่างไปตามอารมณ์ ประเมินทุกอย่างไปตามแต่อารมณ์จะพาไป ซึ่งอาจบิดเบี้ยวไปจากความจริงได้ ยกตัวอย่างเช่น เวลาที่อารมณ์ดีๆ เราก็จะรู้สึกว่าเราก็เก่งอยู่พอควร แต่เวลากังวลท่วมท้น อารมณ์แย่ลง เราก็จะมองโลกแง่ลบ ไอ้ความรู้สึกที่ว่าเราก็เก่งพอควร มันก็จะเปลี่ยนไปว่าห่วยแตก ชั้น7ก็เคยเรียกพบอะไรแบบนี้เป็นต้น แล้วที่จริงอะไรหล่ะคือเรื่องจริง
พี่ว่าเรื่องจริงคืออะไร เราไม่ต้องมานั่งเถียงกันหรือต่อสู้กัน แต่เราคงต้องมาช่วยกันมองหาทางกันดีไหมว่าทำอย่างไร ให้น้องก้าวเดินต่อไปให้ได้บนหนทางที่มันกำหนดมาแบบนี้......
เริ่มที่ก่อนสิ่งอื่นใด น้องตั้งสติดีๆก่อน พี่จะเอาใจช่วยให้น้องผ่าน crisis ทางอารมณ์ช่วงนี้ไปให้ได้ เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุด คือพี่ศรัทธาและเชื่อในศักยภาพที่มีอยู่ในตัวของพวกน้องๆ น้องคงต้องศรัทธาตัวเองและให้โอกาสแสดงมันออกมา โอเคมั้ย


Posted by : aries , Date : 2005-12-28 , Time : 20:47:27 , From IP : 172.29.7.74

ความคิดเห็นที่ : 19


   กลายเป็นเรื่องไปสวนโมกข์ซะแล้ว

ดังนั้นประเด็น "ไปสวนโมกข์" นี้ ไม่ทราบว่าถ้าผมขอเชิญคุยกันขยายความกันต่ออีกสักนิดจะดีไหมครับ เราจะได้ share กันว่ามุมมองของเราจะช่วยเสริมความเข้าใจซึ่งกันและกันได้อย่างไร

ที่ผมให้สาเหตุว่า"ไม่คุ้ม" (ไม่ใช่ไม่ได้ประโยชน์นะครับ) คือ
1. เรื่องธรรมมะเป็นเรื่องที่ต้องปลูกฝังตั้งแต่เด็ก (ไม่ใช่ช่วงอายุนี้) และหากถามคนในคณะว่าอะไรเป็นสิ่งที่ถูกต้องอะไรเป็นสิ่งที่ผิด เพื่อน ๆ ก็คงจะตอบกันถูกว่าทานเหล้าไม่ดี เล่นการพนันเป็นสิ่งไม่ดี แต่ถามว่าปฏิบัติตามหรือไม่ อันนี้ก็แล้วแต่บุคคล ซึ่งผมไม่คิดว่าแค่วัน 2 วันจะสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมเหล่านี้ได้
2. พอดีผมเรียนโรงเรียนวัดมาตั้งแต่ ประถมถึงมัธยม ได้เข้าค่ายธรรมมะมาแล้วทั้งสิ้น 3 ครั้ง ผมจึงคิดว่าสำหรับตัวผมเองแล้ว คงจะไม่เป็นคนที่ดีเลิศไปกว่านี้แล้วละนอกจากจะไปบวชซะเลย
3. ถ้าคนที่ฝักใฝ่ธรรมมะจริง ๆ เขาก็คงปฏิบัติสิ่งเหล่านี้อยู่เสมอ ไฉนเลยต้องบังคับให้ไป

ผมสาธยายมาพอสมควรแล้วครับ อยากถามกลับว่าทางคณะเห็นประโยชน์(ที่คุ้มค่า)อย่างไรบ้างกับการไปสวนโมกข์ครั้งนี้ เพราะทุกครั้งที่ผมได้มีโอกาสพัฒนนิเทศกับคณะทีไรรู้สึกว่าไม่คุ้มซักที
อยากให้ผู้รู้ช่วยมาไขข้อข้องใจด้วยครับ แล้วเดี๋ยวค่อยกลับไปเรื่อง Human life


Posted by : DogTor , Date : 2005-12-28 , Time : 20:54:27 , From IP : 172.29.4.126

ความคิดเห็นที่ : 20


   คือตอนนี้ผมไม่ได้เครียดขนาด crisisที่อาจารย์กล่าวหรอกครับ(อย่าเพิ่งตื่นเต้น)
ตอนนี้ความเครียดกับกลัวกำลังกระตุ้นผมได้พอดีๆแล้ว แต่ก็แค่อดไม่ได้น่ะครับ
^^ แต่อนาคตไม่แน่นอน อาจจะหัวระเบิดตาย กรุณาเก็บศพผมด้วยอย่าให้เป็นอาหารเจ้าจิ๊บบี้(หมาที่หอ) ขำๆน่ะครับ ^^


Posted by : หัวเขียว , Date : 2005-12-28 , Time : 20:55:58 , From IP : 172.29.4.34

ความคิดเห็นที่ : 21


   ขอ share ความคิดเรื่อง "สวนโมกข์" นะครับ
คือ ผมเป็นคนๆนึงที่ไม่อยากไปสวนโมกข์ (แต่ถ้าไม่ไปแล้วโดนลงโทษก็ต้องไปครับ)
คิดว่าการที่สวนโมกข์ในเวลา 2 วันนี้มันไม่ทำให้อะไรเพิ่มขึ้นมาเลยครับ
ผมเห็นเหมือน doctor
อีกอย่างนะครับ ถ้าจะไปผมอยากจะให้จัดหลังจากที่มีการสอบ NT เสร็จแล้ว เพราะว่าผมคงคิดว่าคงจะมีใครหลายๆคนอยากไปครับ
แต่ถ้าจัดในช่วงนี้(วันที่ 7-8ซึ่งหลังจากสอบเสร็จแล้วก็ติดค้างรายงานมากมายอีกทั้งยังต้องอ่านหนังสือ)ก็คงจะมีอีกหลายๆคนที่ไม่อยากไป(แต่ก็ต้องไป)

อยากจะให้คิดถึงเพื่อนมุสลิมบางคนด้วยครับ


Posted by : Macula , Date : 2005-12-28 , Time : 21:29:28 , From IP : 172.29.4.44

ความคิดเห็นที่ : 22


   เชื่อไหมครับว่าคนเราสามารถมีข้อ excuse ในการที่จะทำหรือไม่ทำอะไรมากมาย จริงบ้างไม่จริงบ้าง แต่เคยมีงานวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ออกมาแล้วว่าเวลาเราให้ "เหตุผล" นี่มันเป็น retrospective ขณะที่ตอนทำจริงๆนั้นมัน urge มาจาก emotion จาก "ความรู้สึก"

ถ้าธรรมะ "ต้อง" ปลูกฝังแต่เด็กจริงก็แปลว่าพอโตเป็นผู้ใหญ่ก็ "สายเกินไป" กระนั้นหรือ? เจ้าชายสิทธัตถะถูกเลี้ยงดูมาอย่างมีวัตถุประสงค์เต็มที่ของพระราชบิดาหวังให้เป็นมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ จนเต่งงาน กำลังจะมีลูกก็ยังตัดสินออกบวชทัน คนที่บวชเรียนถือธรรมะตอนโตนี่เขาทำไปเพื่ออะไร? ไม่มีใครหวังจะพัฒนาตนเองทางด้านนี้ได้เลยหรือ? ทำไม "อายุ" จึงกลายเป็น priority requirement สำหรับการเรียนธรรมะ? ทำไมองคุลีมาลย์ก็ยังบวชเรียนได้?

วันสองวันคงไม่ทำให้เปลี่ยนจริง แต่ "จุดเริ่มต้น" ของทุกสิ่งทุกอย่างที่ยิ่งใหญ่นั้น อาจจะเป็นแค่สองสามชั่วโมงหรือนาที ที่จะเปลี่ยนชีวิตทั้งชีวิตได้ บางคนถึงกับบอก "จุดเริ่มต้น" นั้นเป็นการใกล้ความสำเร็จไปแล้วถึง 50% เพราะว่ามันยากสุด เป็นอุปสรรคมากที่สุดก็ตรง mindset ที่จะ "ไม่เริ่มซะที" นี่แหละครับ

วันก่อนเชิญ อ.ธาดา มาสอนนักศึกษาใน block health promotion อาจารย์ถามคำถามหนึ่งไปที่ floor ว่าทำอย่างไรเราจะทำให้เกิด zero percent ของ traffic accident มีคนตอบมากมาย บ้างก็ว่ากฏหมายต้องดีกว่านี้ กฏหมายบังคับระดับอัลกอฮอล์ต้องต่ำลง ลงโทษต้องรุนแรงขึ้น ฯลฯ อาจารย์เฉลยว่าจริงๆแล้วไอ้ demand ทั้งหลายแหล่ที่เราว่าไว้ว่าต้องมีอย่างนี้ก่อน อย่างนั้นก่อน เราถึงจะทำ เราถึงจะเกิด เราถึงจะสามารถนั้น มันเป็นแค่ "ข้ออ้าง" เท่านั้นแหละครับที่จะ "ไม่ทำ"

เรายังเด็กเกินไปบ้าง เรียนธรรมะไม่รู้เรื่อง โตมาอีกหน่อยเรายังต้องเรียนหนังสือบ้าง ไม่มีเวลาศึกษาธรรมะ เรียนสูงขึ้นอีก อ้อ คราวนี้โตเกินไปแล้ว เรียนธรรมะไม่ได้เพราะตอนเด็ๆไม่ได้เรียน แปลกดีไหมครับ?

คนที่เรียนธรรมะ ทำดีอยู่แล้วนั้น ไม่มีใคร "ต้องบังคับ" ให้ไปสวนโมกข์ครับ แต่เขา "ยินดี" ที่จะไป การเข้าค่ายธรรมะมากี่ครั้งนั้นสำหรับคนแต่ละคนก็คงจะมีผลกหระทบต่อจิตใจไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับว่าจิตนั้น "เปิด" ต่อธรรมะขนาดไหน ถ้าเข้าไปด้วยจิตที่บอกตัวเองตลอดเวลาว่า "เราเรียนไม่ได้ เราเรียนไม่ได้ เราอายุตั้ง 18 ปี แก่เกินเรียนธรรมะแล้ว" มันก็คงจะได้อะไรน้อยกว่าจิตที่พร้อมจะเปิดรับไปอยู่บ้าง

ลองไปดูใหม่ครับ พิจารณาธรรมชาติรอบๆสวนโมกข์ ตั้งคำถามว่าทำไมห่างจากถนนไปไม่กี่สิบเมตร ความรุ่มร้อน ความเร่งด่วนมันสลายหายไปได้อย่างไร ลองตั้งสมาธิ ลองหยิบหนังสือของเราเองก็ได้ นั่งอ่านในลานวัดสวนโมกข์ดู ไตร่ตรองว่ามัน "ต่าง" จากอ่านหน้าหน้าจอทีวี ข้างๆแฟนอย่างไร หรือถ้าบางคนพร้อมกว่านั้นลองเข้าไปอ่านอะไรน่าสนใจในโรงมหรสพแห่งวิญญาณดู อาจจะได้อะไรดีๆกลับมาเยอะกว่าที่คิดไว้ก็ได้

เป็น "นักศึกษา" หรือ "ว่าที่บัณฑิต" นั้น ลองสวมวิญญาณ "ใฝ่เรียนรู้" อะไรก็ได้สักเล็กน้อย วิชาชีพแพทย์นั้นส่วนหนึ่งที่สำคัญมากคือ social science ครับ เพราะคุณภาพชีวิตของคนนั้นมันต้องมี bio-psycho-social และ spiritual ไอ้ part bio ที่เรียนๆกันอยู่นั้น มันแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น



Posted by : Aquarius , Date : 2005-12-28 , Time : 21:48:51 , From IP : 58.147.55.22

ความคิดเห็นที่ : 23


   อ้อ อีกประการ เข้าสวนโมกข์นั้น ไม่จำเป้นต้องเป็นพุทธมามกะก็เข้าได้ครับ ผมคิดว่าคนมุสลิมสามารถเดินเข้าเขตสวนวัดได้ ถ้าพวกเรารู้จักวัดโคกนาวที่หน้าโรงพยาบาลเรา เป็นที่พักของผู้ป่วยที่มาฉายแสง รวมทั้งญาติคนไข้ที่ไม่มีที่พักในหาดใหญ่ อาคารเย็นศิระที่ว่านี้อยู่ในเขตวัดเลยนะครับ แต่ก็มีครึ่งหนึ่งที่จัดไว้ให้คนมุสลิมอยู่ เท่าที่ทราบว่าเขาก็อยู่ได้ตามอัตภาพ มีความสุขดี เรามีที่ให้ทำละหมาดในอาคารเย็นศิรซะด้วยซ้ำไป

คุณ Maculaเป็นมุสลิมหรือว่าเจอเพื่อนที่เป็นมุสลิมที่ลำบากใจในการไปวัดหรือครับ?


Posted by : Aquarius , Date : 2005-12-28 , Time : 21:53:43 , From IP : 58.147.55.22

ความคิดเห็นที่ : 24


   จะเลื่อนได้ไหมครับ? เลื่อนไปหลังสอบเลย ผมว่าน่าจะดีที่สุดแล้ว
เพราะจากที่อาจารย์ได้กล่าวมานั้น ผมขอสรุปสั้นๆเลยว่า อาจารย์อยากให้นักศึกษาไป แต่นักศึกษาเอง(ตอนนี้ไม่ใช่ผมคนเดียวแล้ว)ก็อยากอ่านสอบให้มากทีสุด
ฉะนั้นแล้ว เลื่อนไปหลังสอบ น่าจะโอเคที่สุด
อาจารย์คิดเห็นอย่างไร?


Posted by : หัวเขียว , Date : 2005-12-28 , Time : 22:03:56 , From IP : 172.29.4.34

ความคิดเห็นที่ : 25


   อยากบอกว่าผมไม่ใช่มุสลิมครับ แต่อยากให้ลองคิดถึงเพื่อนบางคนที่เคร่งๆครับ(กรุณาลองถามเพื่อนที่เป็นมุสลิมดูครับว่าอยากไปหรือไม่)

Posted by : Macula(ยืมเครื่องเพื่อนตอบครับ , Date : 2005-12-28 , Time : 22:13:29 , From IP : 172.29.4.34

ความคิดเห็นที่ : 26


   ต้องขอชี้แจงว่าผมไม่มีอำนาจหน้าที่ในการสั่งเปลี่ยนแปลงกิจกรรมการเรียนการสอนของคณะได้ครับ ผมสามารถให้คำแนะนำปรึกษา (ตามชื่อกระดาน) เท่านั้นเอง การเปลี่ยนแปลงนั้น ผมอยากจะให้ใช้วิธีที่ formal ที่เคยแนะนำไป นั่นคือผ่านทางกรรมการชั้นปี หา consensus ของชั้นปี (ถ้ารู้สึกว่านี่คือเสียงส่วนใหญ่แล้ว) ส่งตัวแทนไปพมอาจารย์ที่แพทยศาสตรศึกษาหรือกิจการนักศึกษา ชี้แจงว่าการเปลี่ยนแปลงที่เสนอนั้นดีกว่าอย่างไร ถ้าไม่เปลี่ยนจะส่งผลกระทบต่อผลการประเมินการเรียนการสอนที่ผ่านมาสามปีอย่างไรบ้างครับ



Posted by : Aquarius , Date : 2005-12-28 , Time : 22:14:22 , From IP : 58.147.55.22

ความคิดเห็นที่ : 27


   อ่ะ


Posted by : หัวเขียว , Date : 2005-12-28 , Time : 22:22:08 , From IP : 172.29.4.34

ความคิดเห็นที่ : 28


   อืม ผมคงไม่ลงทุนทำเรื่องขอเลื่อนการไปสวนโมกข์หรอกครับ เพราะกว่าจะต้อง เตรียมข้อมูลไปหักล้างโดยถามความเห็นของเพื่อน ๆ คงจะเสียเวลามากกว่า 2 วันที่ไปสวนโมกข์แน่ ๆ และคง"ไม่คุ้มค่า" เพราะรู้ว่าถึงอย่างไรก็โดนปฏิเสธอยู่ดี
ขอกล่าวถึงเรื่อง "ความคุ้มค่า" ในความคิดเห็นส่วนตัวครับ
สำหรับเวลาที่ต้องใช้ในการไปสวนโมกข์ 2 วันก็คงไม่มากสักเท่าไหร่นัก คงอ่านหนังสือได้ไม่มากนักหรอก แต่ตัวกระตุ้นที่อยากให้ไปคือ"ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ"
ในช่วงหาดใหญ่น้ำท่วม ผมยินดีและเต็มใจช่วยงานของโรงพยาบาล ยอมสละเวลาว่าง(ที่ควรไปอ่าน PBL) ไปเข็นเตียงผู้ป่วย 4 ชั่วโมง วันถัดมาไปออกหน่วยที่คลองหวะอีก 4 ชั่วโมง เบ็ดเสร็จรวมเป็น 8 ชั่วโมง(ไม่ติดว่ามีเรียนคงจะไปช่วยมากกว่านี้) ถามว่าผมรู้สึกเสียดายเวลาไหม คำตอบคือไม่เลยซักนิด เพราะผมได้ทำอะไรในสิ่งที่ผมมีความสุข และได้ประโยชน์(แม้จะต่อผู้อื่นก็เถอะ) จึงถือว่าสิ่งที่ผมทำเป็นสิ่งที่"คุ้มค่า" (อันนี้คือนิยามของผมครับ อาจารย์จะนิยามตามพจนานุกรมเล่มไหนก็แล้วแต่ครับ)
ด้วยเหตุนี้ผมจึงอยากถามถึง"วัตถุประสงค์" ของการไปสวนโมกข์ครั้งนี้ครับ เผื่อจะได้กระตุ้นความอยากไปของผม ผมจะได้พอทราบว่ามัน"คุ้มค่า"ตามคำนิยามของผมจริงๆ
ขอขอบคุณสำหรับคำตอบล่วงหน้าครับ


Posted by : DogTor , Date : 2005-12-29 , Time : 00:33:39 , From IP : 172.29.4.126

ความคิดเห็นที่ : 29


   .....ความคุ้มค่า.....คำนี้น่าสนใจ ชีวิตหมอในอนาคต..กับความคุ้มค่า...ธุรกิจ ???การลงทุน หรือการลงแรง????คุ้มทุน ??? มันจะถูกโยงมาเกี่ยวกันได้ไหมเนี่ย

หมอจะยังไม่ช่วยคุณเพราะมันไม่คุ้มค่ากับเวลาที่เสียไป เอาไปช่วยคนอื่นดีกว่า
หมอจะยังไม่ช่วยคุณ เพราะเวลาตอนนี้ของหมอ มันไม่เอื้ออำนวย คือจะเอาเวลาไปทำอย่างอื่นที่คุ้มกว่า
แค่ลองคิดเล่นๆหน่ะ.... อย่าซีเรียส


Posted by : aries , Date : 2005-12-29 , Time : 06:59:20 , From IP : 172.29.7.143

ความคิดเห็นที่ : 30


   ประการแรก ที่น้องว่า "ยอมเสียสละเวลาที่ว่าง (ที่ควรไปอ่าน PBL)..." นั้น ใครเป็นบอกว่า "ควร" ทำอะไรตอนว่างนั้น น่าจะเป็นตัวน้องเอง เพราะเวลาว่างเป็นเวลาที่เรามี empowerment ใช่ไหมครับ ในการที่จะ conduct กิจกรรมของชีวิต ในที่นี้น้องเลือกไปช่วยคนประสบภัยน้ำท่วมตอนว่าง เพราะว่าน้องคิดว่า ณ เวลานั้น ในบรรดากิจกรรมต่างๆที่เป็นไปได้ที่จะทำ เช่น ไป shopping ไปอ่านหนังสือ ไปดูหนัง ฯลฯ แต่ที่ผุดออกมาเป็นกจกรรมอันดับหนึ่งของน้องเป็นการช่วยคนน้ำท่วม นี่คือ "ควร" ของน้องเอง

ประการที่สองนี้น่าสนใจ "สวนโมกข์" มีอะไรที่ทำให้นักศึกษาแพทย์น่าไป?" คำตอบเรื่องนี้น่าจะเยอะและหลากหลายมากทีเดียว แต่จะเป็น "ควร" เป็น "น่า" ของคนที่หลากหลายเหมือนกันนะครับ ผมคิดว่าในการ "เดินทางไปสถานปริเวทนา" ต่างๆนั้น เราสามารถจะ "ได้" ตั้งแต่จุดเริ่มต้นจะทำ กระบวนการเตรียมตัวที่จะทำ กระบวนการทำ และกระบวนการสะท้อนกิจกรรมหลังทำ ถ้าใครทำได้ครบถ้วนตั้งแต่ปฏิสนธิของความคิด ไปจนหลังเสร็จกิจกรรม ผมคิดว่าจะเป็นการ optimized มากที่สุด

การเตรียม "ความคิด เจตนา" ที่จะทำ นั้นคือการสร้างฉันทาส่วนตัวครับ กิจกรรมหลายๆอย่างที่สำเร็จดีมากๆนั้น มักจะไม่ใช่เพราะการคิด negative ไว้ตั้งแต่แรก แต่เป็นตรงกันข้าม เจตนาที่ "สูง" ไปกว่าการที่เราจะ "ได้อะไร" ก็คือเจตนาเพื่อ pure goodness อาทิ เจตนาทีน้องออกไปช่วยคนน้ำท่วมนั่นแหละครับ ไม่ได้ทำเพราะเราจะได้ออกกำลังเข็นเปล ไม่ได้ทำเพราะเราอาจจะได้ออกทีวี แต่ทำเพราะมันเป็นสิ่งที่ "ควรทำ น่าทำ" ผมคิดว่าสวนโมกข์มีอะไรบ้างนั้น ไม่เหนือบ่ากว่าแรงที่น้องจะใช้เวลาไม่มากที่จะหาเพิ่มจากที่ผมจะบอก สวนโมกข์เป็นสถานปฏิบัติและสอนธรรมะของท่านพุทธทาสจนกระทั่งท่านสิ้นไป ท่านพุทธทาสเป็นพระที่มีอืทธิพลในการสอนธรรมะของพุทธศาสนาของประเทศไทยมากที่สุดรูปหนึ่ง รวมทั้ง Buddhist community ของโลกนี้เลยทีเดียว เพราะมีคนแปลคำสอนท่านเป็นภาษาต่าวประเทศมากมายหลาย articles ถ้าเราเริ่มจากจุดนี้แล้วคิดต่อว่าสถานที่ที่มีคนจาริกมาปฏิบัติธรรมจากทุกสารทิศจะน่าสนใจอย่างไรหรือไม่?

เมื่อมีฉันทา ลองทำสมาธิที่จะ "ตั้งใจ" ศึกษาอะไรก็ตามที่จะหล่นเข้ามาในระหว่างจาริกที่ว่านี้ดู ไม่ต้องถึงขนาดนั่งสมาธิในรถ (ทำได้ก็ไม่ว่านะครับ) แต่ผมว่าตั้งใจให้มั่น และตั้งสมาธิตั้งแต่น้องเดินเข้าไปในสวนโมกข์จนเดินกลับออกมา ดู ฟัง ศึกษา อ่าน ทุกสิ่งทุกอย่างในนั้น ไปดูศาลาที่มีรูปปั้นเต็มตัวท่านพุทธทาสแสดงธรรม หลับตานึกเวลาที่มีอุบาสก อุบาสิกา นั่งแวดล้อม ทั้งหญิงชาย เด็กแก่ ทุกคนตั้งใจมาทำความเข้าใจความลึก ความดี และข้อคิดของหลักพระพุทธศาสนา ลองไปนั่งรวมกับผู้จาริกอื่นๆที่มาฟังพระแสดงธรรมะในลานธรรม ลองไปเข้าชมโรงมหรสพแห่งวิญญาณ

เมื่อเสร็จแล้ว ลองจดจำ แล้วค่อยๆดึงเอาประสบการณ์ทั้งหมดในวันนั้นมาไตร่ตรองและสะท้อนออกมาต่อตัวตนของเราเอง

นี่เป็นแค่กรอบคร่าวๆ ผมคิดว่าน้องทุกคนมี "ศักยภาพ" ที่จะส้รางฉันทาเอง ซึ่งมันจะ perfect กว่าการที่ผมจะเขียน LO ให้ ตรงนี้เป็นกิจกรรมที่เราคิดว่าน้องๆจะตักตวงได้ตามบารมี หรือเป็นจุดเริ่มต้นของการสั่งสมบารมีก็ได้ แล้วแต่ครับ


Posted by : Aquarius , Date : 2005-12-29 , Time : 08:49:15 , From IP : 172.29.3.190

ความคิดเห็นที่ : 31


   "ชีวิตหมอในอนาคต..กับความคุ้มค่า...ธุรกิจ ???การลงทุน หรือการลงแรง????คุ้มทุน ??? มันจะถูกโยงมาเกี่ยวกันได้ไหมเนี่ย"
อาจารย์ครับ คำว่า ธุรกิจ การลงทุน หรือการลงแรงไม่ได้อยู่ในนิยามคำว่า"ความคุ้มค่า"ในพจนานุกรมของผมเลยสักนิดครับ ผมหมายถึงประโยชน์ในหลาย ๆด้าน รวมถึงด้านจิตใจด้วย

"หมอจะยังไม่ช่วยคุณเพราะมันไม่คุ้มค่ากับเวลาที่เสียไป เอาไปช่วยคนอื่นดีกว่า"
อาจารย์จะปฏิเสธหรือครับว่าสิ่งนี้มันไม่มีอยู่จริง สมมติว่าเราเป็นหมออยู่ที่ ER คนเดียวแต่คนไข้มา 2 คนพร้อมกัน โดยที่ต้องทำหัตถการทั้งคู่ ถ้าอีกคนโอกาสรอดน้อยมาก ๆ กับอีกคนที่ยังมีโอกาสรอดอยู่แม้จะไม่มาก อาจารย์ช่วยบอกหน่อยครับจะให้ผมทำอย่างไร......คิดเล่น ๆ ครับ อย่าซีเรียส

ถูกต้องครับที่อาจารย์ได้กล่าวว่า ฉันทะ เป็นสิ่งสำคัญในการปฏิบัติสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ลุล่วงด้วยดี (อิทธบาท 4 = ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิงมังสา) แต่ด้วยความที่ผม(ไม่ทราบว่าเป็นแค่คนเดียวหรือเปล่า) ที่ไม่มีฉันทะในด้านนี้อยู่แล้ว ถ้าอาจารย์ช่วยอธิบายในด้านอื่นที่ไม่เกี่ยวกับธรรมมะ คืออธิบายด้วยเหตุผลธรรมดา ง่าย ๆ เช่นทำให้นักศึกษาใจเย็นมากขึ้น(เหมาะกับผมดีนะ เพราะผมเป็นคนใจร้อน) มีสมาธิมากขึ้น สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ สร้างความสัมพันธ์กับอาจารย์ หรือว่าอาจารย์อยากไปก็เลยจัดโครงการขึ้นมา(ซึ่งไม่น่าจะใช่) เหตุผลง่าย ๆ แค่นี้รับได้มากกว่านามธรรมที่อาจารย์ได้เคยกล่าวมาแล้ว
ในวัยเด็ก แม้ผมจะไม่ใช่คนภาคใต้แต่ก็ได้มีโอกาสไปที่สวนโมกข์มาแล้วครับ ตอนนั้นไม่รู้สึกว่าน่าสนใจเลย ถ้าอาจารย์ได้แนะแนวทางอีกสักนิด จะขอบพระคุณอย่างสูง

ปล. อ่านหนังสือเยอะ ๆ นะ เพื่อน ๆ สู้เพื่อตัวเอง


Posted by : DogTor , Date : 2005-12-29 , Time : 10:33:20 , From IP : 172.29.4.37

ความคิดเห็นที่ : 32


   การสู้เพื่อตนเองในเวลานี้ ก็เหมือนเป็นการสู้เพื่อคนอื่นในอนาคตด้วย เพราะหมอจะต้องไปรักษาคนอื่นอีกมากมาย (ไม่เกี่ยวกับหัวข้อนะ แต่แค่อยากบอกอ่า)
ตั้งใจอ่านนะ สู้ๆ เป็นกำลังใจให้สอบผ่านทุกคนเลย


Posted by : KaSnOwA , Date : 2005-12-29 , Time : 13:59:58 , From IP : 172.29.4.141

ความคิดเห็นที่ : 33


   ตกลงยังไงก็ต้องไปอยู่ถึงแม้ว่าจะได้ประโยชน์น้อย(ในความคิดของผม)
แทนที่จะได้ทำกิจกรรมอื่นๆที่ตัวเองสนใจในวันหยุดราชการ ก็ต้องไปทำอะไรที่เบื้องบนบังคับสั่งมาโดยอ้างว่าเป็นหลักสูตรที่มีผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่านออกแบบไว้


Posted by : SOS , Date : 2005-12-29 , Time : 15:33:37 , From IP : 172.29.4.170

ความคิดเห็นที่ : 34


   ทำให้นักศึกษาใจเย็นมากขึ้น(เหมาะกับผมดีนะ เพราะผมเป็นคนใจร้อน) มีสมาธิมากขึ้น สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ สร้างความสัมพันธ์กับอาจารย์

เท่าที่ว่ามานี้ถ้า work ผมว่ามันก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีครับ

สังเกตไหมครับว่า "ใจเย็นมากขึ้น มีสมาธิมากขึ้น สามัคคี ความสัมพันธ์" เหล่านี้นั้น เป็นนามธรรม หรือเป็นรูปธรรม?

ธรรมะนั้นไม่ได้หมายถึงอะไรที่มันยากหรอกครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งธรรมะที่เป็นสัจจะ มันจะธรรมะ-ดา มันจะพื้นฐาน ไม่ซับซ้อน แต่ "คุณค่า" ของธรรมะนั้นจะเน้นที่คุณค่าต่อจิตใจ จิตวิญญาณ มากกว่าทางรูปธรรม กระนั้นผลสะท้อนแห่งคุณค่านามธรรมเหล่านี้สามารถส่งไปยังรูปธรรมก็ได้

"ใจเย็น" ทำให้เรามีความรอบคอบ ไม่ใช่อารมณ์ ก็จะโกรธน้อยลง ทำงานประณีตมากขึ้น ไม่ตัดสินคนอื่นหรืออะไรเร็วเกินไป
"สมาธิ" ทำให้เราสามารถทำงานได้โดยไม่วอกแวก ไม่ออกนอกลู่นอกทางง่ายๆ และใช้ประโยชน์จาก "ความเพียร" ได้ดีมากขึ้น งานก็จะดีขึ้น อ่านหนังสือจำได้มากขึ้น จบเร็วขึ้น ทบทวนได้มากรอบมากครั้งยิ่งขึ้น
"สามัคคี" ทำให้เราเป็นทีม ทำงานเป็นทีม รักพวกพ้อง รักท้องถิ่นที่อยู่ รักครอบครัว รู้จักพลังความสามารถของการร่วมมือกัน ทำให้เราตระหนักถึงจิตใจคนอื่น มี อตฺตานํ อุปมํ กเร เอาใจเขามาใส่ใจเรามากขึ้น ไม่เอาใจตนเองเป็นใหญ่ เอาใจคนอืนมาสนใจ เอาประโยชน์ของผู้ป่วยหรือคนอื่นเป็นหลักได้ คิดเห็นแก่คนอื่นเป็น
"ความสัมพันธ์" ไม่ว่าจะกับอาจารย์ หรือกับคนรอบข้าง กับพระ กับชาวบ้าน ถ้าดียิ่งขึ้นผมก็ว่าประโยชน์มันก็ชัดเจนดี

ดังนั้นผมคิดว่าจากศักยภาพของคุณ Dogtor เอา "คุณค่า" เหล่านี่เป็นแรงบันดาลใจ น่าจะดีกว่าผมคิดให้ ยกตัวอย่างให้ซะอีกนะครับ


Posted by : Aquarius , Date : 2005-12-29 , Time : 15:52:00 , From IP : 172.29.3.164

ความคิดเห็นที่ : 35


   คุณ SOS ครับ

ก็ต้องไปทำอะไรที่เบื้องบนบังคับสั่งมาโดยอ้างว่าเป็นหลักสูตรที่มีผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่านออกแบบไว้

เมื่อคุณเข้ามาเรียนในสถาบันไหนๆก็ตามนั้น ผมเข้าใจว่าเราเริ่มต้นจากมี mutual understanding (ความเข้าใจ ความต้องการที่ตรงกัน) ว่าคุณอยากจะสำเร็จวิชาอะไรสักอย่างหนึ่ง และเชื่อว่าสถาบันนั้นๆสามารถทำให้คุณบรรลุวัตถุประสงค์ได้ ใช่ไหมครับ?

Consenting adult หมายความว่าบัณฑิตที่เป็นผู้ใหญ่มีความคิด สามารถรับผิดชอบตนเอง sign in ว่าจะร่วมสังฆกรรม เราก็คงจะปฏิบัติตาม protocol ของสถาบันนั้นๆ เวลาเราไปประเทศไหนเราก็จะต้องปฏิบัตืตามกฏหมายประเทศนั้นๆ และประเทศเหล่านั้นไม่ได้ "อ้าง" หรอกครับว่า ที่คนทำตาม เพราะใครเป็นคนวางกฏ มันแค่ "เป็นเช่นนั้น" ถ้าอยู่โดย basic เบื้องต้นของระเบียบสังคมไม่ได้ นั่นเป็นจุดเริ่มต้นของ anti-social behavior รึเปล่า?

คุณ SOS เข้ามาศึกษาแพทย์ที่ มอ. คิดว่าหลักสูตรที่คุณสมัครมาเรียนนี้ออกแบบโดยใครดีครับ? ผู้ทรงคุณวุฒิ? หรือใครก็ได้? คุณมีความเชื่อหรือไม่ว่าหลักสูตรที่วางไว้นี้จะทำให้คุณบรรลุวัตถุประสงค์ที่จะเป็นแพทย์ในอนาคตได้? หรือคุณคิดว่ามันไม่สามารถทำได้อย่างที่ต้องการ ถ้าเป็นเช้นนั้น ควรจะทำอย่างไรจึงจะดี?


Posted by : Aquarius , Date : 2005-12-29 , Time : 15:59:58 , From IP : 172.29.3.164

ความคิดเห็นที่ : 36


   ถ้าในวันนี้น้องคิดไปถึงเหตุการณ์ข้างหน้าที่ยังมาไม่ถึง ว่ามันต้องไม่รอดแน่ๆคือสอบไม่ผ่านหน่ะ พี่ว่าก็คงไม่ต้องพูดอะไรมากแล้ว เพราะมันมีความหมายเท่ากับว่าน้องไม่รอดแล้วตั้งแต่วันนี้ แล้วบทสรุปของเรื่องก็คงลงเอยอย่างที่น้องๆคิด.....

เส้นตายยังมาไม่ถึง แต่เรากับคิดว่าถึงเส้นตายแล้ว เวลาหมดแล้ว ก็จบกันพอดี..

ทำไมเราไม่ลองศรัทธาตัวเราเองหล่ะ ว่าเราต้องทำได้ สอบได้ และลงมือกระทำให้มันเกิดผล หรือว่ามันไม่มีดี ไม่เก่งเลยจริง??????


Posted by : aries , Date : 2005-12-29 , Time : 20:27:59 , From IP : 172.29.7.73

ความคิดเห็นที่ : 37


   น้องdogtor
ถ้ามีคนไข้มาให้ช่วย2คน แต่เราไม่สามารถดูแลได้ทั้งสองคนแล้วเราต้องเลือกว่าจะช่วยใครดี.......
ถ้าคิดในแง่ negative ก็คือมันเป็นทางตัน หมอติดกับ
แต่จริงแล้วมันมีทางออกที่พอจะคิดแบบ positiveแฝงอยู่ได้ไหม เพราะหมอทำงานเป็นทีมจ้า คิดว่ายังงัยยังงัยคงมีผู้ช่วยที่มีฝีมือหรือประสบการณ์ที่ไม่ด้อยเลยในการดูแลผู้ป่วยในเบื้องต้นอยู่ในทีมแน่นอน เพียงแต่น้องจะให้เกรียติหรือrecognizeให้เขามาช่วยเราหรือไม่ ก็เท่านั้น


Posted by : aries , Date : 2005-12-29 , Time : 20:41:02 , From IP : 172.29.7.73

ความคิดเห็นที่ : 38


   ประเทศชาติมักจะมีอะไรแปลกๆอยู่เสมอ เหมือนทุกวันนี้..........คำว่าคุ้มค่าคน weight ควรเป็นใครครับ ผู้ได้รับผลกระทบหรือเปล่าครับ แค่อยากถามดู

Posted by : i will go pataya , Date : 2005-12-29 , Time : 21:11:07 , From IP : 172.29.4.119

ความคิดเห็นที่ : 39


   เข้าใจครับว่าสังคมเรามีระเบียบและผมก็พร้อมที่จะปฏิบัติ
หลักสูตรของที่นี่ผมก็คิดว่ามีทั้งส่วนดีและมีส่วนที่ต้องปรับปรุงอยู่เช่นเดียวกับสถาบันอื่นๆผมก็ยอมรับในจุดนี้
ที่ผมข้องใจคือการมีกิจกรรมนอกสถานที่ ที่ต้องเบียดบังเวลานอกเวลาเรียนเช่นตามรอยวัฒนธรรมปีที่แล้วไปที่นครศรีธรรมราช ไปแล้วก็ไม่เห็นว่าจะได้อะไร ได้ทำผ้าเช็ดหน้า ส่วนปีนี้จะไปสวนโมกข์ โดยส่วนตัวผมก็คิดว่าไม่ได้อะไร เป็นไปได้หรือไม่ที่จะมีกิจกรรมในคณะ ไม่ต้องไปข้างนอกให้เสียเวลาเสียงบประมาณ


Posted by : SOS , Date : 2005-12-29 , Time : 22:37:30 , From IP : 172.29.4.170

ความคิดเห็นที่ : 40


   เรื่องสวนโมกข์ ไม่ขอพูดอะไรแล้วละครับ
ช่วยกลับมาที่Block Human life ของผมด้วยครับโปรดชี้แจงว่าพอมีแนวทางการเปลี่ยนแปลงบ้างไหม และผมยังไม่ได้เรียน History medicine ก็เลยยังไม่ทราบว่าเป็นในแนวทางใด แต่ถ้ารุ่นพี่ comment อะไรไว้ แล้วช่วยนำไปพิจารณาแก้ตามนั้นก็จะขอบพระคุณอย่างสูง

ไม่มีใครช่วยตัวท่านนอกจากตัวท่านเอง แม้แต่คณะยังไม่ช่วยเลย


Posted by : DogTor , Date : 2005-12-30 , Time : 01:02:43 , From IP : 172.29.4.126

ความคิดเห็นที่ : 41


   อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ถ้าน้องทำใจว่าการเรียนแพทย์นั้นเป็น fulltime curriculum เพราะอาชีพเรานั้นเป็นอย่างนั้นจริงๆ

คำว่า "นอกเวลาเรียน" นั้น มันมีความหมายมากน้อยแค่ คงจะพอๆกับคำว่า "นอกเวลาการเป็นแพทย์" นั่นแหละครับ ในชีวิตจริงแม้ในขณะที่เรานอนเอกเขนกอยู่กับบ้าน ไม่ได้อยู่เวร แต่โดยความเป็นแพทย์แล้วนั้น อีกหน่อยเราก็จะรู้ว่าเดี๋ยวก็จะมีคนรู้จักอุ้มลูก จูงหลาน หรือพาพ่อแม่มาปรึกษาเรา ณ เวลาไหนก็ตามได้ทั้งสิ้น

เมื่อไหร่ก็ตามที่เราคิดว่าคณะฯกำลังทำอะไรหว่า ไม่เห็นมัน "คุ้ม" เลย เราจะลองคิดไหมครับว่าคณะฯเรานี่มีชื่อเสียงด้าน waste money หรือว่าคุ้มค่า? รับรองได้ว่ากระบวนการที่ waste ต่างๆนั้น มีคนที่ทำงานfulltime เพื่อจะมองหาเรื่องนี้ แล้วตัดออกอยู่ตลอดเวลา ถ้ามันผ่านมาได้แสดงว่ามีอีกกลุ่มหนึ่งที่สามารถชี้แจงในเหตุผลและหลักการ รวมทั้งประโยชน์ที่น่าจะได้มาเรียบรเอยแล้ว ทีนี้ถ้าเรายังมองไม่เห็น เราก็ชะลอการสรุปอย่างนั้นไว้ก่อน น่าจะสมเหตุสมผลหรือไม่?

ยกตัวอย่าง "ตามรอยวัฒนธรรม" นั้น ที่เรา "ไม่ได้" นั้น เราได้ตระเตรียมใจ เตรียมตัว ที่จะ "ได้" อะไรก่อนไปหรือไม่ หรือว่าพยายามที่สุดแล้วที่จะมองหาว่าจะได้อะไรบ้าง ก็ไม่มีอะไรสักอย่างที่ทำให้เรารู้มากขึ้น เข้าใจมากขึ้น ฉลาดมากขึ้นเลย? "อะไร" คือ "วํฒนธรรม" ที่เขาให้เราไปตามรอย? การตระเตรียมตัวให้พร้อมที่จะเรียนรู้ เปิดใจ และเปิดสมอง ถ้าเรา "ปิด" หมดในดารที่จะเรียนรู้ เราก็จะเหมือยถ้วยชาที่มีชาเต็มแก้ว ใครจะริน จะเติมอย่างไร มันมีแต่จะกระฉอกล้นถ้วยไปหมด เวลาที่เรา "ปิดสมอง" นั้น ต่อให้เดินเข้าไปในสถาบันสมิธโซเนียนเราก็คงจะไม่ได้รู้สึกว่าเรียนรู้อะไรเลย ต่เวลาที่เรา "เปืดสมอง" นั้น บางทีเดินไปเข้าส้วมเราก็อาจจะเรียนรู้อะไรได้เยอะมากก็ได้ ต้องถามใหม่ว่า วันๆที่ผ่านมานี่ตอนจบวันแต่ละวัน เรา "เรียนรู้" อะไรมากขึ้นไหม เรายังรู้เท่าเดิมกับเมื่อตอนเช้ารึเปล่า ถ้าเป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ปีหนึ่งวก็อาจจะยังเหมือนเดิม หกปีก็อาจจะยังเหมือนตอน entrance เข้ามาใหม่ๆ

ในกิจกรรมต่างๆนั้น เราจะสามารถรับรู้ว่า "ช่วยหรือไม่ช่วย" นั้น มันขึ้นอยู่กับว่าเราหาวิธีที่จะ "เสพย์" ถูกต้องหรือไม่ ถ้ามีคนยื่นไฟฉายให้ เราเอามาแทะ มาเลีย ก็คงจะยี้ บอกว่าไม่อร่อย ไม่ได้อะไร แต่บางคนอาจจะเปิดสวิทช์ดู พบว่ามันมีแสงออกมาได้ด้วย เอาไปดัดแปลงใช้ได้หลายอย่าง อีกหน่อยน้องขึ้น clinic ถ้าเราไม่เปิดตนเองให้เรียนรู้ง่ายๆ บางทีเราอาจจะไม่รู้ตัวซะด้วยซ้ำว่าแหล่งเรียนรู้นั้นนอนอยู่เต็มโรงพยาบาลไปหมด

นั่นเป็นสาเหตุที่ว่าทำไม เราต้อง "ช่วยตัวเอง" ก่อนครับ สิ่งแรกที่เราควรจะช่วยตัวเองคือทำให้ตัวเรา "พร้อมที่จะเรียน" นั่นเอง


Posted by : Aquarius , Date : 2005-12-30 , Time : 02:33:50 , From IP : 58.147.55.22

ความคิดเห็นที่ : 42


   ผมขออนุญาตเพิ่ม perspective ในการแสดงความคิดที่ผ่านมาอีกนิดนึง

สาเหตุเพราะพึ่งอ่านกระทู้ขอบคุณพ่อบ้านหอบินหลา ทำให้เกิดความชื่นชมมาก แต่พอมานั่งคิด เอ... ทำไมเราถึงได้ชื่นชมเด็กรู้จักของคุณ การขอบคุณนี่มันเป็นของหายากไปหรืออย่างไร จนมีคนขอบคุณกัน ก็รู้สึกดีใจจนต้องชม

คณะฯช่วยอะไรนักศึกษาบ้าง?

ผมว่าถ้านักศึกษา "นึกไม่ออก" เลยว่าที่ผ่านมา คณะฯ ครูบาอาจารย์ ทำอะไรๆให้เราบ้าง รู้สึกว่าหัวเดียวกระเทียมลีบ สู้โลกเพียงลำพัง ตรงนี้น่าจะมีปัญหาของระบบวิธีการคิดอยู่พอสมควรทีเดียว

ปกติเราจะเห็นแบบนี้ในเด็กเล็กๆที่ throw tantrum เวลาพ่อแม่พาไปเที่ยว ไปซื้อของอะไรต่อมิอะไร แต่ไม่ถูกใจก็จะแสดงอารมณ์ออกมา กับเด็กๆมันก็จะดูน่ารักน่าชังดี แต่ถ้าเป็นการแสดงออกของนักศึกษามหาวิทยาลัย บอกว่านึกไม่ออกว่าครูบาอาจารย์ได้เคยทำอะไรให้บ้างเลย ตรงนี้รู้สึกเย็นที่สันหลังครับ

กลายเป็นการที่คนอื่นจะทำอะไรให้เราบ้าง หวังดีกับเราอย่างไรบ้างนั้น "ไม่นับ" ตราบใดที่มันไม่ match กับ emotion ของเรา ระบบความคิดแบบนี้จะทำให้ในช่วงชีวิตมีเรื่องที่จะ "ขอบคุณ" ใครสักครั้งคงจะน้อยลงไปเรื่อยๆ เพราะการมีการปิดกั้นความสามารถในการมองเห็นความปราถนาดี ความช่วยเหลือ ของคนอื่นไปซะเกือบหมด

มันดีหรือไม่ดีอย่างไร?


Posted by : Aquarius , Date : 2005-12-30 , Time : 10:07:26 , From IP : 172.29.3.114

ความคิดเห็นที่ : 43


   เละ!!!

Posted by : หัวเขียว , Date : 2005-12-30 , Time : 12:04:53 , From IP : 172.29.4.115

ความคิดเห็นที่ : 44


   ผมก็ไม่ทราบว่าเป็นเพราะระบบ PBL หรือเปล่าที่ทำให้ผมรู้สึกเหมือนว่า ค่อนข้างห่างเหินกับครูบาอาจารย์เลยเกิน ก็เนื้อหาที่ได้ความรู้ส่วนใหญ่ก็มาจากการ SDL ส่วนที่รองลงมาจึงจะเป็นการ Lecture ของอาจารย์

"แต่ถ้าเป็นการแสดงออกของนักศึกษามหาวิทยาลัย บอกว่านึกไม่ออกว่าครูบาอาจารย์ได้เคยทำอะไรให้บ้างเลย ตรงนี้รู้สึกเย็นที่สันหลังครับ"

ขออนุญาต clarify terms คำว่า "ครูบาอาจารย์" กับ "คณะ" นะครับ ผมไม่เคยนึกเนรคุณหรือกล่าวโทษ หรือแสดงอาการน้อยใจ กับอาจารย์ทุกท่านที่ได้สอนผมหรือกระทั่งแม้แต่อาจารย์ที่คุม PBL แต่สำหรับ"คณะ"ผมหมายความโดยรวมเช่น จะช่วยเลื่อนการไปสวนโมกข์ออกไปได้ไหม ตัดเนื้อหาบางเนื้อหาใน block Human ได้ไหม และตัด Block History ออกไปได้ไหม(จริง ๆ ยังไม่รู้เนื้อหาในbolck นี้หรอก แต่พอจะอนุมานได้ว่าไม่น่าเรียนเลย แต่ถ้าคณะไม่ช่วยในจุด ๆ นี้ผมก็ไม่ได้ว่าอะไร ไม่ได้มีจุดประสงค์ร้องไห้งอแงว่าต้องเอาให้ได้ ก็แค่เพื่ออยากเตือนสติเพื่อน ๆ ให้อ่านหนังสือกันได้แล้ว

แต่ถ้าคำพูดบางคำ(ตั้งแต่ต้น) อาจารย์ฟังแล้วรู้สึกไม่ดีก็ขอโทษไว้ ณ ที่นี้ เพราะผมเป็นคนใจร้อน(ไม่ใช่ข้ออ้าง)

เรื่องพ่อบ้านบินหลา 1 นะครับ แม้ผมจะไม่ไป post ใน webboard แต่ผมก็ไป "ขอบคุณ" ที่เขาโดยตรง(บวกเป๊ปซี่ 1 กระป๋อง) เค้าคงชื่นใจเหมือนกันแหละ

สำหรับเรื่องคนไข้ 2 คน เถียงกันไปก็ไม่จบครับ ผมยอมจบเองครับ


Posted by : DogTor , Date : 2005-12-30 , Time : 20:19:44 , From IP : 172.29.4.131

ความคิดเห็นที่ : 45


   มันคงเป็นการเลือกใช้คำและความหมายแหละครับ นี่คือข้อจำกัดของการสนทนาแบบไม่เห็นหน้าตา ไม่ได้ยินน้ำเสียงท่าทาง

การที่เราผูกพันกับ "คณะ" หรือ "มหาวิทยาลัย" นั้น ผมคิดว่านอกเหนือจาก abstract form ของคำนี้ ที่เราผูกพันจริงๆน่าจะเป็น "คน" กับ "เหตุการณ์" ต่างๆที่คนในคณะฯทำให้เกิดระหว่างที่เรมใช้เวลาส่วนหนึ่งในชีวิต เช่น นักศึกษาบางคนเมื่อเรียนจบก็ผูกพันกับคณะ มีความรักคณะฯ รักที่มา รักรากเหง้าที่ตนเองได้เติบโตมาจาก ครูบาอาจารย์ที่ทำงานอยู่กับ "คณะ" นั้นก็ผูกพันกับสิ่งต่างๆที่มีส่วนร่วมสร้าง ร่วมกระทำ เช่น การสอน การได้ร่วมกิจกรรม การได้มองเห็นความสำเร็จของลูกศิษย์ (ไม่ได้ล้อเล่นครับ คนเป็นอาจารย์ย่อมมองหาความสำเร็จของลกศิษย์เป็น surrogate achievement ด้วยเสมอ) ความสำเร็จในที่นี้ก็ควมีตั้งแต่ด้านวิชาชีพ และด้านอื่นๆที่อยากให้มี เช่น life skill เช่นคุณธรรม จรรยาบรรณ เช่น การเป็นคนดีของสังคม เข้าใจชีวิต เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเองในสังคม

"คณะ" เฉยๆนั้น มันมีแต่ตัวอาคาร แต่จิตวิญญาณของมันคือคนที่ "ทำงาน" อยู่ในนั้นครับ หลักสูตรที่มีอยู่ในคณะ ร่างและเขียนออกมาจากอาจารย์ของเราเอง ไม่ไดถูกส่งตรงมาจากไหน ที่ส่วนกลางให้มาคือแค่เกณฑ์มาตรฐาน ส่วนทำอย่างไร การเป็น identity การมีความเอกเทศนั้นเป็นผลงานของอาจารย์ในคณะเราเองทั้งสิ้น มันหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่เมื่อมีคนว่าคณะจะไม่โดนคนที่ทำงานในนั้น ลองจินตนาการฝรั่งมันมาด่าประเทศไทยว่าประเทศนี้มันเลว ห่วย ไคยร่วมมือสังฆกรรมอะไรกับโลกนี้ ไม่เคยยื่นมือไปช่วยเหลือใครเลย แล้ว "คนไทย" จะโกรธ จะไม่พอใจหรือไม่? ถ้าฝรั่งมันจะอ้างว่า I scold the country, not Thais จะเป็นอย่างไร?

ถ้าคุณ Dogtor จะเสนอตัดอะไรออกจากหลักสูตรนั้นมีสิทธิ์เสนอครับ แต่ควรจะประกอบเหตุผลที่ชัดเจนกว่านี้ แต่การบอกว่าขอตัดออกโดยที่ยังไม่รู้ซะด้วยซ้ำว่าตัดอะไรไป คนจะรู้สึกว่าหลักสูตรที่เขียนมานี้มันชุ่ย มันลวกๆ ขนาดหลับหูหลับตาตัดอะไรออกะบ้างก็ยังไม่กระทบต่อเกณฑ์ความสำเร็จของนักศึกษาหรือไม่ เหมือนฝรั่งบอกว่าอย่าไปเลยเมืองไทย ชื่อไม่น่าสนใจ คนก็คงไม่น่าสนใจ ไม่มีอะไรดีสักอย่าง แล้วเราจะรู้สึกอย่างไร?


Posted by : Aquarius , Date : 2005-12-30 , Time : 21:26:19 , From IP : 172.29.7.225

ความคิดเห็นที่ : 46


   หวังว่าจะไม่มีกระทู้ อึดอัดใจใน History of Medicine นะ
จะคอยติดตามผลงานของคุณ DogTorครับ
Happy New Year อาจารย์ทุกท่าน พี่ๆน้องๆเพื่อนๆทุกคนครับ


Posted by : หัวเขียว , Date : 2006-01-02 , Time : 17:45:20 , From IP : 172.29.4.115

ความคิดเห็นที่ : 47


   เรื่องไปสวนโมกข์ก็ได้จบลงไปแล้ว แม้มันจะไม่เป็นไปอย่างที่คาด...
ผมต้องกล่าวขอโทษอาจารย์ทุกท่านที่ทำให้รู้สึกอึดอัดใจหรือทำให้อาจารย์เสียความตั้งใจที่ดีหลังจากที่ผมได้มา post ในกระดานข่าวแห่งนี้ สาเหตุที่ผมมา post ไม่ได้ต้องการจะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใด ๆ (ไม่อย่างนั้นคุยกับอาจารย์ตรง ๆ คงดีกว่า) และไม่ได้ต้องการให้เป็นเรื่องใหญ่ (ไม่งั้นคงจะไม่ post ในกระทู้ปรึกษาอาจารย์) แต่จุดประสงค์ก็เพื่อช่วยบอกผมทีเถิด ว่าไปแล้วมันเกิดประโยชน์ ไปแล้วมันคุ้ม (ดังที่ได้รับคำตอบมาแล้ว)
ก็ขออนุญาต "ขอโทษ" อาจารย์ไว้นะทีนี้อีกครั้งหนึ่ง จะมองผมเป็นคนอย่างไรก็ได้ แต่นี้เป็นความคิดเห็น"ส่วนตัว" ของผม ไม่ใช่ของชั้นปี

ไปสวนโมกข์กันเถอะ เพื่อน ๆ (โดยเฉพาะ นายหัวเขียว) ถือว่าพักผ่อนหลังสอบ ให้รางวัลชีวิตบ้าง
ปล. ทีมงานปฐมพยาบาลกรุณา นำ Ranitidine (H2 receptor antagonist) หรือ Omeprazole (Proton pump inhibitor) ไปด้วยเยอะ ๆ เลยนะครับ กลัวเพื่อน ๆ เป็นโรคกระเพาะกัน
ปล.อีกครั้ง เรื่อง Human Life คงยังไม่จบ ไว้ตอน oral feedback แล้วกัน


Posted by : DogTor , Date : 2006-01-04 , Time : 20:00:48 , From IP : 172.29.4.38

ความคิดเห็นที่ : 48


   Human life = ชีวิตมนุษย์
ปลง - ไปวัดกันเถอะ


Posted by : ปี 3 , Date : 2006-01-05 , Time : 00:04:18 , From IP : 172.29.4.153

ความคิดเห็นที่ : 49


   แหมคุณDigTor มาว่าอะไรผมล่ะ
ผมก้อเหมือนคุณนั่นแหละ ยังไม่พร้อมที่จะไป
และขอขอบคุณอาจารย์มากที่มีการหยวนให้ไป2รอบ แต่ดูเหมือนว่าจะเหลือรอบเดียวแล้วครับ เพราะพอให้ลงชื่อ ก้อหายกันหมดเหลือแค่ผมกับเพือ่นอีกคน ตอนถามก้อบอก ค่อยไปรอบหลัง แต่พอลงชื่อก้อหายหมด


Posted by : หัวเขียว , Date : 2006-01-05 , Time : 08:40:17 , From IP : 172.29.4.127

ความคิดเห็นที่ : 50


   ไปมาแล้ว รู้สึกดีมากครับ ชอบบรรยากาศมาก แทบอยากลาออกไปบวช
แต่ขอคอมเม้นต์นิดนึงจากการที่ได้ไปมา
สำหรับบางคนนะครับ การที่ให้ไปอยู่ในสวนโมกข์เหมือนกับการไปขังไว้ในกรงสักอย่าง บางคนอยู่ในวัดเหมือนตายอดตายอยากออกมาเหมือนหลุดจากคุก บางคนไม่รู้มารยาทเอาซะเลย เช่นสตรีขึ้นหอระฆัง เอาข้าวต้มมัดเหลือๆไปตักบาตร พระเตือนแล้วว่ากฎเป็นอย่างไร แต่ก็ลืมใน1นาที เป็นต้น
ทำให้ดูเหมือนว่าการที่พานศพ.ไปเนี่ย เหมือนกับการทำให้วัดดูแย่ลง นศพ.อึดอัดทำตัวต่อต้าน สรุปแล้วคือไม่ดีน่ะครับ
ฉะนั้นผมว่าควรจะสมัครไปกันมากกว่าที่จะบังคับไปนะครับ


Posted by : ฮู แอม ไอ , Date : 2006-01-09 , Time : 16:00:11 , From IP : 172.29.4.189

ความคิดเห็นที่ : 51


   สองคนยลตามช่อง คนหนึ่งเห็นโคลนตม อีกคนหนึ่งเห็นดวงดาวอยู่พราวพราย

ทุกคนได้ในสิ่งที่สมควรได้ครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2006-01-09 , Time : 18:43:30 , From IP : 58.147.6.27

ความคิดเห็นที่ : 52


   นั่นสินะ เหมือนกับที่อาจารย์เห็นและฮูแอมไอเห็นหรือเปล่าครับ

Posted by : หัวเขียว , Date : 2006-01-10 , Time : 15:29:05 , From IP : 172.29.4.69

ความคิดเห็นที่ : 53


   โอย
แทบบ้า ถ้าอยู่ต่ออีกนิดคงได้ลาออกแล้วบวชแน่ๆ


Posted by : ทรม้าน ทรมาน , Date : 2006-01-11 , Time : 01:22:46 , From IP : 172.29.4.237

ความคิดเห็นที่ : 54


   ผมว่าไม่น่าเป็นห่วงเรื่องนั้นเท่าไหร่นะครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2006-01-11 , Time : 02:29:15 , From IP : 58.147.115.164

ความคิดเห็นที่ : 55


   เอ... ผมว่าน่าจะมีการตั้งกลุ่มคุยกันจริงๆสักชั่วโมงต่ออาทิตย์นะครับ (มีหัวข้อพูดคุย)

ถกกันในเรื่องความคิดอย่างทำนองนี้ล่ะครับ

น่าจะสนุก


(คอมเมนต์เนื้อหาไม่ไหว เพราะจะไปนอนแล้วครับ)


Posted by : ArLim , Date : 2006-01-11 , Time : 03:56:37 , From IP : 172.29.4.172

ความคิดเห็นที่ : 56


   เห็นด้วยกับที่บอกว่า "ควรจะสมัครไปกันมากกว่าที่จะบังคับไป" นะครับ

Posted by : P|atino , Date : 2006-01-11 , Time : 13:02:40 , From IP : 172.29.4.219

ความคิดเห็นที่ : 57


   ยังไม่ได้ oral feedback เลยครับอาจารย์

Posted by : i will go pataya , Date : 2006-01-12 , Time : 00:52:12 , From IP : 172.29.4.153

ความคิดเห็นที่ : 58


   ถามหน่วยกิจการฯครับ ไม่ทราบว่าของ block ไหน จะมีกรรมการประจำ block นั้นๆเป็นคนพิจารณาครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2006-01-12 , Time : 10:44:47 , From IP : 172.29.3.112

ความคิดเห็นที่ : 59


   อืม... คิดดูอีกที น่าจะเป็นแพทยศาสตร์มากกว่าหน่วยกิจการครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2006-01-12 , Time : 10:45:42 , From IP : 172.29.3.112

ความคิดเห็นที่ : 60


   จะเป็นใครไม่สำคัญหรอกครับ
ขอกลับมาบล็อคที่แล้วนะครับ
อยากถามว่าสิ่งที่รุ่นพี่commentไป เหมือนส่องไฟขึ้นฟ้าหรือเปล่าครับ
โดยเฉพาะในบล็อคก่อนๆ เหมือนได้ยินรุ่นพี่บอกว่าเคย commentไปแล้ว แต่ไม่มีอะไรเกิดขึ้น
อยากให้นำสิ่งที่ commentไปใช้ประโยชน์ด้วยครับ
ไม่อย่างนั้นอย่ามีการจัด oral feed back หรือการประเมินต่างๆเลย เพราะเหมือนกับเสียเวลาเปล่าๆ

ขออภัยถ้ากล่าวสิ่งที่เกิดขึ้นเกินไป


Posted by : หัวเขียว , Date : 2006-01-12 , Time : 18:47:35 , From IP : 172.29.4.230

ความคิดเห็นที่ : 61


   สิ่งหนึ่งที่เราควรทราบก็คือ สิ่งที่ทำ oral feedback นั้น "ไม่ทุกอย่าง" จะถูกเปลี่ยนไปตามนั้น และ "ไม่ทุกอย่าง" ที่เป้นความเห็นส่วนใหญ่ของพวกเราเอง (ทั้งชั้นปี) บางอย่างมี "ข้อจำกัด" ในการที่จะทำให้เกิด และที่แน่ๆก็คือ "บางอย่าง" ที่ถูกเปลี่ยนแปลงตาม feedback นั้น ไม่เคยมีคนสังเกตเห็น

มันขึ้นอยู่กับที่น้อง "ไว้ใจ" อาจารย์ในเรื่องเหล่านี้มากน้อยแค่ไหน ว่าคณะฯจัดการ feedback นี้มาหลอกๆเด็ก โดยไม่คิดจะทำตาม หรือรัลบฟังอะไรเลย หรือว่าคณะฯรับฟังแล้วจะนำไปปรับปรุง "ตามบริบทและเงื่อนไข" ตรงนี้จะเกี่ยวกับความเข้าใจและ attitude ของวัฒนธรรมการ feedback ในอนาคต

ถ้า "รุ่นพี่" สักเมื่อสิบปีที่แล้ว มาดูหลักสูตรตอนนี้ แล้วบอกว่าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงเลยก็ยังน่าสงสัย แต่ผมพอจะบอกได้อย่างหนึ่งว่าตั้งแต่ปี 2002-2004 สองปี คณะฯมีการสัมมนาแหลักสูตรในระดับ block และในระดับคณะฯไม่ต่ำกว่า 6 ครั้ง และมี implementation ใหม่เกิดขึ้นตลอดเวลา แต่คงจะไม่ทุกอย่างที่ถูกเสนอได้นำมาใช้จริง ฉะนั้นประโยคที่ generalize ประเภท "ไม่เคยเปลี่ยนแปลง" หรอื "ไม่เคยนำไปใช้" นั้น มันจะฟังอ่อนน้ำหนักไป ทางที่ดีอาจจะพูดเป็นปะรเด็นจำเพาะไป สอบถามพวกเรากันเองว่านี่เป็นความเห็นระดับบุคคล ระดับ rotation หรือระดับชั้นปี นำมาสอบถามกับคนที่เกี่ยวข้องว่ามีอุปสรรคอะไร น่าจะเป็นการสร้างสรรค์มากกว่าการตีขลุมรวมไปทั้งระบบหรือไม่?

อีกประการการปรับหลักสูตรนั้น บางเรื่องต้องดูว่ามันมีผลกระทบตอ่การประเมินรวมหรือไม่ ปรับหลักสูตรมันจะกระทบตอ่การประเมิน ต่อวัตถุประสงค์การเรียน และต่อความสามารถในการเปรียบเทียบ มิฉะนั้นคนได้เกรด AB ตอนต้นปี อาจจะได้มาตรฐานไม่เท่าตอนปลายปี ยกเว้นประเด็นเล็กๆที่ไม่มีผลในวงกว้างที่อาจจะปรับเปลี่ยนแบบ block-to-block ได้ ไม่อย่างนั้นต้องวเป็นระดับเปลี่ยนปีการศึกษาจึงจะสามารถปรับได้

น่าสนใจว่า "ความหมดความไว้วางใจในครูอาจารย์" นั้น มีรากฐานจากอะไร และเกิดขึ้นในระดับนักศึกษาเป็นบางคน หรือเป็น epidemic ขนาดไหน



Posted by : Phoenix , Date : 2006-01-12 , Time : 19:03:08 , From IP : 58.147.118.94

ความคิดเห็นที่ : 62


   อย่างน้อยผมคิดว่าควรมีการบอกว่าทำไมจึงแก้ไขไม่ได้ หรือที่พวกเราเสนอไป ไม่สมเหตุผลยังไง จะดีไหมครับ

Posted by : i will go pataya , Date : 2006-01-14 , Time : 01:05:24 , From IP : 172.29.4.253

ความคิดเห็นที่ : 63


   รู้สึกเหมือนกับว่า feedback ไป แล้วโดนยิงกลับน่ะคับ แบบว่ามันงงๆอ่ะ

Posted by : P|atino , Date : 2006-01-14 , Time : 10:11:04 , From IP : 172.29.4.196

ความคิดเห็นที่ : 64


   ในสังคมที่เรากำลังอยู่นี้ ผมเห็นด้วยว่า "ทุกฝ่าย" ควรจะมีการรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่างครับ

และเมื่อมีการตัดสินเลือกอะไรออกมาซักอย่างหนึ่ง บางทีสิ่งที่เราไม่เห็นด้วยนั้น มันอาจจะมีประเด็นอื่น ข้อดีอื่นๆที่เราเองมองไม่เห็น ไม่ทราบ ก็น่าสนใจที่จะลองค้นหาสืบค้นดูว่ามันคืออะไร การทำความเข้าใจตรงนี้ ทั้งสองฝ่าย (หรือทุกๆฝ่าย) อาจจะเกิดประโยชน์ที่จะพิจารณา มากกว่าการที่ยังคงยืนยันความคิดอย่างใดอย่างหนึ่งว่าถูกต้องตลอดกาลนาน

ถ้ามองลึกไปกว่า surface ของ PBL system ผมคิดว่ามีการเปลี่ยนแปลงในการทำงานเกิดขึ้นทุกปี (บางกรณีย่อยๆ แทบจะ block ต่อ block) เวลามีการ feedback บ่อยครั้งน้อยกว่าที่จะพบว่าความคิดของใครคนใดคนหนึ่งที่ได้ความเห็นชอบ 100% ส่วนใหญ่จะลงเอยที่มีทั้งคิดตรงกัน ต่างกัน หรือตรงกันในเป้าหมายแต่ต่างกันตรงวิธี หรือวิธีเดียวกันแต่คิดว่าได้ไม่เหมือนกัน ทางที่ดีถ้าจะประหยัดเวลาการชี้แจงตอนท้ายสุดหลังการตัดสินใจ ระหว่างตอนที่มีการเสนอความเห็นนั้น ถ้าเราได้คอยรับฟังความเห็นอื่นๆที่เสนอมาด้วย ฟังเหตุผลด้านนั้นด้วย พอผลออกมาเราก็จะพอเข้าใจว่าอะไรคือเหตุผลของ option นั้นๆ เพราะถ้ามีข้อเสนอสักสิบแบบ ตัดสินออกมาหนึ่งแบบแล้วต้องมีการ clarify อีก 9 แบบที่เหลือ กับทุกคนอีก มันจะเป็นการบริหารเวลาที่ยากทีเดียว ในบรรดา 9 คนที่เหลือเราก็จะไม่แน่ใจว่าบางคนไม่เข้าใจเลยว่าคนอื่นเสนออะไรมาเพราะอะไร หรือมีบางคนที่เข้าใจว่าเรื่องนี้มันคิดได้หลายแบบและเข้าใจต่อไปว่าทำไมแบบอื่นจึงถูกเลือก ถ้าจะให้มีประสิทธิภาพคนที่ยังไม่เข้าใจและต้องการคำอธิบายประเด็นไหน เรื่องอะไร น่าจะไปขอคำชี้แจงจากผู้รับผิดชอบ "โดยตรง" ด้วยตนเอง น่าจะได้คำตอบที่มีรายละเอียดและเหตุผลมากกว่าเหวี่ยงแหโดยไม่ทราบว่าเป้ามีหรือไม่

ลองจินตนาการปัญหาสำคัญๆระดับประเทศ หรือระดับตำบลหมู่บ้าน ความหลากหลายของปัญหายิ่งมากกว่านี้ วิธีแก้ตามมุมมองต่างๆยิ่งมากกว่านี้ แต่เมื่อมีข้อสรุปออกมานั้น วิธีที่ดีที่เราจะเข้าใจว่าอะไรถูกเลือก/ไม่เลือกเพราะอะไร ก็คือการตั้งใจฟังตอนที่มีการแลกเปลี่ยน/เสนอความคิดเห็น ถ้ายังไม่เข้าใจอีกก็ถามจำเพาะเจาะจงไป เพราะคงไม่มีหน่วยบริหารที่ไหนตามอธิบายแก่ทุกคนที่ไม่เห็นด้วย ซึ่งอาจจะมีเป็นสิบ ร้อย พัน

Accoutability ที่มีการพูดถึงกันในระดับประเทศนั้นพูดถึง "ความโปร่งใส" นั้นหมายถึง "ตรวจสอบได้" ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นการตีพิมพ์บัญชีหรือบันทึกรายงานการประชุมในที่สาธารณะ แต่เป็น "จะมี" บัญชีหรือบันทึกรายงานการประชุม" ที่เมื่อมี "คนขอ" ก็จะสามารถตรวจสอบได้เสมอ เพราะตัดสินใจอย่างนั้น อย่างนี้ เพราะอะไร

ลองนำไปใช้ในการปฏิบัติจริง ทั้งด้านการเรียน และเมื่อจบออกไปอยู่ในสังคม ผมว่าอาจจะมีประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย



Posted by : Phoenix , Date : 2006-01-15 , Time : 10:51:19 , From IP : 203-118-113-43.stati

ความคิดเห็นที่ : 65


   ผมสนใจประเด็นที่คุณ Dogtor กล่าวถึง (เล็กๆ) ในตอนต้นที่ว่า Lecture วิชาสังคม ที่เรียนกันมาตั้งแต่มัธยมจนถึงปี 1 อุตสาห์ดีใจที่ไม่ได้เจอกันมาตั้งนาน แต่จนแล้วจนรอดก็ต้องมาเรียนใน block นี้

ถ้ามีเวลา ผมคิดว่าค่อนข้างน่าสนใจครับที่จะอภิปรายว่าวิชาสังคมนี่มันเกี่ยวหรือไม่เกี่ยวกับแพทยศาสตร์ หรือไม่ อย่างไร สักกี่มากน้อย

บางทีถ้าเราพูดถึงมันจากมุมมองทั้งสองฝ่าย อาจจะเกิดจุดร่วมที่เกิดประโยชน์ต่อๆไปมากขึ้นก็ได้นะครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2006-01-16 , Time : 09:11:18 , From IP : 172.29.3.200

ความคิดเห็นที่ : 66


   มักมีการเบี่ยงประเด็นเวลา feed back ครับ
ถามอย่างนึง ตอบอีกอย่างนึง

ไปเดินป่าดูหญ้าดีก่า กินเวลาดี


Posted by : หัวเขียว , Date : 2006-01-16 , Time : 18:17:56 , From IP : 172.29.4.95

ความคิดเห็นที่ : 67


   โอเคครับ ขอยอมรับว่าวิชาชีพแพทย์นั้นถึงอย่างไรก็ไม่อาจหลบพ้น"สังคม"ได้ แม้จะเป็น Pathologist ก็เถอะถึงอย่างไรก็ต้อง contact กับญาติคนไข้อยู่ดี
แต่ถ้าอาจารย์ได้มีโอกาสดูเนื้อหาของ Lecture แรกเลย ใน block ที่ผ่านมานั้น พูดได้เลยว่าไม่มีประโยชน์เท่าที่ควรด้วยสาเหตุดังต่อไปนี้
1. เนื้อหาเรียนมาแล้วซ้ำ ๆ ตั้งแต่มัธยมต้น มัธยมปลายในวิชชาสังคม ปี 1ในวิชา man and society
2. เนื้อหาง่ายต่อความเข้าใจ อ่านเองได้ หรือสอนให้จบได้ภายใน 15 - 30 นาที ไม่ใช่ 2 ชั่วโมง
3. เนื้อหาไม่เกี่ยวกับ human life อย่างชัดเจน (ถ้าเห็นชัด ๆ ก็ขอคำชี้แนะด้วย ขอชัด ๆ นะครับ ไม่เอาอ้อมโลก)
ถ้าอาจารย์มีเวลาว่างสัก 2 ชั่วโมงน่าจะลองหา video streaming ของ lecture 1(ไม่แน่ใจ) มาดูแล้ว discuss กันนะครับ แต่ผมก็เห็นว่าไม่น่าสนใจ ก็เลยไม่ได้ตั้งใจฟังเท่าไหร่ คงจะ discuss กับผมไม่สนุกแน่ ๆ


Posted by : DogTor , Date : 2006-01-16 , Time : 19:11:55 , From IP : 172.29.4.159

ความคิดเห็นที่ : 68


   man and society,human life ถ้าจะให้เรียนแต่แกน หรืออ่านหลักtheory ปรัชญาconcept ต่างๆที่เขียนเป็นประโยคๆ เห็นด้วยนะว่าไม่ยากหรอกที่จะอ่านจบในครึ่งชั่วโมง

ว่าแต่ส่วนแกนเป็นท่อนๆ เป็นประโยคนั้นเหรอ คือส่วนที่เราจะต้องเอาไปใช้ในอนาคต มันน่าจะเป็นการที่เราพยายามทำความเข้าใจ ย่อยหลักต่างๆ มองให้ถ่องแท้ และลึกซึ้งของวิถีคิดของหลักนั้นๆมากกว่าหรือเปล่า ที่เราต้องใช้เวลาทำความเข้าใจ ซึ่งการทำความเข้าใจเรื่องดังกล่าว แบบว่าจะอ่านเอาเอง หรือเอาแบบมีการแลกเปลี่ยน มีคนชี้แนะ ก็ไม่แน่ใจนะว่าแบบไหนจะทำให้เราเติบโตกว่ากัน น่าคิดนะ


Posted by : aries , Date : 2006-01-16 , Time : 19:38:31 , From IP : 172.29.7.180

ความคิดเห็นที่ : 69


   เห็นด้วยกับหัวเขียวค่ะ
ยอมรับความจริงดีกว่านะ ถึงจะทำยังไง ฟีดแบคยังไง บ่นแค่ไหน คณะคงไม่สนใจจะปรับเปลี่ยนหรอก
เขาเป็นผู้ใหญ่และยิ่งใหญ่ ผู้น้อยและฤทธ์น้อยอย่างเราๆจะทำไรได้

หัวแข็งเป็นบ้า


Posted by : หัวแดง , Date : 2006-01-16 , Time : 20:01:23 , From IP : 172.29.4.112

ความคิดเห็นที่ : 70


   OK ครับ เราเริ่ม tune เข้าหากันได้ดีพอสมควร

ขอเพียงนักศึกษามี "เจตคติ" ที่ดีต่อวิชาสังคมบ้าง ผมว่าเป็นเรื่องที่ดี ดีกว่านั้นก็คือวิเคราะห์แล้วทราบว่าแค่ใน lecture นั้นยังไม่ครอบคลุม ยังมีอะไรต่อมิอะไรอีกมากมายในวัตถุประสงค์การเรียนสังคมศาสตร์ที่เกี่ยวกับการเป็นแพทย์ ขอ้สำคัญคือหลายๆอย่างอ่านจากหนังสือไม่ดีเท่าการนำเอาประสบการณืมาวิเคราะห์ ไตร่ตรอง และทำความเข้าใจ

เราเคยแนะนำคนไข้ที่ใส่สายสมูกเพื่อให้อาหาร (Naso-gastric tube) และอาจารย์ พี่ๆก็สอนต่อๆมาว่าสายนี้มันใส่ไม่สบายะนะ เจ็บจมูกนะ คอแห้งนะ ให้เปลี่ยนทุกๆสองสามอาทิตย์จะได้หลีกเลี่ยง nsal septum necrosis ก็จำได้และปฏิบัติ ตอนเป็นนักศึกษาปีสองก็ลองใส่กันดูคนละครั้ง ชั่วโมง physio เพื่อดูด gastric content ออกมาวัด pH จบมาก็จำความรู้สึกไม่ได้แล้ว พอคุณพ่อผมเองเป็น Alzhiemer ต้องใส่สาย feed แต่ถูกดึงหลุดบ่อย หลุดทีที่บ้านก็ต้องเรียกพยาบาลจาก รพ. (ที่กรุงเทพฯ) มาใส่ที พอมีโอกาสก็เลยไปสอนใส่สายให่ที่บ้าน ยอมเป็น subject ให้ หัดหมดเลยสำหรับคนที่ดูแล ใส่เข้าใส่ออกอยู่สี่ห้ารอบ คราวนี้รู้ซึ้งเลยว่าที่ว่าเจ็บจมูกมันเจ็บยังไง ที่ว่ามันเจ็บคออยู่ตลอดเวลามันเจ็บยังไง ที่ว่ามันเหมือนมีเสมหะร้อนๆไหลลงคอตลอดเวลามันเป็นยังไง ความรู้สึกตอนเห็นคนไข้ใส่ NGtube เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง

บอกได้เลยครับว่าสังคมศาสตร์ที่ว่าง่าย ที่ว่าอ่านไม่กี่นาทีจบนั้นเป็นทฤษฎีเท่านั้น ไม่ได้ช่วยให้เราเข้าใจสังคมมากขึ้นซักเท้าไหร่ จะเร่งให้เข้าใจมใกขึ้นก็ต้องลองศึกษา "สังคมที่เราอยู่" รอบๆข้าง นำมาเปรียบเทียบ ซ้อนเข้าไปกับทฤษฎีแม่บทต่างๆ ปรัชญาต่างๆที่เคยเรียน จะรู้ว่ามันไม่ราบเรียบธรรมดาเกินไปนัก เหมือน Ethics มีแค่ 4 หลักการ แต่โจทย์ความน่าจะเป็น คุณค่า การตัดสิน มันมีเป็นล้านๆแบบ

การที่มี "คนสอน" ไม่ถูกใจ มันเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุครับ ที่แน่ๆก็ learning style อย่างหนึ่ง ความสนใจ เจตคติแต่แรกเริ่มเกี่ยวกับวิชานั้นๆ ก็เป็นได้ แต่สิ่งเหล่านี้ถ้าเราพิจารณาแล้วว่าเป็นเรื่องจำเป็นในการที่อาชีพของเราจะประสบความสำเร็จ ในการที่เราจะเป็นแพทย์ที่ดีในอนาคตล่ะก้ ใครสอนไม่ดี ไม่ถูกใจ เราก็ยังคงต้องให้ความสำคัญกับวิชานี้อยู่ดีใช่ไหมครับ วิธีการขอให้แก้ปัญหาก็ไม่น่าจะเป็นยกเลิกวิชาสำคัญๆแต่เพียงเราไม่ชอบกระบวนการสอนเท่านั้นไป แต่เป็นน่าจะเสนอว่าเรียนอย่างไรที่เราชอบ ในขณะเดียวกันอาจจะต้องพิจารณาด้วยว่าที่เราชอบก็อาจจะไม่ใช่ universal preference ของคนทั้งหมดด้วย

ทำไมวิชาสังคมถึงสำคัญ?

คุณภาพชีวิต เป็นวัตถุประสงค์หลักของสายอาชีพแพทย์ คุณภาพชีวิตนั้นมีหลายมิติ เช่น bio-psycho-social และ spiritual ไอ้ที่เราเรียนๆที่เรียกว่า "วิชาแพทย์" นั้นส่วนใหญ่เป็น bio ที่เราตรวจ เราวินิจฉัยว่า vital signs ปกติ ไม่มีไข้ ตรวจแล้วไม่เจออะไร นั้นก็ bio ถ้าเราสรุปว่าไม่มีอะไร บางทีมันมีคนที่ป่วยทาง psycho social spiritual อยู่ก็มี แต่เราตรวจแต่ bio อย่างเดียว ไม่พบโรคอะไรก็หาว่าผู้ป่วยอุปาทาน

ประชาชนมีความคาดหวังว่าแพทย์ "เข้าใจ" เรื่องชีวิตเป็นอย่างดี เข้าใจว่าทำไมเวลาญาตเสียใจจึงมีพฤติกรรมแบบนี้ ทำไมเวลาฟังข่าวร้ายจึงตอบสนองแบบนี้ ทำไมฯลฯ เรื่องแบบนี้จะต้องหัดโดยทำจิตใจของงเราให้มีความอ่อนไหวบ้างไม่หยาบกระด้าง เปิดใจรับได้ในความแตกต่าง มองเห็นมุมบวกในเรื่องต่างๆได้ดี สามารถมองทะลุมุมลบของเรื่องราวได้

สิ่งเหล่านี้ไม่เป็นเพียงแค่ "สาระสังคมศาสตร์" เท่านั้น แต่เป็น living in society ด้วย



Posted by : Phoenix , Date : 2006-01-16 , Time : 23:00:10 , From IP : 58.147.28.104

ความคิดเห็นที่ : 71


   หัวแดงครับ อย่าพาดพิงสิ

ผมว่าให้ นศพ.เรียนรู้ด้วยตัวเอง แบบที่อาจารย์เอาNGtubeให้คนอื่นลองใส่กับตัวเองก็ดีนะครับ
น่าจะทำให้ได้รู้สึกแบบจริงๆ ได้Feelของผู้ป่วยดี ทำให้ได้เข้าใจด้วย


Posted by : หัวเขียว , Date : 2006-01-16 , Time : 23:38:40 , From IP : 172.29.4.71

ความคิดเห็นที่ : 72


   ได้มีโอกาสไปแลกเปลี่ยนกับหมอเกือบทั้งโรงพยาบาลในโรงพยาบาลจังหวัดแห่งหนึ่งเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว โดยมีปัญหาที่ทางโรงพยาบาลนั้นต้องการการแลกเปลี่ยนคือ แพทย์จะมีวิธีคุยกับผู้ป่วยและญาติอย่างไร เวลาที่มีเรื่องร้ายแรงหรือมีข่าวร้ายเกี่ยวกับผู้ป่วยเกิดขึ้น เพราะที่ผ่านมาทางโรงพยาบาลแห่งนี้ถูกร้องเรียนเยอะมาก และที่หนักสุดๆคือเป็นคดีอาญา
สิ่งที่ได้ไปวิเคราะห์ และแลกเปลี่ยนลงลึกก็คือ
แพทย์เองทุกคนส่วนใหญ่ไม่ได้ด้อยเรื่องskillทาง bio และมีเจตนาที่ดีที่จะช่วยเหลือคนไข้
แต่เราอ่อนเรื่องการทำความเข้าใจคน การมองให้เห็นถึงมุมที่แตกต่างระหว่างการรับรู้เรื่องเดียวกันของผู้ป่วยและแพทย์เอง การเข้าใจจุดยืนที่ผู้ป่วยมี และการมองผู้ป่วยในแง่บวก
ขอยกตัวอย่าง กรณีศึกษาหนึ่ง ที่ญาติของผป พาผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุทางสมองมาที่ โรงพยาบาลอย่างรีบเร่ง ถึงโรงพยาบาลเวลาประมาณ3ทุ่ม ก็ได้รับการx-rayสมองคอมพิวเตอร์ หลังจากนั้นพยาบาลก็บอกว่าให้นอนรอหมอ หมอติดผ่าตัด ผปและญาติก็นอนอรอ รอ รอ...พอญาติรู้สึกว่ามันนานผิดปกติ ก็ไปถามพยาบาลที่นั่งทำงานกันอยู่ ก็ได้รับคำตอบสั้นๆว่า รอหมอ ......รอหมอ......
ในขณะที่ผป นอนอรอหมออยู่.... หมอก็เสร็จจากการผ่าตัดออกมาดูผู้ป่วยช่วงประมาณตี1 และมาดูผู้ป่วย รวมทั้งดูfilm x- ray ก็พบว่าผู้ป่วยรายนี้ brain deathเสียแล้ว หมอก็ได้ไปแจ้งกับญาติผู้ป่วยว่า คุณมาช้าเกินไป..... ทำอะไรไม่ได้แล้วเพราะมาช้าเกินไป.........
ญาติสับสนมาก กับคำว่า ...มาช้าเกินไป..... เพราะในมุมมองของเขา เขามาตั้งนานแล้ว มารอหมอด้วยซ้ำไป........
ในทางกลับกัน หมอบอกว่า การที่พูดว่ามาช้าเกินไป ก็คือ การที่คนไข้มาถึงโรงพยาบาลในขณะที่คนไข้มีอาการหนักมากเกินไป นั่นคือ คำจำกัดความของคำว่ามาช้าเกินไป.......
เป็นเรื่องแน่นอน..
คงไมสรุป แต่อยากให้น้องลองศึกษาดูว่าสิ่งที่เกิดขึ้นคืออะไร
เพราชีวิตน้องในอนาคต น้องคงหนีไม่พ้น ที่จะต้องฝึกทักษะพวกนี้ที่ไม่ใช่เรื่องการดูแลโรคทางกายอย่างเดียว ให้ชำนาญกว่าวิชาชีพอื่นด้วยซ้ำ เพราะนี่คือ ชีวิตของเราที่เราถุกกำหนดมาแล้วอย่างชัดเจน แต่เราลืมมันไป และคิดว่ามันไม่สำคัญ


Posted by : aries , Date : 2006-01-17 , Time : 06:41:06 , From IP : 172.29.7.120

ความคิดเห็นที่ : 73


   เราจะยังไม่ "ประสบความสำเร็จ" ในการเรียนวิชาสังคมศาสตร์ตราบใดที่ยังไม่สามารถบูรณาการเข้ากับการดำเนินชีวิตของเราจริงๆได้ ไม่ว่า "เกรด" จะออกมาดีแค่ไหน วิชาบรรยายจะสั้น ซื่อบื้อ ห้วน ง่าย ฯลฯ ก็ไม่ได้แปลว่าเราเข้าใจหมดครบทุกกระบวนความของ "สังคม"

สังคมศาสตร์ก็คล้ายๆ hard science ตรงที่เริ่มต้นจากการ "สังเกต" ว่าอะไรเกิดขึ้น อย่างไร ที่ไหน เพราะอะไร กับใคร เพียงแต่ตัววัดหรือ parameter ที่เราสังเกตนั้นบางทีมันเป็นนามธรรม บางทีมันเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ ตรงนี้คือความยากกว่า ซับซ้อนกว่า hard science ที่สามารถจับและรวบรวมข้อน่าสังเกต หรือข้อที่สังเกตได้ลงไปในสื่อต่างๆง่ายกว่า เช่น เราอ่าน physics chemistry biology med surgery paediatrics etc ได้ เป็นการเรียนลัดจากประสบการณ์ของครูอาจารย์ที่สั่งสมมาหลายสิบปี เค้นออกมาเป็นบรรยาย หรือหนังสือเพียงเล่มเดียวได้

แต่สังคมศาสตร์ไม่เหมือนกัน ข้อสำคัญคือมัน dynamic และเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ

ยกตัวอย่างการแลกเปลี่ยนความเห็นที่ไม่เหมือนกัน บางที content เป็น hard science แต่เทคนิกการสื่อนั้นกลับเป็น social science เราพยายามแล้วพยายามอีกที่จะ "เปลี่ยน" พอคนอื่นคิดอย่างอื่นก็เป็น "หัวแข็ง" ไป ส่วนใหญ่แล้วที่เราทำได้ก็แค่ "นำเสนอ เชิญชวน" เท่านั้นแหละครับ นำเอาหลักการ เหตุผลต่างๆยกมาเปรียบเทียบกัน ใครจะได้อะไรมากน้อยแค่ไหนนั้น มันขึ้นกับบารมีดั้งเดิมที่สั่งสมมา ไม่ต้องไปตำหนิติเตียนอะไรมาก บางทีมันก็มีม่านหมอกของอวิชชามาบดบังสิ่งที่เห็นได้ชัด เกิดขึ้นกับใครก้ได้รวมทั้งตัวผมเองด้วย อาจารย์ด้วย ลูกศิษย์ก็ด้วย ทีนี้เป็นหน้าที่ของแต่ละคนที่จะตรวจสอบตนเอง สะท้อนตนเองแล้วล่ะครับ ว่าที่เราเข้าใจ ที่เราหงุดหงิด ที่เราไม่พอใจนั้นมันผ่านวิถีไตร่ตรองมากี่รอบ ประบการณ์เรา "เห็น" มากี่มากน้อย และข้อสำคัญเราได้ "ฟัง" คนอื่นบางหรือยัง หรือว่าแค่ "ได้ยิน" แต่ยังไม่ได้ฟัง



Posted by : Phoenix , Date : 2006-01-17 , Time : 08:28:42 , From IP : 172.29.3.168

ความคิดเห็นที่ : 74


   ก็ยังคงยืนยันให้อาจารย์ลองหาโอกาสดู lecture นั้นก่อนนะครับ
ตัวอย่างแต่ละตัวอย่างที่อาจารย์ได้ยกมานั้นดีครับ
แต่ตัวอย่างแบบนี้ไม่มีใน lecture อืม....
แล้วเนื้อหาที่ lecture มีประเด็นสำคัญอะไรบ้างที่เกี่ยวกับวิชาชีพของผม ผมก็ไม่รู้เลย
สงสัยคงโง่เกินไปที่จะจับประเด็นเหล่านั้น
ถ้าได้อาจารย์ช่วยชี้แนะอีกครั้งจะเป็นพระคุณยิ่ง


Posted by : DogTor , Date : 2006-01-17 , Time : 10:12:32 , From IP : 172.29.4.91

ความคิดเห็นที่ : 75


   ผมคิดว่าคงจะหาเวลาฟัง lecture ของน้องๆยากครับ ขอแนะ "หลักการ" ที่น้องจะ empower ตนเองในการเรียนแทนก็แล้วกัน

"สังคมศาสตร์" นั้น เนื้อหาจะกล่าวถึง "คน" กับปฏิสัมพันธ์คือ ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เพราะอะไร ผลคืออะไร ทำให้เกิดอะไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่จะ "วน" ไปกระทบต่อตนเอง คนรอบข้าง ครอบครัว และสังคม ถ้าทฤษฎีที่เรียนไม่ได้มีตัวอย่างตรงนี้ แนะนำให้คิดเป็นสมการของคนขึ้นมาเอง ถ้าทฤษฎีที่เรียนมีตัวอย่างลองพยายาม generalize ตัวอย่างอื่นๆที่ตกอยู่ใน category เดียวกัน ดูซิว่าเปลี่ยนประธาน เปลี่ยนการกระทำ เปลี่ยนบริบทสถานที่สิ่งแวดล้อม ยังจะเกิดผลเหมือนเดิมหรือต่างจากเดิมอย่างไร นี่เป็นวิธี forward tracing knowledge

อีกวิธีการ approach คือ anti-thesis tracing knowledge ได้แก่การลอง reverse การกระทำ เปลี่ยนประธาน กลับทิศบริบท หรือวิเคราะห์ว่าถ้า "ไม่ทำ" หรือ "ทำตรงกันข้าม" จะเกิดอะไรขึ้น

ลองดูครับว่าใช้ได้หรือไม่ แล้วส่งข่าวมานะครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2006-01-17 , Time : 12:32:56 , From IP : 172.29.7.82

ความคิดเห็นที่ : 76


   ตัวอย่างที่พยายามยกมา เพียงเพื่อชี้ให้เห็นว่าวิชาสังคมเป็นวิชาที่สำคัญสำหรับวิชาชีพเราในอนาคต และต้องการจะสื่อว่า เมื่อเราจบเป็นหมอเต็มตัวแล้ว เราจะมีภาพลวงตาของความเป็นหมอรักษาโรค(bio) ทำให้เรามองคนไข้เป็นโรค มุ่งรักษาโรค โดยที่เราไม่สามารถมองหรือสัมผัสคนไข้ในแบบที่เป็นคนมีจิตใจ(psycho) มีจิตวิญญาณ(spiritual) มีบริบทที่เป็นสังคมที่เขาอยู่ (social)
แล้วเรื่องแบบนี้ การมองคน หรือสัมผัสกับคน ในฐานะคนกับคน เราควรเรียนเมื่อไหร่...........
มันน่าจะเริ่มที่น้องยังใสบริสุทธิ์ ยังไม่ได้เป็นหมอ เป็นคนสามัญชนนั่นแหละน่าจะดีที่สุดหรือเปล่า และคงต้องให้มีความต่อเนื่องของการเรียนรู้ด้วย ความเป็นคนของน้องจะได้ไม่เจือจางลง ไม่รู้ว่าน้องมีความเห็นว่างัย
แล้วใครสอนดีหล่ะ..............
น่าจะเป็นใครก็ได้ในสังคมนี้ คนธรรมดาเนี่ยแหล่ะดี เพราะเขาคือ ตัวแทนของคนไข้ของน้องๆในอนาคตที่น้องต้องเรียนรู้เป็นเบื้องต้นก่อน ส่วนอาจารย์แพทย์คงสอนน้องได้โดนใจน้อง แต่คงเป็นในแง่มุมที่มีความเป็นหมอมาbalance กับความต้องการ การคาดหวังของสังคม
แต่อย่างไรก็ตามน้องคงต้องแม่นในเรื่องการรับรู้และประเมินความคาดหวังของสังคม รวมทั้งสามารถวิเคราะห์สังคมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาให้ได้เสียก่อน





Posted by : aries , Date : 2006-01-17 , Time : 19:38:57 , From IP : 172.29.7.98

ความคิดเห็นที่ : 77


   ถ้าไม่มี feed back ถือว่ามีการบกพร่องในการปฏิบัติหน้าทีได้หรือไม่ครับ

Posted by : i will go pataya , Date : 2006-01-20 , Time : 07:01:00 , From IP : 172.29.4.214

ความคิดเห็นที่ : 78


   ขึ้นอยู่กับงานของคนๆนั้นว่า feedback อยู่ใน "หน้าที่" หรือไม่

เช่นหมอไม่มาดูคนไข้ อาจารย์ไม่จัดประสบการณ์การเรียนให้นักศึกษา ตำรวจไม่จับผู้ร้าย (คร่าวๆนะครับ)

อะไรคือ "หน้าที่" ของนักศึกษา ทราบไหมครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2006-01-20 , Time : 07:55:06 , From IP : 58.147.119.202

ความคิดเห็นที่ : 79


   หน้าที่ของนักศึกษา ก็คงจะไม่พ้น การตั้งใจศึกษาเล่าเรียน แต่หากจะให้ศึกษาในทุกๆ เรื่องนั้น ก็คงเป็นไปไม่ได้
ผมว่า การศึกษา นั้น คือ "หน้าที่" แต่ทุกอย่างหากน้อยเกินไป หรือ มากเกินไป ย่อมที่จะต้องส่งผลเสีย
ดังเช่นที่พระพุทธเจ้าสอนให้พวกเราทุกคน "เดินทางสายกลาง" ครับ


Posted by : P|atino , Date : 2006-01-20 , Time : 09:41:16 , From IP : 172.29.4.226

ความคิดเห็นที่ : 80


   เห็นด้วยครับ

ขอให้ทุกคนมีกำลัง มีสติปัญญาเข้มแข็ง และทราบว่า "อะไร" จะทำให้น้องเป็นแพทย์ที่ดีได้อย่างครบถ้วน

น้อมเกล้าอัญเชิญพระราชดำรัส

"I not only want you to be a doctor, I also want you to be a man"

อย่าลืมศึกษาวิชาที่ทำให้เราเป็นคนด้วยนะครับ น้องๆทั้งหลาย



Posted by : Phoenix , Date : 2006-01-20 , Time : 09:47:40 , From IP : 172.29.3.120

ความคิดเห็นที่ : 81


   ยังไม่ได้ feed back ของblock human life cycle เลย
ทำไมถึงไม่จัด?


Posted by : หัวเขียว , Date : 2006-01-20 , Time : 19:46:05 , From IP : 172.29.4.69

ความคิดเห็นที่ : 82


   ถามเจ้าหน้าที่หรืออาจารย์ประจำ block ครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2006-01-20 , Time : 20:08:36 , From IP : 58.147.118.150

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.073 seconds. <<<<<